บทความศึกษา 34
รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้งานมอบหมายใหม่
“พระเจ้าไม่ทำสิ่งที่ชั่ว พระองค์จึงไม่มีวันลืมงานที่พวกคุณทำและความรักที่พวกคุณมีต่อชื่อของพระองค์”—ฮบ. 6:10
เพลง 38 พระองค์จะทำให้คุณเข้มแข็ง
ใจความสำคัญ *
1-3. ทำไมผู้รับใช้เต็มเวลาหลายคนต้องออกจากงานมอบหมาย?
โรเบิร์ตกับแมรี่โจบอกว่า “หลังจากที่เราได้รับใช้เป็นมิชชันนารีอย่างมีความสุข 21 ปี พ่อแม่ของเราสองคนก็ป่วย เราดีใจที่ได้กลับมาดูแลพวกเขา แต่ก็เสียใจมากที่ต้องออกจากประเทศที่เป็นเหมือนบ้านที่เรารักมาก”
2 วิลเลียมกับเทอร์รี่บอกว่า “ตอนที่รู้ว่าจะกลับไปรับใช้ที่ต่างประเทศไม่ได้อีกแล้วเพราะปัญหาสุขภาพ เราสองคนถึงกับร้องไห้ การรับใช้ที่ต่างประเทศเป็นความฝันของเรา แต่ตอนนี้มันจบแล้วครับ”
3 อลิกซีย์บอกว่า “พวกเราในเบเธลรู้ว่าพวกที่ข่มเหงอยากจะปิดสำนักงานสาขา แต่พอสาขาถูกปิดและพวกเราต้องออกจากเบเธลจริง ๆ พวกเรารู้สึกช็อคไปเลย”
4. เราจะคุยกันเกี่ยวกับคำถามอะไรบ้างในบทความนี้?
4 นอกจากนั้น ยังมีพี่น้องที่รับใช้เต็มเวลาอีกหลายคนรวมทั้งสมาชิกครอบครัวเบเธลที่ได้รับงานมอบหมายใหม่ * พี่น้องที่ซื่อสัตย์เหล่านี้อาจรู้สึกยากที่ต้องออกจากงานมอบหมายเดิมที่พวกเขารักมาก อะไรจะช่วยให้พวกเขารับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้? คุณจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร? คำตอบของคำถามเหล่านี้จะช่วยพวกเราทุกคนให้พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
วิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
5. การเปลี่ยนงานมอบหมายอาจมีผลกับเราอย่างไร?
5 ไม่ว่าเราจะรับใช้ที่เขตงานหรือที่เบเธล เรารู้สึกรักผู้คนและที่ที่เรารับใช้ พอเราต้องออกจากงานมอบหมายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราอาจรู้สึกหัวใจแตกสลาย เราคิดถึงพี่น้องที่เคยรับใช้ด้วยกัน เราเป็นห่วงพวกเขาโดยเฉพาะถ้าเราต้องออกจากที่นั่นเพราะเกิดการข่มเหง (มธ. 10:23; 2 คร. 11:28, 29) นอกจากนั้น อาจเป็นเรื่องยากมากด้วยที่จะย้ายไปที่อื่นเพราะเราต้องปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ถึงแม้จะเป็นบ้านเกิดของตัวเอง โรเบิร์ตและแมรี่โจบอกว่า “พวกเราไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมบ้านเกิดของตัวเองแม้แต่กับการประกาศในภาษาของตัวเองด้วยซ้ำ เราย้ายไปรับใช้ที่อื่นนานมากจนรู้สึกเหมือนกับว่าเราเป็นคนต่างประเทศทั้ง ๆ ที่เรากลับมาอยู่ในประเทศของตัวเอง” พี่น้องบางคนที่ต้องเปลี่ยนงานมอบหมายอาจต้องเจอกับปัญหาการเงินแบบไม่ทันตั้งตัวและไม่คาดคิด พวกเขาอาจรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย และท้อใจ แต่อะไรจะช่วยพวกเขาได้?
6. เราจะสนิทกับพระยะโฮวาต่อ ๆ ไปได้อย่างไร?
