จงเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า
จงเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า
“เรามีคำกล่าวเชิงพยากรณ์ที่แน่นอนยิ่งขึ้น; และท่านทั้งหลายกำลังทำดีในการเอาใจใส่คำกล่าวนั้น.”—2 เปโตร 1:19, ล.ม.
1, 2. คุณอาจบอกได้ถึงตัวอย่างอะไรเกี่ยวกับมาซีฮาปลอม?
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่บรรดามาซีฮาปลอมได้พยายามทำนายอนาคต. ในศตวรรษที่ห้าแห่งสากลศักราช ชายคนหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่าโมเซยืนยันกับชาวยิวบนเกาะครีตว่าเขาคือพระมาซีฮา และจะช่วยพวกเขาให้พ้นจากการถูกกดขี่. ในวันที่กำหนดไว้ว่าพวกเขาจะได้รับอิสรภาพ พวกเขาติดตามชายผู้นี้ขึ้นไปยังที่สูงแห่งหนึ่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. ชายผู้นี้กล่าวว่าพวกเขาเพียงแค่กระโจนลงไปในทะเล แล้วทะเลก็จะแยกออกจากกันต่อหน้าพวกเขา. หลายคนที่กระโจนลงไปจมน้ำตาย และมาซีฮาปลอมคนนี้ก็หลบหนีไปอย่างไร้ร่องรอย.
2 ในศตวรรษที่ 12 “มาซีฮา” ผู้หนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่ประเทศเยเมน. กาหลิบซึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองถามเขาถึงหมายสำคัญที่พิสูจน์ว่าเขาเป็นพระมาซีฮา. “มาซีฮา” ผู้นี้เสนอให้กาหลิบสั่งตัดศีรษะเขา. เขาพยากรณ์ว่าเขาจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายอย่างรวดเร็วซึ่งจะเป็นหมายสำคัญ. กาหลิบตกลงตามแผนการนี้—และนั่นคือจุดจบของ “มาซีฮา” ผู้นี้.
3. ใครคือพระมาซีฮาแท้ และงานรับใช้ของพระองค์พิสูจน์ถึงอะไร?
3 มาซีฮาปลอมเหล่านี้และคำพยากรณ์ของพวกเขาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แต่การเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้าไม่เคยทำให้ผิดหวัง. พระเยซูคริสต์พระมาซีฮาแท้ทรงเป็นความสำเร็จสมจริงที่มีชีวิตของคำพยากรณ์หลายข้อในคัมภีร์ไบเบิล. ตัวอย่างเช่น โดยยกข้อความจากคำพยากรณ์ของยะซายา ผู้เขียนพระธรรมกิตติคุณมัดธายเขียนว่า “เขตแดนซะบูโลนและเขตแดนนัฟธาลี, จดทะเล, ฟากแม่น้ำยาระเดนข้างโน้น, คือฆาลิลายซึ่งเป็นที่อาศัยของคนต่างประเทศ คนเหล่านั้นซึ่งนั่งอยู่ในความมืดได้เห็นความสว่างอันใหญ่, และผู้ที่อยู่ในเงาแห่งความตายก็มีความสว่างส่องมาถึงเขาแล้ว. ตั้งแต่นั้นมาพระเยซูได้ทรงตั้งต้นเทศนากล่าวว่า, จงกลับใจเสียใหม่, เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว.” (มัดธาย 4:15-17; ยะซายา 9:1, 2) พระเยซูทรงเป็น “ความสว่างอันใหญ่” ดังกล่าว และงานรับใช้ของพระองค์พิสูจน์ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้พยากรณ์ที่โมเซบอกไว้ล่วงหน้า. คนที่ไม่ยอมฟังพระเยซูจะถูกทำลาย.—พระบัญญัติ 18:18, 19; กิจการ 3:22, 23.
4. พระเยซูทรงทำให้สำเร็จอย่างไรตามยะซายา 53:12?
