พระยะโฮวาประทานกำลังแก่คนอ่อนเปลี้ย
พระยะโฮวาประทานกำลังแก่คนอ่อนเปลี้ย
“[พระยะโฮวา] ประทานกำลังแก่คนอ่อนเปลี้ย และแก่ผู้ที่ไม่มีกำลัง พระองค์ทรงเพิ่มแรง.”—ยะซายา 40:29, ฉบับแปลใหม่.
1. จงยกตัวอย่างให้เห็นชัดถึงพลังซึ่งมีอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าได้สร้างขึ้น.
พระยะโฮวาทรงมีพลังไม่จำกัด. และพลังพลวัตอันยิ่งใหญ่สักเพียงไรมีอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น! อะตอมเล็กจิ๋ว—ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่ง—เล็กมากถึงขนาดที่น้ำเพียงหยดเดียวประกอบด้วยอะตอมถึงหนึ่งร้อยล้านล้านล้านอะตอม. * ชีวิตทั้งมวลบนลูกโลกของเราล้วนอาศัยพลังงานซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาภายในอะตอมของดวงอาทิตย์. แต่ต้องใช้พลังงานสุริยะมากเท่าไรเพื่อค้ำจุนชีวิตบนแผ่นดินโลก? แผ่นดินโลกรับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ผลิตขึ้นเพียงไม่กี่ส่วนในหนึ่งพันล้านส่วน. อย่างไรก็ตาม ดังที่นักคณิตศาสตร์ เซอร์เฟรด ฮอยล์ กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อดาราศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) “เศษเสี้ยวอันน้อยนิดของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มาถึงโลก . . . มีปริมาณมากกว่าพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในอุตสาหกรรมของโลกประมาณ 100,000 เท่า.”
2. ยะซายา 40:26 กล่าวเช่นไรในใจความสำคัญเกี่ยวกับพลังของพระยะโฮวา?
2 ไม่ว่าเราจะพิจารณาเกี่ยวกับอะตอมหรือหันไปสนใจเอกภพอันกว้างใหญ่ไพศาล เราประทับใจในอำนาจอันน่าเกรงขามของพระยะโฮวา. ไม่แปลกที่พระองค์ตรัสได้ว่า “จงเงยหน้าขึ้นและมองดู. ใครได้สร้างสิ่งเหล่านี้? พระองค์นั่นแหละที่ทรงนำกองทัพของสิ่งเหล่านี้ออกมาตามจำนวน พระองค์ถึงกับทรงเรียกพวกมันทั้งสิ้นตามชื่อ. เนื่องด้วยพลังงานพลวัตยะซายา 40:26, ล.ม.) ใช่แล้ว พระยะโฮวา “ทรงมีกำลังแข็งขัน” และพระองค์ทรงเป็นแหล่งแห่ง “พลังงานพลวัต” ซึ่งทรงใช้เพื่อทำให้เกิดมีเอกภพทั้งสิ้น.
อันล้นเหลือ อีกทั้งพระองค์ทรงมีกำลังแข็งขัน จึงไม่มีสักหนึ่งเดียวในสิ่งเหล่านี้ขาดไป”! (จำเป็นต้องมีกำลังที่มากกว่าปกติ
3, 4. (ก) มีปัจจัยอะไรบ้างที่อาจทำให้เราหมดแรงหมดกำลังใจ? (ข) มีคำถามอะไรที่ต้องพิจารณา?
3 ในขณะที่พระเจ้าทรงมีพลังไม่จำกัด มนุษย์เรามีเวลาหมดเรี่ยวแรง. ไม่ว่าจะไปแห่งหนไหน เราเห็นผู้คนที่เหนื่อยอ่อน. พวกเขาตื่นขึ้นมาอย่างอ่อนล้า, ไปทำงานหรือไปโรงเรียนอย่างอิดโรย, กลับถึงบ้านอย่างอ่อนเปลี้ย, และเข้านอน ไม่ใช่แค่เพียงอย่างอ่อนเพลีย แต่อย่างหมดเรี่ยวแรง. บางคนหวังไว้ว่าเขาสามารถไปที่ไหนสักแห่งเพื่อจะได้พักผ่อนให้สมใจเสียบ้าง. พวกเราที่เป็นผู้รับใช้ของพระยะโฮวาก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรงเช่นกัน เพราะการดำเนินชีวิตอย่างที่ถวายความเลื่อมใสในพระเจ้าเรียกร้องให้เราต้องบากบั่นอย่างแข็งขัน. (มาระโก 6:30, 31; ลูกา 13:24; 1 ติโมเธียว 4:8) และนอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ทำให้เราหมดกำลัง.
4 แม้ว่าเราเป็นคริสเตียน เราหนีไม่พ้นปัญหาที่ผู้คนทั่วไปประสบ. (โยบ 14:1) ความเจ็บป่วย, ความถดถอยทางการเงิน, หรือข้อยุ่งยากอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในชีวิต อาจทำให้ท้อแท้หมดกำลังใจ. สิ่งที่เพิ่มข้อท้าทายเหล่านี้ให้หนักเข้าไปอีกก็คือความยากลำบากซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่ถูกข่มเหงเพราะเห็นแก่ความชอบธรรม. (2 ติโมเธียว 3:12; 1 เปโตร 3:14) เนื่องด้วยความกดดันในแต่ละวันจากโลกและการต่อต้านงานประกาศเรื่องราชอาณาจักร พวกเราบางคนอาจอ่อนล้ามากจนอยากจะชะลอฝีเท้าลงในการรับใช้พระยะโฮวา. นอกจากนี้ ด้วยความพยายามจะทำลายความซื่อสัตย์มั่นคงของเราต่อพระเจ้า ซาตานพญามารกำลังใช้ทุกวิธีที่มันจะใช้ได้. ถ้าอย่างนั้น เราจะได้รับกำลังฝ่ายวิญญาณที่จำเป็นต้องมีได้อย่างไรเพื่อจะไม่หมดแรงและเลิกกลางคัน?
5. เหตุใดจึงจำเป็นต้องมีกำลังที่มากกว่าปกติเพื่อจะทำงานรับใช้ของคริสเตียนให้ลุล่วง?
5 เพื่อจะมีกำลังเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ เราต้องหมายพึ่งพระยะโฮวา พระผู้สร้างผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจบริบูรณ์. อัครสาวกเปาโลชี้ว่างานรับใช้ของคริสเตียนต้องอาศัยกำลังที่มากกว่าปกติของมนุษย์ไม่สมบูรณ์. ท่านเขียนว่า “เรามีทรัพย์นั้นในภาชนะดิน เพื่อกำลังที่มากกว่าปกติจะเป็นของพระเจ้า และมิใช่มาจากตัวเราเอง.” (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) คริสเตียนผู้ถูกเจิมกำลัง “รับใช้ในการประกาศเรื่องการคืนดีกันนั้น” ให้ลุล่วง โดยได้การสนับสนุนจากสหายของพวกเขาซึ่งมีความหวังทางแผ่นดินโลก. (2 โกรินโธ 5:18; โยฮัน 10:16; วิวรณ์ 7:9) เนื่องจากเราซึ่งเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์กำลังทำงานของพระเจ้าโดยที่ต้องเผชิญกับการข่มเหง เราจึงไม่อาจทำงานนี้ด้วยกำลังของเราเองเท่านั้น. พระยะโฮวาทรงช่วยเราโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ และโดยวิธีนี้เองที่ความอ่อนแอของเราทำให้เห็นอำนาจของพระองค์ชัดขึ้น. และคำรับรองที่ว่า “พระยะโฮวาทรงอุปถัมภ์คนสัตย์ธรรม” ช่างให้การปลอบโยนแก่เราสักเพียงไร!—บทเพลงสรรเสริญ 37:17.
‘พระยะโฮวาทรงเป็นกำลังอันสำคัญยิ่งของเรา’
6. พระคัมภีร์รับรองกับเราอย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงเป็นแหล่งแห่งกำลังของเรา?
