ดีเอ็นเอที่ “ไร้ประโยชน์” หรือ?
ดีเอ็นเอที่ “ไร้ประโยชน์” หรือ?
นักวิจัยหลายคนอาศัยแนวคิดของทฤษฎีวิวัฒนาการเมื่อทำการศึกษาทางด้านชีววิทยา, พันธุศาสตร์, และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง. บ่อยครั้ง แนวคิดแบบนี้ทำให้พวกเขาลงความเห็นผิดพลาด. ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เชื่อถือทฤษฎีของดาร์วินสมัยแรก ๆ ถือว่าอวัยวะบางอย่างเช่น ไส้ติ่ง, ต่อมใต้สมอง, และต่อมทอนซิล เป็นอวัยวะเหลือค้างมาจากขั้นตอนวิวัฒนาการ เพราะดูเหมือนว่ามันไม่มีหน้าที่อะไรอีกแล้ว. อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาก็เป็นที่ทราบกันว่าอวัยวะเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญ. ดังนั้น นักวิวัฒนาการจึงต้องทิ้งสมมุติฐานเดิมของพวกเขา.
มีเรื่องคล้าย ๆ กันเกิดขึ้นในวงการพันธุศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้. การวิจัยในยุคแรก ๆ ระบุว่าประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่มีหน้าที่อะไร. ด้วยเหตุนี้ หลายคนซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการจึงถือว่าดีเอ็นเอเหล่านี้เป็น “สิ่งที่ไร้ประโยชน์จากกระบวนการวิวัฒนาการ”—ซึ่งเป็นความคิดที่ยอมรับกันอย่างรวดเร็ว.
แต่ก็อีกครั้งหนึ่งที่สมมุติฐานซึ่งอาศัยทฤษฎีของดาร์วินได้รับการพิสูจน์ว่าไม่จริง. ไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ดีเอ็นเอที่ “ไร้ประโยชน์” เหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในร่างกายคือเป็นตัวผลิตอาร์เอ็นเอ (กรดไรโบนิวคลิอิก) ชนิดพิเศษซึ่งจำเป็นยิ่งสำหรับชีวิต. จอห์น เอส. แมตทิก ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย คิดว่าการรีบยอมรับทฤษฎีดีเอ็นเอที่ “ไร้ประโยชน์” นี้โดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเป็น “เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซึ่งแสดงว่าการยึดถือในสิ่งที่คนทั่วไปยอมรับกันเป็นการปิดกั้นการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งในกรณีนี้นานถึง 25 ปี.” เขาเสริมว่า เรื่องนี้ “อาจถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชีววิทยาระดับโมเลกุล.”
เป็นเรื่องที่ฉลาดกว่ามิใช่หรือที่จะถือว่าดีเอ็นเอมีผู้ออกแบบที่มีเชาวน์ปัญญา? คนที่มีความเชื่อเช่นนี้ตระหนักว่า แม้สิ่งทรงสร้างของพระเจ้าจะมีแง่มุมบางอย่างที่น่าฉงน แต่แง่มุมเหล่านั้นก็จะเป็นที่เข้าใจได้ในที่สุด. และแทนที่การค้นพบดังกล่าวจะทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวัง แต่กลับทำให้พวกเขายิ่งรู้สึกเกรงขามมากขึ้น.—สุภาษิต 1:7; ท่านผู้ประกาศ 3:11.
[ที่มาของภาพหน้า 21]
DNA: Photo: www.comstock.com; researcher: Agricultural Research Service, USDA