ทำไมต้องให้กับผู้ที่มีพร้อมทุกอย่าง?
“พระเจ้าของพวกเรา พวกเราขอขอบคุณพระองค์และสรรเสริญชื่อที่ไพเราะของพระองค์”—1 พงศาวดาร 29:13
1, 2. พระยะโฮวาใจกว้างอย่างไร?
พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่ใจกว้าง ทุกสิ่งที่เรามีเราก็ได้มาจากพระองค์ พระองค์เป็นเจ้าของสิ่งที่มีค่าทุกอย่างในโลกและใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อค้ำจุนสิ่งมีชีวิต (สดุดี 104:13-15; ฮักกัย 2:8) เราได้เรียนจากคัมภีร์ไบเบิลว่าบางครั้งพระยะโฮวาใช้สิ่งมีค่าเหล่านี้ในวิธีที่มหัศจรรย์เพื่อให้สิ่งจำเป็นกับประชาชนของพระองค์
2 ตัวอย่างเช่น พระยะโฮวาให้ชาวอิสราเอลมีมานาและน้ำกินตอนที่พวกเขาอยู่ในที่กันดารตลอด 40 ปี (อพยพ 16:35) ชาวอิสราเอลจึงมีทุกอย่างที่พวกเขาจำเป็นต้องมี (เนหะมีย์ 9:20, 21) ต่อมา พระยะโฮวาให้พลังกับผู้พยากรณ์เอลีชาเพื่อช่วยแม่ม่ายที่ซื่อสัตย์ เขาทำให้น้ำมันที่มีอยู่น้อยนิดในบ้านของเธอเพิ่มมากขึ้น และของขวัญนี้ช่วยให้แม่ม่ายสามารถใช้หนี้ได้หมดและยังมีเงินเหลือพอที่เธอกับลูกชายจะใช้ชีวิตต่อไปได้ (2 พงศ์กษัตริย์ 4:1-7) พระเยซูเองก็ทำการอัศจรรย์โดยเลี้ยงอาหารผู้คนและแม้แต่ให้เงินในเวลาจำเป็น ซึ่งท่านทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา—มัทธิว 15:35-38; 17:27
3. เราจะคุยอะไรกันในบทความนี้?
อพยพ 36:3-7; อ่านสุภาษิต 3:9) ทำไมพระยะโฮวาอยากให้เราเอาสิ่งที่มีค่าของเราคืนให้กับพระองค์ด้วย? ผู้รับใช้พระยะโฮวาในสมัยคัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนงานของพระองค์อย่างไร? ทุกวันนี้องค์การใช้เงินบริจาคอย่างไร? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้
3 พระยะโฮวาสามารถใช้อะไรก็ได้เพื่อดูแลสิ่งที่พระองค์สร้าง แต่พระองค์ก็เชิญผู้รับใช้ให้เอาสิ่งที่พวกเขามีไปสนับสนุนงานขององค์การพระองค์ (ทำไมเราต้องให้พระยะโฮวา?
4. เมื่อเราสนับสนุนงานของพระยะโฮวา เรากำลังแสดงให้พระองค์เห็นอะไร?
4 เราอยากให้พระยะโฮวาเพราะเรารักและสำนึกบุญคุณพระองค์ เมื่อเราคิดถึงทุกอย่างที่พระองค์ทำเพื่อเรา เรารู้สึกประทับใจมาก กษัตริย์ดาวิดก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกัน ตอนที่เขาอธิบายว่าการสร้างวิหารจำเป็นต้องมีอะไรบ้าง เขาบอกว่าทุกอย่างที่เราได้รับมาจากพระยะโฮวา และทุกอย่างที่เราให้พระองค์ก็เป็นของที่พระองค์ให้เรามาทั้งนั้น—อ่าน 1 พงศาวดาร 29:11-14
5. คัมภีร์ไบเบิลสอนเราอย่างไรว่าการให้อย่างไม่เห็นแก่ตัวเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการแท้?
5 นอกจากนั้น เราให้พระยะโฮวาเพราะนี่เป็นวิธีที่จะนมัสการพระองค์ ตอนที่อัครสาวกยอห์นได้รับนิมิต เขาได้ยินพวกผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสวรรค์พูดว่า “พระยะโฮวา พระเจ้าของเรา พระองค์สมควรจะได้รับการยกย่องสรรเสริญ ความนับถือ และฤทธิ์อำนาจ เพราะพระองค์สร้างทุกสิ่ง ทุกสิ่งมีอยู่และถูกสร้างขึ้นตามความต้องการของพระองค์” (วิวรณ์ 4:11) พระยะโฮวาสมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญและความนับถือ เราจึงอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดกับพระองค์ พระยะโฮวาสั่งชาวอิสราเอลผ่านทางโมเสสว่า ให้พวกเขาฉลองเทศกาล 3 ครั้งต่อปี ส่วนหนึ่งของการนมัสการพระยะโฮวาในเทศกาลเหล่านี้ก็คือการให้กับพระองค์ ชาวอิสราเอลได้รับคำสั่งว่า “อย่าให้ใครไปหาพระยะโฮวามือเปล่า” (เฉลยธรรมบัญญัติ 16:16) ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน ส่วนสำคัญในการนมัสการของเราคือการให้อย่างไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเห็นค่าและอยากสนับสนุนงานขององค์การพระยะโฮวา
6. ทำไมการให้จึงดีสำหรับเรา? (ดูภาพแรก)
6 นอกจากนั้น มันจะดีกับเราด้วยถ้าเราเป็นคนมีน้ำใจและให้อย่างใจกว้าง ไม่ใช่แค่รับอย่างเดียว (อ่านสุภาษิต 29:21) ลองนึกถึงเด็กคนหนึ่งที่ได้เงินค่าขนมนิดหน่อยจากพ่อแม่ แล้วเขาก็เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ซื้อของขวัญให้พ่อแม่ คุณคิดว่าพ่อแม่จะรู้สึกอย่างไร? หรือลองคิดถึงไพโอเนียร์วัยรุ่นคนหนึ่งที่ยังอยู่กับพ่อแม่ เขาให้เงินพ่อแม่จำนวนหนึ่งเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายของครอบครัว จริง ๆ พ่อแม่อาจไม่คาดหวังให้ลูกทำอย่างนั้นแต่ก็ยินดีรับสิ่งที่ลูกให้ ทำไม? เพราะพ่อแม่รู้ว่ามันจะดีกับลูกถ้าลูกรู้จักสำนึกบุญคุณและเป็นคนมีน้ำใจ คล้ายกัน พระยะโฮวารู้ว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเราที่เราจะให้สิ่งมีค่ากับพระองค์
การให้ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล
7, 8. ประชาชนของพระยะโฮวาในสมัยคัมภีร์ไบเบิลวางตัวอย่างที่ดีอย่างไรในเรื่องการบริจาค (ก) เพื่อโครงการพิเศษ? (ข) เพื่อสนับสนุนคนที่นำหน้าในงานของพระองค์
7 เราเรียนจากคัมภีร์ไบเบิลว่า ประชาชนของพระยะโฮวาในอดีตได้บริจาคเพื่อสนับสนุนงานของพระองค์ บางครั้งพวกเขาบริจาคเพื่อโครงการพิเศษ เช่น โมเสสสนับสนุนให้ชาวอิสราเอลบริจาคเพื่อสร้างเต็นท์อพยพ 35:5; 1 พงศาวดาร 29:5-9) ในสมัยของกษัตริย์เยโฮอาช พวกปุโรหิตได้ซ่อมแซมวิหารโดยใช้เงินบริจาคจากประชาชน (2 พงศ์กษัตริย์ 12:4, 5) ในศตวรรษแรก เนื่องจากคริสเตียนรู้ว่ามีการขาดแคลนอาหารในแคว้นยูเดียและพี่น้องที่นั่นก็ต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาจึงตกลงกันว่าจะส่งสิ่งของต่าง ๆ ไปให้—กิจการ 11:27-30
ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมา กษัตริย์ดาวิดก็สนับสนุนให้ชาวอิสราเอลบริจาคเหมือนกันตอนที่สร้างวิหาร (8 ประชาชนของพระยะโฮวายังสนับสนุนด้านการเงินให้กับคนที่นำหน้าในงานของพระองค์ด้วย ตัวอย่างเช่น กฎหมายของโมเสสบอกว่าคนเลวีไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินเป็นของตัวเองเหมือนตระกูลอื่น ๆ ชาวอิสราเอลจึงต้องให้ส่วน 1 ใน 10 กับคนเลวี ซึ่งทำให้คนเลวีสามารถทุ่มเทกับงานรับใช้ที่เต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ได้ (กันดารวิถี 18:21) คล้ายกัน ผู้หญิงที่มีน้ำใจหลายคนก็ใช้ทรัพย์สินของตัวเองเพื่อสนับสนุนพระเยซูและพวกอัครสาวก—ลูกา 8:1-3
9. มีการบริจาคกันอย่างไรบ้างในสมัยคัมภีร์ไบเบิล?
9 สิ่งที่ให้อาจเป็นได้หลายอย่าง ชาวอิสราเอลที่บริจาคเพื่อสร้างเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์อาจให้ของมีค่าที่พวกเขาเอามาจากอียิปต์ (อพยพ 3:21, 22; 35:22-24) ในศตวรรษแรก คริสเตียนบางคนขายทรัพย์สินของตัวเอง เช่น ที่ดินหรือบ้าน แล้วเอาเงินไปให้พวกอัครสาวก พวกอัครสาวกจึงใช้เงินนั้นช่วยพี่น้องที่ต้องการความช่วยเหลือ (กิจการ 4:34, 35) ส่วนคริสเตียนคนอื่น ๆ ก็กันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นประจำเพื่อสนับสนุนการนมัสการ (1 โครินธ์ 16:2) ดังนั้น ทุกคนตั้งแต่คนที่รวยมากจนถึงคนที่จนมากต่างก็สามารถให้ได้เหมือนกัน—ลูกา 21:1-4
การให้ในสมัยปัจจุบัน
10, 11. (ก) เราจะเลียนแบบความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของผู้รับใช้พระยะโฮวาในสมัยคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร? (ข) คุณรู้สึกอย่างไรที่ได้สนับสนุนงานของรัฐบาลพระเจ้า?
10 ทุกวันนี้อาจมีการบริจาคเพื่อโครงการพิเศษด้วยเหมือนกัน เช่น ประชาคมของคุณอาจวางแผนจะปรับปรุงซ่อมแซมหอประชุมหรืออาจจะสร้างใหม่ บางทีสำนักงานสาขาในประเทศคุณจำเป็นต้องปรับปรุงซ่อมแซม หรือเราอาจช่วยค่าใช้จ่ายสำหรับการประชุมภูมิภาค หรือพี่น้องในประเทศอื่นเจอภัยธรรมชาติและต้องการความช่วยเหลือจากเรา ไม่แค่นั้น เงินบริจาคของเรายังช่วยมิชชันนารี ไพโอเนียร์พิเศษ ผู้ดูแลหมวด รวมทั้งพี่น้องที่ทำงานในสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั่วโลก นอกจากนั้น ประชาคมของคุณก็คงส่งเงินบริจาคเป็นประจำเพื่อช่วยสร้างหอประชุมและหอประชุมใหญ่ในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
11 เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการบริจาคเพื่อสนับสนุนงานที่องค์การของพระยะโฮวากำลังทำอยู่ในสมัยสุดท้ายนี้ การบริจาคส่วนใหญ่จะไม่ระบุชื่อ เมื่อเราใส่เงินในกล่องบริจาคที่หอประชุมหรือบริจาคออนไลน์ทางเว็บไซต์ jw.org เราจะไม่บอกคนอื่นว่าเราให้เงินเท่าไร แต่บางทีเราอาจรู้สึกว่าเงินบริจาคที่ให้มันน้อยเกินไปจนเอาไปทำอะไรไม่ได้ ความจริงก็คือเงินบริจาคส่วนใหญ่ที่องค์การได้รับมาจากเงินบริจาคจำนวนน้อย ๆ ของหลาย ๆ คนแทนที่จะมาจากเงินบริจาคก้อนใหญ่แค่ไม่กี่ครั้ง พี่น้องของเราในปัจจุบันแม้แต่คนที่ไม่ค่อยมีเงินก็เลียนแบบคริสเตียนในแคว้นมาซิโดเนียที่อ้อนวอนเพื่อจะมีส่วนร่วมในการบริจาค พวกเขามีน้ำใจเอื้อเฟื้อทั้ง ๆ ที่ “ยากจนข้นแค้น”—2 โครินธ์ 8:1-4
12. องค์การของพระเจ้าพยายามใช้เงินบริจาคให้เกิดประโยชน์มากที่สุดอย่างไร?
มัทธิว 24:45) พวกเขาอธิษฐานเพื่อจะตัดสินใจได้อย่างดี และวางแผนการใช้เงินอย่างรอบคอบ (ลูกา 14:28) ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล คนที่ซื่อสัตย์ซึ่งดูแลเงินบริจาคจะทำให้แน่ใจว่าเงินเหล่านั้นถูกนำมาใช้เพื่อการนมัสการพระยะโฮวาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตอนที่เอสรากลับมาที่กรุงเยรูซาเล็ม เขาเอาของที่กษัตริย์เปอร์เซียบริจาคให้มาด้วย ซึ่งมีทั้งทองคำ เงิน และสมบัติอื่น ๆ ที่มีมูลค่ามากกว่า 3,300 ล้านบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน เอสรามองว่าของบริจาคเหล่านี้เป็นของขวัญที่ต้องให้กับพระยะโฮวา ดังนั้น เขาจึงให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในการดูแลทรัพย์สมบัติตอนที่ขนย้ายผ่านดินแดนที่อันตราย (เอสรา 8:24-34) หลายร้อยปีต่อมา อัครสาวกเปาโลรวบรวมเงินเพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ขาดแคลนในแคว้นยูเดีย เขาเตือนคนที่ถือเงินไปว่าให้ “ทำทุกสิ่งอย่างซื่อสัตย์ ทั้งในสายตาพระยะโฮวาและในสายตามนุษย์” (อ่าน 2 โครินธ์ 8:18-21) ทุกวันนี้ องค์การของเราเลียนแบบเอสรากับเปาโลและใช้เงินบริจาคอย่างรอบคอบ
12 คณะกรรมการปกครองใช้เงินบริจาคอย่างซื่อสัตย์และสุขุม (13. ทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในองค์การของพระเจ้าในช่วงไม่กี่ปีมานี้?
13 ขอให้คิดถึงตัวอย่างนี้ ครอบครัวหนึ่งอาจเปลี่ยนวิธีใช้เงินเพื่อจะไม่ใช้เงินเกินรายได้ หรือพวกเขาอาจพยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายขึ้นเพื่อจะรับใช้พระยะโฮวาได้มากขึ้น องค์การของพระยะโฮวาก็ทำแบบเดียวกัน ช่วงไม่กี่ปีมานี้มีโครงการใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมากมาย และบางครั้งมีการใช้จ่ายเงินมากกว่าที่ได้รับ ดังนั้น องค์การของพระเจ้าก็ทำเหมือนกับครอบครัวนั้นโดยมองหาวิธีประหยัดเงินและวิธีทำงานให้ง่ายขึ้น เพื่อจะใช้เงินที่พี่น้องบริจาคอย่างเต็มใจให้คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้
มีการเอาเงินบริจาคของคุณไปใช้อะไรบ้าง?
14-16. (ก) เงินบริจาคของคุณถูกเอาไปใช้ในโครงการอะไรบ้าง? (ข) โครงการเหล่านี้มีประโยชน์กับคุณเองอย่างไร?
14 หลายคนที่เป็นพยานฯ มานานหลายปีบอกว่าตอนนี้เราได้รับของขวัญมากมายจากองค์การของพระเจ้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เรามีเว็บไซต์ jw.org และรายการโทรทัศน์ JW เรามีคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่ เพิ่มขึ้นมากมายหลายภาษา ในปี 2014 และ 2015 ได้มีการจัดการประชุมนานาชาติ “แสวงหาราชอาณาจักร ของพระเจ้าก่อน!” ในสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุด 14 เมืองทั่วโลก ทุกคนที่เข้าร่วมการประชุมนั้นมีความสุขมาก
