บทความศึกษา 35
พระยะโฮวาเห็นค่าผู้รับใช้ที่ถ่อมตัว
“พระยะโฮวา . . . สนใจคนถ่อม”—สด. 138:6
เพลง 48 ใช้ชีวิตตามแนวทางของพระยะโฮวาทุกวัน
ใจความสำคัญ *
1. พระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับคนถ่อม? ขออธิบาย
พระยะโฮวารักคนถ่อม และเฉพาะคนถ่อมจริง ๆ เท่านั้นที่จะสนิทกับพระองค์ได้ แต่ “คนหยิ่งนั้นพระองค์ไม่อยากอยู่ใกล้” (สด. 138:6) เราทุกคนอยากให้พระยะโฮวาพอใจและรักเรา นี่เลยเป็นเหตุผลที่ดีที่เราจะพยายามเป็นคนถ่อม
2. เราจะคุยอะไรบ้างในบทความนี้?
2 บทความนี้เราจะคุยกันเกี่ยวกับ 3 คำถามต่อไปนี้คือ (1) ความถ่อมคืออะไร? (2) ทำไมเราต้องมีความถ่อม? และ (3) เมื่อไรที่ยากจะเป็นคนถ่อม? อย่างที่เราจะได้เห็น การที่เราเป็นคนถ่อมทำให้พระยะโฮวาดีใจและตัวเราเองก็ได้รับประโยชน์—สภษ. 27:11; อสย. 48:17
ความถ่อมคืออะไร?
3. ความถ่อมคืออะไร?
3 ความถ่อมตรงข้ามกับความหยิ่งหรือทะนงตัว คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าคนถ่อมคิดว่าพระยะโฮวายิ่งใหญ่กว่าเขามากและเขายอมรับว่าคนอื่นดีกว่าเขาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง—ฟป. 2:3, 4
4-5. ทำไมถึงบอกว่าคนที่ดูเหมือนถ่อม จริง ๆ แล้วอาจไม่ถ่อม?
4 บางคนดูเผิน ๆ จากข้างนอกเหมือนเป็นคนถ่อม แต่จริง ๆ แล้วเขาอาจไม่ถ่อมก็ได้ เขาอาจแค่เป็นคนเงียบ ๆ และขี้อาย หรือเป็นคนนอบน้อมและสุภาพเรียบร้อยเพราะวัฒนธรรมหรือพ่อแม่สอนให้เขาเป็นอย่างนั้น แต่ลึก ๆ แล้วเขาอาจเป็นคนหยิ่งมากก็ได้ และในไม่ช้าคนอื่นจะเห็นว่าเขาเป็นคนอย่างไรจริง ๆ—ลก. 6:45
5 อีกด้านหนึ่ง คนที่มั่นใจและพูดอะไรตรง ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขายน. 1:46, 47) แต่คนที่มั่นใจต้องระวังที่จะไม่พึ่งความสามารถของตัวเองจนกลายเป็นคนหยิ่ง ไม่ว่าเราจะเป็นคนมั่นใจหรือเปล่า เราทุกคนต้องพยายามจริง ๆ ที่จะเป็นคนถ่อมจากหัวใจ
เป็นคนหยิ่ง (6. จาก 1 โครินธ์ 15:10 เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล?
