บทความศึกษา 41
สอนนักศึกษาให้ก้าวหน้าจนรับบัพติศมา (ตอน 1)
“พวกคุณเป็นหนังสือจากพระคริสต์ที่เป็นผลจากงานรับใช้ของเรา”—2 คร. 3:3
เพลง 78 “สอนคำสอนของพระเจ้า”
ใจความสำคัญ *
1. ข้อคัมภีร์ที่ 2 โครินธ์ 3:1-3 ช่วยเราอย่างไรให้เห็นค่าสิทธิพิเศษในการสอนคนให้ก้าวหน้าจนรับบัพติศมา? (ดูภาพหน้าปก)
คุณรู้สึกอย่างไรตอนที่คนในประชาคมของคุณรับบัพติศมา? คุณคงดีใจมากแน่ ๆ (มธ. 28:19) แล้วถ้าคนนั้นเป็นนักศึกษาของคุณ คุณก็คงยิ่งตื่นเต้นและยิ่งมีความสุขที่ได้เห็นเขารับบัพติศมาใช่ไหม? (1 ธส. 2:19, 20) คนที่เพิ่งรับบัพติศมาไม่ได้เป็นแค่ “หนังสือแนะนำตัว” ของผู้นำการศึกษาเท่านั้นแต่เป็นของทั้งประชาคมด้วย—อ่าน 2 โครินธ์ 3:1-3
2. (ก) เราต้องคิดถึงคำถามสำคัญอะไร? และทำไม? (ข) การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลคืออะไร? (ดูเชิงอรรถ)
2 น่าดีใจจริง ๆ ที่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการส่งรายงานการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลประมาณ 10 ล้านรายในแต่ละเดือน * และในช่วง 4 ปีนั้นมีคนที่รับบัพติศมาเป็นพยานฯ โดยเฉลี่ยมากกว่า 280,000 คนในแต่ละปี แต่เราจะช่วยนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่เหลือให้รับบัพติศมาด้วยได้อย่างไร? ในช่วงที่พระยะโฮวายังเปิดโอกาสให้หลายคนเข้ามาเป็นสาวกของพระเยซู เราอยากจะทำให้ดีที่สุดเพื่อช่วยทุกคนให้ก้าวหน้าและรับบัพติศมาให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เวลากำลังจะหมดอยู่แล้ว!—1 คร. 7:29ก; 1 ปต. 4:7
3. เราจะคุยอะไรกันเกี่ยวกับการสอนนักศึกษาในบทความนี้?
3 การสอนคนให้เป็นสาวกเป็นเรื่องสำคัญมากในตอนนี้ คณะกรรมการ * พวกเขาจะอธิบายว่าผู้นำการศึกษาและนักศึกษาจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อการศึกษาจะได้ผลดีมากขึ้น (สภษ. 11:14; 15:22) ในบทความนี้เราจะดูว่ามี 5 อย่างอะไรที่นักศึกษาต้องทำเพื่อที่เขาจะก้าวหน้าจนรับบัพติศมาได้ และเราที่เป็นผู้นำการศึกษาต้องช่วยเขาให้ทำ 5 อย่างนี้
ปกครองจึงขอสำนักงานสาขาต่าง ๆ ให้ทำการสำรวจว่าเราต้องทำอะไรบ้างเพื่อจะช่วยให้มีคนก้าวหน้าจนรับบัพติศมามากขึ้น ในบทความนี้และบทความถัดไปเราจะมาดูว่าเราเรียนอะไรได้จากไพโอเนียร์ มิชชันนารี และผู้ดูแลหมวดที่มีประสบการณ์จากประเทศต่าง ๆศึกษาทุกอาทิตย์
4. เราต้องยอมรับอะไรเกี่ยวกับการศึกษาหน้าประตูบ้านและการศึกษาโดยใช้เวลาสั้น ๆ?
4 พี่น้องของเราหลายคนนำการศึกษาโดยใช้เวลาสั้น ๆ และก็ไม่ได้ศึกษาทุกอาทิตย์ ส่วนบางคนก็ศึกษาที่หน้าประตูบ้าน ถึงนี่เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่เราต้องพยายามที่จะช่วยให้คนที่เราคุยด้วยสนใจมากขึ้น พี่น้องบางคนก็เลยให้ข้อมูลติดต่อของตัวเองกับคนที่สนใจ และถ้าทำได้ ในช่วงที่ไม่ได้เจอกันก็โทรหรือส่งข้อความไปคุยเรื่องคัมภีร์ไบเบิลกับเขา หลายคนทำแบบนี้อยู่หลายเดือนแต่นักศึกษาก็ไม่ก้าวหน้าเท่าไร ถ้าเรามีนักศึกษาที่ออกความพยายามและให้เวลาแค่นั้นกับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เขาจะก้าวหน้าจนอุทิศตัวและรับบัพติศมาได้ไหม? อาจจะเป็นอย่างนั้นได้ยาก
5. พระเยซูพูดอะไรในลูกา 14:27-33 ที่เราสามารถใช้เพื่อช่วยนักศึกษาได้?
