บทความศึกษา 41
เรารับใช้พระเจ้าที่ “มีเมตตาล้นเหลือ”
“พระยะโฮวาดีต่อทุกชีวิต ความเมตตาของพระองค์เห็นได้จากทุกสิ่งที่พระองค์สร้าง”—สด. 145:9
เพลง 44 คำอธิษฐานของคนทุกข์ใจ
ใจความสำคัญ *
1. ถ้าพูดถึงคนเมตตา เราอาจจะนึกถึงคนแบบไหน?
ถ้าเราพูดถึงคนเมตตา เราจะนึกถึงคนแบบไหน? เราอาจจะนึกถึงคนที่อ่อนโยน อบอุ่น เห็นอกเห็นใจ และใจกว้าง เราอาจจะคิดถึงตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูด้วยเรื่องคนสะมาเรียที่เมตตาคนยิว พอเขาเห็นคนยิวที่ถูกโจรปล้นและถูกทำร้ายจนบาดเจ็บหนัก เขาก็ “รู้สึกสงสาร” และเข้าไปช่วยเหลือคนยิวคนนั้นด้วยความรัก (ลก. 10:29-37) ตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ทำให้เราเห็นว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่เมตตา พระองค์เมตตาเราเพราะพระองค์รักเรามาก และพระองค์ทำอย่างนี้กับเราทุกวัน
2. ความเมตตายังเกี่ยวข้องกับอะไรอีก?
2 ถ้าเราพูดถึงความเมตตา เรายังคิดถึงอีกอย่างหนึ่งด้วยซึ่งก็คือการไม่ลงโทษคนที่ทำผิด พระยะโฮวาเมตตากับเราแบบนั้น เหมือนกับที่ผู้เขียนหนังสือสดุดีบอกว่า “พระองค์ไม่ลงโทษพวกเราให้สมกับบาปของพวกเรา” (สด. 103:10) แต่บางครั้งพระยะโฮวาก็ต้องสั่งสอนแรง ๆ กับคนที่ทำผิดด้วย
3. เราจะคุยอะไรกันในบทความนี้?
3 ในบทความนี้เราจะมาดู 3 คำถามด้วยกัน ทำไมพระยะโฮวาถึงแสดงความเมตตา? การสั่งสอนแรง ๆ เป็นการแสดงความเมตตายังไง? และอะไรจะช่วยให้เราแสดงความเมตตา? ให้เรามาดูคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จากคัมภีร์ไบเบิลด้วยกัน
ทำไมพระยะโฮวาแสดงความเมตตา?
4. ทำไมพระยะโฮวาแสดงความเมตตา?
4 พระยะโฮวาชอบแสดงความเมตตามาก อัครสาวกเปาโลได้รับการดลใจให้เขียนว่า “พระเจ้ามีเมตตาล้นเหลือ” ในท้องเรื่องนี้เปาโลกำลังบอกว่าพระเจ้าแสดงความเมตตากับมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์แบบโดยให้พวกเขามีความหวังในสวรรค์ (อฟ. 2:4-7) แต่พระยะโฮวาไม่ได้แสดงความเมตตากับคนกลุ่มนี้เท่านั้น ในหนังสือสดุดี ดาวิดเขียนว่า “พระยะโฮวาดีต่อทุกชีวิต ความเมตตาของพระองค์เห็นได้จากทุกสิ่งที่พระองค์สร้าง” (สด. 145:9) พระยะโฮวารักมนุษย์มาก พระองค์เลยหาทางที่จะแสดงความเมตตาทุกครั้งที่ทำได้
5. พระเยซูรู้ได้ยังไงว่าพระยะโฮวาเมตตา?
5 พระเยซูรู้ว่าพระยะโฮวาชอบแสดงความเมตตามากแค่ไหน ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับท่านอีกแล้วเพราะท่านอยู่กับพระยะโฮวาบนสวรรค์เป็นเวลานานมาก (สภษ. 8:30, 31) ท่านได้เห็นว่าพระยะโฮวาแสดงความเมตตาไม่รู้กี่ครั้งกับมนุษย์ที่ทำบาปต่อพระองค์ (สด. 78:37-42) และตอนที่พระเยซูสอน ท่านก็เน้นคุณลักษณะนี้ของพระยะโฮวาบ่อย ๆ
6. พระเยซูช่วยให้เราเข้าใจยังไงว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่เมตตา?
