ตอนที่ 1 เหตุใดจึงตรวจสอบดูโลกแห่งการค้า?
การเฟื่องฟูและตกต่ำของโลกแห่งการค้า
ตอนที่ 1 เหตุใดจึงตรวจสอบดูโลกแห่งการค้า?
โลกที่ปราศจากการชิงดีชิงเด่นทางการเมือง การทะเลาะวิวาทกันทางศาสนาและความวิตกกังวลทางเศรษฐกิจนั้น แทบจะนึกภาพไม่ออกทีเดียว. ไม่เว้นแต่ละวัน การเมือง ศาสนา และการค้า เข้ามากระทบตัวเราหลายทาง. ถ้าถอนเสาหลักทั้งสามของสังคมมนุษย์ออกไปเสีย ผลที่ได้อาจเป็นความอลหม่าน.
เมื่อไรก็ตาม ที่ผู้คนอยู่กันเป็นกลุ่ม ระบบทางเศรษฐกิจ—ระบบจัดการครัวเรือน—มีความสำคัญยิ่งเพื่อจัดให้มีสินค้าและบริการตามต้องการ. (ดูกรอบข้างล่าง) ฉะนั้น ทุกครัวเรือนดิ้นรนจะมีเศรษฐกิจที่ดี. ทำนองเดียวกัน เศรษฐกิจของทุกรัฐบาลเกี่ยวพันกับปัจจัยหลักสี่ประการคือ (1) กำหนดว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร (2) กำหนดวิธีผลิตสินค้าและบริการเหล่านั้น (3) กำหนดวิธีจัดจำหน่ายสิ่งที่ผลิตขึ้นมา และแล้ว (4) ควบคุมดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมและมีงานให้สำหรับทุกคน.
ระบบเศรษฐกิจซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นนั้นได้ทำให้ชีวิต
สะดวกสบายขึ้นอย่างไม่อาจจะโต้แย้งได้ ทำให้เรามีสินค้าและบริการอย่างที่เราไม่สามารถจัดหามาได้เอง. บ่อยครั้งระบบเหล่านี้ได้ยกมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด. การติดต่อสื่อสารที่ปรับปรุงดีขึ้น ทำให้เราติดต่อผู้คนไม่ว่าแห่งใดในโลกโดยทางโทรศัพท์ภายในเวลาไม่กี่วินาที ส่งข้อความโดยเครื่องโทรสาร (แฟกซ์) ถึงพวกเขาภายในไม่กี่นาที และกระทั่งเดินทางไปนั่งพูดคุยกันต่อหน้าได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง.กระนั้น เราไม่อาจมองข้ามได้ว่าโลกแห่งการค้ามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในทางที่ลึกลงไปมากกว่านี้อีก. โดยควบคู่ไปกับศาสนาและการเมือง ระบบนี้อาจมีผลต่อจุดหมายปลายทางของเรา. * ดังนั้น จึงเหมาะสมที่จะหันความสนใจของเราไปสู่ส่วนสำคัญที่สามในสังคมมนุษย์ ได้แก่ โลกแห่งการค้า. มันได้มาซึ่งอำนาจอันทรงพลังโดยวิธีใด? กำลังมุ่งไปสู่อะไร? สำหรับเราเป็นส่วนตัวแล้วชี้บอกอะไรที่เป็นนัย?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 ตื่นเถิด ได้พิมพ์บทความออกสองชุดแล้วซึ่งชี้ชัดว่าเรื่องนี้เป็นความจริงอย่างไรเกี่ยวกับศาสนาและระบบต่าง ๆ ทางการเมือง. “อนาคตของศาสนาจากการพิจารณาศาสนาในอดีต” 8 มกราคม 1989 ถึง 8 ธันวาคม 1990; “การปกครองของมนุษย์นำขึ้นชั่งแล้ว” 8 สิงหาคม 1990 ถึง 8 มกราคม 1991.
[กรอบหน้า 5]
การนิยามโลกแห่งการค้า
อาจยากสำหรับคุณที่จะนิยามคำอาทิเช่น “การพาณิชย์” “การค้าขาย” “อุตสาหกรรม” “ธุรกิจ” และ “เศรษฐกิจ.” คอลลินส์ โคบิลด์ อิงลิช แลงเกวช ดิกชันนารี นิยามคำ “พาณิชย์” ว่า “กิจกรรมและขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและขายสิ่งของ.” อย่างเลี่ยงไม่ได้สิ่งนี้จึงเกี่ยวข้องกับ “การค้าขาย” ซึ่งหมายถึง “กิจกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างบุคคล บริษัท หรือประเทศ.” แน่นอน สินค้าต้องผ่านการผลิตหรือกรรมวิธีก่อนที่จะนำมาค้าขาย ขบวนการนี้เรียกกันว่า “อุตสาหกรรม.” และงานที่เกี่ยวพันกับการพาณิชย์และการค้าขายเรียกว่า “ธุรกิจ.”
ส่วนคำว่า “เศรษฐกิจ” ก็คือ “การศึกษาเรื่องการผลิตเศรษฐทรัพย์ และการบริโภคสินค้าและบริการในสังคม และการจัดระบบทางการเงิน ทางอุตสาหกรรม และทางการค้านั้น ๆ.” สิ่งที่ให้ความเข้าใจลึกลงไปในความหมายของคำนี้ คือข้อที่ว่า คำนี้มีรากมาจากภาษากรีกบ่งชี้ถึง การบริหารครัวเรือนหรือจัดการเรื่องทรัพย์สิน.