จงเพลิดเพลินกับการศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัว
จงเพลิดเพลินกับการศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัว
“ข้าพเจ้าจะใคร่ครวญดูบรรดากิจการของพระองค์ด้วย, และจะรำพึงถึงกิจการที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น.”—บทเพลงสรรเสริญ 77:12.
1, 2. (ก) ทำไมเราต้องจัดเวลาไว้ต่างหากสำหรับการคิดรำพึง? (ข) “การคิดรำพึง” หมายถึงอะไร?
ในฐานะสาวกของพระเยซูคริสต์ เรื่องที่เราควรเป็นห่วงอย่างยิ่งคือสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระเจ้าและเหตุผลที่กระตุ้นเราให้รับใช้พระองค์. อย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ยุ่งอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจนไม่จัดเวลาไว้สำหรับการคิดรำพึง. พวกเขามัวแต่วุ่นกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนิยม, บริโภคนิยม, และการแสวงหาความเพลิดเพลินอย่างไร้สติ. เราจะหลีกเลี่ยงการใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่เปล่าประโยชน์เหล่านั้นได้อย่างไร? เช่นเดียวกับที่เราจัดเวลาไว้โดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นในแต่ละวัน เช่น การกินและการนอน เราก็ต้องจัดเวลาไว้แต่ละวันเช่นกันเพื่อคิดรำพึงถึงราชกิจของพระยะโฮวาและวิธีที่พระองค์ติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์.—พระบัญญัติ 8:3; มัดธาย 4:4.
2 คุณเคยใช้เวลาเพื่อคิดรำพึงบ้างไหม? การคิดรำพึงหมายถึงอะไร? การคิดรำพึงหมายถึงการคิดใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, หรือครุ่นคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เงียบ ๆ ด้วยใจจดจ่อและอย่างลึกซึ้งจริงจัง. ทำไมการที่การคิดรำพึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับการไตร่ตรองนั้นจึงมีความสำคัญสำหรับเรา?
3. การทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณเกี่ยวข้องโดยตรงกับอะไร?
3 อย่างหนึ่งก็คือ สิ่งนี้น่าจะเตือนใจเราให้นึกถึงถ้อยคำของอัครสาวกเปาโลที่เขียนไปถึงติโมเธียว เพื่อนร่วมงานรับใช้ของท่าน ที่ว่า “จนกว่าข้าพเจ้าจะมา จงเอาใจใส่ต่อ ๆ ไปในการอ่านต่อหน้าผู้ฟัง, ในการกระตุ้นเตือน, ในการสอน . . . . จงไตร่ตรองสิ่งเหล่านี้ จงฝังตัวในสิ่งเหล่านี้ เพื่อความก้าวหน้าของท่านจะได้ปรากฏแจ้งแก่คนทั้งปวง.” ถูกแล้ว ความก้าวหน้าเป็นเรื่องที่มีการคาดหมาย และถ้อยคำของเปาโลแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงระหว่างการไตร่ตรองสิ่งฝ่ายวิญญาณกับการทำความก้าวหน้า. ข้อนี้เป็นจริงในทุกวันนี้เช่นกัน. เพื่อจะเกิดผลที่น่าพึงพอใจจากการทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ เรายังคงต้อง “ไตร่ตรอง” และ “ฝังตัว” อยู่ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระคำของพระเจ้า.—1 ติโมเธียว 4:13-15, ล.ม.
4. เครื่องมืออะไรที่คุณสามารถใช้เพื่อช่วยคุณไตร่ตรองพระคำของพระยะโฮวาเป็นประจำ?
4 เวลาที่เหมาะที่สุดในการคิดรำพึงขึ้นอยู่กับคุณและกิจวัตรในครอบครัวของคุณเอง. หลายคนไตร่ตรองข้อคัมภีร์ข้อหนึ่งในตอนเช้าตรู่เมื่อพวกเขาอ่านจากหนังสือการพิจารณาพระคัมภีร์ทุกวัน. ที่จริง อาสาสมัครราว 20,000 คนในเบเธลทั่วโลกเริ่มต้นวันทำงานของพวกเขาโดยใช้เวลา 15 นาทีพิจารณาข้อพระคัมภีร์สำหรับวันนั้น. ในขณะที่ไม่กี่คนในครอบครัวเบเธลออกความเห็นในแต่ละเช้า คนอื่นนอกนั้นก็ไตร่ตรองสิ่งที่ได้มีการกล่าวและอ่านนั้น. พยานฯ คนอื่น ๆ ไตร่ตรองพระคำของพระยะโฮวาขณะเดินทางไปทำงาน. พวกเขาฟังเทปบันทึกเสียงการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ที่มีในบางภาษา. แม่บ้านหลายคนฟังเทปเหล่านี้ไปด้วยขณะทำงานบ้าน. จริง ๆ แล้ว พวกเขากำลังเลียนแบบอาซาฟ ผู้บทเพลงสรรเสริญ 77:11, 12.
ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ซึ่งเขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะประกาศ [“ระลึกถึง,” ล.ม.] กิจการของพระยะโฮวา; เพราะข้าพเจ้าจะระลึกถึงการอัศจรรย์ของพระองค์ตั้งแต่กาลโบราณมา. ข้าพเจ้าจะใคร่ครวญดูบรรดากิจการของพระองค์ด้วย, และจะรำพึงถึงกิจการที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น.”—ผลประโยชน์ของการมีเจตคติที่ถูกต้อง
5. ทำไมการศึกษาส่วนตัวจึงควรเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรา?
5 ในยุคสมัยของเราที่มีทั้งทีวี, วิดีโอ, และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่อ่านหนังสือกันน้อยลง หรือไม่ก็แทบจะไม่อ่านกันเลย. แน่นอน สิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับพยานพระยะโฮวา. อันที่จริง การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นเหมือนเชือกชูชีพที่เชื่อมโยงเราไว้กับพระยะโฮวา. หลายพันปีมาแล้ว ยะโฮซูอะสืบทอดตำแหน่งผู้นำชาติอิสราเอลต่อจากโมเซ. เพื่อจะได้รับพระพรจากพระยะโฮวา ยะโฮซูอะจำเป็นต้องอ่านพระคำของพระเจ้าด้วยตนเอง. (ยะโฮซูอะ 1:8; บทเพลงสรรเสริญ 1:1, 2) นั่นยังคงเป็นข้อเรียกร้องในปัจจุบัน. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบางคนมีการศึกษาน้อย การอ่านจึงอาจเป็นเรื่องยากหรือเป็นเรื่องที่ทำให้เหน็ดเหนื่อยสำหรับพวกเขา. ถ้าอย่างนั้น อะไรจะช่วยให้เราปรารถนาที่จะอ่านและศึกษาพระคำของพระเจ้า? เราจะพบคำตอบได้จากถ้อยคำของกษัตริย์ซะโลโมซึ่งบันทึกไว้ที่สุภาษิต 2:1-6. ขอเปิดคัมภีร์ไบเบิลของคุณและอ่านดูข้อเหล่านั้น. จากนั้น เราจะพิจารณาข้อเหล่านั้นด้วยกัน.
6. เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อความรู้ของพระเจ้า?
6 แรกทีเดียว เราพบคำกระตุ้นเตือนที่ว่า “บุตรของเราเอ๋ย ถ้าเจ้าจะรับคำของเราและรักษาบัญชาของเราไว้กับตัวเจ้า เพื่อจะตั้งใจฟังสติปัญญา เพื่อเจ้าจะน้อมใจของเจ้ารับความเข้าใจ; . . . ” (สุภาษิต 2:1, 2, ล.ม.) เราเรียนรู้อะไรจากถ้อยคำเหล่านี้? เราเรียนรู้ว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนที่จะศึกษาพระคำของพระเจ้า. ขอสังเกตเงื่อนไขที่ว่า “ถ้าเจ้าจะรับคำของเรา.” นั่นเป็นเงื่อนไขที่ยากสำหรับมนุษยชาติส่วนใหญ่ เนื่องจากพวกเขาไม่สนใจจะฟังพระคำของพระเจ้า. เพื่อที่เราจะพบความเพลิดเพลินในการศึกษาพระคำของพระเจ้า เราต้องเต็มใจที่จะรับและถือว่าคำของพระยะโฮวาเป็นเหมือนทรัพย์อันล้ำค่าที่เราไม่อยากจะสูญเสียไป. เราไม่ควรปล่อยให้กิจวัตรประจำวันเป็นเหตุให้เรามีธุระยุ่งหรือเขวไปจนเราเริ่มขาดความสนใจหรือแม้กระทั่งคลางแคลงสงสัยในพระคำของพระเจ้า.—โรม 3:3, 4.