6 ในบทความที่แล้วเราได้เห็นว่าพระเยซูใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องลูกที่หลงหายเพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่เมตตาขนาดไหน ในตัวอย่างเปรียบเทียบนั้น ลูกคนหนึ่งออกจากบ้านแล้วก็ “ใช้ชีวิตอย่างเสเพล และใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย” (ลก. 15:13) แต่หลังจากนั้น เขากลับใจ ถ่อมตัวลงแล้วก็กลับบ้าน พ่อของเขาทำยังไง? พระเยซูบอกว่า “ตอนที่ [ลูก] ยังอยู่แต่ไกล พ่อก็เห็นเขาและรู้สึกสงสาร พ่อเลยวิ่งเข้าไปหา ทั้งกอดและจูบเขา” พ่อไม่ได้ด่าว่าลูกหรือทำให้เขารู้สึกแย่ไปกว่าเดิม แต่พ่อเมตตาและต้อนรับเขากลับมาในครอบครัวอีกครั้ง ถึงลูกคนนี้ได้ทำบาปร้ายแรงมาก แต่เพราะเขากลับใจ พ่อก็เลยให้อภัยเขา พ่อในตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ก็เหมือนพระยะโฮวา พระเยซูทำให้เราเห็นว่าพระยะโฮวาพร้อมจะให้อภัยคนบาปที่กลับใจจริง ๆ—ลก. 15:17-24
7. การที่พระยะโฮวาเมตตาแสดงว่าพระองค์เป็นพระเจ้าที่ฉลาดยังไง?
7 พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่ฉลาดที่สุด แต่พระองค์ไม่ได้ใช้สติปัญญาอย่างไร้ความรู้สึก ไม่ว่าพระองค์ยก. 3:17) พ่อแม่ที่รักลูกรู้ว่าลูกต้องการความเมตตาจากพ่อแม่ (สด. 103:13; อสย. 49:15) พระยะโฮวาก็เหมือนกัน พระองค์รู้ว่าเราเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์แบบและต้องได้รับความเมตตาจากพระองค์อย่างมาก พระองค์เลยเมตตาเราและนี่ทำให้เรามีความหวังในอนาคต เห็นชัดเลยว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่ฉลาดจริง ๆ และนี่ทำให้พระองค์หาทางที่จะแสดงความเมตตาทุกครั้งที่ทำได้ แต่ที่พระยะโฮวาเมตตาไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะปิดหูปิดตากับการทำผิด เรารู้ได้ยังไง?
ตัดสินใจทำอะไรจะมีผลดีกับสิ่งที่พระองค์สร้างเสมอ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “สติปัญญาจากเบื้องบน . . . เต็มไปด้วยความเมตตา ทำให้เกิดผลดีมากมาย” (8. บางครั้งต้องทำอะไร? และทำไม?
8 ถ้ามีผู้รับใช้ของพระเจ้าที่จงใจทำบาป เราควรทำยังไง? เปาโลได้รับการดลใจให้เขียนว่า “ให้เลิกคบ” กับคนนั้น (1 คร. 5:11) คนที่ไม่กลับใจจะถูกตัดสัมพันธ์จากประชาคม นี่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะปกป้องพี่น้องและเพื่อสนับสนุนมาตรฐานที่บริสุทธิ์ของพระยะโฮวา แต่บางคนรู้สึกว่าการตัดสัมพันธ์แสดงว่าพระเจ้าไม่เมตตา แต่จริง ๆ แล้วเป็นอย่างนั้นไหม?
การสั่งสอนแรง ๆ เป็นการแสดงความเมตตาไหม?
