น้ำใจอาสาสมัครนำผู้คนมาสู่กิเลียด
น้ำใจอาสาสมัครนำผู้คนมาสู่กิเลียด
โรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียดตั้งขึ้นเพื่อฝึกอบรมชายหญิงที่อุทิศตัวเพื่อการรับใช้เป็นมิชชันนารีในต่างแดน. ใครบ้างมีสิทธิ์เข้าโรงเรียนกิเลียด? คนที่มีน้ำใจอาสาสมัคร. (บทเพลงสรรเสริญ 110:3) นั่นเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในวันที่ 8 กันยายน 2001 เมื่อนักเรียนรุ่นที่ 111 สำเร็จการศึกษา.
ก่อนหน้านี้ นักเรียนบางคนในรุ่นนี้ได้จากครอบครัว, มิตรสหาย, และประเทศบ้านเกิดเพื่อไปรับใช้ในที่ที่มีความจำเป็นมากกว่าด้วยความเต็มใจอยู่แล้ว. ด้วยการทำอย่างนั้น พวกเขาได้ทดสอบตัวเองว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนเพื่ออาศัยในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างต่างออกไปได้หรือไม่. ยกตัวอย่าง รีเชร์กับนาทาลี ได้จัดแจงสิ่งต่าง ๆ เพื่อย้ายไปอยู่ที่ประเทศโบลิเวีย, ทอดด์กับมิเชลได้ไปอยู่ที่สาธารณรัฐโดมินิกัน, และเดวิดกับโมนิกได้ไปอยู่ที่ประเทศหนึ่งในเอเชีย เพื่อเผยแพร่ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. และมีนักเรียนบางคนได้รับใช้อยู่แล้วในประเทศนิการากัว, เอกวาดอร์, และแอลเบเนีย.
คริสตีได้รับการสนับสนุนให้เรียนภาษาสเปนตอนที่เธอเรียนชั้นมัธยม ซึ่งช่วยเตรียมเธอไว้ให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตสองปีในประเทศเอกวาดอร์ก่อนที่เธอจะแต่งงาน. ส่วนคนอื่น ๆ บางคนร่วมสมทบกับประชาคมภาษาต่างประเทศในประเทศของตนเอง. ในการเผชิญกับข้อท้าทายที่ต่างออกไป ซาอูลกับปรีชีลาแสดงน้ำใจอาสาสมัครด้วยการพยายามอย่างหนักเพื่อฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นก่อนจะเข้าโรงเรียนกิเลียด.
เวลา 20 สัปดาห์ในการฝึกอบรมสำหรับมิชชันนารีผ่านไปอย่างรวดเร็ว. วันสำเร็จหลักสูตรการศึกษามาถึง และบรรดานักเรียนพร้อมกับเพื่อน ๆ และครอบครัวก็ได้รับฟังคำแนะนำที่สุขุมและคำกล่าวอำลาที่หนุนกำลังใจ.
ประธานระเบียบวาระคือ ทีโอดอร์ จารัซ ผู้สำเร็จการศึกษาโรงเรียนกิเลียดรุ่นที่ 7 ซึ่งเวลานี้รับใช้เป็นสมาชิกคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวา. คำกล่าวเปิดการประชุมของท่านเน้นข้อเท็จจริงที่ว่า ในฐานะองค์การ เราไม่เคยหันเหไปจากวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนักเรียนกิเลียด นั่นคือเพื่อประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรทุกแห่งในโลกที่มีคนอาศัย. (มาระโก 13:10) โรงเรียนกิเลียดช่วยให้นักเรียนที่มีคุณวุฒิพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมการประกาศนี้ให้สำเร็จในขอบเขตที่ใหญ่กว่ามากเมื่อเทียบกับที่เขาเคยทำในอดีต และในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกซึ่งมีความจำเป็นเป็นพิเศษต้องได้รับความช่วยเหลือจากมิชชันนารีที่ได้รับการฝึกอบรม. บราเดอร์จารัซเตือนสตินักเรียนให้ใช้ประโยชน์เต็มที่จากการฝึกอบรมในโรงเรียนกิเลียดขณะที่พวกเขาไปร่วมสมทบกับเหล่ามิชชันนารีซึ่งปัจจุบันรับใช้อยู่ใน 19 ประเทศที่ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับมอบหมาย.
