พระเจ้าทรงยินดีต้อนรับชนทุกชาติ
พระเจ้าทรงยินดีต้อนรับชนทุกชาติ
ในการเดินทางไปเยือนประเทศมาลีเป็นครั้งแรก จอห์นประทับใจในน้ำใจต้อนรับแขกอันอบอุ่นที่มามาดูกับครอบครัวแสดงต่อเขา. ขณะที่จอห์นนั่งกับพื้นและรับประทานอย่างไม่ค่อยถนัดนักจากชามอาหารที่ทุกคนใช้ร่วมกัน เขานึกสงสัยว่าควรใช้วิธีใดจึงจะดีที่สุดเพื่อมอบของขวัญอันล้ำค่าที่สุดแก่เจ้าของบ้าน คือข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรจากคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระเจ้า. แม้จะรู้ภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศมาลี แต่จอห์นก็ยังนึกสงสัยอยู่ว่าเขาจะสื่อความกับครอบครัวซึ่งนับถือศาสนาและมีวิธีคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้อย่างไร.
ไม่แปลกที่จอห์นคิดถึงเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับเมืองบาเบล. ที่นั่น พระเจ้าทรงทำให้ภาษาของผู้คนที่ขืนอำนาจสับสนไป. (เยเนซิศ 11:1-9) ผลคือ เกิดมีประชากรซึ่งมีภาษา, ศาสนา, และรูปแบบการคิดที่แตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก. ปัจจุบัน เมื่อการเดินทางและการอพยพกลายเป็นเรื่องธรรมดา หลายคนเผชิญข้อท้าทายคล้าย ๆ กับที่จอห์นเผชิญ แม้แต่ในละแวกบ้านของเขาเอง: จะแบ่งปันความหวังซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักแก่ผู้คนที่มีภูมิหลังต่างออกไปโดยวิธีใด?
ตัวอย่างในสมัยโบราณ
เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ ในอิสราเอล ส่วนใหญ่โยนากล่าวพยากรณ์ต่อชาวอิสราเอล. ท่านพยากรณ์ในช่วงเวลาที่อาณาจักรสิบตระกูลที่ออกหากเข้าไปยุ่งเกี่ยวอย่างเปิดเผยในกิจปฏิบัติที่หลู่เกียรติพระเจ้า. (2 กษัตริย์ 14:23-25) ขอให้นึกถึงปฏิกิริยาของโยนาเมื่อท่านได้รับงานมอบหมายพิเศษให้จากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อไปที่อัสซีเรียและประกาศแก่ชาวเมืองนีนะเวห์ ผู้คนซึ่งถือศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป. โยนาอาจพูดภาษาของชาวเมืองนีนะเวห์ไม่ได้ด้วยซ้ำ อย่างน้อยก็คงไม่คล่อง. ไม่ว่าจะอย่างไร ดูเหมือนโยนารู้สึกว่างานมอบหมายนี้หนักเหลือกำลัง และท่านได้หนีไป.—โยนา 1:1-3.
เห็นได้ชัด โยนาจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าพระยะโฮวาพระเจ้าทรงมองลึกกว่าสิ่งที่ปรากฏภายนอกและทรงตรวจดูหัวใจ. (1 ซามูเอล 16:7) หลังจากที่ทรงช่วยชีวิตโยนาไว้ไม่ให้จมน้ำตายด้วยวิธีอัศจรรย์ พระยะโฮวาทรงมีบัญชาแก่ท่านเป็นคำรบสองให้ประกาศแก่ชาวเมืองนีนะเวห์. โยนาเชื่อฟัง และผลก็คือ ชาวเมืองนีนะเวห์ทั้งเมืองพากันกลับใจ. ถึงกระนั้น โยนาก็ยังหาได้มีทัศนะที่ถูกต้องไม่. โดยทรงให้บทเรียนในภาคปฏิบัติอันทรงพลัง พระยะโฮวาทรงสอนท่านให้เห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนเจตคติ. พระยะโฮวาทรงถามโยนาว่า “อันตัวเราจะไม่อาลัยนีนะเวกรุงใหญ่นั้นซึ่งมีพลเมืองมากกว่าแสนสองหมื่นคน, เป็นผู้ไม่รู้เดียงสาว่าข้างไหนเป็นมือขวามือซ้าย . . . อย่างนั้นหรือ?” (โยนา 4:5-11) จะว่าอย่างไรสำหรับเราในปัจจุบัน? เราจะช่วยผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างได้อย่างไร?
