ซีริล ลูคาริส—ชายผู้เห็นคุณค่าคัมภีร์ไบเบิล
ซีริล ลูคาริส—ชายผู้เห็นคุณค่าคัมภีร์ไบเบิล
วันนั้นเป็นวันหนึ่งในฤดูร้อนเมื่อปี 1638. ชาวประมงในทะเลมาร์มาราซึ่งอยู่ใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิล (เมืองอิสตันบูลในปัจจุบัน) เมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมาน รู้สึกตื่นเต้นที่เห็นศพลอยอยู่ในน้ำ. เมื่อตรวจดูใกล้ ๆ พวกเขาได้พบเห็นด้วยความรู้สึกสยดสยองว่า ศพผู้ที่ถูกรัดคอตายนั้นคือศพของสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล ประมุขแห่งคริสตจักรออร์โทด็อกซ์. นั่นคือจุดจบอันน่าสลดใจของซีริล ลูคาริส บุคคลที่โดดเด่นทางศาสนาแห่งศตวรรษที่ 17.
ลูคาริส มีชีวิตอยู่ไม่นานพอจะเห็นความฝันของตนเป็นจริง นั่นคือการออกฉบับแปลของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกในภาษากรีกที่สามัญชนใช้กัน. ความฝันอีกอย่างหนึ่งของลูคาริสก็ไม่เคยเป็นจริงเช่นกัน นั่นคือการเห็นคริสตจักรออร์โทด็อกซ์กลับสู่ “ความเรียบง่ายแห่งการเผยแพร่กิตติคุณ.” ชายผู้นี้คือใคร? เขาประสบอุปสรรคอะไรบ้างในการพยายามทำสิ่งเหล่านั้น?
ตกตะลึงเนื่องจากการขาดความรู้
ซีริล ลูคาริสกำเนิดเมื่อปี 1572 ในแคนเดีย (ปัจจุบันคือ อีราคลีโอน) ซึ่งเวนิซยึดครองอยู่ ที่เกาะครีต. เขาเป็นคนมีพรสวรรค์ ได้ศึกษาที่เวนิซและที่ปาดัวในอิตาลี แล้วจึงได้เดินทางไปหลายที่หลายแห่งทั้งในอิตาลีและประเทศอื่น ๆ. ด้วยความรู้สึกขมขื่นเนื่องจากการต่อสู้ชิงดีกันของพวกที่แตกเป็นก๊กเป็นเหล่าภายในคริสตจักรและถูกดึงดูดใจโดยกลุ่มปฏิรูปต่าง ๆ ในยุโรป เขาอาจได้ไปเยือนเจนีวาด้วย ซึ่งตอนนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของพวกที่นิยมแคลวิน.
ขณะเยือนโปแลนด์ ลูคาริสเห็นว่าสมาชิกคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ที่นั่น ทั้งบาทหลวงและฆราวาส ต่างก็มีสภาพที่น่าเศร้าในด้านศาสนาเนื่องจากพวกเขาขาดความรู้. เมื่อย้อนไปที่อะเล็กซานเดรียและคอนสแตนติโนเปิล เขารู้สึกตกใจที่พบว่า แม้แต่ธรรมาสน์—ที่สำหรับอ่านพระคัมภีร์—ก็ถูกเอาออกไปจากโบสถ์หลายแห่ง!
ในปี 1602 ลูคาริสไปยังอะเล็กซานเดรียที่ซึ่งเขาได้สืบตำแหน่งต่อจากญาติของเขาคือ สังฆราชมีลีทีออส. จากนั้นเขาเริ่มเขียนจดหมายโต้ตอบกับนักเทววิทยาที่มีแนวโน้มในทางปฏิรูปหลายคนในยุโรป. ในจดหมายเหล่านั้น มีฉบับหนึ่งที่เขากล่าวว่าคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ยังคงไว้ซึ่งกิจปฏิบัติที่ผิดหลายอย่าง. ส่วนในจดหมายฉบับอื่น ๆ เขาเน้นความจำเป็นที่คริสตจักรจะต้องเอา “ความเรียบง่ายแห่งการเผยแพร่กิตติคุณ” มาแทนที่การถือโชคลาง และอาศัยอำนาจแห่งพระคัมภีร์เท่านั้น.
