ปัญหาอาชญากรรมจะแก้ได้ไหม?
ปัญหาอาชญากรรมจะแก้ได้ไหม?
“การศึกษาวิจัยแสดงว่า ผู้กระทำความผิดซ้ำส่วนใหญ่จะเป็นภัยสังคมต่อไป แม้กระทั่งหลังจากถูกจำคุก และจะก่อความเสียหายต่อไปอีกมากมายทีเดียว ซึ่งไม่อาจวัดเป็นตัวเงินได้.”—ในความคิดของอาชญากร (ภาษาอังกฤษ) เขียนโดย ดร. สแตนตัน อี. เซเมโนว์.
ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนในโลกก็ดูเหมือนจะมีอาชญากรรมที่น่าตกใจชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน. ฉะนั้น จึงนับว่ามีเหตุผลที่จะถามว่า มาตรการป้องปรามอาชญากรรมที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ เช่น บทลงโทษอย่างรุนแรง, การจำคุก, และมาตรการอื่น ๆ ใช้ได้ผลไหม? การจำคุกดัดนิสัยอาชญากรได้ไหม? สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ สังคมกำลังจัดการกับสาเหตุที่แท้จริงของอาชญากรรมอยู่ไหม?
เกี่ยวกับมาตรการป้องปรามอาชญากรรมในเวลานี้ ดร. สแตนตัน อี. เซเมโนว์เขียนว่า “หลังจากถูกจำคุก [อาชญากร] อาจจะฉลาดมากขึ้นและรอบคอบมากขึ้น แต่เขาก็ยังคงแสวงประโยชน์จากคนอื่น ๆ และก่ออาชญากรรมต่อไป. สถิติของการกระทำผิดซ้ำซาก [การกลับไปก่ออาชญากรรมอีก] บ่งชี้ได้แต่ว่าเขาประมาทเลินเล่อจนทำให้ถูกจับกุมได้ [อีก] หรือไม่.” ดังนั้น ที่จริงบ่อยครั้งเรือนจำกลายเป็นเหมือนโรงเรียนสำหรับพวกอาชญากร และโดยไม่ตั้งใจได้ช่วยฝึกฝนพวกเขาให้ต่อต้านสังคม.—ดูกรอบ “ ‘โรงเรียนสอนอาชญากรรม’ หรือ?” หน้า 7.
ยิ่งกว่านั้น มีการก่ออาชญากรรมหลายอย่างที่รอดพ้นจากการถูกลงโทษ จึงทำให้ผู้ทำผิดกฎหมายสรุปว่าอาชญากรรมนั้นให้ผลคุ้มค่าจริง ๆ. ข้อสรุปเช่นนี้อาจทำให้พวกเขายิ่งย่ามใจและมุ่งมั่นยิ่งขึ้นที่จะทำตามแนวทางของตน. ผู้ปกครองที่เฉลียวฉลาดคนหนึ่งเคยเขียนว่า “เพราะการตัดสินการกระทำชั่วนั้นเขาไม่ได้ลงโทษโดยเร็วเหตุฉะนั้นใจบรรดาบุตรของมนุษย์จึงเจตนามุ่งที่จะกระทำความอธรรม.”—ท่านผู้ประกาศ 8:11, ฉบับแปลใหม่.
เป็นอาชญากรเพราะความจำเป็นหรือเพราะเลือกเอง?