6 สนิทกับพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป (ยก. 4:8) เราจะทำแบบนั้นได้อย่างไร? ให้เราไว้วางใจว่าพระองค์ “ฟังคำอธิษฐาน” (สด. 65:2) สดุดี 62:8 บอกให้เรา “ระบายความในใจกับพระองค์” และพระองค์สามารถ “ทำทุกสิ่งได้มากกว่าที่เราจะขอหรือนึกออกได้” (อฟ. 3:20) พระองค์จะไม่เพียงให้ตามที่เราอธิษฐานขอเท่านั้น แต่พระองค์จะช่วยเราในแบบที่เราเองคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ
7. (ก) อะไรจะช่วยให้เราสนิทกับพระยะโฮวาเสมอ? (ข) จากฮีบรู 6:10-12 ถ้าเรารับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป ผลจะเป็นอย่างไร?
7 เพื่อจะสนิทกับพระยะโฮวาเสมอ คุณต้องอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันและคิดใคร่ครวญเรื่องที่อ่านอย่างลึกซึ้ง พี่น้องที่เคยรับใช้เป็นมิชชันนารีบอกว่า “ให้นมัสการครอบครัวเป็นประจำและเตรียมการประชุมอย่างดีเหมือนตอนที่คุณทำงานมอบหมายเดิม” นอกจากนั้น ให้ออกประกาศกับประชาคมใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พระยะโฮวาจะไม่ลืมคนที่รับใช้ต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์ถึงเขาจะทำได้ไม่เหมือนเดิมแล้ว—อ่านฮีบรู 6:10-12
8. คำแนะนำที่ 1 ยอห์น 2:15-17 ช่วยคุณอย่างไรให้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายต่อ ๆ ไป?
8 ใช้ชีวิตเรียบง่ายต่อ ๆ ไป ขอคุณอย่ายอมให้ความมธ. 13:22) อย่าฟังคนที่ไม่ได้รับใช้พระเจ้า เพื่อน หรือแม้แต่ญาติ ๆ ที่หวังดีซึ่งพยายามบอกให้คุณหาเงินเยอะขึ้นเพื่อจะมีชีวิตดีกว่า (อ่าน 1 ยอห์น 2:15-17) ขอให้เราไว้วางใจพระยะโฮวาซึ่งสัญญาว่าจะให้เรามีทุกอย่างที่จำเป็น “เมื่อเราต้องการความช่วยเหลือ” ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ความเชื่อของเราเข้มแข็ง สิ่งที่ช่วยให้เราสงบใจได้ รวมถึงเรื่องวัตถุสิ่งของด้วย—ฮบ. 4:16; 13:5, 6
กังวลกับชีวิตในโลกนี้มา “บดบัง” กิจกรรมของคริสเตียน (9. (ก) จากสุภาษิต 22:3, 7 ทำไมเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะไม่เป็นหนี้ถ้าไม่จำเป็น? (ข) อะไรจะช่วยให้เราตัดสินใจอย่างฉลาด?
9 อย่าเป็นหนี้ถ้าไม่จำเป็น (อ่านสุภาษิต 22:3, 7) การย้ายไปที่อื่นอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเยอะซึ่งทำให้เป็นหนี้ได้ง่าย เพื่อจะเป็นหนี้น้อยที่สุดต้องระวังอย่ายืมเงินคนอื่น กู้หนี้ยืมสิน หรือใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสิ่งที่จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องมี เมื่อคุณเจอสถานการณ์ที่เครียด เช่น คนในครอบครัวล้มป่วย คุณอาจรู้สึกว่ายากที่จะตัดสินใจว่าต้องยืมเงินมากน้อยแค่ไหน ในสถานการณ์แบบนี้ขอจำไว้ว่า “การอธิษฐานและการอ้อนวอน” จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างฉลาด พระยะโฮวาจะตอบคำอธิษฐานโดยให้คุณมีสันติสุขที่ “ปกป้องหัวใจและความคิดของพวกคุณไว้” ซึ่งจะช่วยให้คุณมีใจสงบและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง—ฟป. 4:6, 7; 1 ปต. 5:7
10. เราจะหาเพื่อนใหม่ได้อย่างไร?
10 สนิทกับเพื่อนที่ดีและคนในครอบครัวเสมอ เล่าให้เพื่อนสนิทของคุณฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไรและกำลังเจออะไร โดยเฉพาะเพื่อนที่เคยเจอสถานการณ์คล้ายกับคุณ การทำแบบนั้นอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น (ปญจ. 4:9, 10) เพื่อนที่คุณมีตอนทำงานมอบหมายเดิมก็จะยังคงเป็นเพื่อนของคุณ แต่ตอนนี้คุณได้รับงานมอบหมายใหม่แล้ว คุณต้องมีเพื่อนใหม่ด้วย จำไว้ว่าเพื่อคุณจะมีเพื่อน คุณต้องเป็นเพื่อนที่ดีกับคนอื่นก่อน คุณจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร? ให้เล่าประสบการณ์ดี ๆ ตอนที่คุณได้รับใช้ก่อนหน้านี้ให้พี่น้องฟัง ทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีความสุขมากแค่ไหนตอนที่ได้รับใช้พระองค์ ถึงบางคนในประชาคมอาจไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงรักงานรับใช้เต็มเวลามากขนาดนั้น แต่อาจมีบางคนที่อยากรู้มากขึ้นและกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ แต่ขอคุณอย่าเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองหรือเรื่องความสำเร็จในงานรับใช้ที่คุณเคยทำ และอย่าพูดถึงความรู้สึกที่ไม่ดีมากเกินไป
11. คุณจะทำให้ชีวิตคู่มีความสุขต่อ ๆ ไปได้อย่างไร?
11 ถ้าคุณต้องออกจากงานมอบหมายเพราะสามีหรือภรรยาของคุณป่วยก็อย่าโทษเขา หรือถ้าคุณต้องออกเพราะตัวคุณเองสุขภาพไม่ดีก็อย่าโทษตัวเอง อย่าคิดว่าคุณเป็นต้นเหตุทำให้คู่ของคุณผิดหวัง คุณทั้งสองคนเป็น มธ. 19:5, เชิงอรรถ, 6) ถ้าคุณต้องออกจากงานรับใช้เพราะมีลูกโดยไม่ตั้งใจ อย่าโทษลูกว่าเป็นเพราะเขาที่ทำให้คุณต้องออกจากงานรับใช้ แต่คุณควรทำให้ลูกรู้ว่าเขาสำคัญกับคุณมากกว่างานมอบหมายที่คุณเคยทำ บอกกับเขาบ่อย ๆ ว่าเขาเป็น “รางวัล” ที่พระยะโฮวาให้คุณ (สด. 127:3-5) นอกจากนั้น ให้เล่าประสบการณ์ดี ๆ เรื่องงานรับใช้ในอดีตให้เขาฟังด้วย การทำแบบนี้อาจช่วยลูกของคุณให้ใช้ชีวิตเพื่อรับใช้พระยะโฮวาเต็มเวลาอย่างมีความสุขเหมือนที่คุณเคยทำ
“คนเดียวกัน” คุณได้สัญญาต่อหน้าพระยะโฮวาว่าจะดูแลกันและกันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น (พี่น้องคนอื่นจะช่วยได้อย่างไร?
12. (ก) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยผู้รับใช้เต็มเวลาให้ทำงานมอบหมายของเขาต่อไป? (ข) เราจะช่วยพวกเขาอย่างไรให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น?
12 น่าชมเชยที่หลายประชาคมรวมทั้งพี่น้องหลายคนกำลังช่วยพี่น้องที่รับใช้เต็มเวลาให้อยู่ในงานมอบหมายของตัวเองต่อไปได้ พวกเขาทำอย่างนั้นโดยให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเรื่องวัตถุเงินทอง หรือแม้แต่อาสาดูแลคนในครอบครัวของพี่น้องเหล่านั้น (กท. 6:2) ถ้ามีพี่น้องที่เคยรับใช้เต็มเวลาย้ายมาที่ประชาคมของคุณ ขออย่ามองว่าพวกเขาต้องออกจากงานมอบหมายเพราะทำงานไม่ดีหรือทำอะไรผิด * ขอช่วยพวกเขาให้ปรับตัวง่ายขึ้น ให้ต้อนรับพวกเขาอย่างอบอุ่นและชมสิ่งที่พวกเขาได้ทำถึงแม้ว่าตอนนี้พวกเขาจะสุขภาพไม่ดีจนไม่สามารถรับใช้ได้มาก ให้คุณพยายามทำความรู้จักกับพวกเขามากขึ้น เรียนจากความรู้ การฝึกอบรมที่พวกเขาได้รับ และจากประสบการณ์ของพวกเขา
13. เราจะช่วยคนที่ได้รับงานมอบหมายใหม่อย่างไร?
