สันติสุขของพระคริสต์จะควบคุมหัวใจของเราได้อย่างไร?
สันติสุขของพระคริสต์จะควบคุมหัวใจของเราได้อย่างไร?
“จงให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจของท่าน เพราะที่จริงท่านทั้งหลายถูกเรียกให้มีสันติสุขเป็นกายอันเดียว.”—โกโลซาย 3:15, ล.ม.
1, 2. “สันติสุขของพระคริสต์” ควบคุมหัวใจของคริสเตียนอย่างไร?
การควบคุมเป็นคำน่ารังเกียจสำหรับหลายคน เนื่องจากคำนี้ทำให้นึกถึงการบังคับและบงการ. คำกระตุ้นเตือนของเปาโลต่อเพื่อนคริสเตียนในโกโลซายที่ว่า “จงให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจของท่าน” จึงอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่ไม่มีเหตุผล. (โกโลซาย 3:15, ล.ม.) เราเป็นบุคคลผู้มีเจตจำนงเสรีมิใช่หรือ? ทำไมเราจึงจะปล่อยให้สิ่งใดหรือใครก็แล้วแต่มาควบคุมหัวใจเรา?
2 เปาโลไม่ได้บอกพี่น้องชาวโกโลซายให้ยกเจตจำนงเสรีของตนให้แก่ผู้อื่น. คำภาษากรีกคำนี้ซึ่งโกโลซาย 3:15 (ล.ม.) แปลไว้ว่า “ควบคุม” มีส่วนสัมพันธ์กับคำซึ่งใช้กับผู้ตัดสินที่มอบรางวัลในการแข่งขันกรีฑาในสมัยนั้น. ผู้เข้าแข่งขันมีอิสระในระดับหนึ่งตามที่กติกากำหนด แต่ในขั้นสุดท้าย ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาดว่าใครปฏิบัติตามกฎและด้วยเหตุนั้นจึงชนะการแข่งขัน. คล้ายคลึงกัน เรามีอิสระที่จะตัดสินใจหลายเรื่องในชีวิต แต่ขณะที่ทำอย่างนั้น เราควรให้สันติสุขของพระคริสต์เป็น “ผู้ตัดสิน” เสมอ หรือดังที่นักแปล เอดการ์ เจ. กูดสปีด ได้แปลไว้ เป็น “หลักการที่ควบคุม” หัวใจเรา.
3. “สันติสุขของพระคริสต์” คืออะไร?
3 “สันติสุขของพระคริสต์” คืออะไร? สันติสุขของพระคริสต์คือความเยือกเย็น ความสงบภายใน ซึ่งเราได้รับเมื่อเราเข้ามาเป็นสาวกของพระเยซูและเรียนรู้ว่าเราเป็นที่รักและได้รับการยอมรับจากพระยะโฮวาพระเจ้าและพระบุตร. เมื่อจวนถึงเวลาที่พระเยซูจะจากเหล่าสาวกไป พระองค์ทรงบอกพวกเขาว่า “เรามอบสันติสุขของเราไว้แก่เจ้า. . . . อย่าให้หัวใจของเจ้าเป็นทุกข์ และอย่าให้หัวใจขยาดด้วยความกลัวเลย.” (โยฮัน 14:27, ล.ม.) เป็นเวลาเกือบ 2000 ปี สมาชิกผู้ถูกเจิมที่ซื่อสัตย์แห่งพระกายของพระคริสต์ประสบสันติสุขเช่นนั้น และในปัจจุบัน “แกะอื่น” สหายของพวกเขา ประสบสันติสุขนั้นด้วย. (โยฮัน 10:16) สันติสุขนั้นควรเป็นพลังโน้มน้าวที่ควบคุมหัวใจเรา. เมื่อเราถูกทดลองอย่างรุนแรง สันติสุขนี้ช่วยเราได้เพื่อจะไม่อ่อนเปลี้ยหมดเรี่ยวแรงเพราะความกลัวหรือเพราะเป็นทุกข์เดือดร้อนใจเกินไป. ให้เรามาดูว่าจะเป็นจริงเช่นนี้อย่างไรเมื่อเราพบกับความอยุติธรรม, เมื่อเราถูกรุมเร้าโดยความกระวนกระวายใจ, และเมื่อเรารู้สึกไร้ค่า.
