วิธีที่ชีวิตคุณจะมีความหมายมากขึ้น
วิธีที่ชีวิตคุณจะมีความหมายมากขึ้น
สุภาษิตโบราณกล่าวว่า “อย่ากรากกรำตัวเจ้าเพื่อจะได้เป็นคนมั่งมี; จงเลิกความเห็นอันนั้นเสีย. เจ้าจะเพ่งตาของเจ้าอยู่ที่ของอนิจจังหรือ? เพราะทรัพย์สมบัติมีปีก; แน่นอนทีเดียว, มันจะบินหายไปในท้องฟ้าเหมือนนกอินทรี.” (สุภาษิต 23:4, 5) กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการไม่ฉลาดที่จะทำให้ตัวเองเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า พยายามจะเป็นคนมั่งมี เพราะทรัพย์สมบัติอาจบินหายไปเหมือนอยู่บนปีกของนกอินทรี.
ดังที่คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็น ทรัพย์สมบัติด้านวัตถุอาจสูญหายไปอย่างฉับไว. ทรัพย์นั้นอาจอันตรธานไปชั่วข้ามคืนเนื่องจากภัยธรรมชาติ, ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ, หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า. นอกจากนั้น แม้แต่คนเหล่านั้นที่บรรลุผลสำเร็จทางด้านวัตถุก็มักจะประสบความสิ้นหวังอยู่เนือง ๆ. ขอพิจารณาดูกรณีของจอห์นซึ่งงานของเขาเกี่ยวข้องกับการให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่พวกนักการเมือง, บุคคลที่มีชื่อเสียงด้านกีฬา, และเชื้อพระวงศ์.
จอห์นกล่าวว่า “ผมทุ่มเทให้กับงาน. ผมมีเงินทองมากมาย พักอยู่ในโรงแรมที่หรูหรา และบางครั้งผมถึงกับไปทำงานโดยเครื่องบินส่วนตัวด้วยซ้ำ. ทีแรก ผมชอบความเป็นอยู่แบบนี้ แต่ผมค่อย ๆ รู้สึกเบื่อหน่าย. ผู้คนที่ผมให้ความบันเทิงนั้นดูเหมือนเป็นคนคิดตื้น ๆ. ชีวิตผมไม่มีแก่นสารอะไร.”
ดังที่จอห์นได้ค้นพบ ชีวิตที่ขาดค่านิยมทางด้านวิญญาณไม่เป็นที่น่าพอใจ. ในคำเทศน์ที่มีชื่อเสียงของพระองค์บนภูเขานั้น พระเยซูคริสต์แสดงให้เห็นวิธีประสบความสุขถาวร. พระองค์ตรัสว่า “ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน เพราะอาณาจักรฝ่ายสวรรค์เป็นของเขา.” (มัดธาย 5:3, ล.ม.) ดังนั้นแล้ว ปรากฏชัดว่า เป็นการฉลาดสุขุมที่จะจัดเรื่องฝ่ายวิญญาณไว้เป็นอันดับแรกในชีวิต. อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่น ๆ อาจช่วยทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้นด้วย.
ครอบครัวและมิตรสหายของคุณสำคัญอย่างแท้จริง
คุณจะเพลิดเพลินกับชีวิตไหมหากคุณไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับครอบครัวของคุณ และไม่มีเพื่อนสนิท? เห็นได้ชัดว่าไม่. พระผู้สร้างทรงสร้างเราพร้อมด้วยความจำเป็นที่จะแสดงความรักและได้รับความรัก. นั่นคือเหตุผลประการหนึ่งที่พระเยซูทรงเน้นความสำคัญของ ‘การรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.’ (มัดธาย 22:39) ครอบครัวเป็นของประทานจากพระเจ้าซึ่งจัดให้มี สภาพแวดล้อมที่ดีเลิศเพื่อสำแดงความรักแบบไม่เห็นแก่ตัว.—เอเฟโซ 3:14, 15.
ครอบครัวของเราจะทำให้ชีวิตเรามีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร? ครอบครัวที่ปรองดองกันอาจเปรียบได้กับสวนที่สวยงามซึ่งจัดให้มีที่พักพิงอันทำให้สดชื่นพ้นจากความเครียดในชีวิตประจำวัน. คล้ายกัน ภายในครอบครัว เราสามารถพบมิตรภาพที่ทำให้สดชื่นและความอบอุ่นซึ่งขจัดความว้าเหว่ออกไปได้. แน่นอน ครอบครัวใช่ว่าจัดให้มีที่พักพิงดังกล่าวโดยอัตโนมัติ. อย่างไรก็ดี ขณะที่เราทำให้ความผูกพันในครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น เราก็ใกล้ชิดกันและกันมากขึ้น และชีวิตก็ดีขึ้น. ตัวอย่างเช่น เวลาและความเอาใจใส่ที่เราให้เพื่อแสดงความรักและความนับถือต่อคู่สมรสของเราเป็นการลงทุนทุกวันซึ่งอาจเกิดผลมากมายในที่สุด.—เอเฟโซ 5:33.