6 ให้เราคิดถึงตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล พระยะโฮวาใช้เขาเยอะมากและให้เขามีส่วนตั้งประชาคมในหลาย ๆ เมือง เขาอาจทำงานรับใช้มากกว่าอัครสาวกคนอื่น ๆ ของพระเยซูด้วยซ้ำ แต่เขาไม่ได้คิดว่าเขาดีกว่าพี่น้องคนอื่น เขาพูดด้วยความถ่อมว่า “ผมต่ำต้อยที่สุดในพวกอัครสาวก และผมไม่เหมาะที่จะถูกเรียกว่าอัครสาวกด้วยซ้ำ เพราะผมเคยข่มเหงประชาคมของพระเจ้า” (1 คร. 15:9) จากนั้น เปาโลพูดอย่างถูกต้องว่า ที่เขาสนิทกับพระยะโฮวาได้ก็เพราะพระองค์แสดงความกรุณาที่ยิ่งใหญ่กับเขา ไม่ใช่เพราะเขาเป็นคนพิเศษหรือทำงานรับใช้สำเร็จหลายอย่าง (อ่าน 1 โครินธ์ 15:10) เปาโลเป็นตัวอย่างที่ดีมากเรื่องความถ่อม เราเห็นได้จากจดหมายที่เขาเขียนถึงประชาคมโครินธ์ ถึงแม้บางคนในประชาคมนั้นพยายามพิสูจน์ว่าพวกเขาดีกว่าเปาโล แต่เปาโลก็ไม่ได้โอ้อวดเรื่องของตัวเอง—2 คร. 10:10
7. พี่น้องคนหนึ่งที่ใคร ๆ รู้จักแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเป็นคนถ่อม?
7 ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาหลายคนได้กำลังใจจากเรื่องราวชีวิตจริงของพี่น้องคาร์ล เอฟ. ไคลน์ซึ่งเป็นคณะกรรมการปกครอง พี่น้องไคลน์ยอมรับอย่างถ่อมตัวว่าเขามีจุดอ่อนและมีปัญหาหลายอย่างในชีวิต ตัวอย่างเช่น ในปี 1922 หลังจากไปประกาศครั้งแรก เขารู้สึกว่าการประกาศเป็นเรื่องยากมากจนไม่ไป *
ประกาศอีกเลยประมาณ 2 ปี ต่อมาตอนที่เขารับใช้ที่เบเธลก็มีพี่น้องมาให้คำแนะนำเขา เขาโกรธพี่น้องคนนั้นไปช่วงหนึ่ง นอกจากนั้น เขายังมีปัญหาด้านจิตใจเพราะเครียดและกังวลมาก แต่ตอนหลังเขาก็หาย ถึงจะเป็นอย่างนั้นเขาก็ยังได้ทำงานมอบหมายที่สำคัญและน่าตื่นเต้นหลายอย่าง ลองคิดดูว่าพี่น้องไคลน์ต้องเป็นคนที่ถ่อมขนาดไหน เขาถึงเล่าเรื่องจุดอ่อนของตัวเองแม้เขาจะเป็นพี่น้องที่ใคร ๆ รู้จัก พี่น้องหลายคนยังคงคิดถึงพี่น้องไคลน์และเรื่องราวน่าสนใจที่เขาเล่าแบบไม่ปิดบังทำไมเราควรพยายามเป็นคนถ่อม?
8. ข้อคัมภีร์ที่ 1 เปโตร 5:6 ช่วยเราอย่างไรให้เห็นว่าการเป็นคนถ่อมทำให้พระยะโฮวามีความสุข?
8 เหตุผลสำคัญที่สุดที่เราเป็นคนถ่อมก็คือเราอยากทำให้พระยะโฮวามีความสุข อัครสาวกเปโตรพูดเรื่องนี้อย่างชัดเจน (อ่าน 1 เปโตร 5:6) หนังสือ “เชิญตามเรามา” พูดถึงคำพูดของเปโตรว่า “ความหยิ่งยโสเป็นเหมือนยาพิษ และอาจก่อผลเสียหายได้ ความหยิ่งอาจทำให้คนที่มีความสามารถมากที่สุดกลายเป็นคนไร้ค่าสำหรับพระเจ้าได้ ในอีกด้านหนึ่ง ความถ่อมอาจทำให้กระทั่งคนที่มีความสามารถน้อยที่สุดเป็นคนที่มีค่ามากสำหรับพระยะโฮวา . . . [พระองค์] จะประทานบำเหน็จให้คุณเนื่องด้วยความถ่อมใจของคุณ” * ไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เราทำให้พระยะโฮวาดีใจ จริงไหม?—สภษ. 23:15
9. ทำไมคนอื่นถึงอยากอยู่ใกล้เราถ้าเราเป็นคนถ่อม?
