การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ถึงแม้ศาสนาโดยทั่วไปมีแนวโน้มจะทำให้มนุษยชาติแตกแยกกันก็ตาม การนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวมีพลังที่จะทำให้ผู้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ตอนที่ชาวยิศราเอลเป็นชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร การนมัสการแท้ดึงดูดใจชนต่างชาติที่จริงใจหลายคน. ตัวอย่างเช่น นางรูธได้ละทิ้งพระต่าง ๆ ของโมอาบที่เป็นบ้านเกิดของเธอและพูดกับนางนาอะมีว่า “ญาติพี่น้องของแม่, จะเป็นญาติพี่น้องของฉัน, และพระเจ้าของแม่จะเป็นพระเจ้าของฉันด้วย.” (ประวัตินางรูธ 1:16) พอถึงศตวรรษแรกแห่งสากลศักราช คนต่างชาติจำนวนมากได้เข้ามาเป็นผู้นมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้. (กิจการ 13:48; 17:4) ต่อมาเมื่อเหล่าอัครสาวกของพระเยซูเริ่มเดินทางไปยังสถานที่ห่างไกลพร้อมด้วยข่าวดี คนอื่น ๆ ที่จริงใจได้เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้. อัครสาวกเปาโลได้เขียนว่า “พวกท่านหันจากรูปเคารพของพวกท่านมาหาพระเจ้าเพื่อเป็นทาสรับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่และเที่ยงแท้.” (1 เธซะโลนิเก 1:9, ล.ม.) การนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้มีพลังที่ทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นนั้นในทุกวันนี้ไหม?
นักกังขาคติยืนกรานว่าการพูดถึง “ผู้นมัสการแท้” หรือ “พระเจ้าเที่ยงแท้” นั้นไม่ถูกต้อง. พวกเขาอาจรู้สึกเช่นนั้นเนื่องจากไม่ทราบว่ามีแหล่งใดที่จะเรียนรู้ความจริงได้. แต่ผู้แสวงหาความจริงซึ่งมาจากภูมิหลังหลากหลายได้ตระหนักว่า การนมัสการมิใช่เป็นเรื่องที่จะเลือกเอาแบบไหนก็ได้ที่ตนชอบ. ผู้เดียวเท่านั้นที่คู่ควรกับการนมัสการของเราก็คือพระผู้สร้างสิ่งสารพัด—พระยะโฮวาพระเจ้า. (วิวรณ์ 4:11) พระองค์เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ และทรงมีสิทธิ์ที่จะกำหนดวิธีนมัสการพระองค์.
เพื่อช่วยเราเข้าใจข้อเรียกร้องของพระองค์ พระยะโฮวาได้ทรงติดต่อสื่อสารกับเราโดยทางคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์. แทบทุกคนบนแผ่นดินโลกในทุกวันนี้สามารถหาคัมภีร์ไบเบิลได้ทั้งเล่มหรือเป็นบางส่วน. นอกจากนี้ พระบุตรของพระเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายตั้งมั่นคงอยู่ในคำของเรา, . . . ท่านทั้งหลายจะรู้จักความจริง.” (โยฮัน 8:31, 32) เพราะฉะนั้น ความจริงเป็นสิ่งที่รู้จักได้. และชนผู้มีหัวใจสุจริตนับล้านจากภูมิหลังทางศาสนาที่ต่างกันกำลังรับเอาความจริงนี้อย่างกล้าหาญและเข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการแท้.—มัดธาย 28:19, 20; วิวรณ์ 7:9, 10.
เอกภาพทั่วโลกในสมัยของเรา!
คำพยากรณ์ที่โดดเด่นในพระธรรมซะฟันยากล่าวถึงการมาชุมนุมกันของผู้คนจากภูมิหลังที่หลากหลาย. คำพยากรณ์นั้นกล่าวว่า “ตอนนั้น เรา [พระยะโฮวาพระเจ้า] จะให้มีการเปลี่ยนเป็นภาษาบริสุทธิ์แก่ชนชาติต่าง ๆ เพื่อเขาทุกคนจะได้ร้องเรียกพระนามของพระยะโฮวา เพื่อจะรับใช้พระองค์เคียงบ่าเคียงไหล่กัน.” (ซะฟันยา 3:9, ล.ม.) นี่ช่างเป็นภาพที่งดงามอะไรเช่นนี้เกี่ยวกับผู้คนที่เปลี่ยนใจมารับใช้พระเจ้าด้วยเอกภาพ!
