อคติและความลำเอียง—อะไรเป็นสาเหตุ?
อคติและความลำเอียง—อะไรเป็นสาเหตุ?
“มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรมและควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ.”—ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1
ทั้ง ๆ ที่มีอุดมการณ์อันสูงส่งเช่นนี้ อคติและความลำเอียงก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปในโลก. เรื่องที่น่าเศร้านี้ไม่เพียงแสดงว่าเราอยู่ในยุควิกฤติ แต่ยังแสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ด้วย. (บทเพลงสรรเสริญ 51:5) กระนั้นก็ดี สภาพการณ์ยังไม่สิ้นหวังเสียทีเดียว. จริงอยู่ เราไม่อาจขจัดความลำเอียงที่เห็นอยู่ทั่วไปได้ แต่เราพยายามถอนรากอคติที่อาจมีอยู่ในตัวเราได้.
เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าใครก็อาจมีอคติได้. หนังสือการเข้าใจอคติและความลำเอียง (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “บางทีข้อสรุปที่อาจถือว่าสำคัญที่สุดจากการค้นคว้าวิจัยเรื่องอคติคือ (1) ในบรรดามนุษย์ที่มีความสามารถในการคิดและพูดไม่มีใครพ้นจากอคติได้, (2) บ่อยครั้งการจะลดอคติต้องอาศัยความมุ่งมั่น, และ (3) ถ้าตั้งใจจริง ๆ แล้วเรื่องนี้ก็ทำได้.”
มีการเรียกการศึกษาว่า “เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุด” ในการต่อสู้กับอคติ. ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่ถูกต้องสามารถเปิดเผยสาเหตุของอคติและทำให้เราวิเคราะห์เจตคติที่แท้จริงของตัวเองได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และช่วยเราให้สุขุมรอบคอบเมื่อประสบอคติ.
รู้สาเหตุ
อคติเป็นเหตุให้ผู้คนบิดเบือน ตีความผิด ๆ หรือกระทั่งเพิกเฉยข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกับความคิดเดิมของตน. อคติอาจเริ่มต้นจากค่านิยมผิด ๆ ของครอบครัวที่ดูไม่มีพิษมีภัย หรืออาจเกิดจากคนที่จงใจส่งเสริมทัศนะผิด ๆ เกี่ยวกับชนชาติอื่นหรือวัฒนธรรมอื่น. นอกจากนั้น อคติอาจถูกกระตุ้นโดยลัทธิชาตินิยมหรือคำสอนเท็จทางศาสนา และอาจเป็นผลมาจากความหยิ่งทะนงด้วย. ขณะที่คุณไตร่ตรองจุดต่าง ๆ ต่อไปนี้และคิดถึงหลักการที่เกี่ยวข้องซึ่งมาจากคัมภีร์ไบเบิล ลองตรวจสอบเจตคติของตัวเองดูว่ามีอะไรควรเปลี่ยนแปลงหรือไม่.
การคบหา. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ชอบอยู่เป็นหมู่เป็นพวก และนั่นเป็นสิ่งที่ดี. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และสุภาษิต 18:1) อย่างไรก็ตาม เราควรเลือกคนที่จะคบด้วยอย่างรอบคอบ เพราะคนเหล่านั้นส่งผลต่อตัวเราได้มาก. ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่ที่สุขุมจะใส่ใจอย่างมากว่าลูกกำลังคบหากับใคร. การวิจัยแสดงว่า เด็ก ๆ แม้อายุเพียงสามขวบก็สามารถมีอคติต่อคนชาติอื่นได้แล้ว เนื่องจากเด็กเลียนแบบเจตคติ, คำพูด, และกิริยาท่าทางของคนอื่น ๆ. แน่นอน พ่อแม่เองควรพยายามเต็มที่เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก เนื่องจากรู้ว่าตนมีบทบาทสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมความคิดจิตใจของลูก.
ค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.” (▪ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไร? “จงฝึกสอนเด็กให้ประพฤติตามทางที่ควรจะประพฤตินั้น: และเมื่อแก่ชราแล้วเขาจะไม่เดินห่างจากทางนั้น.” (สุภาษิต 22:6) “บุคคลที่ดำเนินกับคนมีปัญญาก็จะเป็นคนมีปัญญา แต่คนที่คบกับคนโฉดเขลาย่อมจะรับความเสียหาย.” (สุภาษิต 13:20, ล.ม.) ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ คุณอาจถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังชี้นำลูกไปในทางที่ถูกต้องและชอบธรรมในสายพระเนตรของพระเจ้าหรือไม่? ฉันกำลังคบหากับคนที่ส่งผลในทางดีต่อตัวฉันหรือไม่? ฉันเป็นแรงจูงใจที่ดีให้กับคนอื่น ๆ หรือไม่?’—สุภาษิต 2:1-9
ชาตินิยม. พจนานุกรมฉบับหนึ่งนิยามคำชาตินิยมไว้ว่า “ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่.” อีโว ดูคาเชก ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ เขียนในหนังสือชื่อความขัดแย้งและความร่วมมือในชาติต่าง ๆ (ภาษาอังกฤษ) ดังนี้: “ชาตินิยมแบ่งมวลมนุษย์เป็นหลายฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน. ผลก็คือ ผู้คนจะมองคนอื่นเป็นคนอเมริกัน, คนรัสเซีย, คนจีน, คนอียิปต์, หรือคนเปรูก่อน แล้วจึงค่อยมองว่าเป็นมนุษย์ หรือไม่ได้มองเช่นนั้นเลยด้วยซ้ำ.” อดีตเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติเขียนว่า “ปัญหาหลายอย่างที่เราเผชิญในทุกวันนี้เป็นผลมาจากเจตคติผิด ๆ และบางอย่างก็เข้ามาในความคิดของผู้คนโดยแทบไม่รู้ตัว. เจตคติอย่างหนึ่งคือชาตินิยม—‘จะผิดจะถูกอย่างไรก็เป็นชาติของข้า.’ ”
▪ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไร? “เพราะว่าพระเจ้าทรงรัก [มนุษยชาติทั้งสิ้น] มากจนถึงกับประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคน ที่แสดงความเชื่อในพระบุตรจะไม่ถูกทำลาย แต่จะมีชีวิตนิรันดร์.” (โยฮัน 3:16) “พระเจ้าไม่ทรงลำเอียง แต่พระองค์ทรงชอบพระทัยคนที่ยำเกรงพระองค์และประพฤติชอบธรรมไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด.” (กิจการ 10:34, 35) ขอให้ถามตัวเองว่า ‘ถ้าพระเจ้ารักทุกคนโดยไม่เลือกหน้าลำเอียง—ไม่ว่าชาติไหน รวมทั้งตัวฉันด้วย—ฉันก็ควรพยายามเลียนแบบพระองค์ไม่ใช่หรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าฉันอ้างว่านมัสการพระองค์?’
การเหยียดผิว. พจนานุกรมฉบับหนึ่งกล่าวว่า คนเหยียดผิวเชื่อว่า “ลักษณะหรือความสามารถของมนุษย์แตกต่างกันเนื่องจากเชื้อชาติ และเชื่อว่าเชื้อชาติหนึ่งเหนือกว่าเชื้อชาติอื่น.” กระนั้น ดังที่กล่าวในสารานุกรม เดอะ เวิลด์ บุ๊ก นักวิจัย “ไม่พบหลักฐานใดตามหลักวิทยาศาสตร์สนับสนุนคำอ้างที่ว่าชาติหนึ่งเหนือกว่าชาติอื่น.” ความอยุติธรรมอย่างร้ายแรงเนื่องมาจากการเหยียดผิว เช่น การปฏิเสธสิทธิของเพื่อนมนุษย์อย่างเป็นกระบวนการ เป็นหลักฐานที่น่าเศร้าว่าการเหยียดผิวอาศัยความเท็จและการหลอกลวง.
▪ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไร? “ความจริงจะทำให้พวกเจ้าเป็นอิสระ.” (โยฮัน 8:32) “[พระเจ้า] ทรงสร้างคนทุก ชาติจากคนคนเดียว.” (กิจการ 17:26) “พระเจ้าทรงเห็นไม่ใช่อย่างที่มนุษย์เห็น เพราะมนุษย์เห็นสิ่งที่ปรากฏแก่ตา แต่พระยะโฮวาทรงเห็นว่าหัวใจเป็นเช่นไร.” (1 ซามูเอล 16:7, ล.ม.) ขอให้ถามตัวเองว่า ‘ฉันพยายามมองมนุษย์ทุกคนอย่างที่พระเจ้ามองไหม? ฉันพยายามรู้จักคนชาติอื่นหรือคนที่มีวัฒนธรรมอื่นอย่างถ่องแท้ไหม โดยทำความรู้จักกับคนเหล่านั้นเป็นส่วนตัว?’ เมื่อเรารู้จักบางคนเป็นส่วนตัวแล้ว เราก็จะลบล้างความคิดเดิม ๆ ที่มีต่อคนเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น.
