ให้กำลังใจกัน “ให้มากขึ้น”
“ให้เราสนใจกัน . . . ให้กำลังใจกัน และทำสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้นเมื่อเห็นว่าวันนั้นใกล้มาถึงแล้ว”—ฮีบรู 10:24, 25
1. ทำไมอัครสาวกเปาโลบอกให้คริสเตียนชาวฮีบรูในศตวรรษแรกให้กำลังใจกัน “ให้มากขึ้น”?
ในศตวรรษแรก เปาโลแนะนำคริสเตียนชาวฮีบรูว่า “ให้เราสนใจกัน เราจะได้กระตุ้นกันให้มีความรักและทำความดี อย่าขาดการประชุมเหมือนที่บางคนทำเป็นนิสัย แต่ให้กำลังใจกัน และทำสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้นเมื่อเห็นว่าวันนั้นใกล้มาถึงแล้ว” (ฮีบรู 10:24, 25) ในตอนนั้นพี่น้องอาจสงสัยว่าทำไมเปาโลต้องบอกให้พวกเขาให้กำลังใจกันมากขึ้นด้วย แต่อีกไม่ถึง 5 ปี พวกเขาก็รู้คำตอบ พวกเขาได้เห็นว่าวันที่พระยะโฮวาจะพิพากษากรุงเยรูซาเล็มใกล้มาถึงแล้ว และพวกเขารู้ว่าต้องทำตามที่พระเยซูเคยบอกไว้ว่าให้หนีออกจากกรุงเยรูซาเล็ม (ลูกา 21:20-22; กิจการ 2:19, 20) พอถึงปี 70 วันของพระยะโฮวาก็มาถึงจริง ๆ กองทัพโรมันได้มาทำลายกรุงเยรูซาเล็ม
2. ในทุกวันนี้ทำไมเรายิ่งต้องสนใจที่จะให้กำลังใจกัน?
2 ทุกวันนี้เราอยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เพราะ ‘วันของพระยะโฮวาที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัว’ ใกล้จะถึงแล้ว (โยเอล 2:11) และคำพูดของเศฟันยาห์ก็ใช้ได้ กับสมัยของเราด้วย “วันใหญ่ของเรายะโฮวาใกล้เข้ามาแล้ว! มันใกล้มากและจวนจะถึงอยู่แล้ว!” (เศฟันยาห์ 1:14) นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้อง “เป็นห่วงกัน เราจะได้กระตุ้นกันให้มีความรักและทำความดี” (ฮีบรู 10:24, เชิงอรรถ) เพื่อเราจะให้กำลังใจพี่น้องตอนที่พวกเขาต้องการ เรายิ่งต้องสนใจพวกเขามากขึ้น
ใครบ้างต้องการกำลังใจ?
3. เปาโลบอกอะไรเราเรื่องการให้กำลังใจ? (ดูภาพแรก)
3 “ความวิตกกังวลทำให้หนักใจ แต่คำพูดดี ๆ ทำให้มีกำลังใจ” (สุภาษิต 12:25) จริง ๆ แล้วเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องการกำลังใจในบางครั้ง เปาโลทำให้เราเห็นว่าแม้แต่คนที่มีหน้าที่ในการให้กำลังใจคนอื่น พวกเขาเองก็ต้องการกำลังใจด้วย เปาโลเขียนถึงพี่น้องที่กรุงโรมว่า “ผมอยากเจอพวกคุณมาก จะได้แบ่งปันสิ่งที่ให้กำลังใจเพื่อช่วยพวกคุณให้ใกล้ชิดพระเจ้า หรือถ้าจะพูดให้ถูก พวกเราจะได้ให้กำลังใจกันและกันโดยความเชื่อของเราทั้งสองฝ่าย คือทั้งของพวกคุณและของผม” (โรม 1:11, 12) ในบางครั้งแม้แต่เปาโลเองก็ต้องการกำลังใจจากพี่น้องคนอื่นด้วยเหมือนกัน—อ่านโรม 15:30-32
4, 5. เราควรให้กำลังใจใครบ้าง? และทำไม?