9 นอกจากทำให้พระยะโฮวามีความสุขแล้ว เรายังได้ประโยชน์อีกหลายอย่างจากการเป็นคนถ่อม เช่น ทำให้คนอื่นอยากอยู่ใกล้เรา ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ลองนึกถึงตัวคุณเองว่าคุณชอบคนแบบไหน (มธ. 7:12) คุณคงไม่ชอบอยู่กับคนที่ยืนกรานเอาแต่ความคิดของตัวเองและไม่ฟังคนอื่น แต่ชอบที่ได้อยู่กับพี่น้องที่ ‘เห็นอกเห็นใจ รักกันแบบพี่น้อง เอ็นดูสงสาร และรู้จักถ่อมตัว’ (1 ปต. 3:8) ถ้าคุณอยากอยู่ใกล้คนแบบนั้น คนอื่นก็อยากอยู่ใกล้คุณเหมือนกันถ้าคุณเป็นคนถ่อม
10. ความถ่อมทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นอย่างไร?
10 ความถ่อมทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นด้วย บางครั้งเราอาจเห็นบางอย่างไม่ถูกต้องหรือเจอความไม่ยุติธรรมปญจ. 10:7) คนที่มีความสามารถมาก ๆ อาจไม่ได้รับการยกย่องเสมอไป ในบางครั้งคนที่มีความสามารถน้อยกว่ากลับถูกยกย่องมากกว่าด้วยซ้ำ ถึงจะเป็นอย่างนั้นโซโลมอนก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องฉลาดที่เราจะยอมรับความจริงแทนที่จะจมอยู่กับความผิดหวัง (ปญจ. 6:9) ถ้าเราเป็นคนถ่อม เราจะยอมรับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ง่ายกว่า ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นอย่างที่เราคิด
ด้วยตัวเอง โซโลมอนกษัตริย์ที่ฉลาดบอกว่า “เราเคยเห็นคนรับใช้ขี่ม้า แต่เจ้านายเดินไปเหมือนคนรับใช้” (เมื่อไรที่ยากจะเป็นคนถ่อม?
11. ทำไมเราต้องถ่อมตอนที่ได้รับคำแนะนำ?
11 ทุก ๆ วัน เรามีโอกาสนับไม่ถ้วนที่จะพิสูจน์ตัวว่าเราเป็นคนถ่อม ขอให้เราดูบางสถานการณ์ด้วยกัน สถานการณ์แรกคือ ตอนที่ได้รับคำแนะนำ เราต้องจำไว้ว่าถ้ามีคนพยายามจะเตือนเรา มันอาจหมายความว่าเราทำผิดพลาดมากกว่าที่เราคิด พอมีคนแนะนำเรา สิ่งแรกที่เรามักจะทำคือไม่ยอมรับ เราอาจเริ่มวิพากษ์วิจารณ์หรือต่อว่าคนที่ให้คำแนะนำหรือวิธีที่เขาให้คำแนะนำ แต่ถ้าเราเป็นคนถ่อม เราจะพยายามมีความคิดที่ถูกต้องในเรื่องนี้
12. จากสุภาษิต 27:5, 6 ทำไมเราควรรู้สึกขอบคุณคนที่แนะนำเรา? ขอยกตัวอย่าง
12 คนถ่อมจะรู้สึกขอบคุณเมื่อได้รับคำแนะนำ สมมุติว่าหลังจากที่คุณคุยกับพี่น้องหลายคนที่หอประชุม มีพี่น้องคนหนึ่งแอบมาบอกคุณว่ามีเศษอาหารติดฟันคุณ คุณคงอายมากแต่ก็รู้สึกขอบคุณพี่น้องคนนั้น จริง ๆ แล้วคุณคงอยากให้มีคนบอกคุณเร็วกว่านี้ คล้ายกัน เราควรเป็นคนถ่อมและรู้สึกขอบคุณเมื่อมีคนกล้าให้คำแนะนำที่เราจำเป็นต้องได้รับ และมองว่าพี่น้องคนนั้นเป็นเพื่อนของเรา ไม่ใช่เป็นศัตรู—อ่านสุภาษิต 27:5, 6; กท. 4:16
13. เราจะแสดงความถ่อมได้อย่างไรตอนที่คนอื่นได้รับสิทธิพิเศษ?