* และถึงพวกเขาอาจไม่แสดงออกหรือพูดออกมา แต่พวกเขาคงเศร้าที่ต้องจากพี่น้องและเพื่อน ๆ พวกเขาต้องใช้เวลารับมือกับความรู้สึกหลายอย่างที่ประเดประดังเข้ามา
13 ช่วงแรก ๆ พี่น้องที่ได้รับงานมอบหมายใหม่อาจต้องการความช่วยเหลือจากคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน การเดินทางไปไหนมาไหน การทำมาหากิน หรือเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็น พวกเขาอาจอยากรู้ข้อมูลทั่ว ๆ ไปในเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น การจ่ายภาษีและการทำประกัน สิ่งสำคัญที่สุดที่พวกเขาต้องการคือความเข้าใจไม่ใช่ความสงสาร พวกเขาอาจมีปัญหาสุขภาพ มีคนในครอบครัวที่ไม่สบาย หรืออาจเสียใจที่คนรักตายจากไป14. พี่น้องในประชาคมช่วยพี่น้องหญิงคนหนึ่งปรับตัวให้เข้ากับงานมอบหมายใหม่อย่างไร?
14 นอกจากนั้น การไปรับใช้กับพวกเขาและตัวอย่างที่ดีของคุณจะช่วยพวกเขาปรับตัวได้ง่ายขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น พี่น้องหญิงคนหนึ่งที่เคยรับใช้ในต่างประเทศเป็นเวลานานบอกว่า “ตอนที่ฉันทำงานมอบหมายเดิม ฉันนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน แต่พอย้ายมาเขตใหม่ แค่โอกาสจะเปิดคัมภีร์ไบเบิลหรือวีดีโอยังแทบจะไม่มีเลย แต่พี่น้องที่นี่ชวนฉันไปเยี่ยมและไปศึกษาด้วยกัน การได้รับใช้กับพี่น้องที่ซื่อสัตย์และกระตือรือร้นแบบนี้ ได้เห็นพวกเขานำการศึกษากับคนที่ก้าวหน้า มันช่วยฉันให้รู้สึกดีขึ้นมากและช่วยให้ฉันมองเรื่องต่าง ๆ ในแง่บวกมากขึ้น และนอกจากนั้น ฉันยังได้เรียนรู้วิธีที่จะเริ่มต้นคุยกับคนในเขตใหม่ด้วย ทั้งหมดนี้ช่วยฉันให้กลับมามีความสุขเหมือนเดิม”
ทำสุดความสามารถต่อไป
15. คุณจะประสบความสำเร็จในงานมอบหมายใหม่ได้อย่างไร?
15 ถึงคุณจะได้งานมอบหมายใหม่ คุณก็ประสบความสำเร็จได้ ขออย่ามองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคุณทำงานไม่ดีและตอนนี้คุณสำคัญน้อยลง ให้คิดกจ. 8:1, 4) ถ้าคุณพยายามประกาศต่อ ๆ ไป คุณจะได้รับผลที่ดีแน่นอน ตัวอย่างเช่น ไพโอเนียร์หลายคนถูกไล่ออกจากประเทศหนึ่ง พวกเขาเลยย้ายไปรับใช้ในประเทศเพื่อนบ้าน และที่นั่นก็ต้องการคนที่พูดภาษาที่ไพโอเนียร์เหล่านี้พูด ผลคือแค่ไม่กี่เดือนมีการตั้งกลุ่มใหม่ ๆ ในภาษานั้นหลายกลุ่ม
ว่าพระยะโฮวาช่วยคุณตอนนี้มากขนาดไหน และขอให้คุณประกาศต่อ ๆ ไป ให้เลียนแบบคริสเตียนที่ซื่อสัตย์ในศตวรรษแรกที่ไม่ว่าจะย้ายไปที่ไหน พวกเขายัง “ประกาศข่าวดีเกี่ยวกับคำสอนของพระเจ้าทั่วทุกแห่งที่พวกเขาไป” (16. คุณจะมีความสุขกับงานมอบหมายใหม่ได้อย่างไร?
16 “ความยินดีที่ได้รับจากพระยะโฮวาจะทำให้พวกคุณมีกำลังเข้มแข็ง” (นหม. 8:10) สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุดควรมาจากการสนิทกับพระยะโฮวาไม่ใช่จากงานมอบหมายแม้เราจะรักงานนั้นมากก็ตาม ดังนั้น ถ้าเราอยากมีความสุข เราต้องสนิทกับพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป พึ่งสติปัญญา การชี้นำ และการช่วยเหลือจากพระองค์เสมอ ให้จำไว้ว่าที่คุณรักงานมอบหมายเดิมก็เพราะว่าคุณได้ทำสุดความสามารถเพื่อช่วยคนที่นั่น ดังนั้น ให้ตั้งใจทำงานมอบหมายใหม่อย่างเต็มที่และดูว่าพระยะโฮวาจะช่วยคุณให้รักงานนี้เหมือนกันอย่างไร—ปญจ. 7:10
17. เราต้องจำอะไรไว้เกี่ยวกับงานมอบหมายที่เราทำตอนนี้?
