การช่วยเหลือผู้ป่วยเอ็มซีเอส
การช่วยเหลือผู้ป่วยเอ็มซีเอส
อาการแพ้สารธรรมดา ๆ ไม่ว่าจะเป็นโคโลญหรือน้ำยาทำความสะอาด ไม่เพียงทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาทางสุขภาพเท่านั้น แต่ยังประสบปัญหาทางสังคมด้วย. โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ชอบการคบหาสมาคม แต่อาการไวต่อสารเคมีหลายชนิด (เอ็มซีเอส) ทำให้หลายคนจำใจต้องอยู่อย่างเดียวดายทั้ง ๆ ที่เป็นคนชอบสังคมและชอบสนุกสนาน. เชลลี ซึ่งป่วยเป็นเอ็มซีเอสบอกว่า “เมื่อก่อนดิฉันเคยมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง แต่นี่เป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด. สิ่งที่หนักหนาสาหัสที่สุดก็คือ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย.”
น่าเศร้า บางครั้งผู้ป่วยเอ็มซีเอสหลายคนถูกมองเหมือนตัวประหลาด. แน่ละ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ โรคเอ็มซีเอสเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งโลกยังไม่รู้วิธีรับมือ. แต่การขาดความรู้เรื่องเอ็มซีเอสไม่ใช่เหตุผลที่จะสงสัยผู้ที่เป็น. วารสารแพทย์ประจำครอบครัวอเมริกัน บอกว่า “ผู้ป่วยเหล่านี้กำลังทนทุกข์อย่างแท้จริงจากผลของอาการต่าง ๆ ที่พวกเขาประสบอยู่.”
แทนที่จะมองผู้ป่วยเอ็มซีเอสด้วยความคลางแคลงเพราะโรคของเขายังเป็นปริศนาและเป็นที่เข้าใจน้อยนิด ผู้ฉลาดสุขุมพึงติดตามหลักการในสุภาษิต 18:13 ที่ว่า “ผู้ที่ให้คำตอบก่อนได้ยินเรื่อง, ก็เป็นการโฉดเขลาและเป็นความน่าอายแก่ตน.” ดีกว่าสักเพียงไรที่จะแสดงความรักเยี่ยงพระคริสต์ต่อผู้เป็นโรคนี้ทุกคนโดยปราศจากอคติ! เราจะไม่มีวันเสียใจเลยที่ได้แสดงความรักเช่นนี้ ไม่ว่าวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเผยให้เห็นอะไรในอนาคต.
การแสดงความรักเยี่ยงพระคริสต์
ความรักเยี่ยงพระคริสต์เปรียบเหมือนเพชรที่มีเหลี่ยมงดงามเหมาะกับแต่ละโอกาสหรือความจำเป็นนั้น ๆ. เมื่อเพื่อนคนหนึ่งเป็นเอ็มซีเอส ความรักเยี่ยงพระคริสต์ที่เรามีควรจะเปล่งประกายความร่วมรู้สึกออกมา โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา. อีกทั้ง ความรัก “ไม่แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง”—หรืออาจพูดอีกอย่างหนึ่ง1 โกรินโธ 13:4-8, ล.ม.
ว่า สิทธิของตนเอง. ความรักจะคำนึงถึงสวัสดิภาพของคนอื่นก่อน. ความรักช่วยเราให้ ‘อดทนนาน, ทนรับเอาทุกสิ่ง, เชื่อทุกสิ่ง, และอดทนทุกสิ่ง.’ ความรักเช่นนี้ “ไม่ล้มเหลวเลย.”—แมรีไม่ได้เป็นเอ็มซีเอส แต่เพื่อนบางคนของเธอเป็น. แมรีเขียนว่า “โดยส่วนตัวแล้วดิฉันชอบน้ำหอม แต่ดิฉันเลือกที่จะไม่ใส่เมื่อไปเยี่ยมผู้เป็นเอ็มซีเอส.” ในการเลียนแบบพระเยซูตามวิธีที่เธอทำ เท่ากับแมรีกำลังพูดว่า “เราต้องการช่วย.” (มาระโก 1:41, ล.ม.) เทรเวอร์ เป็นเอ็มซีเอสตั้งแต่วัยทารก. คุณแม่ของเขาบอกว่า “ผู้ คนที่ดิฉันทำงานด้วยพยายามทุกวิถีทางที่จะอำนวยความสะดวกแก่ลูกชายดิฉัน.” จอย ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาที่อยู่ในออสเตรเลียและประสบอาการเอ็มซีเอสอย่างรุนแรงบอกว่า เธอได้รับการหนุนกำลังใจจากเพื่อน ๆ และญาติซึ่งมาเยี่ยมเธอเป็นประจำ และแสดง ให้เห็นว่าพวกเขาเข้าใจปัญหาของเธอ.
ในอีกด้านหนึ่ง ควรที่ผู้ป่วยเอ็มซีเอสจะพยายามอดทนกับผู้ใส่น้ำหอมเมื่อพวกเขาร่วมวงอยู่ด้วย. เออร์เนสต์ ซึ่งเอ่ยถึงในบทความก่อน บอกกับตื่นเถิด! ว่า “โรคของเราเป็นภาระหนักที่ต้องแบก. คนอื่น ๆ ก็มีปัญหาของพวกเขาเช่นกัน ดังนั้น เราจะหยั่งรู้ค่าเมื่อพวกเขาช่วยเรารับมือกับปัญหาที่เราเผชิญ.” ใช่แล้ว การขอความร่วมมือด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่บีบบังคับ เป็นนโยบายที่ดีที่สุดเสมอ. ลอร์เรน บอกว่า “เมื่อคนที่ใส่น้ำหอมหรือโคโลญถามดิฉันว่า ทำไมดิฉันจึงดูไม่ค่อยสบาย ดิฉันก็จะบอกเขาว่า ‘ดิฉันแพ้น้ำหอม และดูเหมือนคืนนี้จะแย่หน่อย.’ สำหรับผู้มีความสังเกตเข้าใจ การพูดเช่นนี้มักจะพอเพียงแล้ว.” แน่ละ นั่นไม่ได้หมายความว่า ถ้าคุณป่วยเป็นเอ็มซีเอสคุณจะไม่มีสิทธิ์เตือนเพื่อน ๆ ด้วยความกรุณาว่าคุณต้องการให้เขาช่วย.
แพมซึ่งเอ่ยถึงในบทความแรก เขียนในเชิงบวกว่า “ทุกสิ่งที่เราประสบตอนนี้เป็นแค่ชั่วคราว.” ทำไมแพมจึงบอกว่า “แค่ชั่วคราว”? เพราะความหวังของเธอที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักก็คือ อีกไม่นาน ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะขจัดความทุกข์ยากทั้งสิ้นจากแผ่นดินโลก. จะขจัดแม้กระทั่งความตาย—สิ่งซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ที่มีสุขภาพดีต้องเผชิญในที่สุด.—ดานิเอล 2:44; วิวรณ์ 21:3, 4.
ในระหว่างนี้ ทุกคนที่ต้องทนกับโรคซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา สามารถคอยท่าการปกครองแห่งราชอาณาจักรของพระเจ้า คราวเมื่อ “ไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’ ” (ยะซายา 33:24) ขณะที่เราอดทนการทดลองไม่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับเราในระบบปัจจุบันนี้ ให้เราพยายามเลียนแบบพระเยซูและเพ่งมองไปที่รางวัลซึ่งมีอยู่ข้างหน้าเรา.—เฮ็บราย 12:2; ยาโกโบ 1:2-4.
[กรอบ/ภาพหน้า 9]
แสดงความรักต่อกันและกัน
หลักการของคัมภีร์ไบเบิลต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้ถ้าเพื่อนหรือญาติมีอาการไวต่อสารเคมีหลายชนิด (เอ็มซีเอส) หรือถ้าคุณเองเป็นโรคนี้:
“เหตุฉะนั้นสิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน.”—มัดธาย 7:12.
“เจ้าต้องรักเพื่อนบ้านของเจ้าเหมือนตนเอง.”—มัดธาย 22:39, ล.ม.
“ให้เราพิจารณาดูกันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี ไม่ละการประชุมร่วมกันเหมือนบางคนทำเป็นนิสัย แต่ชูใจซึ่งกันและกัน และให้มากขึ้นเมื่อท่านทั้งหลายเห็นวันนั้นใกล้เข้ามา.” (เฮ็บราย 10:24, 25, ล.ม.) เราทุกคนล้วนต้องการการหนุนกำลังทางฝ่ายวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราป่วย. น่าชมเชย คริสเตียนหลายคนที่ป่วยเป็นเอ็มซีเอสพยายามมาร่วมการประชุมต่าง ๆ ของประชาคม ส่วนคนอื่นซึ่งมีอาการหนักกว่า บางครั้งก็ร่วมประชุมโดยการรับฟังทางโทรศัพท์. ในหอประชุมบางแห่ง มีการจัดบริเวณที่ปลอดกลิ่นน้ำหอมไว้สำหรับผู้ป่วยเป็นเอ็มซีเอส. แต่การจัดเตรียมนี้อาจทำไม่ได้หรือไม่ได้ผลเสมอไป.
