ทำไมเราต้องไปประชุม?
“พวกเขาตั้งใจ . . . มารวมกลุ่มกัน”—กจ. 2:42
1-3. (ก) คริสเตียนบางคนแสดงอย่างไรว่าพวกเขาอยากไปประชุมมาก? (ดูภาพแรก) (ข) เราจะเรียนอะไรในบทความนี้?
ตอนที่โครินนาอายุ 17 ปี แม่ของเธอถูกจับส่งไปที่ค่ายแรงงาน หลังจากนั้น เธอก็ถูกจับส่งไปอยู่ไซบีเรียซึ่งไกลจากบ้านเป็นพัน ๆ กิโลเมตร ที่นั่นโครินนาต้องทำงานในฟาร์มอย่างกับทาส บางครั้ง เธอถูกบังคับให้ออกไปทำงานกลางแจ้งตอนที่หนาวจัดโดยไม่มีเสื้อหนาวให้เธออย่างเพียงพอ ถึงแม้จะลำบากขนาดนั้น โครินนาและพี่น้องผู้หญิงอีกคนหนึ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าพวกเขาจะต้องไปประชุมที่ประชาคมให้ได้
2 โครินนาบอกว่า “พวกเราออกจากที่ทำงานตอนเย็น และเดินประมาณ 25 กิโลไปขึ้นรถไฟเที่ยวตีสอง เราต้องนั่งรถไฟประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วเดินต่ออีก 10 กิโลกว่าจะถึงหอประชุม” โครินนาดีใจที่ได้เดินทางมาประชุม เธอเล่าต่อไปว่า “ที่ประชุม เราได้ศึกษาหอสังเกตการณ์ ได้ร้องเพลงราชอาณาจักร มันเป็นเวลาที่ให้กำลังใจและช่วยให้เรามีความเชื่อที่เข้มแข็งมากจริง ๆ” พี่น้องผู้หญิงคู่นั้นกลับไปทำงานต่อที่ฟาร์มหลังจากนั้น 3 วัน แต่เจ้าของฟาร์มไม่ได้สังเกตเลยว่าพวกเขาหายไปไหนมา
กจ. 2:42) แน่นอน คุณเองก็คงเป็นคนหนึ่งที่รอคอยเวลาที่จะได้มาประชุม แต่เหมือนกับพี่น้องหลายคน คุณอาจรู้สึกว่ายากที่จะเข้าร่วมประชุมเป็นประจำ บางที คุณอาจต้องทำงานหลายชั่วโมง หรือต้องทำหลายอย่างจนเหนื่อย ดังนั้น อะไรจะช่วยเราให้พยายามมาประชุมเป็นประจำ? [1] และเราจะสนับสนุนนักศึกษาของเราและคนอื่น ๆ ให้เข้าร่วมประชุมเป็นประจำได้อย่างไร? ในบทความนี้จะอธิบายว่าทำไมการประชุมถึง (1) เป็นประโยชน์ต่อเรา (2) ช่วยคนอื่น ๆ (3) ทำให้พระยะโฮวาพอใจ [2]
3 ประชาชนของพระยะโฮวารอคอยที่จะได้มาเจอกัน ตัวอย่างเช่น คริสเตียนในศตวรรษแรกตั้งใจมาเจอกันเพื่อนมัสการพระยะโฮวาและเรียนเกี่ยวกับพระองค์ (การประชุมเป็นประโยชน์ต่อเรา
4. การประชุมช่วยเราอย่างไรให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา?
