ผู้สนับสนุนการนมัสการแท้ในอดีตและปัจจุบัน
ผู้สนับสนุนการนมัสการแท้ในอดีตและปัจจุบัน
คุณจำชื่อชายคนหนึ่งซึ่งเคยร้องไห้เนื่องด้วยกรุงเยรูซาเลมโบราณได้ไหม? คุณอาจตอบว่า ‘พระเยซูไงล่ะ’ และพระเยซูก็ได้ทำเช่นนั้นจริง ๆ. (ลูกา 19:28, 41) อย่างไรก็ตาม หลายศตวรรษก่อนพระเยซูมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลก มีผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์อีกคนหนึ่งของพระเจ้าได้ร้องไห้เนื่องด้วยกรุงเยรูซาเลมเช่นกัน. ท่านผู้นี้ชื่อนะเฮมยา.—นะเฮมยา 1:3, 4.
อะไรเป็นเหตุให้นะเฮมยาโศกเศร้าจนถึงกับร้องไห้เนื่องด้วยกรุงเยรูซาเลม? ท่านได้ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของกรุงนั้นและผู้อาศัยอยู่ที่นั่น? และเราจะเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของท่าน? เพื่อได้คำตอบ ขอเราทบทวนเหตุการณ์บางอย่างในสมัยของท่าน.
บุรุษที่มีความรู้สึกแรงกล้าและลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดเดี่ยว
นะเฮมยาถูกแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการของกรุงเยรูซาเลม แต่ก่อนหน้านั้น ท่านเป็นข้าราชการตำแหน่งสูงในราชสำนักเปอร์เซียที่กรุงซูซัร. กระนั้น ชีวิตที่สะดวกสบายก็มิได้ทำให้ท่านมีความห่วงใยน้อยลงต่อสวัสดิภาพของพี่น้องชาวยิวซึ่งอยู่ในกรุงเยรูซาเลมที่ห่างไกล. ที่จริง สิ่งแรกที่ท่านทำเมื่อตัวแทนของชาวยิวจากกรุงเยรูซาเลมมาเยือนกรุงซูซัรคือ “ไต่ถามถึงพวกยูดาที่
นะเฮมยา 1:2) เมื่อผู้มาเยือนตอบว่า ผู้คนในกรุงเยรูซาเลม “มีความทุกข์ยาก . . . นัก” และบอกว่ากำแพงเมือง “ก็หักพัง” นะเฮมยา “ได้นั่งลงร้องไห้เป็นทุกข์โศกเศร้าหลายวัน.” หลังจากนั้นท่านได้แสดงความรู้สึกโศกเศร้าด้วยการอธิษฐานอย่างจริงใจถึงพระยะโฮวา. (นะเฮมยา 1:3-11) ทำไมนะเฮมยาจึงโศกเศร้าเหลือเกิน? เพราะกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางแห่งการนมัสการพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลก และได้ถูกปล่อยปละละเลย. (1 กษัตริย์ 11:36) นอกจากนี้ สภาพของเมืองที่ปรักหักพังเป็นการสะท้อนให้เห็นสภาพฝ่ายวิญญาณที่ย่ำแย่ของชาวเมืองนั้น.—นะเฮมยา 1:6, 7.
ได้รอดพ้นไปนั้น, กับได้ถามถึงคนทั้งปวงที่เหลืออยู่จากเหล่าคนที่ต้องถูกกวาดเอาไปเป็นเชลย, และได้ถามถึงกรุงยะรูซาเลมด้วย.” (ความห่วงใยที่นะเฮมยามีต่อกรุงเยรูซาเลมและความเมตตาสงสารที่ท่านมีต่อชาวยิวซึ่งอยู่ที่นั่นได้กระตุ้นท่านให้เสนอตัวเองที่จะไปช่วยเหลือ. ทันทีที่กษัตริย์เปอร์เซียทรงอนุญาตให้ท่านลาพักจากหน้าที่ นะเฮมยาเริ่มวางแผนการเดินทางไกลไปกรุงเยรูซาเลม. (นะเฮมยา 2:5, 6) ท่านต้องการอุทิศพลัง, เวลา, และทักษะต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานซ่อมแซมที่จำเป็น. ภายในไม่กี่วันที่มาถึง ท่านก็มีแผนการอยู่แล้วในการซ่อมแซมกำแพงทั้งหมดของกรุงเยรูซาเลม.—นะเฮมยา 2:11-18.
