ทำไมเราต้องใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม?
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
ทำไมเราต้องใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม?
ในสมัยนี้ สิ่งที่มนุษย์ทำอาจสร้างความเสียหายให้แก่โลกของเรามากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา. ขณะที่มีภัยคุกคามจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะโลกร้อน ที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักวิทยาศาสตร์, รัฐบาล, และกลุ่มอุตสาหกรรมก็พยายามมากขึ้นที่จะแก้ไขเรื่องนี้.
เราแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมไหม? ถ้ามี เราต้องช่วยถึงขนาดไหน? คัมภีร์ไบเบิลให้เหตุผลที่ดีที่เราต้องช่วยดูแลแผ่นดินโลก. คัมภีร์ไบเบิลยังช่วยเราให้ทำอย่างสมดุลอีกด้วย.
สนับสนุนพระประสงค์ของพระผู้สร้างของเรา
พระยะโฮวาพระเจ้าทรงสร้างโลกนี้เพื่อให้เป็นบ้านที่สวยงามดังอุทยานสำหรับมนุษยชาติ. พระองค์ทรงประกาศว่าพระราชกิจทั้งปวงของพระองค์ “ดีนัก” และมอบหมายมนุษย์ “ให้ทำงานรักษา [แผ่นดินโลก].” (เยเนซิศ 1:28, 31; 2:15) พระเจ้าทรงรู้สึกเช่นไรเกี่ยวกับสภาพของโลกในตอนนี้? เป็นที่ชัดเจนว่าพระองค์ไม่พอพระทัยอย่างยิ่งที่มนุษย์ไม่ได้ดูแลโลกอย่างถูกวิธี เพราะวิวรณ์ 11:18 บอกไว้ล่วงหน้าว่าพระองค์จะ “ทำลายคนเหล่านั้นที่ทำลายแผ่นดินโลก.” ดังนั้น เราไม่ควรเมินเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก.
คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่าร่องรอยของความเสียหายทุกอย่างที่มนุษย์ก่อขึ้นจะได้รับการแก้ไขเมื่อพระเจ้า “สร้างทุกสิ่งขึ้นใหม่.” (วิวรณ์ 21:5) อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรลงความเห็นว่าเนื่องจากเมื่อถึงเวลา พระเจ้าก็จะฟื้นฟูแผ่นดินโลกนี้อยู่แล้ว การกระทำของเราในตอนนี้จึงไม่มีความหมายใด ๆ. ที่จริงแล้วการกระทำของเรานั้นมีความหมายมากทีเดียว! เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเรามีทัศนะอย่างพระเจ้าเกี่ยวกับโลกของเราและสนับสนุนพระทัยประสงค์ของพระองค์ที่จะทำให้แผ่นดินโลกเป็นอุทยาน?
มีส่วนช่วยทำให้โลกนี้สะอาด
กิจกรรมตามปกติของมนุษย์ก่อให้เกิดของเสียในระดับหนึ่งอยู่แล้ว. พระยะโฮวาทรงออกแบบวัฏจักรของโลกอย่างฉลาดสุขุมเพื่อขจัดของเสียสุภาษิต 3:19) สิ่งที่เราทำควรสอดคล้องกับกระบวนการเหล่านี้. ด้วยเหตุนี้ เราต้องระวังที่จะไม่เพิ่มปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกโดยไม่จำเป็น. การระมัดระวังเช่นนี้แสดงว่าเรารักเพื่อนบ้านของเราเหมือนรักตัวเราเอง. (มาระโก 12:31) ขอพิจารณาตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในสมัยของคัมภีร์ไบเบิล.
เหล่านี้, ทำให้อากาศ, น้ำ, และผืนดินสะอาด. (พระเจ้าทรงสั่งชาติอิสราเอลให้กลบสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ไว้ “ข้างนอกค่าย.” (พระบัญญัติ 23:12, 13) การทำอย่างนี้ช่วยรักษาความสะอาดภายในค่ายและยังเร่งกระบวนการย่อยสลายด้วย. ในทำนองเดียวกันทุกวันนี้ คริสเตียนแท้พยายามกำจัดขยะและของเสียอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและถูกวิธี. ควรระวังเป็นพิเศษเมื่อกำจัดของเสียที่เป็นพิษ.
ขยะหลายอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้. ถ้าการนำกลับมาใช้ใหม่เป็นข้อบังคับในกฎหมายท้องถิ่น การเชื่อฟังกฎหมายเหล่านั้นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการคืน ‘ของของซีซาร์ให้ซีซาร์.’ (มัดธาย 22:21) การนำกลับมาใช้ใหม่อาจยุ่งยากมากกว่า แต่ก็แสดงถึงความปรารถนาที่จะมีโลกที่สะอาด.
