“จงวิ่งเอารางวัลให้ได้”
“จงวิ่งเอารางวัลให้ได้”
ขอให้นึกภาพตัวคุณอยู่ในสนามกีฬาซึ่งแออัดด้วยผู้คนที่ตื่นเต้น. พวกนักกีฬาเดินขบวนเข้าสู่สนาม. ฝูงชนส่งเสียงดังสนั่นขณะที่วีรบุรุษของพวกเขาปรากฏต่อสายตา. เหล่าผู้ตัดสินอยู่พร้อมที่จะดูแลให้มีการทำตามกติกา. ขณะที่การแข่งขันดำเนินไป มีเสียงโห่ร้องแสดงชัยชนะปนเปกับเสียงร้องด้วยความผิดหวัง. เสียงปรบมือต้อนรับผู้ชนะดังจนหูอื้อ!
คุณกำลังเข้าร่วม ไม่ใช่การแข่งขันกีฬาสมัยปัจจุบัน แต่เป็นการแข่งขันกีฬาที่มีการจัดขึ้นประมาณ 2,000 ปีมาแล้วบนคอคอดอิสท์มัสของเมืองโกรินโธ. ทุก ๆ สองปีตั้งแต่ศตวรรษที่หกก่อนสากลศักราชถึงศตวรรษที่สี่สากลศักราช มีการจัดกีฬาอิสท์เมียนที่มีชื่อเสียงขึ้นที่นั่น. เป็นเวลาหลายวันที่เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจจากทุกคนในกรีซ. เกมต่าง ๆ มิใช่เป็นเพียงการแข่งขันกีฬาเท่านั้น. พวกนักกีฬาเป็นสัญลักษณ์ของการเตรียมพร้อมทางทหาร. เหล่าผู้ชนะซึ่งได้รับการบูชาในฐานะวีรบุรุษนั้นได้รับมาลัยสวมศีรษะที่ทำด้วยใบไม้. มีการมอบของขวัญมากมายให้พวกเขา และเมืองนั้นให้เงินบำนาญจำนวนมากแก่เขาตลอดชีวิต.
อัครสาวกเปาโลคุ้นเคยกับกีฬาอิสท์เมียนใกล้เมืองโกรินโธ และได้เปรียบเทียบแนวทางชีวิตของคริสเตียนกับการแข่งขันกีฬา. โดยการกล่าวพาดพิงถึงนักวิ่ง, นักกีฬามวยปล้ำ, และนักมวย ท่านยกตัวอย่างประกอบอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับบำเหน็จของการฝึกหัดที่ดี, ความพยายามที่ได้รับการชี้นำอย่างเหมาะสม, และความอดทน. แน่นอน คริสเตียนซึ่งท่านเขียนจดหมายไปถึงนั้นรู้จักกีฬาต่าง ๆ ด้วย. ไม่ต้องสงสัยว่าบางคนเคยอยู่ในท่ามกลางฝูงชนที่โห่ร้อง ณ สนามกีฬา. ดังนั้น พวกเขาคงจะเข้าใจทันทีถึงตัวอย่างที่เปาโลยกขึ้นมา. พวกเราในทุกวันนี้ล่ะเป็นอย่างไร? เราเช่นกันอยู่ในการวิ่งแข่ง—เพื่อชีวิตนิรันดร์. เราจะได้รับประโยชน์จากการที่เปาโลอ้างถึงการแข่งขันเหล่านั้นได้อย่างไร?
“ปฏิบัติตามกฎ”
ข้อเรียกร้องสำหรับกีฬาสมัยโบราณนั้นเข้มงวดมาก. พนักงานป่าวประกาศจะแนะนำตัวนักกีฬาแต่ละคนต่อผู้ชมแล้วร้องตะโกนว่า ‘มีใครไหมที่จะกล่าวหาได้ว่าชายคนนี้ประกอบอาชญากรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง? เขาเป็นโจรไหม หรือเป็นคนชั่วช้าเลวทรามในการดำเนินชีวิตและกิริยามารยาทของเขา?’ ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือโบราณคดีกรีก (ภาษาอังกฤษ) “บุคคลใดที่เป็นอาชญากรฉาวโฉ่ หรือเกี่ยวข้อง [อย่างใกล้ชิด] กับใคร ๆ ที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขัน.” และ การฝ่าฝืนกติกาของเกมได้รับการลงโทษสถานหนักโดยการห้ามผู้ฝ่าฝืนเข้าแข่งขัน.
ข้อเท็จจริงนี้ช่วยเราเข้าใจถ้อยคำของเปาโลที่ว่า “ถ้าผู้ใดจะเข้าแข่งขันในการกรีฑา, เขาก็คงมิได้สวมพวงมาลัย, เว้นเสียแต่เขาได้ปฏิบัติตามกฎ.” (2 ติโมเธียว 2:5) ในทำนองเดียวกัน ที่จะวิ่งในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิต เรา ต้องบรรลุข้อเรียกร้องของพระยะโฮวา ทำตามมาตรฐานด้านศีลธรรมอันสูงส่งของพระองค์ดังที่ชี้แจงไว้ในคัมภีร์ไบเบิล. อย่างไรก็ตาม คัมภีร์ไบเบิลเตือนเราว่า “ความเอนเอียงแห่งหัวใจของมนุษย์นั้นชั่วตั้งแต่เด็กมา.” (เยเนซิศ 8:21, ล.ม.) ดังนั้น แม้แต่หลังจากเข้าสู่การวิ่งแข่งแล้วก็ตาม เราต้องระวังที่จะแข่งขันตามกฎต่อ ๆ ไปเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวาอย่างต่อเนื่องและได้รับชีวิตนิรันดร์.
เครื่องช่วยสำคัญที่สุดเพื่อจะปฏิบัติในแนวทางนี้ได้คือความรักต่อพระเจ้า. (มาระโก 12:29-31) ความรักดังกล่าวจะทำให้เราปรารถนาจะเป็นที่พอพระทัยของพระยะโฮวาและปฏิบัติตามพระทัยประสงค์ของพระองค์.—1 โยฮัน 5:3.
“ปลดของหนักทุกอย่าง”
ในกีฬาสมัยโบราณ นักวิ่งไม่ยอมให้เสื้อผ้าหรือเครื่องมือมาถ่วงเขา. หนังสือชีวิตของชาวกรีกและชาวโรมัน (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “ในการวิ่งแข่ง . . . พวกนักวิ่งมักจะปรากฏตัวในสภาพเปลือยล่อนจ้อน.” การไม่สวมเสื้อผ้าทำให้นักกีฬามีความปราดเปรียว, การเคลื่อนไหวที่สะดวก, และความคล่องแคล่ว. ไม่มีการทำให้พลังเสียไปเปล่า ๆ อันเป็นผลมาจากของหนักที่ไม่จำเป็น. เปาโลดูเหมือนจะคำนึงถึงเรื่องนี้เมื่อท่านเขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรูว่า “ให้เราปลดของหนักทุกอย่าง . . . และให้เราวิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ต่อหน้าเรา.”—เฮ็บราย 12:1, ล.ม.
ของหนักชนิดใดบ้างที่อาจขัดขวางเราในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิต? ประการหนึ่งคงจะเป็นความปรารถนาที่จะสั่งสมสิ่งฝ่ายวัตถุที่ไม่จำเป็น หรือที่จะรักษาไว้ซึ่งรูปแบบชีวิตที่หรูหรา. บางคนอาจหมายพึ่งทรัพย์สมบัติเพื่อความมั่นคงปลอดภัย หรือถือว่าสิ่งนั้นเป็นบ่อเกิดของความสุข. “ของหนัก” ที่มากเกินไปเช่นนั้นอาจทำให้นักวิ่งช้าลงถึงขั้นที่ว่า ในที่สุด พระเจ้าอาจจะไม่สำคัญจริง ๆ เท่าไรนักสำหรับเขา. (ลูกา 12:16-21) ชีวิตนิรันดร์อาจดูเหมือนว่าเป็นความหวังอันห่างไกล. คนเราอาจจะให้เหตุผลว่า ‘โลกใหม่คงจะมาถึงสักวันหนึ่ง แต่ในระหว่างนี้เราอาจฉวยประโยชน์จากสิ่งที่โลกนี้เสนอให้ด้วย.’ (1 ติโมเธียว 6:17-19) ทัศนะแบบวัตถุนิยมเช่นนั้นอาจทำให้คนเราเขวไปจากการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตได้อย่างง่ายดายหรือกีดกันคนเรามิให้เริ่มวิ่งด้วยซ้ำ.
ในคำเทศน์บนภูเขา พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีคนใดปรนนิบัตินายสองนายได้ เพราะว่าจะชังนายข้างหนึ่งและจะรักนายอีกข้างหนึ่ง, หรือจะนับถือนายฝ่ายหนึ่งและจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง. ท่านจะปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทองด้วยก็ไม่ได้.” ครั้นแล้ว หลังจากพรรณนาถึงความใฝ่พระทัยของพระยะโฮวาในเรื่องความจำเป็นของสัตว์และพฤกษชาติ และตรัสว่ามนุษย์มีค่ามากกว่าสิ่งเหล่านั้นแล้ว พระองค์ทรงตักเตือนว่า “เหตุฉะนั้นอย่ากระวนกระวายว่า, จะเอาอะไรกินหรือจะเอาอะไรดื่มหรือจะเอาอะไรนุ่งห่ม. เพราะว่าพวกต่างประเทศแสวงหาสิ่งของทั้งปวงนี้, แต่ว่าพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการสิ่งทั้งปวงเหล่านี้. แต่ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้า และความชอบธรรมของพระองค์ก่อน, แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้.”—มัดธาย 6:24-33.
“วิ่งด้วยความเพียรอดทน”
การวิ่งแข่งสมัยโบราณทุกอย่างใช่ว่าเป็นการวิ่งเต็มฝีเท้าระยะสั้น. การแข่งขันรายการหนึ่งที่เรียกว่าดอลิฮอส มีระยะทางถึงสี่กิโลเมตร. การแข่งขันดังกล่าวเป็นการทดสอบกำลังและความอดทน. ตามที่เล่ากัน ในปี 328 ก่อนสากลศักราช นักกีฬาชื่ออาเยียส หลังจากมีชัยในการแข่งขันนี้แล้ว ได้ออกวิ่งไปจนถึงเมืองอาร์กอสบ้านเกิดของเขาเลยทีเดียวเพื่อประกาศชัยชนะของตัวเอง. วันนั้น เขาวิ่งประมาณ 110 กิโลเมตร!
2 ติโมเธียว 4:7, 8, ล.ม.) เช่นเดียวกับเปาโล เราต้องวิ่ง “จนสุดทาง.” หากความอดทนของเราลดลงเพียงเพราะการวิ่งแข่งค่อนข้างนานกว่าที่เราคาดหมายในตอนแรก เราก็จะไม่ได้รับรางวัล. (เฮ็บราย 11:6) ถ้าเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียจริง ๆ ในเมื่อก็เห็นอยู่ว่าเราใกล้จะถึงเส้นชัยอยู่แล้ว!
การวิ่งแข่งของคริสเตียนเป็นการวิ่งระยะยาวซึ่งทดสอบความอดทนของเรา. การอดทนในการวิ่งแข่งนี้จนถึงที่สุดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวาและได้รับรางวัลคือชีวิตนิรันดร์. เปาโลวิ่งแข่งในลักษณะเช่นนั้น. เมื่อใกล้จะจบชีวิต ท่านสามารถกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ทำการต่อสู้ที่ดี ข้าพเจ้าได้วิ่งจนสุดทาง ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้. ตั้งแต่นี้ไป มีมงกุฎแห่งความชอบธรรมเก็บไว้สำหรับข้าพเจ้า.” (รางวัล
ผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาของกรีกโบราณได้รับมาลัยสวมศีรษะซึ่งตามปกติทำด้วยใบไม้และประดับด้วยดอกไม้. ในกีฬาพือเธียน ผู้ชนะได้รับมาลัยที่ทำจากดอกลอเรล. ในกีฬาโอลิมเปีย พวกเขาได้รับมาลัยทำด้วยใบมะกอกเทศป่า ขณะที่ในกีฬาอิสท์เมียนพวกเขาได้รับมาลัยที่ทำจากใบสน. ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งให้ข้อสังเกตไว้ว่า “เพื่อปลุกเร้าความกระตือรือร้นของนักแข่ง ระหว่างการแข่งขันมีการวางมาลัย อันเป็นรางวัลแห่งชัยชนะ และกิ่งปาล์มไว้ให้พวกเขาเห็นอย่างจะแจ้ง บนแท่นสามขาหรือโต๊ะซึ่งตั้งไว้ในสนามกีฬา.” สำหรับผู้ชนะ การสวมมาลัยที่ศีรษะเป็นเครื่องหมายของเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง. ขณะที่กลับบ้าน เขาขี่รถม้าเข้าสู่เมืองอย่างผู้มีชัยชนะ.
โดยคำนึงถึงเรื่องนี้ เปาโลถามผู้อ่านชาวโกรินโธว่า “ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าคนเหล่านั้นที่วิ่งแข่งกันก็วิ่งด้วยกันทุกคน, แต่คนที่ได้รับรางวัลมีแต่คนเดียว? เหตุฉะนั้น จงวิ่งเอารางวัลให้ได้. . . . ฝ่ายเขากระทำอย่างนั้นเพื่อจะได้มงกุฎใบไม้ที่จะร่วงโรยเสียได้ แต่เราจะได้มงกุฎที่ไม่รู้ร่วงโรยเลย.” (1 โกรินโธ 9:24, 25; 1 เปโตร 1:3, 4) ช่างต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเสียจริง ๆ! ไม่เหมือนกับมาลัยที่ร่วงโรยของกีฬาสมัยโบราณ รางวัลที่รอคนเหล่านั้นซึ่งอยู่ในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตจนสุดทางนั้นจะไม่เสื่อมสูญไปเลย.
เกี่ยวกับมาลัยแห่งสง่าราศีนี้ที่ล้ำเลิศกว่า อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “เมื่อผู้เลี้ยงใหญ่นั้นจะเสด็จมาปรากฏ, ท่านทั้งหลายจะรับสง่าราศีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย.” (1 เปโตร 5:4) มีรางวัลใด ๆ ไหมที่โลกนี้เสนอให้จะเอามาเทียบได้กับอมตภาพ รางวัลเกี่ยวกับชีวิตที่ไม่รู้จักเปื่อยเน่าในสง่าราศีทางภาคสวรรค์ร่วมกับพระคริสต์?
ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ของนักวิ่งคริสเตียนไม่ได้รับการเจิมจากพระเจ้าให้เป็นบุตรฝ่ายวิญญาณของพระองค์และไม่มีความหวังทางภาคสวรรค์. พวกเขามิได้วิ่งเพื่อรับรางวัลอมตภาพ. อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงตั้งรางวัลอันหาที่เปรียบมิได้ไว้ตรงหน้าพวกเขาเช่นกัน. นั่นคือชีวิตนิรันดร์ในสภาพสมบูรณ์บนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานภายใต้ราชอาณาจักรทางภาคสวรรค์. ไม่ว่านักวิ่งคริสเตียนบากบั่นเพื่อจะได้รางวัลไหนก็ตาม เขาควรวิ่งด้วยความตั้งใจแน่วแน่และด้วยพละกำลังมากยิ่งกว่านักวิ่งใด ๆ ในการแข่งขันกีฬา. เพราะเหตุใด? เพราะรางวัลนั้นจะไม่ร่วงโรยเลย: “นี่แหละเป็นคำสัญญาซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้แก่เรา, คือโปรดให้มีชีวิตนิรันดร์.”—1 โยฮัน 2:25.
โดยที่มีรางวัลอันหาที่เปรียบมิได้เช่นนั้นอยู่ตรงหน้านักวิ่งคริสเตียน เขาควรมีทัศนะเช่นไรต่อการล่อใจต่าง ๆ ของโลกนี้? ควรมีทัศนะเหมือนเปาโลซึ่งกล่าวว่า “ข้าพเจ้าก็ถือเช่นกันว่าสารพัดสิ่งไร้ประโยชน์เนื่องด้วยคุณค่าอันเลิศล้ำแห่งความรู้ของพระคริสต์เยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า. เนื่องด้วยพระองค์ข้าพเจ้าได้ยอมสละสารพัดสิ่งและข้าพเจ้าถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนหยากเยื่อ.” สอดคล้องกับเรื่องนี้ เปาโลวิ่งด้วยความบากบั่นสักเพียงไร! “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้ายังไม่ถือว่าข้าพเจ้าเองได้ฉวยสิ่งนั้นไว้แล้ว; แต่มีสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้อง: คือโดยลืมสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังฟิลิปปอย 3:8, 13, 14, ล.ม.) เปาโลวิ่งโดยจ้องมองรางวัลอย่างแน่วแน่. เราก็ควรทำอย่างนั้น.
และโน้มตัวไปหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อจะได้รางวัล.” (ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรา
ในกีฬาสมัยโบราณ ผู้ชนะเลิศได้รับการยกย่องชมเชยอย่างกว้างขวาง. เหล่ากวีเขียนถึงพวกเขา และช่างแกะสลักทำรูปปั้นของเขา. นักประวัติศาสตร์เวรา โอลีโววากล่าวว่า พวกเขา “อิ่มเอิบด้วยสง่าราศีและได้รับความนิยมชมชอบมากมาย.” พวกเขายังเป็นตัวอย่างสำหรับผู้ชนะเลิศรุ่นหลัง ๆ ด้วย.
ใครเป็น “ผู้ชนะเลิศ” ที่วางตัวอย่างดีที่สุดสำหรับคริสเตียน? เปาโลตอบว่า “ให้เราวิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ต่อหน้าเรา ขณะที่เรามองเขม้นไปที่พระเยซู ผู้นำองค์เอกและผู้ปรับปรุงความเชื่อของเราให้สมบูรณ์ขึ้น. เพราะเห็นแก่ความยินดีซึ่งมีอยู่ตรงหน้า พระองค์ยอมทนหลักทรมาน ไม่คำนึงถึงความละอาย แล้วพระองค์ได้เสด็จนั่งเบื้องขวาราชบัลลังก์ของพระเจ้า.” (เฮ็บราย 12:1, 2, ล.ม.) ถูกแล้ว หากเราจะมีชัยชนะในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตถาวร เราต้องมองเขม้นที่พระเยซูคริสต์ ผู้เป็นแบบอย่างของเรา. เราทำเช่นนี้ได้โดยการอ่านเรื่องราวในกิตติคุณเป็นประจำและคิดรำพึงถึงวิธีต่าง ๆ ที่เราจะเลียนแบบพระองค์ได้. การศึกษาดังกล่าวจะช่วยเราหยั่งรู้เข้าใจว่า พระเยซูคริสต์ทรงเชื่อฟังพระเจ้าและได้พิสูจน์คุณภาพแห่งความเชื่อของพระองค์โดยความอดทน. พระองค์ได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวาพระเจ้า พร้อมกับสิทธิพิเศษอันเยี่ยมยอดหลายประการ เป็นรางวัลสำหรับความอดทนของพระองค์.—ฟิลิปปอย 2:9-11.
แน่นอน คุณลักษณะเด่นที่สุดของพระเยซูคือความรักของพระองค์. “ความรักใหญ่กว่านี้ไม่มี, คือว่าซึ่งผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตัวเพื่อมิตรสหายของตน.” (โยฮัน 15:13) พระองค์ทรงให้ความหมายที่ลึกซึ้งกว่าสำหรับคำว่า “รัก” โดยสั่งให้เรารักแม้กระทั่งศัตรู. (มัดธาย 5:43-48) เพราะพระองค์ทรงรักพระบิดาทางภาคสวรรค์ พระเยซูจึงประสบความยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดา. (บทเพลงสรรเสริญ 40:9, 10; สุภาษิต 27:11) การที่เรามองพระเยซูในฐานะแบบอย่างของเราและเป็นผู้ที่กำหนดฝีเท้าให้เราในการวิ่งแข่งเพื่อชีวิตอย่างแข็งขันจะกระตุ้นเราให้รักพระเจ้าและเพื่อนบ้านของเราด้วย และประสบความยินดีที่แท้จริงในการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเรา. (มัดธาย 22:37-39; โยฮัน 13:34; 1 เปโตร 2:21) โปรดจำไว้ว่า พระเยซูมิได้ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้. พระองค์ทรงรับรองกับเราว่า “เรามีจิตใจอ่อนโยนและหัวใจถ่อม และเจ้าจะได้ความสดชื่นสำหรับจิตวิญญาณของเจ้า. เพราะแอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา.”—มัดธาย 11:28-30, ล.ม.
เช่นเดียวกับพระเยซู เราต้องคอยจ้องอยู่ที่รางวัลซึ่งสงวนไว้สำหรับทุกคนที่อดทนจนถึงที่สุด. (มัดธาย 24:13) หากเราแข่งขันโดยปฏิบัติตามกฎ, ถ้าเราปลดของหนักทุกอย่าง, และหากเราวิ่งด้วยความอดทนแล้ว เรามั่นใจได้ในชัยชนะ. เป้าหมายที่มองเห็นอยู่กวักมือเรียกเราให้รุดหน้าไป! เป้าหมายนั้นฟื้นกำลังของเราขึ้นใหม่เนื่องจากความยินดีที่เป้านั้นทำให้ซึมซาบอยู่ในตัวเรา ความยินดีที่ทำให้เส้นทางข้างหน้าเราเดินง่ายขึ้น.
[ภาพหน้า 29]
การวิ่งแข่งของคริสเตียนเป็นการวิ่งระยะยาว—ต้องมีความอดทน
[ภาพหน้า 30]
ต่างจากนักกีฬาที่ได้รับมาลัยสวมศีรษะ คริสเตียนสามารถคอยท่ารางวัลที่ไม่มีวันเสื่อมสูญ
[ภาพหน้า 31]
มีรางวัลสำหรับทุกคนที่อดทนจนถึงที่สุด
[ที่มาของภาพหน้า 28]
Copyright British Museum