นะเฮมยาได้แบ่งงานที่ใหญ่โตในการซ่อมแซมกำแพงให้กับครอบครัวต่าง ๆ หลายครอบครัว ซึ่งทั้งหมดทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กัน. * มีกลุ่มต่าง ๆ มากกว่า 40 กลุ่มถูกมอบหมายให้ซ่อมแซมกลุ่มละหนึ่ง “ส่วน.” ผลเป็นประการใด? โดยที่คนงานมากมาย รวมทั้งบิดามารดาพร้อมกับบุตร อุทิศเวลาและกำลังของตน งานหนักที่ดูเหมือนมีอยู่ล้นมือก็กลายเป็นงานที่สำเร็จลุล่วงได้. (นะเฮมยา 3:11, 12, 19, 20) ภายในสองเดือนที่มีงานเต็มมือ กำแพงทั้งสิ้นก็ซ่อมเสร็จ! นะเฮมยาได้เขียนว่าแม้แต่คนเหล่านั้นที่ได้ต่อต้านงานซ่อมแซมก็ต้องจำใจยอมรับว่า “การนี้เป็นมาแต่พระเจ้า.”—นะเฮมยา 6:15, 16.
ตัวอย่างที่พึงจดจำ
นะเฮมยาไม่เพียงให้เวลาและใช้ทักษะของท่านในด้านการจัดระเบียบเท่านั้น. ท่านยังใช้วัตถุปัจจัยของท่านเพื่อสนับสนุนการนมัสการแท้ด้วย. ท่านได้ใช้เงินของตนเองเพื่อซื้อพี่น้องชาวยิวคืนจากการเป็นทาส. ท่านให้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย. ท่านไม่เคย “เบียดเบียน” ชาวยิวโดยการเรียกร้องเอาเงินอุดหนุนในฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านมีสิทธิ์ได้รับ. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท่านเปิดบ้านอยู่เสมอเพื่อเลี้ยงดู “คนหนึ่งร้อยห้าสิบ . . . และ . . . บรรดาผู้ที่มาอยู่กับเราทั้งหลายจากประชาชาติผู้ซึ่งอยู่รอบเรา.” แต่ละวันท่านได้จัดเตรียม “วัวตัวหนึ่งและแกะที่คัดเลือกแล้วหกตัว [และ] เป็ดไก่” ไว้สำหรับแขกของท่าน. นอกจากนี้ ทุก ๆ สิบวันท่านได้ให้ “เหล้าองุ่นมากมายหลายถุงหนัง” แก่พวกเขา ซึ่งทั้งหมดนี้ท่านออกค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง.—นะเฮมยา 5:8, 10, 14-18, ฉบับแปลใหม่.
นะเฮมยาได้วางตัวอย่างที่โดดเด่นอะไรเช่นนี้ในเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สำหรับผู้รับใช้ทุกคนของพระเจ้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน! ผู้รับใช้ที่กล้าหาญคนนี้ของพระเจ้าได้ใช้วัตถุปัจจัยของตนอย่างใจกว้างด้วยความเต็มใจเพื่อเกื้อหนุนผู้ที่ทำงานเพื่อจะส่งเสริมการนมัสการแท้. นับว่าเหมาะสม ท่านสามารถทูลขอพระยะโฮวาว่า “โอ้พระเจ้าข้า, ขอพระองค์ทรงระลึกถึงข้าพเจ้าตามความดีที่ข้าพเจ้าได้กระทำแก่พลไพร่ทั้งปวงนี้.” (นะเฮมยา 5:19) แน่นอนพระยะโฮวาจะทรงทำเช่นนั้นทีเดียว.—เฮ็บราย 6:10.
