ได้ประโยชน์เต็มที่จากการจัดเตรียมของพระยะโฮวา
“เรายะโฮวาเป็นพระเจ้าของเจ้า เราสอนเจ้าก็เพื่อประโยชน์ของตัวเจ้าเอง”—อสย. 48:17
1, 2. (ก) พยานพระยะโฮวาคิดอย่างไรเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล? (ข) คุณชอบส่วนไหนของคัมภีร์ไบเบิลเป็นพิเศษ?
พวกเราที่เป็นพยานพระยะโฮวา เรารักคัมภีร์ไบเบิล เพราะคัมภีร์ไบเบิลให้กำลังใจ ให้ความหวังและคำแนะนำที่เราวางใจได้ (รม. 15:4) คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือที่บันทึกความคิดของคนทั่วไป แต่เป็น “คำสอนของพระเจ้า”—1 ธส. 2:13
2 ปกติแล้ว มักมีบางส่วนของคัมภีร์ไบเบิลที่เราชอบเป็นพิเศษ บางคนชอบหนังสือข่าวดีเพราะหนังสือ 4 เล่มนั้นมีเรื่องราวของพระเยซูซึ่งช่วยให้เรารู้จักคุณลักษณะที่ดีของพระยะโฮวามากขึ้น (ยน. 14:9) บางคนชอบหนังสือคำพยากรณ์ เช่น หนังสือวิวรณ์ที่ช่วยเราให้เห็น “สิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้” (วว. 1:1) ส่วนคนอื่น ๆ ก็ได้กำลังใจเมื่อได้อ่านหนังสือสดุดี และก็ยังมีบางคนที่ชอบอ่านคำแนะนำที่มีประโยชน์ในหนังสือสุภาษิต เห็นได้ชัดว่า คัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือสำหรับทุกคนจริง ๆ
3, 4. (ก) เรารู้สึกอย่างไรกับสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของเรา? (ข) มีสิ่งพิมพ์อะไรบ้างที่ทำขึ้นเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ?
3 เนื่องจากเรารักคัมภีร์ไบเบิล เราจึงรักหนังสือต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาโดยใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก เรามองว่าหนังสือ จุลสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ทั้งหมดเป็นสิ่งที่พระยะโฮวาจัดเตรียมให้เราทุกคน สิ่งเหล่านี้ช่วยเราให้ใกล้ชิดพระยะโฮวาและมั่นคงในความเชื่อ—4 สิ่งพิมพ์ของเราหลายอย่างเขียนขึ้นเพื่อพยานพระยะโฮวาทุกคน ถึงอย่างนั้น ก็มีสิ่งพิมพ์บางอย่างที่เขียนเพื่อคนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น วัยรุ่น เด็ก ๆ หรือพ่อแม่ บทความและวีดีโอส่วนใหญ่ที่อยู่ในเว็บไซต์ของเราทำขึ้นสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่พยานฯการมีสิ่งต่าง ๆ มากมายแบบนี้แสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวารักษาสัญญาที่จะให้คำสอนมากมายกับทุกคน—อสย. 25:6
5. เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะพอใจถ้าเราทำอะไร?
5 พวกเราส่วนใหญ่อยากมีเวลาอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มากขึ้น เรามั่นใจว่าพระยะโฮวาจะพอใจถ้าเรา “ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด” เพื่ออ่านและศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและสิ่งพิมพ์ของเราเป็นประจำ (อฟ. 5:15, 16) แต่ในความเป็นจริง เราอาจไม่ได้ใช้เวลาเท่า ๆ กันในการศึกษาหนังสือทุกเล่มที่เราได้รับ ดังนั้น มีอันตรายบางอย่างที่เราต้องระวัง สิ่งนั้นคืออะไร?
6. อะไรอาจทำให้เราไม่ได้ประโยชน์จากการจัดเตรียมบางอย่างที่มาจากพระยะโฮวา?