7. ทำไมเราควรเข้าร่วมและตั้งใจฟัง ณ การประชุมคริสเตียนในทุกโอกาสที่ทำได้?
7 เรา “ตั้งใจฟัง” อย่างแท้จริงไหมเมื่อมีการอธิบายพระคำของพระเจ้า ณ การประชุมคริสเตียนของเรา? (เอเฟโซ 4:20, 21) เรา “น้อมใจ” เพื่อจะได้รับความเข้าใจไหม? บางทีผู้บรรยายอาจไม่ใช่ผู้ที่มีประสบการณ์มากที่สุด แต่ขณะที่เขาอธิบายข้อความจากพระคำของพระเจ้า เขาก็สมควรจะได้รับการเอาใจใส่ฟังจากเราด้วยใจจดจ่อ. แน่ล่ะ เพื่อจะตั้งใจฟังพระปัญญาของพระยะโฮวา เราต้องเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนในทุกโอกาสที่ทำได้. (สุภาษิต 18:1) ลองคิดดูสิว่าคนที่พลาดการประชุมในห้องชั้นบนที่กรุงเยรูซาเลมในวันเพนเตคอสเตปี ส.ศ. 33 นั้นจะรู้สึกเสียดายขนาดไหน! แม้ว่าการประชุมของเราไม่มีเหตุการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างนั้น แต่ก็มีการพิจารณาคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเป็นตำราหลักของเรา. ด้วยเหตุนี้ การประชุมทุกรายการจึงเป็นประโยชน์แก่เราเสมอ ถ้าเราตั้งใจฟังและดูคัมภีร์ไบเบิลของเราตามไปด้วย.—กิจการ 2:1-4; เฮ็บราย 10:24, 25.
8, 9. (ก) การศึกษาส่วนตัวเรียกร้องอะไรจากเรา? (ข) คุณจะเปรียบเทียบค่าของทองคำกับค่าของการมีความเข้าใจในความรู้ของพระเจ้าอย่างไร?
8 ถ้อยคำของกษัตริย์ผู้ชาญฉลาดนี้กล่าวต่อไปว่า “นอกจากนั้น ถ้าเจ้าร้องหาความเข้าใจและเจ้าส่งเสียงร้องขอความสังเกตเข้าใจ . . . ” (สุภาษิต 2:3, ล.ม.) เจตคติหรือน้ำใจเช่นไรที่ถ้อยคำเหล่านี้บ่งบอกเรา? ถูกแล้ว ข้อนี้บอกถึงความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะเข้าใจพระคำของพระยะโฮวา! ถ้อยคำดังกล่าวแสดงนัยถึงความตั้งใจที่จะศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสังเกตเข้าใจ เพื่อจะมองออกว่าพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาเป็นเช่นไร. แน่ล่ะ สิ่งนี้เรียกร้องความบากบั่นพยายาม และนั่นนำเราไปสู่ถ้อยคำถัดไปของซะโลโมและคำเปรียบของท่าน.—เอเฟโซ 5:15-17.
9 ท่านกล่าวต่อไปว่า “ถ้าเจ้าหมั่นเสาะหาความเข้าใจเหมือนหาเงิน และหมั่นแสวงหาความเข้าใจเหมือนหาทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ .. . ” (สุภาษิต 2:4, ล.ม.) ข้อนี้ชวนให้เราคิดถึงการที่มนุษย์ได้ขุดค้นหาโลหะที่ถือกันว่าล้ำค่า เช่น เงินและทองคำ ในตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา. มนุษย์ฆ่ากันเพื่อแย่งชิงทองคำ. บางคนใช้ความพยายามทั้งชีวิตเพื่อ ค้นหาทองคำ. แต่อะไรคือมูลค่าที่แท้จริงของมัน? ถ้าคุณหลงทางในทะเลทรายและกำลังจะตายเพราะขาดน้ำ คุณอยากได้อะไรมากกว่ากัน: ทองหนึ่งแท่งหรือน้ำหนึ่งแก้ว? กระนั้น มนุษย์ก็ได้ทุ่มเทเพื่อเสาะหาทองคำที่พวกเขาเป็นผู้กำหนดมูลค่าขึ้นมาเองและราคาของมันก็ยังแปรปรวนขึ้น ๆ ลง ๆ! * ถ้าอย่างนั้น มนุษย์ควรจะทุ่มเทยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดเพื่อเสาะหาสติปัญญา, ความสังเกตเข้าใจ, และความเข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้าและพระทัยประสงค์ของพระองค์! แต่เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการทำเช่นนั้น?—บทเพลงสรรเสริญ 19:7-10; สุภาษิต 3:13-18.
