วิธีเดียวที่จะถอนรากความเกลียดชัง
วิธีเดียวที่จะถอนรากความเกลียดชัง
“ไม่มีความเกลียดชังที่ปราศจากความกลัว. . . . เราเกลียดสิ่งที่เรากลัว และดังนั้น ความเกลียดชังอยู่ที่ไหน ความกลัวก็แฝงอยู่ที่นั่น.”—ซีริล คอนเนลี นักวิจารณ์วรรณคดีและบรรณาธิการ.
นักสังคมวิทยาหลายคนเชื่อว่าความเกลียดชังฝังรากลึกอยู่ในจิตไร้สำนึกของมนุษย์. นักรัฐศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า “ส่วนใหญ่ของความเกลียดชังอาจถึงกับถูกวางโปรแกรมไว้” ถูกก่อขึ้นไว้ในธรรมชาติของมนุษย์เลยทีเดียว.
เป็นที่เข้าใจได้ว่า พวกนักศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ได้ลงความเห็นดังกล่าว. พวกเดียวสำหรับการศึกษาวิจัยของพวกเขาคือ ชายและหญิงซึ่งเกิดมา “ในความอสัตย์อธรรม” และ “ในความบาป” ตามที่กล่าวไว้ในบันทึกของคัมภีร์ไบเบิลที่มีขึ้นโดยการดลใจ. (บทเพลงสรรเสริญ 51:5) แม้แต่พระผู้สร้างเอง เมื่อทรงประเมินดูมนุษย์ไม่สมบูรณ์หลายพันปีมาแล้ว “ทรงเห็นว่า ความชั่วของมนุษย์มีมากมายในแผ่นดินโลกและความโน้มเอียงทุกอย่างแห่งความคิดในหัวใจของเขาล้วนแต่ชั่วตลอดเวลา.”—เยเนซิศ 6:5, ล.ม.
อคติ, การเลือกที่รักมักที่ชัง, และความเกลียดชังที่เกิดจากสองสิ่งนี้เป็นผลจากความไม่สมบูรณ์และความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่มีมาแต่กำเนิด. (พระบัญญัติ 32:5) น่าเศร้า ไม่มีองค์การหรือรัฐบาลใดของมนุษย์ ไม่ว่ามีนโยบายอย่างไรก็ตาม สามารถออกกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวขึ้นในหัวใจมนุษย์. โจฮันนา แมกเกียรี นักข่าวต่างประเทศออกความเห็นว่า “ตำรวจโลก ไม่ว่าจะมีอำนาจเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถเข้าไปแทรกเพื่อกวาดล้างความเกลียดชังซึ่งได้ทำให้เกิดการนองเลือดที่บอสเนีย, โซมาเลีย, ไลบีเรีย, แคชเมียร์, คอเคซัส.”
อย่างไรก็ดี ก่อนเราเริ่มต้นเสาะหาวิธีแก้ เราต้องได้รับความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกถึงความเกลียดชัง.
ความเกลียดชังเพิ่มขึ้นเนื่องจากความกลัว
ความเกลียดชังมีอยู่ต่าง ๆ กันหลายรูปแบบ. นักเขียนชื่อแอนดรูว์ ซัลลิแวน สรุปเรื่องนี้ไว้อย่างเหมาะเจาะว่า “มีความเกลียดชังที่รู้สึกกลัว และความเกลียดชังที่เพียงแค่รู้สึกดูถูก; มีความเกลียดชังที่แสดงอำนาจ และความเกลียดชังที่เกิดจากการไม่มีอำนาจ; มีการแก้แค้น และก็มีความเกลียดชังที่เกิดจากความอิจฉา. . . . มีความเกลียดชังของผู้กดขี่ และความเกลียดชังของผู้ตกเป็นเหยื่อของการกดขี่. มีความเกลียดชังที่คุกรุ่นอยู่ และความเกลียดชังที่เบาบางลง. และมีความเกลียดชังที่ระเบิดออกมา และความเกลียดชังที่ไม่เคยถูกจุดให้ระเบิดออกมา.”
ไม่มีข้อสงสัย ปัจจัยสำคัญบางประการที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ด้วยความเกลียดชังในสมัยของเรานั้นคือปัจจัยทางด้านสังคมและทางด้านเศรษฐกิจ. อคติที่รุนแรงและการระเบิดความเกลียดชังออกมามักพบได้ในภูมิภาคเหล่านั้นที่กลุ่มคนซึ่งมีฐานะเอื้ออำนวยทางเศรษฐกิจมากกว่ามีเป็นส่วนน้อย. นอกจากนี้ มักมีความเกลียดชังอยู่เนือง ๆ เมื่อมาตรฐานการ
กินอยู่ของชุมชนส่วนหนึ่งถูกคุกคามเนื่องจากการไหลบ่าเข้ามาของคนต่างชาติ.บางคนอาจรู้สึกว่าผู้มาใหม่เหล่านี้จะแข่งขันกับตนเพื่อได้งานทำ, ทำงานในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่า, หรือจะทำให้มูลค่าของทรัพย์สินลดลง. ความกลัวดังกล่าวจะชอบด้วยเหตุผลหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง. ความกลัวการสูญเสียทางเศรษฐกิจและการกลัวว่ามาตรฐานของชุมชนหรือของรูปแบบชีวิตจะได้รับความเสียหายนั้นเป็นปัจจัยอันทรงพลังที่ทำให้เกิดอคติและความเกลียดชัง.
อะไรน่าจะเป็นขั้นแรกในการถอนรากความเกลียดชัง? การเปลี่ยนเจตคติ.
การเปลี่ยนเจตคติ
แมกเกียรีออกความเห็นว่า “การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะเกิดจากความตั้งใจของผู้คนที่เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น.” และจะเปลี่ยนความตั้งใจของผู้คนได้อย่างไร? ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลอันทรงพลังที่สุด, ก่อแรงจูงใจมากที่สุด, และคงทนที่สุดในการต่อต้านการขยายตัวของความเกลียดชังนั้นมาจากคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า. นี่เป็นเพราะ “พระคำของพระเจ้ามีชีวิตและทรงพลัง และคมกว่าดาบสองคม และแทงทะลุกระทั่งแยกจิตวิญญาณและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูกและไขในกระดูก ทั้งสามารถสังเกตเข้าใจความคิดและความมุ่งหมายแห่งหัวใจ.”—เฮ็บราย 4:12, ล.ม.
เป็นที่ยอมรับกันว่า การถอนรากถอนโคนอคติและความเกลียดชังมิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทั้งมิได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน. แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทำได้. พระเยซูคริสต์ ผู้ก่อแรงกระตุ้นในหัวใจและผู้ทำให้เกิดสติรู้สึกผิดชอบที่ไวองค์ยิ่งใหญ่ สามารถกระตุ้นผู้คนให้เปลี่ยนได้. หลายล้านคนได้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติตามคำแนะนำที่ฉลาดของพระเยซูคริสต์ที่ว่า “จงรักศัตรูของท่านทั้งหลายต่อ ๆ ไป และอธิษฐานเผื่อผู้ที่ประทุษร้ายท่านทั้งหลาย.”—มัดธาย 5:44, ล.ม.
มัดธาย 9:9; 11:19) นอกจากนั้น พระเยซูได้ทรงตั้งแนวทางการนมัสการบริสุทธิ์ขึ้นซึ่งในที่สุดจะรวมเอาคนต่างชาติหลายพันคนที่แต่ก่อนถูกกีดกันและได้รับการเกลียดชัง. (ฆะลาเตีย 3:28) ผู้คนจากตลอดทั่วโลกตามที่รู้จักกันในสมัยนั้นได้เข้ามาเป็นสาวกของพระเยซูคริสต์. (กิจการ 10:34, 35) บุคคลเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักเนื่องด้วยความรักอันยอดเยี่ยมของพวกเขา. (โยฮัน 13:35) เมื่อเหล่าคนที่เต็มด้วยความเกลียดชังได้เอาหินขว้างซะเตฟาโน สาวกของพระเยซูจนถึงแก่ความตาย คำพูดสุดท้ายของเขาคือ “[ข้าแต่พระยะโฮวา,” ล.ม.] ขอโปรดอย่าลงโทษแก่เขาเพราะความผิดนี้.” ซะเตฟาโนปรารถนาให้คนเหล่านั้นที่เกลียดชังท่านได้รับประโยชน์.—กิจการ 6:8-14; 7:54-60.
จริงตามคำสอนของพระเยซู พระองค์ทรงรวมเอามัดธาย อดีตคนเก็บภาษี ซึ่งเป็นที่เกลียดชังและถูกขับออกนอกสังคมชาวยิวนั้นไว้ในกลุ่มมิตรของพระองค์ที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุด. (คริสเตียนแท้สมัยปัจจุบันได้ตอบรับคล้ายกันต่อคำแนะนำของพระเยซูที่ให้ทำดี ไม่เพียงแต่กับพี่น้องคริสเตียนของเขาเท่านั้น แต่กระทั่งกับคนเหล่านั้นที่เกลียดชังพวกเขาด้วยซ้ำ. (ฆะลาเตีย 6:10) พวกเขาบากบั่นพยายามที่จะกำจัดความเกลียดชังอย่างประสงค์ร้ายไปจากชีวิตของเขา. โดยสำนึกถึงพลังที่มีผลกระทบซึ่งอาจก่อความเกลียดชังขึ้นในตัวเขา พวกเขาจึงลงมือปฏิบัติในเชิงบวกและแทนที่ความเกลียดชังด้วยความรัก. ถูกแล้ว ดังที่บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งในสมัยโบราณได้กล่าวว่า “ความเกลียดชังย่อมส่งเสริมการทะเลาะวิวาทให้เกิดขึ้น; แต่ความรักย่อมปกปิดสรรพความผิด.”—สุภาษิต 10:12.
อัครสาวกโยฮันกล่าวว่า “ผู้หนึ่งผู้ใดที่เกลียดชังพี่น้องของตนก็ย่อมเป็นผู้ฆ่าคน และท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า, ผู้ฆ่าคนไม่มีชีวิตนิรันดร์อยู่ในตัวเลย.” (1 โยฮัน 3:15) พยานพระยะโฮวาเชื่ออย่างนั้น. ผลก็คือ ขณะนี้พวกเขา—ซึ่งมาจากภูมิหลังทางด้านชาติพันธุ์, วัฒนธรรม, ด้านศาสนาและการเมืองทุกรูปแบบ—ได้รับการเชื่อมผนึกเข้าเป็นสังคมเดียวที่ปรองดองกันซึ่งปราศจากความเกลียดชัง เป็นภราดรภาพทั่วโลกอย่างแท้จริง.—โปรดดูเรื่องในกรอบ.
ความเกลียดชังจะถูกถอนราก!
คุณอาจพูดว่า ‘แต่นั่นอาจเป็นวิธีแก้สำหรับรายบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น. แต่วิธีนี้จะไม่ทำให้ความเกลียดชังอันตรธานไปจากแผ่นดินโลกของเราอย่างสิ้นเชิงหรอก.’ จริงอยู่ ถึงแม้คุณไม่มีความเกลียดชังในหัวใจก็ตาม คุณก็ยังอาจตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชังได้. ดังนั้น เราต้องหมายพึ่งพระเจ้าเพื่อจะมีวิธีแก้ที่แท้จริงสำหรับปัญหาระดับโลกนี้.
พระเจ้าทรงมุ่งหมายไว้ว่าร่องรอยของความเกลียดชังทั้งสิ้นจะถูกกำจัดไปจากแผ่นดินโลกในไม่ช้า. เหตุการณ์นี้จะเกิดมัดธาย 6:9, 10, ล.ม.
ขึ้นภายใต้การปกครองแห่งรัฐบาลทางภาคสวรรค์ซึ่งพระเยซูทรงสอนเราให้อธิษฐานขอที่ว่า “พระบิดาแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์. ขอให้ราชอาณาจักรของพระองค์มาเถิด. พระทัยประสงค์ของพระองค์สำเร็จแล้วในสวรรค์อย่างไร ก็ขอให้สำเร็จบนแผ่นดินโลกอย่างนั้น.”—เมื่อคำอธิษฐานนี้ได้รับคำตอบอย่างครบถ้วน สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความเกลียดชังจะไม่มีอีกต่อไป. สถานการณ์ที่แสวงประโยชน์จากความเกลียดชังจะถูกกำจัดออกไป. ความรอบรู้, ความจริง, และความชอบธรรมจะเข้ามาแทนที่การโฆษณาชวนเชื่อ, การรู้เท่าไม่ถึงการณ์, และอคติ. ครั้นแล้ว โดยแท้จริง พระเจ้า ‘จะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยด และความตายจะไม่มีอีกต่อไป ทั้งความทุกข์โศกหรือเสียงร้องหรือความเจ็บปวดจะไม่มีอีกเลย.’—วิวรณ์ 21:1-4, ล.ม.
ปัจจุบัน มีข่าวดียิ่งกว่านั้นเสียอีก! มีหลักฐานที่ไม่อาจโต้แย้งได้ว่า เรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย.” ดังนั้น เรามั่นใจได้ว่า ในไม่ช้านี้ทีเดียวแหละเราจะเห็นความเกลียดชังที่เลวร้ายสูญสิ้นไปจากโลกนี้. (2 ติโมเธียว 3:1-5, ล.ม.; มัดธาย 24:3-14) น้ำใจที่แท้จริงของภราดรภาพจะมีอยู่ในโลกใหม่ของพระเจ้าตามที่สัญญาไว้ เนื่องจากจะมีการนำมนุษยชาติกลับคืนสู่ความสมบูรณ์.—ลูกา 23:43; 2 เปโตร 3:13.
แต่คุณไม่ต้องคอยจนกระทั่งตอนนั้นเพื่อจะมีภราดรภาพแท้. ที่จริง ดังที่เรื่องในกรอบแสดงให้เห็น ความรักแบบคริสเตียนปรากฏอยู่แล้วในหัวใจของคนนับล้าน ซึ่งมิฉะนั้นแล้วหัวใจเหล่านั้นอาจเต็มด้วยความเกลียดชังก็ได้. คุณได้รับเชิญด้วยเช่นกันให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภราดรภาพที่เปี่ยมด้วยความรักเช่นนั้น!
[กรอบหน้า 5]
“พระเยซูคงต้องได้ทำอย่างไร?”
ในเดือนมิถุนายน 1998 ชายผิวขาวสามคนในแถบชนบทของรัฐเทกซัส สหรัฐ ได้จู่โจมทำร้ายเจมส์ เบิร์ด จูเนียร์ ชายผิวดำ. ทั้งสามคนพาเขาไปยังบริเวณที่ห่างไกลและเปลี่ยว, ทุบตีเขา, แล้วมัดขาของเขาเข้าด้วยกัน. ต่อจากนั้นพวกเขาผูกเจมส์ติดกับรถบรรทุกเล็ก แล้วลากเขาไปตามถนนเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตรจนกระทั่งร่างของเขาไปชนกับท่อระบายน้ำ. เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่าเป็นอาชญากรรมเนื่องจากความเกลียดชังอันน่าตกตะลึงที่สุดแห่งทศวรรษ (1990).
พี่สาวสองคนกับน้องสาวคนหนึ่งของเจมส์ เบิร์ดเป็นพยานพระยะโฮวา. พวกเธอรู้สึกอย่างไรกับผู้กระทำผิดในอาชญากรรมที่น่าขนพองสยองเกล้าครั้งนี้? ในคำให้การของครอบครัว พวกเธอบอกว่า “การที่คนซึ่งเรารักถูกทรมานและถูกกลุ้มรุมทำร้ายนั้นทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสียและเจ็บปวดอย่างยากที่จะนึกออกได้. คนเราจะตอบสนองการกระทำที่ทารุณเช่นนั้นอย่างไร? การแก้เผ็ด, คำพูดที่เต็มด้วยความเกลียดชัง, หรือการส่งเสริมคำโฆษณาชวนเชื่อที่ถูกครอบงำด้วยความเกลียดชังไม่เคยเข้ามาในจิตใจของเราเลย. เราคิดแบบนี้: ‘พระเยซูคงต้องได้ทำอย่างไร? พระองค์จะตอบสนองอย่างไร?’ คำตอบชัดแจ้งอยู่แล้ว. แนวคิดของพระองค์คงต้องสะท้อนถึงสันติสุขและความหวัง.”
ในบรรดาข้ออ้างอิงตามหลักพระคัมภีร์ที่ได้ช่วยพวกเธอหลีกเลี่ยงไม่ให้ความเกลียดชังเกิดขึ้นในหัวใจนั้นคือ โรม 12:17-19 (ล.ม.). อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย. . . . หากเป็นได้ ตราบที่ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย จงอยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง. อย่าทำการแก้แค้นเสียเอง พี่น้องที่รัก แต่จงละความโกรธไว้; เพราะมีเขียนไว้ว่า ‘การแก้แค้นเป็นของเรา; เราจะตอบแทน พระยะโฮวาตรัส.’ ”
พวกเธอกล่าวต่อไปว่า “เราระลึกถึงข้อความซึ่งตรงตามสภาพจริงที่กล่าวไว้ในสรรพหนังสือของเราที่ว่า ความอยุติธรรมหรือความผิดบางอย่างเป็นเรื่องน่าตกตะลึงเสียจนยากที่จะพูดว่า ‘ฉันให้อภัยคุณ’ แล้วก็ลืมเสีย. การให้อภัยในกรณีดังกล่าวอาจเพียงแค่ปล่อยความขุ่นเคืองผ่านไปเพื่อที่ชีวิตของคนเราจะดำเนินต่อไปและไม่ป่วยทางกายหรือทางจิตใจเนื่องจากเก็บความขุ่นเคืองไว้.” ช่างเป็นหลักฐานที่มีพลังโน้มน้าวใจเสียจริง ๆ ซึ่งแสดงถึงพลังของคัมภีร์ไบเบิลที่จะป้องกันมิให้ความเกลียดชังอย่างเข้ากระดูกดำนั้นฝังรากลึก!
[กรอบหน้า 6]
ความเป็นปรปักษ์เปลี่ยนมาเป็นมิตรภาพ
ไม่กี่ปีมานี้ ผู้อพยพหลายพันคนได้หลั่งไหลไปยังประเทศกรีซเพื่อหางานทำ. อย่างไรก็ตาม สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่แย่ลงได้ทำให้โอกาสที่จะมีงานทำนั้นน้อยลง และทั้งนี้ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงมากขึ้นเพื่อจะได้งานทำ. ผลจากสภาพการณ์เช่นนี้คือ มีความเป็นปรปักษ์มากทีเดียวระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ. ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ การแข่งขันแย่งชิงกันระหว่างผู้อพยพจากแอลเบเนียกับคนเหล่านั้นที่มาจากบัลแกเรีย. ในพื้นที่หลายแห่งของกรีซ เกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างผู้คนจากสองกลุ่มนี้.
ในเมืองคีอาโท ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรพีโลพอนนิโซส ครอบครัวบัลแกเรียครอบครัวหนึ่งกับชายชาวแอลเบเนียคนหนึ่งได้เริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวาและได้มารู้จักกัน. การนำหลักการในคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ ทำให้ความเป็นปรปักษ์ที่มีอยู่ระหว่างหลายคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองนี้หมดสิ้นไป. ทั้งยังส่งเสริมมิตรภาพฉันพี่น้องที่แท้จริงระหว่างบุคคลเหล่านี้ด้วย. อีวาน ชาวบัลแกเรียถึงกับช่วยลูลิส ชาวแอลเบเนียให้หาที่พักถัดจากบ้านของอีวาน. บ่อยครั้งทั้งสองครอบครัวแบ่งปันอาหารและสิ่งของฝ่ายวัตถุที่มีเล็กน้อยแก่กัน. ปัจจุบันชายทั้งสองเป็นพยานที่รับบัพติสมาแล้วของพระยะโฮวาและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการเผยแพร่ข่าวดี. แน่นอน มิตรภาพแบบคริสเตียนเช่นนี้ไม่อาจพ้นสายตาเพื่อนบ้านไปได้.
[ภาพหน้า 7]
ภายใต้ราชอาณาจักรของพระเจ้า ร่องรอยทั้งสิ้นของความเกลียดชังจะถูกกำจัดออกไปจากแผ่นดินโลก