การศึกษาส่วนตัวที่เตรียมเราให้เป็นครูที่มีความสามารถ
การศึกษาส่วนตัวที่เตรียมเราให้เป็นครูที่มีความสามารถ
“จงไตร่ตรองสิ่งเหล่านี้ จงฝังตัวในสิ่งเหล่านี้ เพื่อความก้าวหน้าของท่านจะได้ปรากฏแจ้งแก่คนทั้งปวง. จงเอาใจใส่ตัวท่านและการสอนของท่านอยู่เสมอ.”—1 ติโมเธียว 4:15, 16, ล.ม.
1. อะไรคือความเป็นจริงเกี่ยวกับเวลาและการศึกษาส่วนตัว?
“มีเวลากำหนดสำหรับทุกสิ่ง” คัมภีร์ไบเบิลกล่าวข้อความนี้ไว้ที่ท่านผู้ประกาศ 3:1 (ล.ม.). ข้อนี้เป็นความจริงอย่างแน่นอนในเรื่องการศึกษาส่วนตัว. หลายคนพบว่ายากที่จะไตร่ตรองสิ่งฝ่ายวิญญาณหากอยู่ในสถานที่และเวลาที่ไม่เหมาะสม. ตัวอย่างเช่น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการงานมาทั้งวัน หรือหลังจากกินอาหารมื้อเย็นอย่างเต็มอิ่ม คุณรู้สึกอยากจะศึกษาไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเอนกายอยู่บนโซฟานุ่ม ๆ ตัวโปรดหน้าจอทีวี? คงจะไม่. ถ้าอย่างนั้น อะไรคือวิธีแก้? เห็นได้ชัดว่าเราต้องเลือกเวลาและสถานที่สำหรับการศึกษาเพื่อจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเพียรพยายามของเรา.
2. บ่อยครั้ง ช่วงเวลาไหนดีที่สุดสำหรับการศึกษาส่วนตัว?
2 หลายคนพบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนในการศึกษาคือตอนเช้าตรู่ เพราะเป็นเวลาที่ปกติแล้วความคิดของพวกเขาแจ่มใสมากที่สุด. ส่วนคนอื่น ๆ ใช้ตอนพักกลางวันเพื่อศึกษาในช่วงสั้น ๆ. ขอให้สังเกตการกล่าวถึงเวลาสำหรับกิจกรรมที่สำคัญฝ่ายวิญญาณในตัวอย่างต่อไปนี้. กษัตริย์ดาวิดแห่งอิสราเอลโบราณเขียนว่า “ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้าได้ยินพระกรุณาของพระองค์เมื่อเวลารุ่งเช้า; เพราะข้าพเจ้าวางใจบทเพลงสรรเสริญ 143:8) ผู้พยากรณ์ยะซายาแสดงความหยั่งรู้ค่าต่อการศึกษาในทำนองเดียวกันเมื่อท่านกล่าวว่า “พระยะโฮวาพระผู้เป็นเจ้าองค์บรมมหิศรเองได้ทรงประทานลิ้นของคนที่ได้รับการสั่งสอนแก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะรู้วิธีตอบคนที่เหนื่อยล้าด้วยถ้อยคำ. พระองค์ทรงปลุกทุก ๆ เช้า; พระองค์ทรงปลุกหูของข้าพเจ้าให้ฟังเหมือนคนที่ได้รับการสอน.” จุดสำคัญคือว่าเราจำเป็นต้องศึกษาและสื่อความกับพระยะโฮวาเป็นส่วนตัวในเวลาที่เรามีความคิดแจ่มใส ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนของวัน.—ยะซายา 50:4, 5, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 5:3; 88:13.
พึ่งในพระองค์: ขอโปรดข้าพเจ้าให้รู้จักมรคาที่ข้าพเจ้าควรจะดำเนิน; เพราะข้าพเจ้าได้ทูลถวายจิตต์วิญญาณของข้าพเจ้าแก่พระองค์.” (3. สภาพแวดล้อมเช่นไรนับว่าจำเป็นเพื่อให้การศึกษาบังเกิดผล?