13 ตอนที่คนอื่นได้สิทธิพิเศษ เจสันที่เป็นผู้ดูแลบอกว่า “พอเห็นคนอื่นได้สิทธิพิเศษ บางครั้งผมก็สงสัยว่าทำไมถึงไม่เป็นผม” คุณเคยรู้สึกแบบนั้นไหม? ไม่ผิดที่จะ “พยายามจะได้ทำหน้าที่” มากขึ้นในการรับใช้พระยะโฮวา (1 ทธ. 3:1) แต่เราต้องระวังสิ่งที่เราคิด ถ้าไม่ระวัง เราอาจยอมให้ความหยิ่งเกิดขึ้นในหัวใจของเรา ตัวอย่างเช่น พี่น้องชายคนหนึ่งอาจเริ่มคิดว่าเขาเหมาะที่สุดที่จะทำงานนี้ หรือพี่น้องหญิงอาจคิดว่า ‘ถ้าเป็นสามีฉัน เขาคงทำได้ดีกว่าพี่น้อง คนนั้นเยอะ’ แต่ถ้าเราเป็นคนถ่อมจริง ๆ เราจะไม่คิดแบบนั้น
14. เราเรียนอะไรได้จากโมเสสตอนที่เขารู้ว่ามีคนได้รับสิทธิพิเศษ?
14 เราเรียนเรื่องนี้ได้จากตัวอย่างของโมเสสตอนที่เขาเห็นคนอื่นได้รับสิทธิพิเศษ เขาเห็นค่าหน้าที่รับผิดชอบที่ได้เป็นผู้นำชาติอิสราเอล แต่ตอนที่พระยะโฮวาให้คนอื่นมีความสามารถที่จะทำงานบางอย่างเหมือนกับเขา โมเสสทำอย่างไร? เขาไม่อิจฉา (กดว. 11:24-29) ความถ่อมทำให้โมเสสยอมให้คนอื่นมาช่วยงานตัดสินคดีความ (อพย. 18:13-24) ชาวอิสราเอลเลยมีผู้ชายหลายคนที่ทำหน้าที่นั้นมากขึ้น และทำให้พวกเขาไม่ต้องรอการตัดสินคดีนานเกินไป นี่แสดงว่าโมเสสสนใจการช่วยประชาชนมากกว่าสิทธิพิเศษของเขา เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรา ให้เราจำไว้ว่าถ้าเราอยากเป็นประโยชน์ต่อพระยะโฮวาจริง ๆ ความถ่อมสำคัญกว่าความสามารถที่เรามี “แม้พระยะโฮวาสูงส่ง แต่พระองค์ก็สนใจคนถ่อม”—สด. 138:6
15. พี่น้องหลายคนเจอการเปลี่ยนแปลงอะไร?
15 ตอนที่เจอกับการเปลี่ยนแปลง ไม่กี่ปีมานี้ พี่น้องของเราหลายคนที่รับใช้พระยะโฮวามานานหลายสิบปีถูกเปลี่ยนงานมอบหมาย ตัวอย่างเช่น ในปี 2014 องค์การบอกว่าจะไม่มีผู้ดูแลภาคอีกต่อไป พวกเขากับภรรยาจะได้รับงานมอบหมายใหม่ให้ไปรับใช้เต็มเวลาประเภทอื่น และในปีเดียวกันนั้นเอง ผู้ดูแลหมวดที่อายุเกิน 70 ปีจะไม่ได้ทำหน้าที่นั้นอีกต่อไป และพี่น้องที่อายุ 80 ปีขึ้นไปจะไม่ได้เป็นผู้ประสานงานคณะผู้ดูแล นอกจากนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พี่น้องที่รับใช้ในเบเธลหลายคนก็ได้รับมอบหมายให้
ไปรับใช้ที่เขตประกาศ แล้วยังมีผู้รับใช้เต็มเวลาประเภทพิเศษหลายคนที่ต้องออกจากงานมอบหมายเพราะมีปัญหาสุขภาพ ต้องดูแลคนในครอบครัว หรือมีปัญหาอื่น ๆ16. พี่น้องของเราแสดงความถ่อมอย่างไรเมื่อเจอกับการเปลี่ยนแปลง?