9-10. จากฮีบรู 12:5, 6 ทำไมถึงบอกได้ว่าการตัดสัมพันธ์เป็นการแสดงความเมตตา? ขอยกตัวอย่าง
9 ตอนที่เราได้ยินคำประกาศที่การประชุมว่าพี่น้องที่เรารัก “ไม่ได้เป็นพยานพระยะโฮวาอีกต่อไป” เราก็รู้สึกเสียใจมาก เราอาจสงสัยว่าจำเป็นจริง ๆ ไหมที่เขาต้องถูกตัดสัมพันธ์? การตัดสัมพันธ์เป็นการแสดงความเมตตาจริง ๆ เหรอ? ใช่ เพราะการไม่สั่งสอนคนที่สมควรได้รับการสั่งสอนเป็นการไม่แสดงความรัก ไม่เมตตา และไม่ฉลาด (สภษ. 13:24) การตัดสัมพันธ์จะช่วยคนบาปที่ไม่กลับใจให้เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ไหม? ได้ เราเห็นตัวอย่างของหลายคนที่เคยทำบาปร้ายแรง พวกเขารู้สึกว่าการสั่งสอนแรง ๆ จากผู้ดูแลทำให้พวกเขาสำนึกตัวได้ เปลี่ยนแปลงตัวเอง และกลับมาหาพระยะโฮวาอีกครั้ง—อ่านฮีบรู 12:5, 6
10 เพื่อเราจะเข้าใจว่าการตัดสัมพันธ์เป็นการแสดงความเมตตาต่อประชาคมด้วย ให้ลองคิดถึงตัวอย่างนี้ คนเลี้ยงแกะคนหนึ่งอาจจะสังเกตว่ามีแกะตัวหนึ่งในฝูงที่ป่วย เขารู้ว่าเพื่อจะช่วยแกะตัวนี้ เขาต้องแยกมันต่างหาก จริง ๆ แล้วแกะเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง มันอาจจะกระสับกระส่ายและตื่นกลัวเมื่อต้องถูกแยกออกจากแกะตัวอื่น ๆ การที่คนเลี้ยงแกะทำอย่างนี้แสดงว่าเขาโหดร้ายกับแกะของเขาไหม? ไม่ เขารู้ว่าถ้าปล่อยให้แกะที่ป่วยยังอยู่ในฝูง มันจะแพร่เชื้อโรคให้กับแกะตัวอื่น ๆ และจะทำให้แกะตัวอื่นป่วยไปด้วย ดังนั้น เขาต้องแยกมันต่างหากเพื่อจะปกป้องแกะทั้งฝูง—เทียบกับเลวีนิติ 13:3, 4
11. (ก) คนที่ถูกตัดสัมพันธ์เป็นเหมือนแกะที่ป่วยยังไง? (ข) มีอะไรบ้างที่ช่วยคนที่ถูกตัดสัมพันธ์ได้?
11 คนที่ถูกตัดสัมพันธ์เป็นเหมือนแกะที่ป่วย ความสัมพันธ์ของเขากับพระยะโฮวากำลังมีปัญหา (ยก. 5:14) เหมือนกับแกะที่ป่วยที่อาจแพร่เชื้อให้กับแกะตัวอื่น ๆ คนที่ทำบาปอาจจะแพร่ความคิดที่ไม่ดีให้กับพี่น้องในประชาคมได้ ดังนั้น ในบางครั้งการตัดสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อจะปกป้องพี่น้องในประชาคม นี่เป็นวิธีที่พระยะโฮวาแสดงความรักต่อฝูงแกะของพระองค์และยังอาจทำให้คนที่ทำบาปสำนึกผิดและ กลับใจก็ได้ คนที่ถูกตัดสัมพันธ์ยังสามารถไปประชุม รับหนังสือไปอ่านเอง และดูรายการโทรทัศน์ JW ได้ซึ่งนี่จะทำให้เขามีความเชื่อที่เข้มแข็งขึ้น และระหว่างที่ผู้ดูแลสังเกตความก้าวหน้าของเขา ผู้ดูแลอาจจะให้คำแนะนำกับเขาเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้เขากลับมาสนิทกับพระยะโฮวา และถูกรับกลับมาเป็นพยานพระยะโฮวาอีกครั้ง *
12. ผู้ดูแลจะแสดงยังไงว่าเขารักและเมตตาคนบาปที่ไม่กลับใจ?