4 การประชุมสอนเรา ทุก ๆ การประชุมช่วยเราให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวามากขึ้น ตัวอย่างเช่น ประชาคมส่วนใหญ่ทั่วโลกเพิ่งได้ศึกษาหนังสือจงเข้าใกล้พระยะโฮวา ในการศึกษาพระคัมภีร์ประจำประชาคม คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ทบทวนเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวา และเมื่อคุณได้ยินพี่น้องบอกความรู้สึกที่พวกเขามีต่อพระองค์? แน่นอน คุณรักพระยะโฮวามากขึ้น ในการประชุมเราสามารถเรียนคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้นโดยการตั้งใจฟังคำบรรยาย ดูการสาธิต และตั้งใจฟังการอ่านคัมภีร์ไบเบิล (นหม. 8:8) ลองคิดถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณได้เรียนรู้มากขึ้นในการอ่านพระคัมภีร์ประจำสัปดาห์ และได้มาฟังคนอื่น ๆ ออกความเห็นว่าพวกเขาได้เรียนอะไร
5. การประชุมช่วยคุณอย่างไรให้ใช้สิ่งที่ได้เรียนในชีวิตและปรับปรุงการประกาศของคุณ?
5 การประชุมต่าง ๆ สอนเราให้ใช้สิ่งที่ได้เรียนในชีวิต (1 ธส. 4:9, 10) ตัวอย่างเช่น การศึกษาหอสังเกตการณ์ ได้ช่วยคุณไหมให้อยากรับใช้พระยะโฮวามากขึ้น ช่วยคุณอธิษฐานได้ดีขึ้น หรือช่วยคุณฝึกให้อภัยพี่น้องคนอื่น ๆ? นอกจากนั้น การประชุมกลางสัปดาห์ช่วยสอนเราให้รู้วิธีประกาศข่าวดี และวิธีช่วยคนอื่น ๆ ให้เข้าใจความจริงจากคัมภีร์ไบเบิล—มธ. 28:19, 20
6. การประชุมให้กำลังใจเราและช่วยเราให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไร?
6 การประชุมให้กำลังใจเรา โลกของซาตานพยายามทำให้ความเชื่อของเราอ่อนแอลง ซ้ำยังทำให้เครียดและหมดกำลังใจ แต่การประชุมทำให้มีกำลังใจและช่วยเราให้มีกำลังรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปได้ (อ่านกิจการ 15:30-32) บ่อยครั้ง เราได้ทบทวนเกี่ยวกับคำพยากรณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลที่เกิดขึ้นจริง นี่ช่วยเราให้มั่นใจมากขึ้นว่าคำสัญญาต่าง ๆ ของพระยะโฮวาจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตด้วย พี่น้องของเราให้กำลังใจเราไม่ใช่แค่ตอนที่เขาบรรยายเท่านั้น แต่ตอนที่พวกเขาออกความเห็น และร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวาจากหัวใจไปพร้อม ๆ กับเรา (1 คร. 14:26) และพอเราได้คุยกับพี่น้องทั้งก่อนและหลังการประชุม เรารู้สึกสดชื่นเพราะเรามีเพื่อนหลายคนที่เป็นห่วงเราจริง ๆ—1 คร. 16:17, 18
7. ทำไมการไปประชุมจึงสำคัญ?