6 ถ้าเราไม่ระวัง เราอาจคิดว่าบางส่วนของคัมภีร์ไบเบิล หรือหนังสือขององค์การบางเล่มไม่ได้มีประโยชน์กับเรา ตัวอย่างเช่น ถ้ามีส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลที่ดูเหมือนใช้ไม่ได้กับชีวิตของเราล่ะ เราจะทำอย่างไร? หรือถ้าเรารู้สึกว่าบทความนั้นไม่ได้เขียนสำหรับเราล่ะ เราจะแค่อ่านผ่าน ๆ หรือไม่อ่านเลยไหม? ถ้าเป็นอย่างนั้น เราอาจพลาดข้อมูลที่มีค่าและเป็นประโยชน์กับเรา ดังนั้น เราจะไม่เป็นคนแบบนั้นได้อย่างไร? เราต้องจำไว้ว่าข้อมูลทุกอย่างที่เราได้รับนั้นมาจากพระยะโฮวา คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่า “เรายะโฮวาเป็นพระเจ้าของเจ้า เราสอนเจ้าก็เพื่อประโยชน์ของตัวเจ้าเอง” (อสย. 48:17) ในบทความนี้ เราจะดูข้อแนะ 3 อย่างที่ช่วยเราให้ได้ประโยชน์จากการจัดเตรียมทุกอย่างที่มาจากพระยะโฮวา
ข้อแนะที่ช่วยเราให้ได้ประโยชน์จากการอ่านคัมภีร์ไบเบิล
7. ทำไมเราต้องเปิดใจเวลาอ่านคัมภีร์ไบเบิล?
7 อ่านแบบเปิดใจ เป็นเรื่องจริงที่ว่าบางส่วนของคัมภีร์ไบเบิลถูกเขียนขึ้นเพื่อใครคนหนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ถึงอย่างนั้น คัมภีร์ไบเบิลก็บอกชัดเจนว่า “พระคัมภีร์ทุกตอน พระเจ้าดลใจให้เขียนขึ้นมา มีประโยชน์” (2 ทธ. 3:16) นี่เป็นเหตุผลที่เราต้องเปิดใจตอนที่อ่านคัมภีร์ไบเบิล พี่น้องชายคนหนึ่งพยายามเตือนตัวเองว่าจริง ๆ แล้วเขาสามารถได้บทเรียนหลายอย่างจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลแค่เรื่องเดียว นี่ช่วยเขาให้เห็นบทเรียนต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ ดังนั้น ก่อนที่เราจะอ่านคัมภีร์ไบเบิล เราควรขอให้พระยะโฮวาช่วยเราให้เปิดใจและให้มีสติปัญญาเพื่อจะเข้าใจบทเรียนต่าง ๆ ที่พระองค์อยากให้เราได้เรียน—อสร. 7:10; อ่านยากอบ 1:5
8, 9. (ก) มีคำถามอะไรบ้างที่เราน่าจะถามตัวเองเวลาอ่านคัมภีร์ไบเบิล? (ข) คุณสมบัติต่าง ๆ ที่ผู้ดูแลต้องมี บอกอะไรเราเกี่ยวกับพระยะโฮวา?
8 ถามคำถาม ตอนที่คุณอ่านคัมภีร์ไบเบิล ขอให้หยุดและถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ ‘เรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา? ฉันจะเอาเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร? ฉันจะใช้เรื่องนี้เพื่อช่วยคนอื่นได้อย่างไร?’ เราจะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิล ขอเราดูกันสักตัวอย่างหนึ่ง คัมภีร์ไบเบิลพูดถึงคุณสมบัติของคริสเตียนที่เป็นผู้ดูแล (อ่าน 1 ทิโมธี 3:2-7) แต่พวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ดูแล เราเลยอาจคิดว่าเรื่องนี้ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรกับเราสักนิด ถึงอย่างนั้น ขอเราคิดถึงคำถาม 3 ข้อที่พูดถึงในตอนแรก แล้วเราจะเห็นว่าการอ่านคุณสมบัติของผู้ดูแลมีประโยชน์กับพวกเราทุกคน
เมื่อคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้9 “เรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา?” พระยะโฮวาบอกคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ผู้ดูแลต้องมี พระองค์ตั้งมาตรฐานไว้สูงสำหรับพี่น้องชายที่จะมาดูแลประชาคม นี่แสดงให้เห็นว่าประชาคมมีค่ามากสำหรับพระยะโฮวา คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่าพระเจ้าซื้อประชาคม “ด้วยเลือดของลูกของพระองค์เอง” (กจ. 20:28) ดังนั้น พระยะโฮวาคาดหมายให้ผู้ดูแลวางตัวอย่างที่ดี และพวกเขาต้องรับผิดชอบต่อพระองค์เกี่ยวกับวิธีที่เขาดูแลสมาชิกในประชาคม พระองค์อยากให้เรารู้สึกปลอดภัยเมื่อเราได้รับการดูแลจากพวกเขา (อสย. 32:1, 2) เมื่อเราอ่านคุณสมบัติเหล่านี้ เราก็ได้เรียนรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นห่วงเรามากจริง ๆ
10, 11. (ก) ตอนที่อ่านคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้ดูแล เราจะเอาเรื่องที่อ่านไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร? (ข) เราจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยคนอื่น ๆ ได้อย่างไร?
