บทความศึกษา 12
เวลาไหนเหมาะที่จะพูด?
“มีเวลาสำหรับทุกสิ่ง . . . เวลาเงียบและเวลาพูด”—ปญจ. 3:1, 7
เพลง 124 ภักดีเสมอไม่เปลี่ยนแปลง
ใจความสำคัญ *
1. ปัญญาจารย์ 3:1, 7 สอนอะไรเรา?
บางคนเป็นคนชอบพูด ส่วนบางคนไม่ค่อยชอบพูดเท่าไร อย่างที่เราเห็นในข้อคัมภีร์หลักของบทความนี้ว่ามีทั้งเวลาพูดและเวลาเงียบ (อ่านปัญญาจารย์ 3:1, 7) แต่บางทีเราอาจอยากให้พี่น้องบางคนพูดเยอะอีกนิดหรืออยากให้บางคนพูดน้อยกว่านี้อีกหน่อย
2. ใครมีสิทธิ์ตั้งมาตรฐานว่าเราควรพูดเมื่อไรและอย่างไร?
2 ความสามารถในการพูดเป็นของขวัญที่มาจากพระยะโฮวา (อพย. 4:10, 11; วว. 4:11) ในคัมภีร์ไบเบิล พระยะโฮวาบอกว่าเราควรจะใช้ของขวัญนี้อย่างไร บทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีตัวอย่างอะไรในคัมภีร์ไบเบิลที่ช่วยให้รู้ว่าเมื่อไรเป็นเวลาที่ควรพูดหรือเมื่อไรเป็นเวลาที่ควรเงียบ แล้วเราจะดูว่าพระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เราพูดกับคนอื่น ตอนนี้ให้เรามาดูกันก่อนว่าเมื่อไรเป็นเวลาที่ควรพูด
เวลาไหนที่เราควรพูด?
3. จากโรม 10:14 เวลาไหนที่เราควรพูด?
3 เราควรพร้อมที่จะพูดเรื่องพระยะโฮวาและรัฐบาลของพระองค์เสมอ (มธ. 24:14; อ่านโรม 10:14) ถ้าเราทำอย่างนี้ เราก็กำลังเลียนแบบพระเยซู ที่จริง หนึ่งในเหตุผลหลักที่พระเยซูมาบนโลกก็เพื่อมาบอกความจริงเรื่องพ่อของท่าน (ยน. 18:37) แต่เราต้องจำไว้ว่าวิธีพูดของเราก็สำคัญด้วย เมื่อเราบอกคนอื่นเรื่องพระยะโฮวา เราควรทำ “อย่างสุภาพและด้วยความนับถือจากใจ” และพยายามเข้าใจความรู้สึกและความเชื่อ ของคนที่เราคุยด้วย (1 ปต. 3:15) เมื่อเราทำอย่างนั้น เราจะไม่ได้พูดอย่างเดียวแต่คำพูดของเราจะเป็นการสอนด้วย และนั่นอาจเข้าถึงหัวใจของคนที่คุยกับเรา
4. จากสุภาษิต 9:9 คำพูดของเราสามารถช่วยคนอื่นได้อย่างไร?
4 ผู้ดูแลไม่ควรลังเลที่จะพูดเมื่อเห็นว่าพี่น้องบางคนจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำ เขาควรเลือกเวลาที่เหมาะ พี่น้องจะได้ไม่อาย เขาอาจต้องรอเวลาที่ไม่มีคนอยู่แถวนั้นเพื่อจะพูดเป็นส่วนตัวกับพี่น้องคนนั้น ผู้ดูแลจะพยายามพูดแบบที่ไม่ทำให้พี่น้องรู้สึกเสียศักดิ์ศรี แต่เขาก็ต้องพร้อมที่จะใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิลช่วยพี่น้องให้ตัดสินใจอย่างถูกต้องเมื่อเห็นว่าจำเป็น (อ่านสุภาษิต 9:9) ทำไมการกล้าพูดตอนที่จำเป็นต้องพูดถึงสำคัญ? เราจะมาดูสองตัวอย่างที่แตกต่างกัน ตัวอย่างแรกเป็นของชายคนหนึ่งที่ต้องเตือนลูกของเขา และอีกตัวอย่างหนึ่งเป็นของผู้หญิงที่ต้องไปคุยกับคนที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคต
5. ตอนไหนที่มหาปุโรหิตเอลีไม่ได้พูดสิ่งที่ควรพูด?