ศาสนา. หนังสือธรรมชาติของอคติ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “เมื่อมนุษย์ใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ของชาติตน ผลอันน่าขยะแขยงที่ตามมาย่อมเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้. ตอนนั้นเอง ศาสนาและอคติก็รวมกันจนแยกไม่ออก.” หนังสือนั้นกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่น่าแปลกใจมากก็คือคนเคร่งศาสนาหลายคน “ดูเหมือน [พร้อม] จะเปลี่ยนจากความเลื่อมใสศาสนามาเป็นอคติ.” ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้เห็นได้จากคริสตจักรที่เปิดรับเฉพาะคนชาติเดียวกันเท่านั้น, จากความเกลียดชังและความรุนแรงต่อคนต่างนิกาย, และจากการก่อการร้ายที่ศาสนาปลุกเร้าให้เกิดขึ้น.
▪ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไร? “สติปัญญาจากเบื้องบน [จากพระเจ้า] นั้น . . . ทำให้มีสันติ มีเหตุผล . . . ไม่ลำเอียง.” (ยาโกโบ 3:17) “ผู้นมัสการแท้จะนมัสการพระบิดาด้วยพระวิญญาณและความจริง [ทางศาสนา].” (โยฮัน 4:23) “จงรักศัตรูของเจ้า . . . และอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงเจ้า.” (มัดธาย 5:44) ขอให้ถามตัวเองว่า ‘ศาสนาฉันส่งเสริมให้รักมนุษย์ทุกคนไหม แม้แต่คนที่ต้องการจะทำร้ายฉัน? ศาสนาของฉันเปิดรับคนทุกชนิดไหม ไม่ว่าจะชาติใด, สีผิวใด, เพศใด, มีฐานะทางการเงินหรือสังคมเช่นไร?’
ความเย่อหยิ่ง. ความเย่อหยิ่งคือการมองตัวเองสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้คนเราเกิดอคติได้ง่าย. ตัวอย่างเช่น ความหยิ่งมักจะทำให้คนเราคิดว่าตัวเองเหนือกว่า หรือดูถูกคนที่มีการศึกษาน้อยกว่าหรือยากจนกว่า. ความหยิ่งอาจทำให้เขาเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อที่ว่าชาติหรือเผ่าพันธุ์ของตนเหนือกว่า. นักโฆษณาชวนเชื่อที่ฉลาด เช่น อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เผด็จการนาซี ได้จงใจส่งเสริมความหยิ่งในชาติและเชื้อชาติเพื่อได้รับการสนับสนุนจากมวลชน และใส่ร้ายคนที่ต่างไปจากพวกตนและไม่เป็นที่ต้องการ.
▪ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไร? “ทุกคนที่มีใจหยิ่งจองหองเป็นที่สะอิดสะเอียนแด่พระยะโฮวา.” (สุภาษิต 16:5) “[อย่า] ทำอะไรด้วยน้ำใจชิงดีชิงเด่นหรือด้วยความถือดี แต่ให้ถ่อมใจถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว.” (ฟิลิปปอย 2:3) ขอให้ถามตัวเองว่า ‘ลึก ๆ แล้วฉันรู้สึกชอบการยกยอปอปั้นเกี่ยวกับเชื้อชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ของฉัน หรือชอบการดูถูกคนชาติอื่นไหม? ฉันมีแนวโน้มจะอิจฉาคนที่มีความสามารถมากกว่าฉัน หรือฉันยินดีจริง ๆ ที่พวกเขามีความสามารถเหล่านั้น?’
ใช่แล้ว คัมภีร์ไบเบิลมีเหตุผลอันดีที่เตือนว่า “จงรักษาใจของเจ้าไว้ด้วยสุดความเพียรพยายาม: เพราะผลการแห่งกิจต่าง ๆ ในชีวิตก็เกิดมาจากจิตต์ใจ.” (สุภาษิต 4:23) ดังนั้น จงมองหัวใจของคุณว่ามีค่ามาก และอย่ายอมให้หัวใจถูกชักนำไปในทางเสื่อมเสีย! แต่จงให้หัวใจคุณเต็มไปด้วยสติปัญญาที่มาจากพระเจ้า. เฉพาะเมื่อคุณทำอย่างนั้น ‘ความสามารถในการคิดนั่นเองจะป้องกันคุณไว้ ความสังเกตเข้าใจก็จะปกป้องคุณ เพื่อจะช่วยคุณพ้นจากแนวทางชั่ว จากคนที่พูดสิ่งเสื่อมทราม.’—สุภาษิต 2:10-12, ล.ม.
แต่คุณจะทำอย่างไรถ้าถูกปฏิบัติอย่างมีอคติหรือลำเอียง? บทความถัดไปจะพิจารณาเรื่องนี้.
[คำโปรยหน้า 6]
เมื่อเรารู้จักบางคนเป็นส่วนตัวแล้ว เราก็จะลบล้างความคิดเดิม ๆ ที่มีต่อคนเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น