มีการติดตามตัวอย่างของนะเฮมยาในปัจจุบัน
เป็นเรื่องทำให้อบอุ่นใจที่เห็นว่าไพร่พลของพระยะโฮวาในปัจจุบันแสดงความรู้สึกรักใคร่, ความเต็มใจที่จะลงมือปฏิบัติ, และมีเจตคติแบบเสียสละตัวเองคล้ายกันเพื่อผลประโยชน์ของการนมัสการแท้. เมื่อเราได้ยินว่าเพื่อนร่วมความเชื่อประสบความยากลำบาก เรารู้สึกห่วงใยอย่างยิ่งในสวัสดิภาพของพวกเขา. (โรม 12:15) เช่นเดียวกับนะเฮมยา เราเข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐานเพื่อสนับสนุนพี่น้องร่วมความเชื่อของเราที่เป็นทุกข์ ทูลขอพระองค์ว่า “ขอได้ทรงเงี่ยพระโสตทรงโปรดสดับฟังคำอ้อนวอนของข้าพเจ้าผู้ทาสของพระองค์, ทั้งคำอ้อนวอนแห่งผู้ทาส อื่น ๆ ทั้งปวงทุกคนที่ยอมเกรงกลัวพระนามของพระองค์.”—นะเฮมยา 1:11; โกโลซาย 4:2.
อย่างไรก็ดี ความห่วงใยที่เรามีต่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณและฝ่ายร่างกายของพี่น้องคริสเตียนและต่อความก้าวหน้าของการนมัสการแท้มีผลกระทบไม่เพียงต่อความรู้สึกของเราเท่านั้น. ความห่วงใยดังกล่าวยังกระตุ้นเราให้ลงมือปฏิบัติด้วย. เหมือนกับนะเฮมยา คนเหล่านั้นที่สภาพการณ์ในชีวิตเอื้ออำนวยได้รับการกระตุ้นจากความรักให้ละทิ้งสภาพค่อนข้างสะดวกสบายที่บ้านเกิดของตน แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คนเหล่านั้นที่มีความจำเป็น. สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ค่อยสะดวกสบายซึ่งอาสาสมัครดังกล่าวอาจเผชิญในบางภูมิภาคของโลกก็มิได้เป็นอุปสรรคขัดขวาง พวกเขาสนับสนุนความก้าวหน้าแห่งการนมัสการแท้ที่นั่น รับใช้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องคริสเตียนของตน. น้ำใจเสียสละตัวเองที่พวกเขาแสดงออกนั้นเป็นเรื่องน่าชมเชยอย่างแท้จริง.
การทำส่วนของเราในท้องถิ่นที่เราอยู่
เป็นที่เข้าใจว่า พวกเราส่วนใหญ่ไม่สามารถย้ายไปที่อื่น. เราสนับสนุนการนมัสการแท้ในท้องถิ่นที่เราอยู่. มีการแสดงให้เห็นเรื่องนี้ในพระธรรมนะเฮมยาด้วย. โปรดสังเกตรายละเอียดที่นะเฮมยาได้ให้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบางครอบครัวที่ซื่อสัตย์ซึ่งได้มีส่วนร่วมในงานซ่อมแซม. ท่านได้เขียนว่า “ยะดียะดาบุตรชายของฮะรูมัพ, ได้สร้างส่วนที่อยู่ตรงหน้าบ้านเรือนของตน . . . เบ็นยามินกับอาซูบได้สร้างที่ตรงหน้าบ้านของตน. ถัดนั้นไปอีกอะซาระยาบุตรชายของมาเซยา ๆ เป็นบุตรชายของอะนันยาเป็นผู้สร้างตรงที่หน้าบ้านนะเฮมยา 3:10, 23, 28-30) ผู้ชายเหล่านั้นกับครอบครัวของพวกเขาได้มีส่วนสนับสนุนอย่างมากมายต่อความก้าวหน้าของการนมัสการแท้โดยการทำส่วนของตนในงานซ่อมแซมที่อยู่ใกล้บ้าน.