คำแนะนำที่เหมาะกับเวลาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา
หลังจากนั้นก็เป็นคำบรรยายหลายเรื่อง. วิลเลียม วาน ดี วอลล์ สมาชิกคณะกรรมการสาขาสหรัฐ บรรยายในหัวเรื่อง “ใจแรงกล้าของมิชชันนารี—เครื่องหมายอย่างหนึ่งของคริสเตียนแท้.” ท่านเน้นให้สนใจงานมอบหมายในการ ‘ทำให้คนเป็นสาวก’ ดังบันทึกไว้ที่มัดธาย 28:19, 20 (ล.ม.) และท่านกระตุ้นเตือนนักเรียนให้ “เลียนแบบอย่างของพระเยซูผู้ทรงทำงานมอบหมายของพระองค์ในฐานะมิชชันนารีด้วยใจแรงกล้าและกระตือรือร้น.” เพื่อช่วยคนเหล่านี้ซึ่งกำลังจะเป็นมิชชันนารีให้ รักษาความกระตือรือร้นในงานมิชชันนารี ท่านสนับสนุนพวกเขาดังนี้: “จงยึดอยู่กับตารางเวลาที่ใช้ได้จริงอย่างเคร่งครัด; รักษานิสัยที่ดีในการศึกษาส่วนตัว ซึ่งทำให้ก้าวทันกับสิ่งต่าง ๆ ตามระบอบของพระเจ้า; และมุ่งความสนใจไปยังเหตุผลที่ทำให้คุณอยู่ในงานมอบหมายนี้เสมอ.”
ผู้บรรยายคนต่อไปคือ กาย เพียร์ซ สมาชิกคณะกรรมการปกครอง. ท่านขยายความหัวเรื่องซึ่งมีชื่อว่า “จงปลูกฝัง ‘ความสามารถของท่านในการหาเหตุผล’ ต่อ ๆ ไป.” (โรม 12:1, ล.ม.) ท่านให้คำแนะนำที่ใช้ได้จริงแก่ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นนี้ สนับสนุนพวกเขาให้ใช้ความสามารถที่พระเจ้าประทานให้ในการคิดและหาเหตุผล. ท่านกล่าวว่า “จงคิดใคร่ครวญให้ดีต่อไปเกี่ยวกับสิ่งที่พระยะโฮวาตรัสแก่คุณโดยทางพระคำของพระองค์. การทำอย่างนี้จะช่วยรักษาชีวิตคุณไว้.” (สุภาษิต 2:11) บราเดอร์เพียร์ซยังเตือนสติผู้สำเร็จการศึกษาด้วยว่าอย่ายืนกรานทัศนะของตนอย่างขาดเหตุผล เพื่อจะไม่ขัดขวาง “ความสามารถในการหาเหตุผล” ของตน. ข้อเตือนใจที่เหมาะกับเวลาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาเหล่านี้รับใช้ในฐานะมิชชันนารี.
จากนั้น ประธานก็แนะนำผู้สอนคนหนึ่งในโรงเรียนกิเลียดคือ ลอว์เรนซ์ โบเวน ซึ่งขึ้นมาบรรยายในหัวเรื่อง “ตัดสินใจไม่รู้จักสิ่งใด ๆ.” ท่านชี้ว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับงานมิชชันนารีของอัครสาวกเปาโลในเมืองโกรินโธ ท่าน “ได้ตัดสินใจไม่รู้จักสิ่งใด ๆ . . . เว้นแต่ พระเยซูคริสต์และที่1 โกรินโธ 2:2, ล.ม.) เปาโลทราบว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่สุดในเอกภพให้การสนับสนุนข่าวสารที่จะเห็นได้ในคัมภีร์ไบเบิลตลอดทั้งเล่ม คือการพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาโดยทางพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญา. (เยเนซิศ 3:15) นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาทั้ง 48 คนได้รับการกระตุ้นให้เป็นเหมือนเปาโลและติโมเธียว และให้พยายามเพื่อจะเป็นมิชชันนารีที่ประสบความสำเร็จ ยึดถือ “แบบแผนแห่งถ้อยคำที่ก่อประโยชน์.”—2 ติโมเธียว 1:13, ล.ม.