ลูคาริสยังรู้สึกตกใจด้วยที่มีการถือว่าอำนาจทางศาสนาของพวกนักเขียนมัดธาย 15:6) เขาบอกอีกว่า ตามความเห็นของเขา การนมัสการรูปเคารพเป็นความหายนะ. เขาให้ข้อสังเกตว่า การวิงวอน “พวกนักบุญ” เป็นการสบประมาทพระเยซู พระผู้กลาง.—1 ติโมเธียว 2:5.
คริสเตียนมีค่าเทียบเท่ากับถ้อยคำของพระเยซูและพวกอัครสาวก. เขาเขียนว่า “ผมทนไม่ได้อีกแล้วที่จะฟังมนุษย์บอกว่า คำอธิบายเกี่ยวกับคำสอนสืบปากของมนุษย์มีน้ำหนักเท่ากับพระคัมภีร์.” (บัลลังก์สังฆราชมีไว้ขาย
แนวคิดเหล่านั้นผนวกกับความไม่พอใจที่ลูคาริสมีต่อคริสตจักรโรมันคาทอลิกทำให้เขาถูกเกลียดชังและถูกข่มเหงโดยพวกเยสุอิตกับพวกที่อยู่ในคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ซึ่งชอบรวมหัวกับพวกคาทอลิก. ถึงแม้มีการต่อต้านเช่นนั้น แต่ในปี 1620 ลูคาริสก็ได้รับเลือกเป็นสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล. ในเวลานั้น ตำแหน่งสังฆราชของคริสตจักรออร์โทด็อกซ์อยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมาน. รัฐบาลออตโตมานจะปลดสังฆราชและรับคนใหม่เมื่อไรก็ได้โดยแลกกับเงิน.
เหล่าศัตรูของลูคาริส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกเยสุอิตกับคอนกรีเกทิโอ เด โปรปากันดา ฟีเด (ประชาคมเพื่อเผยแพร่ความเชื่อ) ของโปป ซึ่งมีอำนาจมากและน่าสะพรึงกลัว เอาแต่ใส่ร้ายและคบคิดวางแผนต่อต้านเขา. หนังสือคีรีลอส ลูคาริส กล่าวว่า “เพื่อทำตามความมุ่งหมายนี้พวกเยสุอิตใช้ทุกวิถีทาง—หลอกลวง, ใส่ความ, สอพลอ และยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดคือ สินบน ซึ่งเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพที่สุดในเวลานั้นสำหรับการได้ความโปรดปรานจากขุนนางชั้นสูง [ของออตโตมาน].” ผลก็คือ ในปี 1622 ลูคาริสถูกเนรเทศไปยังเกาะโรดส์ และเกรกอรีแห่งอามาเซียได้ซื้อตำแหน่งนั้นด้วยเหรียญเงิน 20,000 เหรียญ. อย่างไรก็ตาม เกรกอรีไม่สามารถหาเงินให้ได้ตามสัญญา ดังนั้น แอนทิมุสแห่งอาเดรียโนเปิลจึงซื้อตำแหน่งนั้น แต่ก็ต้องลาออกในเวลาต่อมา. น่าแปลกที่ลูคาริสได้กลับมาดำรงตำแหน่งสังฆราชอีก.
ลูคาริสตั้งใจจะใช้โอกาสที่ได้ใหม่นี้เพื่อให้ความรู้แก่พวกนักเทศน์นักบวชและฆราวาสในคริสตจักรออร์โทด็อกซ์โดยการพิมพ์ฉบับแปลของคัมภีร์ไบเบิลและแผ่นพับเกี่ยวกับศาสนศาสตร์. เพื่อทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ เขาจัดการให้มีการนำแท่นพิมพ์มายังคอนสแตนติโนเปิลโดยให้อยู่ในความคุ้มครองของเอกอัครราชทูตอังกฤษ. แต่พอแท่นพิมพ์มาถึงเมื่อเดือนมิถุนายนปี 1627 เหล่าศัตรูของลูคาริสก็กล่าวหาว่าเขาใช้แท่นพิมพ์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง และในที่สุดพวกศัตรูก็ได้ทำลายแท่นพิมพ์นั้น. ลูคาริสจึงจำต้องใช้แท่นพิมพ์ในเจนีวา.
