วิธีที่คุณจะช่วยได้
วิธีที่คุณจะช่วยได้
“เด็กที่ซึมเศร้าจำต้องได้รับความช่วยเหลือ. แต่เด็กเหล่านั้นไม่สามารถหาความช่วยเหลือด้วยตนเอง. ผู้ใหญ่ต้องตระหนักถึงปัญหาก่อนและถือเป็นเรื่องจริงจัง. นั่นแหละเป็นส่วนที่ยาก.”—ดร. มาร์ก เอส. โกลด์.
คุณจะทำอะไรได้ถ้าคุณสงสัยว่าบุตรวัยรุ่นของคุณเป็นโรคซึมเศร้า? ประการแรก อย่าเพิ่งด่วนสรุป. ที่จริง อาการต่าง ๆ อาจชี้ถึงปัญหาที่ไม่เกี่ยวกันเลยก็ได้. * ยิ่งกว่านั้น หนุ่มสาวทุกคนมีช่วงอารมณ์เศร้าหมองเป็นครั้งคราว. แต่ถ้าอาการนั้นยืดเยื้อและดูเหมือนไม่ใช่แค่อารมณ์เศร้าหมองชั่วคราว ก็คงดีที่สุดที่จะปรึกษาแพทย์. ในเรื่องนี้ นับว่าเหมาะที่จะระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “คนปกติไม่ต้องการหมอ, แต่คนเจ็บต้องการหมอ.”—มัดธาย 9:12.
จงอธิบายให้แพทย์ของคุณฟังอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่เป็นประโยชน์ซึ่งคุณเปิดเผยได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อไม่นานมานี้ในชีวิตของเด็กวัยรุ่นซึ่งอาจมีส่วนทำให้เกิดความเซื่องซึม. ทำให้แน่ใจว่าแพทย์ใช้เวลาฟังอาการต่าง ๆ มากพอก่อนที่จะวินิจฉัยลงไป. นายแพทย์เดวิด จี. ฟาสส์เลอร์ เตือนว่า “เป็นไปไม่ได้ที่จะรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อวินิจฉัยเด็กคนหนึ่งจากการพูดคุยครั้งเดียวโดยใช้เวลาแค่ยี่สิบนาที.”
ถ้ามีคำถามใด ๆ ขอให้ถามแพทย์อย่างสะดวกใจ. ตัวอย่างเช่น ถ้าแพทย์รู้สึกว่าบุตรวัยรุ่นของคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจอยากถามเขาว่าทำไมคิดว่าไม่ใช่โรคอื่น. ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของแพทย์ บอกเขา
ว่าคุณอยากขอความเห็นจากแพทย์อีกคนหนึ่ง. แน่นอนว่า ไม่มีแพทย์ที่มีจรรยาบรรณและจริงใจคนใดจะห้ามคุณไม่ให้ทำเช่นนั้น.การรับมือ
ถ้าบุตรวัยรุ่นของคุณเป็นโรคซึมเศร้า อย่าอายเนื่องจากสภาพนั้น. ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าโรคซึมเศร้าอาจเป็นกับเด็กหนุ่มสาวที่ดีที่สุด. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าความรู้สึกระทมทุกข์เคยเกิดกับบางคนที่พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อจะรับใช้พระเจ้าด้วยซ้ำ ไม่ว่าเขาจะมีอายุเท่าไร. ลองนึกถึงโยบผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งรู้สึกว่าถูกพระเจ้าทอดทิ้งและด้วยเหตุนั้นจึงแสดงความชิงชังต่อชีวิต. (โยบ 10:1; 29:2, 4, 5) นางฮันนาเป็นผู้รับใช้พระเจ้าซึ่ง “เป็นทุกข์ร้อนใจ” จนนางรับประทานอาหารไม่ได้. (1 ซามูเอล 1:4-10) แล้วก็มียาโคบ บุรุษผู้เลื่อมใสพระเจ้า ซึ่งเศร้าโศกเสียใจหลายวันหลังจากที่บุตรของท่านเสียชีวิตและ “ไม่ยอมรับการปลอบโยน.” ยาโคบถึงกับบอกว่าท่านต้องการตามบุตรชายของท่านลงไปยังหลุมฝังศพด้วยซ้ำ! (เยเนซิศ 37:33-35, ฉบับแปลใหม่) ดังนั้น ความทุกข์ทางอารมณ์ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องฝ่ายวิญญาณเสมอไป.
อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับบิดามารดาเป็นอย่างมาก. มารดาของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้ากล่าวว่า “ดิฉันระวังทุกฝีก้าว. ดิฉันกังวล, กลัว, เกลียด, โกรธ, และเหน็ดเหนื่อย.” มารดาอีกคนหนึ่งยอมรับว่า “เมื่อดิฉันไปข้างนอกและเห็นแม่คนอื่นเดินซื้อของกับลูกสาวที่เป็นวัยรุ่น หัวใจของดิฉันแทบจะแตกสลายเพราะดิฉันรู้สึกว่าได้สูญเสียโอกาสเช่นนั้นกับ [ลูกสาวของดิฉัน] และจะไม่มีวันได้โอกาสนั้นกลับมาอีกเลย.”
ความรู้สึกเช่นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา. กระนั้น บางครั้งความรู้สึกเช่นนั้นอาจมีมากเหลือเกิน. หากเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่เล่าให้เพื่อนที่คุณไว้ใจฟังล่ะ? สุภาษิต 17:17 (ล.ม.) บอกว่า “มิตรแท้ย่อมรักอยู่ทุกเวลา และเป็นพี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.” นอกจากนี้ อย่าละเลยการอธิษฐาน. คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่าถ้าเรามอบภาระไว้กับพระเจ้า พระองค์จะค้ำจุนเรา.—บทเพลงสรรเสริญ 55:22.
แนวโน้มจะโทษใครสักคน
บิดามารดาหลายคนของเด็กวัยรุ่นที่ซึมเศร้ารู้สึกท้อใจอย่างมากและคิดว่าเป็นความผิดของตนเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง. มารดาคนหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อลูกของคุณซึมเศร้า คุณรู้สึกผิดจริง ๆ และไม่มีใครทำให้คุณเชื่อว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น. คุณจะคิดอยู่เสมอว่า ‘เราทำอะไรผิดไป? อะไรเป็นจุดเปลี่ยน? ฉัน มีส่วนทำให้เกิดเรื่องขึ้นได้อย่างไร?’” บิดามารดาจะรักษาความคิดให้สมดุลอยู่ได้อย่างไรในเรื่องนี้?
โกโลซาย 3:21) ดังนั้น บิดามารดาได้รับการแนะเตือนให้วิเคราะห์วิธีที่ตนปฏิบัติกับบุตรและปรับเปลี่ยนในจุดที่จำเป็น. แต่โรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นผลจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดีเสมอไป. ที่จริง โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวที่รักกันมาก ๆ. ดังนั้น บิดามารดาซึ่งทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อช่วยบุตรของตนไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด.
ไม่มีข้อสงสัยว่าบรรยากาศที่รุนแรงในบ้านอาจก่อผลเสียต่อบุตร. ด้วยเหตุผลที่ดี คัมภีร์ไบเบิลเตือนสติบิดาทั้งหลายว่า “อย่ายั่วบุตรของตนให้ขัดเคืองใจ, เกรงว่าเขาจะท้อใจ.” (นับว่าสำคัญพอ ๆ กันที่จะไม่โทษเด็กวัยรุ่นที่ซึมเศร้า. ถึงอย่างไร เขาก็คงไม่สามารถควบคุมเรื่องราวได้มากนัก. มารดาคนหนึ่งกล่าวว่า “ดิฉันไม่มีทางโทษเขาที่เป็นโรคอีสุกอีใสหรือปอดบวม.” เธอยอมรับว่า “แต่กับโรคซึมเศร้า ดิฉันทำอย่างนั้น. ดิฉันโทษลูกของดิฉันที่ป่วย—ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกแย่มาก.” การมองว่าโรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยแทนที่จะเป็นความอ่อนแอจะช่วยบิดามารดาและคนอื่น ๆ ให้จดจ่ออยู่กับวิธีที่จะช่วยผู้ป่วยได้.
การเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่นที่ซึมเศร้าอาจก่อความตึงเครียดอย่างมากกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและมารดา. ภรรยาคนหนึ่งกล่าวว่า “เราโทษกันไปโทษกันมา โดยเฉพาะเมื่อเราคิดถึงชีวิตที่เราคาดหวังไว้กับชีวิตที่เรามีอยู่จริง ๆ เนื่องจากลูกชายของเรา.” ทิม ซึ่งมีลูกสาวเป็นโรคซึมเศร้ายอมรับว่า “เป็นเรื่องง่ายที่จะโทษคู่สมรสของคุณ. ถ้าบิดามารดามีปัญหาในชีวิตสมรสก่อนที่บุตรจะเริ่มแสดงอาการซึมเศร้าออกมา พฤติกรรมที่น่าฉงน
ของบุตรอาจเป็นฟางเส้นสุดท้าย.” อย่าให้โรคซึมเศร้าของบุตรก่อให้เกิดความแตกแยกในชีวิตสมรสของคุณ! จริงทีเดียว ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะโทษตัวคุณเอง, โทษบุตรของคุณ, หรือโทษคู่สมรสของคุณ. สิ่งสำคัญคือการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย.การให้ความช่วยเหลือ
คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเตือนคริสเตียนให้ “หนุนน้ำใจผู้ที่ท้อใจ.” (1 เธซะโลนิเก 5:14) ถ้าหนุ่มสาวที่ซึมเศร้าจมปลักอยู่กับความรู้สึกที่ว่าตัวเองไร้ค่า คุณอาจช่วยได้. ช่วยอย่างไร? แน่นอนว่าคงไม่ใช่ด้วยคำพูดเชิงวิจารณ์ อย่างเช่น “ลูกไม่น่าจะรู้สึกอย่างนั้นนะ” หรือ “ไม่ถูกที่ลูกจะคิดอย่างนั้น.” แทนที่จะพูดทำนองนั้น จงพยายามร่วมความรู้สึกโดยแสดง “ความเห็นอกเห็นใจ.” (1 เปโตร 3:8, ล.ม.) เปาโลแนะเตือนคริสเตียนให้ “ร้องไห้ด้วยกันกับผู้ที่ร้องไห้.” (โรม 12:15) จำไว้ว่า คนที่ซึมเศร้าจริง ๆ นั้นเจ็บปวดมาก. ความเจ็บปวดนั้นไม่ได้นึกเอาเอง ทั้งไม่ได้เสแสร้งเพียงเพื่อจะเรียกร้องความสนใจ. หลังจากฟัง จงพยายามถามเพื่อให้เขาพูดออกมา. ถามว่าทำไมเขารู้สึกแบบนั้น. แล้วด้วยความนุ่มนวลและความอดทน จงช่วยเด็กวัยรุ่นคนนั้นให้เข้าใจว่าเหตุใดการประเมินค่าตัวเองต่ำเช่นนั้นไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย. การทำให้เขามั่นใจในความรักและความเมตตาของพระเจ้าอาจช่วยบรรเทาความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้.—1 เปโตร 5:6, 7.
อาจมีขั้นตอนต่อจากนั้นที่คุณทำได้. ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องทำให้แน่ใจว่าบุตรวัยรุ่นของคุณที่ซึมเศร้าได้พักผ่อน, ได้รับสารอาหาร, และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ. (ท่านผู้ประกาศ 4:6) ถ้ามีการสั่งจ่ายยา ก็เป็นการสุขุมที่จะช่วยให้ลูกเห็นความสำคัญของการกินยา. อย่าเลิกให้ความช่วยเหลือ และอย่าเลิกแสดงความรัก.
จริงอยู่ โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจเป็นประสบการณ์ที่ทรมาน สำหรับทั้งผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว. ในที่สุดแล้ว ความอดทน, ความเพียรพยายาม, และความรักจะเป็นพื้นฐานสำหรับการช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นที่ซึมเศร้า.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 มีรายงานว่า อาการป่วยบางอย่าง รวมทั้งโมโนนิวคลีโอซิส, เบาหวาน, โลหิตจาง, ภาวะขาดไทรอยด์, และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคซึมเศร้า.
[คำโปรยหน้า 11]
คนที่ซึมเศร้าจริง ๆ นั้นเจ็บปวดมาก. ความเจ็บปวดนั้นไม่ได้นึกเอาเอง
[กรอบหน้า 13]
ถ้าคุณเป็นวัยรุ่นที่ซึมเศร้า
คุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง และสภาพการณ์ของคุณก็ยังไม่สิ้นหวัง. โรคซึมเศร้าของคุณอาจเกี่ยวพันกับ (1) ความไม่สมดุลทางชีวเคมี หรือไม่ก็ (2) สภาพการณ์ในชีวิตซึ่งคุณแทบควบคุมไม่ได้หรือควบคุมไม่ได้เลย. ไม่ว่าอย่างไร คุณไม่ได้เป็นต้นเหตุ ของการที่คุณซึมเศร้า. ถึงอย่างนั้น คุณจะทำอะไรได้เกี่ยวกับเรื่องนี้?
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “มิตรสหายที่สนิทยิ่งกว่าพี่น้องก็มี.” (สุภาษิต 18:24) ทำไมไม่หาเพื่อนแบบนั้นแล้วระบายความรู้สึกให้เขาฟังล่ะ? บิดาหรือมารดาของคุณหรือผู้ใหญ่ที่มีความอาวุโสอีกคนหนึ่งอาจเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของคุณในการสู้กับโรคซึมเศร้า.
ถ้าบิดามารดาของคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า พวกเขาอาจพาคุณไปหาแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ในการรักษาโรคนี้. นี่เป็นการกระทำที่สุขุม เพราะหลายครั้งโรคซึมเศร้าจะบรรเทาลงอย่างมากเมื่อได้รับการรักษา ในที่ซึ่งมีการรักษาอยู่พร้อม. ตัวอย่างเช่น เมื่อเกี่ยวพันกับความไม่สมดุลทางเคมี ก็อาจมีการสั่งจ่ายยาแก้โรคซึมเศร้า. ถ้าเป็นอย่างนั้นในกรณีของคุณ ก็อย่าอายที่จะกินยา. ยานั้นเพียงแต่ช่วยปรับระดับสารเคมีในร่างกายของคุณให้สมดุล และนี่อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คุณได้ความยินดีและความมั่นคงในชีวิตกลับมาในระดับหนึ่ง.
ผู้เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนได้รับการปลอบโยนจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและโดยเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นในการอธิษฐาน. คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่า “พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คนที่หัวใจสลาย; และคนที่จิตใจชอกช้ำพระองค์ทรงช่วยให้รอด.” *—บทเพลงสรรเสริญ 34:18, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 28 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูบทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันควรจะบอกใครสักคนไหมว่าฉันซึมเศร้า?” ซึ่งลงในตื่นเถิด! ฉบับ 8 พฤศจิกายน 2000.
[กรอบหน้า 14]
ความช่วยเหลือและความหวังสำหรับผู้ซึมเศร้า
เนื่องจากโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน บทความสั้น ๆ ชุดนี้จึงไม่อาจพิจารณาเรื่องนี้ในทุกแง่มุมได้. อย่างไรก็ตาม ผู้จัดพิมพ์ตื่นเถิด! มั่นใจว่าจุดต่าง ๆ ที่ได้เสนอนี้สามารถช่วยเด็กวัยรุ่นและบิดามารดาให้อดทนกับความผิดปกติที่ทำให้อ่อนแรงนี้.
คุณอาจสังเกตแล้วว่าคำแนะนำส่วนใหญ่ในบทความก่อน ๆ อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก. จริงอยู่ หนังสือนี้เป็นหนังสือที่เก่าแก่. กระนั้น คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลใช้การในสมัยนี้ได้เช่นเดียวกับในสมัยที่มีการบันทึกเลยทีเดียว. เพราะเหตุใด? เพราะแม้ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนไป. เราเผชิญกับปัญหาพื้นฐานอย่างเดียวกันกับคนรุ่นก่อน ๆ. ความแตกต่างคือปัญหาในสมัยนี้ร้ายแรงกว่าและส่งผลกระทบกว้างไกลกว่า.
กระนั้น มีเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือที่ใช้การได้ดีจริง ๆ นั่นคือหนังสือนี้มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า. (2 ติโมเธียว 3:16) ฐานะพระผู้สร้างของเรา พระองค์จึงทรงทราบว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราเพื่อจะมีความยินดีและความอิ่มใจพอใจมากที่สุดในชีวิตของเรา.
แน่ละ คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่ตำราแพทย์. ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเรามีคัมภีร์ไบเบิลแล้วก็ไม่ต้องแสวงหาการรักษาที่เหมาะสมสำหรับความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า. กระนั้น คัมภีร์ไบเบิลมีหลักการซึ่งอาจช่วยเราปลอบโยนผู้ซึมเศร้า. ยิ่งกว่านั้น คัมภีร์ไบเบิลมีคำสัญญาของพระเจ้าที่ว่า อีกไม่นานพระองค์จะรักษาความเจ็บป่วยทุกอย่างของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 103:3) ถูกแล้ว พระยะโฮวาทรงมีพระประสงค์ที่จะ “ฟื้นหัวใจของผู้ที่ชอกช้ำ.”—ยะซายา 57:15, ล.ม.
คุณอยากเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความหวังอันยิ่งใหญ่นี้ไหม? เชิญติดต่อกับพยานพระยะโฮวาในท้องถิ่นหรือเขียนไปยังที่อยู่ที่เหมาะสมซึ่งลงไว้ในหน้า 5 ของวารสารนี้.
[ภาพหน้า 10]
พยายามร่วมความรู้สึก
[ภาพหน้า 11]
หากเด็กวัยรุ่นมีอารมณ์ซึมเศร้ายืดเยื้อ ก็นับว่าสุขุมที่จะปรึกษาแพทย์
[ภาพหน้า 12]
ในฐานะบิดามารดา อย่าด่วนโทษตัวเอง, คู่สมรสของคุณ, หรือบุตรวัยรุ่นของคุณ