16 เมื่อเจอแบบนี้หลายคนรู้สึกว่ายากที่จะยอมรับ พวกเขารู้สึกรักงานมอบหมายเก่าที่ได้ทำมาหลายปี บางคนทำใจไม่ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาก็ปรับตัวได้ เพราะอะไร? สิ่งที่ช่วยได้ก็คือพวกเขารักพระยะโฮวา พวกเขารู้ว่าพวกเขาอุทิศชีวิตให้กับพระองค์ ไม่ใช่ให้กับงานมอบหมายหรือตำแหน่งหน้าที่ (คส. 3:23) พวกเขาถ่อมและดีใจที่ยังรับใช้พระยะโฮวาต่อไปได้ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร พวกเขา “ฝากความกังวลทั้งหมดไว้กับพระองค์” เพราะรู้ว่าพระองค์ห่วงใยพวกเขาจริง ๆ—1 ปต. 5:6, 7
17. ทำไมเรารู้สึกขอบคุณที่คัมภีร์ไบเบิลสอนให้เราเป็นคนถ่อม?
17 เรารู้สึกขอบคุณจริง ๆ ที่คัมภีร์ไบเบิลสอนให้เราเป็นคนถ่อม เมื่อเราพยายามถ่อมมากขึ้น คนอื่นก็อยากอยู่ใกล้เรา ความถ่อมทำให้ทั้งเราและคนอื่นได้ประโยชน์ นอกจากนั้น เราจะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญที่สุดเราจะสนิทกับพระยะโฮวาพ่อของเราในสวรรค์มากขึ้น เราดีใจที่รู้ว่าถึงพระองค์จะเป็น “พระเจ้าองค์สูงสุดผู้สูงส่ง” พระองค์ก็รักและเห็นค่าผู้รับใช้ของพระองค์ทุกคนที่ถ่อมตัว—อสย. 57:15
เพลง 45 สิ่งที่ใจฉันคิดใคร่ครวญ
^ วรรค 5 เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะเป็นคนถ่อม ความถ่อมคืออะไร? ทำไมเราถึงต้องมีความถ่อม? แล้วทำไมถึงเป็นเรื่องยากที่จะเป็นคนถ่อมเมื่อสภาพการณ์ของเราเปลี่ยนไป? บทความนี้จะตอบคำถามสำคัญเหล่านี้
^ วรรค 7 ดูบทความ “พระยะโฮวาดีกับผมมาก” ในหอสังเกตการณ์ 1 ตุลาคม 1984 (ภาษาอังกฤษ) และบทความ “พระยะโฮวาทรงดีต่อผมเหลือเกิน!” 1 พฤษภาคม 2001
^ วรรค 53 คำอธิบายภาพ ตอนที่อยู่บ้านของพี่น้อง อัครสาวกเปาโลถ่อมตัวและมีความสุขที่ได้เป็นเพื่อนกับพี่น้องคนอื่น ๆ รวมทั้งเด็ก ๆ
^ วรรค 57 คำอธิบายภาพ พี่น้องชายคนหนึ่งยอมรับคำแนะนำจากพี่น้องชายที่อายุน้อยกว่า
^ วรรค 59 คำอธิบายภาพ พี่น้องชายที่อายุมากกว่าไม่อิจฉาพี่น้องชายที่อายุน้อยกว่าซึ่งได้รับสิทธิพิเศษในประชาคม