‘จงช่วยตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด’
‘จงช่วยตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด’
“จงเอาใจใส่ตัวท่านและการสอนของท่านอยู่เสมอ. . . . ด้วยการทำอย่างนี้ท่านจะช่วยทั้งตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด.”—1 ติโมเธียว 4:16, ล.ม.
1, 2. อะไรกระตุ้นคริสเตียนแท้ให้ดำเนินต่อไปในงานช่วยชีวิต?
ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่โดดเดี่ยวห่างไกลในภาคเหนือของประเทศไทย สามีภรรยาคู่หนึ่งซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาพยายามใช้ทักษะของตนในภาษาที่เพิ่งเรียนมาได้ไม่นานในการพูดกับชาวเขา. เพื่อจะประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรแก่คนที่อยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้ สามีภรรยาคู่นี้ได้เริ่มเรียนภาษาลาฮูเมื่อไม่นานมานี้เอง.
2 “เป็นเรื่องยากที่จะพรรณนาถึงความยินดีและความอิ่มใจที่เราได้รับ เมื่อได้ทำงานท่ามกลางผู้คนที่น่าสนใจเหล่านี้” ผู้เป็นสามีชี้แจง. “เรารู้สึกว่าได้เข้าไปมีส่วนจริง ๆ ในความสำเร็จของวิวรณ์ 14:6, 7 (ฉบับแปลใหม่) ด้วยการประกาศข่าวดี ‘แก่ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชาติ ทุกภาษา.’ มีเขตใหม่เหลืออยู่ไม่มากนักที่ข่าวดียังไปไม่ถึง และแน่นอนว่านี่เป็นเขตหนึ่ง. เรามีรายศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมากจนเราเกือบรับไม่ไหว.” เห็นได้ชัด สามีภรรยาคู่นี้หวังที่จะช่วยไม่เพียงตัวเขาเองเท่านั้น แต่ช่วยคนเหล่านั้นที่ฟังเขาให้รอดด้วย. ในฐานะคริสเตียน เราทุกคนหวังที่จะทำอย่างเดียวกันมิใช่หรือ?
‘จงเอาใจใส่ตัวท่านอยู่เสมอ’
3. เพื่อจะช่วยผู้อื่น เราต้องทำอะไรก่อน?
3 อัครสาวกเปาโลแนะนำติโมเธียวว่า “จงเอาใจใส่ตัวท่านและการสอนของท่านอยู่เสมอ” และข้อนี้ใช้ได้กับคริสเตียน1 ติโมเธียว 4:16, ล.ม.) ที่จริง เพื่อช่วยผู้อื่นให้ได้รับความรอด เราต้องเอาใจใส่ตัวเราเองก่อน. เราจะทำเช่นนี้ได้อย่างไร? ประการหนึ่งนั้น เราต้องตื่นตัวอยู่เสมอต่อยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้. พระเยซูทรงให้สัญลักษณ์หลายอย่างประกอบกัน เพื่อเหล่าสาวกจะทราบว่า “ช่วงอวสานของระบบนี้” จะมาถึงเมื่อไร. กระนั้น พระเยซูตรัสด้วยว่าเราจะไม่ทราบแน่ชัดลงไปว่าอวสานจะมาเมื่อไร. (มัดธาย 24:3, 36, ล.ม.) เราควรตอบสนองอย่างไรต่อข้อเท็จจริงนี้?
ทุกคน. (4. (ก) เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อเวลาที่ยังเหลืออยู่สำหรับระบบนี้? (ข) เราควรหลีกเลี่ยงเจตคติเช่นไร?
4 เราแต่ละคนอาจถามว่า ‘ฉันกำลังใช้เวลาที่เหลืออยู่ของระบบนี้เพื่อช่วยตัวฉันและคนที่ฟังฉันให้รอดไหม? หรือฉันคิดว่า “เนื่องจากเราไม่ทราบแน่ชัดว่าอวสานจะมาเมื่อไร ฉันจะไม่สนใจอะไรนักในเรื่องนี้”?’ เจตคติอย่างหลังนับว่าอันตราย. เจตคติแบบนี้สวนทางกับคำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่ว่า “จงเตรียมตัวพร้อมเพราะในโมงที่ท่านไม่คิดว่าเป็นเวลานั้น บุตรมนุษย์จะเสด็จมา.” (มัดธาย 24:44, ล.ม.) แน่นอน นี่ไม่ใช่เวลาที่จะสูญเสียความกระตือรือร้นของเราในงานรับใช้พระยะโฮวา หรือหมายพึ่งโลกนี้เพื่อความมั่นคงหรือความอิ่มใจพอใจ.—ลูกา 21:34-36.