4 ในทุกวันนี้เราสามารถให้กำลังใจพี่น้องที่รับใช้พระยะโฮวาเต็มเวลาได้ เช่น พี่น้องที่เป็นไพโอเนียร์อย่างซื่อสัตย์ พวกเขาเสียสละหลายอย่างที่ชอบเพื่อจะเป็นไพโอเนียร์ได้ นอกจากนั้น ยังมีมิชชันนารี พี่น้องที่ทำงานในเบเธลกับสำนักงานแปลท้องถิ่น (RTO) รวมทั้งผู้ดูแลหมวดกับภรรยาด้วย พวกเขาทั้งหมดเสียสละหลายอย่างเพื่อจะรับใช้พระยะโฮวาได้มากขึ้น และยังมีหลายคนที่เคยเป็นผู้รับใช้เต็มเวลามาก่อนแต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว พวกเขาก็รู้สึกขอบคุณเมื่อได้รับกำลังใจเหมือนกัน
5 ใครอีกที่ควรได้รับกำลังใจ? เราอาจให้กำลังใจพี่น้องทั้งผู้ชายและผู้หญิงหลายคนที่เลือกเป็นโสดเพราะอยากเชื่อฟังพระยะโฮวาที่บอกให้แต่งงานเฉพาะกับ “คนที่เชื่อถือผู้เป็นนาย” (1 โครินธ์ 7:39) ส่วนคนที่เป็นภรรยาก็ได้กำลังใจเมื่อสามีบอกรักเธอ และทำให้เธอรู้ว่าเขาเห็นคุณค่าทุกอย่างที่เธอทำ (สุภาษิต 31:28, 31) นอกจากนั้น คริสเตียนที่อดทนการข่มเหงหรืออดทนกับความเจ็บป่วยก็ควรจะได้รับกำลังใจด้วย (2 เธสะโลนิกา 1:3-5) พระยะโฮวาและพระเยซูให้กำลังใจพี่น้องที่ซื่อสัตย์เหล่านี้ทุกคน—อ่าน 2 เธสะโลนิกา 2:16, 17
ผู้ดูแลให้กำลังใจเรา
6. อิสยาห์ 32:1, 2 พูดถึงหน้าที่ของผู้ดูแลไว้อย่างไร?
6 อ่านอิสยาห์ 32:1, 2 เราอยู่ในสมัยที่มีแต่ปัญหาซึ่งทำให้เราเสียใจหรือท้อใจได้ง่าย ดังนั้น พระเยซูให้มี “เจ้านาย” ซึ่งก็คือผู้ดูแลทั้งที่เป็นผู้ถูกเจิมกับแกะอื่นมาให้กำลังใจเรา พวกเขาไม่ใช่ “นาย” ที่คอยควบคุมความเชื่อแต่เป็น “เพื่อนร่วมงาน” ที่ทำให้เรายินดี พวกเขาอยากให้เรามีความสุขและรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไปได้—2 โครินธ์ 1:24
7, 8. นอกจากจะให้กำลังใจโดยคำพูดแล้ว ผู้ดูแลจะให้กำลังใจพี่น้องได้อย่างไรอีก?
7 ผู้ดูแลเลียนแบบตัวอย่างของอัครสาวกเปาโลได้ เปาโลเป็นคนที่พยายามให้กำลังใจพี่น้องของเขาเสมอ เขาเขียนถึงคริสเตียนในเมืองเธสะโลนิกาว่า “เรารักพวกคุณจริง ๆ เราจึงไม่ได้ให้แค่ข่าวดีของพระเจ้ากับพวกคุณเท่านั้น แต่ตั้งใจจะให้ชีวิตของเราเองด้วย เพราะพวกคุณเป็นที่รักของเรามาก”—1 เธสะโลนิกา 2:8
8 ผู้ดูแลสามารถให้กำลังใจพี่น้องได้มากโดยทางคำพูด แต่บางครั้งคำพูดอย่างเดียวก็ไม่พอ เปาโลบอกผู้ดูแลจากเมืองเอเฟซัสว่า “พวกคุณต้องทำงานหนักแบบนี้กิจการ 20:35) เปาโล “เต็มใจเสียสละทุกอย่างและทุ่มเทตัวเองเพื่อ” พี่น้อง เขาทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือพี่น้อง (2 โครินธ์ 12:15) คล้ายกับเปาโล ผู้ดูแลในทุกวันนี้สามารถให้กำลังใจและปลอบใจพี่น้องได้ไม่ใช่แค่พูดอย่างเดียว แต่ต้องลงมือทำด้วย การทำแบบนี้แสดงว่าผู้ดูแลสนใจเราจริง ๆ—1 โครินธ์ 14:3
แหละเพื่อช่วยคนที่อ่อนแอ และอย่าลืมสิ่งที่พระเยซูผู้เป็นนายเคยพูดไว้ว่า ‘การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ’” (9. ผู้ดูแลจะให้คำแนะนำในแบบที่ให้กำลังใจได้อย่างไร?