เมื่อเราพบกับความอยุติธรรม
4. (ก) พระเยซูทรงคุ้นเคยดีกับความอยุติธรรมอย่างไร? (ข) คริสเตียนแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม?
4 กษัตริย์ซะโลโมให้ข้อสังเกตไว้ว่า “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.” (ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.) พระเยซูทรงทราบความจริงของคำกล่าวนี้. ขณะที่อยู่ในสวรรค์ พระองค์ทรงเห็นความอยุติธรรมที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกันอย่างร้ายกาจ. เมื่ออยู่บนแผ่นดินโลก พระองค์ทรงพบกับความอยุติธรรมครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อพระองค์ซึ่งไร้ความผิดถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาทและถูกประหารเยี่ยงอาชญากร. (มัดธาย 26:63-66; มาระโก 15:27) ปัจจุบัน ความอยุติธรรมก็ยังคงมีดาษดื่น และคริสเตียนแท้พบกับความอยุติธรรมมากมายเหลือเกิน โดยที่ตกเป็น “เป้าแห่งความเกลียดชังจากทุกชาติ.” (มัดธาย 24:9, ล.ม.) แต่ถึงแม้ว่าผ่านประสบการณ์อันน่าขนพองสยองเกล้าในค่ายมรณะของนาซีและค่ายแรงงานของโซเวียต, แม้ว่าถูกฝูงชนใช้ความรุนแรง, ถูกกล่าวหาเท็จ, และถูกโจมตีด้วยคำโกหก สันติสุขของพระคริสต์ได้ทำให้พวกเขายืนหยัดมั่นคง. พวกเขาเลียนแบบพระเยซู ซึ่งเราอ่านเกี่ยวกับพระองค์ว่า “ครั้นเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์, พระองค์ไม่ได้ กล่าวคำหยาบคายตอบแทนเลย เมื่อพระองค์ได้ทรงทนเอาการร้ายเช่นนั้น, พระองค์ไม่ได้ขู่ตวาด แต่ทรงฝากความของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาโดยชอบธรรม.”—1 เปโตร 2:23.
5. เมื่อเราได้ยินบางสิ่งที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมในประชาคม ก่อนอื่นเราควรพิจารณาอะไร?
5 ในขอบเขตที่เล็กกว่ามาก เราอาจเชื่อว่าบางคนในประชาคมคริสเตียนถูกปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม. ในกรณีเช่นนี้ เราอาจรู้สึกเหมือนกับเปาโลซึ่งกล่าวว่า “มีใครบ้างที่ถูกนำให้สะดุดและข้าพเจ้าไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย?” (2 โกรินโธ 11:29) เราอาจทำอะไรได้? เราควรถามตัวเองว่า ‘นั่นเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมจริง ๆ ไหม?’ บ่อยครั้ง เราไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด. เราอาจแสดงปฏิกิริยารุนแรงหลังจากที่บางคนซึ่งอ้างว่ารู้เรื่องลับเฉพาะเล่าอะไรให้ฟัง. นับว่ามีเหตุผลที่ดีที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “คนใดที่ขาดประสบการณ์เชื่อคำพูดทุกคำ.” (สุภาษิต 14:15, ล.ม.) ดังนั้น เราจำเป็นต้องรอบคอบ.
6. เราจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อสิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมในประชาคมคริสเตียน?
6 อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าเราคิดว่าตัวเราเองถูกปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมล่ะ. บุคคลที่มีสันติสุขของพระคริสต์ในหัวใจจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? เราอาจมองเห็นความจำเป็นต้องพูดคุยกับคนที่เราคิดว่าเขาได้ทำผิดต่อเรา. หลังจากนั้น แทนที่จะพูดเรื่องนั้นกับใครก็ได้ที่พร้อมจะฟัง ทำไมไม่นำเรื่องนั้นทูลพระยะโฮวาในคำอธิษฐานและไว้วางใจให้พระองค์ดำเนินการตามความยุติธรรมล่ะ? (บทเพลงสรรเสริญ 9:10; สุภาษิต 3:5) อาจเป็นได้ว่า เมื่อได้ทำอย่างนั้นแล้ว เราจะพอใจที่ได้หาทางแก้ไขเรื่องนั้นในหัวใจเราและ “เงียบเสีย.” (บทเพลงสรรเสริญ 4:4, ล.ม.) ในกรณีส่วนใหญ่ คำเตือนสติของเปาโลใช้ได้ที่ว่า “จงทนต่อกันและกันอยู่เรื่อยไปและจงอภัยให้กันและกันอย่างใจกว้างถ้าแม้นผู้ใดมีสาเหตุจะบ่นว่าคนอื่น. พระยะโฮวาทรงให้อภัยท่านอย่างใจกว้างฉันใด ท่านทั้งหลายจงกระทำฉันนั้น.”—โกโลซาย 3:13, ล.ม.
7. เราควรจำเอาไว้เสมอเช่นไรในการติดต่อสัมพันธ์กับพี่น้องของเรา?
7 อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราทำอะไรเราต้องจำไว้ว่า แม้เราไม่อาจควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เราสามารถควบคุมปฏิกิริยาของเรา. หากเราตอบสนองอย่างไม่สมดุลต่อสิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม นั่นอาจก่อผลเสียหายต่อสันติสุขของเราได้ยิ่งเสียกว่าความไม่ยุติธรรมเอง. (สุภาษิต 18:14) เราอาจถึงกับสะดุดและเลิกคบหาสมาคมกับประชาคมจนกว่าเราจะรู้สึกว่าได้มีการจัดการตามความยุติธรรมแล้ว. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนไว้ว่า สำหรับผู้ซึ่งรักกฎหมายของพระยะโฮวา “เหตุที่จะสะดุดกะดากแก่เขาไม่มีเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:165) ความเป็นจริงคือ ทุกคนพบกับความอยุติธรรมในบางครั้ง. อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีขัดขวางการรับใช้พระยะโฮวา. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น จงให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจคุณ.
เมื่อเราถูกรุมเร้าโดยความกระวนกระวาย
8. มีอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดความกระวนกระวาย และความกระวนกระวายอาจก่อผลเช่นไร?
8 ความกระวนกระวายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใน “สมัยสุดท้าย” นี้อย่างแท้จริง. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) จริงอยู่ พระเยซูตรัสว่า “อย่ากระวนกระวายถึงการเลี้ยงชีพของตนว่าจะเอาอะไรกิน. หรืออย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตนว่าจะเอาอะไรนุ่งห่ม.” (ลูกา 12:22) แต่ไม่ใช่ความกระวนกระวาย ทุกอย่างเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับสิ่งฝ่ายวัตถุ. โลต “มีทุกข์เป็นอันมาก” เพราะความชั่วช้าของเมืองซะโดม. (2 เปโตร 2:7) เปาโลถูกรุมเร้าโดย “ความกระวนกระวายถึงคริสตจักรทั้งปวง.” (2 โกรินโธ 11:28, ฉบับแปลใหม่) พระเยซูทรงเป็นทุกข์มากในคืนก่อนจะสิ้นพระชนม์จน “เสโทของพระองค์เป็นเหมือนโลหิตไหลหยดลงถึงดินเป็นเม็ดใหญ่.” (ลูกา 22:44) เห็นได้ชัด ไม่ใช่ความกระวนกระวายทุกอย่างแสดงถึงความเชื่อที่อ่อนแอ. อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเป็นเพราะเหตุใด ความกระวนกระวายที่รุนแรงและยืดเยื้ออาจทำลายสันติสุขของเราได้. ความกระวนกระวายทำให้บางคนรู้สึกหนักอึ้ง ทำให้เขารู้สึกไม่สามารถรับหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับใช้พระยะโฮวาได้อีกต่อไป. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความกระวนกระวายในหัวใจคนจะทำให้หัวใจท้อแท้.” (สุภาษิต 12:25, ล.ม.) ถ้าอย่างนั้น เราจะทำอะไรได้หากเรากระวนกระวายใจ?
9. อาจใช้วิธีการอะไรบ้างที่ใช้ได้เพื่อบรรเทาความกระวนกระวาย แต่สาเหตุของความกระวนกระวายแบบใดบ้างที่ไม่อาจขจัดให้หมดไป?
9 ในบางกรณี เราอาจสามารถเลือกใช้วิธีการบางอย่างที่ใช้ได้. หากปัญหาทางสุขภาพเป็นต้นเหตุของความกระวนกระวายของเรา คงนับว่าฉลาดสุขุมที่จะสนใจพิจารณาถึงการไปปรึกษาแพทย์ แม้ว่าเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจเป็นส่วนตัว. * (มัดธาย 9:12) หากเรารู้สึกหนักอึ้งเพราะมีหน้าที่รับผิดชอบมาก อาจเป็นไปได้ที่จะมอบบางส่วนให้ผู้อื่น. (เอ็กโซโด 18:13-23) อย่างไรก็ตาม จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบหนักซึ่งไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นช่วยแบ่งเบา เช่น บิดามารดา? จะว่าอย่างไรสำหรับคริสเตียนที่อยู่กินกับคู่สมรสที่ต่อต้าน? จะว่าอย่างไรสำหรับครอบครัวที่มีความลำบากอย่างยิ่งทางการเงินหรืออยู่ในเขตที่มีสงคราม? เห็นได้ชัด เราไม่สามารถขจัดต้นตอของความกระวนกระวายทุกอย่างในระบบนี้. ถึงกระนั้น เราสามารถรักษาสันติสุขของพระคริสต์ในหัวใจเรา. โดยวิธีใด?
10. มีสองวิธีอะไรที่คริสเตียนสามารถได้รับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความกระวนกระวาย?
10 การแสวงหาคำปลอบโยนในพระคำของพระเจ้าเป็นวิธีหนึ่ง. กษัตริย์ดาวิดเขียนดังนี้: “ครั้นข้าพเจ้ามีความสาละวนในใจเป็นอันมากความประเล้าประโลมของพระองค์ก็บทเพลงสรรเสริญ 94:19) “ความประเล้าประโลม” ของพระยะโฮวาจะพบได้ในคัมภีร์ไบเบิล. การค้นดูหนังสือซึ่งมีขึ้นโดยการดลใจนี้เป็นประจำจะช่วยให้รักษาสันติสุขของพระคริสต์ในหัวใจเรา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระยะโฮวา และพระองค์เองจะทรงค้ำจุนท่าน. ไม่มีวันที่พระองค์จะทรงยอมให้คนชอบธรรมกะปลกกะเปลี้ยเลย.” (บทเพลงสรรเสริญ 55:22, ล.ม.) ในทำนองเดียวกัน เปาโลเขียนดังนี้: “อย่ากระวนกระวายด้วยสิ่งใดเลย, แต่จงเสนอความปรารถนาของท่านทุกอย่างต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานกับการขอบพระคุณ. และสันติสุขแห่งพระเจ้า, ซึ่งเหลือที่จะเข้าใจได้, จะคุ้มครองใจและความคิดของท่านทั้งหลายไว้ในพระเยซูคริสต์.” (ฟิลิปปอย 4:6, 7) การอธิษฐานอย่างจริงจังเป็นประจำจะช่วยรักษาสันติสุขของเราไว้.
จะทรงกระทำให้จิตต์วิญญาณของข้าพเจ้าชื่นบาน.” (11. (ก) พระเยซูทรงเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างไรในเรื่องการอธิษฐาน? (ข) เราควรมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการอธิษฐาน?
11 พระเยซูทรงเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในเรื่องนี้. บางครั้ง พระองค์ทรงสนทนากับพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์ในคำอธิษฐานนานหลายชั่วโมง. (มัดธาย 14:23; ลูกา 6:12) การอธิษฐานช่วยพระองค์ให้อดทนการทดลองที่หนักที่สุด. ในคืนก่อนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงทุกข์ใจอย่างยิ่ง. พระองค์ทรงทำอย่างไร? พระองค์ทรงอธิษฐาน “ด้วยความเร่าร้อนยิ่งขึ้น.” (ลูกา 22:44, ล.ม.) ถูกแล้ว พระบุตรผู้สมบูรณ์ของพระเจ้าทรงรักการอธิษฐานอย่างยิ่ง. ดังนั้น ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดที่เหล่าสาวกผู้ไม่สมบูรณ์ของพระองค์น่าจะปลูกฝังนิสัยในการอธิษฐาน! พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกให้ “อธิษฐานเสมอไม่หยุดหย่อน.” (ลูกา 18:1, ล.ม.) การอธิษฐานเป็นวิธีสื่อความที่แท้จริงและสำคัญยิ่งกับองค์ยิ่งใหญ่ผู้ทรงรู้จักเราดียิ่งกว่าที่เรารู้จักตัวเอง. (บทเพลงสรรเสริญ 103:14) หากเราต้องการจะรักษาสันติสุขของพระคริสต์ในหัวใจเรา เราจะต้อง “อธิษฐานเสมออย่าเว้น.”—1 เธซะโลนิเก 5:17.
เอาชนะข้อจำกัดของเรา
12. เพราะเหตุใดบางคนอาจรู้สึกว่างานรับใช้ของตนนั้นขาดตกบกพร่อง?
12 พระยะโฮวาทรงถือว่าผู้รับใช้ของพระองค์แต่ละคนเป็นเหมือนทรัพย์หรือสิ่งซึ่งมีค่ายิ่ง. (ฮาฆี 2:7) อย่างไรก็ตาม หลายคนพบว่าเรื่องนี้ยอมรับได้ยาก. บางคนอาจท้อแท้เพราะอายุมากแล้ว, มีพันธะทางครอบครัวเพิ่มขึ้น, หรือสุขภาพเสื่อมทรุด. ส่วนบางคนก็อาจรู้สึกเสียเปรียบเนื่องด้วยภูมิหลังอันทุกข์ระทมในวัยเด็ก. และก็ยังมีบางคนที่อาจรู้สึกทรมานใจเนื่องด้วยความผิดในอดีต ไม่แน่ใจว่าพระยะโฮวาจะทรงให้อภัยเขาได้ไหม. (บทเพลงสรรเสริญ 51:3) อาจทำเช่นไรได้กับความรู้สึกเช่นนี้?
13. มีคำปลอบโยนอะไรจากพระคัมภีร์สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนนั้นขาดตกบกพร่อง?
13 สันติสุขของพระคริสต์จะทำให้เรามั่นใจในความรักของพระยะโฮวา. เราสามารถฟื้นฟูสันติสุขในหัวใจเราได้โดยคิดใคร่ครวญข้อเท็จจริงที่ว่า พระเยซูไม่เคยตรัสว่าคุณค่าของเรานั้นวัดได้โดยการเปรียบเทียบสิ่งที่เราทำกับสิ่งที่คนอื่นทำ. (มัดธาย 25:14, 15; มาระโก 12:41-44) สิ่งที่พระองค์ทรงเน้นจริง ๆ คือความภักดี. พระองค์ตรัสแก่เหล่าสาวกว่า “ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุด, ผู้นั้นจะรอด.” (มัดธาย 24:13) พระเยซูเองทรงถูก “ดูหมิ่น” จากมนุษย์ ถึงกระนั้นพระองค์ไม่เคยสงสัยว่าพระบิดาทรงรักพระองค์. (ยะซายา 53:3; โยฮัน 10:17) และพระองค์ทรงบอกเหล่าสาวกว่าพวกเขาเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงรักด้วยเช่นกัน. (โยฮัน 14:21) เพื่อเน้นเรื่องนี้ พระเยซูตรัสว่า “นกกระจาบสองตัวเขาขายสามสตางค์มิใช่หรือ และนกนั้นแม้สักตัวเดียวจะตกลงถึงดินนอกจากพระบิดาของท่านพอพระทัยก็มิได้. ถึงผมของท่านก็ทรงนับไว้แล้วทุกเส้น. เหตุฉะนั้นอย่ากลัวเลยท่านทั้งหลายก็ประเสริฐกว่านกกระจาบหลายตัว.” (มัดธาย 10:29-31) ช่างเป็นคำรับรองเกี่ยวกับความรักของพระยะโฮวาที่ทำให้อบอุ่นใจจริง ๆ!
14. เราได้รับคำรับรออะไรว่าพระยะโฮวาทรงถือว่าเราแต่ละคนมีค่า?
14 พระเยซูตรัสอีกด้วยว่า “ไม่มีผู้ใดจะมาถึงเราได้, เว้นไว้พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา.” (โยฮัน 6:44) เนื่องจากพระยะโฮวาทรงชักนำเราให้ติดตามพระเยซู นั่นย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงประสงค์ให้เราได้รับความรอด. พระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกว่า “พระบิดาของท่านผู้อยู่ในสวรรค์ไม่ปรารถนาให้ผู้เล็กน้อยเหล่านี้สักคนหนึ่งพินาศไปเลย.” (มัดธาย 18:14) ด้วยเหตุนั้น หากคุณรับใช้ด้วยหัวใจอันเต็มเปี่ยม คุณสามารถปีติยินดีในการงานที่ดีของคุณ. (ฆะลาเตีย 6:4) หากคุณรู้สึกทรมานใจเพราะความผิดในอดีต ขอให้มั่น ใจว่าพระยะโฮวาจะทรงให้อภัย “อย่างล้นเหลือ” แก่ผู้ที่กลับใจอย่างแท้จริง. (ยะซายา 43:25; 55:7, ฉบับแปลใหม่) หากคุณรู้สึกท้อใจเนื่องด้วยเหตุผลอื่น จงจำไว้ว่า “พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คนที่หัวใจสลาย; และคนที่จิตใจชอกช้ำพระองค์ทรงช่วยให้รอด.”—บทเพลงสรรเสริญ 34:18, ล.ม.
15. (ก) ซาตานพยายามทำลายสันติสุขของเราโดยวิธีใด? (ข) เราสามารถมีความเชื่อมั่นเช่นไรในพระยะโฮวา?
15 ซาตานปรารถนาอย่างยิ่งที่จะทำลายสันติสุขของคุณ. มันเป็นผู้ก่อให้เกิดบาปซึ่งตกทอดมาถึงเราและเราทุกคนต้องพยายามต่อสู้. (โรม 7:21-24) แน่นอน มันอยากให้คุณคิดว่าความไม่สมบูรณ์ของคุณทำให้การรับใช้ของคุณไม่เป็นที่ยอมรับจากพระเจ้า. อย่าปล่อยให้พญามารทำให้คุณหมดกำลังใจ! จงระวังอุบายของมัน และจงให้ความตื่นตัวเช่นนั้นทำให้คุณตั้งใจแน่วแน่จะอดทน. (2 โกรินโธ 2:11; เอเฟโซ 6:11-13) พึงจำไว้ว่า “พระเจ้าทรงเป็นใหญ่กว่าใจของเราและพระองค์ทรงทราบทุกสิ่ง.” (1 โยฮัน 3:20, ฉบับแปลใหม่) พระยะโฮวาทรงมองเห็นไม่เพียงข้อบกพร่องของเรา. พระองค์ทรงมองที่ความมุ่งหมายและความตั้งใจจริงของเรา. ดังนั้น ขอให้คำกล่าวของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญช่วยปลอบประโลมคุณ ที่ว่า “พระยะโฮวาจะไม่ทรงละทิ้งพลไพร่ของพระองค์, เหล่าคนที่เป็นมฤดกของพระองค์นั้นพระองค์จะไม่ทรงละไว้.”—บทเพลงสรรเสริญ 94:14.
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสันติสุขของพระคริสต์
16. เราไม่ได้ต่อสู้โดยลำพังอย่างไรขณะที่เราบากบั่นเพื่อจะอดทน?
16 เปาโลเขียนว่าเราควรให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจเรา เพราะเรา “ถูกเรียกให้มีสันติสุขเป็นกายอันเดียว.” คริสเตียนผู้ถูกเจิมที่เปาโลเขียนถึงถูกเรียกให้เป็นส่วนของพระกายของพระคริสต์ เช่นเดียวกับชนที่เหลือแห่งผู้ถูกเจิมในปัจจุบัน. สหายที่เป็น “แกะอื่น” ร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับพวกเขาในฐานะ “ฝูงเดียว” ภายใต้ “ผู้เลี้ยงผู้เดียว” คือพระเยซูคริสต์. (โยฮัน 10:16) “ฝูง” ชนหลายล้านคนทั่วโลกกำลังพร้อมใจกันให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจตน. การทราบว่าเราไม่ได้ต่อสู้โดยลำพังช่วยเราให้อดทน. เปโตรเขียนว่า “จงต่อสู้กับ [ซาตาน] ด้วยตั้งใจมั่นคงในความเชื่อ, โดยรู้อยู่ว่าความยากลำบากอย่างนั้นก็มีแก่พวกพี่น้องทั้งหลายของท่านที่อยู่ในโลกเช่นเดียวกัน.”—1 เปโตร 5:9.
17. มีอะไรที่กระตุ้นใจเราเพื่อยอมให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจเรา?
17 ดังนั้น ขอให้ทุกคนปลูกฝังสันติสุขซึ่งเป็นผลที่สำคัญอย่างหนึ่งแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าต่อ ๆ ไป. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) ในที่สุด คนเหล่านั้นที่พระยะโฮวาทรงพบว่าปราศจากด่างพร้อยและมลทินและมีสันติสุขจะได้รับพระพรด้วยการมีชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน ที่ซึ่งความชอบธรรมจะดำรงอยู่. (2 เปโตร 3:13, 14) เรามีเหตุผลทุกประการที่จะให้สันติสุขของพระคริสต์ควบคุมหัวใจเรา.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 ในบางกรณี ความกระวนกระวายอาจมีสาเหตุหรือทวีความรุนแรงเนื่องด้วยปัญหาทางสุขภาพ เช่น อาการซึมเศร้าที่ต้องบำบัดโดยแพทย์.
คุณจำได้ไหม?
• สันติสุขของพระคริสต์คืออะไร?
• สันติสุขของพระคริสต์จะควบคุมหัวใจเราได้อย่างไรเมื่อเราพบกับความอยุติธรรม?
• สันติสุขของพระคริสต์ช่วยเราอย่างไรให้รับมือความกระวนกระวาย?
• สันติสุขของพระคริสต์ปลอบโยนเราอย่างไรเมื่อเรารู้สึกไร้ค่า?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
ต่อหน้าผู้กล่าวหา พระเยซูทรงฝากพระองค์ไว้กับพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 16]
เช่นเดียวกับอ้อมกอดอันอบอุ่นของบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก การปลอบประโลมของพระยะโฮวาช่วยเราให้คลายความกระวนกระวายได้
[ภาพหน้า 18]
ความอดทนของเราเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับพระเจ้า