15 หลายคนขอบคุณที่องค์การของพระยะโฮวาให้ของขวัญเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น สามีภรรยาคู่หนึ่งที่รับใช้ในเอเชียเขียนว่า “งานมอบหมายของเราอยู่ในเมืองเล็ก ๆ บางครั้งเราเลยรู้สึกโดดเดี่ยวแล้วก็ลืมไปว่าขอบเขตงานของพระยะโฮวามันยิ่งใหญ่ขนาดไหน แต่พอเราได้ดูรายการทีวี JW มันช่วยเตือนใจเราว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของพี่น้องทั่วโลก พี่น้องท้องถิ่นที่เขตของเราตื่นเต้นกับรายการทีวี JW มาก พวกเขาชอบพูดว่าพอดูรายการจบ พวกเขารู้สึกใกล้ชิดกับสมาชิกคณะกรรมการปกครอง ตอนนี้พวกเขาภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การของพระเจ้ายิ่งกว่าเมื่อก่อน”
16 ทั่วโลกมีหอประชุมราชอาณาจักรเกือบ 2,500 หลังที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือปรับปรุง สมาชิกในประชาคมหนึ่งของประเทศฮอนดูรัสบอกว่าพวกเขาเคยฝันที่จะมีหอประชุมเป็นของตัวเอง และตอนนี้ฝันกลายเป็นจริงแล้ว พวกเขาเขียนว่า “เรามีความสุขมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระยะโฮวา และมีพี่น้องที่น่ารักอยู่ทั่วโลก” หลายคนแสดงความรู้สึกแบบเดียวกันนี้เมื่อได้รับคัมภีร์ไบเบิลและหนังสืออื่น ๆ ในภาษาของตัวเอง เมื่อพี่น้องมาช่วยหลังเกิดภัยพิบัติ หรือเมื่อเห็นผลดีของโครงการประกาศในเมืองใหญ่และการประกาศในที่สาธารณะ
17. เรารู้ได้อย่างไรว่าพระยะโฮวาสนับสนุนองค์การของพระองค์ในทุกวันนี้?
17 หลายคนที่ไม่ใช่พยานพระยะโฮวาไม่เข้าใจว่าเราทำทุกอย่างทั้งหมดนี้โดยใช้แค่เงินบริจาคด้วยความสมัครใจได้อย่างไร ผู้บริหารบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งได้ไปเที่ยวชมโรงพิมพ์ของเรา เขาแปลกใจมากที่งานทั้งหมดทำโดยอาสาสมัคร ใช้แค่เงินบริจาค และไม่มีแม้แต่การจัดงานระดมทุนเพื่อหารายได้ เขาบอกว่าเรากำลังทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้! ก็จริง ถ้ามนุษย์ทำกันเองก็เป็นไปไม่ได้แน่ แต่เรารู้ดีว่าที่มันเป็นไปได้เพราะพระยะโฮวาอยู่เบื้องหลังงานนี้—โยบ 42:2
จะได้พรถ้าเราคืนสิ่งที่เรามีให้กับพระยะโฮวา
18. (ก) ถ้าเราสนับสนุนรัฐบาลของพระเจ้า เราจะได้รับพรอะไรบ้าง? (ข) เราจะสอนลูกและพี่น้องใหม่ ๆ ให้ทำเหมือนกันได้อย่างไร?
18 พระยะโฮวาให้เกียรติและให้โอกาสเราสนับสนุนงานที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับรัฐบาลของพระองค์ พระองค์รับรองว่าถ้าเราทำอย่างนั้นพระองค์จะอวยพรเรา (มาลาคี 3:10) พระยะโฮวาสัญญาว่าถ้าเราให้อย่างใจกว้าง เราก็จะได้รับสิ่งดี ๆ (อ่านสุภาษิต 11:24, 25) พระยะโฮวายังบอกเราว่า เราจะมีความสุขถ้าเราให้ เพราะ “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ” (กิจการ 20:35) เราสามารถสอนลูกและพี่น้องใหม่ ๆ ทั้งโดยคำพูดและการกระทำของเรา เพื่อช่วยให้พวกเขารู้ว่าจะสนับสนุนงานนี้และรับพรมากมายได้อย่างไร
19. บทความนี้กระตุ้นใจคุณอย่างไร?
19 ทุกอย่างที่เรามีมาจากพระยะโฮวา เมื่อเราคืนให้พระองค์ เราก็แสดงว่าเรารักพระองค์และเห็นค่าทุกสิ่งที่พระองค์ทำเพื่อเรา (1 พงศาวดาร 29:17) ตอนที่ชาวอิสราเอลบริจาคเพื่อสร้างวิหาร พวกเขา “มีความสุขที่ได้เอาของมาถวายด้วยความสมัครใจ เพราะพวกเขาเต็มใจถวายของเหล่านี้แก่พระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจ” (1 พงศาวดาร 29:9) พระยะโฮวาให้หลายสิ่งกับเรา ขอเราคืนให้กับพระองค์ แล้วเราก็จะมีความสุขแท้