“คำของพระยะโฮวาเจริญงอกงามและแพร่หลายต่อไป”
“คำของพระยะโฮวาเจริญงอกงามและแพร่หลายต่อไป”
“พระองค์ทรงประทานพระดำรัสของพระองค์แก่แผ่นดินโลก; พระวจนะของพระองค์แผ่ไปโดยพลัน.”—บทเพลงสรรเสริญ 147:15.
1, 2. งานมอบหมายอะไรที่พระเยซูประทานแก่เหล่าสาวก และงานมอบหมายนี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?
คำพยากรณ์ที่น่าทึ่งที่สุดเรื่องหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลพบที่กิจการ 1:8. ไม่นานก่อนจะเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูตรัสบอกเหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ว่า “ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเรา . . . จนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” นี่คงต้องเป็นงานที่ใหญ่โตสักเพียงไร!
2 การประกาศพระคำของพระเจ้าไปทั่วโลกคงต้องดูเหมือนเป็นงานมอบหมายที่ท้าทายสำหรับเหล่าสาวกจำนวนแค่หยิบมือเดียวที่รับงานนี้. ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้อง. พวกเขาจะต้องช่วยผู้คนให้เข้าใจข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (มัดธาย 24:14) การเป็นพยานถึงพระเยซูยังเรียกร้องให้แบ่งปันคำสอนอันเปี่ยมด้วยพลังของพระองค์แก่ผู้อื่นและอธิบายบทบาทของพระองค์ในพระประสงค์ของพระยะโฮวาด้วย. นอกจากนั้น งานนี้ยังรวมไปถึงการช่วยผู้คนให้เข้ามาเป็นสาวกและรับบัพติสมา. และต้องทำอย่างนี้ไปทั่วโลก!—มัดธาย 28:19, 20.
3. พระเยซูทรงรับรองอะไรกับเหล่าสาวก และพวกเขาตอบรับอย่างไรต่องานที่ได้มอบแก่พวกเขา?
3 อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงรับรองกับเหล่าสาวกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์จะสถิตกับพวกเขาในการทำงานที่พระองค์ได้ประทานแก่พวกเขา. ด้วยเหตุนั้น แม้งานมอบหมายใหญ่โตอีกทั้งผู้ต่อต้านก็พยายามอย่างไม่หยุดหย่อนและรุนแรงเพื่อทำให้พวกเขาเงียบเสียง เหล่าสาวกรุ่นแรกของพระเยซูประสบผลสำเร็จในการทำสิ่งที่พระองค์ทรงชี้นำ. นั่นเป็นข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้.
4. ความรักของพระเจ้าเห็นได้ชัดเจนอย่างไรจากงานมอบหมายให้ประกาศและสอนผู้อื่น?
4 การรณรงค์ประกาศและสอนไปทั่วโลกเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรักของพระเจ้าต่อคนเหล่านั้นที่ไม่รู้จักพระองค์. งานนี้ทำให้พวกเขามีโอกาสเข้ามาใกล้ชิดกับพระยะโฮวาและได้รับการอภัยบาป. (กิจการ 26:18) งานมอบหมายให้ประกาศและสอนยังแสดงอย่างชัดเจนถึงความรักของพระเจ้าต่อผู้ที่บอกข่าวสารด้วย เนื่องจากงานนี้ทำให้พวกเขามีโอกาสแสดงความเลื่อมใสแด่พระยะโฮวาและแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์. (มัดธาย 22:37-39) อัครสาวกเปาโลถือว่างานรับใช้ของคริสเตียนมีค่าสูงถึงขนาดที่ท่านกล่าวถึงงานรับใช้ว่าเป็น “ทรัพย์.”—2 โกรินโธ 4:7.
5. (ก) เราพบประวัติที่น่าเชื่อถือที่สุดเกี่ยวกับคริสเตียนยุคแรกที่ไหน และที่นั่นมีการพรรณนาถึงการเติบโตอะไร? (ข) เหตุใดพระธรรมกิจการจึงมีความหมายอย่างยิ่งต่อผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบัน?
5 ประวัติที่น่าเชื่อถือที่สุดเกี่ยวกับการงานประกาศของคริสเตียนยุคแรกพบในพระธรรมกิจการซึ่งสาวกลูกาเขียนโดยการดลใจ. พระธรรมนี้เป็นบันทึกเกี่ยวกับการเติบโตที่รวดเร็วและน่าทึ่ง. การเติบโตดังกล่าวด้านความรู้ในพระคำของพระเจ้าทำให้เรานึกถึงบทเพลงสรรเสริญ 147:15 ซึ่งกล่าวว่า “[พระยะโฮวา] ทรงประทานพระดำรัสของพระองค์แก่แผ่นดินโลก; พระวจนะของพระองค์แผ่ไปโดยพลัน.” บันทึกเกี่ยวกับคริสเตียนยุคแรกซึ่งได้รับกำลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและมีความหมายอย่างมากสำหรับเราในปัจจุบัน. พยานพระยะโฮวาทำงานแบบ เดียวกันในการประกาศและช่วยผู้คนให้เป็นสาวก เพียงแต่ในขอบเขตที่ใหญ่กว่ามาก. นอกจากนั้น เราพบปัญหาคล้าย ๆ กับคริสเตียนในศตวรรษแรก. เมื่อเราพิจารณาวิธีที่พระยะโฮวาทรงอวยพรและประทานกำลังแก่คริสเตียนยุคแรก ความเชื่อของเราในเรื่องการหนุนหลังจากพระองค์ก็เข้มแข็งยิ่งขึ้น.
การเติบโตด้านจำนวนของสาวก
6. วลีอะไรเกี่ยวกับการเติบโตซึ่งปรากฏสามครั้งในพระธรรมกิจการ และวลีดังกล่าวหมายถึงอะไร?
6 วิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบความสำเร็จเป็นจริงของกิจการ 1:8 ได้แก่การพิจารณาวลี “คำของพระยะโฮวาเจริญงอกงาม” ซึ่งวลีนี้กับวลีที่ต่างกันเล็กน้อยปรากฏเพียงสามครั้งในคัมภีร์ไบเบิล และทั้งหมดพบในพระธรรมกิจการ. (กิจการ 6:7; 12:24, ล.ม.; 19:20) “คำของพระยะโฮวา” หรือ “พระคำของพระเจ้า” ในข้อเหล่านี้หมายถึงข่าวดี—ข่าวสารความจริงของพระเจ้าที่กระตุ้นใจ ข่าวสารอันมีชีวิตที่ทรงพลังซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนที่ตอบรับ.—เฮ็บราย 4:12.
7. การเติบโตของพระคำของพระเจ้าตามในกิจการ 6:7 เกี่ยวข้องกับอะไร และเกิดอะไรขึ้นในวันเพนเตคอสเตปีสากลศักราช 33?
7 แห่งแรกซึ่งกล่าวถึงการเติบโตของพระคำของพระเจ้าอยู่ที่กิจการ 6:7. ที่นั่น เราอ่านว่า “การประกาศพระคำของพระเจ้าจึงเจริญขึ้น, และศิษย์ก็ได้ทวีขึ้นเป็นอันมากในกรุงยะรูซาเลม, และพวกปุโรหิตเป็นอันมากก็ได้เชื่อฟังในศาสนา.” ในที่นี้ การเติบโตเกี่ยวข้องกับจำนวนของสาวกที่เพิ่มขึ้น. ก่อนหน้านั้น ในวันเพนเตคอสเตปีสากลศักราช 33 พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าหลั่งลงบนเหล่าสาวกประมาณ 120 คนที่มาชุมนุมกันในห้องชั้นบน. ตอนนั้น อัครสาวกเปโตรให้คำบรรยายที่กระตุ้นใจ และคนที่ฟังประมาณ 3,000 คนได้เข้ามาเป็นผู้เชื่อถือในวันนั้นเอง. นั่นคงต้องทำให้เกิดความแตกตื่นสักเพียงไร เมื่อหลายพันคนพากันไปที่สระน้ำ (อาจจะหลายสระ) ในกรุงยะรูซาเลมและรอบ ๆ เพื่อรับบัพติสมาในนามแห่งพระ เยซู บุรุษผู้ถูกตรึงเยี่ยงอาชญากรเมื่อประมาณ 50 วันก่อนหน้านั้น!—กิจการ 2:41.
8. จำนวนของสาวกเพิ่มขึ้นอย่างไรในช่วงหลายปีหลังวันเพนเตคอสเตปี ส.ศ. 33?
8 แน่ล่ะ นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้น. ความพยายามอย่างไม่ละลดของพวกหัวหน้าศาสนาชาวยิวที่จะหยุดการประกาศล้วนไร้ผล. “พระยะโฮวาทรงทำให้คนทั้งหลายที่ได้รับการช่วยให้รอดมาสมทบกับ [พวกสาวก] ทุกวัน” ซึ่งสร้างความหงุดหงิดแก่พวกหัวหน้าศาสนาเหล่านี้. (กิจการ 2:47, ล.ม.) ไม่ช้า จำนวนคนที่มาสมทบ “นับแต่ผู้ชายได้ประมาณห้าพันคน.” หลังจากนั้น “มีชายหญิงเป็นอันมากที่เชื่อถือได้เข้าเป็นสาวกของพระเจ้า.” (กิจการ 4:4; 5:14) ในเวลาต่อมา เราอ่านว่า “เหตุฉะนั้น คริสตจักรตลอดทั่วมณฑลยูดาย, ฆาลิลาย และซะมาเรียจึงมีความสงบสุขและเจริญขึ้น, และได้ประพฤติด้วยใจยำเกรงพระเจ้า, และได้รับความหนุนใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์, คริสตสมาชิกก็ยิ่งทวีมากขึ้น.” (กิจการ 9:31) หลายปีต่อมา อาจจะราว ๆ ปีสากลศักราช 58 มีการกล่าวถึง “[หลาย] พันคนที่เชื่อถือ.” (กิจการ 21:20) ถึงตอนนั้น มีผู้เชื่อถือชาวต่างชาติหลายคนรวมอยู่ด้วย.
9. คุณจะพรรณนาถึงคริสเตียนในยุคแรกอย่างไร?
9 การเติบโตด้านจำนวนนี้ส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนเข้ามาเชื่อถือ. ศาสนานี้เป็นศาสนาใหม่—แต่มีพลัง. ต่างกันมากกับสมาชิกคริสตจักรที่ไม่ทำอะไร สาวกเหล่านี้อุทิศถวายตัวเต็มที่แด่พระยะโฮวาและทุ่มเทให้แก่พระคำของพระองค์ และบางครั้งได้เรียนรู้ความจริงจากผู้ที่ถูกกดขี่อย่างรุนแรง. (กิจการ 16:23, 26-33) ผู้ที่รับเชื่อหลักการคริสเตียนทำเช่นนั้นเนื่องด้วยการตัดสินใจที่ผ่านการพิจารณาหาเหตุผลและคำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบ. (โรม 12:1) พวกเขาได้รับการอบรมในแนวทางของพระเจ้า; ความจริงอยู่ในจิตใจและหัวใจของพวกเขา. (เฮ็บราย 8:10, 11) พวกเขาเต็มใจสละชีวิตเพื่อสิ่งที่พวกเขาเชื่อ.—กิจการ 7:51-60.
10. คริสเตียนยุคแรกรับเอาหน้าที่รับผิดชอบอะไร และเราพบว่ามีอะไรเหมือนกันในทุกวันนี้?
10 คนเหล่านั้นที่รับรองเอาคำสอนของคริสเตียนยอมรับหน้าที่รับผิดชอบของตนในการแบ่งปันความจริงแก่ผู้อื่น. การทำเช่นนี้ก่อผลโดยตรงทำให้มีการเติบโตมากยิ่งขึ้นในด้านจำนวน. ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งกล่าวว่า “การบอกเล่าความเชื่อไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่สงวนไว้เฉพาะสำหรับผู้เผยแพร่กิตติคุณที่มีใจแรงกล้ามาก ๆ หรือที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ. การเผยแพร่กิตติคุณเป็นสิทธิพิเศษและหน้าที่ของคริสต์ศาสนิกชนทุกคน. . . . การแผ่ขยายของประชาคมคริสเตียนทั้งหมดซึ่งพัฒนาขึ้นเองก่อแรงกระตุ้นที่มีพลังอย่างมากต่อขบวนการนี้ตั้งแต่ต้นทีเดียว.” เขาเขียนต่อไปอีกว่า “การเผยแพร่กิตติคุณเป็นพลังอันสำคัญยิ่งของคริสเตียนยุคแรก.” เป็นจริงเช่นนั้นด้วยกับคริสเตียนแท้ในปัจจุบัน.
การเติบโตเชิงภูมิศาสตร์
11. กิจการ 12:24 พรรณนาถึงการเติบโตแบบใด และการเติบโตนี้เกิดขึ้นอย่างไร?
11 แห่งที่สองซึ่งกล่าวถึงการเติบโตของพระคำของพระเจ้าพบที่กิจการ 12:24 ซึ่งอ่านว่า “คำของพระเจ้าก็ยังแผ่เจริญมากขึ้น.” ในที่นี้ วลีนี้มีนัยความหมายเกี่ยวข้องกับการเติบโตเชิงภูมิศาสตร์. แม้ประสบการต่อต้านจากรัฐ งานนี้ก็ยังเจริญรุ่งเรืองมาเรื่อย ๆ. มีการหลั่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ครั้งแรกในกรุงยะรูซาเลม และนับแต่นั้นมาพระคำก็แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว. การข่มเหงในกรุงยะรูซาเลมทำให้เหล่าสาวกกระจัดกระจายไปในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วมณฑลยูดายและซะมาเรีย. ผลเป็นเช่นไร? “สานุศิษย์ทั้งหลายซึ่งกระจัดกระจายไปก็ได้เที่ยวประกาศพระคำนั้น.” (กิจการ 8:1, 4) ฟีลิบได้รับการชี้นำเพื่อให้คำพยานแก่ชายผู้หนึ่ง ซึ่งหลังจากรับบัพติสมาแล้วก็ได้นำข่าวสารไปที่เอธิโอเปีย. (กิจการ 8:26-28, 38, 39) ความจริงแผ่รากไปอย่างรวดเร็วในเมืองลุดา, ที่ราบแห่งซาโรน, และเมืองยบเป. (กิจการ 9:35, 42) ต่อมา อัครสาวกเปาโลเดินทางหลายพันกิโลเมตรทางทะเลและทางบก ก่อตั้งประชาคมต่าง ๆ ไปทั่วในหลายประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน. อัครสาวกเปโตรไปที่บาบูโลน. (1 เปโตร 5:13) ในช่วง 30 ปีหลังจากการหลั่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ในวันเพนเตคอสเต เปาโลเขียนว่าข่าวดีได้ “ประกาศแล้วแก่มนุษย์ทุกคนที่อยู่ใต้ฟ้า” ซึ่งก็คงหมายถึงโลกที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเวลานั้น.—โกโลซาย 1:23.
12. ผู้ต่อต้านศาสนาคริสเตียนแท้ยอมรับอย่างไรเกี่ยวกับการเติบโตเชิงภูมิศาสตร์ของพระคำของพระเจ้า?
กิจการ 17:6 บอกว่าที่เมืองเธซะโลนิเกซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรีซ ผู้ต่อต้านโอดครวญว่า “คนเหล่านั้นที่เป็นพวกคว่ำแผ่นดินได้มาที่นี่ด้วย.” นอกจากนั้น ในตอนต้นศตวรรษที่สอง พลินีผู้อ่อนวัยกว่าเขียนจากบิตุเนียถึงทราจันจักรพรรดิโรมันเรื่องศาสนาคริสเตียน. เขาบ่นว่า “ศาสนานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ยังได้แพร่เชื้อออกไปในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและในเขตชนบทด้วย.”
12 แม้แต่ผู้ต่อต้านศาสนาคริสเตียนแท้ก็ยอมรับว่า พระคำของพระเจ้าได้แผ่รากไปทั่วจักรวรรดิโรมัน. ยกตัวอย่าง13. การเติบโตเชิงภูมิศาสตร์สะท้อนถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษยชาติในทางใด?
13 การเติบโตเชิงภูมิศาสตร์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความรักอันลึกซึ้งของพระยะโฮวาต่อมนุษยชาติซึ่งสามารถได้รับการไถ่ให้พ้นบาป. เมื่อเปโตรสังเกตเห็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏชัดเจนในโกระเนเลียวคนต่างชาติ ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นจริงแล้วว่าพระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.” (กิจการ 10:34, 35) ใช่แล้ว ข่าวดีเป็นข่าวสารสำหรับคนทุกชาติเสมอมา และการเติบโตเชิงภูมิศาสตร์ของพระคำของพระเจ้าให้โอกาสแก่ผู้คนในทุกแห่งหนให้ตอบรับความรักของพระเจ้า. ในศตวรรษที่ 21 นี้ พระคำของพระเจ้าได้แผ่ขยายไปทั่วทุกส่วนของแผ่นดินโลกตามตัวอักษร.
การเติบโตที่มีชัย
14. การเติบโตแบบใดซึ่งมีพรรณนาไว้ที่กิจการ 19:20 และพระคำของพระเจ้ามีชัยเหนืออะไร?
14 แห่งที่สามซึ่งกล่าวถึงการเติบโตของพระคำของพระเจ้าคือที่กิจการ 19:20 (ล.ม.) ซึ่งอ่านว่า “พระคำของพระยะโฮวาจึงเจริญงอกงามและมีชัยเรื่อยไปอย่างทรงพลัง.” คำภาษากรีกดั้งเดิมซึ่งแปลในที่นี้ว่า “มีชัย” สื่อแนวคิดเกี่ยวกับการ “ใช้ความเข้มแข็ง.” ข้อก่อนหน้านั้นกล่าวว่าคนเป็นอันมากในเมืองเอเฟโซเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ และคนทำเวทมนตร์หลายคนเผาตำราของตนต่อหน้าทุกคน. ดังนั้น พระคำของพระเจ้ามีชัยเหนือความเชื่อของศาสนาเท็จ. ข่าวดียังมีชัยเหนืออุปสรรคอื่น ๆ ด้วย เช่น การกดขี่ข่มเหง. ไม่มีสิ่งใดจะหยุดข่าวดีได้. อีกครั้งหนึ่ง เราพบว่ามีเหตุการณ์ที่เด่นชัดคล้าย ๆ กันนั้นเกิดขึ้นกับศาสนาคริสเตียนแท้ในสมัยของเรา.
15. (ก) นักประวัติศาสตร์ด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งเขียนไว้เช่นไรเกี่ยวกับคริสเตียนยุคแรก? (ข) เหล่าสาวกถือว่าความสำเร็จของพวกเขามาจากผู้ใด?
15 อัครสาวกและคริสเตียนคนอื่น ๆ ในยุคแรกประกาศพระคำของพระเจ้าด้วยใจแรงกล้า. นักประวัติศาสตร์ด้านคัมภีร์ไบเบิลผู้หนึ่งกล่าวถึงพวกเขาว่า “เมื่อคนเรามีเจตจำนงที่จะพูดถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าของตน ย่อมมีหลายวิธีที่เขาจะทำอย่างนั้น. ที่จริง แรงจูงใจของคนเหล่านี้นั่นแหละที่ทำให้เราประทับใจยิ่งเสียกว่าวิธีที่พวกเขาใช้.” กระนั้น คริสเตียนยุคแรกเหล่านี้ตระหนักว่าความสำเร็จแห่งงานรับใช้ของพวกเขาไม่ขึ้นอยู่กับความพยายามของตนอย่างเดียว. พวกเขามีงานมอบหมายจากพระเจ้าที่ต้องทำ และพวกเขาได้รับการหนุนหลังจากพระเจ้าเพื่อจะทำให้งานนั้นสำเร็จ. การเติบโตฝ่ายวิญญาณมาจากพระเจ้า. อัครสาวกเปาโลยอมรับข้อนี้ในจดหมายของท่านที่มีไปถึงประชาคมในเมืองโกรินโธ. ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้าได้ปลูกไว้, อะโปโลได้รดน้ำ แต่พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้เกิดผล. เพราะว่าเราทั้งหลาย1 โกรินโธ 3:6, 9.
