บทความศึกษา 27
อย่าคิดถึงตัวเองมากเกินไป
“ผมจึงขอบอกพวกคุณทุกคนว่า อย่าคิดถึงตัวเองมากเกินไป แต่ให้คิดอย่างสมเหตุสมผลตามขนาดของความเชื่อที่พระเจ้าให้แต่ละคน”—รม. 12:3
เพลง 130 ให้อภัย
ใจความสำคัญ *
1. ฟีลิปปี 2:3 ให้คำแนะนำอะไรกับเรา? และถ้าเราทำตาม เราจะได้ประโยชน์อะไร?
เราถ่อมตัวเชื่อฟังพระยะโฮวาเพราะเรารู้ว่าพระองค์รู้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับเรา (อฟ. 4:22-24) ถ้าเราเป็นคนถ่อม เราจะคิดว่าความต้องการของพระยะโฮวาสำคัญมากกว่าความต้องการของเราเอง และเราจะมองว่าคนอื่นดีกว่าตัวเรา และนี่จะทำให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวาและกับพี่น้องในประชาคม—อ่านฟีลิปปี 2:3
2. เปาโลเข้าใจเรื่องอะไร? และเราจะคุยอะไรกันในบทความนี้?
2 ถ้าเราไม่ระวัง เราก็อาจหยิ่งและเห็นแก่ตัว *เหมือนคนในโลกนี้ได้ ดูเหมือนว่าพี่น้องบางคนในศตวรรษแรกเป็นแบบนั้น เพราะเปาโลเตือนพี่น้องในกรุงโรมว่า “ผมจึงขอบอกพวกคุณทุกคนว่า อย่าคิดถึงตัวเองมากเกินไป แต่ให้คิดอย่างสมเหตุสมผล” (รม. 12:3) เปาโลรู้ว่าเราต้องคิดถึงตัวเองบ้าง แต่ความถ่อมช่วยให้เรามองตัวเองตามความเป็นจริง ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า ความถ่อมช่วยเราอย่างไรไม่ให้คิดถึงตัวเองมากเกินไปใน 3 เรื่องคือ (1) ในชีวิตคู่ (2) เมื่อได้รับสิทธิพิเศษ และ (3) ตอนที่ใช้โซเชียลมีเดีย
แสดงความถ่อมในชีวิตคู่
3. ทำไมชีวิตคู่อาจมีปัญหา? และบางคนทำอย่างไร?
3 พระยะโฮวาอยากให้สามีภรรยามีความสุข แต่ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ก็เลยเป็นเรื่องปกติที่สามีภรรยาจะทะเลาะกันบ้าง เปาโลเขียนว่าคนที่1 คร. 7:28) มีบางคู่ที่ทะเลาะกันตลอดและคิดว่า ‘รู้อย่างนี้ไม่น่าแต่งงานกันตั้งแต่แรก’ ถ้าพวกเขาคิดเหมือนกับคนในโลก พวกเขาก็จะคิดว่าทางออกที่ดีที่สุดก็คือการหย่า คนที่คิดแบบนี้เป็นคนที่คิดถึงแต่ตัวเองและคิดว่าความสุขของตัวเองสำคัญที่สุด
แต่งงานคาดหมายได้เลยว่าจะมีความยุ่งยากในชีวิต (4. เราต้องไม่ทำอะไร?