5. เหล่าพยานของพระยะโฮวาก่อนยุคคริสเตียนวางตัวอย่างอะไรไว้?
5 อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถแสดงได้ว่าเรากำลังเอาใจใส่ตัวเราเองก็คือโดยการอดทนอย่างซื่อสัตย์ในฐานะคริสเตียน. ผู้รับใช้ของพระเจ้าในอดีตอดทนอยู่เสมอ ไม่ว่าพวกเฮ็บราย 11:13; 12:1, ล.ม.
เขาคาดหมายว่าจะได้รับการช่วยให้รอดในทันทีหรือไม่ก็ตาม. หลังจากที่อ้างถึงตัวอย่างดังกล่าวของเหล่าพยานก่อนยุคคริสเตียน อย่างเช่น เฮเบล, ฮะโนค, โนฮา, อับราฮาม, และซารา, เปาโลให้ข้อสังเกตว่า “เขามิได้รับผลตามคำสัญญา . . . แต่ก็แลเห็นแต่ไกลและยินดีต้อนรับไว้ และได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่าตนเป็นคนแปลกถิ่นและเป็นคนอาศัยชั่วคราวในแผ่นดินนั้น.” พวกเขาไม่ได้ยอมแพ้แก่ความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่สะดวกสบาย อีกทั้งไม่ได้ยอมแพ้แก่แรงกดดันอันเสื่อมศีลธรรมซึ่งอยู่รอบตัว แต่พวกเขาคอยท่าอย่างกระตือรือร้นที่จะ “ได้รับผลตามคำสัญญา.”—6. ทัศนะของคริสเตียนในศตวรรษแรกเกี่ยวกับความรอดมีผลต่อวิธีที่เขาดำเนินชีวิตอย่างไร?
6 นอกจากนั้น คริสเตียนในศตวรรษแรกยังมองตัวเองว่าเป็น “คนต่างด้าว” ในโลกนี้. (1 เปโตร 2:11, ล.ม.) แม้แต่ภายหลังได้รับการช่วยให้รอดผ่านความพินาศของกรุงยะรูซาเลมในปี ส.ศ. 70 คริสเตียนแท้ไม่ได้เลิกประกาศหรือถอยกลับสู่แนวทางชีวิตแบบโลก. พวกเขาทราบว่าความรอดอันยิ่งใหญ่คอยอยู่สำหรับผู้ที่รักษาความซื่อสัตย์. ที่จริง ล่วงเลยไปจนถึงปี ส.ศ. 98 แล้วอัครสาวกเปาโลจึงได้เขียนว่า “โลกกับความปรารถนาของโลกกำลังผ่านพ้นไป แต่ผู้ที่ทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าจะดำรงอยู่ตลอดไปเป็นนิตย์.”—1 โยฮัน 2:17, 28, ล.ม.
7. พยานพระยะโฮวาได้แสดงความอดทนอย่างไรในสมัยปัจจุบัน?
7 ในสมัยปัจจุบัน พยานพระยะโฮวาก็เช่นกันได้บากบั่นในงานของคริสเตียน แม้ว่าพวกเขาประสบการกดขี่ข่มเหงอันร้ายกาจ. ความอดทนของพวกเขาไร้ประโยชน์ไหม? ไม่เป็นอย่างนั้นแน่ เพราะพระเยซูทรงรับรองกับเราว่า “ผู้ใดที่ได้อดทนจนถึงที่สุดผู้นั้นจะได้รับการช่วยให้รอด” ไม่ว่าจะเป็นที่สุดของระบบเก่าหรือที่สุดแห่งชีวิตปัจจุบันของผู้นั้น. ในการปลุกคนตายให้กลับมีชีวิตอีก พระยะโฮวาจะทรงระลึกถึงและประทานรางวัลแก่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ทุกคนซึ่งได้ตายไป.—มัดธาย 24:13, ล.ม.; เฮ็บราย 6:10.