7 ที่การประชุม เราได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าทางพลังบริสุทธิ์ พระเยซูใช้พลังบริสุทธิ์เพื่อชี้นำประชาคม ที่จริงท่านบอกว่าเราควร “ฟังสิ่งที่พลังของพระเจ้าพูดกับประชาคมต่าง ๆ” (วว. 2:7) พลังของพระเจ้าสามารถช่วยเราให้ต้านทานการล่อใจและประกาศอย่างกล้าหาญ พลังนี้ยังช่วยเราให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อย่างดี นี่เป็นเหตุผลที่เราควรทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อไปประชุมและได้รับพลังของพระเจ้า
เราสามารถช่วยคนอื่นที่การประชุม
8. การที่เราไปประชุม ออกความคิดเห็น และร้องเพลงสามารถช่วยพี่น้องคนอื่น ๆ อย่างไร? (ดูกรอบ “เขารู้สึกดีขึ้นทุกครั้งเมื่อได้ไปประชุม”)
8 ที่การประชุม เรามีโอกาสแสดงว่าเรารักพี่น้อง พี่น้องหลายคนในประชาคมต้องอดทนกับความยากลำบาก อัครสาวกเปาโลบอกว่า “ให้เราเป็นห่วงกัน” (ฮบ. 10:24, 25; เชิงอรรถ) เราแสดงให้พี่น้องเห็นได้ว่าเราเป็นห่วงโดยไปเจอพวกเขาที่หอประชุมและให้กำลังใจกัน เมื่อเราไปประชุม เราแสดงให้พี่น้องเห็นว่าเราอยากอยู่กับพวกเขา อยากคุยกับพวกเขา และสนใจจริง ๆ ว่าพวกเขาเป็นอย่างไร นอกจากนั้น เรายังให้กำลังใจพวกเขาได้โดยออกความคิดเห็นและร้องเพลงจากหัวใจ—คส. 3:16
9, 10. (ก) คำพูดของพระเยซูที่ยอห์น 10:16 ช่วยเราอย่างไรให้เข้าใจว่าการไปประชุมเป็นเรื่องสำคัญ? (ข) ถ้าเราไปประชุมเป็นประจำ พี่น้องที่ไม่มีใครในครอบครัวอยู่ในความจริงจะได้รับประโยชน์อะไร?
9 เมื่อเราไปประชุม เราช่วยให้พี่น้องในประชาคมใกล้ชิดกัน (อ่านยอห์น 10:16) พระเยซูเปรียบตัวท่านเป็นผู้เลี้ยงแกะ และคนที่ติดตามท่านเป็นแกะในฝูง ลองคิดดูสิ ถ้ามีแกะสองตัวอยู่บนเนินเขา อีกสองตัวอยู่ที่หุบเขา และอีกตัวหนึ่งก็อยู่ที่อื่น เราจะถือว่าแกะห้าตัวนั้นเป็นแกะฝูงเดียวกันไหม? ไม่แน่ ๆ เพราะแกะที่อยู่ฝูงเดียวกันจะต้องอยู่รวมกันและติดตามคนเลี้ยง คล้ายกัน เราไม่ควรแยกจากพี่น้องของเราไปอยู่คนเดียวโดยไม่ไปประชุม เราต้องอยู่ด้วยกันเป็น “ฝูงเดียว” และตาม “คนเลี้ยงคนเดียว”
10 การประชุมของเราช่วยเราให้เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนครอบครัวที่รักกัน (สด. 133:1) บางคนในประชาคมถูกตัดออกจากครอบครัว พ่อแม่พี่น้องหรือญาติเลิกสนใจเขา แต่พระเยซูสัญญาว่าจะให้ครอบครัวหนึ่งกับเขา ซึ่งเป็นครอบครัวที่รักและคอยดูแลพวกเขา (มก. 10:29, 30) ถ้าคุณไปประชุมเป็นประจำ คุณก็จะกลายเป็นเหมือนพ่อ แม่ พี่ น้องของบางคนในประชาคม เมื่อคิดถึงเรื่องนี้ เราจึงพยายามทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อไปประชุม
เราจะทำให้พระยะโฮวาพอใจ
11. การที่เราไปประชุม เป็นการให้สิ่งที่พระยะโฮวาสมควรได้รับอย่างไร?
11 ที่การประชุม เราได้ให้สิ่งที่พระยะโฮวาสมควรได้รับ เนื่องจากพระองค์เป็นผู้สร้างเรา เราควรแสดงความขอบคุณ ให้เกียรติ และสรรเสริญพระองค์ (อ่านวิวรณ์ 7:12) เราทำอย่างนั้นได้ที่การประชุม เพราะที่ นั่นเราได้อธิษฐานถึงพระยะโฮวา ร้องเพลงและพูดเกี่ยวกับพระองค์ เป็นโอกาสที่ดีจริง ๆ ที่เราได้นมัสการพระยะโฮวาทุกอาทิตย์
12. พระยะโฮวาจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์ที่ให้ไปประชุม?