5 มหาปุโรหิตเอลีรักลูกชายมาก แต่ลูกชายทั้งสองของเขาไม่นับถือพระยะโฮวา ลูกชายของเขารับใช้เป็นปุโรหิตที่เต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก แต่พวกเขากลับใช้อำนาจในทางที่ไม่ดี ดูหมิ่นเครื่องบูชาที่ถวายให้กับพระยะโฮวา และทำผิดศีลธรรมอย่างหน้าไม่อาย (1 ซม. 2:12-17, 22) ตามกฎหมายของโมเสสแล้ว ลูกชายทั้งสองคนของเอลีสมควรตาย แต่เอลีแค่เตือนพวกเขาเบา ๆ และยังให้พวกเขารับใช้ต่อในเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ (ฉธบ. 21:18-21) พระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เอลีทำ? พระองค์บอกเขาว่า “ทำไมเจ้าให้เกียรติลูกชายของเจ้ามากกว่าเรา?” พระองค์ตัดสินให้ลูกชายทั้งสองคนของเอลีตาย—1 ซม. 2:29, 34
6. เราได้เรียนอะไรจากตัวอย่างของเอลี?
6 เราได้บทเรียนสำคัญจากตัวอย่างของเอลี ถ้าเรารู้ว่าเพื่อนหรือญาติของเราทำผิดกฎหมายพระเจ้า เราต้องกล้าเตือนเขาให้คิดถึงมาตรฐานของพระยะโฮวา และเราต้องทำให้แน่ใจว่าเขาได้รับความช่วยเหลือจากตัวแทนของพระองค์ (ยก. 5:14) เราจะไม่ทำแบบเอลีโดยให้เกียรติเพื่อนหรือญาติของเรามากกว่าพระเจ้า ถึงจะต้องใช้ความกล้าที่จะเตือนคนนั้น และไม่ง่ายที่จะทำอย่างนั้น แต่ความพยายามของเราจะคุ้มค่าแน่นอน ให้เรามาดูกันว่าตัวอย่างของเอลีแตกต่างจากตัวอย่างของอาบีกายิลหญิงชาวอิสราเอลอย่างไร
7. ทำไมอาบีกายิลถึงไปพูดกับดาวิด?
7 อาบีกายิลเป็นภรรยาของนาบาลเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย ตอนที่ดาวิดและคนของเขากำลังหนีกษัตริย์ซาอูล พวกเขาไปอยู่กับคนเลี้ยงแกะของนาบาลอยู่ช่วงหนึ่งและช่วยปกป้องฝูงแกะจากกองโจร แต่นาบาลเห็นค่าสิ่งที่พวกเขาทำไหม? ไม่เลย ตอนที่ดาวิดขอนาบาลแบ่งน้ำกับอาหารให้คนของเขาบ้าง นาบาลโกรธมากและด่าพวกเขา (1 ซม. 25:5-8, 10-12, 14) นี่ทำให้ดาวิดตั้งใจจะไปฆ่าผู้ชายทุกคนในบ้านของนาบาล (1 ซม. 25:13, 22) ในที่สุดเหตุการณ์นั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้น อาบีกายิลรู้ว่านี่เป็นเวลาที่เธอควรพูด เธอเลยกล้าไปพูดกับดาวิดทั้ง ๆ ที่รู้ว่าต้องไปเจอชาย 400 คนที่ทั้งกำลังโกรธและหิวแถมมีอาวุธครบมือด้วย
8. เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของอาบีกายิล?
8 ตอนที่อาบีกายิลไปเจอดาวิด เธอพูดกับเขาด้วยความกล้าและความนับถือ และพูดในแบบที่ทำให้เขาอยากทำตามที่เธอบอก แม้นี่ไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่เธอก็ขอโทษดาวิด เธอพูดถึงคุณลักษณะดี ๆ ของดาวิดและพึ่งพระยะโฮวาให้ช่วยเธอ (1 ซม. 25:24, 26, 28, 33, 34) เหมือนกับอาบีกายิล เราต้องกล้าพูดถ้าเห็นใครทำบางอย่างที่อาจทำให้เขาทำผิดร้ายแรง (สด. 141:5) เราต้องแสดงความนับถือ แต่เราก็ต้องมีความกล้าด้วย ถ้าเราให้คำแนะนำใครด้วยความรัก เราก็กำลังแสดงว่าเราเป็นเพื่อนแท้ของเขา—สภษ. 27:17
9-10. ผู้ดูแลควรคิดถึงอะไรเมื่อให้คำแนะนำคนอื่น?