8. เราจะแสดงได้อย่างไรว่าเราหยั่งรู้ค่าความอดทนของคริสเตียนในอดีต?
8 นอกจากนั้น เรายินดีที่คริสเตียนผู้ซื่อสัตย์ในอดีตไม่ได้ห่วงเฉพาะความรอดของตัวเอง. แน่นอน พวกเราซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าเนื่องด้วยความพยายามของพวกเขา รู้สึกขอบคุณที่พวกเขาอดทนในการทำงานที่พระเยซูทรงมอบหมายไว้ว่า “เหตุฉะนั้น จงไปและทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก . . . สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) ตราบใดโอกาสยังเปิดให้เรา เราสามารถแสดงความรู้สึกขอบคุณด้วยการประกาศแก่คนอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยได้ยินข่าวดี. อย่างไรก็ตาม การประกาศเป็นเพียงขั้นแรกในการทำคนให้เป็นสาวก.
‘จงเอาใจใส่การสอนของท่าน’
9. เจตคติในแง่บวกอาจช่วยเราได้อย่างไรในการเริ่มการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
9 งานมอบหมายของเราไม่ได้มีเฉพาะแต่การประกาศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสอนด้วย. พระเยซูทรงมอบหมายให้เราสอนผู้คนให้ปฏิบัติตามทุกสิ่งที่พระองค์ทรงมีพระบัญชา. จริงอยู่ ในบางเขตดูเหมือนว่ามีไม่กี่คนที่ปรารถนาจะเรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา. แต่การมีทัศนะในแง่ลบต่อเขตประกาศอาจกีดกั้นความพยายามของเราในการเริ่มการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ไพโอเนียร์คนหนึ่งชื่ออีฟเวตซึ่งทำงานในเขตที่บางคนบอกว่าไม่บังเกิดผลสังเกตว่าพี่น้องที่มาเยือน ซึ่งไม่มีเจตคติในแง่ลบเช่นนั้น สามารถเริ่มการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลบางราย. หลังจากที่เธอมองในแง่บวกมากขึ้น อีฟเวตก็เช่นกันพบผู้คนที่ต้องการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
10. เรามีบทบาทพื้นฐานอะไรในฐานะผู้สอนคัมภีร์ไบเบิล?
10 คริสเตียนบางคนอาจลังเลที่จะเสนอการศึกษากับผู้สนใจเพราะเขารู้สึกว่าเขาไม่สามารถนำการศึกษาได้. จริงอยู่ เรามีระดับความสามารถต่างกัน. แต่เราไม่จำเป็นต้องมีความชำนิชำนาญอย่างสูงจึงจะประสบผลสำเร็จในฐานะผู้สอนพระคำของพระเจ้า. ข่าวสารบริสุทธิ์ในคัมภีร์ไบเบิลมีพลัง และพระเยซูตรัสว่าคนเยี่ยงแกะรู้จักเสียงของผู้เลี้ยงแกะแท้เมื่อพวกเขาได้ยินเสียงนั้น. ดังนั้น เรามีหน้าที่เพียงแค่ถ่ายทอดข่าวสารเกี่ยวกับพระเยซูผู้เลี้ยงแกะที่ดีให้ชัดเจนเท่าที่เราทำได้.—โยฮัน 10:4, 14.
11. คุณจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไรในการช่วยนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
11 คุณจะถ่ายทอดข่าวสารของพระเยซูอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้อย่างไร? เริ่มต้นด้วยการทำความคุ้นเคยกับสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังพิจารณา. คุณเองสุภาษิต 16:21.
