บทความศึกษา 44
สนิทกันให้มากขึ้นก่อนที่จุดจบจะมาถึง
“เพื่อนแท้รักกันอยู่เสมอ”—สภษ. 17:17
เพลง 101 ทำงานร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ใจความสำคัญ *
1-2. จาก 1 เปโตร 4:7, 8 อะไรจะช่วยเราให้ผ่านช่วงเวลาลำบากได้?
ขณะที่ “สมัยสุดท้าย” ใกล้จะถึงจุดจบ เราอาจเจอปัญหาหนักหลายอย่าง (2 ทธ. 3:1) เช่น เหตุการณ์ความขัดแย้งและการสู้รบหลังการเลือกตั้งในประเทศหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกทำให้พี่น้องที่อยู่ในพื้นที่อันตรายต้องอยู่อย่างระแวดระวังนานกว่า 6 เดือน อะไรช่วยให้พี่น้องเหล่านี้ผ่านช่วงเวลาลำบากนี้ได้? พี่น้องบางคนในเขตที่ปลอดภัยกว่าเปิดบ้านต้อนรับพวกเขา พี่น้องชายคนหนึ่งบอกว่า “ตอนลำบากแบบนี้ ผมดีใจจริง ๆ ที่มีเพื่อน เพราะเราจะให้กำลังใจกันได้”
2 เมื่อ “ความทุกข์ยากลำบากครั้งใหญ่” เริ่มขึ้น เราจะดีใจที่มีเพื่อนที่ดีที่รักเรา (วว. 7:14) ดังนั้น เราต้องรีบสนิทกับเพื่อนให้มากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้ (อ่าน 1 เปโตร 4:7, 8) เราจะดูตัวอย่างของเยเรมีย์ที่มีเพื่อนดี ๆ ที่ช่วยให้เขารอดชีวิตในช่วงก่อนการทำลายกรุงเยรูซาเล็ม * และดูว่ามีอะไรบ้างที่เราจะเลียนแบบเขาได้
เรียนจากตัวอย่างของเยเรมีย์
3. (ก) อะไรอาจทำให้เยเรมีย์ไม่อยากยุ่งกับใคร? (ข) เยเรมีย์บอกอะไรกับบารุค? ผลเป็นอย่างไร?
3 อย่างน้อย 40 ปีที่เยเรมีย์ถูกแวดล้อมไปด้วยคนที่ไม่ภักดี รวมทั้งเพื่อนบ้านและอาจมีญาติจากเมืองอานาโธทบ้านเกิดของเขาด้วย (ยรม. 11:21; 12:6) ถึงอย่างนั้น เยเรมีย์ไม่ได้เป็นคนเก็บตัวและไม่อยากยุ่งกับใคร ที่จริง เขาเปิดเผยความรู้สึกกับบารุคเลขานุการที่ภักดี และ การมีบันทึกเรื่องนี้ในคัมภีร์ไบเบิลก็เหมือนเปิดเผยกับเราด้วย (ยรม. 8:21; 9:1; 20:14-18; 45:1) เราพอจะเห็นภาพว่าในช่วงที่บารุคเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตเยเรมีย์นั้น ทั้งสองได้เรียนรู้ที่จะรักและนับถือกันมากขึ้นแน่ ๆ—ยรม. 20:1, 2; 26:7-11
4. พระยะโฮวาสั่งให้เยเรมีย์ทำงานอะไร? และงานนี้ทำให้เยเรมีย์กับบารุคสนิทกันมากขึ้นอย่างไร?
4 เป็นเวลาหลายปีที่เยเรมีย์เตือนชาวอิสราเอลอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเยรูซาเล็ม (ยรม. 25:3) เมื่อพระยะโฮวาต้องการเตือนอีกครั้งให้ประชาชนกลับใจ พระองค์สั่งให้เยเรมีย์เขียนคำเตือนของพระองค์ไว้ในม้วนหนังสือ (ยรม. 36:1-4) เขากับบารุคอาจทำงานนี้ด้วยกันอย่างใกล้ชิดนานหลายเดือน มั่นใจได้เลยว่าสิ่งที่ทั้งสองคุยกันในช่วงนั้นทำให้ความเชื่อของทั้งคู่เข้มแข็งขึ้น
5. บารุคเป็นเพื่อนที่ดีของเยเรมีย์อย่างไร?
5 เมื่อเขียนเสร็จ เยเรมีย์ต้องไว้ใจบารุคเพื่อนของเขาให้ไปบอกประชาชน (ยรม. 36:5, 6) บารุคทำงานที่อันตรายนี้อย่างกล้าหาญ คุณนึกออกไหมว่าเยเรมีย์ภูมิใจในตัวบารุคขนาดไหนที่บารุคไปที่ลานวิหารและทำตามที่เขาขอ? (ยรม. 36:8-10) พอพวกเจ้านายของยูดาห์รู้เรื่องที่บารุคทำ ก็สั่งให้บารุคเอาม้วนหนังสือไปอ่านให้พวกเขาฟัง (ยรม. 36:14, 15) พวกเจ้านายตัดสินใจเอาสิ่งที่ได้ยินไปบอกกษัตริย์เยโฮยาคิม แต่พวกเขาเป็นห่วงเยเรมีย์กับบารุค จึงบอกบารุคว่า “คุณกับเยเรมีย์ไปหาที่ซ่อนตัวเถอะ อย่าให้ใครรู้ว่าพวกคุณอยู่ไหน” (ยรม. 36:16-19) นี่เป็นคำแนะนำที่ดีจริง ๆ
6. เยเรมีย์กับบารุคทำอย่างไรเมื่อเจอการต่อต้าน?
6 พอกษัตริย์เยโฮยาคิมได้ฟังก็โกรธจัด กษัตริย์เผายรม. 36:26-28, 32
ม้วนหนังสือและสั่งให้จับเยเรมีย์กับบารุค แต่เยเรมีย์ไม่กลัว เขาเอาม้วนหนังสืออีกม้วนให้บารุคและบอกถ้อยคำของพระยะโฮวากับบารุค บารุคจึงเขียน “ตามคำบอกของเยเรมีย์เหมือนในม้วนหนังสือม้วนแรกที่กษัตริย์เยโฮยาคิมแห่งยูดาห์เผาทิ้งไป”—7. การที่เยเรมีย์กับบารุคทำงานด้วยกันน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองเป็นอย่างไร?
7 คนที่ผ่านเรื่องร้าย ๆ มาด้วยกันมักจะสนิทกัน เราจึงนึกภาพออกว่าการได้ช่วยกันเขียนม้วนหนังสือใหม่แทนม้วนที่ถูกเยโฮยาคิมกษัตริย์ชั่วเผาไปนั้น ต้องทำให้เยเรมีย์กับบารุครู้จักกันดีขึ้นและสนิทกันมากขึ้นแน่ ๆ แล้วเราจะเรียนอะไรได้บ้างจากตัวอย่างของคนซื่อสัตย์สองคนนี้?
เปิดใจคุยกัน
8. อะไรอาจทำให้เราไม่อยากสนิทกับใคร? และทำไมเราต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนั้น?
8 เราอาจไม่อยากเปิดใจเล่าความรู้สึกให้ใครฟังเพราะบางคนเคยทำให้เราเจ็บ (สภษ. 18:19, 24) หรือเราอาจรู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกไม่มีเวลาจะสนิทกับใคร แต่เราต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนั้น เพราะถ้าเราอยากมีพี่น้องอยู่เคียงข้างในเวลาลำบาก เราต้องเรียนรู้ที่จะไว้ใจพวกเขาจริง ๆ โดยสนิทกับพวกเขาตั้งแต่ตอนนี้ วิธีหนึ่งก็คือบอกพวกเขาว่าเราคิดและรู้สึกอย่างไร นี่เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อจะเป็นเพื่อนแท้—1 ปต. 1:22
9. (ก) พระเยซูทำให้เห็นอย่างไรว่าท่านไว้ใจเพื่อน? (ข) ทำไมการเปิดใจคุยกันทำให้สนิทกันมากขึ้น? ขอยกตัวอย่าง
9 พระเยซูแสดงว่าไว้ใจเพื่อนโดยเปิดใจคุยกับพวกเขา (ยน. 15:15) เราเลียนแบบพระเยซูได้โดยบอกเรื่องต่าง ๆ กับเพื่อน ไม่ว่าเราจะสุขหรือทุกข์ กังวลอะไรหรือเป็นห่วงอะไร นอกจากนั้น ขอให้ตั้งใจฟังเมื่อคนอื่นพูดกับคุณ คุณอาจพบว่าคุณกับเขามีความคิด ความรู้สึก และเป้าหมายคล้ายกันก็ได้ ให้เราดูตัวอย่างของซินดี้พี่น้องหญิงที่อายุเกือบ 30 เธอเป็นเพื่อนกับมารีหลุยส์ที่เป็นไพโอเนียร์อายุเกือบ 70 ทั้งสองไปประกาศด้วยกันในช่วงเช้าทุกวันพฤหัสบดีและได้เปิดใจคุยกันหลายเรื่อง ซินดี้บอกว่า “ฉันชอบเปิดใจคุยกับเพื่อน ๆ เพราะทำให้ฉันรู้จักและเข้าใจพวกเขาดีขึ้น” มิตรภาพเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศที่อบอุ่นและเปิดเผย คุณจะสนิทกับเพื่อนของคุณเหมือนซินดี้ได้ ถ้าคุณริเริ่มเปิดใจบอกความคิดและความรู้สึกของคุณกับพวกเขา—สภษ. 27:9
ทำงานรับใช้ด้วยกัน
10. จากสุภาษิต 27:17 การทำงานรับใช้กับพี่น้องมีผลดีอะไร?
10 เหมือนเยเรมีย์กับบารุค เมื่อเราทำงานรับใช้กับพี่น้องและได้เห็นสิ่งดี ๆ ในตัวพวกเขา เราจะได้เรียนจากพวกเขาและสนิทกับพวกเขามากขึ้น (อ่านสุภาษิต 27:17) ตัวอย่างเช่น คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อไปประกาศและเห็นเพื่อนอธิบายความเชื่ออย่างกล้าหาญ หรือเมื่อได้ยินเพื่อนพูดเรื่องพระยะโฮวาและความประสงค์ของพระองค์ด้วยความมั่นใจ? คุณคงจะรักเพื่อนคนนั้นมากขึ้น
11-12. ขอยกตัวอย่างว่าการทำงานรับใช้ด้วยกันกับเพื่อนทำให้สนิทกันอย่างไร
11 ให้เรามาดู 2 เรื่องที่แสดงว่าการทำงานรับใช้ด้วยกันทำให้รักกันมากขึ้น แอเดอลีนพี่น้องหญิงอายุ 23 ชวนแคนดีซเพื่อนของเธอไปประกาศเขตที่ไม่ค่อยมีการประกาศ แอเดอลีนบอกว่า “เราสองคนอยากเพิ่มความกระตือรือร้นในการประกาศ อยากมีความสุขกับงานรับใช้มากขึ้น และอยากได้กำลังใจที่จะให้สิ่งดีที่สุดกับพระยะโฮวา” การทำงานรับใช้ด้วยกันทำให้พวกเธอได้สิ่งที่ต้องการไหม? แอเดอลีนบอกว่า “พอจบแต่ละวัน เราก็คุยกันว่ารู้สึกยังไง ประทับใจอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เราคุยกับผู้คน และพระยะโฮวาชี้นำเรายังไง เราชอบการเปิดใจคุยกันแบบนี้ เพราะทำให้เรารู้จักกันดีขึ้นกว่าเดิมอีก”
12 ไลลากับมารีอานน์พี่น้องหญิงโสดจากฝรั่งเศสไปประกาศเป็นเวลา 5 สัปดาห์ที่เมืองบังกี เมืองหลวงของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ไลลาบอกว่า “ถึงฉันกับมารีอานน์จะมีปัญหากันบ้าง แต่การที่เราคุยกันดี ๆ และรักกันจริง ๆ ทำให้เราสนิทกันมากขึ้น ยิ่งได้เห็นว่ามารีอานน์เป็นคนปรับตัวง่าย รักผู้คน และขยันประกาศ ฉันก็ยิ่งรักเธอ” คุณไม่ต้องไปต่างประเทศเพื่อจะมีประสบการณ์แบบนี้ เพราะทุกครั้งที่คุณทำงานรับใช้กับพี่น้องในเขตที่คุณอยู่ คุณก็มีโอกาสรู้จักคนนั้นดีขึ้นและสนิทกับเขามากขึ้น
มองข้อดีและให้อภัยกัน
13. เราอาจจะเห็นอะไรเมื่อเราทำงานรับใช้ด้วยกันกับเพื่อน?
13 บางครั้งการทำงานรับใช้ด้วยกันก็ทำให้เราเห็นข้อเสียของเพื่อนด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะสนิทกับเพื่อนเหมือนเดิมได้อย่างไร? ขอให้ดูตัวอย่างของเยเรมีย์อีกครั้งว่าอะไรช่วยเขาให้มองที่ข้อดีและมองข้ามข้อเสียของเพื่อน
14. เยเรมีย์เรียนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา? และนั่นช่วยเขาอย่างไร?
14 เยเรมีย์เขียนหนังสือเยเรมีย์และอาจเขียนหนังสือ 1 และ 2 พงศ์กษัตริย์ด้วย การได้เขียนหนังสือเหล่านี้ทำให้เขาเห็นว่าพระยะโฮวาเมตตามนุษย์ไม่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น เมื่อกษัตริย์อาหับกลับใจจากการทำผิดร้ายแรง พระยะโฮวาเมตตาอาหับ เขาไม่ต้องเห็นครอบครัวเจอหายนะตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ (1 พก. 21:27-29) เยเรมีย์รู้ด้วยว่ากษัตริย์มนัสเสห์ชั่วร้ายและทำให้พระยะโฮวาโกรธมากกว่าอาหับ แต่เมื่อมนัสเสห์กลับใจ พระองค์ก็ให้อภัยเขา (2 พก. 21:16, 17; 2 พศ. 33:10-13) เรื่องเหล่านี้คงช่วยให้เยเรมีย์เลียนแบบความเมตตาและความอดทนของพระเจ้าเมื่อเห็นข้อเสียของเพื่อนสนิท—สด. 103:8, 9
15. เยเรมีย์เลียนแบบความอดทนของพระยะโฮวาอย่างไรตอนที่บารุคสนใจเรื่องอื่นมากกว่างานมอบหมาย?
15 ให้เรามาดูว่าเยเรมีย์ทำอย่างไรเมื่อช่วงหนึ่งบารุคสนใจอย่างอื่นมากกว่างานมอบหมาย แทนที่เยเรมีย์จะหมดหวังในตัวเพื่อน เขาช่วยบารุคโดยบอกข่าวสารที่ตรงไปตรงมาแต่ก็แสดงถึงความรักของพระเจ้า (ยรม. 45:1-5) เราเรียนอะไรจากเรื่องนี้?
16. จากสุภาษิต 17:9 เราต้องทำอะไรเพื่อรักษาความเป็นเพื่อนไว้?
16 เราจะคาดหมายให้พี่น้องดีพร้อมไม่ผิดพลาดเลยก็ไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเรามีเพื่อนสนิท เราต้องพยายามรักษาความเป็นเพื่อนไว้ ถ้าเพื่อนทำผิด เราอาจต้องช่วยเขาโดยให้คำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลอย่างตรงไปตรงมาแต่ก็ทำด้วยความรัก (สด. 141:5) และถ้าเพื่อนทำให้เราเจ็บ เราต้องให้อภัยจากใจจริงและไม่พูดถึงเรื่องนั้นอีก (อ่านสุภาษิต 17:9) ในช่วงเวลาที่ยุ่งยากนี้ สำคัญจริง ๆ ที่เราจะมองที่ข้อดีและมองข้ามข้อเสียของพี่น้อง ถ้าเราทำอย่างนั้นเราจะสนิทกับพวกเขามากขึ้น เรื่องนี้สำคัญมากเพราะเราจำเป็นต้องมีเพื่อนสนิทในช่วงความทุกข์ยากลำบากครั้งใหญ่
แสดงความรักที่มั่นคงต่อกัน
17. เยเรมีย์แสดงอย่างไรว่าเขาเป็นเพื่อนแท้ในเวลาลำบาก?
17 ผู้พยากรณ์เยเรมีย์พิสูจน์ว่าเขาเป็นเพื่อนแท้ในเวลาลำบาก เช่น หลังจากเอเบดเมเลคที่เป็นข้าราชสำนักช่วยเยเรมีย์จากบ่อที่มีแต่โคลน เอเบดเมเลคกลัวพวกเจ้านายจะมาทำร้าย พอเยเรมีย์รู้เรื่องก็ไม่ได้คิดว่าเพื่อนคงจะหาทางเอาตัวรอดได้เอง ทั้ง ๆ ที่เยเรมีย์อยู่ในคุก เขาพยายามช่วยเอเบดเมเลคเท่าที่ช่วยได้โดยบอกคำสัญญาของพระยะโฮวาเพื่อให้กำลังใจเอเบดเมเลค—ยรม. 38:7-13; 39:15-18
18. จากสุภาษิต 17:17 เราควรทำอะไรตอนที่เพื่อนลำบาก?
18 ทุกวันนี้ พี่น้องของเราเจอปัญหาหลายอย่าง เช่น หลายคนทนทุกข์จากภัยธรรมชาติหรือไม่ก็ภัยจากมนุษย์ เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ บางคนอาจให้ที่พักพิง บางคนอาจช่วยด้านการเงิน แต่สิ่งที่เราทุกคนช่วยได้อสย. 50:4) ที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องพร้อมจะอยู่เคียงข้างเขาเมื่อเขาต้องการ—อ่านสุภาษิต 17:17
คือ การอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาช่วยพี่น้องเหล่านั้น และถ้าเรารู้ว่าพี่น้องกำลังท้อ เราอาจไม่รู้ว่าจะพูดหรือทำอะไร แต่ก็มีหลายอย่างที่เราทำได้ เช่น ให้เวลากับเขา เต็มใจฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ และพูดถึงข้อคัมภีร์ที่เราชอบเพื่อให้กำลังใจเขา (19. การสนิทกับพี่น้องมากขึ้นในตอนนี้จะช่วยเราอย่างไรในอนาคต?
19 เราต้องตั้งใจที่จะสนิทกับพี่น้องมากขึ้นและรักษาความเป็นเพื่อนตั้งแต่ตอนนี้ ทำไม? เพราะพวกศัตรูจะพยายามใช้คำโกหกทำให้เราแตกแยกกัน พวกมันจะพยายามทำให้เราทิ้งกัน แต่จะไม่สำเร็จเพราะเรามีความรักที่มั่นคงต่อกัน จะไม่มีอะไรมาทำลายมิตรภาพของเราได้ ที่จริง ความเป็นเพื่อนที่เรามีต่อกันไม่เพียงจะคงอยู่จนถึงจุดจบของโลกชั่ว แต่จะยั่งยืนยาวนานตลอดไป!
เพลง 24 ไปที่ภูเขาของพระยะโฮวา
^ วรรค 5 ขณะที่จุดจบใกล้จะมาถึง เราจำเป็นต้องสนิทกับพี่น้องให้มากขึ้น บทความนี้เราจะเรียนจากตัวอย่างของเยเรมีย์ และดูว่าการสนิทกับพี่น้องมากขึ้นในตอนนี้จะช่วยเราในเวลาลำบากอย่างไร
^ วรรค 2 เหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังสือเยเรมีย์ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา
^ วรรค 57 คำอธิบายภาพ ภาพเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในช่วง “ความทุกข์ยากลำบากครั้งใหญ่” พี่น้องหลายคนไปหลบที่ห้องใต้หลังคาในบ้านพี่น้องคนหนึ่ง พวกเขาให้กำลังใจกันได้ในเวลาลำบากเพราะพวกเขาเป็นเพื่อนกัน ภาพเหตุการณ์ 3 ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าพี่น้องกลุ่มนี้พยายามสนิทกันมากขึ้นตั้งแต่ก่อนที่ความทุกข์ยากลำบากครั้งใหญ่เริ่มขึ้น