อาชญากรรมเป็นทางเลือกทางเดียวเท่านั้นที่บางคนจำต้องทำเพื่อความอยู่รอดไหม? เซเมโนว์ยอมรับว่า “ผมเคยคิดว่าอาชญากรรมแทบจะเป็นปฏิกิริยาปกติ หรือถึงกับเป็นปฏิกิริยาที่สมเหตุสมผลที่มีต่อความยากจนข้นแค้น, ความไม่มั่นคง, และความสิ้นหวังซึ่งมีอยู่ในทุกอณูของชีวิต [อาชญากร].” อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการวิจัยอย่างถี่ถ้วน เขาก็เปลี่ยนความคิด. เขาลงความเห็นว่า “อาชญากรเลือกที่จะก่ออาชญากรรม.” เซเมโนว์เสริมว่า “อาชญากรรม . . . ‘เกิด’ จากวิธีคิดของ [คนนั้น] ไม่ใช่จากสภาพแวดล้อมของเขา. ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมเป็นผลพวงจากความคิด. ทุกสิ่งที่เราทำเริ่มจากการคิดถึงสิ่งที่จะทำก่อน, คิดระหว่างที่ทำสิ่งนั้น, และคิดหลังจากที่ทำสิ่งนั้นไปแล้ว.” ดังนั้น แทนที่จะมองว่าอาชญากรเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน เซเมโนว์ได้ข้อสรุปว่า “พวกเขาเป็นผู้ก่อความเดือดร้อนให้คนอื่น ซึ่งพวกเขาได้เลือกแนวทางชีวิตของตนเองด้วยความสมัครใจ.” *
คำสำคัญคือ เขา “เลือก” ที่จะเป็น. ที่จริง เมื่อเร็ว ๆ นี้พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่งกล่าวว่า “สำหรับคนหนุ่ม ๆ ในเมืองกรุงซึ่งใฝ่ฝันว่าจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาชญากรรมเป็นอาชีพที่พวกเขาเลือก.” มนุษย์มีเจตจำนงเสรีและสามารถเลือกแนวทางชีวิตที่ตนต้องการ แม้แต่เมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากก็ตาม. แน่นอนว่า ในแต่ละวันหลายล้านคนต้องสู้ทนกับความอยุติธรรมในสังคมและความยากจน หรืออาจจะอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหา แต่พวกเขาก็ไม่ได้กลายเป็นอาชญากร. เซเมโนว์กล่าวว่า “อาชญากรเป็นผู้ก่ออาชญากรรม ไม่ใช่เพราะอยู่ในละแวกที่ไม่ดี, พ่อแม่ด้อยความสามารถ, . . . หรือการว่างงาน. การกระทำที่ผิดกฎหมายมีอยู่ในจิตใจมนุษย์และไม่ได้เกิดจากสภาพทางสังคม.”
อาชญากรรมเริ่มจากภายใน
คัมภีร์ไบเบิลมุ่งเน้นบุคคลที่อยู่ภายในตัวเขา ไม่ใช่สภาพแวดล้อมของเขา. ยาโกโบ 1:14, 15 กล่าวว่า “ทุกคนถูกทดสอบโดยที่ความปรารถนาของเขาเอง ชักนำและล่อใจ. เมื่อความปรารถนานั้นมากพอจะเกิดผลก็จะทำให้เกิดบาป.” เมื่อคนเราคิดสิ่งชั่ว เขาก็บ่มเพาะความปรารถนาที่ผิด. ผล คือ ความปรารถนานั้นอาจนำไปสู่การกระทำที่ก่อความเสียหาย. ตัวอย่างเช่น การดูสื่อลามกเป็นครั้งคราวอาจค่อย ๆ ทำให้คนเราครุ่นคิดถึงแต่เรื่องเพศ ซึ่งในที่สุดจะกระตุ้นเขาให้ลงมือทำตามความคิดอันเพ้อฝันของเขา บางทีอาจเป็นในแบบที่ผิดกฎหมายก็ได้.
อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การที่ผู้คนในโลกมุ่งสนใจแต่ตัวเอง, เงินทอง, ความเพลิดเพลิน, และการสนองความต้องการของตัวเองในทันที. คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าเกี่ยวกับสมัยของเราว่า “ในสมัยสุดท้าย . . . คนจะรักตัวเอง รักเงิน . . . ดุร้าย ไม่รักความดี [และ] รักการสนุกสนานแทนที่จะรักพระเจ้า.” (2 ติโมเธียว 3:1-5) น่าเศร้า โลกนี้ได้ส่งเสริมนิสัยเหล่านั้นทั้งโดยทางภาพยนตร์, วิดีโอเกม, สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ, และบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่เป็นตัวอย่างไม่ดี ซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดอาชญากรรมมากยิ่งขึ้น. * ทว่า ผู้คนแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่ออิทธิพลเหล่านั้น. ที่จริง บางคนซึ่งครั้งหนึ่งเคยพ่ายแพ้มาแล้ว ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงทั้งในด้านความคิดและวิธีดำเนินชีวิตของเขา.
