เด็ก ๆ และวัยรุ่น ‘ขอให้ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’
“พวกคุณเชื่อฟังเสมอ . . . ขอให้ทำทุกอย่างด้วยความนับถือและความเกรงกลัวเพื่อจะได้รับความรอด”—ฟีลิปปี 2:12
1. ทำไมการรับบัพติศมาเป็นขั้นตอนที่สำคัญ? (ดูภาพแรก)
ทุกปีมีนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นแสนคนรับบัพติศมา หลายคนในนั้นอายุไม่มาก เป็นวัยรุ่น หรือบางคนยังเป็นเด็กด้วยซ้ำ พวกเขาอาจโตมาในครอบครัวพยานฯ ตัวคุณก็เป็นหนึ่งในนั้นไหม? ถ้าใช่ คุณก็ทำดีมาก เราทุกคนที่เป็นคริสเตียนต้องรับบัพติศมา และการรับบัพติศมาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อจะได้ความรอดและได้ชีวิตตลอดไป—มัทธิว 28:19, 20; 1 เปโตร 3:21
2. ทำไมคุณไม่ควรกลัวที่จะอุทิศตัวให้พระยะโฮวา?
2 พอคุณรับบัพติศมา คุณจะได้รับพรจากพระยะโฮวาในแบบอื่น ๆ มากมายอย่างที่คุณไม่เคยได้รับมาก่อน แต่คุณก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นด้วย นี่หมายถึงอะไรบ้าง? วันที่คุณรับบัพติศมา พี่น้องที่บรรยายบัพติศมาได้ถามว่า “โดยอาศัยค่าไถ่ของพระเยซู คุณได้กลับใจจากบาป และได้อุทิศชีวิตให้พระยะโฮวาเพื่อทำตามความประสงค์ของพระองค์แล้วใช่ไหม?” คุณตอบว่า ใช่ นี่หมายความว่าคุณได้สัญญาว่าจะรักพระยะโฮวาและให้การรับใช้พระองค์เป็นสิ่งสำคัญ
ที่สุดในชีวิต คุณควรรู้สึกเสียใจไหมที่ได้สัญญาอย่างเป็นจริงเป็นจังแบบนั้น? ไม่เลย! คุณจะไม่มีวันเสียใจเลยที่ยอมให้พระยะโฮวาชี้นำชีวิตของคุณ คุณลองคิดดู ถ้าคุณไม่ให้พระยะโฮวาชี้นำ คุณก็จะเป็นเหมือนคนทั่วไปในโลกที่ไม่รู้จักพระองค์ พวกเขาต้องเป็นส่วนของโลกซาตาน แต่คุณรู้ไหม? ซาตานไม่แคร์พวกเขาเลย แล้วมันก็ไม่แคร์คุณด้วย จริง ๆ แล้วมันจะมีความสุขถ้าคุณทิ้งพระยะโฮวาไปอยู่ฝ่ายมันและไม่มีความหวังที่จะมีชีวิตตลอดไป3. พระยะโฮวาได้อวยพรอะไรคุณบ้างเพราะคุณอุทิศตัวให้พระองค์?
3 ลองคิดดูสิว่าพระยะโฮวาได้อวยพรอะไรคุณบ้างเพราะคุณอุทิศตัวให้พระองค์และรับบัพติศมา พอคุณให้ชีวิตทั้งชีวิตกับพระยะโฮวา คุณถึงพูดได้ด้วยความมั่นใจว่า “พระยะโฮวาอยู่ฝ่ายผม ผมจะไม่กลัวอะไร มนุษย์จะทำอะไรผมได้?” (สดุดี 118:6) คุณได้อยู่ฝ่ายพระยะโฮวาและรู้ว่าพระองค์ภูมิใจในตัวคุณ นี่เป็นเกียรติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของคุณจริง ๆ
เป็นหน้าที่รับผิดชอบของคุณเอง
4, 5. (ก) ทำไมเราถึงบอกได้ว่าการอุทิศตัวเป็นหน้าที่รับผิดชอบส่วนตัว? (ข) คริสเตียนไม่ว่าจะอายุเท่าไรอาจต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง?