4 พระเยซูทรงทำให้คำกล่าวเชิงพยากรณ์ที่ยะซายา 53:12 สำเร็จด้วย ที่ว่า “ผู้นั้นได้ยอมสละเลือดจนกระทั่งหยดสุดท้าย, และถูกนับเข้าอยู่ในจำพวกผู้ล่วงละเมิด, ในขณะที่เขาแบกความผิดบาปของคนทั้งหลายและได้เสนอความแทนคนล่วงละเมิดเหล่านั้น.” โดยตระหนักว่าไม่ช้าพระองค์จะประทานชีวิตมนุษย์ของพระองค์เป็นค่าไถ่ พระเยซูทรงเสริมความเชื่อของเหล่าสาวก. (มาระโก 10:45) พระองค์ทรงทำเช่นนั้นด้วยวิธีอันโดดเด่นโดยการจำแลงพระกาย.
การจำแลงพระกายเสริมสร้างความเชื่อ
5. โดยใช้คำพูดของคุณเอง คุณจะพรรณนาอย่างไรถึงการจำแลงพระกาย?
5 การจำแลงพระกายเป็นเหตุการณ์เชิงพยากรณ์. พระเยซูตรัสว่า “บุตรมนุษย์จะเสด็จมาด้วยรัศมีแห่งพระบิดาพร้อมกับพวกทูต . . . เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายตามจริงว่า, ในพวกท่านที่ยืนอยู่ที่นี่ มีบางคนซึ่งยังจะไม่ชิมความตายกว่าจะได้เห็นบุตรมนุษย์มาในแผ่นดินของท่าน.” (มัดธาย 16:27, 28) อัครสาวกบางคนเห็นพระเยซูเสด็จมาในราชอาณาจักรของพระองค์จริง ๆ ไหม? มัดธาย 17:1-7 กล่าวว่า “ครั้นล่วงไปได้หกวันแล้ว, พระเยซูทรงพาเปโตร, ยาโกโบ, และโยฮันน้องของยาโกโบ ขึ้นภูเขาสูงแต่ลำพัง. แล้วรูปกายของพระองค์ก็เปลี่ยนไปต่อหน้าเขาเหล่านั้น.” ช่างเป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นอะไรเช่นนั้น! “พระพักตร์ของพระองค์ก็ผ่องใสเหมือนแสงอาทิตย์, ฉลองพระองค์ก็ขาวดุจแสงสว่าง. แล้วโมเซและเอลียาก็ปรากฏแก่พวกสาวกเหล่านั้น มาเฝ้าสนทนากับพระองค์.” นอกจากนั้น “บังเกิดมีเมฆสุกใสมาคลุมเขาไว้” และพวกเขาได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าเองตรัสว่า “ ‘ท่านนี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านนี้มาก จงเชื่อฟังท่านเถิด.’ ฝ่ายพวกสาวกเมื่อได้ยินก็ซบหน้ากราบลงกลัวยิ่งนัก. พระเยซูจึงเสด็จมาถูกต้องเขาแล้วตรัสว่า, ‘จงลุกขึ้นเถิด อย่ากลัวเลย.’ ”
6. (ก) เพราะเหตุใดพระเยซูทรงเรียกการจำแลงพระกายว่านิมิต? (ข) การจำแลงพระกายแสดงภาพล่วงหน้าถึงอะไร?