ต้องเข้าใจเรื่องก่อนที่จะสอนคนอื่นในเรื่องนั้นได้. นอกจากนั้น พยายามรักษาบรรยากาศที่น่านับถือแต่เป็นกันเองระหว่างที่ศึกษา. นักศึกษา รวมทั้งนักศึกษาอายุน้อย ๆ เรียนรู้ได้ดีกว่าเมื่อพวกเขาผ่อนคลายและผู้สอนแสดงความนับถือและความกรุณาต่อเขา.—12. คุณจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่านักศึกษาเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังสอนเขา?
12 ในฐานะผู้สอน คุณคงไม่ต้องการแต่เพียงเสนอข้อเท็จจริงให้นักศึกษาท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง. จงช่วยเขาให้เข้าใจสิ่งที่เขากำลังเรียน. ระดับการศึกษา, ประสบการณ์ชีวิต, และความคุ้นเคยกับคัมภีร์ไบเบิลของนักศึกษาจะมีผลต่อความเข้าใจของเขาในเรื่องที่คุณพูด. ด้วยเหตุนั้น คุณอาจถามตัวเองว่า ‘เขาเข้าใจความหมายของข้อพระคัมภีร์ที่อ้างถึงในเรื่องที่ศึกษาไหม?’ คุณอาจช่วยเขาให้เผยความคิดออกมาโดยใช้คำถามที่ไม่สามารถตอบง่าย ๆ ว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่ต้องอธิบาย. (ลูกา 9:18-20) ในอีกด้านหนึ่ง นักศึกษาบางคนลังเลที่จะถามผู้สอน. ดังนั้น เขาอาจเรียนไปเรื่อย ๆ โดยไม่เข้าใจถ่องแท้ในสิ่งที่ได้สอนเขา. จงสนับสนุนให้นักศึกษาถามเรื่องที่เขาสงสัยและบอกให้คุณทราบเมื่อเขาไม่ค่อยเข้าใจบางจุด.—มาระโก 4:10; 9:32, 33.
13. คุณจะช่วยนักศึกษาให้เป็นผู้สอนได้อย่างไร?
13 เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลคือ เพื่อช่วยนักศึกษาให้เป็นผู้สอนต่อไป. (ฆะลาเตีย 6:6) เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ขณะทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไป คุณอาจขอเขาให้อธิบายจุดหนึ่งให้คุณฟังโดยใช้คำพูดง่าย ๆ เหมือนกับว่าเขากำลังอธิบายแก่คนที่ได้ยินเรื่องนั้นเป็นครั้งแรก. ต่อมา เมื่อเขามีคุณวุฒิเข้าร่วมงานรับใช้ คุณอาจเชิญเขาให้ไปด้วยกันกับคุณในเขตประกาศ. เขาคงจะรู้สึกสบายใจที่ได้ทำงานกับคุณ และประสบการณ์นี้จะช่วยเขาให้มั่นใจยิ่งขึ้นจนกระทั่งเขาพร้อมจะออกไปในงานรับใช้ด้วยตัวเขาเอง.
จงช่วยนักศึกษาให้เป็นมิตรของพระยะโฮวา
14. เป้าหมายสำคัญที่สุดของคุณในฐานะผู้สอนคืออะไร และอะไรจะช่วยส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายนั้น?
14 เป้าหมายสำคัญที่สุดของคริสเตียนทุกคนที่เป็นผู้สอนคือ การช่วยนักศึกษาให้มีมิตรภาพกับพระยะโฮวา. คุณจะทำเช่นนี้ให้สำเร็จได้ไม่เพียงแต่โดยอาศัยคำพูดของคุณ แต่โดยตัวอย่างของคุณด้วย. การสอนโดยตัวอย่างมีผลอันทรงพลังต่อหัวใจนักศึกษา. เป็นความจริงว่าการกระทำดังกว่าคำพูด โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกฝังคุณลักษณะด้านศีลธรรมและการกระตุ้นใจนักศึกษาให้มีใจแรงกล้า. หากเขาเห็นว่าคำพูดและการกระทำของคุณเกิดจากสัมพันธภาพที่ดีกับพระยะโฮวา เขาอาจได้รับแรงกระตุ้นมากขึ้นที่เขาเองจะปลูกฝังสัมพันธภาพเช่นนั้น.
15. (ก) เหตุใดจึงสำคัญที่นักศึกษาจะพัฒนาแรงกระตุ้นที่ถูกต้องในการรับใช้พระยะโฮวา? (ข) คุณจะช่วยนักศึกษาให้ทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณต่อ ๆ ไปได้อย่างไร?
15 คุณต้องการให้นักศึกษารับใช้พระยะโฮวาไม่ใช่เพียงเพราะเขาไม่อยากถูกทำลาย ณ อาร์มาเก็ดดอน แต่เนื่องจากเขารักพระองค์. โดยการช่วยเขาให้พัฒนาแรงกระตุ้นอันบริสุทธิ์เช่นนั้น คุณกำลังก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟซึ่งจะผ่านการทดสอบความเชื่อของเขาได้. (1 โกรินโธ 3:10-15) แรงกระตุ้นที่ไม่ถูกต้อง เช่น ความปรารถนาอันเกินควรที่จะเลียนแบบคุณหรือคนอื่น ๆ จะไม่ทำให้เขาเข้มแข็งพอจะต้านทานอิทธิพลในแนวทางที่ไม่ใช่แบบคริสเตียน อีกทั้งไม่ทำให้เขากล้าทำสิ่งที่ถูกต้อง. จำไว้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นผู้สอนเขาตลอดไป. ในขณะที่คุณยังมีโอกาสอยู่นี้ คุณอาจสนับสนุนเขาให้ใกล้ชิดพระยะโฮวายิ่งขึ้นโดยการอ่านพระคำของพระเจ้าทุกวันและคิดรำพึงถึงสิ่งที่ได้อ่าน. โดยวิธีนี้ เขาจะซึมซับ “แบบแผนแห่งถ้อยคำที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ” จากคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักต่อ ๆ ไปอีกนานหลังจากที่คุณจบการศึกษากับเขาไปแล้ว.—2 ติโมเธียว 1:13, ล.ม.
16. คุณจะสอนนักศึกษาให้อธิษฐานจากหัวใจได้อย่างไร?
16 นอกจากนี้ คุณสามารถช่วยนักศึกษาให้ใกล้ชิดพระยะโฮวายิ่งขึ้นโดยสอนเขาให้อธิษฐานจากหัวใจ. คุณจะทำเช่นนี้ได้อย่างไร? คุณอาจชี้ให้เขาดูคำอธิษฐานตัวอย่างของพระเยซู ตลอดจนคำอธิษฐานด้วยสิ้นสุดหัวใจซึ่งมีบันทึกไว้มากมายในคัมภีร์ไบเบิล เช่นในบทเพลงสรรเสริญ. (บทเพลงสรรเสริญ 17, 86, 143; มัดธาย 6:9, 10) นอกจากนี้ เมื่อนักศึกษาได้ยินคุณอธิษฐานเปิดและปิดการศึกษา เขาจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกของคุณต่อพระยะโฮวา. ดังนั้น คำอธิษฐานของคุณควรสะท้อนถึงความจริงใจและความเปิดเผยเสมอ รวมทั้งมีความสมดุลด้านวิญญาณและการแสดงอารมณ์ความรู้สึก.
พยายามช่วยบุตรให้รอด
17. บิดามารดาจะช่วยบุตรให้รักษาตัวอยู่ในเส้นทางสู่ความรอดได้อย่างไร?
17 ในบรรดาคนเหล่านั้นที่เราต้องการช่วยให้ได้รับความรอด ย่อมต้องรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของเราด้วยอย่างแน่นอน. ลูก ๆ ของบิดามารดาคริสเตียนจำนวนมากจริงใจและ “มั่นคงในความเชื่อ.” แต่ก็มีบางคนที่ความจริงอาจไม่ได้หยั่งรากลึกในหัวใจของเขา. (1 เปโตร 5:9; เอเฟโซ 3:17; โกโลซาย 2:7) หนุ่มสาวเหล่านี้หลายคนได้ละทิ้งแนวทางของคริสเตียนเมื่อเขาใกล้ถึงหรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่. หากคุณเป็นบิดาหรือมารดา คุณจะทำอะไรได้เพื่อทำให้มีโอกาสจะเป็นอย่างนั้นน้อยลง? ประการแรกที่คุณอาจทำได้ คือพยายามสร้างบรรยากาศที่ดีภายในครอบครัว. ชีวิตครอบครัวที่ดีจะวางรากฐานไว้สำหรับการมีทัศนะที่ดีต่ออำนาจ, การหยั่งรู้ค่าค่านิยมที่ดีงาม, และการมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกับผู้อื่น. (เฮ็บราย 12:9) ดังนั้น สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นภายในครอบครัวอาจเป็นแหล่งที่มิตรภาพระหว่างบุตรกับพระยะโฮวาจะงอกงามขึ้นได้. (บทเพลงสรรเสริญ 22:10) ครอบครัวที่เข้มแข็งทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยกันเป็นกลุ่ม—แม้ว่าบิดามารดาต้องเสียสละเวลาที่อาจใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว. โดยวิธีนี้คุณสามารถสอนบุตรด้วยตัวอย่างให้ตัดสินใจอย่างถูกต้องในชีวิต. บิดามารดาทั้งหลาย สิ่งที่บุตรของคุณจำเป็นต้องได้จากคุณมากที่สุดนั้นไม่ใช่ผลประโยชน์ด้านวัตถุ หากแต่เป็นตัวคุณ—เวลา, พลัง, และความรักของคุณ. คุณกำลังให้สิ่งเหล่านี้แก่บุตรไหม?
18. คำถามแบบไหนที่บิดามารดาต้องช่วยบุตรหาคำตอบ?
18 บิดามารดาที่เป็นคริสเตียนต้องไม่นึกเอาเองว่า บุตรของเขาจะเป็นคริสเตียนโดยอัตโนมัติ. แดเนียล ซึ่งเป็นผู้
ปกครองและบิดาของบุตรห้าคน ให้ข้อสังเกตว่า “พ่อแม่ต้องใช้เวลาเพื่อช่วยขจัดข้อสงสัยต่าง ๆ ที่ลูก ๆ ได้รับจากโรงเรียนและที่อื่น ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้. เขาต้องช่วยลูก ๆ อย่างอดทนในการหาคำตอบสำหรับคำถามต่าง ๆ อย่างเช่น ‘เรากำลังมีชีวิตอยู่ในสมัยสุดท้ายจริง ๆ หรือ? มีศาสนาแท้เพียงศาสนาเดียวจริง ๆ ไหม? ทำไมเพื่อนนักเรียนที่ดูเหมือนจะมีนิสัยดีจึงไม่ใช่คนที่ควรคบสนิท? เป็นเรื่องผิดเสมอไปไหมที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส?’ ” บิดามารดาทั้งหลาย คุณสามารถคาดหมายได้ว่าพระยะโฮวาจะทรงอวยพรความพยายามของคุณ เพราะพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในสวัสดิภาพของบุตรของคุณด้วยเช่นกัน.19. เหตุใดจึงดีที่สุดที่บิดามารดาจะศึกษากับบุตรด้วยตัวเอง?
19 บิดามารดาบางคนอาจรู้สึกว่ามีความสามารถไม่พอเมื่อมาถึงเรื่องการศึกษากับบุตรของตนเอง. อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกอย่างนั้น เพราะไม่มีใครอยู่ในฐานะที่ดีกว่าคุณในการสอนบุตรของคุณ. (เอเฟโซ 6:4) การศึกษากับบุตรของคุณเองจะทำให้คุณทราบได้ด้วยตัวเองถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจและความคิดของเขา. คำพูดของเขาแสดงความรู้สึกจากใจหรือว่าเป็นแบบผิวเผิน? เขาเชื่อจริง ๆ ไหมในสิ่งที่เขากำลังเรียน? พระยะโฮวาทรงเป็นบุคคลจริงสำหรับเขาไหม? คุณจะพบคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้รวมทั้งคำถามสำคัญอื่น ๆ ได้ก็ต่อเมื่อคุณศึกษากับบุตรด้วยตัวคุณเอง.—2 ติโมเธียว 1:5.
20. บิดามารดาอาจทำให้การศึกษาครอบครัวน่าเพลิดเพลินและเป็นประโยชน์ได้อย่างไร?