4 บางคนไม่พอใจกับชีวิตคู่ของตัวเอง แต่เราไม่ควรเป็นแบบนั้น เรารู้ว่าสาเหตุเดียวที่จะหย่ากันได้ก็คือการผิดศีลธรรมทางเพศ (มธ. 5:32) ฉะนั้นเมื่อมีปัญหาหรือความยุ่งยากในชีวิตคู่ ทั้งสามีและภรรยาไม่ควรปล่อยให้ความหยิ่งมาทำให้พวกเขาเริ่มคิดว่า ‘ทำไมชีวิตคู่ไม่เป็นอย่างที่ฉันต้องการ? ทำไมฉันไม่เห็นได้ความรักอย่างที่ฉันควรได้เลย? รู้อย่างนี้ฉันน่าจะแต่งกับคนอื่นดีกว่า ฉันคงมีความสุขมากกว่านี้’ คุณเห็นไหมว่าคนที่คิดแบบนี้เป็นคนที่คิดถึงแต่ตัวเองไม่ได้คิดถึงคู่ของเขาเลย ความคิดของโลกบอกให้คุณทำตามหัวใจคุณเอง ถึงจะต้องเลิกกัน ถ้ามันทำให้คุณมีความสุขก็ทำไปเลย แต่ความคิดของพระเจ้าบอกให้คุณ “อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ให้เห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นด้วย” (ฟป. 2:4) พระยะโฮวาไม่อยากให้คุณเลิกกัน แต่อยากให้คุณอยู่ด้วยกันต่อไป (มธ. 19:6) พระยะโฮวาอยากให้คุณคิดถึงพระองค์ก่อน ไม่ใช่ตัวคุณเอง
5. จากเอเฟซัส 5:33 สามีและภรรยาควรทำอย่างไรต่อกัน?
5 สามีและภรรยาต้องรักและนับถือคู่ของตัวเอง (อ่านเอเฟซัส 5:33) คัมภีร์ไบเบิลสอนให้เราคิดถึงการให้แทนที่จะคิดถึงการรับ (กจ. 20:35) อะไรจะช่วยให้สามีและภรรยารักและนับถือคู่ของตัวเอง? คำตอบก็คือความถ่อม สามีภรรยาที่ถ่อมจะไม่คิดถึงแต่ ประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น แต่จะ “คิดถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย”—1 คร. 10:24
6. คุณเรียนอะไรได้จากคำพูดของสตีเว่นและสเตฟานี่?
6 ความถ่อมช่วยให้คริสเตียนหลายคนมีชีวิตคู่ที่มีความสุขมากขึ้น ตัวอย่างเช่น สามีที่ชื่อสตีเว่นบอกว่า “ถ้าคุณเป็นทีมเดียวกัน คุณก็จะช่วยกันโดยเฉพาะตอนที่มีปัญหา แทนที่จะคิดว่า ‘อะไรดีที่สุดสำหรับฉัน?’ คุณจะคิดว่า ‘อะไรดีที่สุดสำหรับเรา?’” สเตฟานี่ภรรยาของเขาก็คิดเหมือนกัน เธอบอกว่า “คงไม่มีใครอยากจะอยู่กับคนที่ทำตัวเป็นคู่แข่งหรอก” เธอยังบอกอีกว่า “ตอนที่มีปัญหาเราจะช่วยกันคิดว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร แล้วเราก็จะอธิษฐานด้วยกัน ค้นคว้าด้วยกัน และคุยกันว่าจะแก้ปัญหายังไงค่ะ เราช่วยกันสู้กับปัญหาไม่ใช่สู้กันเอง” สามีภรรยาจะมีความสุขมากกว่าถ้าพวกเขาไม่คิดถึงตัวเองมากเกินไป
รับใช้พระยะโฮวาด้วยความ “ถ่อมตัว”
7. พี่น้องชายควรคิดอย่างไรตอนที่ได้รับสิทธิพิเศษ?
7 ไม่ว่าเราจะรับใช้พระยะโฮวาแบบไหน เราก็มองว่านั่นเป็นสิทธิพิเศษ (สด. 27:4; 84:10) ถ้าพี่น้องชายคนไหนอยากรับใช้พระยะโฮวามากขึ้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี คัมภีร์ไบเบิลก็บอกแบบนั้นด้วยว่า “ถ้าผู้ชายคนไหนพยายามจะได้ทำหน้าที่ผู้ดูแลก็แสดงว่าเขาอยากจะทำงานที่ดี” (1 ทธ. 3:1) แต่ตอนที่เขาได้รับสิทธิพิเศษ เขาต้องไม่คิดถึงตัวเองมากเกินไป (ลก. 17:7-10) เหตุผลที่เขาอยากจะได้สิทธิพิเศษควรจะเป็นเพราะเขาอยากรับใช้คนอื่นด้วยความถ่อม—2 คร. 12:15
8. เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของดิโอเตรเฟส อุสซียาห์ และอับซาโลม?