6 เหตุการณ์อันน่าเกรงขามนี้คงเกิดขึ้น ณ สันเขาแห่งหนึ่งของภูเขาเฮระโมน ซึ่งพระเยซูกับอัครสาวกสามคนค้างคืนที่นั่น. การจำแลงพระกายดูเหมือนว่าเกิดขึ้นตอนกลางคืน ซึ่งทำให้เหตุการณ์นี้เด่นชัดเป็นพิเศษ. เหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระเยซูทรงเรียกเหตุการณ์นี้ว่านิมิตคือ โมเซและเอลียาซึ่งเสียชีวิตไปนานแล้วไม่ได้อยู่ที่นั่นจริง ๆ. มีเพียงพระคริสต์เท่านั้นที่ทรงอยู่ที่นั่นจริง ๆ. (มัดธาย 17:8, 9, ล.ม.) การแสดงอันลานตาเช่นนั้นทำให้เปโตร, ยาโกโบ, และโยฮันมองเห็นภาพล่วงหน้าที่น่าตื่นตาตื่นใจถึงการประทับด้วยสง่าราศีของพระเยซูในอำนาจแห่งราชอาณาจักร. โมเซและเอลียาเป็นภาพเล็งถึงผู้ถูกเจิมซึ่งเป็นรัชทายาทร่วมกับพระเยซู และนิมิตนี้เสริมหลักฐานให้หนักแน่นยิ่งขึ้นเกี่ยวกับราชอาณาจักรและฐานะกษัตริย์ของพระองค์ในอนาคต.
7. เราทราบได้อย่างไรว่าเปโตรมีความทรงจำอันแจ่มชัดถึงการจำแลงพระกาย?
7 การจำแลงพระกายช่วยเสริมความเชื่อของอัครสาวกสามคนที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำหน้าในประชาคมคริสเตียน. พระพักตร์อันผ่องใสเจิดจ้าของพระคริสต์, ฉลองพระองค์อันวาววับ, และพระสุรเสียงของพระเจ้าเองที่ประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรที่รักซึ่งพวกเขาควรเชื่อฟัง—ทั้งหมดนี้ทำให้บรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด. แต่อัครสาวกต้องไม่เล่าเรื่องนิมิตนี้ให้ใครฟังจนกว่าพระเยซูจะคืนพระชนม์แล้ว. ประมาณ 32 ปีต่อมา นิมิตนี้ยังคงแจ่มชัดอยู่ในความคิดของเปโตร. โดยชี้ถึงนิมิตนี้และความหมาย ท่านเขียนว่า “เปล่า มิใช่โดยการติดตามนิยายที่เขาแต่งขึ้นด้วยความฉลาดแกมโกงนั้นหรอกที่เราทำให้ท่านทั้งหลายรู้จักอำนาจและการประทับของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา แต่โดยการที่เราได้เป็นประจักษ์พยานเกี่ยวกับความเลอเลิศของพระองค์. เพราะพระองค์ทรงได้รับเกียรติยศและสง่าราศีจากพระเจ้า พระบิดา คราวเมื่อคำตรัสเช่นคำเหล่านี้มาถึงพระองค์โดยสง่าราศี2 เปโตร 1:16-18, ล.ม.
อันเลอเลิศว่า ‘ผู้นี้เป็นบุตรผู้เป็นที่รักของเรา ผู้ซึ่งเราเองได้รับรองไว้.’ ถูกแล้ว เราได้ยินคำตรัสเหล่านี้จากสวรรค์ขณะที่เราได้อยู่กับพระองค์ในภูเขาบริสุทธิ์.”—8. (ก) การประกาศของพระเจ้าเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์เพ่งความสนใจไปที่อะไร? (ข) เมฆที่ปรากฏในการจำแลงพระกายบ่งชี้ถึงอะไร?
8 ส่วนสำคัญที่สุดคือการประกาศของพระเจ้าที่ว่า “ท่านนี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านนี้มาก จงเชื่อฟังท่านเถิด.” คำตรัสนี้เพ่งความสนใจไปที่พระเยซูในฐานะกษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ของพระเจ้า ซึ่งสิ่งทรงสร้างทั้งปวงต้องเชื่อฟัง. เมฆที่บดบังชี้ว่าความสำเร็จสมจริงของนิมิตนี้จะไม่ปรากฏแก่ตา. ความสำเร็จสมจริงนั้นจะเป็นที่เข้าใจเฉพาะแต่คนเหล่านั้นที่มีตาแห่งความเข้าใจซึ่งยอมรับ “หมายสำคัญ” แห่งการประทับที่ไม่ปรากฏแก่ตาของพระเยซูในอำนาจแห่งราชอาณาจักร. (มัดธาย 24:3) ที่จริง การที่พระเยซูทรงมีรับสั่งไม่ให้บอกนิมิตนั้นแก่ใครจนกว่าพระองค์จะคืนพระชนม์แล้วแสดงว่า การที่พระองค์จะได้รับการยกชูและได้รับสง่าราศีจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนพระชนม์.
9. เหตุใดการจำแลงพระกายน่าจะเสริมความเชื่อของเรา?
9 หลังจากกล่าวถึงการจำแลงพระกาย เปโตรกล่าวว่า “เหตุฉะนั้น เรามีคำกล่าวเชิงพยากรณ์ที่แน่นอนยิ่งขึ้น; และท่านทั้งหลายกำลังทำดีในการเอาใจใส่คำกล่าวนั้นเสมือนตะเกียงส่องสว่างในที่มืด ในหัวใจของท่านทั้งหลาย จนกระทั่งรุ่งอรุณและดาวประกายพรึกขึ้นมา. เพราะท่านทั้งหลายทราบข้อนี้ก่อน คือว่า ไม่มีคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ที่เกิดจากการแปลความหมายตามอำเภอใจแต่อย่างใด. เพราะไม่มีคราวใดที่มีการนำคำพยากรณ์ออกมาตามน้ำใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ได้กล่าวมาจากพระเจ้า ตามที่เขาได้รับการทรงนำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (2 เปโตร 1:19-21, ล.ม.) การจำแลงพระกายเน้นถึงความน่าเชื่อถือแห่งคำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า. เราต้องเอาใจใส่ในพระคำนั้น ไม่ใช่ใน “นิยายที่เขาแต่งขึ้นด้วยความฉลาดแกมโกง” ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนหรือเห็นชอบจากพระเจ้า. ความเชื่อของเราในคำกล่าวเชิงพยากรณ์น่าจะได้รับการเสริมให้เข้มแข็งโดยการจำแลงพระกาย เนื่องจากภาพนิมิตที่ทำให้เห็นล่วงหน้าถึงสง่าราศีของพระเยซูและอำนาจแห่งราชอาณาจักรได้ปรากฏเป็นจริงแล้ว. ใช่แล้ว เรามีหลักฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเวลานี้พระคริสต์ทรงประทับในฐานะกษัตริย์ฝ่ายสวรรค์ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ.
วิธีที่ดาวประกายพรึกขึ้นมา
10. “ดาวประกายพรึก” ที่เปโตรกล่าวถึงคือใครหรืออะไร และเหตุใดคุณจึงตอบอย่างนั้น?
10 เปโตรเขียนว่า “ท่านทั้งหลายกำลังทำดีในการเอาใจใส่ [คำกล่าวเชิงพยากรณ์] เสมือนตะเกียงส่องสว่างในที่มืด ในหัวใจของท่านทั้งหลาย จนกระทั่งรุ่งอรุณและดาวประกายพรึกขึ้นมา.” “ดาวประกายพรึก” นี้คือใครหรืออะไร? คำ “ดาวประกายพรึก” ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ไบเบิล และมีความหมายเช่นเดียวกับ “ดาวรุ่ง.” วิวรณ์ 22:16 (ล.ม.) เรียกพระเยซูคริสต์ว่า “ดาวรุ่งอันสุกใส.” ในบางฤดูของแต่ละปี ดาวดังกล่าวเป็นดาวจำพวกสุดท้ายที่ขึ้นทางขอบฟ้าด้านตะวันออก. ดาวเหล่านี้ขึ้นก่อนหน้าดวงอาทิตย์จะปรากฏเล็กน้อย เป็นสัญญาณบอกว่ารุ่งอรุณของวันใหม่กำลังจะมาถึง. เปโตรใช้คำ “ดาวประกายพรึก” นี้พรรณนาถึงพระเยซูหลังจากที่พระองค์ทรงรับอำนาจแห่งราชอาณาจักร. ในตอนนั้นเอง พระเยซูทรงขึ้นมาในเอกภพทั้งสิ้น รวมทั้งแผ่นดินโลกของเราด้วย! ในฐานะดาวประกายพรึกมาซีฮา พระองค์ทรงเป็นสัญญาณถึงการเริ่มต้นแห่งวันใหม่หรือศักราชใหม่สำหรับมนุษยชาติที่เชื่อฟัง.
11. (ก) ทำไม 2 เปโตร 1:19 ไม่ได้หมายความว่า “ดาวประกายพรึก” ขึ้นมาในหัวใจจริง ๆ ของมนุษย์? (ข) คุณจะอธิบาย 2 เปโตร 1:19 อย่างไร?
11 ฉบับแปลคัมภีร์ไบเบิลหลายฉบับส่งเสริมแนวคิดที่ว่าคำพูดของอัครสาวกเปโตรดังบันทึกที่ 2 เปโตร 1:19 กล่าวถึงหัวใจจริง ๆ ของมนุษย์. หัวใจของผู้ใหญ่หนักเพียง 250-300 กรัม. พระเยซูคริสต์—ซึ่งบัดนี้ทรงเป็นกายวิญญาณอมตะที่ได้รับสง่าราศีอยู่ในสวรรค์—จะขึ้นมาในอวัยวะเล็ก ๆ นี้ของมนุษย์ได้อย่างไร? (1 ติโมเธียว 6:16) แน่นอน หัวใจโดยนัยของเราเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะเราเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้าโดยอาศัยหัวใจโดยนัย. แต่ขอให้พิจารณาดี ๆ ที่ 2 เปโตร 1:19 และคุณจะเห็นว่าในฉบับแปลโลกใหม่ (ภาษาไทย) เรียงประโยคให้ได้ความชัดโดยจัดวลี “ในหัวใจของท่านทั้งหลาย” ให้อยู่ข้างหน้าวลี “จนกระทั่งรุ่งอรุณและดาวประกายพรึกขึ้นมา.” ข้อนี้อาจกล่าวได้อย่างนี้: ‘เรามีคำกล่าวเชิงพยากรณ์ที่แน่นอนยิ่งขึ้น; และท่านทั้งหลายกำลังทำดีในการเอาใจใส่คำกล่าวนั้น เสมือนตะเกียงส่องสว่างในที่มืด กล่าวคือในหัวใจของท่านทั้งหลาย จนกระทั่งรุ่งอรุณและดาวประกายพรึกขึ้นมา.’
12. สภาพหัวใจของมนุษย์โดยทั่วไปเป็นเช่นไร แต่คริสเตียนแท้เป็นเช่นไร?
12 สภาพหัวใจโดยนัยของมนุษยชาติที่ผิดบาปโดยทั่วไปเป็นเช่นไร? หัวใจของพวกเขาอยู่ในความมืดฝ่ายวิญญาณ! อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นคริสเตียนแท้ ก็เหมือนกับเรามีตะเกียงส่องสว่างในหัวใจของเรา ซึ่งมิฉะนั้นแล้วก็จะอยู่ในความมืด. ดังที่คำกล่าวของเปโตรชี้ถึง โดยการเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้าซึ่งให้ความสว่าง คริสเตียนแท้จะตื่นตัวอยู่เสมอและหยั่งเห็นเข้าใจเกี่ยวกับรุ่งอรุณของวันใหม่. พวกเขาจะสำนึกถึงข้อเท็จจริงที่ว่าดาวประกายพรึกได้ขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่ในหัวใจฝ่ายเนื้อหนังของมนุษย์ หากแต่ขึ้นมาต่อหน้าสิ่งทรงสร้างทั้งสิ้น.
13. (ก) ทำไมเราจึงแน่ใจได้ว่าดาวประกายพรึกได้ขึ้นมาแล้ว? (ข) ทำไมคริสเตียนจึงสามารถอดทนสภาพลำบากต่าง ๆ ที่พระเยซูตรัสบอกล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นในสมัยของเรา?
13 ดาวประกายพรึกได้ขึ้นมาแล้ว! เราแน่ใจได้ในเรื่องนี้โดยเอาใจใส่คำพยากรณ์อันยิ่งใหญ่ของพระเยซูเกี่ยวกับการประทับของพระองค์. ปัจจุบัน เรากำลังเห็นความสำเร็จสมจริงตามคำพยากรณ์นั้นในเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน ไม่ว่าจะสงคราม, การกันดารอาหาร, แผ่นดินไหว, และการประกาศข่าวดีไปทั่วโลก. (มัดธาย 24:3-14) แม้ว่าสภาพยากลำบากต่าง ๆ ที่พระเยซูทรงบอกล่วงหน้าก่อผลกระทบต่อพวกเราที่เป็นคริสเตียนด้วย แต่เราอดทนได้ด้วยหัวใจที่สงบสุขและยินดี. เพราะเหตุใด? เนื่องจากเราเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้าและมีความเชื่อในสิ่งที่พระองค์ทรงสัญญาสำหรับอนาคต. เราทราบว่าเรากำลังยืนอยู่ ณ ธรณีประตูของสมัยที่ดีที่สุดเนื่องจากเราล่วงเข้ามาใน “เวลาอวสาน” มากแล้ว! (ดานิเอล 12:4, ล.ม.) โลกตกอยู่ในความลำบากอย่างหนักซึ่งบอกล่วงหน้าไว้ที่ยะซายา 60:2 ว่า “ดูเถอะ, ความมืดจะแผ่ปิดโลกไว้มิด, และความมืดทึบจะคลุมประชาชนไว้.” คนเราจะพบทางได้อย่างไรในความมืดเช่นนี้? เขาต้องถ่อมใจลงเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้าเสียแต่บัดนี้ ก่อนจะสายเกินไป. ผู้คนที่มีหัวใจสุจริตจำต้องหันมาหาพระยะโฮวาพระเจ้า แหล่งแห่งชีวิตและความสว่าง. (บทเพลงสรรเสริญ 36:9; กิจการ 17:28) ด้วยการทำอย่างนี้เท่านั้นคนเราจึงจะมีความสว่างแท้และมีความหวังที่จะชื่นชมอนาคตอันน่าพิศวงซึ่งพระเจ้าทรงประสงค์สำหรับมนุษยชาติที่เชื่อฟัง.—วิวรณ์ 21:1-5.
“ความสว่างได้เข้ามาในโลกแล้ว”
14. เราต้องทำเช่นไรเพื่อจะประสบกับความสำเร็จสมจริงตามคำพยากรณ์อันยอดเยี่ยมของคัมภีร์ไบเบิล?
14 พระคัมภีร์กล่าวไว้ชัดเจนว่าบัดนี้พระเยซูคริสต์กำลังปกครองในฐานะกษัตริย์. เนื่องด้วยการเสด็จขึ้นสู่อำนาจของพระองค์ในปี 1914 คำพยากรณ์ที่ยอดเยี่ยมต่าง ๆ ยังจะต้องได้สำเร็จเป็นจริง. เพื่อจะประสบกับความสำเร็จสมจริงของคำพยากรณ์เหล่านั้น เราต้องพิสูจน์ตัวเป็นคนอ่อนน้อมที่แสดงความเชื่อในพระเยซูคริสต์, กลับใจจากการทำบาปและบาปที่ทำด้วยความไม่รู้. แน่นอน คนที่รักความมืดจะไม่ได้รับชีวิตนิรันดร์. พระเยซูตรัสว่า “หลักของการพิพากษาก็เป็นอย่างนี้ คือว่าความสว่างได้เข้ามาในโลกแล้วแต่มนุษย์ได้รักความมืดมากกว่ารักความสว่าง เพราะการของเขาชั่ว. เพราะผู้ที่ทำสิ่งชั่วย่อมชังความสว่างและไม่ได้มาถึงความสว่าง เพื่อการของตนจะไม่ถูกว่ากล่าว. แต่ผู้ที่ทำสิ่งซึ่งเป็นความจริงย่อมมาถึงความสว่าง เพื่อการของตนจะปรากฏว่าได้ทำไปอย่างที่ประสานกันกับพระเจ้า.”—โยฮัน 3:19-21, ล.ม.
15. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราละเลยความรอดที่พระเจ้าได้ทรงทำให้เป็นไปได้โดยทางพระบุตรของพระองค์?
15 ความสว่างฝ่ายวิญญาณได้เข้ามาในโลกโดยทางพระเยซู และการเชื่อฟังพระองค์เป็นเรื่องสำคัญ. เปาโลเขียนว่า “พระเจ้า ซึ่งได้ตรัสเมื่อนานมาแล้วในหลายโอกาสและหลายวิธีกับบรรพบุรุษของเราโดยทางผู้พยากรณ์ ได้ตรัสแก่เราทั้งหลายในคราวที่สุดแห่งสมัยนี้โดยทางพระบุตรผู้ซึ่งพระองค์ทรงตั้งไว้เป็นทายาทแห่งสรรพสิ่ง.” (เฮ็บราย 1:1, 2, ล.ม.) จะเกิดอะไรขึ้นหากเราดูถูกความรอดที่พระเจ้าได้ทรงทำให้เป็นไปได้โดยทางพระบุตรของพระองค์? เปาโลกล่าวต่อไปว่า “ถ้าถ้อยคำที่ตรัสโดยทางทูตสวรรค์ปรากฏว่าเป็นเรื่องแน่นอน และการล่วงละเมิดและไม่เชื่อฟังทุกอย่างได้รับการสนองโทษตามความยุติธรรมแล้ว; เราจะหนีให้พ้นอย่างไรถ้าเราไม่ใส่ใจความรอดอันสำคัญยิ่งเช่นนั้น เพราะว่าความรอดนั้นเริ่มมีการกล่าวถึงโดยองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราและมีการยืนยันแก่พวกเราโดยคนเหล่านั้นที่ได้ฟังพระองค์ ขณะที่พระเจ้าทรงร่วมเป็นพยานด้วยหมายสำคัญรวมทั้งการอัศจรรย์และการอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ และด้วยการประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามพระทัยประสงค์ของพระองค์?” (เฮ็บราย 2:2-4, ล.ม.) ใช่แล้ว พระเยซูทรงเป็นจุดรวมของการประกาศคำกล่าวเชิงพยากรณ์.—วิวรณ์ 19:10.
16. ทำไมเราจึงสามารถมีความเชื่อเต็มเปี่ยมในคำพยากรณ์ทุกข้อของพระยะโฮวาพระเจ้า?
16 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เปโตรบอกว่า “ไม่มีคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ที่เกิดจากการแปลความหมายตามอำเภอใจแต่อย่างใด.” ลำพังมนุษย์เองไม่อาจทำให้เกิดคำพยากรณ์แท้ได้ แต่เราสามารถมีความเชื่อเต็มเปี่ยมในคำพยากรณ์ทุกข้อของพระเจ้า. คำพยากรณ์เหล่านี้มาจากพระยะโฮวาพระเจ้าเอง. โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ได้ทรงทำให้ผู้รับใช้ของพระองค์สามารถเข้าใจวิธีที่คำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลกำลังสำเร็จสมจริง. ที่จริง เรารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาที่เราได้เห็นความสำเร็จสมจริงของคำพยากรณ์เหล่านั้นหลายข้อนับตั้งแต่ปี 1914. และเราเชื่อแน่ว่าคำพยากรณ์ที่เหลือทั้งหมดเกี่ยวกับอวสานของระบบชั่วนี้จะสำเร็จเป็นจริง. สำคัญที่เราจะเฝ้าระวังเอาใจใส่การบอกล่วงหน้าของพระเจ้าในขณะที่เราให้ความสว่างของเราส่องออกไป. (มัดธาย 5:16) เราขอบคุณพระยะโฮวาสักเพียงไรที่พระองค์กำลังทำให้ ‘แสงสว่างฉายขึ้นสำหรับเราในความมืดอันหนาทึบ’ ที่ห่อหุ้มแผ่นดินโลกอยู่ในเวลานี้!—ยะซายา 58:10.
