จงแสดงเจตคติแบบที่รอคอย!
จงแสดงเจตคติแบบที่รอคอย!
“ข้าพเจ้าจะสำแดงเจตคติแบบที่รอคอยพระเจ้าแห่งความรอดของข้าพเจ้า. พระเจ้าของข้าพเจ้าจะทรงฟังข้าพเจ้า.”—มีคา 7:7, ล.ม.
1, 2. (ก) เจตคติที่ไม่ถูกต้องก่อความเสียหายแก่ชาวยิศราเอลในถิ่นทุรกันดารอย่างไร? (ข) อาจเกิดอะไรขึ้นกับคริสเตียนที่ไม่ปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้อง?
หลายสิ่งในชีวิตอาจมองได้ทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตคติของเรา. เมื่อชาวยิศราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างอัศจรรย์ด้วยมานา. พวกเขาน่าจะได้มองไปรอบ ๆ ดูภูมิประเทศอันแห้งแล้ง และรู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาอย่างยิ่งที่ทรงค้ำจุนพวกเขาให้ยังชีพอยู่ได้. นั่นย่อมสะท้อนถึงเจตคติในแง่ดี. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขานึกถึงอาหารในอียิปต์ซึ่งมีหลากหลายชนิดและบ่นว่ามานาไม่น่ารับประทาน. ช่างมีเจตคติไม่ดีอะไรอย่างนั้น!—อาฤธโม 11:4-6.
2 เจตคติของคริสเตียนในทุกวันนี้ก็อาจทำให้สิ่งต่าง ๆ ดูสดชื่นหรือชวนให้หดหู่ได้คล้าย ๆ กัน. หากไม่มีเจตคติที่ถูกต้อง คริสเตียนอาจสูญเสียความยินดีได้โดยง่าย และนั่นเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะดังที่นะเฮมยากล่าวไว้ “ความยินดีในพระยะโฮวาเป็นป้อมของพวก[เรา].” (นะเฮมยา 8:10, ล.ม.) เจตคติในแง่บวกที่เปี่ยมด้วยความยินดีช่วยเรารักษาความเข้มแข็ง อีกทั้งยังส่งเสริมสันติสุขและเอกภาพในประชาคมด้วย.—โรม 15:13; ฟิลิปปอย 1:25.
3. เจตคติที่ถูกต้องช่วยยิระมะยาอย่างไรในช่วงเวลาที่ยุ่งยากลำบาก?
3 แม้ว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่ยุ่งยากลำบาก ยิระมะยาแสดงเจตคติในแง่บวก. แม้แต่เมื่อท่านเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์อันน่าสยดสยองคราวที่กรุงยะรูซาเลมประสบความพินาศในปี 607 ก.ส.ศ. ท่านก็ยังสามารถมองในแง่ดี. พระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมยิศราเอล และชาตินี้จะอยู่รอด. ยิระมะยาเขียนไว้ในพระธรรมบทเพลงร้องทุกข์ว่า “เป็นความรักกรุณาของพระยะโฮวาที่พวกเราไม่ประสบความหายนะ เพราะพระเมตตาของพระองค์จะไม่ขาดสะบั้นลงเป็นแน่. พระเมตตานั้นมีมาใหม่ทุกเช้า. ความสัตย์ซื่อของพระองค์ก็อุดมบริบูรณ์.” (บทเพลงร้องทุกข์ของ, ล.ม.) ตลอดประวัติศาสตร์ ผู้รับใช้ของพระเจ้าที่ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากแสนสาหัสต่างก็พยายามรักษาเจตคติที่ดีหรือแม้กระทั่งเจตคติที่ยินดีเอาไว้.— ยิระมะยา 3:22, 232 โกรินโธ 7:4; 1 เธซะโลนิเก 1:6; ยาโกโบ 1:2.
4. พระเยซูทรงรักษาเจตคติเช่นไร และเจตคติดังกล่าวช่วยพระองค์อย่างไร?