“อย่าลืมการทำดี . . . ด้วยว่าพระเจ้าทรงชอบพระทัยด้วยเครื่องบูชาเช่นนั้น.” (เฮ็บราย 13:16, ล.ม.) โปรดสังเกตว่าการทำดีมักเรียกร้องการเสียสละ. คุณอยู่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อช่วยผู้ป่วยเอ็มซีเอสไหม? ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ป่วยเอ็มซีเอสจำเป็นต้องมีเหตุผลเรื่องการคาดหมายจากผู้อื่น. ยกตัวอย่าง คริสเตียนผู้ปกครองจะตั้งกฎเรื่องการใช้น้ำหอมและโคโลญไม่ได้ อีกทั้งพวกเขาจะจัดให้มีคำประกาศเรื่องนี้เสมอ ๆ ก็ไม่ได้. อนึ่ง มีผู้มาเยี่ยมและผู้สนใจใหม่ ๆ ที่ใส่น้ำหอมมายังการประชุมประจำประชาคม—และเรายินดีต้อนรับ พวกเขา. แน่นอน เราคงไม่อยากให้พวกเขาขายหน้าหรือรู้สึกไม่สบายใจที่ใช้น้ำหอม.
“แสวงหาสันติสุขและติดตามสันติสุขนั้น.” (1 เปโตร 3:11) เห็นได้ชัดว่า ไม่ควรให้ประเด็นเรื่องสุขภาพมาปล้นเอาสันติสุขไปจากคริสเตียน. ยาโกโบ 3:17 (ล.ม.) บอกว่า “สติปัญญาจากเบื้องบนนั้น . . . ก่อให้เกิดสันติสุข, มีเหตุผล, . . . เต็มไปด้วยความเมตตา.” บุคคลที่ส่งเสริมสันติสุข ไม่ว่าเขาจะป่วยเป็นเอ็มซีเอสหรือไม่ จะไม่เป็นคนเรียกร้องหรือสุดโต่งเรื่องการใช้หรือไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางเคมี. เช่นเดียวกัน คนที่มีเหตุผลซึ่ง “เต็มไปด้วยความเมตตา” จะไม่ยืนกรานว่าตนมีสิทธิ์ที่จะใช้น้ำหอม ถ้าพวกเขาตระหนักว่าสิ่งนั้นจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของอีกคนหนึ่ง. โดยวิธีนี้ พวกเขาแสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังแสวงหา “สภาพที่มีสันติสุข” และกำลัง “กระทำให้เกิดสันติสุข” เช่นกัน.—ยาโกโบ 3:18, ล.ม.
ในอีกด้านหนึ่ง เจตคติที่ไม่ยืดหยุ่น, ไม่มีเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายที่ป่วยเป็นเอ็มซีเอสหรือฝ่ายที่ไม่ป่วย เป็นเหมือนลิ่มที่ทะลวงผู้คนให้แยกจากกัน. เจตคติเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อใคร ๆ และอาจเป็นอันตรายต่อสัมพันธภาพของเขากับพระเจ้าด้วยซ้ำ.—1 โยฮัน 4:20.
แน่ละ คริสเตียนมีสมบัติล้ำค่า นั่นคือ พระวิญญาณของพระยะโฮวา. เมื่อพวกเขาทูลขอพระวิญญาณจากพระยะโฮวาเป็นประจำ พวกเขาจะเกิดผลอันยอดเยี่ยมของพระวิญญาณนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรัก ซึ่งเป็น “เครื่องเชื่อมสามัคคีที่ดีพร้อม.” (โกโลซาย 3:14, ล.ม.) ขณะเดียวกัน พวกเขาจะอดทนคอยให้พระวิญญาณนั้นปลูกฝังคุณลักษณะเยี่ยงพระคริสต์ในผู้อื่น.—ฆะลาเตีย 5:22, 23.
[ภาพหน้า 10]
ผู้ป่วยเอ็มซีเอสต้องการเพื่อนพอ ๆ กับที่คนอื่นต้องการ