ฉบับแปลของพระคัมภีร์คริสเตียน
ความนับถืออย่างเหลือล้นที่ลูคาริสมีต่อคัมภีร์ไบเบิลและพลังของคัมภีร์ไบเบิลในการให้ความรู้กระตุ้นให้เขาปรารถนาจะทำให้ข้อความในคัมภีร์ไบเบิลเป็นที่หาอ่านได้ง่ายขึ้นสำหรับสามัญชน. เขาตระหนักว่าภาษาที่ใช้ในฉบับสำเนาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลภาษากรีกซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจนั้นไม่เป็นที่เข้าใจได้อีกแล้วสำหรับคนทั่วไป. ดังนั้น หนังสือเล่มแรกที่ลูคาริสดำเนินการคือการแปลพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกเป็นภาษากรีกที่ใช้ในสมัยของเขา. แมกซิมุส คาลลีโปลีติส นักบวชผู้ทรงความรู้ได้เริ่มทำงานแปลนี้ในเดือนมีนาคม 1629. พวกออร์โทด็อกซ์หลายคนถือกว่าการแปลพระคัมภีร์เป็นเรื่องร้ายแรงไม่ว่าข้อความภาษากรีกโบราณจะอ่านไม่เข้าใจแค่ไหนก็ตาม. เพื่อทำให้พวกเขาเงียบเสียง ลูคาริสให้มีการพิมพ์ข้อความเดิมกับข้อความที่แปลเป็นภาษาสมัยใหม่เป็นคอลัมน์คู่กันไป โดยเพิ่มความเห็นเล็กน้อยเท่านั้น. เนื่องจากคาลลีโปลีติสเสียชีวิตไม่นานหลังจากส่งต้นฉบับ ลูคาริสจึงอ่านพิสูจน์อักษรเอง. ฉบับแปลนั้นมีการพิมพ์ไม่นานหลังจากลูคาริสสิ้นชีวิตในปี 1638.
แม้ว่าลูคาริสระมัดระวังล่วงหน้าก็ตาม ฉบับแปลนั้นก็กระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจอย่างใหญ่โตจากบิชอปหลายคน. ความรักที่ลูคาริสมีต่อพระคำของพระเจ้าปรากฏชัดเหลือเกินในคำนำของคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลนั้น. เขาเขียนว่าพระคัมภีร์ซึ่งถูกนำเสนอในภาษาที่ผู้คนพูดกันนั้นเป็น “ข่าวสารอันไพเราะที่มีการประทานให้เราจากสวรรค์.” เขาเตือนสติผู้คน “ให้รู้จักและทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาทั้งหมด [ของคัมภีร์ไบเบิล] และบอกว่า ไม่มีหนทางอื่นใดในการเรียนรู้เกี่ยวกับ “สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างถูกต้องกับความเชื่อ . . . เว้นแต่โดยทางกิตติคุณศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากพระเจ้า.”—ฟิลิปปอย 1:9, 10.
ลูคาริสกล่าวโทษอย่างแรงต่อผู้ที่ห้ามศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรวมทั้งผู้ที่ไม่ยอมรับฉบับแปลจากข้อความเดิมว่า “ถ้าเราพูดหรืออ่านโดยไม่มีความเข้าใจ นั่นก็เหมือนเราพูดลม ๆ แล้ง ๆ.” (เทียบกับ 1 โกรินโธ 14:7-9.) เขาเขียนในตอนท้ายคำนำว่า “ขณะที่ท่านทั้งหลายอ่านกิตติคุณที่บริสุทธิ์และมาจากพระเจ้านี้ในภาษาของท่านเอง จงซึมซับเอาประโยชน์ที่ ได้รับจากการอ่าน, . . . และขอพระเจ้าทรงทำให้หนทางของท่านซึ่งไปสู่สิ่งที่ดีนั้นสว่างเรื่อยไป.”—สุภาษิต 4:18.