พระองค์ถูกตรึง.” (“จงหยั่งรู้ค่าสิทธิพิเศษของคุณ ของประทานจากพระเจ้า” คือหัวเรื่องสุดท้ายในคำบรรยายชุดแรก. วอลเลซ ลิเวอร์รันซ์ นายทะเบียนแห่งโรงเรียนกิเลียด ช่วยผู้สำเร็จการศึกษาให้เข้าใจว่าสิทธิพิเศษแห่งการรับใช้เป็นการแสดงออกซึ่งพระกรุณาอันไม่พึงได้รับของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขามีสิทธิ์ควรได้หรือได้รับเสมือนค่าจ้าง. โดยชักตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล บราเดอร์ลิเวอร์รันซ์ชี้ดังนี้: “การที่พระยะโฮวาทรงเลือกเปาโลให้เป็นผู้แทนของพระองค์ในการเผยแพร่แก่นานาชาติไม่ได้ดูที่การงานเป็นสำคัญ ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นก็อาจทำให้ดูเหมือนว่าเปาโลได้ขวนขวายเพื่อจะมีสิทธิ์ได้รับงานมอบหมายนั้น หรือสมควรได้รับ. การเป็นตัวแทนนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความอาวุโสหรือประสบการณ์. จากแง่คิดของมนุษย์ อาจดูเหมือนว่าบาระนาบาคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม. การเลือกดังกล่าวไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว; เห็นได้ชัดว่าอะโปโลพูดจามีวาทศิลป์ดีกว่าเปาโล. การเลือกดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งพระกรุณาอันไม่พึงได้รับของพระเจ้า.” (เอเฟโซ 3:7, 8) บราเดอร์ลิเวอร์รันซ์สนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษาให้ใช้ของประทานของตน หรือสิทธิพิเศษแห่งการรับใช้ เพื่อช่วยคนอื่น ๆ ให้เข้ามาเป็นมิตรสหายของพระเจ้า และเป็นผู้รับ “ของประทานที่พระเจ้าทรงโปรดให้ . . . ชีวิตนิรันดรโดยพระคริสต์เยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา.”—โรม 6:23, ล.ม.
หลังจากนั้น มาร์ก นูแมร์ ผู้สอนอีกคนหนึ่งในโรงเรียนกิเลียด นำในการอภิปรายอย่างมีชีวิตชีวากับนักเรียนหลายคนในหัวเรื่อง “การเตรียมตัวก่อผลที่ดี.” (สุภาษิต 21:5) ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้ประกาศเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการรับใช้ โดยเฉพาะโดยการเตรียมหัวใจ เขาจะมีความสนใจอย่างแท้จริงในตัวผู้คน. เขาจะไม่ขาดความมั่นใจในสิ่งที่พูด. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เขาจะพูดและทำในสิ่งที่จะช่วยผู้คนทางฝ่ายวิญญาณ. บราเดอร์นูแมร์ชี้ว่า “นี่คือเคล็ดลับของการเป็นมิชชันนารีที่ประสบความสำเร็จ” โดยยกตัวอย่างของท่านเองซึ่งเคยเป็นมิชชันนารีในแอฟริกา.
งานมิชชันนารี—งานประจำชีพที่ให้ความอิ่มใจ
ราล์ฟ วอลส์และชาลส์ วูดดี สัมภาษณ์มิชชันนารีผู้มีประสบการณ์บางคนซึ่งได้มาฝึกอบรมพิเศษที่ศูนย์การศึกษาแพตเทอร์สันในช่วงนั้นพอดี. คำสัมภาษณ์เน้นว่าความรักที่มีต่อผู้คนนำความยินดีมาให้ในงานมิชชันนารี. นับเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นใจแก่นักเรียนและครอบครัวของพวกเขาตลอดจนเพื่อน ๆ ซึ่งอยู่ในหมู่ผู้ฟังที่ได้ยินได้ฟังมิชชันนารีผู้มีประสบการณ์เหล่านี้อธิบายประสบการณ์ที่พวกเขาประสบด้วยตัวเองว่าเหตุใดงานมิชชันนารีจึงเป็นงานประจำชีพที่ให้ความอิ่มใจยินดี.