คนเราเปลี่ยนได้!
เมื่อเป็นอาชญากรแล้วไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นอาชญากรตลอดไป. หนังสือในความคิดของอาชญากร กล่าวว่า คนเราอาจเลือกที่จะเป็นอาชญากรฉันใด เขาก็อาจ “ตัดสินใจเดินในแนวทางใหม่และเรียนที่จะใช้ชีวิตอย่างซื่อตรงและก่อผลในทางที่ดีได้ฉันนั้น.”
ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้คนทุกภูมิหลังสามารถเปลี่ยนได้. * สิ่งที่ต้องมีก็คือ ความเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนทั้งเจตคติ, แรงกระตุ้นภายใน, และแบบแผนทางความคิดของคนคนนั้น เพื่อที่สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นไปตามค่านิยมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของมนุษย์ แต่จะเป็นไปตามมาตรฐานอันมั่นคงของพระผู้สร้างของเรา. ถ้าจะว่าไป ใครเล่าจะรู้จักเราดีเท่ากับผู้ที่สร้างตัวเราขึ้นมา? ยิ่งกว่านั้น พระเจ้ามีสิทธิ์ตัดสินใจว่าอะไรดีอะไรไม่ดีสำหรับครอบครัวมนุษย์ มิใช่หรือ? เพื่อจะทำเช่นนั้น พระองค์ทรงดลใจมนุษย์ที่เกรงกลัวพระเจ้าราว ๆ 40 คนให้เขียนสิ่งที่เราเรียกกันว่า คัมภีร์ไบเบิลบริสุทธิ์ หนังสือที่น่าทึ่งซึ่งอาจเรียกได้อย่างเหมาะสมว่าเป็นคู่มือสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีจุดมุ่งหมายของมนุษยชาติ.—2 ติโมเธียว 3:16, 17.
การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อทำให้พระเจ้าพอพระทัยนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเราต้องต้านทานอิทธิพลของแนวโน้มที่ผิดบาปในตัวเรา. ที่จริง ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งพรรณนาถึงความขัดแย้งภายในตัวของเขาว่าเป็นเหมือน ‘การต่อสู้’! (โรม 7:21-25) เขาชนะการต่อสู้ได้ก็เพราะเขาไม่ได้วางใจในกำลังของตนเอง แต่วางใจในกำลังของพระเจ้า ซึ่งพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระองค์ ‘มีชีวิตและทรงพลัง.’—ฮีบรู 4:12.
พลังของ “อาหาร” ที่มีประโยชน์
เพื่อจะมีร่างกายแข็งแรง ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ. นอกจากนี้ก็ต้องมีการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดและการย่อย ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายาม. ในทำนองเดียวกัน เพื่อเราจะมีความคิดจิตใจที่ดีงาม เราก็ต้องนำคำตรัสของพระเจ้ามา “ขบคิด” เพื่อให้คำเหล่านั้นซึมซาบเข้าไปในหัวใจและจิตใจของเรา. (มัดธาย 4:4) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “สิ่งใดที่จริง สิ่งใดที่ควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง สิ่งใดที่ชอบธรรม สิ่งใดที่บริสุทธิ์ สิ่งใดที่น่ารัก สิ่งใดที่มีการกล่าวถึงในทางดี ถ้ามีคุณความดีประการใดและถ้ามีสิ่งใดที่น่าสรรเสริญ จงใคร่ครวญ สิ่งเหล่านั้นต่อ ๆ ไป . . . แล้วพระเจ้าแห่งสันติสุขจะอยู่กับพวกท่าน.”—ฟิลิปปอย 4:8, 9.
โปรดสังเกตว่าเราต้อง ‘ใคร่ครวญต่อ ๆ ไป’ เกี่ยวกับความคิดของพระเจ้า หากเราอยากให้บุคลิกภาพใหม่เข้ามาแทนที่บุคลิกภาพเก่า. ความอดทนเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากการพัฒนาทางความคิดจิตใจที่ดีงามไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน.—โกโลซาย 1:9, 10; 3:8-10.
2 โครินท์ 3:17 ซึ่งกล่าวว่า “พระยะโฮวาทรงเป็นองค์วิญญาณ. พระวิญญาณของพระยะโฮวาอยู่ที่ไหน ก็มีเสรีภาพที่นั่น.” ที่จริง แม้ว่าจะถูกจองจำ แต่เธอกลับมีเสรีภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน.
ลองพิจารณาตัวอย่างของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเคยถูกทำร้ายทางเพศในวัยเด็ก; เธอเริ่มเสพยา, ดื่มเหล้า, และสูบบุหรี่; และตอนนี้เธอก็กำลังถูกจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากข้อหาอาชญากรรมหลายข้อหา. ขณะอยู่ในเรือนจำ เธอเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาและความจริงที่เธอได้เรียนรู้ก็ซึมซาบเข้าไปในหัวใจของเธอ. ผลเป็นอย่างไร? ทีละเล็กทีละน้อย บุคลิกภาพแบบเก่า ๆ ของเธอก็ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยบุคลิกภาพใหม่แบบคริสเตียน. เวลานี้เธอไม่ได้ตกเป็นทาสของความคิดที่บ่อนทำลายและความประพฤติที่ผิดศีลธรรมอีกต่อไป. ข้อคัมภีร์หนึ่งที่เธอชื่นชอบมากอยู่ที่พระเจ้าทรงเมตตากรุณา
ในสายพระเนตรของพระยะโฮวา ไม่มีใครที่พระองค์ถือว่าเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้เลย. * พระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าตรัสว่า “เราไม่ได้มาเรียกคนชอบธรรม แต่มาเรียกคนบาปให้กลับใจ.” (ลูกา 5:32) จริงอยู่ การเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เข้ากับมาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลอาจเป็นเรื่องยาก. แต่คนที่ประสบความสำเร็จก็คือคนที่อดทนและใช้ประโยชน์จากการช่วยเหลือที่พระเจ้าจัดเตรียมให้ รวมทั้งการสนับสนุนด้วยความรักจากเหล่าคริสเตียนที่ดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้า. (ลูกา 11:9-13; กาลาเทีย 5:22, 23) เพื่อวัตถุประสงค์นี้ พยานพระยะโฮวาจึงไปที่เรือนจำทั่วโลกเป็นประจำ เพื่อนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลฟรีกับนักโทษที่มีความจริงใจทั้งชายและหญิงซึ่งเคยก่ออาชญากรรมมาสารพัดรูปแบบ. * นอกจากนี้ พยานฯ ยังได้จัดการประชุมเพื่อการศึกษาพระคัมภีร์ประจำสัปดาห์ในเรือนจำหลายแห่งด้วย.—ฮีบรู 10:24, 25.
แม้ผู้ที่เคยทำชั่วในอดีตบางคนได้ละทิ้งแนวทางชีวิตของตนและกลายมาเป็นคริสเตียนพยานพระยะโฮวาแล้วก็ตาม แต่คัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงเรื่อง ‘ความชั่วที่ทวีขึ้น.’ (มัดธาย 24:12) ดังที่เราจะเห็นได้ในบทความถัดไป คำพยากรณ์นั้นเป็นส่วนของคำพยากรณ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าซึ่งมีข่าวที่ดีมากบางอย่างรวมอยู่ด้วย.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 การป่วยทางจิตอาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอาชญากรรมบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบางประเทศที่ผู้มีอาการป่วยทางจิตถูกปล่อยให้เดินเตร็ดเตร่อยู่ตามถนนและมีโอกาสหยิบฉวยอาวุธได้ง่าย. อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้มุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่สลับซับซ้อนนั้น.