การอนุรักษ์ทรัพยากรโลก
เพื่อจะสนองความต้องการในเรื่องอาหาร, ที่อยู่อาศัย, และพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตของเราต่อ ๆ ไป เราจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ. วิธีที่เราใช้ทรัพยากรเหล่านั้นแสดงว่าเราตระหนักหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นมาจากพระเจ้า. เมื่อชาวอิสราเอลต้องการกินเนื้อสัตว์ในถิ่นทุรกันดาร พระยะโฮวาทรงประทานนกชนิดหนึ่งให้แก่พวกเขามากมาย. ความโลภทำให้พวกเขาเห็นแก่ตัวและใช้ของประทานนั้นอย่างผิด ๆ ซึ่งทำให้พระยะโฮวาพระเจ้าทรงพิโรธยิ่งนัก. (อาฤธโม 11:31-33) จนถึงเดี๋ยวนี้พระเจ้าก็ไม่ได้เปลี่ยนไป. ดังนั้น คริสเตียนที่สำนึกถึงความรับผิดชอบในเรื่องนี้จึงหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า ซึ่งอาจแสดงถึงความโลภ.
บางคนอาจถือว่าการที่เขาใช้พลังงานหรือทรัพยากรอื่น ๆ มากมายเท่าใดนั้นเป็นสิทธิ์ของเขา. แต่ทรัพยากรธรรมชาติไม่ควรถูกผลาญไปเพียงเพราะเรามีเงินจะทำได้หรือเพราะทรัพยากรนั้นมีมากมายเหลือเฟือ. หลังจากพระเยซูทรงเลี้ยงอาหารคนกลุ่มใหญ่ พระองค์ทรงสั่งให้เก็บรวบรวมปลาและขนมปังที่เหลืออยู่. (โยฮัน 6:12) พระองค์ทรงใช้สิ่งที่พระบิดาของพระองค์ประทานให้อย่างระมัดระวังโดยไม่ทำให้สูญเปล่า.
ทำอย่างสมดุล
ทุกวันเราต้องตัดสินใจเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม. เราต้องทำอย่างสุดโต่งโดยหลีกหนีจากสังคมมนุษย์ไหมเพื่อจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียใด ๆ เลยต่อแผ่นดินโลก? ไม่มีที่ใดในคัมภีร์ไบเบิลที่สนับสนุนให้ทำอย่างนั้น. ขอพิจารณาตัวอย่างของพระเยซู. ขณะอยู่บนโลกนี้ พระองค์ทรงใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งทำให้พระองค์สามารถทำงานประกาศที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้ทำได้อย่างบรรลุผลสำเร็จ. (ลูกา 4:43) ยิ่งกว่านั้น พระเยซูทรงปฏิเสธไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเพื่อใช้การเมืองเป็นทางแก้ปัญหาสังคมในสมัยของพระองค์. พระองค์ตรัสอย่างชัดเจนว่า “ราชอาณาจักรของเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้.”—โยฮัน 18:36.
กระนั้น ก็เหมาะสมที่เราจะพิจารณาว่าการเลือกของเรามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรในแง่มุมต่าง ๆ เช่น สิ่งที่ซื้อหามาใช้ในบ้าน, การขนส่ง, และนันทนาการ. ตัวอย่างเช่น บางคนเลือกที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือทำงานอย่างที่ก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด. ส่วนบางคนพยายามจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ก่อมลพิษหรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เหมาะสม.
ไม่จำเป็นที่ใครคนหนึ่งจะบังคับให้คนอื่นทำตามทัศนะของตนในเรื่องสิ่งแวดล้อม. สภาพการณ์ส่วนตัวและในท้องถิ่นอาจแตกต่างกัน. กระนั้น เราแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของเรา. ดังที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ “แต่ละคนจะต้องแบกภาระของตนเอง.”—กาลาเทีย 6:5.
พระผู้สร้างมอบหน้าที่ดูแลแผ่นดินโลกให้แก่มนุษย์. การหยั่งรู้ค่าต่องานมอบหมายนี้และด้วยความเคารพนอบน้อมต่อพระเจ้าและสิ่งทรงสร้างของพระองค์จึงควรกระตุ้นเราให้ตัดสินใจอย่างสุขุมรอบคอบในเรื่องที่ว่าเราควรปฏิบัติต่อแผ่นดินโลกอย่างไร.
คุณเคยสงสัยไหม?
▪ พระเจ้าจะจัดการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกไหม?—วิวรณ์ 11:18.
▪ พระเจ้ามอบหน้าที่อะไรให้แก่มนุษย์เกี่ยวกับแผ่นดินโลก?—เยเนซิศ 1:28; 2:15.
▪ พระเยซูคริสต์ทรงวางแบบอย่างไว้อย่างไรเพื่อไม่ใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างสูญเปล่า?—โยฮัน 6:12.