4 หกร้อยปีหลังจากสมัยของยิระมะยา พระเยซูทรงได้รับการช่วยเหลือให้อดทนเพราะเจตคติในแง่บวกของพระองค์. เราอ่านดังนี้: “เพราะเห็นแก่ความยินดีซึ่งมีอยู่ตรงหน้า [พระเยซู] พระองค์ยอมทนหลักทรมาน ไม่คำนึงถึงความละอาย แล้วพระองค์ได้เสด็จนั่งเบื้องขวาราชบัลลังก์ของพระเจ้า.” (เฮ็บราย 12:2, ล.ม.) ไม่ว่าพระเยซูต้องเผชิญกับการต่อต้านหรือการกดขี่เช่นไร—แม้กระทั่งความเจ็บปวดรวดร้าวบนหลักทรมาน—พระองค์ทรงรักษา “ความยินดีซึ่งมีอยู่ตรงหน้าพระองค์.” ความยินดีนั้นได้แก่สิทธิพิเศษที่จะได้พิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาและทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์ ตลอดจนความคาดหวังที่จะทรงนำพระพรอันยิ่งใหญ่มาสู่มนุษยชาติที่เชื่อฟังในอนาคต.
จงรับเอาเจตคติแบบที่รอคอย
5. สถานการณ์ตัวอย่างอะไรซึ่งเจตคติแบบที่รอคอยจะช่วยเราให้รักษาทัศนะที่ถูกต้องต่อเรื่องราวต่าง ๆ?
5 หากเราปลูกฝังเจตคติเช่นเดียวกับพระเยซู เราจะไม่สูญเสียความยินดีในพระยะโฮวา แม้ว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นในลักษณะและเวลาตามที่เราคาดคิดเสมอไป. ผู้พยากรณ์มีคากล่าวว่า “ส่วนข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะคอยท่าพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป. ข้าพเจ้าจะสำแดงเจตคติแบบที่รอคอยพระเจ้าแห่งความรอดของข้าพเจ้า.” (มีคา 7:7, ล.ม.; บทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:21) เราก็สามารถแสดงเจตคติแบบที่รอคอยได้เช่นกัน. โดยวิธีใด? มีหลายวิธีด้วยกัน. ประการหนึ่งนั้น เราอาจรู้สึกว่าพี่น้องที่มีอำนาจหน้าที่ได้ทำผิดพลาดและจำเป็นต้องมีการแก้ไขในทันที. เจตคติแบบที่รอคอยจะช่วยเราให้พิจารณาว่า ‘เขาพลาดจริง ๆ ไหม หรือว่าฉันเข้าใจผิด? หากเขาผิดพลาดจริง อาจเป็นได้ไหมว่าพระยะโฮวาทรงยอมให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงคิดว่าคนนั้นจะปรับปรุงตัวเองและไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการว่ากล่าวแก้ไขอย่างรุนแรง?’
6. เจตคติแบบที่รอคอยจะช่วยบางคนที่กำลังปล้ำสู้อยู่กับปัญหาส่วนตัวอย่างไร?
6 อาจจำเป็นต้องมีเจตคติแบบที่รอคอยหากเราถูกรบกวนด้วยปัญหาส่วนตัวหรือปล้ำสู้อยู่กับความอ่อนแอ. สมมุติว่าเราขอความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา แต่ปัญหาก็ยังคงไม่หมดไปเสียที. ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไร? เราต้องทำสิ่งใดก็ตามที่เรามีอำนาจจะทำได้ต่อ ๆ ไปเพื่อแก้ปัญหา แล้วก็แสดงความเชื่อในคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “จงขอต่อ ๆ ไป และสิ่งนั้นจะประทานให้ท่าน; จงแสวงหาต่อ ๆ ไป และท่านจะพบ; จงเคาะต่อ ๆ ไป และจะเปิดให้แก่ท่าน.” (ลูกา 11:9, ล.ม.) จงอธิษฐานต่อ ๆ ไป และคอยท่าพระยะโฮวา. ในเวลาอันเหมาะและตามวิธีของพระองค์เอง พระยะโฮวาจะทรงตอบคำอธิษฐานของคุณ.—1 เธซะโลนิเก 5:17.
