ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

จะงอยปากของหมึก

จะงอยปากของหมึก

มี​ผู้​ออก​แบบ​ไหม?

จะงอย​ปาก​ของ​หมึก

▪ จะงอย​ปาก​ของ​หมึก​ทำ​ให้​พวก​นัก​วิทยาศาสตร์​งุนงง. พวก​เขา​นึก​สงสัย​ว่า ‘สิ่ง​ที่​แข็ง​มาก​จะ​ติด​เข้า​กับ​ร่าง​กาย​ที่​ไร้​กระดูก​ได้​อย่าง​ไร? การ​ติด​สิ่ง​ที่​แข็ง​เข้า​กับ​สิ่ง​ที่​อ่อน​เช่น​นั้น​จะ​ทำ​ให้​เนื้อ​เยื่อ​ของ​หมึก​ถูก​เสียดสี​และ​ทำ​ให้​มัน​เจ็บ​มิ​ใช่​หรือ?’

ขอ​พิจารณา: หมึก​มี​จะงอย​ปาก​ที่​แข็ง ขณะ​ที่​โคน​ของ​จะงอย​ปาก​กลับ​อ่อน​นุ่ม. จะงอย​ปาก​ของ​หมึก​ประกอบ​ด้วย​ไคทิน, น้ำ, และ​โปรตีน ซึ่ง​จะงอย​ปาก​แต่​ละ​ส่วน​จะ​มี​ความ​แข็ง​ไม่​เท่า​กัน โดย​ค่อย ๆ ไล่​จาก​ส่วน​โคน​ที่​อ่อน​นุ่ม​ไป​จน​ถึง​ส่วน​ปลาย​ที่​แข็ง โดย​วิธี​นี้​หมึก​จึง​สามารถ​ใช้​จะงอย​ปาก​ได้​โดย​ไม่​เกิด​การ​เสียดสี​อย่าง​ที่​จะ​ทำ​ให้​มัน​บาดเจ็บ.

ศาสตราจารย์​แฟรงก์ โซก ประจำ​มหาวิทยาลัย​แคลิฟอร์เนีย กล่าว​ว่า การ​ศึกษา​จะงอย​ปาก​ของ​หมึก​อาจ “เป็น​การ​ปฏิรูป​วิธี​คิด​ของ​พวก​วิศวกร​เกี่ยว​กับ​การ​ติด​วัสดุ​ชนิด​ต่าง ๆ เข้า​ด้วย​กัน​ซึ่ง​นำ​ไป​ใช้​ประโยชน์​ได้​มาก​มาย.” ประโยชน์​อย่าง​หนึ่ง​ที่​อาจ​นำ​ไป​ประยุกต์​ใช้​ได้​ก็​คือ​การ​ทำ​แขน​ขา​เทียม. อาลี มีเซอเรส นัก​วิจัย​คน​หนึ่ง​ที่​อยู่​ใน​มหาวิทยาลัย​เดียว​กัน​นั้น จินตนาการ​ถึง “การ​ทำ​แขน​ขา​เทียม​ซึ่ง​เลียน​แบบ​ส่วน​ประกอบ​ทาง​เคมี​ของ​จะงอย​ปาก​หมึก เพื่อ​ให้​ปลาย​ด้าน​หนึ่ง​ของ​แขน​ขา​เทียม​มี​ความ​ยืดหยุ่น​แบบ​เดียว​กับ​กระดูก​อ่อน ส่วน​ปลาย​อีก​ด้าน​หนึ่ง” ก็​ทำ​ด้วย “วัสดุ​ที่​แข็ง​มาก​และ​ทน​ต่อ​การ​เสียดสี.”

คุณ​คิด​อย่าง​ไร? จะงอย​ปาก​ของ​หมึก​ที่​มี​ความ​แข็ง​ไม่​เท่า​กัน​โดย​ค่อย ๆ ไล่​จาก​ปลาย​ไป​จน​ถึง​โคน​นั้น​เป็น​เรื่อง​ที่​เกิด​ขึ้น​โดย​บังเอิญ​ไหม? หรือ​มี​ผู้​ออก​แบบ?

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 9]

© Bob Cranston/SeaPics.com

© Richard Herrmann/SeaPics.com