10 “ฉันจะเอาเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร?” ถ้าคุณเป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว คุณก็น่าจะทบทวนคุณสมบัติเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ และพยายามปรับปรุงตัวคุณเอง แต่ถ้าคุณกำลัง “พยายามจะได้ทำหน้าที่ผู้ดูแล” คุณก็น่าจะพยายามทำสุดความสามารถเพื่อจะมีคุณสมบัติเหล่านี้ (1 ทธ. 3:1) ถึงอย่างนั้น พวกเราทุกคนที่เป็นคริสเตียนสามารถเรียนจากคุณสมบัติต่าง ๆ นั้นด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่พระยะโฮวาอยากให้เราทุกคนมี เช่น เราต้องเป็นคนมีเหตุผล และมีสติหรือมีวิจารณญาณที่ดี (ฟป. 4:5; 1 ปต. 4:7) ดังนั้น เนื่องจากผู้ดูแลเป็น “ตัวอย่างให้ฝูงแกะ” เราก็น่าจะเรียนจากพวกเขาและ “เลียนแบบความเชื่อของพวกเขา”—1 ปต. 5:3; ฮบ. 13:7
11 “ฉันจะใช้เรื่องนี้เพื่อช่วยคนอื่นได้อย่างไร?” เรา1 ธส. 5:12) ยิ่งเรานับถือพวกเขามากเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งมีความสุขในการทำงานมอบหมายมากเท่านั้น—ฮบ. 13:17
สามารถใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ของการเป็นผู้ดูแลเพื่อช่วยนักศึกษาหรือผู้สนใจให้เข้าใจว่าคริสเตียนผู้ดูแลไม่เหมือนกับพวกนักเทศน์ของศาสนาอื่น ๆ นอกจากนั้น คุณสมบัติเหล่านี้ยังช่วยให้เรานึกถึงงานหนักที่พวกผู้ดูแลทำในประชาคม เราจึงควรให้ความนับถือพวกเขา (12, 13. (ก) เมื่อเราศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เราควรค้นคว้าเรื่องอะไร? (ข) ขอยกตัวอย่างว่า การหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อคัมภีร์ที่อ่านช่วยเราให้เห็นบทเรียนอะไรที่อาจมองไม่เห็นในตอนแรก
12 ค้นคว้า เมื่อเราศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เราน่าจะค้นคว้าหาคำตอบของคำถามเหล่านี้
-
ใครเป็นคนเขียนคัมภีร์ไบเบิลส่วนนี้?
-
เขียนที่ไหนและเมื่อไร?
-
มีเหตุการณ์สำคัญอะไรที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเขียน?