การต้อนรับชาวซะมาเรียและคนที่ไม่ใช่ชาวยิว
ในศตวรรษแรก พระเยซูทรงบัญชาเหล่าสาวกให้ช่วยผู้คนจากทุกชาติให้เข้ามาเป็นสาวก. (มัดธาย 28:19) เรื่องนี้ไม่ง่ายสำหรับพวกเขา. สาวกของพระเยซูเป็นชาวยิว และเช่นเดียวกับโยนา พวกเขาคุ้นเคยกับการพูดคุยเฉพาะกับคนที่มีภูมิหลังและวัฒนธรรมเดียวกัน. เป็นธรรมดาอยู่เองที่พวกเขาคงได้รับอิทธิพลจากการมีอคติซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสมัยนั้น. อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงควบคุมเรื่องต่าง ๆ เพื่อผู้รับใช้ของพระองค์จะสังเกตเข้าใจพระทัยประสงค์ของพระองค์สำหรับพวกเขาเป็นขั้น ๆ.
ขั้นแรกคือ การเอาชนะอคติระหว่างชาวยิวกับชาวซะมาเรีย. ชาวยิวไม่ติดต่อข้องแวะกับชาวซะมาเรีย. กระนั้น มีมากกว่าหนึ่งครั้งที่พระเยซูทรงเตรียมทางไว้สำหรับการที่ชาวซะมาเรียจะตอบรับข่าวดีในอนาคต. พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่เลือกหน้าผู้ใดโดยทรงสนทนากับหญิงชาวซะมาเรียคนหนึ่ง. (โยฮัน 4:7-26) ในอีกโอกาสหนึ่ง โดยใช้อุทาหรณ์เกี่ยวกับเพื่อนบ้านชาวซะมาเรีย พระองค์ทรงแสดงให้ชาวยิวผู้เคร่งศาสนาคนหนึ่งเห็นว่าคนที่ไม่ใช่ชาวยิวก็สามารถแสดงความรักต่อเพื่อนบ้าน. (ลูกา 10:25-37) เมื่อถึงเวลาที่พระยะโฮวาจะนำชาวซะมาเรียเข้าสู่ประชาคมคริสเตียน ฟิลิป, เปโตร, และโยฮัน ซึ่งทุกคนเป็นชาวยิวโดยกำเนิด ได้ประกาศแก่ประชากรชาวซะมาเรีย. ข่าวสารของพวกเขาก่อให้เกิดความยินดีเป็นอันมากในเมืองนั้น.—กิจการ 8:4-8, 14-17.
หากเป็นเรื่องยากที่คริสเตียนชาวยิวจะรักชาวซะมาเรียซึ่งที่จริงเป็นญาติห่าง ๆ ของชาวยิว คงต้องเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่านั้นอีกที่พวกเขาจะแสดงความรักฉันเพื่อนบ้านต่อผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิว หรือคนต่างชาติ ซึ่งชาวยิวดูถูกและเกลียดชัง. แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์ อุปสรรคที่ขวางกั้นคริสเตียนชาวยิวกับชาวต่างชาติสามารถถูกขจัดออกไป. (เอเฟโซ 2:13, 14) เพื่อช่วยเปโตรให้ยอมรับการจัดเตรียมใหม่นี้ พระยะโฮวาทรงแสดงนิมิตหนึ่งให้ท่านเห็นซึ่งในนิมิตนั้นพระองค์ทรงมีรับสั่งแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของห้าม.” จากนั้น พระวิญญาณของพระยะโฮวานำท่านไปหาชายต่างชาติซึ่งมีชื่อว่าโกระเนเลียว. เมื่อเปโตรเข้าใจทัศนะของพระเจ้า—ว่าท่านไม่ควรเรียกชายต่างชาติคนนี้ว่าเป็นมลทินเนื่องจากพระเจ้าได้ทรงชำระเขาให้สะอาดแล้ว—ท่านกล่าวภายใต้การดลใจว่า “ข้าพเจ้าเห็นจริงแล้วว่าพระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.” (กิจการ 10:9-35) เปโตรรู้สึกทึ่งสักเพียงไรเมื่อพระเจ้าทรงแสดงให้ท่านเห็นว่าพระองค์ทรงยอมรับโกระเนเลียวและครอบครัวด้วยการเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงบนพวกเขา!
เปาโล—ภาชนะที่ถูกเลือกไว้เพื่อไปหาชาติต่าง ๆ
งานรับใช้ของเปาโลเป็นตัวอย่างเด่นของวิธีที่พระยะโฮวาทรงเตรียมผู้รับใช้ของพระองค์ให้พร้อมยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะรักและช่วยเหลือผู้คนทุกชนิด. ตอนที่เปาโลเปลี่ยนความเชื่อ พระเยซูตรัสว่าเปาโลจะรับใช้เป็นภาชนะที่ถูกเลือกสรรไว้เพื่อนำพระนามของพระองค์ไปยังชาติต่าง ๆ. (กิจการ 9:15) หลังจากนั้น เปาโลไปที่คาบสมุทรอาหรับ อาจเป็นได้ว่าเพื่อคิดรำพึงถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่ทรงใช้ท่านในการประกาศข่าวดีแก่ชาติต่าง ๆ.—ฆะลาเตีย 1:15-17.