10. เราจะพบอะไรถ้าเราศึกษาพระคำของพระเจ้า?
10 ซะโลโมอธิบายต่อไปว่า “เมื่อนั้นเจ้าจะเข้าใจความยำเกรงพระยะโฮวา, และจะพบความรู้ของพระเจ้า.” (สุภาษิต 2:5) ช่างเป็นความคิดที่ชวนให้ตกตะลึงเสียจริง ๆ ที่มนุษย์ผู้ผิดบาปจะสามารถพบ “ความรู้ของพระเจ้า” คือของพระยะโฮวาผู้ทรงเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ! (บทเพลงสรรเสริญ 73:28, ล.ม.; กิจการ 4:24, ล.ม.) นักปรัชญาและผู้ที่โลกถือว่ามีปัญญาพยายามจะเข้าใจความลึกลับของชีวิตและเอกภพมาตลอดหลายศตวรรษ. อย่างไรก็ตาม พวกเขาล้มเหลวในการพบ “ความรู้ของพระเจ้า.” เพราะเหตุใด? เพราะถึงแม้พระคำของพระเจ้า คือคัมภีร์ไบเบิล จะมีมาหลายพันปีแล้ว แต่พวกเขาปฏิเสธคัมภีร์ไบเบิลเพราะถือว่าง่ายเกินไป และด้วยเหตุนั้น จึงไม่เชื่อและไม่เข้าใจสิ่งที่เขียนไว้ในนั้น.—1 โกรินโธ 1:18-21.
11. เราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการศึกษาส่วนตัว?
11 ซะโลโมเน้นถึงเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่กระตุ้นเราให้ศึกษาพระคำของพระเจ้าไว้ดังนี้: “พระยะโฮวาพระราชทานปัญญา ความรู้ และความเข้าใจออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์.” (สุภาษิต 2:6) พระยะโฮวาทรงเต็มพระทัยและมีพระทัยกว้างที่จะพระราชทานปัญญา, ความรู้, และความเข้าใจให้แก่ทุกคนที่เต็มใจแสวงหาสิ่งเหล่านี้. แน่นอน เรามีเหตุผลทุกประการที่จะเห็นคุณค่าของการศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัว แม้ว่าการทำเช่นนี้ต้องอาศัยความพยายาม, วินัย, และการเสียสละตนเอง. อย่างน้อยที่สุดเราก็มีคัมภีร์ไบเบิลที่พิมพ์ครบชุด และไม่จำเป็นต้องทำฉบับคัดลอกด้วยมือเหมือนอย่างที่บางคนในสมัยโบราณต้องทำ!—พระบัญญัติ 17:18, 19.
เพื่อจะดำเนินคู่ควรกับพระยะโฮวา
12. อะไรควรเป็นเหตุผลที่กระตุ้นเราให้แสวงหาความรู้ของพระเจ้า?
12 อะไรควรเป็นเหตุผลที่กระตุ้นเราให้ศึกษาส่วนตัว? มัดธาย 11:28-30) อัครสาวกเปาโลกล่าวเตือนว่า “ความรู้ทำให้อวดดี แต่ความรักก่อร่างสร้างขึ้น.” (1 โกรินโธ 8:1, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น เราจึงควรมีเจตคติที่ถ่อมใจเหมือนที่โมเซสำแดงเมื่อท่านทูลต่อพระยะโฮวาว่า “ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้แนวทางของพระองค์ ข้าพเจ้าจะได้รู้จักพระองค์ เพื่อข้าพเจ้าจะเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์.” (เอ็กโซโด 33:13, ล.ม.) ถูกแล้ว เราควรปรารถนาที่จะได้ความรู้เพื่อจะประพฤติให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ไม่ใช่เพื่อจะให้มนุษย์ประทับใจ. เราต้องการจะเป็นผู้รับใช้ที่ถ่อมใจและคู่ควรกับพระเจ้า. เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างไร?