การทำอย่างนี้จะช่วยให้เราเห็นบทเรียนที่เราอาจมองไม่เห็นในตอนแรก
13 ลองคิดถึงตัวอย่างนี้ ที่เอเสเคียล 14:13, 14 บอกว่า “ถ้าแผ่นดินไหนไม่ซื่อสัตย์ต่อเรา เราจะต่อสู้แผ่นดินนั้นและจะทำลายแหล่งอาหารในแผ่นดินนั้น เราจะทำให้เกิดความอดอยากและจะทำลายคนกับสัตว์ในแผ่นดินนั้น เรายะโฮวาพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดบอกว่า ‘ถึงโนอาห์ ดาเนียล และโยบจะอยู่ในแผ่นดินนั้น พวกเขาทั้งสามก็จะช่วยแต่ตัวเองให้รอดเท่านั้นเพราะพวกเขามีความถูกต้องชอบธรรม’” ถ้าเราค้นคว้าเรื่องนี้ให้มากขึ้นสักหน่อย เราจะรู้ว่าเอเสเคียลเขียนข้อคัมภีร์ข้อนี้ประมาณปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช ตอนนั้นโนอาห์และโยบก็ตายไปแล้วหลายร้อยปี แต่พระยะโฮวายังจำได้ว่าพวกเขาเป็นคนซื่อสัตย์ และถึงแม้ในตอนนั้นดาเนียลยังมีชีวิตอยู่ และอาจมีอายุแค่ประมาณ 20 ปี แต่พระยะโฮวาก็บอกว่าเขามีความถูกต้องชอบธรรมเหมือนกับโนอาห์และโยบ เราได้บทเรียนอะไรจากเรื่องนี้? พระยะโฮวาเห็นคุณค่าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ทุกคน รวมทั้งวัยรุ่นด้วย—สด. 148:12-14
ได้ประโยชน์จากหนังสือต่าง ๆ ที่หลากหลาย
14. หนังสือสำหรับวัยรุ่นช่วยพวกเขาอย่างไร? และคนอื่นจะได้ประโยชน์อย่างไร? (ดูภาพแรก)
14 หนังสือสำหรับวัยรุ่น เราได้เรียนรู้แล้วว่าเราสามารถได้ประโยชน์จากทุกส่วนของคัมภีร์ไบเบิล คล้ายกัน เราสามารถได้ประโยชน์จากหนังสือทุกเล่มและข้อมูลทุกอย่างที่มาจากองค์การ ขอเรามาดูบางตัวอย่างด้วยกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระยะโฮวาจัดให้มีข้อมูลมากมายสำหรับวัยรุ่น [1] ข้อมูลเหล่านี้ช่วยพวกเขาให้รับมือกับแรงกดดันต่าง ๆ ที่มาจากเพื่อนที่โรงเรียน หรือปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่พวกเขาเริ่มโตขึ้น แต่เราทุกคนจะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความต่าง ๆ หรือหนังสือเหล่านี้ด้วยไหม? เมื่อเราอ่าน เราก็จะรู้ปัญหาวัยรุ่น เราจึงช่วยพวกเขาได้ดีขึ้นและให้กำลังใจพวกเขาได้มากขึ้น
15. ทำไมคริสเตียนที่ไม่ได้เป็นวัยรุ่นแล้ว ควรสนใจสิ่งที่เขียนขึ้นสำหรับวัยรุ่น?
15 คริสเตียนที่ไม่ได้เป็นวัยรุ่นแล้วไม่ควรมองว่าบทความสำหรับวัยรุ่นไม่เหมาะกับพวกเขา ปัญหาหลายอย่างที่พูดถึงในบทความเหล่านี้เกี่ยวข้องกับคริสเตียนทุกคน ตัวอย่างเช่น พวกเราทุกคนต้องกล้าที่จะอธิบาย
ความเชื่อของเรา ต้องควบคุมอารมณ์ ต้องเอาชนะแรงกดดันที่มาจากคนอื่น ต้องระวังการคบเพื่อนและความบันเทิงที่ไม่ดี ดังนั้น ถึงแม้ข้อมูลเหล่านั้นจะเขียนขึ้นสำหรับวัยรุ่น แต่ข้อมูลนั้นก็มาจากคัมภีร์ไบเบิลและมีประโยชน์สำหรับคริสเตียนทุกคน16. หนังสือต่าง ๆ สำหรับวัยรุ่นมีประโยชน์อะไรอีก?
16 บทความต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นสำหรับวัยรุ่นสามารถช่วยพวกเขาให้สนิทกับพระยะโฮวามากขึ้นด้วย (อ่านปัญญาจารย์ 12:1, 13) ผู้ใหญ่ก็ได้ประโยชน์จากบทความเหล่านี้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ในวารสารตื่นเถิด! ฉบับเดือนเมษายน 2009 มีบทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันจะทำให้การอ่านคัมภีร์ไบเบิลน่าเพลิดเพลินได้อย่างไร?” บทความนั้นมีคำแนะนำหลายอย่างที่มีประโยชน์และยังมีกรอบที่จะตัดเก็บไว้ใช้ตอนศึกษาส่วนตัวได้ คนที่ไม่ใช่วัยรุ่นจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ด้วยไหม? คุณแม่คนหนึ่งบอกว่าการอ่านคัมภีร์ไบเบิลมักเป็นเรื่องยากสำหรับเธอ แต่พอเธอได้ใช้คำแนะนำในบทความนั้นเธอก็อยากอ่านคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้น เธอรู้สึกสนุกเมื่อได้อ่านและเห็นว่าคัมภีร์ไบเบิลแต่ละเล่มสอดคล้องเชื่อมโยงกันจนเห็นภาพ เธอบอกว่า “ฉันไม่เคยรู้สึกตื่นเต้นกับการอ่านคัมภีร์ไบเบิลแบบนี้มาก่อน”
17, 18. เราจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการอ่านเรื่องที่เขียนขึ้นเพื่อคนทั่วไป? ขอยกตัวอย่าง
17 หนังสือสำหรับคนทั่วไป ตั้งแต่ปี 2008 เราเริ่มมีวารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับศึกษา วารสารฉบับนี้เขียนเพื่อคนที่เป็นพยานพระยะโฮวา แต่เราก็ยังมีวารสารที่เขียนสำหรับคนทั่วไปด้วย แล้วพยานฯจะได้ประโยชน์จากวารสารเหล่านั้นด้วยไหม? ขอคิดถึงตัวอย่างนี้ ตอนที่คุณเชิญคนมาหอประชุมและเขาก็มา คุณตื่นเต้นดีใจ และตอนที่พี่น้องกำลังบรรยาย ถึงจะเป็นเรื่องที่คุณรู้อยู่แล้วแต่คุณก็ตั้งใจฟังและคิดว่าคนที่คุณเชิญมาจะรู้สึกอย่างไรกับคำบรรยายนี้ และเรื่องที่เขาฟังจะมีผลอย่างไรกับเขา ผลคือ ตัวคุณเองประทับใจและรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่ได้ฟัง ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่คุณเคยรู้อยู่แล้ว
18 สิ่งที่คล้าย ๆ กันนี้อาจเกิดขึ้นกับเราเมื่อได้อ่านเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น มีการอธิบายคัมภีร์ไบเบิลโดยใช้คำง่าย ๆ เพื่อให้คนที่ไม่ใช่พยานฯเข้าใจได้ในวารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับสาธารณะ และบทความต่าง ๆ ในเว็บไซต์ jw.org/th เช่น “ถาม-ตอบเรื่องคัมภีร์ไบเบิล” และ “คำถามที่พบบ่อย” เมื่อเราอ่านข้อมูลเหล่านั้น เราก็ยิ่งเห็นค่าและรักความจริงในคัมภีร์ไบเบิลที่เรารู้อยู่แล้ว นอกจากนั้น เราอาจได้เรียนวิธีใหม่ที่จะอธิบายความเชื่อของเราตอนที่ไปประกาศ คล้ายกัน วารสารตื่นเถิด! ช่วยให้เรามั่นใจมากขึ้นว่ามีพระเจ้าผู้สร้างสิ่งต่าง ๆ และยังช่วยเราให้รู้วิธีอธิบายความเชื่อของเราเอง—อ่าน 1 เปโตร 3:15
19. เราจะแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเราขอบคุณพระยะโฮวาสำหรับการจัดเตรียมทุกอย่างที่มาจากพระองค์?
19 เห็นได้ชัดว่า พระยะโฮวาจัดเตรียมคำแนะนำและการชี้นำมากมายเพื่อประโยชน์ของพวกเรา (มธ. 5:3) ขอเราอ่านและนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ เพราะถ้าเราทำอย่างนั้น เราจะได้ประโยชน์และจะเป็นการแสดงให้พระยะโฮวาเห็นว่าเราขอบคุณที่พระองค์จัดเตรียมทุกอย่างให้เรา—อสย. 48:17
^ [1] (ข้อ 14) ข้อมูลเหล่านั้นรวมถึง หนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล เล่ม 1 และ 2 และบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” ที่อยู่ในเว็บไซต์ของเรา