17 การรับใช้พระยะโฮวาเป็นงานที่ต้องทำตลอดไป แต่งานมอบหมายที่เรากำลังทำตอนนี้เป็นแค่งานชั่วคราวเท่านั้น ในโลกใหม่เราทุกคนอาจถูกเปลี่ยนงานมอบหมาย อลิกซีย์ที่พูดถึงตอนต้นของบทความบอกว่า ประสบการณ์ที่เขาเจอตอนนี้ช่วยให้เขาพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เขาบอกว่า “ผมรู้มาตลอดว่าพระยะโฮวามีจริงและโลกใหม่ก็เป็นเรื่องจริง แต่เพิ่งมาตอนนี้แหละที่ผมสนิทกับพระยะโฮวามากขนาดนี้ และมั่นใจว่าโลกใหม่ใกล้มาถึงอยู่แล้วจริง ๆ แค่เอื้อมเอง” (กจ. 2:25) ดังนั้น ไม่ว่าเราจะทำงานมอบหมายอะไร เราต้องสนิทกับพระยะโฮวาเสมอ พระองค์จะไม่มีวันทิ้งเราและจะช่วยให้เรามีความสุขไม่ว่าจะทำงานมอบหมายอะไรหรือที่ไหนก็ตาม—อสย. 41:13
เพลง 90 ให้กำลังใจกัน
^ วรรค 5 บางครั้งพี่น้องที่รับใช้เต็มเวลาอาจต้องออกจากงานมอบหมายหรือได้รับงานมอบหมายใหม่ บทความนี้จะคุยกันว่า พวกเขาเจอกับปัญหาอะไรบ้างและอะไรจะช่วยพวกเขารับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนั้น เราจะดูด้วยว่าพี่น้องจะให้กำลังใจและช่วยพวกเขาอย่างไร และหลักการในคัมภีร์ไบเบิลช่วยเราทุกคนอย่างไรเมื่อต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
^ วรรค 4 คล้ายกัน ยังมีพี่น้องชายหลายคนที่อายุมากซึ่งถึงเกณฑ์ที่องค์การกำหนดไว้ได้ยกหน้าที่ของตัวเองให้พี่น้องที่อายุน้อยกว่า ดูบทความ “พี่น้องที่อายุมาก พระยะโฮวาเห็นค่าความภักดีของคุณ” ในหอสังเกตการณ์ กันยายน 2018 และบทความ “สงบใจได้แม้ชีวิตจะต้องเปลี่ยนไป” ในหอสังเกตการณ์ ตุลาคม 2018
^ วรรค 12 เมื่อพี่น้องย้ายประชาคม ผู้ดูแลควรเขียนจดหมายแนะนำตัวถึงประชาคมใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อที่พี่น้องเหล่านั้นสามารถรับใช้เป็นไพโอเนียร์ ผู้ดูแล หรือผู้ช่วยงานรับใช้ได้อย่างต่อเนื่อง
^ วรรค 13 ดูบทความชุด “รับมือกับความโศกเศร้าเมื่อสูญเสียคนที่รัก” ในตื่นเถิด! ฉบับที่ 3, 2018
^ วรรค 57 คำอธิบายภาพ พี่น้องคู่หนึ่งที่ต้องออกจากงานมิชชันนารีในต่างประเทศกำลังร้องไห้และลาพี่น้องในประชาคม
^ วรรค 59 คำอธิบายภาพ พวกเขาย้ายกลับบ้านเกิด และอธิษฐานถึงพระยะโฮวาเยอะมากเพื่อขอให้พวกเขารับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเจอ
^ วรรค 61 คำอธิบายภาพ พระยะโฮวาช่วยพวกเขากลับมารับใช้เต็มเวลาอีกครั้ง พวกเขาใช้ภาษาที่เคยเรียนตอนเป็นมิชชันนารีประกาศกับคนต่างชาติที่อยู่ในเขตของประชาคมใหม่ที่พวกเขาอยู่