17. เหตุใดเราจำเป็นต้องได้รับความสว่างฝ่ายวิญญาณจากพระเจ้า?
17 แสงสว่างทำให้เรามองเห็น. แสงสว่างยังทำให้พืชเติบโตและเป็นอาหารมากมายหลากหลายสำหรับเรา. เราไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากแสงสว่าง. จะว่าอย่างไรสำหรับความสว่างฝ่ายวิญญาณ? ความสว่างฝ่ายวิญญาณให้การชี้นำและบอกเราถึงอนาคตที่มีแจ้งไว้ล่วงหน้าในคัมภีร์ไบเบิล บทเพลงสรรเสริญ 119:105) ด้วยความรัก พระยะโฮวาพระเจ้า ‘ทรงส่งความสว่างและความจริงของพระองค์ออกไป.’ (บทเพลงสรรเสริญ 43:3) แน่นอน เราควรแสดงความหยั่งรู้ค่าลึกซึ้งต่อการจัดเตรียมเช่นนั้น. ด้วยเหตุนั้น ให้เราทำสุดกำลังของเราในการซึมซับแสงสว่างแห่ง “ความรู้อันรุ่งโรจน์ของพระเจ้า” เพื่อให้ส่องสว่างแก่หัวใจโดยนัยของเรา.—2 โกรินโธ 4:6, ล.ม.; เอเฟโซ 1:18.
พระคำของพระเจ้า. (18. ดาวประกายพรึกของพระยะโฮวาพร้อมจะทำอะไรในเวลานี้?
18 เราได้รับพระพรสักเพียงไรที่ทราบว่าในปี 1914 พระเยซูคริสต์ ดาวประกายพรึก ทรงขึ้นมาในเอกภพทั้งสิ้นและเริ่มทำให้สำเร็จตามนิมิตการจำแลงพระกาย! บัดนี้ ดาวประกายพรึกของพระยะโฮวากำลังปรากฏอยู่ พร้อมจะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าในความสำเร็จสมจริงขั้นต่อไปของการจำแลงพระกาย—“สงครามแห่งวันใหญ่ของพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ.” (วิวรณ์ 16:14, 16, ล.ม.) หลังจากที่ระบบเก่านี้ได้ถูกกวาดล้างไปแล้ว พระยะโฮวาจะทรงทำตามคำสัญญาของพระองค์เกี่ยวกับ “ฟ้าสวรรค์ใหม่และแผ่นดินโลกใหม่” ซึ่งเราจะสรรเสริญพระองค์ได้ตลอดไปในฐานะที่ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพและพระเจ้าแห่งคำพยากรณ์แท้. (2 เปโตร 3:13, ล.ม.) จนกว่าจะถึงวันอันยิ่งใหญ่นั้น ให้เราดำเนินต่อ ๆ ไปในความสว่างของพระเจ้าด้วยการเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า.
คุณจะตอบอย่างไร?
• คุณจะพรรณนาอย่างไรถึงการจำแลงพระกายของพระเยซู?
• การจำแลงพระกายเสริมสร้างความเชื่ออย่างไร?
• ดาวประกายพรึกของพระยะโฮวาคือใครหรืออะไร และดาวนี้ขึ้นมาเมื่อไร?
• เหตุใดเราควรเอาใจใส่คำกล่าวเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
คุณอธิบายได้ไหมถึงความหมายของการจำแลงพระกาย?
[ภาพหน้า 15]
ดาวประกายพรึกได้ขึ้นมาแล้ว. คุณทราบไหมว่าโดยวิธีใดและเมื่อไร?