8 คัมภีร์ไบเบิลมีตัวอย่างที่เตือนใจเรา เป็นตัวอย่างของคนที่คิดถึงตัวเองมากเกินไป ดิโอเตรเฟสเป็นคนไม่เจียมตัว เขาอยากเป็นใหญ่ในประชาคม (3 ยน. 9) อุสซียาห์เป็นคนหยิ่ง เขาทำสิ่งที่พระยะโฮวาไม่ได้บอกให้ทำ (2 พศ. 26:16-21) อับซาโลมหลอกผู้คนให้มาชอบเขา เพื่อพวกเขาจะสนับสนุนอับซาโลมให้เป็นกษัตริย์ (2 ซม. 15:2-6) ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระยะโฮวาไม่ชอบคนที่พยายามหาเกียรติยศใส่ตัว (สภษ. 25:27) ในที่สุด คนหยิ่งและคนที่อยากให้คนอื่นนิยมชมชอบก็จะเจอกับปัญหาแน่นอน—สภษ. 16:18
9. พระเยซูเป็นตัวอย่างในเรื่องอะไร?
9 พระเยซูไม่เหมือนกับคนหยิ่งในตัวอย่างเหล่านั้น คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ถึงแม้ท่านมีสภาพอย่างพระเจ้า แต่ท่านไม่เคยคิดจะชิงอำนาจเพื่อจะมีฐานะเท่าเทียมกับพระเจ้า” (ฟป. 2:6) ถึงพระเยซูจะมีอำนาจมาก ท่านเป็นรองแค่พระยะโฮวาเท่านั้น แต่ท่านก็ไม่เคยคิดถึงตัวเองมากเกินไป ท่านบอกสาวกว่า “คนที่ทำตัวเป็นคนต่ำต้อยในหมู่พวกคุณจะได้เป็นใหญ่” (ลก. 9:48) การที่เราได้รับใช้ด้วยกันกับไพโอเนียร์ ผู้ช่วยงานรับใช้ ผู้ดูแล และผู้ดูแลหมวดที่ถ่อมแบบพระเยซูเป็นเหมือนพรที่เราได้รับจากพระยะโฮวาจริง ๆ ถ้าผู้รับใช้ของพระเจ้าเป็นคนถ่อม พวกเขาจะแสดงความรักต่อกันและกันมากขึ้น และนั่นแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้รับใช้แท้ของพระเจ้า—ยน. 13:35
10. คุณจะทำอย่างไรถ้าในประชาคมมีปัญหาที่ดูเหมือนว่าผู้ดูแลไม่ได้จัดการให้เรียบร้อย?
10 ถ้าดูเหมือนว่าในประชาคมมีปัญหาบางอย่างที่ฮบ. 13:17) เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ให้คุณถามตัวเองว่า ‘ปัญหานี้มันหนักถึงขนาดที่ต้องมีใครจัดการจริง ๆ ไหม? มันต้องจัดการตอนนี้จริง ๆ เหรอ? แล้วมันใช่หน้าที่ของฉันไหม? ลึก ๆ แล้วฉันอยากให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกัน หรืออยากให้คนอื่นมองว่าฉันเป็นคนสำคัญกันแน่?’
ผู้ดูแลไม่ได้จัดการให้เรียบร้อย คุณจะทำอย่างไร? แทนที่จะบ่น คุณสามารถแสดงความถ่อมได้โดยสนับสนุนคนที่นำหน้าในประชาคม (11. จากเอเฟซัส 4:2, 3 ผลจะเป็นอย่างไรถ้าเรารับใช้พระยะโฮวาด้วยความถ่อม?
11 พระยะโฮวามองว่าความถ่อมสำคัญกว่าความสามารถที่เรามี และความสามัคคีก็ดีกว่าผลงานที่ออกมา ฉะนั้นขอให้คุณทำสุดความสามารถเพื่อจะรับใช้พระยะโฮวาด้วยความถ่อม ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณก็ช่วยให้ประชาคมสามัคคีและเป็นหนึ่งเดียวกัน (อ่านเอเฟซัส 4:2, 3) ให้คุณขยันประกาศ พยายามหาวิธีที่จะรับใช้คนอื่นโดยการทำสิ่งดี ๆ เพื่อพวกเขา ให้คุณมีน้ำใจต้อนรับแขกกับทุกคนถึงแม้ว่าคนนั้นอาจจะไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบสำคัญในประชาคม (มธ. 6:1-4; ลก. 14:12-14) ถ้าคุณแสดงความถ่อมตอนที่ทำงานกับพี่น้อง พวกเขาจะไม่ได้สังเกตแค่ความสามารถของคุณเท่านั้น แต่พวกเขาจะเห็นความถ่อมของคุณด้วย
แสดงความถ่อมเมื่อใช้โซเชียลมีเดีย
12. คัมภีร์ไบเบิลบอกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องเพื่อน?
12 พระยะโฮวาอยากให้เรามีความสุขที่ได้อยู่กับครอบครัวและเพื่อน ๆ (สด. 133:1) พระเยซูมีเพื่อนที่ดี ด้วย (ยน. 15:15) คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าการมีเพื่อนแท้ดีกับเราอย่างไร (สภษ. 17:17; 18:24) และยังบอกด้วยว่าการเก็บตัวอยู่คนเดียวไม่ดีกับเราอย่างไร (สภษ. 18:1) หลายคนคิดว่าการใช้โซเชียลมีเดียจะทำให้เรามีเพื่อนเยอะขึ้นและไม่เหงา แต่เราต้องระวังด้วย
13. ทำไมบางคนที่ใช้โซเชียลมีเดียถึงรู้สึกเหงาและซึมเศร้า?
13 มีงานค้นคว้าหนึ่งบอกว่าคนที่ใช้เวลาเยอะไปกับการดูคอมเมนต์หรือดูรูปที่คนอื่นโพสต์ในโซเชียลมีเดียจะรู้สึกเหงาและซึมเศร้า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าคนที่เล่นโซเชียลมีเดียจะชอบโพสต์รูปที่เป็นช่วงเวลาดี ๆ รูปสวย ๆ ของตัวเองกับเพื่อน ๆ และสถานที่สวย ๆ ที่พวกเขาเคยไปกัน คนที่ดูรูปพวกนั้นอาจจะเปรียบเทียบกับชีวิตของตัวเองแล้วก็คิดว่า ‘ชีวิตฉันน่าเบื่อ ไม่เห็นมีอะไรเลย’ พี่น้องหญิงที่อายุ 19 คนหนึ่งยอมรับว่า “พอฉันเห็นคนอื่นสนุกกันในช่วงเสาร์อาทิตย์ แต่ฉันกลับต้องอยู่บ้านไม่ได้ไปไหนเลย ฉันก็เริ่มอิจฉาพวกเขา”
14. คำแนะนำใน 1 เปโตร 3:8 ช่วยเราอย่างไรตอนที่ใช้โซเชียลมีเดีย?
14 จริง ๆ โซเชียลมีเดียก็มีประโยชน์ เช่น เราใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อกับคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้ แต่คุณสังเกตไหมว่าบางคนชอบโพสต์บางอย่างในโซเชียลเพื่อโปรโมทตัวเอง มันเหมือนกับเขากำลังพูดว่า “ดูฉันสิ” ส่วนบางคนคอมเมนต์ใต้รูปตัวเองและรูปที่คนอื่นโพสต์ด้วยคำพูดที่หยาบคายและลามก การทำอย่างนี้ไม่ได้เป็นการรู้จักถ่อมตัวและเห็นอกเห็นใจอย่างที่คริสเตียนควรทำ—อ่าน 1 เปโตร 3:8
15. คัมภีร์ไบเบิลช่วยเราอย่างไรไม่ให้โปรโมทตัวเอง?
15 ตอนที่คุณใช้โซเชียลมีเดียให้ถามตัวเองว่า ‘รูปภาพ วีดีโอ หรือคอมเมนต์ที่ฉันโพสต์ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าฉันกำลังอวดไหม? ฉันทำให้คนอื่นอิจฉาไหม?’ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของร่างกายที่มีบาป ความต้องการที่เกิดจากตา หรือการโอ้อวดสิ่งที่ตัวเองมี ไม่ได้มาจากพระเจ้าผู้เป็นพ่อ แต่มาจากโลก” 1 ยน. 2:16; เชิงอรรถ) คัมภีร์ไบเบิลฉบับหนึ่งแปล “การโอ้อวดสิ่งที่ตัวเองมี” ว่า “ความต้องการที่จะเป็นคนสำคัญในสายตาของคนอื่น” แต่คริสเตียนไม่คิดว่าเขาจำเป็นต้องโปรโมทตัวเอง พวกเขาทำตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่บอกว่า “อย่าถือว่าตัวเองสำคัญกว่าคนอื่น อย่ายั่วยุให้มีการแข่งขันกัน และอย่าอิจฉากัน” (กท. 5:26) ความถ่อมจะช่วยให้เราไม่คิดเหมือนคนในโลกที่ชอบโปรโมทตัวเอง
(“คิดอย่างสมเหตุสมผล”
16. ทำไมเราต้องไม่เป็นคนหยิ่ง?
16 เราต้องถ่อมเพราะคนหยิ่งไม่ได้ “คิดอย่างสมเหตุสมผล” (รม. 12:3) คนหยิ่งคิดว่าตัวเองสำคัญและชอบแข่งขันกับคนอื่น สิ่งที่เขาคิดและทำมักจะทำให้ตัวเขาเองและคนอื่นเจ็บ คนแบบนี้เป็นคนที่คิดอะไรไม่ถูกต้อง เขาไม่เห็นความจริงในชีวิต และเขาจะเป็นอย่างนี้ต่อไปถ้าเขาไม่เปลี่ยนความคิด (2 คร. 4:4; 11:3) คนถ่อมจะคิดอย่างสมเหตุสมผล เขาจะมองตัวเองตามความเป็นจริง และมองว่าคนอื่นดีกว่าเขาในหลายด้าน (ฟป. 2:3) และเขารู้ว่า “พระเจ้าต่อต้านคนหยิ่ง แต่พระองค์แสดงความกรุณาที่ยิ่งใหญ่ต่อคนอ่อนน้อมถ่อมตน” (1 ปต. 5:5) คนที่คิดอย่างสมเหตุสมผลจะไม่อยากเป็นศัตรูกับพระยะโฮวา
17. เราต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นคนถ่อมเสมอ?
17 เพื่อเราจะเป็นคนถ่อมเสมอ เราต้องทำตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ให้ “ทิ้งลักษณะนิสัยเก่ากับสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทำ แล้วปลูกฝังลักษณะนิสัยใหม่” การทำอย่างนั้นต้องใช้ความพยายามมาก เราต้องศึกษาตัวอย่างของพระเยซูและเลียนแบบท่านให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถึงมันจะไม่ง่าย แต่มันคุ้มแน่นอนที่จะทำอย่างนั้น (คส. 3:9, 10; 1 ปต. 2:21) เมื่อเราพยายามเป็นคนถ่อม ชีวิตครอบครัวของเราก็จะมีความสุขมากขึ้น เราจะทำให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกัน เราจะไม่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่ออวดตัวเองหรือทำให้คนอื่นคิดว่าเราสำคัญ และที่สำคัญที่สุด เราจะทำให้พระยะโฮวาพอใจและอวยพรเรา
เพลง 117 ให้เราทำดีอย่างพระเจ้า
^ วรรค 5 ทุกวันนี้มีคนหยิ่งและคนเห็นแก่ตัวเต็มไปหมด เราต้องระวังที่จะไม่เป็นเหมือนพวกเขา ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามี 3 เรื่องอะไรที่เราไม่ควรคิดถึงตัวเองมากเกินไป
^ วรรค 2 อธิบายคำศัพท์ คนหยิ่งเป็นคนที่คิดถึงตัวเองมากเกินไปและไม่ค่อยคิดถึงคนอื่น เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว ความถ่อมช่วยให้ไม่เห็นแก่ตัว คนถ่อมจะไม่หยิ่งและไม่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด
^ วรรค 56 คำอธิบายภาพ ผู้ดูแลที่บรรยายเก่งในการประชุมใหญ่และดูแลโครงการก่อสร้างขององค์การให้ความสำคัญกับสิทธิพิเศษที่เขาได้รับในการนำการประชุมเพื่อการประกาศและทำความสะอาดหอประชุม