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อไร? ซะฟันยา 3:8 (ล.ม.) กล่าวว่า “ ‘จงคอยท่าเรา’ เป็นคำตรัสของพระยะโฮวา ‘จนถึงวันที่เราจะลุกขึ้นตีชิง เพราะการตัดสินความของเราคือที่จะรวบรวมนานาชาติ ที่เราจะรวบรวมอาณาจักรทั้งหลาย เพื่อจะกล่าวโทษเขาและหลั่งความพิโรธอันร้อนแรงของเราลงเหนือเขา; เพราะโดยไฟแห่งใจแรงกล้าของเราแผ่นดินโลกทั้งสิ้นจะถูกผลาญ.’ ” ใช่แล้ว ระหว่างช่วงเวลาที่พระยะโฮวาทรงรวบรวมนานาชาติ แต่ก็เป็นช่วงก่อนที่พระองค์หลั่งความพิโรธอันร้อนแรงลงเหนือพวกเขา พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนเป็นภาษาบริสุทธิ์แก่คนที่อ่อนน้อมแห่งแผ่นดินโลก. เวลานั้นก็คือบัดนี้แหละ เพราะการรวบรวมนานาชาติไปสู่สงครามแห่งวันใหญ่ของพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ณ อาร์มาเก็ดดอนกำลังดำเนินอยู่แล้ว.—วิวรณ์ 16:14, 16.
เพื่อทำให้ไพร่พลของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระยะโฮวาทรงประทานภาษาบริสุทธิ์ให้พวกเขา. ภาษาใหม่นี้หมายรวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์. โยฮัน 17:14; กิจการ 10:34, 35) บรรดาชนผู้สุจริตใจซึ่งมีความรักต่อความจริงสามารถเรียนภาษานี้ได้. ขอพิจารณาดูว่าห้าคนที่มีการกล่าวถึงในบทความก่อนซึ่งครั้งหนึ่งเคยแตกแยกกันทางศาสนา ปัจจุบันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการพระยะโฮวา พระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว.
การพูดภาษาบริสุทธิ์เกี่ยวข้องกับการเชื่อความจริง, การสอนความจริงนั้นแก่คนอื่น, และการดำเนินชีวิตประสานกับกฎหมายและหลักการต่าง ๆ ของพระเจ้า. การพูดภาษาบริสุทธิ์เรียกร้องให้หลบหลีกจากการเมืองที่ทำให้แตกแยกและการถอนรากถอนโคนเจตคติในหัวใจที่เห็นแก่ตัว เช่น การเหยียดผิวและลัทธิชาตินิยมที่ก่อความแตกแยกซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโลกนี้. (พวกเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการแท้
เมื่อฟีเดลยาซึ่งถือเคร่งในศาสนาโรมันคาทอลิก ได้ซื้อคัมภีร์ไบเบิลให้ลูกสาวของเธอเพื่อใช้ทำการบ้าน เธอขอบาทหลวงให้อธิบายจากพระคัมภีร์ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกห้าคนที่ตายแล้วของเธอ. เธอกล่าวว่า “ช่างทำให้ผิดหวังเสียจริง ๆ!” ดังนั้น เมื่อพยานพระยะโฮวามาเยี่ยมเธอ เธอถามพวกเขาด้วยคำถามทำนองเดียวกัน. เมื่ออ่านในคัมภีร์ไบเบิลของเธอเองเกี่ยวกับความจริงเรื่องสภาพของคนตาย เธอได้ตระหนักว่าคริสตจักรได้หลอกลวงเธอสักเพียงไร. เธอได้เรียนรู้ว่าคนตายไม่รู้สึกอะไรเลยและฉะนั้นจึงมิได้ทนทุกข์ทรมานอยู่ในลิมโบหรือในที่อื่นใด. (บทเพลงสรรเสริญ 146:4; ท่านผู้ประกาศ 9:5) ฟีเดลยาได้ทิ้งรูปปั้นทางศาสนาทั้งหมด, ลาออกจากโบสถ์, แล้วเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. (1 โยฮัน 5:21) เป็นเวลาสิบปีมาแล้ว เธอชื่นชอบการสอนความจริงจากพระคัมภีร์แก่คนอื่น.
ธาราจากกาฐมาณฑุได้ย้ายไปประเทศหนึ่งที่ไม่ค่อยมีวิหารฮินดู. ฉะนั้น เธอได้ไปโบสถ์เมโทดิสต์โดยหวังว่าจะสนองความต้องการทางด้านศาสนาของเธอ. แต่เธอไม่พบคำตอบสำหรับคำถามของเธอเกี่ยวกับความทุกข์ของมนุษย์. ครั้นแล้ว พยานพระยะโฮวาได้พบเธอแล้วเสนอการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลให้กับเธอ. ธารากล่าวว่า “ดิฉันได้มารู้ว่าพระเจ้าแห่งความรักไม่อาจเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งมวลในโลก . . . ดิฉันรู้สึกยินดีเกี่ยวกับความหวังเรื่องโลกใหม่ที่มีสันติภาพและความปรองดองกัน.” (วิวรณ์ 21:3, 4) ธาราได้กำจัดรูปปั้นฮินดูของเธอ, เลิกปฏิบัติตามธรรมเนียมศาสนาของบ้านเกิด, และได้พบความสุขแท้ในการช่วยสนองความต้องการด้านศาสนาของคนอื่นในฐานะเป็นพยานพระยะโฮวา.