4 คุณไม่ควรมองความสัมพันธ์ที่คุณมีกับพระยะโฮวาว่าเป็นเหมือนประกันที่พ่อแม่จ่ายให้ ซึ่งคุณเองไม่ต้องทำอะไรแต่ก็ได้ผลประโยชน์โดยอัตโนมัติ ถึงคุณจะยังอยู่กับพ่อแม่ แต่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวาต้องเป็นหน้าที่รับผิดชอบของคุณ คุณต้องสนิทกับพระองค์เอง ทำไมสำคัญที่จะจำเรื่องนี้ไว้เสมอ? เพราะเราไม่รู้เลยว่าเราจะถูกทดสอบความเชื่ออย่างไรในอนาคต ตัวอย่างเช่น คุณอาจรับบัพติศมาก่อนเป็นวัยรุ่น และตอนนี้พอคุณเริ่มเป็นวัยรุ่น อารมณ์และความรู้สึกของคุณก็ไม่เหมือนกับตอนที่เป็นเด็ก แถมคุณยังต้องเจอปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน วัยรุ่นผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า “ตอนเป็นเด็ก การไม่ได้กินเค้กวันเกิดที่โรงเรียนเพราะเป็นพยานฯ มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่พอโตขึ้นและความรู้สึกทางเพศรุนแรงขึ้น ตอนนั้นแหละที่ต้องเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าการเชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้ามันดีที่สุดเสมอ”
5 ไม่ใช่แค่เด็กหรือวัยรุ่นเท่านั้นที่ต้องเจอกับปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน คนที่รับบัพติศมาตอนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ต้องเจอกับการทดสอบความเชื่อในแบบที่คาดไม่ถึงเหมือนกัน เช่น ปัญหาชีวิตคู่ ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาเกี่ยวกับงาน แต่ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไร เราทุกคนต้องเจอกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่ทดสอบความซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวา—ยากอบ 1:12-14
6. (ก) การอุทิศตัวให้พระยะโฮวาเป็นคำสัญญาแบบไม่มีเงื่อนไขหมายความว่าอย่างไร? (ข) คุณเรียนอะไรได้จากฟีลิปปี 4:11-13?
6 เพื่อคุณจะรักษาความซื่อสัตย์ได้ ขอจำไว้เสมอว่าคำสัญญาที่คุณให้กับพระยะโฮวาเป็นคำสัญญาแบบไม่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าคุณจะทำตามหรือไม่ทำก็ได้ นี่หมายความว่าคุณสัญญากับพระเจ้าองค์สูงสุดว่าจะรับใช้พระองค์ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และถึงเพื่อน ๆ หรือพ่อแม่ของคุณจะเลิกรับใช้พระองค์ คุณก็จะไม่เลิก (สดุดี 27:10) ไม่ว่าต้องเจอกับอะไร คุณสามารถขอให้พระยะโฮวาช่วยคุณให้รักษาสัญญาได้—อ่านฟีลิปปี 4:11-13
7. การ “ทำทุกอย่างด้วยความนับถือและความเกรงกลัวเพื่อจะได้รับความรอด” หมายความว่าอย่างไร?
7 พระยะโฮวาอยากให้คุณเป็นเพื่อนกับพระองค์ แต่คุณก็ต้องออกความพยายามที่จะรักษาความเป็นเพื่อนนั้นและทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด ฟีลิปปี 2:12 บอกว่า “ขอให้ทำทุกอย่างด้วยความนับถือและความเกรงกลัวเพื่อจะได้รับความรอด” ดังนั้น คุณต้องคิด อย่างจริงจังว่าควรทำอะไรบ้างเพื่อจะสนิทกับพระยะโฮวาและรักษาความซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณไม่ควรคิดง่าย ๆ ว่าทำได้อยู่แล้วไม่มีปัญหา แต่คุณควรจำไว้ว่าแม้แต่บางคนที่รับใช้พระเจ้ามาหลายปีก็กลับไม่ได้รักษาความซื่อสัตย์ไว้เสมอ ดังนั้น อะไรเป็นสิ่งที่จะช่วยคุณให้ ‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’?
การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องสำคัญ
8. การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? และทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ?
8 เพื่อจะเป็นเพื่อนกับพระยะโฮวา เราต้องฟังพระองค์และต้องพูดคุยกับพระองค์ด้วย วิธีหลักที่เราจะฟังพระองค์ได้ก็คือการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล นี่หมายถึงการอ่านและคิดใคร่ครวญสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลรวมทั้งหนังสือและสื่อต่าง ๆ ขององค์การ การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่การท่องจำข้อมูลแบบที่คุณทำตอนจะสอบที่โรงเรียน แทนที่จะเป็นอย่างนั้น มันเป็นเหมือนการเดินทางที่น่าตื่นเต้นที่คุณจะได้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับพระยะโฮวา เมื่อทำอย่างนี้ คุณจะใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้นและพระองค์ก็จะเข้ามาใกล้ชิดกับคุณมากขึ้นด้วย—ยากอบ 4:8
9. คุณใช้เครื่องมืออะไรบ้างตอนศึกษาส่วนตัว?