5 ครั้งหนึ่งพระเยซูใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่ออธิบายว่าคนที่อยากเป็นสาวกของท่านต้องทำอะไรบ้าง ท่านพูดถึงตัวอย่างของคนที่อยากจะสร้างหอคอยและตัวอย่างของกษัตริย์ที่อยากจะทำสงคราม พระเยซูบอกว่าคนที่จะสร้างหอคอยต้อง “นั่งลงคำนวณค่าใช้จ่ายก่อน” เพื่อที่เขาจะสร้างหอคอยให้เสร็จได้ และคนที่เป็นกษัตริย์ก็ต้อง “นั่งลงคุยกับที่ปรึกษาก่อน” ว่าทหารจะทำตามแผนได้ไหม (อ่านลูกา 14:27-33) เหมือนกัน คนที่อยากจะเป็นสาวกของพระเยซูก็ต้องคิดให้ดีว่าการติดตามท่านหมายความว่าเขาต้องเสียสละอะไรบางอย่าง และเพื่อจะช่วยให้เขาเข้าใจเรื่องนี้ เราควรกระตุ้นให้เขาจัดเวลาศึกษากับเราทุกอาทิตย์ เราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร?
6. เราอาจทำอะไรเพื่อช่วยนักศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น?
6 คุณอาจจะเริ่มจากใช้เวลากับเขาให้นานขึ้น เช่น ลองหาข้อคัมภีร์สักข้อสองข้อมาคุยกับเขามากขึ้นก็ได้ พอเจ้าของบ้านเริ่มชินก็ลองถามเขาดูว่าเขามีเวลาที่จะคุยกันมากขึ้นอีกได้ไหม และถ้าคุณศึกษากับเจ้าของบ้านที่หน้าประตู ก็ลองถามเขาดูว่าจะไปนั่งศึกษากันตรงไหนได้ไหม คำตอบของเจ้าของบ้านจะทำให้คุณรู้ว่าเขาให้ความสำคัญกับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมากแค่ไหน และเพื่อที่จะช่วยเขาก้าวหน้าได้เร็วขึ้น คุณอาจจะถามเขาว่าจะศึกษาอาทิตย์ละ 2 ครั้งได้ไหม แต่การศึกษาอาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้งยังไม่พอ มีอย่างอื่นที่คุณต้องทำด้วย
เตรียมการศึกษาทุกครั้ง
7. ผู้นำการศึกษาจะเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการศึกษาแต่ละครั้งได้อย่างไร?
7 คนที่เป็นผู้นำการศึกษาต้องเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการศึกษาแต่ละครั้ง คุณอาจจะเริ่มจากการอ่านเนื้อหาและดูข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ให้คุณคิดถึงจุดสำคัญที่อยู่ในเนื้อหานั้น และคิดถึงชื่อบท หัวข้อย่อย คำถามของแต่ละข้อ ข้อคัมภีร์ที่บอกให้อ่าน รูปภาพ และวีดีโอที่ช่วยอธิบายเรื่องนั้น จากนั้นให้คุณคิดถึงนักศึกษาของคุณด้วยว่าคุณจะอธิบายเนื้อหาอย่างไรให้เขาเข้าใจได้ง่ายและเอาไปใช้ในชีวิตได้จริง—นหม. 8:8; สภษ. 15:28ก
8. คำพูดของอัครสาวกเปาโลที่โคโลสี 1:9, 10 สอนอะไรเกี่ยวกับการอธิษฐานเพื่อนักศึกษาของเรา?
8 ตอนที่เตรียมตัวสำหรับการศึกษา ให้คุณอธิษฐานถึงพระยะโฮวาเกี่ยวกับนักศึกษาและความจำเป็นของเขา ขอพระองค์ช่วยคุณให้สอนจากคัมภีร์ไบเบิลในแบบที่เข้าถึงหัวใจของนักศึกษาได้ (อ่านโคโลสี 1:9, 10) ถามตัวเองว่ามีอะไรไหมที่เขาอาจเข้าใจได้ยากหรือยอมรับได้ยาก จำไว้ว่าเป้าหมายของคุณคือการช่วยนักศึกษาให้ก้าวหน้าจนรับบัพติศมา
9. ผู้นำการศึกษาจะช่วยนักศึกษาให้เตรียมตัวล่วงหน้าได้อย่างไรบ้าง?