กท. 6:1) ผู้ดูแลรู้ดีว่าตัวเองไม่สมบูรณ์และอาจต้องถูกแนะนำในบางครั้งด้วย แต่เขาจะไม่ยอมให้เรื่องนี้ทำให้เขารู้สึกลังเลที่จะว่ากล่าวตักเตือนคนที่ต้องได้รับการสั่งสอน (2 ทธ. 4:2; ทต. 1:9) ตอนให้คำแนะนำ ผู้ดูแลต้องจำไว้ว่าเขาต้องใช้ความสามารถในการพูดซึ่งเป็นของขวัญจากพระเจ้าอย่างฉลาดและอดทน เขารักพี่น้องและความรักนี้จะกระตุ้นเขาให้อยากช่วยพี่น้อง (สภษ. 13:24) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขาคือการให้เกียรติพระยะโฮวาโดยสนับสนุนมาตรฐานของพระองค์และปกป้องประชาคมจากปัญหาต่าง ๆ—กจ. 20:28
9 สำคัญมากที่ผู้ดูแลต้องกล้าเตือนพี่น้องในประชาคมที่กำลังก้าวไปผิดทาง (10 จนถึงตอนนี้เราได้เห็นแล้วว่าเวลาไหนเป็นเวลาที่เราควรพูด แต่บางครั้งอาจจะดีกว่าที่เราจะไม่พูดอะไรเลย ให้เรามาดูกันว่ามีสถานการณ์ไหนบ้างที่เราควรทำแบบนั้น
เวลาไหนที่เราควรเงียบ?
11. ยากอบใช้ตัวอย่างอะไร? ทำไมตัวอย่างนี้ถึงเหมาะ?
11 การควบคุมคำพูดไม่ใช่เรื่องง่าย ยากอบใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบที่เหมาะเพื่อช่วยให้เราเห็นเรื่องนี้ เขาบอกว่า “เราทุกคนผิดพลาดกันอยู่บ่อย ๆ ถ้าใครไม่ผิดพลาดในการพูดเลย เขาก็เป็นคนสมบูรณ์แล้ว และสามารถควบคุมร่างกายได้ทุกส่วน ถ้าเราใส่บังเหียนที่ปากม้าเพื่อให้มันเชื่อฟังเรา เราก็ควบคุมมันได้ทั้งตัว” (ยก. 3:2, 3) ปกติแล้ว บังเหียนเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใส่ที่หัวและปากของม้า คนที่ขี่ม้าจะดึงสายบังเหียนเพื่อควบคุมหรือหยุดม้า ถ้าคนขี่จับสายบังเหียนไม่แน่น เขาก็อาจควบคุมม้าไม่ได้และม้าก็จะเตลิดซึ่งนั่นอาจทำ ให้เกิดอันตรายกับทั้งม้าและคนขี่ เหมือนกัน การไม่ควบคุมคำพูดก็สร้างปัญหาหลายอย่าง ให้เรามาดูว่าตอนไหนเป็นเวลาที่เราควร “คุมบังเหียน” และไม่พูด
12. เมื่อไรที่เราควร “คุมบังเหียน” และไม่พูด?
12 คุณทำอย่างไรเวลาเจอพี่น้องที่รู้ความลับบางอย่าง? ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเจอพี่น้องที่รับใช้ในประเทศที่ถูกสั่งห้าม คุณรู้สึกอยากถามรายละเอียดพวกเขาไหมว่าพวกเขารับใช้กันอย่างไร? จริง ๆ แล้วคุณก็คงหวังดี เราทุกคนรักพี่น้องและอยากรู้ว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง และเราก็อยากอธิษฐานอย่างเจาะจงเพื่อพวกเขา แต่ตอนนี้เป็นเวลาที่เราควร “คุมบังเหียน” และไม่พูด ถ้าเรากดดันคนที่รู้ความลับ เราก็ไม่ได้แสดงความรักทั้งต่อพี่น้องคนนั้นและพี่น้องคนอื่น ๆ ที่คาดหมายให้เขาเก็บความลับ แน่นอนว่า เราคงไม่อยากทำให้พี่น้องที่รับใช้ในประเทศที่ถูกสั่งห้ามลำบากกว่าเดิม และถ้าเราเองรับใช้ในประเทศที่ถูกสั่งห้าม เราก็ไม่อยากบอกคนอื่นว่าพยานฯ ที่นั่นประกาศ ประชุม หรือทำกิจกรรมคริสเตียนกันอย่างไร
13. จากสุภาษิต 11:13 ผู้ดูแลต้องทำอะไร? ทำไมเขาต้องทำอย่างนั้น?