7. เจตคติแบบที่รอคอยจะช่วยเราอย่างไรเกี่ยวกับทัศนะในเรื่องความเข้าใจในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งชัดขึ้นตามลำดับ?
7 ขณะที่คำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลสำเร็จเป็นจริง เอเฟโซ 3:3-6, ล.ม.) ถ้าอย่างนั้น มีเหตุผลไหมที่เราจะไม่อดทน? เราสงสัยไหมว่า “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ได้รับการแต่งตั้งให้แจกจ่าย ‘อาหารตามเวลาที่สมควร’ แก่ไพร่พลของพระยะโฮวา? (มัดธาย 24:45, ล.ม.) ทำไมจึงจะทำให้ตัวเราเองขาดความยินดีที่ได้รับจากพระเจ้าเพราะการที่ไม่เข้าใจทุกสิ่งอย่างครบถ้วน? พึงจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงเป็นผู้ตัดสินว่าพระองค์จะเปิดเผย “เรื่องซึ่งพระองค์ถือเป็นความลับ” เมื่อไรและอย่างไร.—อาโมศ 3:7, ล.ม.
ความเข้าใจของเราในพระคัมภีร์ก็ชัดยิ่งขึ้น. อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เราอาจคิดว่าน่าจะได้เวลาตั้งนานแล้วที่บางเรื่องควรได้รับการเปิดเผยให้กระจ่าง. หากไม่ได้มีการเปิดเผยในเรื่องนั้นอย่างที่เราอยากให้เป็น เราจะเต็มใจคอยไหม? พึงจำไว้ว่า พระยะโฮวาทรงเห็นสมควรที่จะเปิดเผย “ความลับอันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระคริสต์” ทีละน้อยในแต่ละครั้งและในช่วงเวลาที่นานถึง 4,000 ปี. (8. ความอดกลั้นของพระยะโฮวาให้ประโยชน์อย่างไรแก่คนเป็นอันมาก?
8 บางคนอาจท้อใจเพราะเขารู้สึกว่าหลังจากรับใช้อย่างซื่อสัตย์มาหลายปี เขาอาจไม่ได้มีชีวิตอยู่จนเห็น “วันใหญ่ยิ่งอันน่ากลัวของพระยะโฮวา.” (โยเอล 2:30, 31) ถึงกระนั้น เขาสามารถมีกำลังใจขึ้นเมื่อเขามองในแง่บวก. เปโตรให้คำแนะนำว่า “จงถือว่าความอดกลั้นพระทัยขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเป็นความรอด.” (2 เปโตร 3:15, ล.ม.) ความอดกลั้นของพระยะโฮวาได้ทำให้อีกหลายล้านคนซึ่งมีสภาพหัวใจที่ถูกต้องมีโอกาสเรียนรู้ความจริง. นั่นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมิใช่หรือ? นอกจากนั้น ยิ่งพระยะโฮวาทรงแสดงความอดกลั้นนานเท่าใด เราก็ยิ่งมีเวลามากขึ้นที่จะ “ทำให้ความรอดของ [เรา] เองสำเร็จด้วยความเกรงกลัวตัวสั่น.”—ฟิลิปปอย 2:12, ล.ม.; 2 เปโตร 3:11, 12.
9. หากเรามีข้อจำกัดในสิ่งที่เราทำได้ในการรับใช้พระยะโฮวา เจตคติแบบที่รอคอยจะช่วยเราอย่างไรให้อดทนกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่?