เพื่อจะให้คนอื่นเห็นว่าเราดีกว่าคนอื่นไหม? หรือเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าเรามีความรู้มากกว่า? หรือเพื่อจะเป็นเหมือนสารานุกรมคัมภีร์ไบเบิลเคลื่อนที่? เปล่าเลย. วัตถุประสงค์ของเราคือเพื่อเราจะดำเนินชีวิตแบบคริสเตียนในทุกสิ่งที่เราพูดและกระทำ และพร้อมเสมอที่จะช่วยคนอื่น ด้วยน้ำใจที่ยังความสดชื่นแบบพระคริสต์. (13. อะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะเป็นผู้รับใช้ที่คู่ควรกับพระเจ้า?
13 เปาโลแนะนำติโมเธียวถึงวิธีที่จะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า โดยกล่าวว่า “จงทำสุดความสามารถเพื่อสำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่มีอะไรต้องอาย ใช้คำแห่งความจริงอย่างถูกต้อง.” (2 ติโมเธียว 2:15, ล.ม.) ถ้อยคำที่ว่า “ใช้ .. . อย่างถูกต้อง” มาจากคำกริยาประสมในภาษากรีกที่ความหมายเดิมคือ “ตัดตรงตามแนว.” (ฉบับแปลคิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์) ตามที่ผู้ให้อรรถาธิบายคัมภีร์ไบเบิลบางคนให้ความเห็น คำนี้ทำให้นึกถึงช่างตัดเสื้อที่ตัดผ้าตรงตามแบบ, ชาวนาที่ไถนาให้เป็นแนวตรง, หรืออื่น ๆ ในทำนองนี้. แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผลสุดท้ายต้องถูกต้องหรือตรง. จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เพื่อจะเป็นผู้รับใช้ที่คู่ควรและเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ติโมเธียวต้อง “ทำสุดความสามารถ” เพื่อทำให้แน่ใจว่าคำสอนและการประพฤติของท่านประสานลงรอยกับคำแห่งความจริง.—1 ติโมเธียว 4:16.
14. การศึกษาส่วนตัวควรส่งผลเช่นไรต่อสิ่งที่เราพูดและกระทำ?
14 เปาโลเน้นจุดเดียวกันนี้เมื่อท่านกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนในโกโลซายให้ “ดำเนินคู่ควรกับพระยะโฮวา เพื่อทำให้พระองค์พอพระทัยอย่างเต็มเปี่ยม” โดยการ ‘เกิดผลในการงานที่ดีทุกอย่าง และเพิ่มพูนในความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า.’ (โกโลซาย 1:10, ล.ม.) ในข้อนี้ เปาโลแสดงให้เห็นว่าการเป็นคนคู่ควรกับพระยะโฮวาเกี่ยวข้องกับการ ‘เกิดผลในการงานที่ดีทุกอย่าง’ และการ “เพิ่มพูนในความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า.” กล่าวอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่พระยะโฮวาถือว่าสำคัญไม่ใช่แค่ว่าเราประเมินค่าความรู้ไว้สูงขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่าเรายึดมั่นกับพระคำของพระเจ้าในสิ่งที่เราพูดและกระทำมากเพียงไรด้วย. (โรม 2:21, 22) นี่หมายความว่าการศึกษาส่วนตัวของเราต้องส่งผลต่อความคิดและความประพฤติของเราถ้าเราต้องการจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า.
15. เราจะป้องกันและควบคุมความคิดและจิตใจของเราได้อย่างไร?
15 ในทุกวันนี้ ซาตานมุ่งมั่นจะทำลายสภาพฝ่ายวิญญาณของเราโดยกระตุ้นให้เกิดการต่อสู้ภายในจิตใจของเรา. (โรม 7:14-25) ดังนั้น เราต้องป้องกันและควบคุมความคิดจิตใจของเราเพื่อจะพิสูจน์ว่าเราคู่ควรกับพระยะโฮวา พระเจ้าของเรา. อาวุธที่เรามีในการต่อสู้คือ “ความรู้ของพระเจ้า” ซึ่งสามารถ “ทำให้ความคิดทุกประการอยู่ภายใต้การควบคุมเพื่อทำให้เชื่อฟังพระคริสต์.” เราจึงยิ่งมีเหตุผลมากขึ้นไปอีกที่จะตั้งใจศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในแต่ละวัน เนื่องจากเราปรารถนาที่จะขจัดความคิดที่เห็นแก่ตัว แบบเนื้อหนัง ออกไปจากจิตใจของเรา.—2 โกรินโธ 10:5, ล.ม.
เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจคัมภีร์ไบเบิล
16. เราเองจะได้รับประโยชน์โดยวิธีใดจากการสอนของพระยะโฮวา?
