ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

พิพิธภัณฑสถานอังกฤษโฉมใหม่

พิพิธภัณฑสถานอังกฤษโฉมใหม่

พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​โฉม​ใหม่

โดย​ผู้​เขียน​ตื่นเถิด! ใน​บริเตน

พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​ใน​กรุง​ลอนดอน​มี​ผู้​เยี่ยม​ชม​เกือบ​หก​ล้าน​คน​ทุก​ปี. ประมาณ​หนึ่ง​ปี​ที่​แล้ว พิพิธภัณฑสถาน​แห่ง​นี้​ได้​พื้น​ที่​เพิ่ม​ขึ้น​ถึง 40 เปอร์เซ็นต์​เพื่อ​รอง​รับ​ฝูง​ชน​เหล่า​นี้. เรื่อง​นี้​เป็น​ไป​ได้​อย่าง​ไร?

ห้อง​สมุด​พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​และ​พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​เปิด​ให้​เข้า​ชม​ตั้ง​แต่​ปี 1759. อาคาร​ซึ่ง​เป็น​ที่​ตั้ง​ของ​ทั้ง​ห้อง​สมุด​และ​พิพิธภัณฑสถาน​ใน​ปัจจุบัน​สร้าง​เสร็จ​สมบูรณ์​ใน​ปี 1852. แต่​ใน​ปี 1997 ห้อง​สมุด ซึ่ง​รู้​จัก​กัน​ว่า​ห้อง​สมุด​อังกฤษ ได้​ย้าย​ไป​ยัง​อาคาร​หลัง​ใหม่​ใน​บริเวณ​ใกล้​เคียง และ​นำ​หนังสือ 12 ล้าน​เล่ม​รวม​ทั้ง​ฉบับ​คัด​ลอก​ด้วย​มือ​และ​ตรา​ประทับ​นับ​หมื่น​ชิ้น​ไป​ด้วย. เมื่อ​ห้อง​สมุด​ย้าย​ไป พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​ก็​สามารถ​ขยาย​พื้น​ที่​ได้​โดย​เปิด​ลาน​กลาง ซึ่ง​ไม่​เคย​เปิด​ให้​คน​ทั่ว​ไป​ได้​ชม​มา​เป็น​เวลา​เกือบ 150 ปี!

จุด​ที่​น่า​สนใจ​ของ​ลาน​ที่​ตอน​นี้​ว่าง​ลง​แล้ว ซึ่ง​เรียก​กัน​ว่า​ลาน​ใหญ่ คือ​ห้อง​อ่าน​หนังสือ​รูป​โดม. นับ​ตั้ง​แต่​ถูก​สร้าง​ขึ้น​ใน​ปี 1857 ห้อง​อ่าน​หนังสือ​นี้​เป็น​สถาน​ที่​อัน​ดี​เลิศ​ของ​นัก​ค้นคว้า​จาก​ทั่ว​โลก. มหาตมา คานธี, ชาลส์ ดาร์วิน, และ​คาร์ล มากซ์​เป็น​บุคคล​ที่​มี​ชื่อเสียง​เพียง​ส่วน​หนึ่ง​ซึ่ง​เคย​ทำ​งาน​ใน​สภาพ​แวด​ล้อม​อัน​เงียบ​สงบ​ของ​ห้อง​สมุด​อัน​โด่งดัง​แห่ง​นี้. ห้อง​นี้​เปิด​ให้​คน​ทั่ว​ไป​เข้า​ชม​เป็น​ครั้ง​แรก​ที​เดียว. ปัจจุบัน​ห้อง​นี้​เป็น​ที่​เก็บ​หนังสือ​จำนวน 25,000 เล่ม​ซึ่ง​เป็น​ของ​พิพิธภัณฑสถาน​เอง.

หลังคา​รูป​โดม​ของ​ห้อง​ประวัติศาสตร์​นี้​ได้​รับ​การ​บูรณะ​ซ่อมแซม​ให้​คืน​สู่​ความ​งดงาม​ดัง​เดิม. ตอน​นี้​ลาน​ใหญ่ รวม​ทั้ง​ห้อง​อ่าน​หนังสือ มี​หลังคา​อัน​งดงาม​ซึ่ง​หนัก​ถึง 800 ตัน. หลังคา​นี้​เป็น​โครง​เหล็ก​ประดับ​ด้วย​กระจก​สาม​เหลี่ยม 3,312 ชิ้น ขนาด​ของ​กระจก​แต่​ละ​ชิ้น​ได้​รับ​การ​คำนวณ​อย่าง​ละเอียด​ด้วย​คอมพิวเตอร์.

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถาน​อังกฤษ​จัด​เครื่อง​คอมพิวเตอร์​ไว้​ใน​ห้อง​อ่าน​หนังสือ​นี้​ซึ่ง​สามารถ​เปิด​ชม​สิ่ง​ของ​อัน​ล้ำ​ค่า​นับ​พัน​ชิ้น​ของ​พิพิธภัณฑสถาน​ได้. หนังสือ​พิมพ์​เดอะ ไทมส์ แห่ง​กรุง​ลอนดอน​เรียก​อาคาร​ที่​ได้​รับ​การ​ปรับ​ปรุง​ใหม่​นี้​ว่า ผล​งาน​ชิ้น​เอก. ผู้​เยี่ยม​ชม​ก็​เห็น​ด้วย​อย่าง​เต็ม​ที่!

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 31]

Center top and bottom: Copyright The British Museum; all others: Copyright Nigel Young/The British Museum