คำแถลงความเชื่อ
หลังจากเขาเริ่มการแปลคัมภีร์ไบเบิลครั้งนั้น ลูคาริสดำเนินการอีกขั้นหนึ่งอย่างกล้าหาญ. ในปี 1629 เขาพิมพ์ คำแถลงความเชื่อ ในเจนีวา. นั่นเป็นคำแถลงส่วนบุคคลในเรื่องความเชื่อซึ่งเขาหวังว่าคริสตจักรออร์โทด็อกซ์จะรับเอาไว้. ตามที่หนังสือคริสตจักรออร์โทด็อกซ์ กล่าว คำแถลง นั้น “หักล้างหลักคำสอนของออร์โทด็อกซ์เรื่องตำแหน่งบาทหลวงและคณะบาทหลวงอย่างสิ้นเชิง และแสดงความไม่พอใจต่อการบูชาภาพต่าง ๆ รวมทั้งการวิงวอนต่อพวกนักบุญว่าเป็นการไหว้รูปเคารพ.”
คำแถลงความเชื่อ นั้นประกอบด้วย 18 ข้อ. ข้อที่สองแถลงว่า พระคัมภีร์มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและอำนาจของพระคัมภีร์เหนือกว่าอำนาจคริสตจักร. ข้อนี้กล่าวว่า “เราเชื่อว่าเราได้รับพระคัมภีร์บริสุทธิ์จากพระเจ้า . . . เราเชื่อว่าอำนาจของพระคัมภีร์บริสุทธิ์เหนือกว่าอำนาจคริสตจักร. การได้รับการสอนจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นเรื่องที่ต่างกันลิบลับจากการได้รับการสอนจากมนุษย์.”—2 ติโมเธียว 3:16.
ข้อที่แปดและข้อที่สิบยืนยันว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้กลางแต่ผู้เดียว, เป็นมหาปุโรหิต, และประมุขของประชาคม. ลูคาริสเขียนว่า “เราเชื่อว่าพระเยซูคริสต์เจ้าของเราทรงประทับนั่งเบื้องขวาพระหัตถ์แห่งพระบิดาของพระองค์และที่นั่นพระองค์ทรงวิงวอนเพื่อเรา ทรงปฏิบัติงานแต่ผู้เดียวในตำแหน่งมหาปุโรหิตและผู้กลางที่แท้จริงและถูกต้องตามกฎหมาย.”—มัดธาย 23:10.
ข้อที่ 12 แถลงว่า คริสตจักรอาจหลงทางได้ โดยตีความให้ความเท็จเป็นความจริง แต่แสงแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์จะช่วยเหลือโดยการงานของผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์. ในข้อที่ 18 ลูคาริสยืนยันว่าเรื่องสถานชำระบาปเป็นแค่เรื่องที่คิดขึ้นเอง: “เห็นได้ชัดว่าจะต้องไม่ยอมให้กับนิยายเรื่องสถานชำระบาป.”
ภาคผนวกของคำแถลงความเชื่อ นั้นมีคำถามและคำวิวรณ์ 22:18, 19.
ตอบอยู่หลายข้อ. ที่นั่น ลูคาริสเน้นก่อนเลยว่า ผู้ซื่อสัตย์ทุกคนควรอ่านพระคัมภีร์และเป็นความเสียหายถ้าคริสเตียนไม่อ่านพระคำของพระเจ้า. แล้วเขาบอกอีกว่า ควรหลีกเว้นจากพระธรรมนอกสารบบ.—คำถามข้อที่สี่ถามว่า “เราควรคิดอย่างไรเกี่ยวกับภาพบูชา? ลูคาริสตอบว่า “เราได้รับการสอนจากพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากพระเจ้าซึ่งบอกชัดว่า ‘เจ้าต้องไม่ทำรูปเคารพสำหรับตน, หรือรูปเหมือนสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอยู่ในฟ้าเบื้องบน, หรือบนแผ่นดินเบื้องล่าง; เจ้าต้องไม่บูชารูปเหล่านั้น, และเจ้าต้องไม่นมัสการรูปเหล่านั้น; [เอ็กโซโด 20:4, 5]’ เนื่องจากเราไม่ควรนมัสการสิ่งที่ถูกสร้าง แต่นมัสการเฉพาะพระผู้สร้างและผู้ประดิษฐ์ฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกเท่านั้น และพระองค์เท่านั้นที่พึงบูชา. . . . เราปฏิเสธการนมัสการและการปรนนิบัติ [ภาพบูชา] ดังที่มีห้ามไว้ . . . ในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเกรงว่าเราจะลืม และไปนมัสการสี, และศิลปะ, และสิ่งมีชีวิต แทนที่จะนมัสการพระผู้สร้างและผู้ประดิษฐ์.”—กิจการ 17:29.
แม้ลูคาริสไม่สามารถเข้าใจถี่ถ้วนในทุกเรื่องที่ผิดพลาดในยุคแห่งความมืดมนด้านศาสนาซึ่งเขามีชีวิตอยู่นั้น * แต่เขาก็ได้พยายามอย่างน่าชมเชยเพื่อทำให้คัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจต่อหลักคำสอนของคริสตจักรและเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลแก่ประชาชน.
เกิดการข่มเหงระลอกใหม่แก่ลูคาริสทันทีหลังจากการออกคำแถลงความเชื่อ ฉบับนี้. ในปี 1633 ซีริล โกนตารี ผู้ว่าการเขตเบโรเอีย (ปัจจุบันคืออะเลปโป) ศัตรูตัวเอ้ของลูคาริสซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพวกเยสุอิต ได้พยายามต่อรองกับพวกออตโตมานเพื่อจะได้เก้าอี้ตำแหน่งสังฆราช. แต่แผนนั้นล้มเหลวเมื่อโกนตารีไม่สามารถจ่ายเงิน. ลูคาริสดำรงตำแหน่งต่อไป. ในปีต่อมา อะทานาซิอุสแห่งเทซาโลนิกาได้จ่ายเงิน 60,000 เหรียญเงินเพื่อจะได้ตำแหน่ง. ลูคาริสถูกปลดอีกครั้ง. แต่ภายในเดือนเดียวเขาก็ได้รับการเรียกตัวและกลับสู่ตำแหน่งเดิม. จากนั้นซีริล โกนตารีได้รวบรวมเงิน 50,000 เหรียญเงิน. คราวนี้ลูคาริสถูกเนรเทศไปที่เกาะโรดส์. หลังจากนั้นหกเดือน เหล่าสหายของเขาก็สามารถช่วยเขาให้คืนสู่ตำแหน่งอีก.
อย่างไรก็ตาม ในปี 1638 พวกเยสุอิตกับพวกออร์โทด็อกซ์ผู้สมรู้ร่วมคิดได้กล่าวหาว่าลูคาริสกบฏต่อจักรวรรดิออตโตมาน. ครั้งนี้สุลต่านสั่งประหารเขา. ลูคาริสถูกจับกุมและในวันที่ 27 กรกฎาคม 1638 เขาถูกนำตัวลงเรือเหมือนกับเพื่อเนรเทศ. ทันทีที่เรือออกทะเลเขาก็ถูกรัดคอ. ศพเขาถูกฝังใกล้หาดทราย ต่อมาถูกขุดขึ้นมาและโยนลงทะเล. ศพเขาถูกพบโดยชาวประมงและต่อมาก็ถูกฝังโดยเพื่อน ๆ ของเขา.
บทเรียนสำหรับเรา
ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งกล่าวว่า “ที่ไม่ควรมองข้ามคือว่า จุดมุ่งหมายสำคัญอันดับแรกอย่างหนึ่ง [ของลูคาริส] คือ เพื่อให้ความกระจ่างและยกระดับความรู้ของพวกนักเทศน์นักบวชและฝูงแกะของเขา ซึ่งในศตวรรษที่สิบหกและต้นศตวรรษที่สิบเจ็ดนั้นได้ตกต่ำถึงขีดสุด.” อุปสรรคมากมายขัดขวางลูคาริสไม่ให้บรรลุจุดหมาย. เขาถูกปลดจากตำแหน่งสังฆราชห้าครั้ง. หลังจากเขาสิ้นชีวิตสามสิบสี่ปี การประชุมสภาคริสตจักรในเยรูซาเลมประกาศสาปแช่งความเชื่อของเขาว่าเป็นแบบนอกรีต. พวกเขาประกาศว่าพระคัมภีร์ “เป็นสิ่งที่ควรอ่าน ไม่ใช่โดยใครก็ได้ แต่เฉพาะคนที่มองลึกเข้าไปในสิ่งลึกซึ้งของพระวิญญาณหลังจากที่ได้ค้นคว้าอย่างเหมาะสมแล้ว”—นั่นก็คือ เฉพาะแต่พวกนักเทศน์นักบวชที่คิดเอาเองว่ามีความรู้นั่นเอง.