9 เจตคติแบบที่รอคอยช่วยเราไม่ให้ท้อใจเมื่อการต่อต้าน, ความเจ็บป่วย, อายุที่มากขึ้น, หรือปัญหาอื่น ๆ ขัดขวางเราในงานรับใช้แห่งราชอาณาจักร. พระยะโฮวาทรงคาดหมายเราให้รับใช้พระองค์อย่างสุดหัวใจ. (โรม 12:1) อย่างไรก็ตาม พระบุตรของพระเจ้าซึ่งรู้สึก “สงสารคนอนาถาและคนขัดสน” ไม่ทรงเรียกร้องมากกว่าที่เราสามารถให้ได้ตามเหตุตามผล; พระยะโฮวาก็เช่นเดียวกัน. (บทเพลงสรรเสริญ 72:13) ด้วยเหตุนั้น เราได้รับการกระตุ้นให้ทำสิ่งที่เราทำได้ คอยอย่างอดทนจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไป—ไม่ว่าจะเป็นในระบบนี้หรือในระบบที่กำลังจะมาถึง. ขอจำไว้ว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์, ในการที่ท่านได้ปรนนิบัติสิทธชนนั้น, และยังกำลังปรนนิบัติอยู่.”—เฮ็บราย 6:10.
10. คนที่มีเจตคติแบบที่รอคอยสามารถหลีกเลี่ยงลักษณะนิสัยเช่นไรที่ขาดความยำเกรงในพระเจ้า? จงอธิบาย.
10 เจตคติแบบที่รอคอยยังช่วยเราให้หลีกเลี่ยงการทำเกินสิทธิ์ด้วย. บางคนที่ได้กลายเป็นผู้ออกหากไม่เต็มใจจะคอย. เขาอาจรู้สึกว่ามีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งก็อาจจะในเรื่องความเข้าใจในคัมภีร์ไบเบิลหรือเกี่ยวกับการจัดระเบียบขององค์การ. กระนั้น เขาไม่ยอมรับว่าพระวิญญาณของพระยะโฮวากระตุ้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมให้ปรับเปลี่ยนเมื่อถึงเวลากำหนดของพระองค์ ไม่ใช่เมื่อเราอาจรู้สึกว่าจำเป็น. และการปรับเปลี่ยนใด ๆ ก็ตามต้องสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา ไม่ใช่ตามแนวคิดส่วนตัวของเรา. ผู้ออกหากปล่อยให้เจตคติแบบถือดีบิดเบือนความคิดและทำให้เขาสะดุด. แต่หากเขารับเอาเจตคติแบบพระคริสต์ เขาก็คงจะสามารถรักษาความยินดีและยังอยู่ในท่ามกลางไพร่พลของพระยะโฮวา.—ฟิลิปปอย 2:5-8.
11. เราจะใช้เวลาอย่างที่เกิดประโยชน์ได้อย่างไรขณะคอยท่า และด้วยการทำตามตัวอย่างของใคร?
11 แน่นอน การรักษาเจตคติแบบที่รอคอยไม่ได้หมายถึงการเป็นคนเกียจคร้านหรือเฉื่อยชา. เรามีหลายสิ่งที่ต้องทำ. ตัวอย่างเช่น เราจำเป็นต้องหมกมุ่นอยู่กับ1 เปโตร 1:10-12, ล.ม.) ไม่เฉพาะแต่ต้องมีการศึกษาส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำ รวมทั้งการอธิษฐานด้วย. (ยาโกโบ 4:8) คนที่แสดงความตื่นตัวต่อความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตนโดยการรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณและคบหาสมาคมกับเพื่อนคริสเตียนเป็นประจำแสดงให้เห็นว่าเขาได้รับเอาเจตคติของพระคริสต์.—มัดธาย 5:3.
การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัว และโดยวิธีนี้แสดงความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อสิ่งฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกับที่ผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์และแม้แต่เหล่าทูตสวรรค์ได้แสดงออก. ในการกล่าวถึงความสนใจเช่นนั้น เปโตรกล่าวว่า “ในเรื่องความรอดนี้ได้มีการอุตส่าห์สืบสวนและค้นหาอย่างถี่ถ้วนโดยพวกผู้พยากรณ์ . . . สิ่งเหล่านี้ทีเดียวพวกทูตสวรรค์ปรารถนาจะเพ่งเล็งเข้าถึง.” (จงมีทัศนะตามความเป็นจริง
12. (ก) อาดามและฮาวาแสวงหาความเป็นอิสระเช่นไร? (ข) ผลเป็นเช่นไรเมื่อมนุษยชาติติดตามแนวทางของอาดามและฮาวา?
