การรับมือกับปัญหาของวัยชรา
การรับมือกับปัญหาของวัยชรา
“ในชั่วอายุของข้าพเจ้ามีสักเจ็ดสิบปีเท่านั้น, ถ้าแม้ว่ามีกำลังมากก็จะยืนได้ถึงแปดสิบปี; กำลังที่ตนอวดนั้นย่อมประกอบไปด้วยการลำบากและความทุกข์; เพราะไม่ช้าก็จะเสียไปและข้าพเจ้าทั้งหลายจะล่วงลับไป.” (บทเพลงสรรเสริญ 90:10) บทเพลงเชิงกวีนิพนธ์บทนี้ซึ่งมีอายุถึง 3,000 ปีแสดงว่าปัญหาของวัยชราเป็นปัญหาที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล. แม้มีความก้าวหน้าที่น่ายกย่องในวงการแพทย์ แต่ก็มีบางแง่มุมที่วัยชรายังก่อให้เกิด “การลำบากและความทุกข์” มากเป็นพิเศษ. แง่มุมเหล่านี้มีอะไรบ้างและบางคนได้รับมือกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร?
สูงอายุแต่ปัญญายังเฉียบแหลม
ฮันส์วัย 79 ปีกังวลว่า “สิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือกลัวสมองของผมจะเสื่อม.” เช่นเดียวกับคนสูงอายุหลายคน ฮันส์เริ่มวิตกเรื่องที่เขามักจะหลงลืม. เขากลัวว่าสมอง ซึ่งเป็นสิ่งที่กวียุคโบราณคนหนึ่งเรียกว่า “ชามสุวรรณ” กับความทรงจำที่ล้ำค่าของเขากำลังเสียไป. (ท่านผู้ประกาศ 12:6) ฮันส์ถามว่า “เป็นเรื่องปกติไหมที่คนสูงอายุจะต้องมีอาการสมองเสื่อม?”
ถ้าคุณเป็นเหมือนฮันส์ คือมักจะลืมชื่อคนอื่นหรือเคยสงสัยว่าการหลงลืมเช่นนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดปกติที่ร้ายแรงในสมองหรือไม่ ก็ขอให้สบายใจได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดเราก็หลงลืมด้วยกันทั้งนั้น และความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในความคิดจิตใจของผู้สูงอายุมักจะไม่ได้เกิดจากโรคสมองเสื่อม. * นายแพทย์ไมเคิล ที. ลีวี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะพฤติกรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกาะสแตเทนในนครนิวยอร์ก กล่าวว่า ขณะที่การลืมอะไรบางอย่างเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในวัยชรา แต่ “ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถควบคุมความสามารถด้านความคิดจิตใจของตนได้อย่างครบถ้วนตลอดชีวิต.”
จริงอยู่ คนที่อายุน้อยกว่ามักจะนึกอะไรออกได้เร็วกว่าคนสูงอายุ. แต่นายแพทย์ริชาร์ด เรสแทก นักประสาทวิทยา กล่าวว่า “ถ้าคุณตัดเรื่องความเร็วทิ้งไป คนสูงอายุมัก
จะทำได้อย่างน้อยก็ดีพอ ๆ กับคนที่ยังเป็นหนุ่มสาว.” ที่จริง เมื่อได้รับการศึกษาและการฝึกฝนอย่างเพียงพอ สมองที่ยังดีอยู่ของผู้สูงอายุก็ยังคงเรียนรู้, จดจำ, และแม้แต่ปรับปรุงความสามารถเฉพาะอย่างได้ต่อ ๆ ไป.ปัญหาเรื่องความจำและอาการที่รักษาได้
แต่ถ้าบางคนมีปัญหาเรื่องความจำซึ่งรุนแรงกว่านั้นล่ะ? แม้แต่ในกรณีนี้ ก็ไม่ควรลงความเห็นทันทีว่าคนนั้นเป็นโรคสมองเสื่อม. สภาพการณ์อื่น ๆ ที่รักษาให้หายได้ซึ่งเกิดขึ้นในวัยชราอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องความจำและความรู้สึกสับสนกะทันหัน. ความผิดปกติเช่นนี้มักจะถูกมองอย่างผิด ๆ ว่าเป็นเพราะ “แก่แล้ว” หรือ “ความชรา”—บางครั้งแม้แต่แพทย์และพยาบาลบางคนก็ยังเข้าใจผิดเช่นนั้น. นี่ไม่เพียงเป็นการดูถูกผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้พวกเขาไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอีกด้วย. อาการเหล่านี้อาจมีอะไรบ้าง?
อาการสับสนงุนงงผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นอย่างกะทันหันอาจเกิดจากภาวะทุโภชนาการ, ภาวะขาดน้ำ, ภาวะเลือดจาง, การบาดเจ็บที่ศีรษะ, ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์, การขาดวิตามิน, ภาวะแทรกซ้อนจากยา, หรือแม้แต่การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมซึ่งทำให้สับสน. ปัญหาเรื่องความจำอาจเกิดจากความเครียดที่ยืดเยื้อมานานและการติดเชื้อก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าทำให้เกิดอาการสับสนในผู้สูงอายุได้. นอกจากนี้ ความซึมเศร้าอาจทำให้หลงลืมและเกิดความสับสนได้ในผู้ป่วยที่สูงอายุ. ดังนั้น นายแพทย์ลีวี จึงแนะนำว่า “ถ้าจู่ ๆ เกิดภาวะงุนงงสับสนขึ้นมาอย่างกะทันหัน ก็ไม่ควรมองข้ามหรือถือเสียว่าเป็นโรคชราที่แก้ไขอะไรไม่ได้.” การตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอาจช่วยให้ทราบสาเหตุของอาการนั้น.
การรับมือกับความซึมเศร้า
ความซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับมนุษย์ แม้แต่กับผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้า. เกือบสองพันปีมาแล้ว อัครสาวกเปาโลจำเป็นต้องแนะนำเพื่อนคริสเตียนของท่านว่า “ให้หนุนน้ำใจผู้ที่ท้อใจ.” (1 เธซะโลนิเก 5:14) ในสมัยของเราที่เต็มไปด้วยความเครียด การหนุนน้ำใจกันเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่านั้นเสียอีก. แต่น่าเสียดาย ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักจะได้รับการวินิจฉัยผิดหรือไม่ได้รับการวินิจฉัยเลย.
เนื่องจากมีการเข้าใจผิดกันมากว่า คนเราจะมีอารมณ์หม่นหมองและหงุดหงิดมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา คนอื่น ๆ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุเองอาจมองว่าอาการเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น. หนังสือการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “แต่เรื่องนี้ไม่จริง. การซึมเศร้าในหมู่ผู้สูงอายุไม่ได้เป็นสิ่งปกติของการมีอายุสูงขึ้น.”
ไม่เหมือนกับอารมณ์เศร้าเป็นครั้งคราว การเป็นโรคซึมเศร้าอย่างยืดเยื้อยาวนานเป็นโรคที่ร้ายแรงซึ่งอาจมีผลที่รุนแรงมากและไม่ควรละเลย. โรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการแย่ลงและฝังลึกจนผู้ป่วยที่สิ้นหวัง *—มาระโก 2:17.
บางคนพยายามฆ่าตัวตาย. นายแพทย์ลีวี กล่าวว่า เรื่องน่าเศร้าเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในหมู่ผู้สูงอายุก็คือที่ว่า “โรคทางจิตเวชที่รักษาได้ง่ายที่สุดชนิดนี้บ่อยครั้งอาจเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดด้วย.” ถ้าอาการซึมเศร้าไม่หายไป ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ในเรื่องความผิดปกติทางอารมณ์.คนที่เป็นโรคซึมเศร้าแน่ใจได้ว่าพระยะโฮวา “ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา.” (ยาโกโบ 5:11) พระองค์ “ทรงสถิตอยู่ใกล้ผู้ที่มีใจชอกช้ำ.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:18) จริงทีเดียว พระองค์เป็นผู้ที่โดดเด่นที่สุดซึ่ง “ทรงหนุนน้ำใจคนทั้งหลายที่ท้อใจ.”—2 โกรินโธ 7:6.
ไม่ต้องรู้สึกไร้ค่า
กษัตริย์ดาวิดผู้ซื่อสัตย์ได้อธิษฐานเมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้วว่า “เวลาชราแล้วขออย่าทรงสลัดข้าพเจ้าเสีย; เมื่อกำลังของข้าพเจ้าถอยขออย่าทรงละทิ้งข้าพเจ้าเสียเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 71:9) แม้แต่ในศตวรรษที่ 21 ความรู้สึกเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับผู้สูงอายุซึ่งกลัวว่าพวกเขาจะเป็นคนที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไปในสายตาของคนอื่น. ข้อจำกัดต่าง ๆ เนื่องจากปัญหาสุขภาพก็อาจมีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกไร้ค่า และการถูกบังคับให้ปลดเกษียณก็อาจบั่นทอนความรู้สึกนับถือตัวเอง.
อย่างไรก็ตาม แทนที่จะรู้สึกท้อใจกับสิ่งที่เราทำไม่ได้อีกต่อไปให้เราคิดถึงแต่สิ่งที่เราทำได้ แล้วเราก็จะรักษาความนับถือตัวเองและรู้สึกว่าตัวเองยังมีประโยชน์. ในเรื่องนี้ รายงานฉบับหนึ่งของสหประชาชาติแนะนำให้ ‘พัฒนาตัวเองต่อไปโดยการเรียนรู้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ, เข้าร่วมในองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน, และร่วมในกิจกรรมทางศาสนา.’ เออร์เนสต์ พยานพระยะโฮวาคนหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นคนทำขนมปังที่เกษียณอายุแล้ว เป็นตัวอย่างของผลประโยชน์จากการ ‘พัฒนาตัวเองต่อไปโดยการเรียนรู้.’ ตอนที่เขาอายุมากกว่า 70 ปี เขาตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์และเรียนวิธีใช้. เขาทำอย่างนั้นทำไมในเมื่อหลายคนในวัยเดียวกับเขารู้สึกกลัวเทคโนโลยี? เขาอธิบายว่า “ประการแรก เพื่อให้ผมได้ใช้ความคิดต่อไปขณะที่ผมมีอายุมากขึ้น. และประการที่สอง เพื่อตามให้ทันเทคโนโลยีซึ่งอาจช่วยผมค้นคว้าคัมภีร์ไบเบิลและช่วยในกิจกรรมที่ผมทำในประชาคมคริสเตียน.”
การเข้าร่วมในกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อาจสนองความจำเป็นพื้นฐานหลายอย่างของผู้สูงอายุ เป็นต้นว่า ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีความหมายและอิ่มใจ และอาจถึงกับสร้างรายได้ด้วย. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดตั้งข้อสังเกตว่า นั่นเป็นของประทานจากพระเจ้าที่มนุษย์จะ “ทำใจให้ชื่นชมยินดี, และกระทำดีตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่. มนุษย์ควรจะได้กินและดื่ม, กับชื่นชมความดีความงามในบรรดาการงานของเขา.”—ท่านผู้ประกาศ 3:12, 13.
ทำเท่าที่เราทำได้
ในหลายสังคม ผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งค่านิยมทางศีลธรรมและศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลัง. กษัตริย์ดาวิดเขียนว่า “แม้ว่าข้าพเจ้าชราผมหงอกแล้ว, ขออย่าทรงละทิ้งข้าพเจ้าจนกว่าข้าพเจ้าจะได้พรรณนาถึงพลานุภาพของพระองค์แก่คนชั่วอายุต่อ ๆ มา.”—บทเพลงสรรเสริญ 71:18.
จะว่าอย่างไรถ้าผู้สูงอายุมีข้อจำกัดมากในเรื่องสุขภาพและสภาพการณ์? สภาพเช่นนี้ทำให้ซาราห์วัย 79 ปี ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่ง รู้สึกท้อใจมาก. เธอจึงเล่ายาโกโบ 5:16) เขาอธิบายว่า “ตลอดหลายปี คุณได้สร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระเจ้า. ตอนนี้คุณทำให้เราทุกคนได้รับประโยชน์จากสัมพันธภาพนั้นเมื่อคุณอธิษฐานเป็นส่วนตัวเพื่อพวกเรา.” เธอได้รับกำลังใจอย่างมากเมื่อเขาพูดว่า “ซาราห์ เราต้องการคำอธิษฐานของคุณที่ทูลขอเพื่อพวกเรา.”
ความท้อใจให้คริสเตียนที่เป็นผู้ปกครองฟัง. เขาเตือนให้เธอระลึกถึงหลักการในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “คำอธิษฐานด้วยใจร้อนรนแห่งผู้ชอบธรรมก็มีอำนาจมาก.” (ดังที่ซาราห์ตระหนัก การอธิษฐานเป็นวิธีที่มีความหมายและน่าพอใจยินดีซึ่งผู้สูงอายุหลายคนพยายามทำทุกเช้าค่ำเพื่อคนอื่น. (โกโลซาย 4:12; 1 ติโมเธียว 5:5) ในเวลาเดียวกัน คำอธิษฐานอย่างนั้นช่วยผู้สูงอายุที่ซื่อสัตย์ให้ใกล้ชิดพระยะโฮวา “ผู้สดับคำอธิษฐาน” ยิ่งขึ้น.—บทเพลงสรรเสริญ 65:2; มาระโก 11:24.
ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัด แต่ก็มีประสบการณ์และความสามารถมากมายที่มีค่ามากสำหรับชุมชน. พวกเขาพิสูจน์ว่า “ผมหงอกบนศีรษะเป็นเหมือนมงกุฎแห่งสง่าราศีถ้าใจอยู่ในที่ชอบธรรม.”—สุภาษิต 16:31.
นับว่าเหมาะที่เราจะถามว่า มีอนาคตอะไรสำหรับพวกเราขณะที่เรามีอายุมากขึ้น? เราจะมองไปข้างหน้าอย่างที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงว่าเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าได้ไหม?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 นักวิจัยบางคนอ้างว่า “เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม.” เพื่อได้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับการรักษาโรคสมองเสื่อม โปรดดูบทความชุด “โรคอัลไซเมอร์—การบรรเทาความเจ็บปวด” ในตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 22 กันยายน 1998.
^ วรรค 13 ตื่นเถิด! ไม่สนับสนุนวิธีการรักษาแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ. คริสเตียนควรพิจารณาให้ดีว่าวิธีการรักษาที่พวกเขาใช้นั้นสอดคล้องกับหลักการในคัมภีร์ไบเบิลหรือไม่. เชิญดูบทความ “การเข้าใจความผิดปกติทางอารมณ์” ในตื่นเถิด! ฉบับ 8 มกราคม 2004.
[คำโปรยหน้า 5]
บ่อยครั้งผู้สูงอายุรู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในสังคมสมัยใหม่ที่รีบเร่งนี้
[กรอบ/ภาพหน้า 7]
วิธีที่คุณจะช่วยผู้สูงอายุได้
▪ ให้เกียรติ. “อย่าติเตียนชายสูงอายุแรง ๆ. ในทางตรงกันข้าม จงอ้อนวอนเขาเหมือนเป็นบิดา . . . ผู้หญิงสูงอายุเหมือนเป็นมารดา.”—1 ติโมเธียว 5:1, 2, ล.ม.
▪ ตั้งใจฟัง. “จงให้ทุกคนว่องไวในการฟัง, ช้าในการพูด, ช้าในการโกรธ.”—ยาโกโบ 1:19.
▪ แสดงความเห็นอกเห็นใจ. “ท่านทั้งหลายจงเป็นใจเดียวกัน, มีใจเมตตาซึ่งกันและกัน, จงรักใคร่กันดุจดังพี่น้อง จงมีใจเอ็นดูและมีใจอ่อนสุภาพ อย่ากระทำการร้ายตอบแทนการร้าย, อย่าด่าตอบแทนคำด่า.”—1 เปโตร 3:8, 9.
▪ มองให้ออกว่าเมื่อไรสมควรให้กำลังใจ. “คำพูดที่เหมาะกับกาลเทศะเปรียบเหมือนผลแอปเปิลทำด้วยทองคำใส่ไว้ในกระเช้าเงิน.”—สุภาษิต 25:11.
▪ ให้ผู้สูงอายุร่วมในกิจกรรมของคุณ. “จงมีน้ำใจรับรองแขก.”—โรม 12:13.
▪ ให้ความช่วยเหลือจริง ๆ. “คนใดที่มีทรัพย์สมบัติในโลกนี้, และเห็นพี่น้องของตนขัดสน, แล้วและกระทำใจแข็งกะด้างไม่สงเคราะห์เขา, ความรักของพระเจ้าจะอยู่ในคนนั้นอย่างไรได้? ดูก่อนลูกเล็ก ๆ ทั้งหลาย, อย่าให้เรารักเพียงแต่ถ้อยคำและลิ้นเท่านั้น, แต่ให้เรารักด้วยการประพฤติและด้วยความจริง.”—1 โยฮัน 3:17, 18.
▪ อดกลั้นทนนาน. “เหตุฉะนั้นจงสวมใจเมตตา, ใจปรานี, ใจถ่อม, ใจอ่อนสุภาพ, ใจอดทนไว้นาน.”—โกโลซาย 3:12.
โดยการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ เราก็แสดงความนับถือต่อมาตรฐานของพระเจ้า เนื่องจากพระคำของพระองค์กล่าวไว้ว่า “จงคำนับคนผมหงอกและนับถือคนแก่.”—เลวีติโก 19:32.
[ภาพหน้า 6]
การตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอาจมีประโยชน์