พระเจ้าและพระคริสต์ทรงมีทัศนะเช่นไรต่อผู้หญิง?
พระเจ้าและพระคริสต์ทรงมีทัศนะเช่นไรต่อผู้หญิง?
เราจะเข้าใจภาพโดยรวมเกี่ยวกับทัศนะที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงมีต่อผู้หญิงได้อย่างไร? วิธีหนึ่งคือตรวจสอบทัศนะและแนวทางปฏิบัติของพระเยซู ซึ่งเป็น “ภาพสะท้อนของพระเจ้าผู้ไม่ประจักษ์แก่ตา” และเป็นผู้ที่สะท้อนทัศนะของพระเจ้าในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ. (โกโลซาย 1:15) วิธีที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อพวกผู้หญิงในสมัยของพระองค์แสดงว่าพระยะโฮวาและพระเยซูทรงให้เกียรติผู้หญิง และแสดงว่าพระองค์ทั้งสองไม่เห็นชอบอย่างแน่นอนกับการกดขี่ผู้หญิง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามากในหลายดินแดนในทุกวันนี้.
เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอพิจารณาเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่พระเยซูทรงสนทนากับหญิงชาวซะมาเรียที่บ่อน้ำ. บันทึกในกิตติคุณของโยฮันกล่าวว่า “หญิงชาวซะมาเรียคนหนึ่งมาตักน้ำ” และ “พระเยซูตรัสกับนางว่า ‘ขอน้ำให้เราดื่มหน่อย.’ ” พระเยซูทรงเต็มใจพูดคุยกับหญิงชาวซะมาเรียในที่สาธารณะ แม้ว่าชาวยิวส่วนใหญ่ไม่คบค้าสมาคมกับชาวซะมาเรีย. สารานุกรม ดิ อินเตอร์เนชันแนล สแตนดาร์ด ไบเบิล กล่าวว่า สำหรับชาวยิวแล้ว “การสนทนากับผู้หญิงในที่สาธารณะเป็นสิ่งที่น่าอัปยศอย่างยิ่ง.” อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างให้เกียรติ และคำนึงถึงความรู้สึกของพวกเธอ และพระองค์ไม่มีอคติเรื่องเชื้อชาติหรืออคติต่อเพศหญิง. ตรงกันข้าม หญิงชาวซะมาเรียคนนี้แหละที่พระเยซูได้ตรัสอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่าพระองค์เป็นมาซีฮา.—โยฮัน 4:7-9, 25, 26.
อีกโอกาสหนึ่ง มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาหาพระเยซู นางทนทุกข์มาเป็นเวลา 12 ปีเนื่องจากความอับอายและการเป็นโรคโลหิตตกที่ทำให้อ่อนเปลี้ย. เมื่อนางแตะต้องพระองค์ นางก็หายจากโรคนั้นทันที. “พระเยซูทรงหันมาเห็นนางจึงตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย จงมีกำลังใจเถิด ความเชื่อของเจ้าทำให้เจ้าหายโรค.’ ” (มัดธาย 9:22) ตามพระบัญญัติของโมเซ ผู้หญิงที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ไม่ควรเข้ามาอยู่ในหมู่ฝูงชน อย่าว่าแต่ การไปแตะต้องผู้อื่นเลย. อย่างไรก็ตาม พระเยซูไม่ได้ตำหนินาง. แทนที่จะทำเช่นนั้น พระองค์ทรงปลอบโยนนางด้วยความเมตตา และทรงเรียกนางว่า “ลูกเอ๋ย.” ถ้อยคำเช่นนั้นคงต้องทำให้นางรู้สึกโล่งใจสักเพียงไร! และพระเยซูคงมีความสุขเพียงไรที่ได้รักษาเธอให้หาย!
หลังจากพระเยซูถูกปลุกให้คืนพระชนม์ ทีแรกพระองค์ทรงปรากฏแก่มาเรียมักดาลา และสาวกอีกคนหนึ่งของพระองค์ก่อน ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงผู้นั้นว่าเป็น “มาเรียอีกคนหนึ่ง.” พระเยซูจะปรากฏแก่เปโตร, โยฮัน หรือสาวกคนอื่น ๆ ที่เป็นผู้ชายก่อนก็ได้. แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น พระองค์ทรงให้เกียรติพวกผู้หญิง โดยให้พวกเธอเป็นพยานกลุ่มแรกที่ได้เห็นพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์. ทูตสวรรค์องค์หนึ่งได้สั่งให้พวกเธอไปแจ้งแก่เหล่าสาวกของพระเยซูที่เป็นผู้ชายถึงเหตุการณ์ที่น่าพิศวงนี้. พระเยซูตรัสกับผู้หญิงเหล่านั้นว่า “จงไปบอกพี่น้องของเรา.” (มัดธาย 28:1, 5-10) แน่นอนว่า พระเยซูไม่ได้รับผลกระทบจากอคติใด ๆ ซึ่งมักเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับชาวยิวในสมัยนั้นที่มองว่าผู้หญิงไม่สามารถเป็นพยานในศาลได้.
ดังนั้น แทนที่จะมีอคติต่อผู้หญิงหรือยอมรับทัศนะที่ว่าผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิงในทางหนึ่งทางใด พระเยซูทรงแสดงว่าพระองค์ให้เกียรติผู้หญิงและเห็นคุณค่าของพวกผู้หญิง. ความรุนแรงต่อผู้หญิงตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่พระเยซูทรงสอน เราสามารถแน่ใจได้ว่า ทัศนะของพระองค์เป็นภาพสะท้อนที่สมบูรณ์แบบเกี่ยวกับวิธีที่พระยะโฮวาพระบิดาของพระองค์ทรงมองดูเรื่องต่าง ๆ.
ผู้หญิงภายใต้การดูแลของพระเจ้า
“ในสมัยโบราณ ไม่มีประเทศใดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนหรือตะวันออกใกล้ที่ผู้หญิงจะได้รับเสรีภาพอย่างที่มีอยู่ในสังคมตะวันตกในสมัยปัจจุบัน. รูปแบบที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ ผู้หญิงอยู่ใต้อำนาจผู้ชาย ราวกับทาสที่อยู่ใต้อำนาจผู้เป็นนาย และคนที่อายุอ่อนกว่าอยู่ใต้อำนาจผู้ที่อายุมากกว่า. . . . ถือกันว่าเด็กผู้ชายมีค่ามากกว่าเด็กผู้หญิง และบางครั้งทารกเพศหญิงถูกทิ้งให้ตายไป.” พจนานุกรมคัมภีร์ไบเบิลเล่มหนึ่งพรรณนาถึงทัศนะที่แพร่หลายซึ่งมีต่อผู้หญิงในสมัยโบราณไว้เช่นนั้น. ในหลายกรณี พวกเธอแทบจะถูกจัดไว้ในระดับเดียวกับทาส.
คัมภีร์ไบเบิลถูกเขียนขึ้นในสมัยที่ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ได้สะท้อนให้เห็นทัศนะดังกล่าว. อย่างไรก็ตาม กฎหมายของพระเจ้าดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงได้รับความนับถืออย่างมาก ซึ่งต่างกันอย่างเห็นได้ชัดกับทัศนะของหลาย ๆ วัฒนธรรมในยุคโบราณ.
เยเนซิศ 12:14-20; 20:1-7) พระเจ้าแสดงความโปรดปรานต่อเลอาภรรยาที่ยาโคบรักน้อยกว่า โดย ‘บันดาลให้นางมีครรภ์’ เพื่อนางจะได้ให้กำเนิดบุตรชาย. (เยเนซิศ 29:31, 32) เมื่อนางผดุงครรภ์ชาวอิสราเอลสองคนที่เกรงกลัวพระเจ้าได้ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเด็กผู้ชายชาวฮีบรูในอียิปต์ไม่ให้ถูกฆ่าตายตั้งแต่แรกเกิด พระยะโฮวาทรงแสดงความหยั่งรู้ค่าโดย “บันดาลให้แพทย์ผดุงครรภ์เหล่านั้นมีครอบครัวมั่งคั่ง.” (เอ็กโซโด 1:17, 20, 21) นอกจากนี้ พระองค์ยังตอบคำอธิษฐานด้วยใจแรงกล้าของนางฮันนา. (1 ซามูเอล 1:10, 20) และเมื่อหญิงม่ายซึ่งสามีที่เป็นผู้พยากรณ์ได้เสียชีวิตไป นางต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ที่กำลังจะมาเอาลูกของนางไปเป็นทาสเพื่อใช้หนี้ พระยะโฮวาก็ไม่ทอดทิ้งนางให้ตกระกำลำบาก. ด้วยความรัก พระเจ้าทรงให้ฤทธิ์อำนาจแก่ผู้พยากรณ์อะลีซาเพื่อทำให้มีน้ำมันมากพอที่นางจะนำไปชำระหนี้ได้ และยังมีน้ำมันเหลือพอที่จะใช้ในครอบครัวของนางด้วย. ด้วยเหตุนี้ นางจึงดูแลครอบครัวให้อยู่รอดและรักษาศักดิ์ศรีของนางไว้ได้.—เอ็กโซโด 22:22, 23; 2 กษัตริย์ 4:1-7.
ความห่วงใยของพระยะโฮวาในเรื่องสวัสดิภาพของผู้หญิงนั้นเห็นได้ชัดเจนในหลาย ๆ ตัวอย่าง ซึ่งพระองค์ทรงดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือพวกผู้หญิงที่เป็นผู้นมัสการพระองค์. พระองค์เข้าแทรกแซงเหตุการณ์ทั้งสองครั้งเพื่อช่วยซาราภรรยาที่มีรูปโฉมงดงามของอับราฮามไม่ให้ถูกล่วงเกิน. (พวกผู้พยากรณ์ประณามครั้งแล้วครั้งเล่าเรื่องการแสวงประโยชน์จากผู้หญิงและการใช้ความรุนแรงกับพวกเธอ. ผู้พยากรณ์ยิระมะยากล่าวแก่ชาวอิสราเอลในนามของพระยะโฮวาว่า “เจ้าทั้งหลายจงประพฤติเป็นความสัตย์แลชอบธรรม, แลช่วยผู้ที่ต้องเสียเปล่าให้ออกจากมือของผู้ข่มขี่, แลอย่าทำการผิด, อย่าทำร้ายแก่ผู้ต่างประเทศ, แก่คนกำพร้า, แลแก่หญิงม่าย.” (ยิระมะยา 22:2, 3) หลังจากนั้น คนมั่งมีและผู้มีอำนาจก็ถูกประณามเนื่องจากพวกเขาได้ขับไล่พวกผู้หญิงออกจากบ้านเรือนของตนและปฏิบัติต่อลูก ๆ ของเธออย่างไร้ความปรานี. (มีคา 2:9) พระเจ้าแห่งความยุติธรรมทรงมองเห็นและตำหนิว่าการทำให้ผู้หญิงและลูก ๆ ของเธอต้องทนทุกข์ทรมานเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ชั่วช้ามาก.
“สตรีที่เป็นแม่เรือนดี”
ผู้เขียนพระธรรมสุภาษิตในสมัยโบราณได้แสดงให้เห็นทัศนะที่เหมาะสมเกี่ยวกับภรรยาที่เป็นแม่เรือนดี. เนื่องจากคำพรรณนาที่สวยงามในเรื่องบทบาทและสถานะของภรรยาถูกรวมเข้าไว้ในพระคำของพระยะโฮวา เราจึงแน่ใจได้ว่าพระองค์ทรงเห็นชอบกับเรื่องนี้. แทนที่ผู้หญิงจะถูกกดขี่หรือถูกมองว่าอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่า เธอกลับได้รับการยกย่อง, ได้รับความนับถือ และได้รับความไว้วางใจ.
“สตรีที่เป็นแม่เรือนดี” ตามสุภาษิตบท 31 คือผู้ที่ทำงานอย่างแข็งขันและมีความอุตสาหะ. นางมีความมุมานะที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ และทำการค้าขายรวมทั้งทำการซื้อขายที่ดินด้วย. นางดูที่นาและดำเนินการเพื่อซื้อเอาไว้. นางทำเครื่องนุ่งห่มขายและทำผ้าคาดเอวส่งพ่อค้า. นางทำงานอย่างขยันขันแข็ง. นอกจากนี้ นางยังพูดจาเฉลียวฉลาดและความกรุณารักใคร่ของนางก็เป็นที่หยั่งรู้ค่าอย่างยิ่ง. ผลคือ นางได้รับการยกย่องอย่างมากจากสามี, จากลูก ๆ, และที่สำคัญที่สุดคือจากพระยะโฮวา.
ผู้หญิงหาใช่ผู้ที่จะต้องถูกกดขี่โดยพวกผู้ชายที่คอยแสวงประโยชน์จากพวกเธอ, ปฏิบัติต่อพวกเธออย่างโหดร้าย, หรือข่มเหงรังแกพวกเธอไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผู้หญิงที่สมรสแล้วควรจะเป็นคนที่มีความสุขเยเนซิศ 2:18.