12 เมื่อพระเจ้าสร้างมนุษย์คู่แรก พระองค์ทรงสงวนสิทธิที่จะกำหนดมาตรฐานว่าอะไรดีอะไรชั่วไว้กับพระองค์เอง. (เยเนซิศ 2:16, 17) อาดามและฮาวาไม่ต้องการหมายพึ่งการชี้นำจากพระเจ้า และนี่ยังผลทำให้โลกเป็นอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้. อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “บาปเข้ามาในโลกโดยทางคนคนเดียวและความตายโดยทางบาป และด้วยเหตุนั้นความตายจึงลามถึงคนทั้งปวงเพราะพวกเขาล้วนได้ทำบาป.” (โรม 5:12, ล.ม.) ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ตลอดหกพันปีนับตั้งแต่สมัยของอาดามได้แสดงถึงความจริงแห่งคำพูดของยิระมะยาที่ว่า “โอ้พระยะโฮวา, ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่าทางที่มนุษย์จะไปนั้นไม่ได้อยู่ในตัวของตัว, ไม่ใช่ที่มนุษย์ซึ่งดำเนินนั้นจะได้กำหนดก้าวของตัวได้.” (ยิระมะยา 10:23) คนที่ยอมรับว่าคำกล่าวของยิระมะยาข้อนี้เป็นความจริงไม่ใช่คนขี้แพ้ หากแต่เป็นคนที่มีทัศนะตามความเป็นจริง. ข้อนี้อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดศตวรรษต่าง ๆ อันยาวนานที่ “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา” ว่าเป็นเพราะมนุษย์ปกครองโดยไม่หมายพึ่งพระเจ้า.—ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.
13. พยานพระยะโฮวามีทัศนะตามความเป็นจริงเช่นไรเกี่ยวกับสิ่งที่มนุษย์สามารถทำให้สำเร็จ?
13 เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ของมนุษยชาติ พยานพระยะโฮวาตระหนักว่ามีข้อจำกัดในสิ่งที่จะทำให้สำเร็จได้ในระบบปัจจุบัน. เจตคติที่ดีสามารถช่วยเราให้รักษาความยินดี แต่นั่นก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาทุกอย่าง. ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 นักเทศน์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ออกหนังสือขายดีเล่มหนึ่งชื่อ อำนาจของการคิดในแง่บวก (ภาษาอังกฤษ). หนังสือนี้แนะว่าอุปสรรคส่วนใหญ่สามารถเอาชนะได้หากเริ่มต้นด้วยเจตคติที่ดี. การคิดในแง่บวกนั้นเป็นเรื่องน่าชมเชยแน่นอน. แต่ประสบการณ์แสดงว่าความรู้, ความชำนาญ, ทรัพย์สินเงินทอง, และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างมีผลทำให้เราแต่ละคนสามารถประสบผลสำเร็จในวงจำกัด. และในระดับโลก ปัญหาที่มีอยู่นั้นใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะแก้ไขได้สำเร็จ—ไม่ว่าจะคิดในแง่บวกอย่างไรก็ตาม!
14. พยานพระยะโฮวามีเจตคติในแง่ลบไหม? จงอธิบาย.
14 เนื่องด้วยทัศนะตามความเป็นจริงในเรื่องดังกล่าว บางครั้งพยานพระยะโฮวาถูกกล่าวหาว่ามีเจตคติในแง่ลบ. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขากระตือรือร้นที่จะบอกผู้คนเกี่ยวกับพระเจ้าองค์ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นผู้เดียวที่สามารถทำให้วิถีชีวิตของมนุษยชาติดีขึ้นอย่างถาวร. ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันที่พวกเขาเลียนแบบเจตคติของพระคริสต์. (โรม 15:2) และพวกเขาเอาเป็นธุระในการช่วยผู้คนให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้า. พวกเขาทราบว่าในที่สุด สัมพันธภาพดังกล่าวจะก่อผลดีที่สุด.—มัดธาย 28:19, 20; 1 ติโมเธียว 4:16.