6 พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา “ทรงมีกำลังแข็งขัน” และทรงสามารถประทานพลังแก่เราได้อย่างง่ายดาย. ที่จริง มีบันทึกซึ่งบอกเราว่า “[พระยะโฮวา] ทรงประทานแรงแก่ผู้ที่อิดโรย, ส่วนผู้ที่อ่อนเปลี้ย, พระองค์ทรงประทานกำลังให้, ถึงแม้นคนหนุ่มก็ยังมีเวลาอิดโรยและอ่อนเปลี้ย, และชายฉกรรจ์ก็อาจหมดกำลังทีเดียว; แต่ผู้ที่คอยท่าพระยะโฮวาจะได้รับกำลังเพิ่มขึ้น; เขาจะกางปีกบินขึ้นไปดุจนกอินทรี; เขาจะวิ่งไป, และไม่รู้จักอ่อนเปลี้ย, เขาจะเดินไป, และไม่รู้จักอิดโรย.” (ยะซายา 40:29-31) เนื่องด้วยความกดดันที่มีมากขึ้น บางครั้งเราอาจรู้สึกเหมือนกับนักวิ่งที่หมดแรงจนดูเหมือนว่าจะก้าวขาไม่ออกอีกต่อไป. แต่เส้นชัยในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตอยู่ข้างหน้านี้เอง และเราต้องไม่เลิกวิ่งเสียกลางคัน. (2 โครนิกา 29:11) พญามารศัตรูของเรากำลังเที่ยวเดินไปมา “เหมือนสิงโตที่แผดเสียงร้อง” และมันอยากจะทำให้เราหยุดวิ่ง. (1 เปโตร 5:8, ล.ม.) ขอให้เราจำไว้ว่า ‘พระยะโฮวาเป็นกำลังและเป็นโล่ของเรา’ และพระองค์ได้ทรงจัดเตรียมอย่างอุดมบริบูรณ์เพื่อ “ประทานแรงแก่ผู้ที่อิดโรย.”—บทเพลงสรรเสริญ 28:7.
7, 8. มีข้อพิสูจน์อะไรว่าพระยะโฮวาทรงช่วยดาวิด, ฮะบาฆูค, และเปาโลให้เข้มแข็ง?
7 พระยะโฮวาประทานกำลังที่ดาวิดจำเป็นต้องมีเพื่อดำเนินต่อไปแม้เผชิญกับอุปสรรคใหญ่หลวง. ด้วยความเชื่อและความมั่นใจเต็มเปี่ยม ดาวิดจึงได้เขียนว่า “โดยพระเจ้าเราจะได้รับกำลังเข้มแข็ง และพระองค์เองจะทรงเหยียบเหล่าปรปักษ์ของเรา.” (บทเพลงสรรเสริญ 60:12, ล.ม.) พระยะโฮวาประทานกำลังแก่ฮะบาฆูคเช่นกันเพื่อท่านจะทำงานมอบหมาย ในฐานะผู้พยากรณ์ให้สำเร็จลุล่วง. ฮะบาฆูค 3:19 (ล.ม.) กล่าวว่า “พระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศรทรงเป็นกำลังอันสำคัญยิ่งของข้าพเจ้า; และพระองค์จะทรงทำให้เท้าข้าพเจ้าเป็นเหมือนตีนกวางตัวเมีย และพระองค์จะทรงทำให้ข้าพเจ้าเดินไปบนที่สูงทั้งหลายของข้าพเจ้า.” ที่น่าสังเกตด้วยก็คือตัวอย่างของเปาโล ซึ่งท่านได้เขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีกำลังสำหรับทุกสิ่งโดย [พระเจ้า] ผู้ทรงประทานพลังให้ข้าพเจ้า.”—ฟิลิปปอย 4:13, ล.ม.
8 เช่นเดียวกับดาวิด, ฮะบาฆูค, และเปาโล เราควรสำแดงความเชื่อในพระปรีชาสามารถของพระเจ้าที่จะช่วยเราให้เข้มแข็งและเชื่อในอำนาจของพระองค์ที่จะช่วยเราให้รอด. โดยตระหนักว่าพระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศรทรงเป็นแหล่งแห่ง “กำลังอันสำคัญยิ่ง” ต่อไปนี้ให้เราพิจารณาถึงบางวิธีที่จะได้กำลังฝ่ายวิญญาณจากการจัดเตรียมที่พระเจ้าประทานให้อย่างอุดม.
การจัดเตรียมฝ่ายวิญญาณ เพื่อเสริมกำลังเรา
9. สรรพหนังสือคริสเตียนมีบทบาทเช่นไรในการบำรุงเลี้ยงเรา?
9 การศึกษาพระคัมภีร์อย่างขยันขันแข็งโดยอาศัยสรรพหนังสือคริสเตียนสามารถเสริมกำลังและค้ำจุนเรา. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงดังนี้: “ความสุขมีแก่ผู้ที่ . . . ความปีติยินดีของเขาอยู่ในพระบัญญัติของพระยะโฮวา และเขาอ่านพระบัญญัติของพระองค์ด้วยออกเสียงแผ่วเบาทั้งกลางวันและกลางคืน. และเขาจะกลายเป็นดุจต้นไม้ที่ปลูกไว้ริมธารน้ำ ซึ่งเกิดผลตามฤดู และใบก็ไม่เหี่ยวแห้ง และทุกสิ่งที่เขาทำจะสำเร็จ.” (บทเพลงสรรเสริญ 1:1-3, ล.ม.) เช่นเดียวกับที่เราต้องรับประทานอาหารเพื่อรักษาความแข็งแรงทางกาย เราจำเป็นต้องรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าทรงจัดให้ทางพระคำของพระองค์และสรรพหนังสือคริสเตียนเพื่อรักษาความแข็งแรงฝ่ายวิญญาณของเรา. ด้วยเหตุนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาที่เอาจริงเอาจังและการคิดรำพึง.
10. เราอาจหาเวลาในตอนไหนเพื่อศึกษาและคิดรำพึง?
10 นับว่าให้ผลตอบแทนคุ้มค่าจริง ๆ ที่จะคิดรำพึงถึง “สิ่งลึกซึ้งของพระเจ้า.” (1 โกรินโธ 2:10, ล.ม.) แต่เราจะหาเวลาในตอนไหนเพื่อคิดรำพึง? ยิศฮาคบุตรอับราฮาม ‘ออกไปที่ทุ่งนาเพื่อจะตรึกตรองถึงเรื่องต่าง ๆ ในเวลาเย็น.’ (เยเนซิศ 24:63-67) ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ‘คิดรำพึงถึงพระเจ้าในยามกลางคืน.’ (บทเพลงสรรเสริญ 63:6, ล.ม.) เราอาจศึกษาพระคำของพระเจ้าและคิดรำพึงเกี่ยวกับพระคำนั้นในตอนเช้า, ตอนเย็น, ตอนกลางคืน—ที่จริง เวลาใดก็ได้. การศึกษาและการคิดรำพึงเช่นนั้นนำเรามาถึงการจัดเตรียมอีกอย่างหนึ่งของพระยะโฮวาที่เสริมกำลังฝ่ายวิญญาณ—การอธิษฐาน.
11. เหตุใดเราควรให้ความสำคัญแก่การอธิษฐานเป็นประจำ?
11 การอธิษฐานถึงพระเจ้าเป็นประจำช่วยเสริมกำลังเรา. ด้วยเหตุนั้น ขอให้เรา “หมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ.” (โรม 12:12) บางครั้ง เราจำเป็นต้องทูลขอสติปัญญาและกำลังที่เฉพาะเจาะจงเพื่อจะรับมือการทดลองได้. (ยาโกโบ 1:5-8) ให้เราขอบพระคุณและสรรเสริญพระเจ้าด้วยเมื่อเราสังเกตเห็นพระประสงค์ของพระองค์สำเร็จเป็นจริง หรือเมื่อเห็นว่าพระองค์ได้ทรงช่วยเราให้เข้มแข็งที่จะทำงานรับใช้พระองค์ต่อไป. (ฟิลิปปอย 4:6, 7) หากเราติดสนิทอยู่กับพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน พระองค์จะไม่ทรงละทิ้งเราเลย. ดาวิดร้องเพลงดังนี้: “ดูเถิด, พระเจ้าเป็นผู้ทรงช่วยข้าพเจ้า.”—บทเพลงสรรเสริญ 54:4.
12. เหตุใดเราควรทูลขอพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระเจ้า?
12 พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราทรงเสริมกำลังเราและช่วยเราให้เข้มแข็งโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพลังปฏิบัติการของพระองค์. เปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้าคุกเข่าลงคำนับพระบิดา . . . เพื่อพระองค์ทรงโปรดประทานแก่ท่านทั้งหลายตามความมั่งคั่งแห่งสง่าราศีของพระองค์เพื่อทำให้บุคคลที่ท่านเป็นอยู่ข้างในมีพลังอำนาจมากขึ้นโดยทางพระวิญญาณของพระองค์.” (เอเฟโซ 3:14-16, ล.ม.) เราควรอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ เชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะทรงโปรดประทานให้เรา. พระเยซูทรงชักเหตุผลว่า ถ้าบุตรขอปลา บิดาผู้เปี่ยมด้วยความรักจะเอางูให้เขาแทนหรือ? แน่นอนว่าไม่เป็นอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์ทรงลงความเห็นว่า “ถ้าท่านเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน, ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.” (ลูกา 11:11-13) ให้เราอธิษฐานด้วยความเชื่อมั่นเช่นนั้น และจำไว้เสมอว่าผู้รับใช้ที่ ซื่อสัตย์ของพระเจ้าสามารถ “มีพลังอำนาจมากขึ้น” โดยทางพระวิญญาณของพระองค์.
ประชาคมช่วยเสริมกำลัง
13. เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อการประชุมคริสเตียน?
13 พระยะโฮวาทรงเสริมกำลังเราโดยทางการประชุมต่าง ๆ ของประชาคมคริสเตียน. พระเยซูตรัสว่า “มีสองหรือสามคนร่วมประชุมกัน ณ ที่ใดในนามของเรา เราอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น.” (มัดธาย 18:20, ล.ม.) เมื่อพระเยซูทรงสัญญาดังกล่าว พระองค์กำลังพิจารณาเรื่องที่ผู้นำหน้าในประชาคมต้องเอาใจใส่. (มัดธาย 18:15-19) อย่างไรก็ดี คำตรัสของพระองค์ใช้ได้ในหลักการกับการประชุมของเราทุกรายการ รวมทั้งการประชุมหมวดและการประชุมภาค ซึ่งเปิดและปิดด้วยคำอธิษฐานในนามของพระองค์. (โยฮัน 14:14) ดังนั้น เป็นสิทธิพิเศษที่จะเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเช่นนั้น ไม่ว่ามีเพียงไม่กี่คนหรือหลายพันคนเข้าร่วม. ด้วยเหตุนั้น ให้เราแสดงความหยั่งรู้ค่าต่อโอกาสเหล่านี้ซึ่งจัดไว้เพื่อช่วยเราให้เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณและเร้าใจเราให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี.—เฮ็บราย 10:24, 25, ล.ม.
14. เราได้ประโยชน์อะไรจากความพยายามของคริสเตียนผู้ปกครอง?
14 ผู้ปกครองคริสเตียนให้ความช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณและการหนุนกำลังใจ. (1 เปโตร 5:2, 3) เปาโลช่วยและหนุนกำลังใจประชาคมต่าง ๆ ที่ท่านรับใช้ เช่นเดียวกับที่เหล่าผู้ดูแลเดินทางทำในทุกวันนี้. ที่จริง ท่านปรารถนาอย่างยิ่งจะได้อยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมความเชื่อเพื่อจะได้หนุนกำลังใจซึ่งกันและกันอันเป็นการเสริมสร้าง. (กิจการ 14:19-22; โรม 1:11, 12) ขอให้เราแสดงความหยั่งรู้ค่าเสมอต่อผู้ปกครองในประชาคมของเราและคริสเตียนผู้ดูแลคนอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยเราให้เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ.
15. มีการแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเพื่อนร่วมความเชื่อในประชาคมของเรา “เป็นผู้ช่วยเสริมกำลัง”?
15 เพื่อนร่วมความเชื่อซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นประชาคมของเราอาจ “เป็นผู้ช่วยเสริมกำลัง.” (โกโลซาย 4:10, 11, ล.ม.) ในฐานะ “มิตรแท้” พวกเขาช่วยเราได้ในยามทุกข์ยาก. (สุภาษิต 17:17, ล.ม.) ยกตัวอย่าง เมื่อผู้รับใช้ 220 คนของพระเจ้าถูกพาออกไปจากค่ายกักกันซัคเซนเฮาเซนภายใต้การคุมของพวกนาซีในปี 1945 พวกเขาต้องเดินเป็นระยะทางถึง 200 กิโลเมตร. พวกเขาเดินทางด้วยกันเป็นกลุ่ม และคนที่แข็งแรงกว่าช่วยคนที่อ่อนล้าที่สุดโดยให้นั่งรถเข็นเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คันแล้วลากไป. ผลเป็นอย่างไร? ในการเดินทางเที่ยวมรณะซึ่งทำให้ผู้ถูกคุมขังในค่ายกักกันเสียชีวิตไปมากกว่า 10,000 คน ไม่มีพยานพระยะโฮวาแม้แต่คนเดียวเสียชีวิต. เรื่องราวเช่นนี้ซึ่งลงในวารสารหอสังเกตการณ์ รวมทั้งหนังสือประจำปีแห่งพยานพระยะโฮวา และหนังสือพยานพระยะโฮวา—ผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า พิสูจน์ว่าพระเจ้าประทานกำลังแก่ไพร่พลของพระองค์ เพื่อพวกเขาจะไม่เลิกราไป.—ฆะลาเตีย 6:9. *
งานรับใช้ในเขตประกาศช่วยเราให้เข้มแข็ง
16. การมีส่วนร่วมเป็นประจำในงานรับใช้ช่วยเราอย่างไรให้เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ?
16 การมีส่วนร่วมเป็นประจำในงานประกาศราชอาณาจักรช่วยเราให้เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ. กิจกรรมเช่นนั้นช่วยเราให้ยูดา 20, 21) คำสัญญาในพระคัมภีร์ที่เราบอกเล่าในงานรับใช้ของเราให้ความหวังแก่เราและช่วยให้เรามีความตั้งใจแน่วแน่เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์มีคาซึ่งกล่าวว่า “เราจะดำเนินในพระนามของพระยะโฮวาพระเจ้าของเราจนเวลาที่ไม่มีกำหนด ตลอดไปเป็นนิตย์.”—มีคา 4:5, ล.ม.
มุ่งเน้นในเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าและรักษาความหวังเกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์และพระพรซึ่งราชอาณาจักรจะนำมา. (17. มีข้อเสนอแนะอะไรบ้างเกี่ยวกับการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน?
17 สัมพันธภาพระหว่างเราเองกับพระยะโฮวาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อเราใช้พระคัมภีร์มากขึ้นในการสอนผู้อื่น. ยกตัวอย่าง เมื่อนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านโดยใช้หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ นับว่าสุขุมที่จะอ่านและพิจารณาข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ ที่มีอ้างถึง. การทำอย่างนี้ช่วยนักศึกษาและตัวเราเองให้มีความเข้าใจฝ่ายวิญญาณมากขึ้น. หากนักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจแนวคิดของคัมภีร์ไบเบิลหรือตัวอย่างที่ช่วยอธิบาย อาจศึกษามากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อจะจบบทหนึ่ง ๆ ของหนังสือความรู้. เรายินดีสักเพียงไรที่จะเตรียมตัวอย่างดีและพยายามเป็นพิเศษเพื่อช่วยผู้อื่นให้เข้ามาใกล้พระเจ้า!
18. จงยกตัวอย่างซึ่งแสดงถึงวิธีที่กำลังมีการใช้หนังสือความรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ.
18 ในแต่ละปี มีการใช้หนังสือความรู้ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยหลายแสนคนเข้ามาเป็นผู้รับใช้ที่อุทิศตัวแล้วของพระยะโฮวา และนี่รวมไปถึงผู้คนมากมายที่ไม่มีพื้นฐานด้านคัมภีร์ไบเบิลมาก่อน. ยกตัวอย่าง เมื่อยังเป็นเด็ก ชายชาวฮินดูคนหนึ่งที่ศรีลังกาบังเอิญได้ยินพยานฯ คนหนึ่งคุยเรื่องอุทยาน. หลายปีต่อมา เขาได้ไปหาเธอ และไม่นานหลังจากนั้นสามีของผู้หญิงคนนี้เริ่มการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขา. อันที่จริง ชายหนุ่มผู้นี้มาศึกษาทุกวัน และเรียนหนังสือความรู้ ทั้งเล่มจบในเวลาค่อนข้างสั้น. เขาเริ่มเข้าร่วมการประชุมทุกรายการ, ตัดขาดจากศาสนาเดิม, และได้มาเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักร. เมื่อถึงตอนที่เขารับบัพติสมา เขาได้นำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านอยู่แล้วกับคนหนึ่งที่เขารู้จัก.
19. เมื่อเราแสวงหาราชอาณาจักรเป็นอันดับแรก เรามั่นใจได้ในเรื่องใด?