9 เราหวังว่าการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำจะช่วยนักศึกษาให้เห็นค่าสิ่งที่พระยะโฮวาและพระเยซูทำเพื่อเขาและทำให้เขาอยากเรียนรู้มากขึ้น (มธ. 5:3, 6) เพื่อจะได้ประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ นักศึกษาต้องใส่ใจสิ่งที่เขาเรียน และเพื่อจะช่วยให้นักศึกษาทำอย่างนั้นได้ คุณต้องช่วยเขาให้เข้าใจว่า การเตรียมตัวสำหรับการศึกษาแต่ละครั้งสำคัญขนาดไหน เขาต้องอ่านเนื้อหาก่อนล่วงหน้าและคิดว่าจะเอาเรื่องที่เรียนไปใช้ได้อย่างไร แล้วคุณจะช่วยเขาได้อย่างไร? คุณต้องเตรียมด้วยกันกับนักศึกษา และทำให้เขาดูว่าจะเตรียมการศึกษาอย่างไร * บอกเขาว่าจะหาคำตอบที่ตรงจุดได้อย่างไร และอธิบายว่าการขีดเฉพาะคำสำคัญจะช่วยให้เขาจำคำตอบได้ง่ายขึ้น แล้วลองให้เขาตอบโดยใช้คำพูดของตัวเอง เพราะถ้าเขาทำแบบนี้ คุณก็จะรู้ว่าเขาเข้าใจเนื้อหาได้ดีแค่ไหน แต่มีอย่างอื่นอีกที่คุณสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาทำได้
สอนนักศึกษาให้คุยกับพระยะโฮวาทุกวัน
10. ทำไมการอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันถึงสำคัญ? และนักศึกษาต้องทำอะไรเพื่อจะได้รับประโยชน์จากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างเต็มที่?
10 นอกจากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับผู้นำการศึกษา มีบางอย่างที่นักศึกษาต้องทำทุกวันด้วย เขาต้องคุยกับพระยะโฮวาทุกวัน เขาจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร? ก็โดยการที่เขาฟังและพูดกับพระองค์ เขาฟังพระยะโฮวาได้โดยอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน (ยชว. 1:8; สด. 1:1-3) คุณอาจให้เขาดู “ตารางการอ่านคัมภีร์ไบเบิล” ที่อยู่ในเว็บไซต์ jw.org * สอนเขาว่าเพื่อที่เขาจะได้รับประโยชน์จากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างเต็มที่ เขาต้องคิดใคร่ครวญว่าสิ่งที่เขาอ่านสอนอะไรเขาเกี่ยวกับพระยะโฮวา และเขาจะเอาสิ่งที่ได้เรียนไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร—กจ. 17:11; ยก. 1:25
11. นักศึกษาจะเรียนวิธีอธิษฐานอย่างถูกต้องได้อย่างไร? และทำไมถึงสำคัญที่เขาจะอธิษฐานถึงพระยะโฮวาบ่อย ๆ?
11 กระตุ้นนักศึกษาของคุณให้พูดกับพระยะโฮวาโดยอธิษฐานทุกวัน ให้คุณอธิษฐานกับเขาก่อนที่คุณเริ่มศึกษาและหลังจากที่คุณศึกษาเสร็จ และให้พูดถึงนักศึกษาของคุณในคำอธิษฐานด้วย พอเขาเห็นวิธีที่คุณอธิษฐาน เขาก็จะได้เรียนว่าเขาต้องอธิษฐานจากใจอย่างไร และเขาจะได้รู้ว่าเขาต้องอธิษฐานถึงพระยะโฮวาพระเจ้าในนามพระเยซูคริสต์ (มธ. 6:9; ยน. 15:16) ลองคิดดูว่าถ้านักศึกษาของคุณอธิษฐาน (พูดกับพระยะโฮวา) และอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน (ฟังพระยะโฮวา) เขาจะสนิทกับพระองค์มากขึ้นแค่ไหน (ยก. 4:8) ถ้านักศึกษาของคุณทำแบบนั้น นี่ก็จะช่วยให้เขาก้าวหน้ามากขึ้นจนอุทิศตัวและรับบัพติศมาได้ แต่อะไรจะช่วยเขาได้อีก?
ช่วยนักศึกษาให้สนิทกับพระยะโฮวา
12. ผู้นำการศึกษาจะช่วยนักศึกษาให้สนิทกับพระยะโฮวาได้อย่างไร?
12 สิ่งที่นักศึกษาเรียนไม่ควรอยู่แค่ในสมองของเขาแต่ควรเข้าถึงหัวใจของเขาด้วย ทำไม? เพราะหัวใจเกี่ยวข้องกับความต้องการ อารมณ์ และความรู้สึกของเรา หัวใจจะกระตุ้นให้เราลงมือทำ พระเยซูสอนผู้คนหลายอย่างและพวกเขาก็ชอบเรียนจากท่าน แต่เหตุผลที่ทำให้ผู้คนติดตามท่านก็เพราะท่านสอนในแบบที่เข้าถึงหัวใจพวกเขา (ลก. 24:15, 27, 32) คุณต้องช่วยนักศึกษาให้เห็นว่าพระยะโฮวาเป็นบุคคลจริง ๆ ที่เขาสามารถมีความสัมพันธ์ด้วยได้ และมองพระองค์ว่าเป็นพ่อ เป็นพระเจ้า และเป็นเพื่อนของเขา (สด. 25:4, 5) ไม่ว่าคุณจะศึกษากับเขาเรื่องอะไร ให้เน้นทุกครั้งว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าแบบไหน และเน้นให้เขาเห็นคุณลักษณะที่ดีของพระองค์ เช่น ความรัก ความกรุณา และความสงสาร (อพย. 34:5, 6; 1 ปต. 5:6, 7) พระเยซูบอกว่า “กฎหมายข้อที่สำคัญที่สุดและเป็นข้อแรก” คือ “ให้รักพระยะโฮวาพระเจ้าของคุณ” (มธ. 22:37, 38) ขอให้คุณพยายามช่วยนักศึกษาให้รักพระยะโฮวาจากหัวใจ
13. ผู้นำการศึกษาจะช่วยนักศึกษาให้เรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระยะโฮวาได้อย่างไร?
13 ตอนที่คุณคุยกับนักศึกษา ให้คุณพูดความรู้สึกที่คุณมีต่อพระยะโฮวาให้เขาฟัง เล่าว่าอะไรที่ทำให้คุณรักพระองค์ นี่จะช่วยให้นักศึกษารู้ว่าเขาเองต้องสนิทกับพระยะโฮวาและรักพระองค์ (สด. 73:28) ตัวอย่างเช่น มีประโยคไหนไหมที่คุณเจอในหนังสือขององค์การหรือในคัมภีร์ไบเบิลที่พูดถึงคุณลักษณะของพระยะโฮวาที่คุณประทับใจ เช่น ความรัก สติปัญญา ความยุติธรรม หรือพลังอำนาจของพระองค์? เล่าให้นักศึกษาของคุณฟัง ทำให้เขารู้ว่านี่เป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำไมคุณถึงรักพระยะโฮวาพ่อในสวรรค์ของคุณ แต่ยังมีอีกอย่างที่นักศึกษาทุกคนต้องทำเพื่อที่เขาจะก้าวหน้าจนรับบัพติศมา
กระตุ้นนักศึกษาให้ไปประชุม
14. ฮีบรู 10:24, 25 บอกอะไรเราเกี่ยวกับการประชุมที่จะช่วยให้นักศึกษาก้าวหน้าได้?
14 เราทุกคนอยากให้นักศึกษาก้าวหน้าจนรับบัพติศมา วิธีที่สำคัญวิธีหนึ่งที่เราช่วยพวกเขาได้ก็คือกระตุ้นพวกเขาให้ไปประชุม ผู้นำการศึกษาที่มีประสบการณ์หลายคนบอกว่า นักศึกษาที่ก้าวหน้าเร็วที่สุดคือนักสด. 111:1) ผู้นำการศึกษาบางคนบอกนักศึกษาว่าเขาจะเรียนอะไรได้หลายอย่างจากการศึกษา แต่มันอาจจะเป็นความรู้แค่ครึ่งเดียว ถ้าเขาอยากได้ความรู้อีกครึ่งหนึ่ง เขาต้องไปประชุม อ่านฮีบรู 10:24, 25 กับนักศึกษาของคุณ อธิบายให้เขาฟังว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไรถ้าเขามาประชุม เปิดวีดีโอเราทำอะไรบ้างที่หอประชุมราชอาณาจักร? ให้เขาดู * ช่วยให้นักศึกษารู้สึกว่าการประชุมเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเขาและช่วยเขาให้ตั้งใจไม่ขาดการประชุม
ศึกษาที่มาประชุมทันที (15. เราจะกระตุ้นนักศึกษาอย่างไรให้มาประชุมสม่ำเสมอ?
15 คุณจะทำอย่างไรถ้านักศึกษาของคุณยังไม่เคยมาประชุมหรือมาประชุมไม่สม่ำเสมอ? ลองเล่าให้เขาฟังดูสิว่าสิ่งที่คุณได้เรียนในการประชุมครั้งล่าสุดน่าสนใจขนาดไหน ถ้าคุณทำอย่างนี้ก็อาจจะทำให้เขาอยากมาประชุมมากกว่าที่คุณชวนเขาเฉย ๆ ลองให้หอสังเกตการณ์ หรือคู่มือประชุมชีวิตและงานรับใช้ ที่กำลังใช้ในตอนนี้กับเขา และเล่าให้เขาฟังว่าการประชุมครั้งถัดไปจะพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ลองถามเขาว่าส่วนไหนน่าสนใจที่สุดสำหรับเขา ตอนที่เขาไปประชุมครั้งแรกเขาจะได้เห็นว่าการมาประชุมกับเราดีกว่าการไปทำกิจกรรมทางศาสนาที่เขาเคยไป (1 คร. 14:24, 25) และเขาจะได้รู้จักหลายคนที่เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งจะช่วยให้เขาก้าวหน้าจนรับบัพติศมาด้วย
16. เราต้องทำอะไรเพื่อจะสอนนักศึกษาให้ก้าวหน้าจนรับบัพติศมา? และเราจะเรียนอะไรในบทความถัดไป?
16 เราจะสอนนักศึกษาอย่างไรให้เขาก้าวหน้าจนรับบัพติศมา? เราต้องช่วยให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการศึกษาโดยกระตุ้นให้เขาศึกษาเป็นประจำทุกอาทิตย์และเตรียมตัวก่อนศึกษาทุกครั้ง เราอยากจะกระตุ้นเขาให้คุยกับพระยะโฮวาทุกวันและสนิทกับพระองค์มากขึ้น และเราอยากกระตุ้นเขาให้ไปประชุมด้วย (ดูกรอบ “ นักศึกษาต้องทำอะไรเพื่อจะก้าวหน้าจนรับบัพติศมา?”) แต่แค่นั้นยังไม่พอ บทความถัดไปจะอธิบายว่ายังมีอีก 5 อย่างที่ผู้นำการศึกษาต้องทำเพื่อช่วยนักศึกษาให้ก้าวหน้าจนรับบัพติศมา
เพลง 76 คุณรู้สึกอย่างไร?
^ วรรค 5 การสอนคนหมายถึงการที่เราช่วยให้เขา “เปลี่ยนความคิด ความรู้สึก หรือการกระทำของเขา” มัทธิว 28:19 ซึ่งเป็นข้อคัมภีร์ประจำปี 2020 ช่วยให้เราคิดถึงความสำคัญของการสอนคัมภีร์ไบเบิลและช่วยคนให้รับบัพติศมาเป็นสาวกของพระเยซู ในบทความนี้และบทความต่อจากนี้ เราจะดูว่าเราจะทำงานที่สำคัญนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร
^ วรรค 2 อธิบายคำศัพท์ ถ้าคุณคุยกับบางคนเป็นประจำไม่ว่าจะโดยใช้คัมภีร์ไบเบิล หนังสือ หรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งขององค์การ หรือยกข้อมูลจากหนังสือหรือสื่อเหล่านั้น คุณก็กำลังนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ถ้าคุณสาธิตการศึกษาไปครั้งหนึ่งและนำการศึกษาไปแล้ว 2 ครั้ง และคิดว่าคนนั้นจะศึกษาต่อ คุณก็สามารถนับเป็นรายศึกษาได้
^ วรรค 3 นอกจากนั้น ในบทความนี้และบทความถัดไปยังมีคำแนะนำที่มาจากบทความชุด “การนำการศึกษาพระคัมภีร์ที่ช่วยให้นักศึกษาก้าวหน้า” ซึ่งอยู่ในพระราชกิจของเรา เดือนกรกฎาคม 2004 ถึงเดือนพฤษภาคม 2005
^ วรรค 9 ดูวีดีโอ 4 นาทีเรื่อง “สอนนักศึกษาให้เตรียมตัวล่วงหน้า” ในแอป JW Library® ไปที่มีเดีย > การประชุมและงานประกาศ > ทำให้ความสามารถในงานรับใช้ของคุณดีขึ้น
^ วรรค 10 ไปที่คำสอนของคัมภีร์ไบเบิล > เครื่องมือศึกษาคัมภีร์ไบเบิล
^ วรรค 14 ในแอป JW Library® ไปที่สิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย > การประชุมและงานประกาศ > เครื่องมือสำหรับการประกาศ