3 ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้การศึกษาบังเกิดผลคือเราไม่ควรเลือกนั่งศึกษาบนเก้าอี้นวมหรือโซฟาตัวที่นุ่มสบายที่สุด. นั่นไม่ใช่วิธีที่จะช่วยให้ตื่นตัวอยู่เสมอ. ขณะที่เรากำลังศึกษา ความคิดของเราต้องได้รับการกระตุ้น และความรู้สึกสบายเกินไปดูเหมือนว่าจะก่อให้เกิดผลในทางตรงข้าม. นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่สงบเงียบพอควรและไม่มีสิ่งที่ทำให้เขวก็นับว่าจำเป็นสำหรับการศึกษาและการคิดรำพึงเช่นกัน. การพยายามที่จะศึกษาพร้อมกับเปิดวิทยุ, ทีวี, หรือมีเด็ก ๆ ที่เรียกร้องความสนใจจากคุณคงจะไม่ทำให้เกิดผลดีที่สุด. เมื่อพระเยซูประสงค์ที่จะคิดรำพึง พระองค์เสด็จไปยังที่สงบเงียบ. พระองค์ยังตรัสถึงความสำคัญของการหาสถานที่เป็นส่วนตัวสำหรับการอธิษฐานด้วย.—มัดธาย 6:6; 14:13; มาระโก 6:30-32.
การศึกษาส่วนตัวที่เตรียมเราไว้พร้อมที่จะตอบคำถาม
4, 5. อะไรทำให้จุลสารเรียกร้อง เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดีจริง ๆ เพื่อช่วยในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
4 การศึกษาส่วนตัวทำให้เรารู้สึกอิ่มใจพอใจเมื่อเราใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจคัมภีร์ไบเบิลที่มีอยู่หลากหลายเพื่อขุดลึกมากขึ้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราทำเช่นนั้นเพื่อตอบคำถามของคนที่ถามด้วยความจริงใจ. (1 ติโมเธียว 1:4, ล.ม.; 2 ติโมเธียว 2:23, ล.ม.) คนใหม่ ๆ หลายคนเริ่มต้นศึกษาโดยใช้จุลสารพระผู้สร้างทรงเรียกร้องอะไรจากเรา? * ซึ่งปัจจุบันมีใน 261 ภาษา. เนื้อหาในจุลสารนี้อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก อ่านเข้าใจง่ายแต่ก็ตรงจุด. จุลสารดังกล่าวช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่าอะไรคือข้อเรียกร้องของพระเจ้าสำหรับการนมัสการแท้. อย่างไรก็ตาม รูปแบบของจุลสารทำให้ไม่มีเนื้อที่เพื่อจะพิจารณาแต่ละเรื่องได้อย่างละเอียด. ถ้านักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลของคุณยกคำถามที่เขาอยากรู้จริง ๆ ขึ้นมาในเรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลที่มีการ พิจารณาอยู่นั้น เราจะช่วยเขาให้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากพระคัมภีร์เพื่อตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างไร?
5 สำหรับผู้ที่มีแผ่นซีดีรอมห้องสมุดว็อชเทาเวอร์ ในภาษาของตนเอง ก็ไม่ยากที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายโดยใช้คอมพิวเตอร์. แต่จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่ไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้? ขอให้เราตรวจสอบสักสองหัวเรื่องที่มีการพิจารณาในจุลสารเรียกร้อง เพื่อให้เห็นวิธีที่เราสามารถเพิ่มพูนความเข้าใจของเราและสามารถตอบคำถามได้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ถามว่า ใครคือพระเจ้า? และจริง ๆ แล้วพระเยซูเป็นบุคคลชนิดใด?—เอ็กโซโด 5:2; ลูกา 9:18-20; 1 เปโตร 3:15.