19 การแสวงหาราชอาณาจักรเป็นอันดับแรกนำความยินดีมาให้เรามากขึ้น. (มัดธาย 6:33) แม้ว่าเราประสบกับการทดลองหลายอย่าง เราก็ยังประกาศข่าวดีอย่างมีความสุขและด้วยใจแรงกล้า. (ติโต 2:14) พวกเราหลายคนบรรลุข้อเรียกร้องสำหรับการรับใช้เต็มเวลาในฐานะไพโอเนียร์ และบางคนกำลังรับใช้ในที่ซึ่งมีความต้องการผู้เผยแพร่ข่าวดีมากกว่า. ไม่ว่าเราส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรด้วยความยินดีในวิธีที่ได้กล่าวไปหรือในวิธีอื่น ๆ เราเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมการงานของเราและความรักที่เราแสดงออกเพื่อพระนามของพระองค์.—เฮ็บราย 6:10-12.
ดำเนินต่อไปด้วยกำลังจากพระยะโฮวา
20. เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราหมายพึ่งกำลังจากพระยะโฮวา?
20 ให้เราแสดงอย่างสุดหัวใจว่าเรามีความหวังในพระยะโฮวาและหมายพึ่งกำลังจากพระองค์. เราสามารถทำอย่างนั้นโดยรับเอาสิ่งฝ่ายวิญญาณที่พระองค์ทรงจัดเตรียมให้เราโดยทาง “ทาสสัตย์ซื่อ” อย่างเต็มที่. (มัดธาย 24:45, ล.ม.) การศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัวและในประชาคมโดยใช้สรรพหนังสือคริสเตียนเป็นคู่มือ, การอธิษฐานด้วยความรู้สึกจากหัวใจ, การช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณจากผู้ปกครอง, ตัวอย่างที่ดีของเพื่อนร่วมความเชื่อที่ซื่อสัตย์, และการมีส่วนร่วมเป็นประจำในงานรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมให้เพื่อเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระยะโฮวาให้แน่นแฟ้น และให้กำลังแก่เราที่จะดำเนินต่อไปในงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์.
21. อัครสาวกเปโตรและเปาโลแสดงอย่างไรถึงความจำเป็นที่ต้องได้รับกำลังจากพระเจ้า?
21 แม้ว่าเราเป็นมนุษย์ที่บอบบาง พระยะโฮวาจะทรงเสริมกำลังเราให้ทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์ หากเราหมายพึ่งให้พระองค์ช่วย. โดยตระหนักถึงความจำเป็นต้องได้รับ1 เปโตร 4:11, ล.ม.) และเปาโลแสดงความไว้วางใจในกำลังที่พระเจ้าประทานให้เมื่อท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในความอ่อนแอของข้าพเจ้า, ในเหตุร้ายต่าง ๆ, ในการยากลำบาก, ในการถูกข่มเหง, ในความอับจน, เพราะเห็นแก่พระคริสต์ ด้วยว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด, ข้าพเจ้าจึงแข็งแรงมากเมื่อนั้น.” (2 โกรินโธ 12:10) ให้เราแสดงความเชื่อมั่นอย่างเดียวกันนั้นและนำเกียรติยศมาสู่พระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศร ผู้ประทานกำลังแก่คนอ่อนเปลี้ย.—ยะซายา 12:2.
ความช่วยเหลือเช่นนั้น อัครสาวกเปโตรเขียนดังนี้: “ถ้าคนใดรับใช้ก็ให้เขารับใช้เสมือนพึ่งอาศัยในกำลังซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้.” ([เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 จำนวนดังกล่าวนี้คือเลข 1 ตามด้วย 0 ยี่สิบตัว.
^ วรรค 15 จัดพิมพ์โดยสมาคมว็อชเทาเวอร์ ไบเบิล แอนด์ แทร็กต์ แห่งนิวยอร์ก.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดไพร่พลของพระยะโฮวาจำเป็นต้องมีกำลังที่มากกว่าปกติ?
• มีข้อพิสูจน์อะไรในพระคัมภีร์ที่ว่าพระเจ้าประทานกำลังแก่ผู้รับใช้ของพระองค์?
• พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรบ้างทางฝ่ายวิญญาณเพื่อเสริมกำลังเรา?
• เราจะแสดงได้อย่างไรว่าเราหมายพึ่งกำลังจากพระเจ้า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
สัมพันธภาพระหว่างเราเองกับพระยะโฮวาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อเราใช้คัมภีร์ไบเบิลในการสอนผู้อื่น