9 เพื่อช่วยให้พี่น้องเข็มแข็งขึ้น บางครั้งผู้ดูแลต้องให้คำแนะนำด้วย ผู้ดูแลควรให้คำแนะนำในแบบที่คนรับรู้สึกได้กำลังใจ เขาสามารถดูตัวอย่างจากคัมภีร์ไบเบิล พระเยซูเป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องการให้คำแนะนำ ตอนที่ท่านส่งข่าวไปถึงประชาคมต่าง ๆ ในเอเชียไมเนอร์หลังจากที่ท่านถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นจากตาย ท่านให้คำแนะนำแรง ๆ กับประชาคมต่าง ๆ เช่น ประชาคมเอเฟซัส เปอร์กามัม ธิยาทิรา แต่ก่อนที่ท่านจะให้คำแนะนำ ท่านชมเชยและก็พูดถึงสิ่งดี ๆ ที่พวกเขาได้ทำ (วิวรณ์ 2:1-5, 12, 13, 18, 19) พระเยซูบอกประชาคมเลาดีเซียว่า “ผมรักใคร ผมก็ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งสอนคนนั้น ดังนั้น ขอให้กระตือรือร้นและกลับใจ” (วิวรณ์ 3:19) ผู้ดูแลก็สามารถเลียนแบบพระเยซูได้เมื่อให้คำแนะนำ
คนอื่นก็ให้กำลังใจได้ ไม่ใช่แค่ผู้ดูแล
10. เราทุกคนจะให้กำลังใจคนอื่นได้อย่างไร?
10 จริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ผู้ดูแลเท่านั้นที่ต้องให้กำลังใจคนอื่น เปาโลกระตุ้นให้คริสเตียนทุกคน “พูดแต่สิ่งดี ๆ ซึ่งให้กำลังใจคนที่ต้องการกำลังใจ เพื่อให้คนฟังได้รับประโยชน์” (เอเฟซัส 4:29) เราแต่ละคนควรพยายามสังเกตว่าคนอื่น “ต้องการ” อะไร เพื่อเราจะช่วยพวกเขาได้ เปาโลเขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรูว่าต้องช่วย “ให้มือที่ห้อยอยู่และหัวเข่าที่อ่อนแรงมีกำลังขึ้น และทำทางเดิน . . . ให้ตรงอยู่เสมอเพื่อขาที่พิการจะไม่หลุดจากข้อ แต่จะหายเป็นปกติ” (ฮีบรู 12:12, 13) จริง ๆ แล้วเราทุกคน สามารถพูดให้กำลังใจคนอื่นได้ แม้ว่าเราจะอายุยังน้อยด้วยซ้ำ
11. อะไรช่วยมาร์เทตอนที่เธอเศร้ามาก?
11 ช่วงหนึ่งพี่น้องที่ชื่อว่ามาร์เท *รู้สึกเศร้ามาก เธอเขียนว่า “วันหนึ่งฉันอธิษฐาน แล้วก็ได้เจอพี่น้องคนหนึ่งที่เป็นห่วงและเห็นอกเห็นใจฉันมาก ป้าคนนี้ให้กำลังใจที่ฉันอยากได้พอดีในตอนนั้น ป้าเขาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง ฉันเลยรู้ว่าป้าก็เจอปัญหาเหมือนกับฉัน มันทำให้ฉันรู้สึกดีขึ้นว่าฉันไม่ได้โดนอยู่คนเดียว” บางทีพี่น้องสูงอายุคนนี้อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคำพูดของเธอช่วยให้กำลังใจมาร์เทมากขนาดไหน
12, 13. เราจะเอาคำแนะนำที่ฟีลิปปี 2:1-4 มาใช้อย่างไร?
12 เปาโลเขียนถึงคริสเตียนในเมืองฟีลิบปีว่า “ดังนั้น พวกคุณต้องให้กำลังใจกันแบบพระคริสต์ ปลอบใจกันด้วยความรัก ห่วงใยกัน แสดงความรักที่ลึกซึ้งต่อกัน และเห็นอกเห็นใจกัน ผมมีความสุขจริง ๆ ถ้าพวกคุณคิดเหมือนกัน มีความรักอย่างเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดไปในทางเดียวกัน อย่าทำอะไรด้วยน้ำใจชิงดีชิงเด่นหรือถือว่าตัวเองสำคัญ แต่ให้ถ่อมตัวและมองว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ให้เห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นด้วย”—ฟีลิปปี 2:1-4
13 เราทุกคนควรหาวิธีช่วยคนอื่น และเพื่อเราจะให้กำลังใจพี่น้องได้ เราต้อง “ปลอบใจกันด้วยความรัก” “ห่วงใยกัน” “แสดงความรักที่ลึกซึ้งต่อกัน และเห็นอกเห็นใจกัน”
บางสิ่งที่ให้กำลังใจ
14. อะไรเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะให้กำลังใจคนอื่น?