ใครคือพระเจ้า?
6, 7. (ก) เกิดคำถามอะไรขึ้นเกี่ยวกับพระเจ้า? (ข) นักเทศน์คนหนึ่งได้ทำอะไรผิดพลาดไปอย่างร้ายแรงในคำบรรยายของเขา?
6 บทเรียน 2 ของจุลสารเรียกร้อง ตอบคำถามที่สำคัญมากที่ว่า ใครคือพระเจ้า? นี่เป็นหลักคำสอนพื้นฐานที่สำคัญเนื่องจากไม่มีใครจะสามารถนมัสการพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ได้หากเขาไม่รู้จักพระองค์หรือสงสัยการดำรงอยู่ของพระองค์. (โรม 1:19, 20; เฮ็บราย 11:6) ถึงกระนั้น ผู้คนตลอดทั่วโลกมีแนวความคิดที่แตกต่างกันมากมายในเรื่องที่ว่าใครคือพระเจ้า. (1 โกรินโธ 8:4-6) แต่ละศาสนามีความเชื่อที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของพระเจ้า. ในคริสต์ศาสนจักร คริสตจักรส่วนใหญ่ถือว่าพระเจ้าเป็นตรีเอกานุภาพ. นักเทศน์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในสหรัฐได้ให้คำบรรยายในหัวเรื่องที่ว่า “คุณรู้จักพระเจ้าไหม?” แต่ไม่มีสักครั้งเดียวในคำบรรยายที่เขาเอ่ยถึงพระนามของพระเจ้า แม้ว่าเขายกข้อความจากพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูขึ้นมากล่าวหลายครั้ง. แน่ล่ะ เขาอ่านจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลที่ใช้คำ “องค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งมีความหมายได้หลายแง่และไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นใคร แทนที่จะใช้คำยะโฮวา, เยโฮวาห์, หรือยาห์เวห์.
7 นักเทศน์คนนั้นพลาดจุดสำคัญอะไรไปเมื่อเขายกข้อความจากยิระมะยา 31:33, 34 (ฉบับแปลใหม่) มากล่าวที่ว่า “ทุกคนจะไม่สอนเพื่อนบ้านของตน และพี่น้องของตนแต่ละคนอีกว่า ‘จงรู้จักพระเจ้า’ [ฮีบรู, ‘รู้จักพระยะโฮวา’] เพราะเขาทั้งหลายจะรู้จักเราหมดตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดถึงคนใหญ่โตที่สุด พระเจ้า [ฮีบรู, พระยะโฮวา] ตรัสดังนี้แหละ.” ฉบับแปลที่เขาใช้ไม่มีพระนามเฉพาะของพระเจ้าคือยะโฮวา.—บทเพลงสรรเสริญ 103:1, 2.
8. ตัวอย่างอะไรที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พระนามของพระเจ้า?
8 บทเพลงสรรเสริญ 8:9 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าทำไมการใช้พระนามของพระยะโฮวาจึงมีความสำคัญมาก ดังนี้: “ข้าแต่พระยะโฮวา, องค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพเจ้า, พระนามของพระองค์ประเสริฐยิ่งทั่วโลกสักเท่าใด!” ขอให้เทียบข้อความนั้นกับ “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า, องค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพเจ้า, พระนามของพระองค์ประเสริฐยิ่งทั่วแผ่นดินโลก!” (ฉบับแปลคิงเจมส์, เทียบดูฉบับแปลใหม่ด้วย) ถึงกระนั้น ดังที่กล่าวไปในบทความก่อน เราจะได้รับ “ความรู้ของพระเจ้า” ถ้าเรายอมให้พระคำของพระองค์ฉายความสว่างฝ่ายวิญญาณแก่เรา. แต่คู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิลชิ้นไหนที่จัดเตรียมไว้พร้อมสำหรับตอบคำถามเกี่ยวกับความสำคัญของพระนามของพระเจ้า?—สุภาษิต 2:1-6.