ของตน.” (ปัจจุบัน พวกเราหลายคนสนับสนุนการนมัสการแท้ในท้องถิ่นของเราเองในหลากหลายวิธี. เรามีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างหอประชุม, งานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และสำคัญที่สุดคือ งานประกาศราชอาณาจักร. นอกจากนี้ ไม่ว่าเราสามารถมีส่วนร่วมด้วยตัวเองในการก่อสร้างหรือในงานบรรเทาทุกข์หรือไม่ก็ตาม เราทุกคนมีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะสนับสนุนการนมัสการแท้ด้วยวัตถุปัจจัยของเราเหมือนกับนะเฮมยาได้ทำอย่างใจกว้างในสมัยของท่าน.—โปรดดูกรอบ “ลักษณะพิเศษของการให้ด้วยใจสมัคร.”
การหาเงินทุนที่จำเป็นเพื่อใช้จ่ายสำหรับกิจการด้านการพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้น, งานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์, และการรับใช้อื่น ๆ หลายอย่างที่ทำกันอยู่ทั่วโลกบางครั้งอาจดูเหมือนมีมากมายมหาศาล. อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่างานซ่อมแซมกำแพงที่ใหญ่โตของกรุงเยรูซาเลมก็ดูเหมือนมีมากมายก่ายกองด้วย. (นะเฮมยา 4:10) กระนั้น เนื่องจากมีการแบ่งงานกันในระหว่างหลายครอบครัวที่มีความเต็มใจ งานจึงสำเร็จลุล่วง. ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน มีทางเป็นไปได้ที่จะหาทรัพยากรมากมายที่จำเป็นเพื่อให้กิจการงานทั่วโลกดำเนินไปจนสำเร็จถ้าเราแต่ละคนเอาใจใส่ส่วนหนึ่งของงานต่อ ๆ ไป.
กรอบ “วิธีต่าง ๆ ที่บางคนเลือกใช้ในการให้” แสดงถึงหลายวิธีที่เราสามารถสนับสนุนงานราชอาณาจักรทางด้านการเงิน. ระหว่างปีที่ผ่านไป หลายคนในท่ามกลางไพร่นะเฮมยา 2:18.
พลของพระเจ้าได้ให้การสนับสนุนดังกล่าว และคณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาใคร่จะถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อทุกคนที่ได้รับการกระตุ้นจากหัวใจให้มีส่วนร่วมในการให้ด้วยใจสมัครนี้. ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด เราขอบพระคุณพระยะโฮวาสำหรับพระพรอันอุดมของพระองค์ที่อยู่เหนือความพยายามอย่างสุดหัวใจของไพร่พลของพระองค์ในการส่งเสริมการนมัสการแท้ตลอดทั่วโลก. ถูกแล้ว เมื่อเราไตร่ตรองดูวิธีที่พระหัตถ์ของพระยะโฮวาได้ชี้นำเราตลอดหลายปี เราถูกกระตุ้นให้กล่าวซ้ำคำพูดของนะเฮมยาผู้ซึ่งกล่าวด้วยความขอบพระคุณว่า “พระหัตถ์พระเจ้าของข้าพเจ้าได้ทรงสถิตอยู่กับข้าพเจ้าและทรงสำแดงคุณแก่ข้าพเจ้าอย่างไรบ้าง.”—[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 นะเฮมยา 3:5 ให้ข้อสังเกตว่าชาวยิวที่มีชื่อเสียง คือ “เจ้านาย” บางคนไม่ยอมมีส่วนร่วมในงานนั้น แต่ก็เฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่ปฏิเสธ. ผู้คนจากภูมิหลังที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นปุโรหิต, ช่างทอง, ช่างผสมขี้ผึ้ง, พวกเจ้าชาย, พ่อค้า ทั้งหมดล้วนสนับสนุนโครงการนี้.—ข้อ 1, 8, 9, 32.