20 คุณจะรักษาตารางเวลาศึกษาครอบครัวได้อย่างไรเมื่อได้เริ่มแล้ว? โจเซฟซึ่งเป็นผู้ปกครองและบิดาของบุตรชายและบุตรหญิงเล็ก ๆ กล่าวว่า “เช่นเดียวกับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลทุกอย่าง การศึกษาครอบครัวควรจะน่าเพลิดเพลิน เป็นสิ่งที่ทุกคนคอยท่า. เพื่อจะบรรลุผลเช่นนี้ในครอบครัวของเรา เราต้องไม่ยึดตายตัวเกินไปในเรื่องเวลา. การศึกษาของเราอาจยาวหนึ่งชั่วโมง แต่แม้ในบางครั้งเรามีเวลาแค่สิบนาที เราก็ยังศึกษากัน. สิ่งหนึ่งที่ทำให้การศึกษาเป็นส่วนเด่นในสัปดาห์สำหรับลูก ๆ คือ เรานำเอาเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล มาแสดงเป็นละคร. * ความประทับใจและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เป็นผลของการทำอย่างนี้สำคัญยิ่งกว่าการพิจารณาให้ได้หลาย ๆ ย่อหน้า.”
21. บิดมารดาอาจสอนบุตรเมื่อไร?
21 แน่ละ การสอนบุตรไม่จำกัดเฉพาะช่วงเวลาที่ศึกษาเป็นทางการ. (พระบัญญัติ 6:5-7) พยานฯ ในประเทศไทยที่กล่าวถึงในตอนต้นกล่าวว่า “ผมจำได้ชัดเลยถึงวิธีที่คุณพ่อเคยพาผมไปด้วยในการประกาศ โดยใช้จักรยาน ไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ไกล ๆ ในเขตของประชาคมเรา. แน่นอน ตัวอย่างที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ของเราและการที่ท่านสอนเราในทุกสถานการณ์นั่นเองที่ช่วยเราให้ตัดสินใจเข้าสู่งานรับใช้เต็มเวลา. และบทเรียนเหล่านั้นฝังแน่น. ผมยังคงทำงานในเขตงานซึ่งอยู่ห่างไกลจนถึงเดี๋ยวนี้!”
22. จะเกิดผลเช่นไรจากการที่คุณ ‘เอาใจใส่ตัวคุณและการสอนของคุณ’?
22 สักวันหนึ่งในอีกไม่ช้า ในเวลาอันเหมาะ พระเยซูจะเสด็จมาสำเร็จโทษตามการพิพากษาของพระเจ้าต่อระบบนี้. เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นั้นจะผ่านเข้ามาในประวัติศาสตร์ของเอกภพ แต่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาจะรับใช้พระองค์ต่อ ๆ ไปโดยคำนึงถึงความรอดชั่วนิรันดร์. คุณหวังจะอยู่ท่ามกลางพวกเขาพร้อมกับลูก ๆ และนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลของคุณไหม? ถ้าอย่างนั้นขอจำไว้ว่า “จงเอาใจใส่ตัวท่านและการสอนของท่านอยู่เสมอ. จงจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านี้ เพราะด้วยการทำอย่างนี้ท่านจะช่วยทั้งตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด.”—1 ติโมเธียว 4:16, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 จัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
คุณอธิบายได้ไหม?
• เจตคติของเราควรเป็นเช่นไร เนื่องจากเราไม่ทราบเวลาแน่นอนที่พระเจ้าจะทรงพิพากษา?
• เราจะ ‘เอาใจใส่การสอนของเรา’ ได้โดยวิธีใดบ้าง?
• คุณจะช่วยนักศึกษาให้กลายเป็นมิตรของพระยะโฮวาได้อย่างไร?
• เหตุใดจึงสำคัญที่บิดามารดาจะใช้เวลาสอนบุตรของตน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
บรรยากาศที่น่านับถือแต่เป็นกันเองทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
[ภาพหน้า 18]
การแสดงละครเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล เช่น ซะโลโมตัดสินหญิงโสเภณีสองคน ทำให้การศึกษาครอบครัวน่าเพลิดเพลิน