9. (ก) เราอาจใช้สิ่งพิมพ์อะไรเพื่อช่วยอธิบายถึงความสำคัญของการใช้พระนามของพระเจ้า? (ข) โดยวิธีใดที่ผู้แปลพระคัมภีร์หลายคนไม่ได้แสดงความนับถือต่อพระนามของพระเจ้า?
9 เราอาจใช้ประโยชน์จากจุลสารพระนามของพระเจ้าซึ่งจะคงอยู่ตลอดกาล ซึ่งแปลไปแล้วใน 69 ภาษา. * ตอนที่มีชื่อว่า “พระนามของพระเจ้า—ความหมายและการออกเสียง” (หอสังเกตการณ์ 15 กุมภาพันธ์ 1987 หน้า 26-31) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพยัญชนะฮีบรูสี่ตัวที่เป็นพระนามของพระเจ้า (เรียกกันในภาษากรีกว่า “เททรากรัมมาทอน” ซึ่งมีความหมายว่า “อักษรสี่ตัว”) ปรากฏอยู่ในสำเนาพระคัมภีร์ฮีบรูโบราณเกือบ 7,000 ครั้ง. กระนั้น นักเทศน์นักบวชและผู้แปลพระคัมภีร์ในศาสนายูดาห์และคริสต์ศาสนจักรได้จงใจตัดเอาพระนามนั้นออกจากพระคัมภีร์ฉบับแปลส่วนใหญ่ของพวกเขา. * พวกเขาจะอ้างได้อย่างไรว่ารู้จักพระเจ้าและมีสายสัมพันธ์กับพระองค์ในแบบที่พระองค์ทรงยอมรับหากพวกเขาปฏิเสธที่จะเรียกพระองค์ด้วยพระนามนั้น? พระนามแท้ของพระองค์ไขไปสู่ความเข้าใจในพระประสงค์ของพระองค์และทำให้เข้าใจว่าพระองค์คือใคร. ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนหนึ่งของคำอธิษฐานแบบอย่างของพระเยซูที่ว่า “พระบิดาแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์. ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์” จะมีความหมายอะไร ถ้าไม่มีแม้แต่การใช้พระนามของพระเจ้า?—มัดธาย 6:9; โยฮัน 5:43; 17:6.
พระเยซูคริสต์คือใคร?
10. โดยทางใดบ้างที่เราจะได้ภาพที่ครบถ้วนเกี่ยวกับชีวิตและงานรับใช้ของพระเยซู?
10 บทเรียน 3 ในจุลสารเรียกร้อง มีชื่อเรื่องว่า “พระเยซูคริสต์คือใคร?” เพียงหกข้อของบทเรียนนี้ก็ให้ข้อมูลพอสังเขปเกี่ยวกับพระเยซู, ต้นกำเนิดของพระองค์, และจุดประสงค์ที่พระองค์มายังแผ่นดินโลก. อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการเรื่องราวที่ครบถ้วนเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ นอกเหนือจากเรื่องราวที่บันทึกอยู่ในพระธรรมกิตติคุณเองแล้ว ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าหนังสือบุรุษผู้ใหญ่ยิ่งเท่าที่โลกเคยเห็น ซึ่งปัจจุบันมีใน 104 ภาษา. * หนังสือนี้เสนอเรื่องราวชีวิตและการสั่งสอนของพระเยซูตามลำดับเวลาโดยอาศัยเนื้อหาจากพระธรรมกิตติคุณทั้งสี่. 133 บทของหนังสือนี้ครอบคลุมเหตุการณ์ชีวิตและงานรับใช้ทั้งสิ้นของพระเยซู. สำหรับเรื่องราวของพระเยซูอย่างละเอียดในแนวที่ต่างออกไป คุณจะพบได้จากหนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจ เล่ม 2 ภายใต้หัวข้อ “พระเยซูคริสต์” และหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ บท 4.