[กรอบ/ภาพหน้า 28, 29]
วิธีต่าง ๆ ที่บางคนเลือกใช้ในการให้
บริจาคสำหรับงานทั่วโลก
หลายคนกันเงินหรือจัดงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งซึ่งเขาจะใส่ในกล่องบริจาคที่ติดป้ายว่า “เงินบริจาคสำหรับงานประกาศข่าวดีทั่วโลก—มัดธาย 24:14.”
แต่ละเดือน ประชาคมต่าง ๆ จะส่งเงินเหล่านั้นไปยังสำนักงานกลางของพยานพระยะโฮวา หรือไม่ก็ส่งถึงสำนักงานสาขาในประเทศ. เงินบริจาคโดยสมัครใจอาจส่งตรงถึงแผนกเหรัญญิกโดยจ่าหน้าถึง Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania, 25 Columbia Heights, Brooklyn, New York 11201-2483 หรือถึงสำนักงานสาขาซึ่งดำเนินงานในประเทศคุณ. อาจบริจาคอัญมณีหรือของมีค่าอื่น ๆ ได้ด้วย. ควรแนบจดหมายสั้น ๆ ไปกับของบริจาคโดยระบุว่าเป็นของที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
การบริจาคแบบมีเงื่อนไข
อาจบริจาคเงินโดยมีข้อตกลงพิเศษว่าจะคืนเงินให้ผู้บริจาคหากผู้บริจาคมีความจำเป็น. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อแผนกเหรัญญิกตามที่อยู่ข้างต้น.
การให้แบบเตรียมการ
นอกจากสิ่งที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไขและการบริจาคเงินแบบมีเงื่อนไขแล้ว ยังมีวิธีการให้แบบอื่นอีกเพื่อประโยชน์แก่งานราชอาณาจักรทั่วโลก. วิธีให้เหล่านี้รวมถึง:
เงินประกัน: อาจระบุชื่อสมาคมว็อชเทาเวอร์ [ในประเทศไทย: มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์] ให้เป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินบำเหน็จบำนาญ.
บัญชีเงินฝาก: บัญชีเงินฝาก, ใบรับเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้, หรือบัญชีเงินบำนาญส่วนบุคคลอาจมอบไว้ในความดูแลของสมาคมว็อชเทาเวอร์ หรือให้สมาคมฯ เบิกได้เมื่อเจ้าของบัญชีสิ้นชีวิต โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารท้องถิ่น.
หุ้นและพันธบัตร: อาจบริจาคหุ้นและพันธบัตรแก่สมาคมว็อชเทาเวอร์ด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
อสังหาริมทรัพย์: อสังหาริมทรัพย์ที่สามารถขายได้ก็อาจบริจาคแก่สมาคมว็อชเทาเวอร์ ไม่ว่าด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข หรือโดยการสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้บริจาคซึ่งจะอาศัยในบ้านหรือที่ดินนั้นจนสิ้นชีวิต. ควรติดต่อกับสำนักงานสาขาในประเทศของคุณก่อนจะทำการโอนอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ.
พินัยกรรม: อาจยกทรัพย์สินหรือเงินให้แก่สมาคมว็อชเทาเวอร์ [หรือมูลนิธิฯ] ด้วยการทำพินัยกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย.