15. งานของพยานพระยะโฮวาทำให้ผู้คนมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร?
15 พยานพระยะโฮวาไม่ละเลยปัญหาสังคม—โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิบัติอันเสื่อมทรามที่ผิดหลักพระคัมภีร์—ซึ่งมีอยู่รอบตัวเขา. ก่อนที่ผู้สนใจจะเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวา เขาทำการเปลี่ยนแปลง บ่อยครั้งต้องเอาชนะสิ่งไม่ดีที่ติดเป็นนิสัยซึ่งไม่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. (1 โกรินโธ 6:9-11) ด้วยเหตุนั้น พยานพระยะโฮวาได้ช่วยคนที่ตอบรับ ให้เลิกเมาเหล้า, เลิกยาเสพย์ติด, เลิกประพฤติผิดศีลธรรม, และเลิกลุ่มหลงในการพนัน. คนเหล่านั้นที่กลับตัวเป็นคนดีได้เรียนรู้ที่จะหาเลี้ยงครอบครัวอย่างมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์. (1 ติโมเธียว 5:8) เมื่อปัจเจกบุคคลและครอบครัวได้รับการช่วยเหลืออย่างนี้ ปัญหาในชุมชนก็น้อยลง—เป็นต้นว่า มีผู้ติดยาเสพย์ติดน้อยลง, มีกรณีของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวน้อยลง, และอื่น ๆ. โดยที่พวกเขาเองเป็นพลเมืองที่เคารพกฎหมายและช่วยผู้อื่นเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้น พยานพระยะโฮวาช่วยลดภาระของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลในเรื่องปัญหาสังคม.
16. เหตุใดพยานพระยะโฮวาไม่ยุ่งเกี่ยวกับขบวนการปฏิรูปทางโลก?
16 ถ้าอย่างนั้น พยานพระยะโฮวาได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมทั่วไปด้านศีลธรรมในโลกไหม? เอาละ ในทศวรรษที่ผ่านไป จำนวนพยานพระยะโฮวาที่เอาการเอางานเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งมีอยู่น้อยกว่า 3,800,000 คนเล็กน้อย จนเดี๋ยวนี้มีเกือบ 6,000,000 คน. นั่นคือมีการเพิ่มขึ้นประมาณ 2,200,000 คน หลายคนในจำนวนนี้ได้ละเลิกการประพฤติที่ไม่ชอบธรรมเมื่อเขาเข้ามาเป็นคริสเตียน. ชีวิตของผู้คนมากมายได้ปรับปรุงดีขึ้น! ถึงกระนั้น จำนวนดังกล่าวนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในช่วงเวลาเดียวกัน—คือ 875,000,000 คน! พยานพระยะโฮวาได้พบว่าเป็นความยินดีที่ได้ช่วยผู้มีหัวใจตอบรับ แม้จะตระหนักว่ามีน้อยคนในหมู่มนุษยชาติที่จะเดินในเส้นทางสู่ชีวิต. (มัดธาย 7:13, 14) ในขณะที่พยานพระยะโฮวาคอยท่าการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้ทั่วโลกดีขึ้นซึ่งเฉพาะพระเจ้าเท่านั้นสามารถทำได้ พวกเขาไม่ยุ่งเกี่ยวกับขบวนการปฏิรูปทางโลก ซึ่งมักเริ่มต้นด้วยเจตนาที่ดี แต่แล้วก็ลงเอยด้วยความผิดหวังและแม้แต่ความรุนแรง.—2 เปโตร 3:13.
17. พระเยซูทรงทำอะไรเพื่อช่วยคนที่อยู่รอบข้าง แต่พระองค์ไม่ทรงทำอะไร?