ปัญญาเป็นชาวพุทธมีอาชีพเป็นหมอดูตอนที่พยานพระยะโฮวาไปเยี่ยมเขาครั้งแรกในกรุงเทพฯ ดังนั้น คำทำนายในคัมภีร์ไบเบิลจึงดึงดูดใจเขา. ปัญญาได้เล่าว่า “เมื่อผมได้เรียนรู้สาเหตุที่สภาพการณ์ในปัจจุบันต่างจากสิ่งที่พระผู้สร้างทรงประสงค์ในตอนแรกและวิธีที่พระองค์ได้ทรงเตรียมการที่จะกำจัดความเสียหายซึ่งก่อขึ้นโดยคนเหล่านั้นที่ปฏิเสธพระองค์และพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ นั่นเป็นประหนึ่งการเอาผ้าที่บังตาผมออกไป. ทุกสิ่งเกี่ยวกับข่าวสารของคัมภีร์ไบเบิลประสานลงรอยกันจริง ๆ. ผมได้มารักพระยะโฮวาในฐานะเป็นบุคคล นี่ทำให้ผมมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติสิ่งที่ผมรู้ว่าถูกต้อง. ผมกระตือรือร้นที่จะช่วยคนอื่นให้เห็นความแตกต่างระหว่างสติปัญญาของมนุษย์กับสติปัญญาของพระเจ้า. สติปัญญาแท้ได้ทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไปจริง ๆ.”
ในที่สุด เวอร์จิลเริ่มเกิดความสงสัยอย่างยิ่งเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของเขา. แทนที่จะอธิษฐานถึงพระเจ้าเพื่อรู้วิธีช่วยคนผิวดำและเพื่อสิ่งที่เขาถือว่าเป็นองค์การที่มีคตินิยมเชื้อชาติซึ่งดูเหมือนก่อความเกลียดชังคนผิวขาว เขาได้อธิษฐานขอให้พบความจริง ไม่ว่าความจริงนั้นจะเป็นอย่างไร หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม. เวอร์จิลเล่าว่า “เมื่อผมตื่นขึ้นในวันถัดไปหลังจากอธิษฐานอย่างแรงกล้าถึงพระเจ้า ผมได้พบวารสารหอสังเกตการณ์ อยู่ในบ้าน. . . . คงต้องมีใครสอดวารสารนี้ไว้ใต้ประตู.” ไม่ช้าเขาก็ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเอาจริงเอาจังกับพยานพระยะโฮวา. เขาเล่าต่อไปว่า “เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมรู้สึกอิ่มใจ. . . . ประกายแห่งความหวังเริ่มปรากฏขึ้นในตัวผม.” ไม่นานเวอร์จิลก็ได้ร่วมกันกับคนเหล่านั้นซึ่งเสนอความหวังแท้อย่างเดียวดังที่ชี้
แจงไว้ในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้าให้กับคนอื่น.ชาโรจากลาตินอเมริการู้สึกประทับใจเมื่อพยานฯ ชื่อกลาดีสเห็นว่าเธอมีความลำบากในการดูแลลูกเล็ก ๆ จึงเริ่มช่วยเหลือโดยพาเธอไปตลาด. ในที่สุด ชาโรยอมรับข้อเสนอของกลาดีส นั่นคือการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลฟรีที่บ้าน. เมื่อชาโรได้เรียนรู้จากคัมภีร์ไบเบิลของเธอเองว่า ไม่ใช่คนดีทุกคนไปสวรรค์ แต่พระยะโฮวาจะอวยพรมนุษย์บนแผ่นดินโลกโดยประทานชีวิตนิรันดร์ให้เขาด้วย เธอรู้สึกประหลาดใจ. (บทเพลงสรรเสริญ 37:11, 29) ชาโรเองได้บอกความหวังนี้ให้กับคนอื่นตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา.
ขอให้นึกภาพผู้คนที่จริงใจที่อาศัยอยู่ทั่วทั้งแผ่นดินโลก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการพระยะโฮวา พระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว! นี่ไม่ใช่ความเพ้อฝัน แต่เป็นสิ่งที่พระยะโฮวาทรงสัญญาไว้. พระเจ้าทรงประกาศโดยทางซะฟันยา ผู้พยากรณ์ของพระองค์ว่า “เราจะเหลือไว้แต่ชนที่ถ่อมใจแลเจียมตัวในท่ามกลางแห่งท่าน, แลเขาทั้งหลายจะปลงใจเชื่อในพระนามพระยะโฮวา. . . . พวก [เขา] . . . จะไม่ได้กระทำความชั่ว, หรือจะไม่กล่าวความเท็จ, หรือจะไม่มีลิ้นล่อลวงในปากของเขา, . . . แลจะหามีความกลัวต่อผู้ใดไม่.” (ซะฟันยา 3:12, 13) หากคำสัญญานี้ดึงดูดใจคุณ ก็ขอให้ใส่ใจในคำกระตุ้นเตือนของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “จงแสวงหาพระยะโฮวา เจ้าผู้มีใจอ่อนน้อมทั้งปวงบนแผ่นดินโลก ผู้ได้ปฏิบัติตามคำตัดสินของพระองค์เอง. จงแสวงหาความชอบธรรม แสวงหาความอ่อนน้อม. ชะรอยเจ้าอาจถูกกำบังไว้ในวันแห่งความพิโรธของพระยะโฮวา.”—ซะฟันยา 2:3, ล.ม.