ตามความหมายของสำนวนที่ว่า “การให้แบบเตรียมการ” ผู้บริจาคตามวิธีเหล่านี้คงต้องวางแผนอยู่บ้าง. เพื่อช่วยผู้ซึ่งประสงค์จะสนับสนุนงานทั่วโลกของพยานพระยะโฮวาโดยการให้แบบเตรียมการบางประเภทนั้น จึงมีการจัดเตรียมจุลสารเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสเปนชื่อการให้แบบเตรียมการเพื่องานราชอาณาจักรทั่วโลก. จุลสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบคำถามหลายข้อที่ได้รับเกี่ยวกับการบริจาคและพินัยกรรม. จุลสารนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์, การเงิน, และภาษีอีกด้วย. จุลสารนี้ชี้แจงให้แต่ละบุคคลทราบถึงวิธีต่าง ๆ ที่อาจบริจาคได้ไม่ว่าในเวลานี้หรือจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เมื่อตนเสียชีวิต. จะรับจุลสารนี้ได้โดยเขียนไปขอโดยตรงจากแผนกการให้แบบเตรียมการ.
หลังจากอ่านจุลสารนี้แล้วและปรึกษาแผนกการให้แบบเตรียมการ หลายคนจึงสามารถสนับสนุนพยานพระยะโฮวาทั่วโลก และขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องการเสียภาษี. ควรส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมเหล่านี้และแจ้งให้แผนกการให้แบบเตรียมการทราบ. ถ้าคุณสนใจการจัดเตรียมเรื่องการให้แบบเตรียมการประเภทใดประเภทหนึ่ง คุณควรเขียนหรือโทรศัพท์ถึงแผนกการให้แบบเตรียมการตามที่อยู่ข้างล่างนี้ หรือติดต่อสำนักงานของพยานพระยะโฮวาซึ่งดำเนินงานในประเทศของคุณ.
มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์
ตู้ ปณ. 7 คลองจั่น กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์: 0-2375-2200
[กรอบหน้า 30]
ลักษณะพิเศษของการให้ด้วยใจสมัคร
ในจดหมายถึงชาวโครินท์ (โกรินโธ) อัครสาวกเปาโลได้กล่าวถึงลักษณะพิเศษที่สำคัญสามประการของการให้ด้วยใจสมัคร. (1) เมื่อเขียนเรื่องการเรี่ยไรเงิน เปาโลได้สั่งว่า “ทุกวันอาทิตย์ให้พวกท่านทุกคนเก็บเงินผลประโยชน์ที่ได้ไว้บ้าง.” (1 โกรินโธ 16:2ก) ด้วยเหตุนี้ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการให้ และต้องทำเช่นนั้นอย่างเป็นระบบ. (2) เปาโลได้เขียนด้วยว่าแต่ละคนควรให้ “ตามรายได้ของเขา.” (1 โกรินโธ 16:2ข, ฉบับแปลนิว อินเตอร์แนชันแนล) กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการให้ด้วยใจสมัครสามารถทำเช่นนั้นได้ตามสัดส่วน. ถึงแม้คริสเตียนมีรายได้ไม่มากนัก พระยะโฮวาทรงถือว่าเงินจำนวนเล็กน้อยที่เขาอาจบริจาคนั้นมีค่า. (ลูกา 21:1-4) (3) เปาโลเขียนต่อไปอีกว่า “ให้แต่ละคนทำอย่างที่เขาได้มุ่งหมายไว้ในหัวใจ มิใช่ด้วยฝืนใจหรือถูกบังคับ ด้วยว่าพระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยใจยินดี.” (2 โกรินโธ 9:7, ล.ม.) คริสเตียนที่จริงใจให้อย่างที่ออกมาจากหัวใจ ด้วยความยินดี.
[ภาพหน้า 26]
นะเฮมยาเป็นบุรุษที่มีความรู้สึกแรงกล้าและลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดเดี่ยว
[ภาพหน้า 30]
การบริจาคด้วยใจสมัครสนับสนุนงานพิมพ์, งานบรรเทาทุกข์, งานก่อสร้างหอประชุม, และงานรับใช้อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ตลอดทั่วโลก