9 องค์การของพระยะโฮวามีเครื่องมือมากมายที่คุณจะใช้ในโปรเจคศึกษาส่วนตัวของคุณได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเข้าไปในเว็บไซต์ jw.org และคลิกเข้าไปที่ “วัยรุ่น” จะมีส่วนที่ชื่อว่า “กิจกรรมการศึกษาพระคัมภีร์” ส่วนนี้ช่วยคุณให้รู้วิธีเอาเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลไปใช้ในชีวิต นอกจากนั้น ยังมี “คู่มือประกอบการเรียน” ของหนังสือ “เรียนคัมภีร์ไบเบิลแล้วได้อะไร?” คู่มือนี้ช่วยคุณให้มีความเชื่อมากขึ้นและช่วยคุณให้รู้วิธีอธิบายความเชื่อกับคนอื่น คุณยังสามารถหาข้อมูลอื่น ๆ เพื่อใช้ศึกษาส่วนตัวได้ในบทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันจะทำให้การอ่านคัมภีร์ไบเบิลน่าเพลิดเพลินได้อย่างไร?” ที่อยู่ในวารสารตื่นเถิด! เดือนเมษายนปี 2009 การศึกษาและคิดใคร่ครวญเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณ ‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’—อ่านสดุดี 119:105
การอธิษฐานเป็นเรื่องสำคัญ
10. ทำไมคริสเตียนที่รับบัพติศมาแล้วต้องอธิษฐาน?
10 ตอนที่เราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเรากำลังฟังพระยะโฮวาพูด และตอนที่เราอธิษฐานเราก็กำลังพูดกับพระองค์ ฟีลิปปี 4:6) ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะกังวลเรื่องอะไร คัมภีร์ไบเบิลบอกให้คุณ “มอบภาระของคุณไว้กับพระยะโฮวา” (สดุดี 55:22) พี่น้องหลายล้านคนทั่วโลกสามารถยืนยันกับคุณได้ว่าการทำแบบนี้ช่วยพวกเขาจริง ๆ และมันก็จะช่วยคุณด้วย
อย่าคิดว่าการอธิษฐานเป็นแค่กิจวัตรที่ต้องทำแบบพอเป็นพิธีหรือเป็นเหมือน ‘คาถาขอพร’ ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ การอธิษฐานเป็นการพูดคุยกับพระยะโฮวาจริง ๆ คิดดูสิ พระเจ้าผู้สร้างคุณอยากฟังคุณพูด! (อ่าน11. ทำไมคุณควรขอบคุณพระยะโฮวาเสมอ?
11 ถึงอย่างนั้น เราไม่ควรอธิษฐานเฉพาะตอนที่เราอยากให้พระยะโฮวาช่วย คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ให้แสดงความขอบคุณ” (โคโลสี 3:15) บางครั้ง เราอาจกังวลมากกับปัญหาของเราจนไม่ได้สังเกตเห็นเรื่องดี ๆ มากมายในชีวิตเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นขอลองทำแบบนี้ ทุกวันลองคิดถึงเรื่องดี ๆ อย่างน้อย 3 เรื่องที่คุณอยากขอบคุณพระยะโฮวา แล้วก็อธิษฐานขอบคุณพระองค์ อะบีเกลเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่รับบัพติศมาตอนอายุ 12 บอกว่า “ฉันรู้สึกว่าต้องขอบคุณพระยะโฮวามากกว่าใครในโลกนี้ เราน่าจะขอบคุณพระองค์บ่อย ๆ สำหรับทุกอย่างที่พระองค์ทำเพื่อเรา” อะบีเกลเคยได้ยินคนหนึ่งพูดอะไรที่เธอชอบมาก แล้วเธอก็ถามตัวเองแบบนั้นบ่อย ๆ ว่า “ถ้าพรุ่งนี้ฉันต้องเสียทุกอย่างที่วันนี้ฉันยังไม่ได้อธิษฐานขอบคุณพระยะโฮวา ชีวิตของฉันจะเหลืออะไรบ้าง?”
ข้อดีของการเจอด้วยตัวเอง
12, 13. คุณได้เจอด้วยตัวเองอย่างไรว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน? และทำไมการคิดว่าพระยะโฮวาได้ช่วยอะไรคุณมาแล้วบ้างถึงเป็นเรื่องสำคัญ?