กิจการ 13:46-48) พระยะโฮวาทรงอวยพรงานของเปาโล ซึ่งพิสูจน์ว่าท่านอัครสาวกกำลังทำสิ่งต่าง ๆ ตามการจัดเตรียมของพระยะโฮวา. เปาโลแสดงให้เห็นว่าท่านเข้าใจทัศนะของพระยะโฮวาอย่างแท้จริง เมื่อท่านว่ากล่าวแก้ไขเปโตรอย่างกล้าหาญในการที่เปโตรแสดงความลำเอียงด้วยการหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับพี่น้องที่ไม่ใช่ชาวยิว.—ฆะลาเตีย 2:11-14.
ระหว่างการเดินทางในงานมิชชันนารีรอบแรก เปาโลแสดงความกระตือรือร้นอย่างยิ่งในการประกาศแก่คนที่ไม่ใช่ชาวยิว. (หลักฐานมากกว่านั้นที่ว่าพระเจ้าทรงชี้นำความพยายามของเปาโลเห็นได้จากการเดินทางในงานมิชชันนารีรอบที่สอง เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ยับยั้งเปาโลไว้ไม่ให้ประกาศในแคว้นบิทีเนีย (บิตุเนีย) ของโรม. (กิจการ 16:7) ดูเหมือนว่ายังไม่ถึงเวลาอันเหมาะสม. อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมามีชาวบิทีเนียบางคนเข้ามาเป็นคริสเตียน. (1 เปโตร 1:1) ในนิมิต มีชาวมาซิโดเนีย (มากะโดเนีย) คนหนึ่งร้องอ้อนวอนเปาโลว่า “ขอโปรดมาช่วยพวกข้าพเจ้าในเมืองมากะโดเนียเถิด.” เปาโลจึงได้ข้อสรุปว่าท่านควรเปลี่ยนเส้นทางเพื่อประกาศข่าวดีในแคว้นนี้ของโรม.—กิจการ 16:9, 10.
ความสามารถของเปาโลในการปรับตัวถูกทดสอบอย่างหนักเมื่อท่านประกาศแก่ชาวเอเธนส์ (อะเธนาย). กฎหมายกรีกและโรมันห้ามการนำพระของต่างชาติและธรรมเนียมทางศาสนาใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่. ด้วยความรักที่มีต่อผู้คน เปาโลพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับกิจปฏิบัติทางศาสนาของพวกเขา. ท่านสังเกตว่าในเมืองเอเธนส์มีแท่นบูชาแท่นหนึ่งซึ่งมีข้อความสลักไว้ว่า “สำหรับพระเจ้าที่ไม่รู้จัก.” ท่านยกจุดนี้ขึ้นมากล่าวในการให้คำพยานของท่าน. (กิจการ 17:22, 23) นับเป็นวิธีที่ดีจริง ๆ ในการแนะนำข่าวสารอย่างกรุณาและด้วยท่าทีที่แสดงความนับถือ!
เปาโลคงต้องมีความสุขสักเพียงไรเมื่อท่านมองย้อนไปดูผลแห่งการงานของท่านในฐานะอัครสาวกผู้ถูกใช้ให้ไปหาชาติต่าง ๆ! ท่านช่วยก่อตั้งประชาคมต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยคริสเตียนมากมายซึ่งไม่ได้มีเชื้อสายยิวในเมืองโครินธ์ (โกรินโธ), ฟิลิปปี (ฟิลิปปอย), เทสซาโลนีกา (เธซะโลนิเก), และเมืองต่าง ๆ ในแคว้นกาลาเทีย (ฆะลาเตีย). ท่านช่วยชายหญิงหลายคนที่มีความเชื่อ เช่น ดะมารี, ดิโอนุเซียว, เซระเฆียวเปาโล, และติโต. นับเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ที่เห็นผู้คนซึ่งไม่เคยรู้จักพระยะโฮวาหรือคัมภีร์ไบเบิลมาก่อนได้รับเอาโรม 15:20, 21) เราจะมีส่วนร่วมในการประกาศข่าวดีแก่ผู้คนที่มีวัฒนธรรมต่างกับเราได้ไหม?