หากเรามีลูก เราควรพยายามจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะในการอบรมเลี้ยงดูพวกเขา. อาจจำเป็นต้องใช้เวลากับพวกเขา, เปิดทางไว้สำหรับการสื่อความเสมอ, และให้คำสั่งสอนทางฝ่ายวิญญาณ. แต่เวลาและความพยายามดังกล่าวอาจนำความพอใจมากมายมาให้เรา. บิดามารดาที่ประสบผลสำเร็จถือว่าลูกเป็นพระพร เป็นมรดกจากพระเจ้าซึ่งควรเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี.—บทเพลงสรรเสริญ 127:3.
เพื่อนที่ดีมีส่วนส่งเสริมชีวิตที่น่าพอใจและมีความหมายเช่นกัน. (สุภาษิต 27:9) เราสามารถสร้างมิตรภาพกับหลายคนได้โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ. (1 เปโตร 3:8, ล.ม.) เพื่อนแท้ช่วยพยุงเราขึ้นเมื่อเราสะดุดล้ม. (ท่านผู้ประกาศ 4:9, 10) และ “มิตรแท้ . . . เป็นพี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.”—สุภาษิต 17:17, ล.ม.
มิตรภาพแท้สามารถก่อความพอใจได้สักเพียงไร! อาทิตย์อัสดงดูน่าตื่นตาตื่นใจมากกว่า, อาหารมีรสชาติมากขึ้น, และดนตรีทำให้เพลิดเพลินมากขึ้น หากได้มีส่วนร่วมกับเพื่อนในโอกาสดังกล่าว. แน่นอน ครอบครัวที่สนิทสนมและเพื่อนที่ไว้ใจได้เป็นเพียงสองแง่มุมของชีวิตที่มีความหมาย. พระเจ้าทรงจัดเตรียมอะไรอีกซึ่งจะทำให้ชีวิตของเรามีความหมายมากขึ้นได้?
การสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา
ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น พระเยซูคริสต์ทรงเชื่อมโยงความสุขกับการสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา. เราถูกสร้างพร้อมด้วยสมรรถนะด้านวิญญาณและด้านศีลธรรม. เนื่องจากเหตุนี้ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึง “มนุษย์ฝ่ายวิญญาณ” และ “บุคคลที่ซ่อนเร้นไว้แห่งหัวใจ.”—1 โกรินโธ 2:15; 1 เปโตร 3:3, 4, ล.ม.
ตามที่กล่าวไว้ในพจนานุกรมอธิบายศัพท์คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ (ภาษาอังกฤษ) โดย ดับเบิลยู. อี. ไวน์ หัวใจโดยนัยใช้หมายถึง “การเคลื่อนไหวทั้งสิ้นทางด้านความคิดจิตใจและด้านศีลธรรมของคนเรา ทั้งส่วนที่อาศัยเหตุผลและส่วนที่เกิดจากความรู้สึก.” ในการอธิบาย ไวน์กล่าวเสริมว่า “กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีการใช้หัวใจในเชิงอุปมาหมายถึงบุคคลภายใน.” พจนานุกรมเล่มเดียวกันนี้ยังอรรถาธิบายด้วยว่า “เนื่องจากอยู่ลึกภายใน หัวใจจึงบรรจุ ‘บุคคลที่ซ่อนอยู่’ . . . บุคคลจริง ๆ.”
เราจะสนองความจำเป็นของ “มนุษย์ฝ่ายวิญญาณ” หรือ “บุคคลที่ซ่อนอยู่” นั่นคือ “บุคคลที่ซ่อนเร้นไว้แห่งหัวใจ” ได้โดยวิธีใด? เราดำเนินขั้นตอนที่สำคัญในการทำเช่นนี้และสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเราเมื่อเรายอมรับจุดสำคัญที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งได้รับการดลใจได้ชี้แจงไว้เมื่อร้องเพลงว่า “จงรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้า. พระองค์ผู้นั้นได้ทรงสร้างเรา และไม่ใช่เราสร้างตัวเอง. เราเป็นไพร่พลของพระองค์และเป็นแกะแห่งทุ่งหญ้าของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 100:3, ล.ม.) การยอมรับเรื่องนี้อย่างมีเหตุผลทำให้เราสรุปว่า เราต้องรับผิดชอบต่อพระเจ้า. หากเราต้องการจะถูกนับรวมอยู่ในท่ามกลาง “ไพร่พลของพระองค์และเป็นแกะแห่งทุ่งหญ้าของพระองค์” เราต้องปฏิบัติสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์.
การรับผิดชอบต่อพระเจ้าก่อผลเสียหายไหม? ไม่ เพราะการสำนึกว่าความประพฤติของเราเป็นเรื่องสำคัญต่อพระเจ้านั้นเพิ่มความหมายให้กับชีวิตของเรา. นั่นสนับสนุนเราให้เป็นบุคคลที่ดีขึ้น—ซึ่งเป็นเป้าหมายที่คุ้มแน่ ๆ. บทเพลงสรรเสริญ 112:1 กล่าวว่า “ความสุขย่อมมีแก่ผู้ที่เกรงกลัวพระยะโฮวา, และยินดีมากในพระบัญญัติของพระองค์.” ความเกรงกลัวพระเจ้าด้วยความเคารพและการเชื่อฟังด้วยน้ำใสใจจริงต่อพระบัญญัติของพระองค์จะทำให้ชีวิตของเรามีความหมายมากขึ้นได้.
ทำไมการเชื่อฟังพระเจ้าทำให้เราพอใจ? เพราะเรามีสติรู้สึกผิดชอบ ของประทานที่พระเจ้าทรงมอบให้มวลมนุษยชาติ. สติรู้สึกผิดชอบเป็นผู้ตรวจสอบทางด้านศีลธรรมซึ่งชี้โรม 2:15) แต่สติรู้สึกผิดชอบอาจให้ผลตอบแทนแก่เราด้วย. เมื่อเราปฏิบัติอย่างไม่เห็นแก่ตัวต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ เรารู้สึกอิ่มใจและได้รับความพอใจ. เราพบว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (กิจการ 20:35, ล.ม.) มีเหตุผลสำคัญสำหรับเรื่องนี้.
บอกการเห็นด้วยหรือการไม่เห็นด้วยในสิ่งที่เราได้ทำไปหรือคิดจะทำนั้น. เราทุกคนล้วนเคยประสบความทุกข์ใจจากสติรู้สึกผิดชอบที่ถูกรบกวน. (พระผู้สร้างได้ทรงสร้างเราในแบบที่ความปรารถนาและความจำเป็นของเพื่อนมนุษย์จะมีผลกระทบต่อเรา. การช่วยคนอื่นก่อความยินดีขึ้นในหัวใจของเราเอง. นอกจากนี้ คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่า เมื่อเราให้แก่คนที่ขัดสน พระเจ้าทรงถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการแสดงความกรุณาต่อพระองค์.—สุภาษิต 19:17.
นอกจากทำให้เกิดความพอใจในจิตใจแล้ว การเอาใจใส่ต่อความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเราจะช่วยเราในภาคปฏิบัติได้ไหม? นักธุรกิจชาวตะวันออกกลางชื่อเรมอนด์เชื่อว่าช่วยได้. เขากล่าวว่า “เป้าหมายอย่างเดียวเท่านั้นของผมคือการหาเงิน. แต่นับจากที่ผมได้ยอมรับในหัวใจว่ามีพระเจ้า และคัมภีร์ไบเบิลแสดงถึงพระประสงค์ของพระองค์แล้ว ผมกลายเป็นคนละคน. ตอนนี้การทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ในอันดับรองในชีวิตผม. โดยพยายามทำให้พระเจ้าพอพระทัย ผมได้รับการช่วยให้พ้นจากความรู้สึกเกลียดชังที่มีผลในทางทำลาย. ถึงแม้คุณพ่อของผมเสียชีวิตระหว่างการสู้รบ ผมไม่ปรารถนาที่จะแก้แค้นคนเหล่านั้นที่เป็นต้นเหตุ.”
ดังที่เรมอนด์ได้พบแล้ว การเอาใจใส่ที่เหมาะสมต่อความจำเป็นของ “มนุษย์ฝ่ายวิญญาณ” สามารถเยียวยารักษาความรู้สึกเจ็บปวดได้. อย่างไรก็ตาม ชีวิตจะไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างพร้อมมูล เว้นแต่เราสามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้.
เราจะมี “สันติสุขแห่งพระเจ้า” ได้
ในโลกที่วุ่นวายนี้ มีไม่กี่วันที่ผ่านไปอย่างราบรื่น. อุบัติเหตุเกิดขึ้น, แผนการไม่เป็นไปตามที่วางไว้, และผู้คนทำให้เราผิดหวัง. อุปสรรคเหล่านี้อาจปล้นความสุขไปจากเรา. แต่สำหรับคนเหล่านั้นที่รับใช้พระยะโฮวาพระเจ้า คัมภีร์ไบเบิลสัญญาว่าจะมีความอิ่มใจ—“สันติสุขแห่งพระเจ้า.” เราจะได้รับสันติสุขนี้ได้อย่างไร?
อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “อย่ากระวนกระวายด้วยสิ่งใด แต่ในทุกสิ่งจงทูลขอต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานและการวิงวอนพร้อมด้วยการขอบพระคุณ; แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่านไว้โดยพระคริสต์เยซู.” (ฟิลิปปอย 4:6, 7, ล.ม.) แทนที่จะพยายามแบกปัญหาของเราตามลำพัง เราต้องอธิษฐานอย่างแรงกล้า มอบความทุกข์กังวลประจำวันของเราไว้กับพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 55:22) ความเชื่อที่ว่าพระองค์ทรงตอบคำวิงวอนผ่านทางพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์เช่นนั้น จะเพิ่มพูนขึ้นขณะที่เราเติบโตฝ่ายวิญญาณและสังเกตเข้าใจวิธีที่พระเจ้าทรงช่วยเหลือเรา.—โยฮัน 14:6, 14; 2 เธซะโลนิเก 1:3.
หลังจากเราได้สร้างความมั่นใจในพระยะโฮวาพระเจ้า “ผู้สดับคำอธิษฐาน” แล้ว เราสามารถรับมือกับความยากลำบากต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น ความเจ็บป่วยเรื้อรัง, วัยชรา, หรือการสูญเสียผู้เป็นที่รัก. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2) อย่างไรก็ดี เพื่อชีวิตจะมีความหมายอย่างแท้จริงแล้ว เราต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย.
จงยินดีในความหวังที่มีอยู่ข้างหน้า
คัมภีร์ไบเบิลสัญญาว่าจะมี “ฟ้าสวรรค์ใหม่และแผ่นดินโลกใหม่” รัฐบาลทางภาคสวรรค์ที่ชอบธรรมและใส่ใจซึ่งปกครองเหนือครอบครัวมนุษย์ที่เชื่อฟัง. (2 เปโตร 3:13, ล.ม.) ในโลกใหม่ที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ สันติภาพและความยุติธรรมจะเข้ามาแทนที่สงครามและความอยุติธรรม. นี่มิใช่เป็นเพียงความปรารถนาชั่วครู่ชั่วยาม แต่เป็นความเชื่อมั่นที่อาจแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นได้ทุกวัน. นี่เป็นข่าวดีจริง ๆ และแน่นอนเป็นเหตุผลสำหรับความยินดี.—โรม 12:12; ติโต 1:2.
จอห์นที่มีการกล่าวถึงในตอนต้น ขณะนี้รู้สึกว่าชีวิตของเขามีความหมายมากขึ้น. เขากล่าวว่า “แม้ผมจะไม่เคยเคร่งศาสนามากก็ตาม ผมเชื่อในพระเจ้าเสมอมา. แต่ผมก็ไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับความเชื่อนี้จนกระทั่งพยานพระยะโฮวาสองคนมาเยี่ยมผม. ผมระดมคำถามต่าง ๆ ใส่เขา เช่น ‘ทำไมเรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้? ความหวังในอนาคตของเราเป็นอย่างไร?’ คำตอบที่จุใจตามหลักพระคัมภีร์ของเขาทำให้ผมสำนึกถึงจุดมุ่งหมายเป็นครั้งแรกในชีวิตผม. นั่นเป็นเพียงตอนเริ่มต้นเท่านั้น. ผมได้พัฒนาความกระหายต่อความจริงซึ่งทำให้ผมเปลี่ยนค่านิยมทั้งสิ้นของตัวเอง. ถึงแม้ผมไม่ร่ำรวยทางด้านวัตถุอีกต่อไป ผมรู้สึกเหมือนเป็นเศรษฐีทางฝ่ายวิญญาณ.”
เช่นเดียวกับจอห์น บางทีคุณได้ปล่อยให้สมรรถนะทางด้านวิญญาณของคุณอยู่เฉย ๆ มาเป็นเวลาหลายปี. อย่างไรก็ตาม โดยการพัฒนา “ใจประกอบไปด้วยสติปัญญา” คุณสามารถฟื้นฟูสมรรถนะนั้นขึ้นมาใหม่ได้. (บทเพลงสรรเสริญ90:12) ด้วยความตั้งใจแน่วแน่และความพยายาม คุณจะมีความยินดี, สันติสุข, และความหวังแท้ได้. (โรม 15:13) ใช่แล้ว ชีวิตของคุณจะมีความหมายมากขึ้นได้.
[ภาพหน้า 6]
การอธิษฐานจะทำให้เรามี “สันติสุขแห่งพระเจ้า”
[ภาพหน้า 7]
คุณทราบไหมว่าอะไรจะทำให้ชีวิตครอบครัวเป็นที่น่าพอใจมากขึ้นได้?