16 คำสอนของพระยะโฮวานำมาซึ่งผลประโยชน์ฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ. คำสอนของพระองค์ไม่ใช่เทววิทยาที่น่าเบื่อหน่ายหรือหาคุณค่าในทางปฏิบัติไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น เราจึงอ่านพบข้อความที่ว่า “เราคือยะโฮวา, พระเจ้าของเจ้าผู้สั่งสอนเจ้า, เพื่อประโยชน์แก่ตัวของเจ้าเอง, และผู้นำเจ้าให้ดำเนินในทางที่เจ้าควรดำเนิน.” (ยะซายา 48:17) พระยะโฮวาทรงนำเราให้ดำเนินในทางที่เป็นประโยชน์โดยวิธีใด? ประการแรก โดยให้เรามีคัมภีร์ไบเบิล พระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระองค์. นี่เป็นตำราหลักของเรา ซึ่งเราใช้อ้างอิงเสมอ. นั่นเป็นเหตุที่เราควรเปิดคัมภีร์ไบเบิลดูตามไปด้วยในการประชุมคริสเตียน. เราจะเห็นประโยชน์ของการทำเช่นนั้นได้จากเรื่องราวของขันทีชาวเอธิโอเปีย ที่มีบันทึกไว้ในกิจการบท 8.
17. เกิดอะไรขึ้นในกรณีของขันทีชาวเอธิโอเปีย และเรื่องนี้แสดงให้เห็นอะไร?
17 ขันทีชาวเอธิโอเปียเป็นผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนายิว. ท่านเป็นคนที่มีความเชื่ออย่างจริงใจในพระเจ้า และท่านศึกษาพระคัมภีร์. ระหว่างเดินทางด้วยรถม้าของท่าน ท่านกำลังอ่านข้อความจากม้วนหนังสือยะซายาขณะที่ฟิลิปวิ่งเข้าไปใกล้รถม้านั้นและถามว่า “ซึ่งท่านอ่านนั้นท่านเข้าใจหรือ.” ขันทีตอบเช่นไร? “ ‘ถ้าไม่มีใครอธิบายให้, ที่ไหนจะเข้าใจได้?’ ท่านจึงเชิญฟีลิบขึ้นนั่งรถกับท่าน.” จากนั้น โดยการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ฟิลิปจึงช่วยขันทีให้เข้าใจคำพยากรณ์ของยะซายา. (กิจการ 8:27-35) เรื่องนี้แสดงให้เห็นอะไร? เรื่องนี้แสดงว่า การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัวไม่พอที่จะได้ความเข้าใจ. โดยทางพระวิญญาณของพระองค์ พระยะโฮวาทรงใช้ชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมเพื่อช่วยเราให้เข้าใจพระคำของพระองค์ในเวลาอันเหมาะ. มีการทำเช่นนั้นโดยวิธีใด?—มัดธาย 24:45-47; ลูกา 12:42.
18. ชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมช่วยเหลือเราอย่างไร?
18 แม้มีการพรรณนาชนชั้นทาสว่า “สัตย์ซื่อและสุขุม” แต่พระเยซูไม่ได้บอกว่าพวกเขาไม่มีทางผิดพลาด. พี่น้องผู้ถูกเจิมที่สัตย์ซื่อกลุ่มนี้ยังคงประกอบไปด้วยเหล่าคริสเตียนที่ไม่สมบูรณ์. ถึงแม้พวกเขาตั้งใจทำอย่างดีที่สุด แต่พวกเขาก็ผิดพลาดได้ เหมือนอย่างที่ชนพวกนี้ในศตวรรษแรกก็ผิดพลาดไปบ้างเป็นครั้งคราว. (กิจการ 10:9-15; ฆะลาเตีย 2:8, 11-14) อย่างไรก็ตาม เจตนาของพวกเขาบริสุทธิ์ และพระยะโฮวาทรงใช้พวกเขาให้จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อช่วยในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเพื่อจะเสริมสร้างความเชื่อของเราในพระคำและคำสัญญาของพระเจ้า. เครื่องมือสำคัญที่ทาสสัตย์ซื่อจัดเตรียมไว้ให้เราในการศึกษาส่วนตัวคือพระคัมภีร์บริสุทธิ์ฉบับแปลโลกใหม่. ปัจจุบันมีให้อ่านได้ทั้งเล่มหรือบางส่วนใน 42 ภาษา และมีการตีพิมพ์ไปแล้ว 114 ล้านเล่ม. เราจะใช้พระคัมภีร์ฉบับแปลนี้อย่างบังเกิดผลในการศึกษาส่วนตัวได้อย่างไร?—2 ติโมเธียว 3:14-17.