อีกครั้งหนึ่งที่ชนชั้นปกครองของคริสตจักรได้ยับยั้งความพยายามในการทำให้พระคำของพระเจ้าเป็นที่หาอ่านได้สำหรับฝูงแกะของตน. ด้วยความโหดร้ายทารุณ พวกเขาปิดปากผู้ที่ชี้ถึงความผิดพลาดบางอย่างในความเชื่อของพวกเขาซึ่งไม่เป็นไปตามคัมภีร์ไบเบิล. ปรากฏว่าพวกเขาอยู่ในเหล่าศัตรูร้ายกาจที่สุดของเสรีภาพและความจริงทางศาสนา. น่าเศร้า นี่เป็นเจตคติที่หลงเหลือมาจนถึงสมัยของเราในหลายทางทีเดียว. เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจที่พึงใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อพวกวางแผนร้ายซึ่งถูกยุยงโดยพวกนักเทศน์นักบวชทำการต่อต้านเสรีภาพในการคิดและการแสดงออกซึ่งความคิด.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 24 ในคำแถลงความเชื่อ ของเขา เขาสนับสนุนเรื่องตรีเอกานุภาพและหลักคำสอนเรื่องพระเจ้าลิขิตและเรื่องจิตวิญญาณอมตะ—ซึ่งล้วนไม่ใช่คำสอนในคัมภีร์ไบเบิล.
[คำโปรยหน้า 29]
ลูคาริสได้พยายามอย่างน่าชมเชยเพื่อทำให้คัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจต่อหลักคำสอนของคริสตจักรและเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลแก่ประชาชน
[กรอบ/ภาพหน้า 28]
ลูคาริสและโคเดกซ์อะเล็กซานดรินุส
หนึ่งในสิ่งล้ำค่าของหอสมุดบริเตนคือ โคเดกซ์อะเล็กซานดรินุส ฉบับสำเนาของคัมภีร์ไบเบิลในศตวรรษที่ห้าแห่งสากลศักราช. เป็นไปได้ว่า จากเดิมที่มี 820 แผ่นนั้น มี 773 แผ่นถูกเก็บรักษาไว้.
ขณะที่ลูคาริสเป็นสังฆราชแห่งอะเล็กซานเดรีย อียิปต์ เขามีหนังสือต่าง ๆ รวบรวมไว้เป็นจำนวนมากทีเดียว. เมื่อเขาได้เป็นสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล เขาเอาโคเดกซ์อะเล็กซานดรินุสไปด้วย. ในปี 1624 เขามอบโคเดกซ์นี้แก่เอกอัครราชทูตแห่งบริเตนประจำตุรกีเพื่อเป็นของขวัญแด่พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่งแห่งอังกฤษ. โคเดกซ์นี้ถูกมอบต่อแก่ผู้สืบบัลลังก์ของพระองค์ คือพระเจ้าชาลส์ที่หนึ่ง เมื่ออีกสามปีให้หลัง.
ในปี 1757 หอสมุดส่วนพระองค์ของกษัตริย์ถูกยกให้ชาวบริเตน และปัจจุบันโคเดกซ์ชิ้นเยี่ยมนี้ตั้งแสดงอยู่ในห้องแสดงผลงานศิลป์ จอห์น ริตแบลต ในหอสมุดบริเตนแห่งใหม่.
[ที่มาของภาพ]
Gewerbehalle, Vol. 10
จากโคเดกซ์อะเล็กซานดรินุสในลักษณะของภาพสำเนาย่อส่วน 1909
[ที่มาของภาพหน้า 26]
Bib. Publ. Univ. de Genève