17 ในการดำเนินในแนวทางนี้ พยานพระยะโฮวาแสดงความเชื่อมั่นในพระยะโฮวาอย่างที่พระเยซูทรงแสดงขณะอยู่บนแผ่นดินโลก. ย้อนไปในศตวรรษแรก พระเยซูทรงทำการอัศจรรย์ด้วยการเยียวยารักษา. (ลูกา 6:17-19) พระองค์ทรงปลุกคนให้เป็นขึ้นจากตายด้วยซ้ำ. (ลูกา 7:11-15; ) แต่พระองค์ไม่ได้ขจัดปัญหาความเจ็บป่วยให้หมดไป อีกทั้งไม่ได้พิชิตความตายซึ่งเป็นศัตรู. พระองค์ทรงทราบว่ายังไม่ถึงเวลากำหนดของพระเจ้าสำหรับเรื่องนี้. ด้วยความสามารถที่เหนือกว่าในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์สมบูรณ์ พระเยซูคงจะสามารถช่วยได้มากในการแก้ไขปัญหาร้ายแรงทางการเมืองและปัญหาสังคม. ดูเหมือนว่าบางคนในสมัยนั้นต้องการให้พระองค์ขึ้นมามีอำนาจและดำเนินงานอย่างนี้ แต่พระเยซูทรงปฏิเสธ. เราอ่านว่า “เมื่อคนทั้งหลายได้เห็นหมายสำคัญต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงกระทำ เขาจึงเริ่มพูดกันว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้พยากรณ์คนนั้นแน่ที่จะเข้ามาในโลก.’ พระเยซูทรงตระหนักว่าเขาจะมาจับพระองค์ไปตั้งให้เป็นกษัตริย์ พระองค์จึงเสด็จไปที่ภูเขาแต่ลำพัง.”— 8:49-56โยฮัน 6:14, 15, ล.ม.
18. (ก) พระเยซูทรงแสดงเจตคติแบบที่รอคอยอยู่เสมออย่างไร? (ข) กิจการงานของพระเยซูเปลี่ยนไปอย่างไรนับตั้งแต่ปี 1914?
18 พระเยซูทรงปฏิเสธที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือทำงานสังคมสงเคราะห์โดยตรง เนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่ายังไม่ถึงเวลาที่พระองค์จะรับอำนาจในฐานะกษัตริย์และทำการเยียวยารักษาทุกคนในทุกหนแห่ง. แม้แต่หลังจากที่เสด็จขึ้นไปมีชีวิตเป็นกายวิญญาณอมตะในสวรรค์ พระองค์ทรงเต็มพระทัยคอยเวลากำหนดของพระยะโฮวาก่อนที่จะลงมือดำเนินงาน. (บทเพลงสรรเสริญ 110:1; กิจการ 2:34, 35) อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ในฐานะกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรของพระเจ้าในปี 1914 พระองค์ทรงออกไป “อย่างมีชัยและเพื่อทำให้ชัยชนะของตนครบถ้วน.” (วิวรณ์ 6:2; 12:10, ล.ม.) เราหยั่งรู้ค่าสักเพียงไรที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ในฐานะกษัตริย์ ในขณะที่คนอื่น ๆ ที่อ้างว่าเป็นคริสเตียนเลือกที่จะละเลยคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยู่ต่อไป!
การรอคอย—ทำให้ข้องขัดใจหรือยินดี?
19. เมื่อไรที่การรอคอย “ทำให้หัวใจเจ็บป่วย” และเมื่อไรที่การรอคอยทำให้ยินดี?