12 พระยะโฮวาช่วยกษัตริย์ดาวิดให้อดทนกับปัญหาหลายอย่าง ดาวิดจึงพูดจากสิ่งที่เขาเจอด้วยตัวเองว่า “ลองชิมดู แล้วจะรู้ว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน คนที่หวังพึ่งพระองค์ก็มีความสุข” (สดุดี 34:8) ข้อคัมภีร์นี้บอกเราว่าเพื่อจะรู้ว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน เราก็ต้องเจอด้วยตัวเอง ตอนที่คุณอ่านคัมภีร์ไบเบิล อ่านหนังสือต่าง ๆ ขององค์การ และเข้าร่วมการประชุม คุณได้ยินประสบการณ์ของคนอื่นว่าพระยะโฮวาได้ช่วยพวกเขารักษาความซื่อสัตย์อย่างไร แต่เพื่อคุณจะสนิทกับพระองค์มากขึ้น คุณต้องเจอด้วยตัวเองว่าพระองค์ช่วยคุณ คุณได้เจอด้วยตัวเองอย่างไรว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน?
13 มีวิธีพิเศษวิธีหนึ่งที่พี่น้องคริสเตียนทุกคนได้เจอด้วยตัวเองว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน นั่นคือพระองค์เชิญเราเป็นส่วนตัวให้เข้ามารู้จักและสนิทกับพระองค์และลูกของพระองค์ พระเยซูบอกว่า “ไม่มีใครจะมาหาผมได้ นอกจากพระเจ้าผู้เป็นพ่อที่ใช้ผมมาจะชักนำเขา” (ยอห์น 6:44) คุณรู้สึกว่าพระยะโฮวาได้ชักนำคุณมาหาพระองค์ไหม? หรือคุณคิดว่า ‘พระยะโฮวาชักนำพ่อแม่ของฉันมาหาพระองค์ ส่วนฉันก็แค่ตามพวกเขาเข้ามา’? ขอจำไว้ว่าเมื่อคุณได้อุทิศตัวให้พระยะโฮวาและรับบัพติศมาแล้ว คุณก็มีความสัมพันธ์กับพระองค์ในแบบที่พิเศษและเป็นความสัมพันธ์ที่มีแค่คุณกับพระองค์เท่านั้น คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ถ้าใครรักพระเจ้า พระองค์ก็รู้จักคนนั้น” (1 โครินธ์ 8:3) ขอให้คุณเห็นค่าที่พระยะโฮวาให้คุณมาอยู่ในองค์การของพระองค์
14, 15. การประกาศช่วยคุณให้มีความเชื่อมากขึ้นอย่างไร?
14 อีกวิธีหนึ่งที่คุณจะ ‘ลองชิมดูแล้วจะรู้ว่าพระยะโฮวาดีขนาดไหน’ คือตอนที่คุณได้เจอกับตัวเองว่าพระองค์ช่วยคุณให้กล้าพูดเรื่องความเชื่อกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่เขตประกาศ มันไม่ง่ายเลยที่จะประกาศกับเพื่อนที่โรงเรียน คุณอาจกังวลว่าพวกเขาจะคิดอย่าง
ไร และมันอาจยากขึ้นไปอีกถ้าต้องอธิบายความเชื่อต่อหน้าคนเยอะ ๆ แต่อะไรจะช่วยคุณได้?15 อย่างแรก ลองคิดดูว่าทำไมคุณถึงมั่นใจในสิ่งที่คุณเชื่ออยู่ตอนนี้ “คู่มือประกอบการเรียน” ในเว็บไซต์ jw.org ช่วยคุณได้ คู่มือนี้จะช่วยคุณให้คิดว่ามีอะไรบ้างที่คุณเชื่อ ทำไมคุณถึงเชื่อ และคุณจะอธิบายความเชื่อของคุณกับคนอื่นอย่างไร ถ้าคุณมั่นใจในสิ่งที่คุณเชื่อจริง ๆ และเตรียมตัวอย่างดี คุณก็จะอยากพูดเรื่องพระยะโฮวา—เยเรมีย์ 20:8, 9
16. อะไรจะช่วยให้คุณกล้ามากขึ้นที่จะพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเชื่อ?
16 ถึงคุณจะเตรียมตัวมาอย่างดี แต่คุณก็อาจตื่นเต้นเมื่อต้องอธิบายความเชื่อกับคนอื่น พี่น้องหญิงอายุ 18 คนหนึ่งที่รับบัพติศมาตั้งแต่อายุ 13 เล่าว่า “ฉันรู้ว่าฉันเชื่ออะไร แต่บางครั้งก็ไม่รู้จะอธิบายออกมายังไง” เธอเลยพยายามพูดเกี่ยวกับความจริงแบบเป็นธรรมชาติ พูดแบบสบาย ๆ เธอบอกว่า “เวลาเพื่อนที่โรงเรียนนึกอยากจะเล่าอะไร เขาก็เล่าขึ้นมาเลย ฉันก็ควรจะทำเหมือนกัน ฉันเลยพูดแบบเนียน ๆ ไป เช่น ‘เออนี่ วันก่อนที่ฉันไปสอนไบเบิล ฉันไปเจอ . . . ’ แล้วฉันก็เล่าเรื่องที่ฉันตั้งใจเล่าให้พวกเขาฟัง ถึงเรื่องที่ตั้งใจจะเล่าไม่ใช่เรื่องพระคัมภีร์ แต่หลายครั้งมันก็ทำให้เพื่อน ๆ อยากรู้ว่าที่ฉันบอกว่าไปสอนไบเบิลเนี่ยมันเป็นยังไง บางทีพวกเขาก็ถามฉัน ยิ่งฉันใช้วิธีนี้บ่อย ๆ มันก็ยิ่งง่ายขึ้น เดี๋ยวนี้ฉันรู้สึกดีมากเลยค่ะ”
17. มีอะไรอีกที่จะช่วยคุณให้คุยเรื่องความเชื่อกับคนอื่นได้?
17 ถ้าคนอื่นรู้สึกว่าคุณสนใจและนับถือเขาจริง ๆ มันก็ง่ายขึ้นที่เขาจะนับถือคุณกับสิ่งที่คุณเชื่อ โอลีเวียพี่น้องที่รับบัพติศมาตอนอายุ 17 เล่าถึงตอนที่ยังเด็กว่า “ฉันกลัวว่าถ้าพูดเรื่องคัมภีร์ไบเบิล คนอื่นจะหาว่าฉันเพี้ยน” แต่เธอก็เริ่มเปลี่ยนความคิด แทนที่จะกังวลมากเกินไป เธอคิดว่า “มีเด็กวัยรุ่นเยอะมากที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับพยานฯ เราอาจเป็นพยานฯ คนเดียวที่พวกเขารู้จัก สิ่งที่เราทำจะมีผลกับพวกเขาว่าจะฟังหรือไม่ฟังความจริง แล้วถ้าเราอาย กลัว หรือไม่ค่อยกล้าพูดเรื่องความเชื่อของเรา หรือพูดแบบเคอะ ๆ เขิน ๆ ไม่ค่อยมั่นใจล่ะ? พวกเขาก็คงจะมองว่าเราไม่ได้ภูมิใจที่เราเป็นพยานฯ พวกเขาอาจไม่ฟังหรือถึงกับทำไม่ดีกับเราเพราะเห็นเราไม่มั่นใจ แต่ถ้าเราพูดแบบสบาย ๆ และมั่นใจในสิ่งที่เราเชื่อ พูดบ่อย ๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติที่เราจะพูดแบบนี้ เพื่อน ๆ ก็น่าจะนับถือเรา”
‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’
18. คุณต้องทำอะไรเพื่อจะ ‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’?
18 เราได้เห็นแล้วว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบสำคัญที่จะ ‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’ เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ คุณต้องอ่านและคิดใคร่ครวญสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิล ต้องอธิษฐานถึงพระยะโฮวา และคิดอย่างจริงจังว่าพระองค์ได้ช่วยเหลือตัวคุณเองอย่างไรบ้าง การทำอย่างนี้จะช่วยคุณให้มั่นใจมากขึ้นว่าพระยะโฮวาเป็นเพื่อนของคุณ และนี่จะช่วยคุณให้อยากพูดกับคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเชื่อ—อ่านสดุดี 73:28
19. ทำไมถึงคุ้มที่คุณจะ ‘ทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด’?
19 พระเยซูบอกพวกสาวกว่า “ถ้าใครอยากติดตามผม ก็ให้คนนั้นเลิกใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง ยอมแบกเสาทรมานของตัวเอง แล้วติดตามผมเรื่อยไป” (มัทธิว 16:24) เพื่อจะติดตามพระเยซูได้ เราต้องอุทิศชีวิตให้พระยะโฮวาและรับบัพติศมา แต่นี่เป็นแค่การเริ่มต้นชีวิตที่ยอดเยี่ยมในตอนนี้ และมันจะนำเราไปถึงชีวิตตลอดไปในโลกใหม่ของพระเจ้า ดังนั้น ขอคุณทำทุกอย่างเพื่อจะได้รับความรอด!