12 พระยะโฮวาสร้างเราและเราควรเชื่อฟังพระองค์ พระองค์สั่งให้เราไปประชุมเป็นประจำโดยเฉพาะในเวลาที่ใกล้จะอวสาน ดังนั้น ถ้าเราเชื่อฟังพระองค์ เราก็ทำให้พระองค์พอใจ (1 ยน. 3:22) พระเจ้ารู้ว่าเราอยากเข้าร่วมการประชุมจริง ๆ และพระองค์เห็นค่าความพยายามทั้งหมดของเรา—ฮบ. 6:10
13, 14. เราใกล้ชิดพระยะโฮวาและพระเยซูอย่างไรเมื่อไปประชุม?
13 เมื่อเราไปประชุม เราทำให้พระยะโฮวาเห็นว่าเราอยากใกล้ชิดกับพระองค์และลูกของพระองค์ ที่การประชุม เราได้เรียนคัมภีร์ไบเบิลและให้พระยะโฮวาสอนว่าเราควรทำอะไรและควรใช้ชีวิตอย่างไร (อสย. 30:20, 21) แม้แต่บางคนที่ไม่ได้รับใช้พระยะโฮวา ถ้าพวกเขาได้ไปประชุม พวกเขาก็ยังรู้สึกได้ว่าพระเจ้ากำลังชี้นำพวกเราอยู่จริง ๆ (1 คร. 14:23-25) พระยะโฮวาชี้นำการประชุมโดยทางพลังบริสุทธิ์ของพระองค์ และสิ่งที่เราได้เรียนจากหอประชุมก็มาจากพระองค์ ดังนั้น เมื่อเราไปประชุม เราก็ได้ฟังสิ่งที่พระยะโฮวาสอน ได้รับรู้ว่าพระองค์รักเราแค่ไหน และเราก็จะใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้น
14 พระเยซูผู้นำของประชาคมบอกว่า “ถ้ามีสองหรือสามคนประชุมกันที่ไหนในนามของผม ผมจะอยู่กับพวกเขาที่นั่น” (มธ. 18:20) คัมภีร์ไบเบิลยังบอกอีกว่า พระเยซู “เดินอยู่ท่ามกลาง” ประชาคมต่าง ๆ (วว. 1:20-2:1) เห็นได้ชัดว่า พระยะโฮวาและพระเยซูอยู่กับเราและให้กำลังกับเราที่การประชุม คุณคิดว่าพระยะโฮวาจะรู้สึกอย่างไรเมื่อได้เห็นคุณพยายามทำสุดความสามารถเพื่อจะใกล้ชิดกับพระองค์และพระเยซู?
15. การที่เราไปประชุมเป็นการแสดงอย่างไรว่าเราอยากจะเชื่อฟังพระเจ้า?
15 เมื่อเราไปประชุม เราแสดงให้พระยะโฮวาเห็นว่าเราอยากเชื่อฟังพระองค์ พระยะโฮวาไม่บังคับให้เราทำในสิ่งที่พระองค์บอก (อสย. 43:23) ดังนั้น ถ้าเราเลือกที่จะเชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้าที่ให้ไปประชุม เราก็แสดงให้พระองค์เห็นว่าเรารักพระองค์และเชื่อว่าพระองค์มีสิทธิ์ที่จะบอกเราว่าควรทำอะไร (รม. 6:17) ตัวอย่างเช่น เราจะทำอย่างไรถ้าหัวหน้างานของเราคาดหมายให้ทำงานมาก ๆ จนทำให้เราไปประชุมเป็นประจำไม่ได้? หรือบางทีเจ้าหน้าที่รัฐบาลอาจบอกว่าใครที่ประชุมกันเพื่อนมัสการพระยะโฮวาจะต้องเสียค่าปรับ ต้องติดคุก หรือต้องถูกลงโทษหนักกว่านั้น หรือบางครั้งเราอาจแค่รู้สึกว่าอยากทำอย่างอื่นมากกว่าไปประชุม ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์แบบไหน เราต้องเลือกเองว่าจะทำอย่างไร (กจ. 5:29) แต่ทุกครั้งที่เราเลือกเชื่อฟังพระยะโฮวาและสนับสนุนการปกครองของพระเจ้า เราก็ทำให้พระองค์มีความสุข—สภษ. 27:11
ประชุมกับพี่น้องเสมอไม่หยุด
16, 17. (ก) เรารู้ได้อย่างไรว่าคริสเตียนกลุ่มแรก ๆ ถือว่าการประชุมเป็นเรื่องสำคัญมาก? (ข) พี่น้องจอร์จ แกนกัสรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ไปประชุม?