ความจริงแห่งหลักการคริสเตียน! เกี่ยวด้วยบทบาทของท่านในการช่วยคนที่ไม่ใช่ชาวยิวให้เรียนความจริง เปาโลกล่าวว่า “อันที่จริง ข้าพเจ้าได้ตั้งเป้าไว้อย่างนี้ว่าจะประกาศกิตติคุณในที่ซึ่งยังไม่มีใครออกนามพระคริสต์, . . . แต่เหมือนมีคำเขียนไว้ว่า, ‘ฝ่ายคนเหล่านั้นที่ยังไม่มีใครบอกให้ทราบถึงพระองค์ก็ได้เห็น และเขาเหล่านั้นที่ยังไม่ได้ยินจะได้เข้าใจ.’” (การช่วยชนชาติทั้งสิ้นในโลก
ซะโลโมอธิษฐานถึงพระยะโฮวาเกี่ยวด้วยผู้คนที่ไม่ใช่ชาวอิสราเอลซึ่งจะมานมัสการที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. ท่านวิงวอนดังนี้: “ขอพระองค์ทรงโปรดสดับฟังในมหาสวรรค์ที่สถิตของพระองค์, และทรงกระทำตามสรรพสิ่งซึ่งแขกเมืองนั้นจะได้อธิษฐานต่อพระองค์: เพื่อบรรดาประเทศทั่วพิภพนี้จะได้รู้จักพระนามของพระองค์.” (1 กษัตริย์ 8:41-43) ผู้ประกาศราชอาณาจักรหลายแสนคนในหลายประเทศทุกวันนี้แสดงความรู้สึกคล้าย ๆ กันนี้. พวกเขาพบผู้คนที่คล้ายกับชาวเมืองนีนะเวห์ ซึ่งกล่าวในแง่ฝ่ายวิญญาณได้ว่า ‘ไม่รู้ว่าข้างไหนเป็นมือขวามือซ้าย.’ และผู้ประกาศราชอาณาจักรอยากมีส่วนร่วมในความสำเร็จของคำพยากรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรวบรวมผู้นมัสการแท้จากชาติต่าง ๆ เป็นอันมาก.—ยะซายา 2:2, 3; มีคา 4:1-3.
เช่นเดียวกับที่ผู้คนจากคริสต์ศาสนจักรได้ตอบรับข่าวสารความหวังในคัมภีร์ไบเบิล ผู้คนซึ่งมีภูมิหลังทางศาสนาอื่น ๆ ก็กำลังทำอย่างนั้น. เรื่องนี้น่าจะส่งผลกระทบคุณเป็นส่วนตัวอย่างไร? จงตรวจสอบตัวเองอย่างสัตย์ซื่อ. หากคุณรู้สึกว่าอคติฝังรากลึกในตัวคุณ จงขจัดมันออกไปด้วยความรัก. * อย่าปฏิเสธผู้คนซึ่งพระเจ้าทรงเต็มพระทัยยอมรับ.—โยฮัน 3:16.
จงเตรียมเรื่องไว้ให้พร้อมก่อนจะคุยกับผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน. จงทำความรู้จักคุ้นเคยกับความเชื่อของเขา, เรื่องที่เขาเป็นห่วง, และวิธีคิดของเขา; แล้วหาจุดที่เห็นพ้องกัน. จงสำแดงออกซึ่งความดีและความเมตตาสงสารต่อผู้อื่น. หลีกเลี่ยงการโต้เถียง ยืดหยุ่นและพูดในแง่บวก. (ลูกา 9:52-56) ด้วยการทำอย่างนั้น คุณจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา “ผู้ซึ่งมีพระทัยประสงค์ให้คนทุกชนิดได้ความรอดและบรรลุความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.”—1 ติโมเธียว 2:4, ล.ม.
เรายินดีสักเพียงไรที่มีผู้คนซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างหลากหลายในประชาคมของเรา! (ยะซายา 56:6, 7) ช่างอบอุ่นใจจริง ๆ ที่ได้ยินในตอนนี้ไม่ใช่เฉพาะชื่อที่คุ้นหูอย่าง นารี, บัญชา, สมชาย, และสมศักดิ์ แต่ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่แปลกออกไปอย่าง มามาดู, เจแกน, เรซา, และซิงค์. จริงทีเดียว “ประตูใหญ่ซึ่งนำไปสู่การงานได้เปิดไว้” แก่เราแล้ว. (1 โกรินโธ 16:9, ล.ม.) ขอให้เราใช้โอกาสที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์เพื่อแผ่ขยายคำเชิญซึ่งพระยะโฮวาพระเจ้าผู้ไม่เลือกหน้าลำเอียงทรงเสนอแก่ชนทุกชาติ!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 19 โปรดดูตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 8 กรกฎาคม 1996 หน้า 5-7 “กำแพงซึ่งขวางกั้นการสื่อความ.”
[ภาพหน้า 23]
เปาโลบอกข่าวดีแก่ผู้คนทุกที่โดยการปรับให้เหมาะกับผู้คน
. . . ในเมืองเอเธนส์
. . . ในเมืองฟิลิปปี
. . . ขณะเดินทาง