และสามารถเป็น ‘คู่เคียงที่เหมาะ’ กับสามีของเธอ.—ให้เกียรติพวกเธอ
เมื่อเขียนถึงสามีคริสเตียนเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาควรปฏิบัติต่อภรรยาของตน เปโตร ผู้เขียนซึ่งได้รับการดลใจได้กระตุ้นเตือนสามีให้เลียนแบบทัศนะของพระยะโฮวาและพระเยซู. เปโตรเขียนว่า ‘ท่านทั้งหลายที่เป็นสามี จงให้เกียรตินางต่อ ๆ ไป.’ (1 เปโตร 3:7) การให้เกียรติ บุคคลหนึ่งบอกเป็นนัย ๆ ว่า คนเราเห็นคุณค่าและนับถือคนนั้นอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนี้ ผู้ชายที่ให้เกียรติภรรยาของตนจึงไม่ดูถูกเธอ, เหยียดหยามเธอ, หรือปฏิบัติต่อเธออย่างโหดร้ายทารุณ. แทนที่จะทำเช่นนั้น เขาแสดงออกโดยทางคำพูดและการกระทำทั้งในที่สาธารณะและในที่ส่วนตัวว่า เขารักและทะนุถนอมเธอ.
การให้เกียรติภรรยาของตนย่อมทำให้มีความสุขในชีวิตสมรสอย่างแน่นอน. ขอพิจารณาตัวอย่างของคาร์ลอสกับเซซีเลีย. บางช่วงในชีวิตสมรส พวกเขารู้สึกว่าตนมักจะโต้เถียงกันด้วยเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่บ่อย ๆ แต่ก็ไม่เคยได้ข้อสรุปเลย. บางครั้ง พวกเขาต่างคนต่างเงียบไม่ยอมพูดจากัน. เขาทั้งสองไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร. เขาก้าวร้าว ส่วนเธอก็เรียกร้องและเย่อหยิ่ง. อย่างไรก็ตาม เมื่อทั้งคู่เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และนำหลักการที่ได้เรียนไปใช้ สิ่งต่าง ๆ ก็เริ่มดีขึ้น. เซซีเลียกล่าวว่า “ดิฉันตระหนักว่า คำสอนของพระเยซูและตัวอย่างที่พระองค์ทรงวางไว้ได้เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของดิฉัน และของสามีดิฉันด้วย. เนื่องจากตัวอย่างของพระเยซูนี้เอง ดิฉันจึงกลายเป็นคนที่มีความถ่อมใจและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น. ดิฉันเรียนที่จะแสวงหาความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน เช่นเดียวกับที่พระเยซูทำ. คาร์ลอสก็เรียนที่จะเป็นคนผ่อนหนักผ่อนเบามากขึ้นและพยายามควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เพื่อให้เกียรติภรรยาของเขาดังที่พระยะโฮวาทรงประสงค์.”
ชีวิตสมรสของพวกเขาใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบ แต่ก็ฟันฝ่ามาได้ตลอดระยะเวลาหลายปี. เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พวกเขาประสบปัญหาอย่างหนัก คาร์ลอสตกงานและต้องได้รับการผ่าตัดเนื่องจากเป็นมะเร็ง. อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่หนักหน่วงเหล่านี้ไม่ได้ทำให้สายสัมพันธ์ในชีวิตสมรสของพวกเขาคลอนแคลน แต่กลับแข็งแกร่งขึ้นด้วยซ้ำ.
ตั้งแต่ที่มนุษยชาติได้ทำบาปและกลายเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ ผู้หญิงในหลายวัฒนธรรมก็ได้รับการปฏิบัติอย่างที่เป็นการหลู่เกียรติพวกเธอ. พวกเธอถูกทำร้ายทางร่างกาย, ทางจิตใจ, และทางเพศ. แต่พระยะโฮวาไม่ทรงประสงค์ที่จะให้พวกเธอได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าแง่คิดทางวัฒนธรรมที่แพร่หลายอยู่นี้จะเป็นเช่นไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างที่มีเกียรติและได้รับความนับถือ. พระเจ้าทรงถือว่านั่นเป็นสิ่งที่พวกเธอสมควรได้รับ.
[ภาพหน้า 4, 5]
หญิงชาวซะมาเรีย
[ภาพหน้า 4, 5]
ผู้หญิงที่เจ็บป่วย
[ภาพหน้า 4, 5]
มาเรียมักดาลา
[ภาพหน้า 6]
พระยะโฮวาทรงปกป้องคุ้มครองซาราสองครั้ง
[ภาพหน้า 7]
ชีวิตสมรสของคาร์ลอสกับเซซีเลียที่เคยร้าวฉาน
[ภาพหน้า 7]
คาร์ลอสกับเซซีเลียในปัจจุบัน