คุณต้องมีสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึก
คุณต้องมีสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึก
ดูเหมือนว่าเป็นวันอันน่าจดจำสำหรับผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินแอร์นิวซีแลนด์เที่ยวบินที่ 901 ซึ่งมุ่งสู่ทวีปแอนตาร์กติกา. กล้องถ่ายรูปอยู่ในสภาพเตรียมพร้อม และบรรยากาศสนุกสนานขณะที่เครื่องดีซี-10 บินเข้าสู่ทวีปแอนตาร์กติกาในระดับต่ำเพื่อผู้โดยสารจะเห็นทัศนียภาพที่งดงามตระการตาของทวีป.
กัปตันซึ่งเป็นนักบินมา 15 ปี มีชั่วโมงบินรวมแล้วมากกว่า 11,000 ชั่วโมง. ก่อนบินขึ้น เขาป้อนข้อมูลแผนการบินเข้าไปในคอมพิวเตอร์บนเครื่องบินอย่างระมัดระวัง โดยไม่รู้ว่าพิกัดเส้นทางบินที่เขาได้รับแจ้งมานั้นไม่ถูกต้อง. เมื่อบินผ่านเข้าไปในเมฆที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 600 เมตร เครื่องดีซี-10 ได้พุ่งชนเชิงเขาของภูเขาไฟเออเรบัส ทำให้คนบนเครื่องบินเสียชีวิตทั้งหมด 257 คน.
เช่นเดียวกับเครื่องบินในทุกวันนี้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์นำทางในการบิน มนุษย์ได้รับสิ่งที่เรียกว่าสติรู้สึกผิดชอบเพื่อชี้นำแนวทางชีวิตของเขา. และโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงของเที่ยวบิน 901 อาจสอนบทเรียนอันมีพลังบางอย่างแก่เราในเรื่องสติรู้สึกผิดชอบของเรา. ตัวอย่างเช่น ในลักษณะเดียวกันกับที่ความปลอดภัยในการบินขึ้นอยู่กับระบบนำร่องที่ทำงานอย่างถูกต้องและข้อมูลอ้างอิงที่แม่นยำ ดังนั้น สวัสดิภาพด้านวิญญาณ, ด้านศีลธรรม, และแม้แต่ด้านร่างกายก็ขึ้นอยู่กับสติรู้สึกผิดชอบที่ตอบสนองไวซึ่งได้รับการชี้นำจากข้อมูลอ้างอิงทางศีลธรรม ที่ถูกต้อง.
น่าเศร้า ในโลกทุกวันนี้ ข้อมูลอ้างอิงดังกล่าวอันตรธานไปอย่างรวดเร็วหรือไม่ก็ถูกมองข้าม. ครูชาวอเมริกันคนหนึ่งได้กล่าวว่า “เราได้ยินมามากในทุกวันนี้เรื่องที่นักเรียนชายโดยทั่วไปในสหรัฐอ่านหนังสือไม่คล่อง, เขียนตัวสะกดไม่ถูก, และหาประเทศฝรั่งเศสบนแผนที่โลกได้อย่างยากเย็น. ทั้งยังเป็นเรื่องจริงด้วยที่เด็กเหล่านี้พบว่ายากที่จะแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด. นอกเหนือจากปัญหาการไม่รู้หนังสือและการคิดเลขไม่เป็นแล้ว เราต้องเพิ่มปัญหาความสับสนด้านศีลธรรมอย่างยิ่งเข้าไปในรายการปัญหาต่าง ๆ ทางด้านการศึกษาด้วย.” เธอได้กล่าวด้วยว่า “หนุ่มสาวในทุกวันนี้มีชีวิตอยู่ในความคลุมเครือด้านศีลธรรม. จงถามคนหนึ่งในพวกเขาว่า ‘อะไรถูกอะไรผิด’ และในทันทีคุณก็จะได้พบกับคนที่งุนงง, พูดไม่ออก, ประหม่า, และไม่มีความมั่นใจ. . . . ความสับสนเช่นนี้กลับแย่ลงแทนที่จะดีขึ้นเมื่อพวกเขาเข้าเรียนในวิทยาลัย.”