เป็นผู้ร่วมทำการด้วยกันกับพระเจ้า.”—พระวิญญาณบริสุทธิ์ปฏิบัติการ
16. อะไรแสดงว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์เสริมกำลังเหล่าสาวกให้พูดด้วยความกล้า?
16 พึงระลึกว่าพระเยซูทรงรับรองกับเหล่าสาวกว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์จะมีบทบาทในการเติบโตของพระคำของพระเจ้าและพระวิญญาณบริสุทธิ์จะประทานอำนาจแก่เหล่าสาวกให้ทำการประกาศ. (กิจการ 1:8) เป็นเช่นนี้อย่างไร? ไม่นานหลังจากที่พระวิญญาณหลั่งลงบนเหล่าสาวกในวันเพนเตคอสเต เปโตรและโยฮันถูกเรียกตัวมาให้การต่อศาลซันเฮดรินของชาวยิว ศาลสูงสุดของประเทศ ซึ่งพวกผู้พิพากษาของศาลนี้เองที่ทำให้พระเยซูคริสต์ถูกประหาร. พวกอัครสาวกจะกลัวจนตัวสั่นไหมเมื่ออยู่ต่อหน้าสภาที่ยิ่งใหญ่และเป็นปฏิปักษ์? ไม่เลย! พระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานอำนาจแก่เปโตรและโยฮันให้พูดด้วยความกล้าจนพวกปฏิปักษ์รู้สึกพิศวง และพวกเขา “จึงสำนึกว่าคนทั้งสองนั้นได้อยู่ชินกับพระเยซูมาแล้ว.” (กิจการ 4:8, 13) พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังได้ช่วยให้ซะเตฟาโนให้คำพยานอย่างกล้าหาญต่อศาลซันเฮดรินด้วย. (กิจการ 6:12; 7:55, 56) ก่อนหน้านั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้กระตุ้นให้เหล่าสาวกประกาศด้วยความกล้า. ลูการายงานว่า “เมื่อเขาอธิษฐานแล้ว, ที่ซึ่งเขาประชุมอยู่นั้นได้หวั่นไหว, และชนทั้งหลายประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้กล่าวคำของพระเจ้าด้วยใจกล้าหาญ.”—กิจการ 4:31.
17. พระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเหล่าสาวกในงานรับใช้ของพวกเขาในทางใดอีก?
17 โดยอาศัยพระวิญญาณบริสุทธิ์อันทรงฤทธิ์ พระยะโฮวาพร้อมกับพระเยซูผู้ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ทรงชี้นำกิจการงานประกาศ. (โยฮัน 14:28; 15:26) เมื่อพระวิญญาณหลั่งลงบนโกระเนเลียว, ญาติ ๆ, และเพื่อนสนิทของเขา อัครสาวกเปโตรตระหนักว่าคนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัตสามารถมีคุณวุฒิจะรับบัพติสมาในนามของพระเยซูคริสต์. (กิจการ 10:24, 44-48) ต่อมา พระวิญญาณมีบทบาทสำคัญในการแต่งตั้งบาระนาบาและเซาโล (อัครสาวกเปาโล) ให้ทำงานมิชชันนารีและชี้นำว่าที่ไหนที่พวกเขาควรไปและที่ไหนไม่ควรไป. (กิจการ 13:2, 4; 16:6, 7) พระวิญญาณให้การชี้นำในขั้นตอนการตัดสินใจของเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงยะรูซาเลม. (กิจการ 15:23, 28, 29) พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังชี้นำในการแต่งตั้งผู้ดูแลในประชาคมคริสเตียนด้วย.—กิจการ 20:28.
18. คริสเตียนยุคแรกแสดงความรักอย่างไร?
18 นอกจากนั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏอย่างชัดเจนในตัวคริสเตียนทั้งหลาย โดยก่อให้เกิดคุณลักษณะอย่างที่พระเจ้าทรงสำแดง เช่น ความรัก. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) ความรักกระตุ้นเหล่าสาวกให้แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ แก่กันและกัน. ยกตัวอย่าง หลังวันเพนเตคอสเตปี ส.ศ. 33 ได้มีการตั้งกองทุนทั่วไปขึ้นเพื่อจัดสิ่งจำเป็นทางกายให้แก่เหล่าสาวกในกรุงยะรูซาเลม. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ด้วยว่าในจำพวกสานุศิษย์ไม่มีผู้ใดขัดสนเพราะว่าผู้หนึ่งผู้ใดมีไร่นาบ้านเรือนก็ได้ขายเสีย, และได้นำเงินค่าสิ่งของที่ขายไปนั้นมาวางไว้ที่เท้าของอัครสาวก ๆ จึงแจกจ่ายให้ทุกคนตามที่ต้องการ.” (กิจการ 4:34, 35) ความรักนี้แสดงไม่เฉพาะแต่กับเพื่อนร่วมความเชื่อ แต่กับผู้อื่นด้วย ทั้งโดยการแบ่งปันข่าวดีและการกระทำที่กรุณา. (กิจการ 28:8, 9) พระเยซูตรัสว่าความรักแบบเสียสละตัวเองจะเป็นเครื่องหมาย ระบุตัวเหล่าสาวกของพระองค์. (โยฮัน 13:34, 35) แน่นอน คุณลักษณะสำคัญแห่งความรักชักนำผู้คนให้เข้ามาหาพระเจ้าและมีส่วนในการเติบโตในศตวรรษแรกเช่นเดียวกับในทุกวันนี้.—มัดธาย 5:14, 16.
19. (ก) พระคำของพระเจ้าเติบโตในสามวิธีอะไรบ้างในศตวรรษแรก? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
19 รวมทั้งหมดแล้ว วลี “พระวิญญาณบริสุทธิ์” ปรากฏ 41 ครั้งในพระธรรมกิจการ. เห็นได้ชัด การเติบโตของคริสเตียนแท้ในศตวรรษแรกเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอำนาจและการชี้นำของพระวิญญาณบริสุทธิ์. จำนวนสาวกเพิ่มขึ้น, พระคำของพระเจ้าแผ่ขยายไปอย่างกว้างไกล, และพระคำนี้มีชัยเหนือศาสนาและปรัชญาในยุคนั้น. การเติบโตในศตวรรษแรกนี้คล้ายกับการเติบโตในงานของพยานพระยะโฮวาทุกวันนี้. ในบทความถัดไป เราจะตรวจสอบการเติบโตของพระคำของพระเจ้าที่น่าประทับใจไม่แพ้กันในสมัยปัจจุบัน.
คุณจำได้ไหม?
• เหล่าสาวกยุคแรกเติบโตอย่างไรในด้านจำนวน?
• พระคำของพระเจ้าแผ่ขยายไปอย่างไรในเชิงภูมิศาสตร์?
• พระคำของพระเจ้ามีชัยอย่างไรในศตวรรษแรก?
• พระวิญญาณบริสุทธิ์มีบทบาทเช่นไรในการเติบโตของพระคำของพระเจ้า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
ฟีลิบประกาศแก่ชายชาวเอธิโอเปีย ทำให้ข่าวดีแผ่ขยายไปในเชิงภูมิศาสตร์
[ภาพหน้า 13]
พระวิญญาณบริสุทธิ์ ชี้นำเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงยะรูซาเลม
[ภาพหน้า 10]
มุมขวาบน: แบบจำลองกรุงยะรูซาเลมในสมัยพระวิหารหลังที่สอง—ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงแรมโฮลีแลนด์ในกรุงเยรูซาเลม