12 เราต้องจำไว้ว่าเฉพาะคนบาปที่ไม่กลับใจเท่านั้นที่ถูกตัดสัมพันธ์ ผู้ดูแลรู้ว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินให้ใครคนหนึ่งถูกตัดสัมพันธ์ และพวกเขารู้ว่าพระยะโฮวาสั่งสอน “ตามสมควร” (ยรม. 30:11) เขารักพี่น้องทุกคนในประชาคมและเขาไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ความสัมพันธ์ของพี่น้องกับพระยะโฮวามีปัญหา แต่บางครั้งวิธีเดียวที่จะแสดงความรักและความเมตตาก็คือการให้คนที่ทำผิดออกไปจากประชาคม
13. ทำไมคริสเตียนคนหนึ่งในเมืองโครินธ์ต้องถูกตัดสัมพันธ์?
13 ให้เราดูว่าเปาโลจัดการกับคนบาปที่ไม่กลับใจในสมัยนั้นยังไง คริสเตียนคนหนึ่งในเมืองโครินธ์มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของพ่อตัวเอง น่าตกใจจริง ๆ พระยะโฮวาเคยบอกกับชาวอิสราเอลว่า “ใครมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของพ่อ ก็ทำให้พ่อของตัวเองอับอาย ทั้งสองคนที่ทำผิดจะต้องถูกประหารชีวิต” (ลนต. 20:11) ก็จริงที่เปาโลบอกให้ประชาคมประหารชีวิตผู้ชายคนนี้ไม่ได้ แต่เขาบอกให้ตัดสัมพันธ์คนนี้ออกจากประชาคม การกระทำของผู้ชายคนนี้มีผลกับคนอื่นในประชาคม บางคนถึงกับไม่รู้สึกอะไรกับการกระทำที่น่ารังเกียจของเขา—1 คร. 5:1, 2, 13
14. เปาโลแสดงความเมตตากับคนที่ถูกตัดสัมพันธ์ในเมืองโครินธ์ยังไง? และทำไม? (2 โครินธ์ 2:5-8, 11)
14 พอเวลาผ่านไป เปาโลก็ได้รู้ว่าคนบาปคนนี้ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองและกลับใจจริง ๆ ถึงผู้ชายคนนี้จะทำให้ประชาคมอับอาย แต่เปาโลไม่อยากสั่งสอนผู้ชายคนนี้แรงเกินไป และเขาบอกพวกผู้ดูแลว่า “พวกคุณน่าจะยอมให้อภัยและปลอบใจเขามากกว่า เขาจะได้ไม่จมอยู่กับความเศร้ามากเกินไป” เปาโลสงสารผู้2 โครินธ์ 2:5-8, 11
ชายคนนี้ และไม่อยากทำให้เขารู้สึกท้อจนไม่อยากกลับเข้ามาในประชาคม—อ่าน15. ผู้ดูแลจะแสดงความสมดุลได้ยังไง?
15 ผู้ดูแลชอบแสดงความเมตตามากเหมือนกับพระยะโฮวา พวกเขาจะสั่งสอนเมื่อจำเป็น แต่ก็แสดงความเมตตาทุกครั้งที่ทำได้ เพราะถ้าผู้ดูแลไม่สั่งสอนคนที่ทำผิดเลย พวกเขาก็ไม่ได้แสดงความเมตตาแต่กลายเป็นว่าปิดหูปิดตากับการทำผิด แต่มีแค่ผู้ดูแลเท่านั้นไหมที่ต้องแสดงความเมตตา?
อะไรจะช่วยให้เราทุกคนแสดงความเมตตา?
16. จากสุภาษิต 21:13 พระยะโฮวาจะทำยังไงกับคนที่ไม่เมตตา?