^ วรรค 11 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรม โปรดดูตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 22 กุมภาพันธ์ 1998 หน้า 3-9 เรื่อง “โลกที่ปราศจากอาชญากรรม—เมื่อไร?” และตื่นเถิด! ฉบับ 8 สิงหาคม 1985 หน้า 3-16 ภายใต้หัวเรื่อง “เป็นไปได้ไหมที่อาชญากรรมบนท้องถนนจะไม่มีอีกเลย?”
^ วรรค 14 บ่อยครั้ง วารสารนี้และวารสารหอสังเกตการณ์ ที่ออกคู่กัน เล่าถึงคนซึ่งเลิกเป็นอาชญากรได้เพราะพลังกระตุ้นที่มาจากความจริงของคัมภีร์ไบเบิล. โปรดดูตื่นเถิด! ฉบับเดือนกรกฎาคม 2006 หน้า 11-13, และฉบับ 8 ตุลาคม 2005 หน้า 20-21, รวมทั้งหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 มกราคม 2000 หน้า 4-5; ฉบับ 15 ตุลาคม 1998 หน้า 27-29; และฉบับ 15 กุมภาพันธ์ 1997 หน้า 21-24.
[คำโปรยหน้า 5]
หลายล้านคนที่ต้องสู้ทนกับความยากจนไม่ได้กลายเป็นอาชญากร
[กรอบหน้า 6, 7]
“กลับเข้าคุกอีกภายในสองปี”
ใต้พาดหัวข่าวนี้ หนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ แห่งลอนดอนประเทศอังกฤษ รายงานว่า ในบริเตนมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาลักทรัพย์ ได้ถูกตัดสินลงโทษซ้ำอีกภายในสองปี. อาชญากรรมหลายอย่างเกิดจากผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเงินอย่างมากเพื่อเอามาใช้จ่ายสำหรับนิสัยที่สิ้นเปลืองและก่อความเสียหายให้กับตัวเอง.
[กรอบหน้า 7]
“โรงเรียนสอนอาชญากรรม” หรือ?
ศาสตราจารย์จอห์น เบรทเวต เขียนในวารสารยูซีแอลเอ ลอว์ รีวิว ว่า “คุกเป็นโรงเรียนสอนอาชญากรรม.” ดร. สแตนตัน อี. เซเมโนว์ กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อในความคิดของอาชญากร ว่า “อาชญากรส่วนใหญ่เรียนรู้จากประสบการณ์” แต่ไม่ได้เรียนสิ่งที่สังคมอยากให้เขาเรียน. เซเมโนว์เขียนว่า “ในคุก นักโทษมีเวลาและมีโอกาสมากพอจะเรียนรู้วิธีที่จะเป็นอาชญากรที่เก่งกาจขึ้น. . . . อันที่จริง บางคนกลายเป็นอาชญากรที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยทุ่มเทตัวเองอย่างหนักในการก่ออาชญากรรม แถมยังมีเล่ห์เหลี่ยมมากพอที่จะเอาตัวรอดจากการถูกจับกุมได้.”
ในบทท้าย ๆ เซเมโนว์กล่าวว่า “การจำคุกไม่ได้เปลี่ยนนิสัยที่ฝังรากลึกของอาชญากร. ไม่ว่าเขาจะอยู่บนถนน หรืออยู่ในคุก เขาก็พยายามหาทางติดต่อกับเพื่อนฝูงของพวกเขา, เรียนรู้กลเม็ดใหม่ ๆ ในอาชีพนี้, และถ่ายทอดเคล็ดวิชาบางอย่างของตนให้แก่คนอื่น ๆ.” อาชญากรหนุ่มคนหนึ่งบอกว่า “การถูกจำคุกทำให้ผมมีคุณวุฒิเป็นครูสอนอาชญากรรมได้.”