19 ซะโลโมทราบว่าการรอคอยอาจทำให้ข้องขัดใจ. ท่านเขียนว่า “ความคาดหมายที่เลื่อนไปทำให้หัวใจเจ็บป่วย.” (สุภาษิต 13:12, ล.ม.) แน่ละ หากคนเราคาดหมายในเรื่องที่ไม่มีรากฐาน หัวใจก็อาจเจ็บป่วยได้ด้วยความผิดหวัง. อย่างไรก็ตาม การคอยท่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข—อาจจะเป็นการสมรส, การกำเนิดบุตร, หรือการพบปะกับผู้ที่เรารักอีกครั้งหนึ่ง—อาจทำให้เรามีความยินดีกับความคาดหมายนั้นอยู่นานแล้วก่อนที่วันนั้นจะมาถึงจริง. ความยินดีนั้นจะยิ่งมีมากขึ้นไปอีกหากเราใช้เวลาที่รอคอยนั้นอย่างสุขุม เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่จะมีมา.
20. (ก) เราคาดหมายได้อย่างมั่นใจว่าจะได้เห็นเหตุการณ์อันยอดเยี่ยมอะไรบ้าง? (ข) เราจะพบความยินดีได้อย่างไรขณะที่รอคอยพระประสงค์ของพระยะโฮวาบรรลุผลสำเร็จ?
20 เมื่อเรามีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าสิ่งที่เราคาดหมายจะสำเร็จเป็นจริง—แม้เราไม่ทราบว่าจะสำเร็จเมื่อไร—ช่วงเวลาที่คอยอยู่นั้นไม่ทำให้ “หัวใจเจ็บป่วย.” ผู้นมัสการที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าทราบว่าการปกครองแห่งรัชสมัยพันปีของพระคริสต์ใกล้จะมาถึง. พวกเขาเชื่อมั่นว่าเขาจะได้เห็นอวสานของความตายและโรคภัยไข้เจ็บ. ด้วยการคอยท่าอย่างกระตือรือร้น พวกเขาคอยอย่างยินดีให้ถึงเวลาที่จะได้ต้อนรับหลายพันล้านคนที่เป็นขึ้นจากตาย รวมทั้งผู้เป็นที่รักซึ่งได้เสียชีวิตไป. (วิวรณ์ 20:1-3, 6; 21:3, 4) ในสมัยอันวิกฤติด้านนิเวศวิทยา พวกเขาชื่นชมกับความคาดหมายที่แน่นอนที่จะได้เห็นอุทยานตั้งมั่นคงบนแผ่นดินโลก. (ยะซายา 35:1, 2, 7) ดังนั้น นับว่าสุขุมสักเพียงไรที่จะใช้เวลาที่รอคอยอยู่นี้อย่างรอบคอบ “กระทำการขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้บริบูรณ์ทุกเวลา”! (1 โกรินโธ 15:58) จงรับอาหารฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับพระยะโฮวา. เสาะหาคนเหล่านั้นที่หัวใจกระตุ้นให้เขารับใช้พระยะโฮวา. หนุนกำลังใจเพื่อนร่วมความเชื่อ. รับประโยชน์เต็มที่จากวันเวลาเท่าที่พระยะโฮวาจะทรงยังอนุญาตให้ดำเนินไป. เมื่อเป็นอย่างนี้ การรอคอยพระยะโฮวาจะไม่ทำให้ ‘หัวใจของคุณเจ็บป่วย’ เลย. ตรงกันข้าม การรอคอยนั้นจะทำให้คุณเต็มเปี่ยมด้วยความยินดี!
คุณอธิบายได้ไหม?
• พระเยซูทรงแสดงเจตคติแบบที่รอคอยอย่างไร?
• คริสเตียนจำเป็นต้องมีเจตคติแบบที่รอคอยในสถานการณ์เช่นไร?
• เหตุใดพยานพระยะโฮวายินดีรอคอยพระยะโฮวา?
• การรอคอยพระยะโฮวาทำให้เกิดความยินดีได้อย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
พระเยซูทรงอดทนเพื่อเห็นแก่ความยินดีที่อยู่ตรงหน้าพระองค์
[ภาพหน้า 13]
แม้ว่ารับใช้มาแล้วหลายปี เราสามารถรักษาความยินดีไว้ได้
[ภาพหน้า 15]
หลายล้านคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นเมื่อเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวา