จอห์น ฟอกซ์ และสมัยที่ปั่นป่วนวุ่นวาย
จอห์น ฟอกซ์ และสมัยที่ปั่นป่วนวุ่นวาย
มนุษยชาติได้บทเรียนจากความผิดพลาดในอดีตไหม? ขอให้คิดถึงคำถามนี้ขณะที่คุณอ่านเรื่องราวชีวิตของจอห์น ฟอกซ์ ชาวอังกฤษผู้เขียนหนังสือซึ่งหวังว่าผู้อ่านจะไม่ทำสิ่งที่โหดร้ายทารุณอย่างที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของเขา.
ปรากฏว่าบันทึกของจอห์น ฟอกซ์ ซึ่งเขียนในยุคการปฏิรูปศาสนา มีอิทธิพลอย่างสูงต่อประชาชนชาวอังกฤษเป็นเวลาหลายร้อยปี. หนังสือของเขาที่ชื่อกิจการและอนุสรณ์ของคริสตจักร (Acts and Monuments of the Church) ใช้เวลากว่า 25 ปีจึงจะเขียนเสร็จ. และบางคนกล่าวว่าหนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลในการพัฒนาภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษมากที่สุด เป็นรองเพียงแค่คัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษเท่านั้น.
สมัยที่ปั่นป่วนวุ่นวาย
จอห์น ฟอกซ์เกิดที่บอสตัน ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1516 หรือ 1517 ช่วงเวลาเดียวกับที่มาร์ติน ลูเทอร์นำข้อคัดค้าน 95 ข้อไปตอกติดไว้ที่ประตูโบสถ์แห่งหนึ่งในวิทเทนแบร์ก เยอรมนี ตามที่เล่าสืบต่อกัน. ฉะนั้น ฟอกซ์ซึ่งเป็นชาวโรมันคาทอลิกแต่กำเนิดจึงเกิดมาในยุคที่พวกปฏิรูปศาสนากำลังท้าทายอำนาจและคำสอนของคริสตจักรคาทอลิก.
ฟอกซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และได้ศึกษาหลายวิชารวมทั้งภาษากรีกและฮีบรู ซึ่งช่วยให้เขาอ่านคัมภีร์ไบเบิลในภาษาดั้งเดิมได้. ดูเหมือนว่าเนื่องจากเหตุนี้ ความเชื่อแบบคาทอลิกของเขาจึงสั่นคลอน. อันที่จริง เพื่อนนักศึกษาของเขาเริ่มจะสงสัยว่าเขากำลังเข้าร่วมกับพวกโปรเตสแตนต์ จึงไปบอกคณบดี. หลังจากนั้นก็มีการจับตาดูฟอกซ์.
หลังจากจบปริญญาโทในปี 1543 ฟอกซ์ก็เป็นบาทหลวงได้. แต่เขาไม่ยอมเป็น เพราะเขาไม่เห็นด้วยกับข้อบังคับเรื่องการครองพรหมจรรย์. ในที่สุดเรื่องก็ถึงขั้นแตกหัก. เขาถูกสงสัยว่าเป็นพวกนอกรีต ซึ่งถ้าพิสูจน์ว่าเป็นความจริงก็อาจหมายถึงความตาย. ดังนั้น เขาจึงลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี 1545. ฟอกซ์ทิ้งอาชีพในแวดวงวิชาการที่มีอนาคต และไปเป็นครูสอนพิเศษของครอบครัวหนึ่งใกล้เมืองสแตรตฟอร์ด-อะพอน-เอวอน ในวอร์วิคเชียร์. ที่นั่น เขาแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อแอกเนส แรนดัลล์.
แอกเนสมาจากเมืองโคเวนทรีที่อยู่ใกล้ ๆ และเธอได้เล่าเรื่องแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อสมิทให้ฟอกซ์ฟัง. แม่ม่ายคนนี้สอนลูก ๆ ของเธอเรื่องพระบัญญัติสิบประการและคำอธิษฐานแบบอย่างของพระเยซู ซึ่งมักเรียกกันว่าคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า. แต่แทนที่จะสอนลูก ๆ เป็นภาษาละติน เธอสอนพวกเขาเป็นภาษาอังกฤษ. เนื่องจากทำสิ่งที่ถือเป็น “ความผิด” นี้ เธอจึงถูกเผาบนหลัก พร้อมกับชายอีกหกคนซึ่งถูกกล่าวหาคล้าย ๆ กัน. ความไม่ยุติธรรมนี้ทำให้ผู้คนไม่พอใจ บิชอปประจำท้องถิ่นจึงกระจายข่าวว่าคนเหล่านั้นถูกเผาเนื่องจากทำ “ความผิดที่ร้ายแรงกว่า” นั่นคือการกินเนื้อสัตว์ในวันศุกร์และวันอื่น ๆ ที่ควรถือศีลอดอาหาร.
ผู้สละชีพเพื่อความเชื่อเหล่านี้ได้มารู้เนื้อความของคัมภีร์ไบเบิลที่เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร? แม้คริสตจักรจะต่อ * คนเหล่านี้มีพระคัมภีร์บางส่วนที่คัดลอกด้วยมือ ซึ่งพวกเขาอ่านให้ผู้คนฟัง. ด้วยเหตุนี้ รัฐสภาพยายามห้ามไม่ให้มีการทำอย่างนั้น. ในปี 1401 รัฐสภาผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจแก่บิชอปในการจับพวกนอกรีตไปขังคุก ทรมานพวกเขา และเผาพวกเขาบนหลัก.
ต้าน แต่ประมาณ 150 ปีก่อนหน้านั้น คัมภีร์ไบเบิลก็ได้รับการแปลจากภาษาละตินเป็นภาษาอังกฤษโดยจอห์น วิคลิฟฟ์ ซึ่งได้ฝึกอบรมผู้เดินทางเผยแพร่ที่รู้จักกันว่าพวกลอลลาร์ด.ด้วยกลัวจะถูกจับ ฟอกซ์จึงย้ายครอบครัวไปอยู่ลอนดอน และต่อมาเขาได้สนับสนุนพวกโปรเตสแตนต์อย่างเปิดเผย. ที่ลอนดอน เขาได้แปลใบปลิวของพวกปฏิรูปศาสนาชาวเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งแปลใบปลิวอื่น ๆ ที่เขียนเป็นภาษาละตินด้วย. เขายังได้เขียนใบปลิวเองบางส่วน.
นอกจากนั้น ฟอกซ์เริ่มรวบรวมประวัติของพวกลอลลาร์ดในอังกฤษ และทำเสร็จในปี 1554. ผลงานชิ้นนี้ได้รับการจัดพิมพ์ในสตราสบูร์ก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยมีหน้าขนาดเล็กหนา 212 แผ่น. ที่แท้แล้ว หนังสือนี้เป็นส่วนแรกของกิจการและอนุสรณ์ของคริสตจักร. ห้าปีต่อมา เขาเขียนเพิ่มเติมจนหนังสือเล่มนั้นมีหน้าขนาดใหญ่ 750 หน้า.
การไม่ยอมรับความเชื่ออื่นยังผลเป็นความตาย
การปฏิรูปศาสนาในยุโรปเป็นสาเหตุให้ชายหญิงและเด็กหลายพันคนถูกสังหาร. ในปี 1553 ผู้ซึ่งต่อมารู้จักกันว่าแมรีผู้กระหายเลือดได้ขึ้นครองราชย์ที่อังกฤษ. พระนางเป็นคาทอลิกที่ศรัทธาแรงกล้า. เนื่องจากรัฐสภาอังกฤษได้ตัดความสัมพันธ์ทุกอย่างกับโรมไปเมื่อปี 1534 พระนางจึงตั้งใจนำอังกฤษกลับไปอยู่ใต้อำนาจของสันตะปาปา. ในช่วงห้าปีที่แมรีครองราชย์ ชายและหญิงราว ๆ 300 คน ซึ่งบางคนเป็นผู้นำคริสตจักรโปรเตสแตนต์ถูกเผาด้วยข้อหาเป็นพวกนอกรีต. ส่วนอีกหลายคนเสียชีวิตในคุก.