จอห์น อี. บารร์ ซึ่งรับใช้ในคณะกรรมการปกครอง ให้คำบรรยายสำคัญในวันนั้น ซึ่งมีชื่อว่า “จงร้องเพลงบทใหม่ถวายพระยะโฮวา.” (ยะซายา 42:10) บราเดอร์บารร์ชี้ว่า คำ “เพลงบทใหม่” ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลเก้าครั้ง. ท่านถามผู้ฟังว่า “เพลงบทใหม่นี้เกี่ยวข้องกับอะไร?” แล้วก็ตอบว่า “บริบทเผยว่ามีการร้องเพลงบทใหม่เนื่องด้วยเหตุการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการใช้พระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา.” ท่านกระตุ้นนักเรียนให้ร่วมประสานเสียงต่อ ๆ ไปในการร้องสรรเสริญราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งได้รับชัยชนะในพระหัตถ์ของกษัตริย์มาซีฮา คือพระคริสต์เยซู. บราเดอร์บารร์กล่าวว่าการฝึกอบรมที่พวกเขาได้รับที่กิเลียดได้ช่วยพวกเขาให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเกี่ยวกับแง่มุมหลากหลายของ ‘เพลงใหม่’ บทนี้. “โรงเรียนนี้ได้เน้นความจำเป็นที่คุณจะ ‘ร้องเพลง’ สรรเสริญพระยะโฮวาประสานกับพี่น้องทั้งหลายของคุณไม่ว่าที่ใดก็ตามที่คุณไป; จงปลูกฝังเอกภาพกับผู้อื่นในเขตมอบหมายของคุณ.”
หลังจากนักเรียนได้รับมอบประกาศนียบัตร ตัวแทนรุ่นได้อ่านจดหมายแสดงความขอบคุณด้วยใจจริงสำหรับการฝึกอบรมที่พวกเขาได้รับที่กิเลียด.
คุณสามารถขยายงานรับใช้พระเจ้ามากขึ้นและทำให้เกิดผลมากขึ้นได้ไหม? ถ้าคุณทำได้ จงขยันขันแข็งเหมือนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาเหล่านี้. นี่คือสิ่งที่ได้ช่วยให้พวกเขามีคุณวุฒิสำหรับงานมิชชันนารี. คนเราได้ความยินดีใหญ่หลวงเมื่อเขาเสนอตัวเองด้วยความยินดีและเต็มใจในงานรับใช้พระเจ้า.—ยะซายา 6:8.
[กรอบหน้า 25]
สถิติของชั้นเรียน
ตัวแทนมาจาก: 10 ประเทศ
ได้รับมอบหมายไปยัง: 19 ประเทศ
จำนวนนักเรียน: 48 คน
เฉลี่ยอายุ: 33.2 ปี
เฉลี่ยจำนวนปี ที่อยู่ในความจริง: 16.8 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีใน งานรับใช้เต็มเวลา: 12.6 ปี
[ภาพหน้า 26]
ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 111 ของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด
รายชื่อข้างล่างนี้ เลขแถวนับจากแถวหน้าไปแถวหลัง และชื่อเรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวาในแต่ละแถว.
(1) Yeomans, C.; Toukkari, A.; Nuñez, S.; Phillips, J.; Dawkin, M.; Silvestri, P. (2) Morin, N.; Biney, J.; López, M.; Van Hout, M.; Cantú, A.; Szilvassy, F. (3) Williams, M.; Itoh, M.; Van Coillie, S.; Levering, D.; Fuzel, F.; Geissler, S. (4) Yeomans, J.; Moss, M.; Hodgins, M.; Dudding, S.; Briseño, J.; Phillips, M. (5) López, J.; Itoh, T.; Sommerud, S.; Kozza, C.; Fuzel, G.; Moss, D. (6) Williams, D.; Dudding, R.; Geissler, M.; Morin, R.; Biney, S.; Cantú, L. (7) Dawkin, M.; Hodgins, T.; Levering, M.; Silvestri, S.; Van Hout, D.; Briseño, A. (8) Van Coillie, M.; Nuñez, A.; Kozza, B.; Sommerud, J.; Toukkari, S.; Szilvassy, P.