19. อะไรคือลักษณะเด่นบางประการของฉบับแปลโลกใหม่—พร้อมด้วยข้ออ้างอิงที่เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาส่วนตัว?
19 ขอให้พิจารณากรณีของพระคัมภีร์บริสุทธิ์ฉบับแปลโลกใหม่—พร้อมด้วยข้ออ้างอิง เป็นตัวอย่าง. พระคัมภีร์ฉบับแปลนี้มีข้ออ้างโยงในช่องกลางหน้า, เชิงอรรถท้ายหน้า, ศัพท์สัมพันธ์แบบย่อในรูปของ “ดัชนีคำในคัมภีร์ไบเบิล” และ “ดัชนีคำในเชิงอรรถ,” และภาคผนวกที่ครอบบทเพลงสรรเสริญ 149:1-9; ดานิเอล 2:44; มัดธาย 6:9, 10.
คลุมเนื้อหา 43 เรื่อง รวมทั้งแผนที่และแผนภูมิ. นอกจากนี้ ยังมี “คำชี้แจง” ที่อธิบายถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่ใช้ประกอบการแปลคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่โดดเด่นนี้. ถ้าคัมภีร์ไบเบิลฉบับนี้มีในภาษาที่คุณอ่านเข้าใจได้ จงทำความคุ้นเคยกับลักษณะเด่นเหล่านั้นและใช้ให้เป็นประโยชน์. แต่ไม่ว่าจะใช้ฉบับแปลใด คัมภีร์ไบเบิลเป็นจุดเริ่มของโครงการการศึกษาของเรา และน่าดีใจที่เรามีคัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาไทยฉบับหนึ่งที่เน้นความสำคัญของพระนามของพระเจ้าอย่างเหมาะสม อย่างน้อยในส่วนของพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู เนื่องจากการใช้พระนามของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิลทำให้การปกครองแห่งราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเรื่องที่เด่นชัด.—20. มีคำถามอะไรบ้างเกี่ยวกับการศึกษาส่วนตัวที่ต้องการคำตอบในตอนนี้?
20 ถึงตอนนี้ เราอาจถามว่า ‘เราจำเป็นต้องมีอะไรอีกไหมเพื่อช่วยเราให้เข้าใจคัมภีร์ไบเบิล? เราจะจัดเวลาสำหรับการศึกษาส่วนตัวได้อย่างไร? เราจะทำให้การศึกษาของเราบังเกิดผลมากยิ่งขึ้นโดยวิธีใด? การศึกษาของเราควรส่งผลกระทบต่อคนอื่นเช่นไร?’ บทความถัดไปจะพิจารณาแง่มุมสำคัญเหล่านี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าฝ่ายคริสเตียนของเรา.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 ตั้งแต่ปี 1979 ราคาของทองคำมีการปรับขึ้นลงตั้งแต่สูงที่สุดคือ 850 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปี 1980 จนถึงต่ำสุดคือ 252.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปี 1999.
คุณจำได้ไหม?
• อะไรคือความหมายของ “การคิดรำพึง”?
• เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อการศึกษาพระคำของพระเจ้า?
• อะไรควรเป็นเหตุผลที่กระตุ้นเราให้ศึกษาส่วนตัว?
• เรามีเครื่องช่วยอะไรบ้างที่ทำให้เข้าใจคัมภีร์ไบเบิล?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
สมาชิกครอบครัวเบเธลพบว่าการเริ่มต้นแต่ละวันด้วยการพิจารณาข้อพระคัมภีร์ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณ
[ภาพหน้า 15]
เราสามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โดยฟังเทปบันทึกเสียงการอ่านคัมภีร์ไบเบิลขณะเดินทาง
[ภาพหน้า 16]
มนุษย์ทำงานหนักและเป็นเวลานานเพื่อจะได้ทองคำ. คุณใช้ความพยายามขนาดไหนเพื่อศึกษาพระคำของพระเจ้า?
[ที่มาของภาพหน้า 16]
Courtesy of California State Parks, 2002
[ภาพหน้า 17]
คัมภีร์ไบเบิลเป็นขุมทรัพย์ที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์