16 หลังจากการประชุมในวันเพ็นเทคอสต์ ปี ค.ศ. 33 คริสเตียนก็ประชุมเป็นประจำเพื่อนมัสการพระยะโฮวา พวกเขา “ตั้งใจเรียนสิ่งที่พวกอัครสาวกสอน มารวมกลุ่มกัน กินอาหารด้วยกัน” (กจ. 2:42) และพวกเขาประชุมกันเสมอไม่หยุดแม้จะถูกกดขี่จากรัฐบาลโรมันและพวกผู้ นำศาสนายิว พวกเขาทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อจะประชุมร่วมกันถึงแม้ว่าไม่ง่ายก็ตาม
17 ในทุกวันนี้ ผู้รับใช้พระยะโฮวาก็รู้สึกขอบคุณที่พวกเขามีโอกาสได้ประชุมและพวกเขามีความสุขที่ได้ทำอย่างนั้น พี่น้องจอร์จ แกนกัสที่เคยรับใช้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการปกครองมากกว่า 22 ปีบอกว่า “สำหรับผมแล้ว การประชุมกับพี่น้องเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมมีความสุขมากที่สุด ผมได้รับกำลังใจมากจากการประชุม ถ้าเป็นไปได้ ผมชอบไปถึงหอประชุมเป็นคนแรก ๆ และออกจากที่นั่นเป็นคนท้าย ๆ ผมมีความสุขเมื่อได้คุยกับประชาชนของพระเจ้า ตอนที่ได้อยู่กับพวกเขา ผมรู้สึกเหมือนกับอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัว อยู่ในสวนอุทยาน” เขายังบอกอีกว่า “ผมชอบการประชุมจริง ๆ ครับ”
18. คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการประชุมของเรา?
18 คุณรู้สึกอย่างนั้นไหมเมื่อได้ไปประชุม? ถ้าเป็นอย่างนั้น ขอทำทุกอย่างที่ทำได้ต่อ ๆ ไปเพื่อจะไปประชุมเป็นประจำ ถึงแม้การทำอย่างนั้นจะเป็นเรื่องยากก็ตาม ขอคุณแสดงให้พระยะโฮวาเห็นว่าคุณรู้สึกเหมือนกับกษัตริย์ดาวิดที่บอกว่า “พระยะโฮวา ผมรักวิหารที่พระองค์อยู่”—สด. 26:8
^ [1] (ข้อ 3) พี่น้องของเราบางคนไม่สามารถเข้าร่วมประชุมเป็นประจำได้เพราะมีปัญหาบางอย่างที่พวกเขาควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจป่วยหนัก พี่น้องเหล่านี้สามารถมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาเข้าใจปัญหาของพวกเขาดี และพระองค์เห็นคุณค่าทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาทำเพื่อนมัสการพระองค์ ผู้ดูแลสามารถช่วยพวกเขาให้ฟังการประชุมได้ พวกผู้ดูแลอาจช่วยติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พี่น้องฟังการประชุม หรืออาจบันทึกเสียงของการประชุมไปให้พวกเขาฟัง
^ [2] (ข้อ 3) ดูกรอบ “เหตุผลที่เรามาประชุมกัน”