14 เรามีความสุขที่ได้ยินข่าวว่าคนที่เราเคยช่วยเมื่อก่อนยังคงซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวาอยู่ อัครสาวกยอห์นเขียนว่า “สิ่งที่ทำให้ผมมีความสุขมากที่สุดก็คือ การได้ยินว่าลูก ๆ ของผมยังใช้ชีวิตตามความจริง” (3 ยอห์น 4) พี่น้องไพโอเนียร์หลายคนก็ได้รับกำลังใจเหมือนกันเมื่อเขาได้รู้ว่า คนที่เขาเคยสอนความจริงให้เมื่อก่อนยังคงรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์อยู่และถึงกับเป็นไพโอเนียร์ด้วยซ้ำ ถ้าไพโอเนียร์รู้สึกท้อใจ เราน่าจะให้กำลังใจพวกเขาโดยชวนให้คิดถึงสิ่งดี ๆ ที่พวกเขาเคยช่วยคนอื่นในอดีต
15. เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้กำลังใจพี่น้องที่รับใช้อย่างซื่อสัตย์?
15 ผู้ดูแลหมวดหลายคนบอกว่า เมื่อเขาได้รับจดหมายหรือการ์ดขอบคุณหลังจากที่เยี่ยมเสร็จ เขาและภรรยาได้รับกำลังใจมาก ผู้ดูแลในประชาคม มิชชันนารี ไพโอเนียร์ หรือแม้แต่สมาชิกเบเธลก็ได้รับกำลังใจด้วยเหมือนกันเมื่อเราขอบคุณที่พวกเขารับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ และบางทีพวกเขาอาจได้รับกำลังใจมากกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำ
เราทุกคนจะให้กำลังใจอย่างไรได้บ้าง?
16. เราอาจให้กำลังใจคนอื่นง่าย ๆ ได้อย่างไร?
16 คุณจะทำอย่างไรถ้ารู้สึกว่าพูดให้กำลังใจไม่เป็น? ที่จริง ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะให้กำลังใจคนอื่น ลองยิ้มให้พี่น้องดูสิ และถ้าเขาไม่ยิ้มกลับ ก็อาจหมายความว่าเขากำลังมีปัญหาและอยากให้มีคนคุยด้วย พอถึงตอนนี้คุณอาจให้กำลังใจแบบง่าย ๆ ได้โดยตั้งใจฟังเขา—ยากอบ 1:19
17. พี่น้องหนุ่มคนหนึ่งได้กำลังใจอย่างไร?
17 พี่น้องหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่ออองรีรู้สึกเสียใจมากเพราะว่าหลายคนในครอบครัวของเขาเลิกรับใช้พระยะโฮวา สดุดีบท 46 เศฟันยาห์ 3:17 และมาระโก 10:29, 30
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือพ่อของเขาที่เคยเป็นผู้ดูแลในประชาคม ผู้ดูแลหมวดคนหนึ่งเห็นว่าอองรีรู้สึกเศร้า เลยชวนอองรีไปร้านกาแฟ และเขาก็ตั้งใจฟังอองรีระบายความรู้สึก นี่ทำให้อองรีรู้ว่าทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยครอบครัวได้ก็คือ เขาเองต้องซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป เขาได้รับกำลังใจด้วยเมื่ออ่าน18. (ก) กษัตริย์โซโลมอนเขียนอะไรเกี่ยวกับการให้กำลังใจ? (ข) อัครสาวกเปาโลแนะนำอะไร?
18 เราได้เรียนอะไรจากประสบการณ์ของมาร์เทและอองรี? จริง ๆ แล้วเราทุกคนสามารถให้กำลังใจพี่น้องของเราได้ โซโลมอนเขียนว่า “คำพูดที่ถูกกาลเทศะก็ดีจริง ๆ ดวงตาที่เป็นประกายทำให้ใจเบิกบาน” (สุภาษิต 15:23, 30) คุณคิดถึงใครไหมที่กำลังเศร้าหรือท้อใจ? ลองใช้วิธีง่าย ๆ ให้กำลังใจเขาดูสิ เช่น อ่านหอสังเกตการณ์ หรือบางเรื่องในเว็บไซต์ด้วยกันกับเขา นอกจากนั้น เปาโลบอกว่าการร้องเพลงราชอาณาจักรด้วยกันทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เขาเขียนว่า “ให้พวกคุณคอยสอนและให้กำลังใจกันเสมอด้วยเพลงสดุดี เพลงสรรเสริญพระเจ้า และเพลงนมัสการที่ร้องด้วยความสำนึกบุญคุณ ให้ร้องเพลงจากใจให้กับพระยะโฮวาเสมอ”—โคโลสี 3:16; กิจการ 16:25
19. ทำไมกำลังใจกันถึงสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ? และเราควรทำอะไร?
19 ยิ่งวันของพระยะโฮวาใกล้มาถึงมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้กำลังใจกันมากขึ้น (ฮีบรู 10:25) เราจะมีความสุขมากถ้าเราทำตามคำแนะนำของเปาโลที่ว่า “ขอให้พวกคุณคอยให้กำลังใจกันและเสริมสร้างกันให้เข้มแข็งเหมือนที่พวกคุณทำอยู่ตอนนี้”—1 เธสะโลนิกา 5:11
^ วรรค 11 ชื่อสมมุติ