16 เราทุกคนอยากจะแสดงความเมตตาเหมือนกับพระยะโฮวา เพราะอะไร? เพราะพระยะโฮวาบอกว่าพระองค์จะไม่ฟังคนที่ไม่เมตตาคนอื่น (อ่านสุภาษิต 21:13) เราไม่อยากให้พระองค์ทำแบบนั้นกับเรา เราเลยพยายามมากที่จะไม่เป็นคนใจร้ายใจดำ วิธีหนึ่งที่เราจะทำแบบนั้นได้ก็คือเราจะไม่ทำเป็นหูทวนลมตอนที่พี่น้องมาเล่าความทุกข์ให้ฟัง แต่เราจะ “ฟังเสียงร้องขอความช่วยเหลือของคนต่ำต้อย” เราจะจำไว้ว่า “คนที่ไม่เมตตาจะถูกตัดสินอย่างไร้ความเมตตา” (ยก. 2:13) ถ้าเราถ่อมและคิดเสมอว่าตัวเราเองจำเป็นต้องได้รับความเมตตา เราก็จะอยากแสดงความเมตตากับคนอื่นมากขึ้น เมื่อมีคนบาปที่กลับใจกลับเข้ามาในประชาคมเรายิ่งต้องแสดงความเมตตา
17. ดาวิดแสดงความเมตตายังไง?
17 ตัวอย่างในคัมภีร์ไบเบิลช่วยให้เราเป็นคนเมตตาและไม่ใจดำหรือโหดร้าย ตัวอย่างเช่น ลองคิดถึงกษัตริย์ดาวิด เขาชอบแสดงความเมตตากับคนอื่น ดาวิดรู้ว่าซาอูลเป็นกษัตริย์ที่พระเจ้าแต่งตั้ง ถึงซาอูลอยากจะฆ่าเขา แต่เขาก็ยังเมตตาซาอูลและไม่ยอมแก้แค้นหรือเอาคืน—1 ซม. 24:9-12, 18, 19
18-19. มีสองครั้งไหนที่ดาวิดไม่ได้แสดงความเมตตา?
18 บางครั้งดาวิดก็ไม่ได้แสดงความเมตตา อย่างเช่นตอนที่ดาวิดส่งคนของเขาไปหานาบาลซึ่งเป็นคนก้าวร้าวและนิสัยไม่ดี พอพวกเขาไปขออาหารแล้วนาบาลไม่ให้แถมยังด่าอีก ดาวิดก็โกรธมากและอยากจะไปฆ่านาบาลกับผู้ชายทุกคนในบ้านของเขา ดีที่อาบีกายิลภรรยาของนาบาลซึ่งเป็นคนใจเย็นห้ามเอาไว้ ดาวิดเลยไม่ได้ทำแบบนั้น—1 ซม. 25:9-22, 32-35
19 ต่อมา มีอยู่วันหนึ่งผู้พยากรณ์นาธันเล่าให้ดาวิดฟังว่ามีคนรวยคนหนึ่งขโมยแกะของคนจน มันเป็นแกะที่เขารักมาก พอดาวิดได้ยินเรื่องนี้ก็โกรธมากและบอกว่า “เราสาบานต่อพระยะโฮวาผู้มีชีวิตอยู่ว่าผู้ชายคนนี้ต้องตาย!” (2 ซม. 12:1-6) จริง ๆ แล้วดาวิดรู้กฎหมายของโมเสส เขารู้ว่าคนที่ขโมยแกะต้องชดใช้ 4 เท่า (อพย. 22:1) แต่ดาวิดบอกว่าผู้ชายคนนี้ต้องตาย นี่เป็นการตัดสินที่โหดร้ายมาก ปรากฏว่าสิ่งที่นาธันเล่าให้เขาฟังไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นแค่ตัวอย่างเปรียบเทียบที่ทำให้ดาวิดเห็นว่าเขาได้ทำบาป หลายอย่างที่ร้ายแรงยิ่งกว่าที่ผู้ชายคนนี้ทำอีก ทั้ง ๆ ที่ดาวิดไม่ได้แสดงความเมตตา แต่พระยะโฮวาก็ยังเมตตาเขา—2 ซม. 12:7-13
20. เราเรียนอะไรได้จากเรื่องของดาวิด?
20 ตอนที่ดาวิดโกรธ เขาตัดสินว่านาบาลกับผู้ชายคนอื่น ๆ สมควรตาย แล้วหลังจากนั้นตอนที่นาธันเล่าตัวอย่างเปรียบเทียบให้ดาวิดฟัง เขาก็คิดว่าผู้ชายคนนั้นสมควรตายด้วย เราอาจสงสัยว่าทั้ง ๆ ที่ดาวิดเป็นคนอ่อนโยนทำไมเขาถึงตัดสินผู้ชายคนนั้นอย่างโหดร้าย ลองคิดดูว่าตอนนั้นดาวิดเป็นยังไง เขาทำผิดต่อพระเจ้าและนี่ทำให้เขาไม่สบายใจ ถ้าใครคนหนึ่งตัดสินอย่างโหดร้าย นั่นก็แสดงว่าความสัมพันธ์ของคนนั้นกับพระเจ้ากำลังมีปัญหา พระเยซูเตือนเราว่า “คุณต้องเลิกตัดสินคนอื่น พระเจ้าจะได้ไม่ตัดสินคุณ เพราะคุณตัดสินคนอื่นอย่างไร พระเจ้าก็จะตัดสินคุณอย่างนั้น” (มธ. 7:1, 2) ดังนั้น เราต้องพยายามไม่เป็นคนใจร้ายใจดำ แต่ “มีเมตตาล้นเหลือ” เหมือนกับพระเจ้าของเรา
21-22. มีวิธีไหนบ้างที่เราจะแสดงความเมตตากับคนอื่นได้?
21 ความเมตตาไม่ใช่แค่ความรู้สึกแต่ต้องมีการกระทำด้วย เราทุกคนอาจจะคิดถึงคนที่อยู่รอบตัวเรา อย่างเช่น คนในครอบครัว พี่น้องในประชาคม หรือว่าคนที่อยู่ในละแวกบ้านของเราก็ได้ มีหลายโอกาสจริง ๆ ที่เราแสดงความเมตตากับพวกเขาได้ อย่างเช่น มีใครที่ต้องการกำลังใจไหม? เราจะช่วยใครได้บ้างไหม เช่น อาจจะเอาอาหารไปให้หรือทำอย่างอื่นให้เขา? หรือมีพี่น้องที่เพิ่งถูกรับกลับที่กำลังต้องการเพื่อนที่คอยให้กำลังใจเขาไหม? เราจะประกาศข่าวดีที่ให้กำลังใจคนอื่นด้วยได้ไหม? วิธีต่าง ๆ เหล่านี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะแสดงความเมตตากับทุกคนที่เราเจอ—โยบ 29:12, 13; รม. 10:14, 15; ยก. 1:27
22 ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต เราก็จะเห็นว่ามีหลายโอกาสที่จะแสดงความเมตตากับคนอื่นได้เยอะเลย เมื่อเราแสดงความเมตตาเรามั่นใจได้เลยว่าพระยะโฮวาพ่อในสวรรค์ของเราจะมีความสุขมาก เพราะพระองค์เป็นพระเจ้าที่ “มีเมตตาล้นเหลือ”
เพลง 43 คำอธิษฐานขอบคุณ
^ วรรค 5 ความเมตตาเป็นคุณลักษณะที่น่าประทับใจที่สุดอย่างหนึ่งของพระยะโฮวาซึ่งทุกคนควรจะมี ในบทความนี้เราจะมาดูว่า ทำไมพระยะโฮวาถึงเมตตา ทำไมเราถึงบอกได้ว่าการสั่งสอนเป็นการแสดงความเมตตา และเราจะเมตตาเหมือนพระยะโฮวาได้ยังไง
^ วรรค 11 เพื่อจะรู้ว่าคนที่ถูกรับกลับจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าได้ยังไงและพวกผู้ดูแลจะช่วยเขาได้ยังไง ดูบทความ “กลับมาสนิทกับพระยะโฮวาอีกครั้ง” ในฉบับนี้