11. (ก) พยานพระยะโฮวาแตกต่างจากคนอื่นตรงไหนในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับพระเยซู? (ข) มีข้อคัมภีร์ข้อใดบ้างที่พิสูจน์อย่างชัดเจนว่าคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพไม่ถูกต้อง และมีสิ่งพิมพ์อะไรที่เป็นประโยชน์มากในเรื่องนี้?
11 ในคริสต์ศาสนจักร ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับพระเยซูรวมจุดอยู่ที่ว่าพระองค์เป็นทั้ง “พระบุตรของพระเจ้า” และ “พระเจ้าในฐานะพระบุตร” หรือไม่—กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ มีการถกเถียงกันในสิ่งที่หนังสือคู่มือถามตอบเกี่ยวกับข้อเชื่อของคริสตจักรคาทอลิก (ภาษาอังกฤษ) เรียกว่าเป็น “ข้อลึกลับอันสำคัญที่สุดของความเชื่อฝ่ายคริสเตียน” ซึ่งก็คือเรื่องตรีเอกานุภาพนั่นเอง. ไม่เหมือนกับนิกายต่าง ๆ ในคริสต์ศาสนจักร พยานพระยะโฮวาเชื่อว่าพระเยซูเป็นผู้ที่พระเจ้าสร้าง แต่พระองค์เองไม่ใช่พระเจ้า. มีการพิจารณาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อย่างดีเยี่ยมในจุลสารคุณควรเชื่อในตรีเอกานุภาพไหม? ซึ่งมีการแปลไปแล้วใน 95 ภาษา. * ข้อคัมภีร์บางข้อในจำนวนมากมายหลายข้อที่จุลสารเล่มนี้ใช้เพื่อหักล้างคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพก็มี มาระโก 13:32 และ 1 โกรินโธ 15:24, 28.
12. ยังมีคำถามอะไรอีกที่เราควรให้ความสนใจ?
12 การพิจารณาเกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ดังที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางต่าง ๆ ในการศึกษาส่วนตัวที่เราอาจทำได้เพื่อช่วยคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลให้ได้รับความรู้ถ่องแท้. (โยฮัน 17:3) แต่จะว่าอย่างไรสำหรับคนเหล่านั้นที่สมทบกับประชาคมคริสเตียนมานานหลายปีแล้ว? เนื่องจากได้สะสมความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลมานาน พวกเขายังจำเป็นต้องเอาใจใส่การศึกษาพระคำของพระยะโฮวาเป็นส่วนตัวอีกไหม?
เหตุผลที่ต้อง ‘เอาใจใส่อยู่เสมอ’
13. บางคนอาจมีทัศนะที่ผิด ๆ อย่างไรเกี่ยวกับการศึกษาส่วนตัว?
13 บางคนที่เป็นสมาชิกของประชาคมมานานหลายปีอาจเริ่มมีนิสัยที่จะหวังพึ่งแต่ความรู้ในคัมภีร์ไบเบิลที่เขาเคยได้รับเมื่อเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวาช่วงสองสามปีแรก. เป็นเรื่องง่ายที่จะหาเหตุผลว่า “ฉันไม่จำเป็นต้องศึกษาอะไรมากมายเหมือนคนใหม่ ๆ หรอก. ที่จริงแล้ว คิดดูสิว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่ฉันได้อ่านพระคัมภีร์และสรรพหนังสืออธิบายพระคัมภีร์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา.” นี่คงคล้าย ๆ กับการกล่าวว่า “ฉันไม่จำเป็นต้องห่วงในตอนนี้หรอกว่าจะกินมากน้อยแค่ไหน คิดดูสิว่าที่ผ่านมาฉันกินอาหารไปทั้งหมดไม่รู้กี่มื้อต่อกี่มื้อแล้ว.” เรารู้ดีว่าร่างกายต้องการสารอาหารบำรุงเป็นประจำจากอาหารที่มีคุณค่า ปรุงอย่างถูกสุขอนามัย เพื่อจะรักษาร่างกายให้แข็งแรงและมีกำลังวังชา. เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรที่เราจะรักษาสุขภาพและความแข็งแรงฝ่ายวิญญาณ!—เฮ็บราย 5:12-14.
14. เหตุใดเราจำเป็นต้องเอาใจใส่ตัวเองอยู่เสมอ?
14 เหตุฉะนั้น เราทุกคน ไม่ว่าจะศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมานานแค่ไหน ต่างจำเป็นต้องเอาใจใส่คำแนะนำของเปาโลที่ให้แก่ติโมเธียวซึ่งในตอนนั้นเป็นผู้ดูแลที่มีความรับผิดชอบและอาวุโสอยู่แล้ว ดังนี้: “จงเอาใจใส่ตัวท่านและการสอนของท่านอยู่เสมอ. จงจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านี้ เพราะด้วยการทำอย่างนี้ท่านจะช่วยทั้งตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด.” (1 ติโมเธียว 4:15, 16, ล.ม.) ทำไมเราควรเอาใจใส่คำแนะนำของเปาโล? ขออย่าลืมว่าเปาโลยังชี้ให้เห็นด้วยว่าเรามีการต่อสู้กับ “ยุทธอุบายของพญามาร” และการต่อสู้ กับ “อำนาจวิญญาณชั่วในสวรรค์สถาน.” และอัครสาวกเปโตรเตือนว่าพญามารกำลัง “เสาะหาคนหนึ่งคนใดที่มันจะขย้ำกลืนเสีย” และ “คนหนึ่งคนใด” นั้นอาจเป็นใครก็ได้ในพวกเรา. การที่เรานิ่งนอนใจอาจเท่ากับเปิดโอกาสให้แก่มัน.—เอเฟโซ 6:11, 12, ล.ม.; 1 เปโตร 5:8, ล.ม.
15. เรามีอะไรที่เป็นเครื่องป้องกันทางฝ่ายวิญญาณ และเราจะบำรุงรักษาสิ่งนี้ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอได้โดยวิธีใด?
15 ถ้าอย่างนั้น เรามีสิ่งใดที่สามารถใช้เพื่อป้องกันตัวเราเอง? อัครสาวกเปาโลเตือนเราดังนี้: “จงสวมยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้าเพื่อท่านทั้งหลายจะสามารถต้านทานได้ในวันชั่วร้าย และเพื่อจะยืนมั่นคงหลังจากท่านได้ทำทุกสิ่งอย่างถี่ถ้วนแล้ว.” (เอเฟโซ 6:13, ล.ม.) ประสิทธิภาพของยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของมันในตอนแรกเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาเป็นประจำด้วย. ยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้าดังกล่าวจึงต้องรวมเอาความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้าไว้ด้วย. นี่บ่งชี้ถึงความสำคัญของการก้าวตามให้ทันกับความเข้าใจความจริงที่พระยะโฮวาทรงเปิดเผยผ่านทางพระคำของพระองค์และโดยทางชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุม. การศึกษาพระคัมภีร์และสรรพหนังสืออธิบายพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะบำรุงรักษายุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณของเราให้คงอยู่ในสภาพที่ดี.—มัดธาย 24:45-47; เอเฟโซ 6:14, 15.
16. เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจะแน่ใจว่า “โล่ใหญ่แห่งความเชื่อ” ของเราอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี?
16 เปาโลเน้นถึงชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งของยุทธภัณฑ์ที่ให้การป้องกันเรา นั่นคือ “โล่ใหญ่แห่งความเชื่อ” ซึ่งโดยโล่ใหญ่นี้ เราสามารถหลบหลีกและดับลูกศรเพลิงแห่งข้อกล่าวหาเท็จและคำสอนที่ออกหากของซาตาน. (เอเฟโซ 6:16, ล.ม.) ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะตรวจสอบว่าโล่ใหญ่แห่งความเชื่อของเรานั้นแข็งแรงเพียงไร และเราต้องทำอะไรบ้างเพื่อจะบำรุงรักษาและทำให้โล่นั้นแข็งแรงยิ่งขึ้น. ตัวอย่างเช่น คุณอาจถามว่า ‘ฉันเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลประจำสัปดาห์โดยใช้วารสารหอสังเกตการณ์? ฉันได้ศึกษาอย่างเพียงพอไหมเพื่อจะสามารถ “เร้าใจให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี” ด้วยคำตอบที่ไตร่ตรองมาอย่างดีที่ให้ระหว่างการประชุม? ฉันค้นดูข้อคัมภีร์ทุกข้อที่มีการอ้างถึงแต่ไม่ได้ยกข้อความขึ้นมากล่าวไหม? ฉันชูใจคนอื่นโดยการมีส่วนร่วมในการประชุมต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้นไหม?’ อาหารฝ่ายวิญญาณของเราเป็นอาหารแข็งและจำเป็นต้องมีการย่อยเพื่อเราจะได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นอย่างเต็มที่.—เฮ็บราย 5:14; 10:24, ล.ม.
17. (ก) สิ่งเป็นพิษอะไรที่ซาตานใช้เพื่อพยายามบ่อนทำลายสภาพฝ่ายวิญญาณของเรา? (ข) อะไรจะช่วยต้านพิษร้ายที่มาจากซาตาน?
17 ซาตานรู้จุดอ่อนแอของมนุษย์ไม่สมบูรณ์ และยุทธอุบายของมันนั้นแยบยล. วิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ซาตานใช้เพื่อแพร่อิทธิพลอันเลวทรามของมันคือทำให้ภาพลามกอนาจารหาดูได้อย่างง่ายดายในทีวี, อินเทอร์เน็ต, วิดีโอ, และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ. คริสเตียนบางคนยอมให้สิ่งที่เป็นพิษเหล่านี้ทะลุผ่านเกราะป้องกันที่ไม่แข็งแรงของพวกเขา และนั่นนำไปสู่การสูญเสียสิทธิพิเศษในประชาคมหรือผลที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้น. (เอเฟโซ 4:17-19) มีอะไรที่ช่วยต้านพิษร้ายฝ่ายวิญญาณของซาตาน? เราต้องไม่ละเลยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลส่วนตัวเป็นประจำ, การประชุมคริสเตียนของเรา, และยุทธภัณฑ์ครบชุดจากพระเจ้า. การทำสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรามีความสามารถในการแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิดและเกลียดชังในสิ่งที่พระเจ้าทรงเกลียดชัง.—บทเพลงสรรเสริญ 97:10; โรม 12:9.
18. “ดาบแห่งพระวิญญาณ” จะช่วยเราในการต่อสู้ฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร?
18 ถ้าเรารักษานิสัยในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ ความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้าไม่เพียงแต่จะทำเอเฟโซ 6:17, ล.ม.; เฮ็บราย 4:12, ล.ม.) เมื่อเผชิญการล่อใจ ถ้าเราชำนิชำนาญในการใช้ “ดาบ” นี้ เราจะสามารถใช้พระคำของพระเจ้าตรวจสอบสิ่งที่ดูเหมือนว่าไม่มีพิษมีภัยหรือกระทั่งน่าดึงดูดใจนั้น และบอกได้ว่านั่นเป็นกับดักที่ทำให้ถึงตายของตัวชั่วร้าย. ความรู้และความเข้าใจในคัมภีร์ไบเบิลที่เราสะสมไว้จะช่วยให้เราปฏิเสธสิ่งที่ชั่วและทำในสิ่งที่ดี. ดังนั้น เราทุกคนจำต้องถามตัวเองว่า ‘ดาบของฉันยังขึ้นเงาอยู่ไหม หรือว่าขึ้นสนิมแล้ว? ฉันรู้สึกว่ายากที่จะนึกถึงข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้ฉันทำการรุกได้อย่างชำนิชำนาญไหม?’ ขอให้เรารักษานิสัยที่ดีในการศึกษาส่วนตัว และเมื่อทำอย่างนั้น เราจะต่อต้านพญามารได้.—เอเฟโซ 4:22-24.
ให้สามารถเป็นฝ่ายป้องกันหรือตั้งรับได้เป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะใช้ “ดาบแห่งพระวิญญาณ คือพระคำของพระเจ้า” ในการรุกได้อย่างบังเกิดผลอีกด้วย. พระคำของพระเจ้า “คมกว่าดาบสองคมและแทงทะลุกระทั่งแยกจิตวิญญาณและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูกและไขในกระดูก ทั้งสามารถสังเกตเข้าใจความคิดและความมุ่งหมายแห่งหัวใจ.” (19. อะไรคือผลประโยชน์บางอย่างที่เราจะได้หากทุ่มเทตัวเองในการศึกษาส่วนตัว?
19 เปาโลเขียนดังนี้: “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์เพื่อการสั่งสอน, เพื่อการว่ากล่าว, เพื่อจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย, เพื่อตีสอนด้วยความชอบธรรม, เพื่อคนของพระเจ้าจะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน, เตรียมพร้อมสำหรับการดีทุกอย่าง.” ถ้าเราเอาใจใส่คำแนะนำที่เปาโลให้แก่ติโมเธียว เราจะทำให้สภาพฝ่ายวิญญาณของเราเองเข้มแข็งยิ่งขึ้น และเราจะทำให้งานรับใช้ของเราบังเกิดผลมากยิ่งขึ้น. ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้ที่ฝักใฝ่ฝ่ายวิญญาณจะทำประโยชน์แก่ประชาคมได้มากขึ้น และเราทุกคนจะตั้งมั่นคงในความเชื่อต่อ ๆ ไป.—2 ติโมเธียว 3:16, 17, ล.ม.; มัดธาย 7:24-27.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 ปกติแล้ว ผู้สนใจใหม่ที่ศึกษาจุลสารเรียกร้อง จะศึกษาต่อด้วยหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ ทั้งสองเล่มนี้จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา. คำแนะนำที่ให้ไว้ในที่นี้จะช่วยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่กีดขวางความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ.
^ วรรค 9 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา. ได้แปลเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในวารสารหอสังเกตการณ์ ปี 1987 ตั้งแต่ฉบับเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมิถุนายน. ผู้ที่มีหนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ ในภาษาของตน อาจค้นดูในเล่ม 2 ภายใต้หัวข้อ “พระยะโฮวา.”
^ วรรค 9 ฉบับแปลภาษาสเปนและคาตาโลเนียหลายฉบับเป็นกรณียกเว้นที่น่าสังเกต ซึ่งแปลเททรากรัมมาทอนภาษาฮีบรูโดยใช้คำว่า “ยอเว,” “จอฮ์เว,” และ “เคโอวอ.”
^ วรรค 10 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 11 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจำได้ไหม?
• สภาพแวดล้อมเช่นไรที่เหมาะสำหรับการศึกษาส่วนตัวที่บังเกิดผล?
• ข้อผิดพลาดอะไรที่พบในคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลหลายฉบับในเรื่องพระนามของพระเจ้า?
• คุณจะใช้ข้อคัมภีร์ข้อใดเพื่อหักล้างคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ?
• เราต้องทำอะไรเพื่อป้องกันตัวเราเองจากยุทธอุบายของซาตาน แม้ว่าเราเป็นคริสเตียนแท้มาหลายปีแล้ว?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 19]
เพื่อที่การศึกษาส่วนตัวจะบังเกิดผล คุณจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและปราศจากการรบกวนเท่าที่จะทำได้
[ภาพหน้า 23]
“ดาบ” ของคุณขึ้นเงาหรือขึ้นสนิม?