ฟอกซ์รอดชีวิตจากช่วงเวลานี้ได้เพราะเขาพาครอบครัวย้ายไปเมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ ไม่นานหลังจากแมรีขึ้นครองราชย์. ในปี 1559 หนึ่งปีหลังจากเอลิซาเบทซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์และเป็นพระขนิษฐาของแมรีขึ้นครองราชย์ * ซึ่งสถาปนาพระองค์เองเป็นประมุขของคริสตจักร. สันตะปาปาปิอุสที่ 5 ตอบโต้โดยขับเอลิซาเบทออกจากศาสนาในปี 1570. ไม่นานนัก การคบคิดกันของหลายประเทศเพื่อต่อต้านอังกฤษก็ถูกเปิดโปง รวมทั้งแผนการที่จะลอบปลงพระชนม์ราชินีชาวโปรเตสแตนต์. ผลก็คือ ชาวคาทอลิกหลายร้อยคนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและเอลิซาเบทจึงสั่งประหาร.
เขาก็กลับไปอังกฤษพร้อมกับผู้อพยพคนอื่น ๆ. ในปีเดียวกัน นั้น เอลิซาเบทได้ออกพระราชบัญญัติคริสตจักรต่าง ๆ แห่งคริสต์ศาสนจักรทั้งคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ หลงไปไกลจากคำสอนของพระเยซูคริสต์มากจริง ๆ! พระองค์ทรงสอนว่า “จงรักศัตรูของเจ้าต่อ ๆ ไปและอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงเจ้าต่อ ๆ ไป.” (มัดธาย 5:44) เนื่องจากชาวคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ไม่เชื่อฟังพระบัญชาที่ชัดเจนนี้ พวกเขาจึงนำความเสื่อมเสียอย่างมากมาสู่ศาสนาคริสเตียน ซึ่งเป็นสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดขึ้น. อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “ทางของความจริงจะถูกกล่าวร้าย” เนื่องจากคนที่อ้างว่านับถือศาสนาคริสเตียน.—2 เปโตร 2:1, 2
ฟอกซ์ทำงานจนสำเร็จ
ย้อนกลับมาที่อังกฤษ ฟอกซ์เริ่มเขียนบันทึกเรื่องราวของเขาฉบับใหญ่พิเศษ ซึ่งผู้อ่านบางคนคงได้เห็นเหตุการณ์บางตอนที่เขาบันทึกไว้ด้วย. หนังสือของเขาที่เป็นภาษาอังกฤษฉบับแรกซึ่งหนา 1,800 หน้าและมีภาพพิมพ์แกะไม้หลายภาพ ได้พิมพ์ออกมาในปี 1563 และเป็นหนังสือขายดีทันที.
เขาออกฉบับที่สองตามมาในอีกเจ็ดปีให้หลัง. ฉบับนี้ประกอบด้วยสองเล่ม หนากว่า 2,300 หน้าและมีภาพ 153 ภาพ. ในปีถัดมา คริสตจักรแห่งอังกฤษออกคำสั่งให้วางหนังสือของฟอกซ์ไว้เคียงข้างคัมภีร์ไบเบิลในมหาวิหารทุกแห่งในอังกฤษ และในบ้านของผู้มีตำแหน่งสูงของคริสตจักรเพื่อประโยชน์ของคนรับใช้และแขก. ไม่นานโบสถ์ขนาดเล็กก็ทำตาม. แม้แต่คนอ่านหนังสือไม่ออกก็ยังได้ประโยชน์ เพราะหนังสือนี้มีภาพประกอบ ซึ่งตราตรึงอยู่ในใจของพวกเขา.
พอถึงตอนนี้ ฟอกซ์ได้ร่วมกับพวกพิวริตัน ซึ่งมีทัศนะว่าการแยกจากคริสตจักรแห่งโรมยังไม่เพียงพอ. พวกเขาสอนว่าต้องขจัดร่องรอยทุกอย่างของศาสนาคาทอลิกออกไป และน่าแปลกที่นั่นเป็นจุดยืนซึ่งทำให้พวกเขาขัดแย้งกับคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในอังกฤษ ซึ่งได้คงธรรมเนียมและหลักคำสอนหลายอย่างของคาทอลิกไว้.
เนื่องจากงานเขียนของจอห์น ฟอกซ์ได้เปิดเผยความโหดร้ายทางศาสนามากมายซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่ปั่นป่วนวุ่นวายของเขา เขาจึงมีอิทธิพลต่อทัศนะของผู้คนต่อศาสนาและการเมืองในอังกฤษอีกหลายร้อยปีหลังจากนั้น.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 ดูบทความ “พวกลอลลาร์ด ผู้สอนคัมภีร์ไบเบิลที่กล้าหาญ” ในหอสังเกตการณ์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 1 สิงหาคม 1980.
^ วรรค 14 หนังสือข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์อังกฤษ (ภาษาอังกฤษ) โดย ดี. เอช. มอนต์กอเมอรี กล่าวว่าในปี 1534 รัฐสภาได้ผ่านพระราชบัญญัติ . . . “ซึ่งประกาศว่าเฮนรีเป็นประมุขของคริสตจักรแต่พระองค์เดียวโดยมีอำนาจสิทธิ์ขาด และหากผู้ใดปฏิเสธจะถือว่าผู้นั้นเป็นกบฏ. โดยการลงพระนามในพระราชบัญญัตินั้น พระองค์ได้ล้มล้างประเพณีซึ่งมีมานานร่วมพันปี และอังกฤษจึงได้ก่อตั้งคริสตจักรแห่งชาติซึ่งไม่ขึ้นกับสันตะปาปา.”
[กรอบ/ภาพหน้า 28]
หนังสือของฟอกซ์เกี่ยวกับผู้สละชีพเพื่อความเชื่อ
ขณะที่คริสตจักรคาทอลิกสู้กับการปฏิรูปศาสนา หลายคนที่เขียนหนังสือเรื่องผู้สละชีพเพื่อความเชื่อในยุโรป เช่น ชอง เกรสแปง ได้รวบรวมรายละเอียดเรื่องการข่มเหงและการสละชีพเพื่อความเชื่อในประเทศของตน. * ผลก็คือ หนังสือกิจการและอนุสรณ์ของคริสตจักร ของฟอกซ์จึงถูกเรียกว่า หนังสือของฟอกซ์เกี่ยวกับผู้สละชีพเพื่อความเชื่อ. ต่อมา เมื่อฉบับแก้ไขใหม่และฉบับย่อปรากฏขึ้น ชื่อที่ไม่เป็นทางการจึงเป็นที่รู้จักกันมากกว่าชื่อที่ฟอกซ์ตั้งใจใช้.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 26 ดูบทความ “หนังสือเกี่ยวกับผู้สละชีพเพื่อความเชื่อของชองเกรสแปง” ในฉบับเดือนมีนาคม 2011 ของวารสารนี้.
[ที่มาของภาพ]
© Classic Vision/age fotostock
[ภาพหน้า 27]
จอห์น วิคลิฟฟ์ได้ส่งผู้เดินทางเผยแพร่ที่รู้จักกันว่าพวกลอลลาร์ด
[ที่มาของภาพ]
From the book The Church of England: A History for the People, 1905 Vol. II
[ที่มาของภาพหน้า 26]
From Foxe’s Book of Martyrs