สาเหตุอย่างหนึ่งของความสับสนเช่นนี้คือสัมพัทธนิยมด้านศีลธรรม อันเป็นทัศนะที่แพร่หลายที่ว่ามาตรฐานย่อมแตกต่างกันไปตามความชอบส่วนบุคคลหรือวัฒนธรรม. คิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากนักบินต้องบินโดยไม่อาศัยข้อมูลอ้างอิงที่กำหนดไว้แน่นอน แต่อาศัยสัญญาณวิทยุบอกตำแหน่งจากพื้นดินซึ่งเปลี่ยนที่ตั้งไปเรื่อยอย่างที่ไม่อาจบอกล่วงหน้าได้และบางครั้งสัญญาณก็หายไปเสียเฉย ๆ! ความหายนะดังที่เกิดขึ้น ณ ภูเขาไฟเออเรบัสคงจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยอย่างไม่ต้องสงสัย. คล้ายกัน เนื่องจากได้ละทิ้งมาตรฐานด้านศีลธรรมที่กำหนดไว้แน่นอน โลกจึงเก็บเกี่ยวผลที่น่าเศร้าสลดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความทุกข์ระทมและความตาย เนื่องจากครอบครัวแตกแยกเพราะการนอกใจกันและคนนับล้านรับทุกข์เนื่องจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ.
สัมพัทธนิยมด้านศีลธรรมอาจฟังดูเหมือนเป็นการฉลาดรอบรู้ทางโลก แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ติดตามคตินิยมนี้เป็นเหมือนชาวนีนะเวโบราณซึ่งไม่รู้ว่า “ข้างไหนเป็นมือขวามือซ้าย.” ผู้ปฏิบัติตามหลักสัมพัทธนิยมด้านศีลธรรมนั้นคล้ายคลึงกับชาวอิสราเอลที่ออกหากซึ่งกล่าวว่า ‘ชั่วเป็นดี, และดีเป็นชั่ว.’—โยนา 4:11; ยะซายา 5:20.
ดังนั้น เราจะหันไปที่ไหนเพื่อได้รับกฎหมายและหลักการที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือซึ่งจะฝึกสติรู้สึกผิดชอบของเราให้เป็นเครื่องนำทางที่ปลอดภัย? คนนับล้านได้พบว่าคัมภีร์ไบเบิลสนองความต้องการนั้นอย่างครบถ้วน. คัมภีร์ไบเบิล2 ติโมเธียว 3:16) พระคัมภีร์ได้พิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือได้อย่างพร้อมมูลตลอดช่วงหลายศตวรรษ. เนื่องจากมาตรฐานด้านศีลธรรมของคัมภีร์ไบเบิลได้รับการกำหนดโดยผู้มีอำนาจสูงสุดทีเดียว คือพระผู้สร้างของเรา มาตรฐานเหล่านั้นจึงเหมาะกับมนุษย์ทั้งสิ้น. ฉะนั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินชีวิตโดยไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด.
ไม่ละเว้นเรื่องใดที่สำคัญ ตั้งแต่เรื่องศีลธรรมไปจนถึงหลักจรรยาในการทำงาน และตั้งแต่เรื่องการอบรมเด็กไปจนถึงการนมัสการพระเจ้า. (อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสติรู้สึกผิดชอบของคุณถูกโจมตีอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน. เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร? และคุณจะป้องกันรักษาสติรู้สึกผิดชอบของคุณไว้ได้โดยวิธีใด? แนวทางที่ฉลาดคือการรู้จักแหล่งที่มาของการโจมตีนั้นและกลยุทธ์ของผู้โจมตี. จะมีการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ในบทความต่อไป.