13 เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ดูแลต้องทำตามหลักการในสุภาษิต 11:13 โดยที่พวกเขาต้องไม่พูดเรื่องที่เป็นความลับ (อ่าน) นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะผู้ดูแลที่แต่งงานแล้ว ตามปกติแล้วเพื่อสามีภรรยาจะรักกันและสนิทกันเสมอ พวกเขาต้องเปิดใจคุยกันบ่อย ๆ เล่าความรู้สึกและความกังวลให้กันและกัน แต่ผู้ดูแลรู้ดีว่าเขาต้องไม่ “แพร่งพรายความลับ” ของพี่น้องในประชาคมให้ภรรยาฟัง ถ้าเขาทำอย่างนั้น พี่น้องคนอื่น ๆ ก็จะไม่เชื่อใจและตัวเขาก็จะเสียชื่อเสียงด้วย คนที่ได้รับการแต่งตั้งและได้รับความไว้วางใจจากประชาคมต้อง “ไม่เป็นคนพูดจากลับกลอก” หรือหลอกลวง นี่หมายความว่าเขาต้องไม่หลอกพี่น้องให้เข้าใจว่าเขาเป็นคนที่ไว้ใจได้ แต่เขากลับเอาเรื่องของพี่น้องไปบอกคนอื่นซึ่งการทำอย่างนั้นเป็นเหมือนการนินทา (1 ทธ. 3:8; เชิงอรรถ) ผู้ดูแลที่รักภรรยาจะไม่เพิ่มภาระให้เธอโดยบอกเรื่องที่เธอไม่จำเป็นต้องรู้
14. ภรรยาผู้ดูแลจะช่วยรักษาชื่อเสียงที่ดีของสามีได้อย่างไร?
14 ภรรยาของผู้ดูแลจะช่วยรักษาชื่อเสียงที่ดีของสามีได้โดยไม่กดดันเขาให้บอกความลับ การที่เธอทำแบบนั้นจะช่วยสนับสนุนสามีและให้เกียรติคนที่ไว้ใจสามีของเธอ และที่สำคัญที่สุด เธอจะทำให้พระยะโฮวามีความสุขเพราะเธอกำลังส่งเสริมสันติสุขและความเป็นหนึ่งเดียวกันในประชาคม—รม. 14:19
พระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เราพูด?
15. พระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับเพื่อนสามคนของโยบ? และทำไมพระองค์ถึงรู้สึกแบบนั้น?
15 หนังสือโยบสอนเราหลายอย่างว่าเราควรพูดอย่างไรและพูดตอนไหน หลังจากที่โยบเจอเรื่องแย่ ๆ หลายอย่างก็มีผู้ชายสี่คนมาให้กำลังใจและให้คำแนะนำกับเขา พวกเขานิ่งเงียบเป็นเวลานาน แต่สิ่งที่ชายสามคนคือเอลีฟัส บิลดัด และโศฟาร์พูดแสดงว่าพวกเขาไม่ได้ใช้เวลาคิดจะช่วยโยบเลย พวกเขาเอาแต่คิดจะพิสูจน์ว่าโยบผิดอย่างไร ถึงบางสิ่งที่พวกเขาพูดจะจริงอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาพูดไม่ดีและไม่จริงเกี่ยวกับโยบและพระยะโฮวา พวกเขาตัดสินโยบว่าเป็นคนไม่ดี (โยบ 32:1-3) พระยะโฮวารู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? พระองค์โกรธมาก พระองค์บอกว่าทั้งสามคนนั้นเป็นคนโง่และบอกให้พวกเขาไปขอโยบให้อธิษฐานเพื่อพวกเขา—โยบ 42:7-9
16. เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างที่ไม่ดีของเอลีฟัส บิลดัด และโศฟาร์?
มธ. 7:1-5) เราต้องฟังคนอื่นก่อนที่จะพูด เราถึงจะเข้าใจจริง ๆ ว่าเขากำลังเจอกับอะไร (1 ปต. 3:8) สอง ตอนที่เราพูดเราต้องใช้คำพูดดี ๆ และเราต้องพูดความจริง (อฟ. 4:25) และสาม พระยะโฮวาสนใจมากว่าเราพูดอะไรกับคนอื่น
16 เราได้บทเรียนหลายอย่างจากตัวอย่างที่ไม่ดีของเอลีฟัส บิลดัด และโศฟาร์ อย่างแรก เราต้องไม่ตัดสินพี่น้อง (17. เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของเอลีฮู?
17 ชายคนที่สี่ที่ไปหาโยบคือเอลีฮูญาติของอับราฮัม เขาฟังโยบและฟังชายอีกสามคนพูด เห็นได้ชัดว่าเขาตั้งใจฟังจริง ๆ เพราะเขาสามารถให้คำแนะนำที่เห็นอกเห็นใจและตรงไปตรงมาซึ่งในที่สุดสามารถช่วยโยบให้แก้ไขความคิดของตัวเองได้ (โยบ 33:1, 6, 17) สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเอลีฮูคือการยกย่องพระยะโฮวา ไม่ใช่ยกย่องตัวเองหรือคนอื่น (โยบ 32:21, 22; 37:23, 24) ตัวอย่างของเอลีฮูสอนว่ามีเวลาที่เราควรเงียบและฟัง (ยก. 1:19) และเราได้เรียนว่าตอนที่เราให้คำแนะนำ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเราควรเป็นการให้เกียรติพระยะโฮวาไม่ใช่ตัวเราเอง
18. เราจะแสดงว่าเห็นค่าความสามารถในการพูดซึ่งเป็นของขวัญที่มาจากพระเจ้าได้อย่างไร?
18 เราแสดงว่าเราเห็นค่าความสามารถในการพูดซึ่งเป็นของขวัญที่มาจากพระเจ้าได้โดยการทำตามคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลที่บอกว่าเราควรพูดเมื่อไรและพูดอย่างไร โซโลมอนกษัตริย์ที่ชาญฉลาดได้รับการดลใจให้เขียนว่า “คำพูดที่เหมาะกับกาลเทศะเป็นเหมือนแอปเปิลทองคำในชามเงินแกะสลัก” (สภษ. 25:11) ถ้าเราตั้งใจฟังคนอื่นและคิดก่อนพูด คำพูดของเราก็จะเป็นเหมือนแอปเปิลทองคำที่สวยงามและมีค่า แล้วคำพูดของเราก็จะให้กำลังใจคนอื่นและทำให้พระยะโฮวาภูมิใจไม่ว่าเราจะพูดน้อยหรือพูดเยอะ (สภษ. 23:15; อฟ. 4:29) นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะแสดงให้เห็นว่าเราเห็นค่าของขวัญนี้ที่มาจากพระยะโฮวา
เพลง 82 “ให้คุณส่องแสงสว่าง”
^ วรรค 5 คัมภีร์ไบเบิลมีหลักการที่ช่วยให้เรารู้ว่าเวลาไหนที่เราควรพูดหรือควรเงียบ เมื่อเรารู้หลักการเหล่านี้และทำตามสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลบอก คำพูดของเราก็จะทำให้พระยะโฮวาพอใจ
^ วรรค 62 คำอธิบายภาพ พี่น้องหญิงให้คำแนะนำที่ดีกับพี่น้องหญิงอีกคน
^ วรรค 64 คำอธิบายภาพ พี่น้องชายให้คำแนะนำเรื่องความสะอาด
^ วรรค 66 คำอธิบายภาพ อาบีกายิลพูดกับดาวิดในเวลาที่ควรจะพูดซึ่งทำให้เกิดผลดี
^ วรรค 68 คำอธิบายภาพ พี่น้องคู่หนึ่งไม่ยอมบอกรายละเอียดเกี่ยวกับงานของเราในประเทศที่ถูกสั่งห้าม
^ วรรค 70 คำอธิบายภาพ ผู้ดูแลระวังไม่ให้ใครได้ยินเรื่องของประชาคมที่เป็นความลับ