การปลอบโยนการปลอบโยนสำหรับคนเหล่านั้นที่ทนทุกข์
การปลอบโยนการปลอบโยนสำหรับคนเหล่านั้นที่ทนทุกข์
ตลอดหลายศตวรรษ คำถามที่ว่าทำไมพระเจ้ายอมให้เกิดความทุกข์ได้ทำให้นักปรัชญาและนักเทววิทยาหลายคนงุนงง. บางคนยืนยันว่าเนื่องจากพระเจ้าทรงไว้ซึ่งอำนาจบริบูรณ์ พระองค์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในที่สุดในเรื่องความทุกข์. ผู้เขียนเดอะ เคลเมนไทน์ ฮอมมิลีส์ บทประพันธ์นอกสารบบในศตวรรษที่สอง อ้างว่าพระเจ้าปกครองโลกด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง. ด้วย “พระหัตถ์ซ้าย” คือพญามาร พระองค์ทรงทำให้เกิดความทุกข์และความเดือดร้อน และด้วย “พระหัตถ์ขวา” คือพระเยซู พระองค์ทรงช่วยให้รอดและประทานความสุขให้.
เนื่องจากรับไม่ได้ในข้อที่ว่าพระเจ้าอาจยอมให้เกิดความทุกข์ ถึงแม้พระองค์มิได้ก่อขึ้นก็ตาม บางคนได้เลือกที่จะปฏิเสธว่าความทุกข์มีอยู่จริง. แมรี เบเกอร์ เอดดีได้เขียนว่า “ความชั่วร้ายเป็นเพียงภาพลวงตา และไม่มีพื้นฐานอันแท้จริง. หากเข้าใจกันว่าบาป, ความเจ็บป่วย, และความตายเป็นสภาพที่ไม่ได้มีอยู่แล้ว สภาพดังกล่าวนี้ก็คงจะสูญสิ้นไป.”—วิทยาศาสตร์และสุขภาพพร้อมกับกุญแจไขพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ).
ผลที่ติดตามมาหลังจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าเศร้าในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาจนกระทั่งทุกวันนี้ หลายคนได้ลงความเห็นว่าพระเจ้าไม่สามารถที่จะขัดขวางความทุกข์ไว้ได้อย่างแท้จริง. เดวิด วูล์ฟ ซิลเวอร์มัน ผู้คงแก่เรียนชาวยิวได้เขียนว่า “ตามความเห็นของผมแล้ว การสังหารหมู่พลเรือนโดยพวกนาซีทำให้ชี้ชัดลงไปได้เลยว่าพลานุภาพอันไพศาลไม่ใช่คุณสมบัติที่เหมาะกับพระเจ้า.” เขากล่าวเสริมว่า “เพื่อพระเจ้าจะเป็นที่เข้าใจได้ในบางรูปแบบแล้ว ความดีของพระองค์ก็ต้องเข้ากันได้กับการดำรงอยู่ของสิ่งชั่วร้าย และเรื่องนี้เป็นความจริงก็ต่อเมื่อพระองค์มิได้ทรงไว้ซึ่งอำนาจบริบูรณ์เท่านั้น.”
อย่างไรก็ดี ข้ออ้างที่ว่าพระเจ้าส่งเสริมให้เกิดความทุกข์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง, พระองค์ไม่สามารถขัดขวางความทุกข์ไว้ได้, หรือความทุกข์เป็นเพียงเรื่องที่เกิดจากจินตนาการของเรานั้น แทบจะไม่ให้การปลอบโยนอะไรแก่คนเหล่านั้นที่ทนทุกข์อยู่. และสำคัญยิ่งกว่านั้น ความเชื่อดังกล่าวขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระเจ้าที่เที่ยงธรรม, มีพลัง, และใฝ่พระทัยซึ่งได้รับการเปิดเผยไว้ในคัมภีร์ไบเบิล. (โยบ 34:10, 12; ยิระมะยา 32:17; 1 โยฮัน 4:8) ถ้าเช่นนั้น คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับเหตุผลที่พระเจ้ายอมให้มีความทุกข์?
ความทุกข์เริ่มต้นอย่างไร?
พระเจ้ามิได้สร้างมนุษย์เพื่อให้มีทุกข์. ตรงกันข้าม พระองค์ทรงให้อาดามและฮาวามนุษย์คู่แรกมีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์, ทรงเตรียมสวนที่น่าเพลิดเพลินให้เป็นบ้านของคนทั้งสอง, และทรงมอบหมายงานที่น่าพอใจและมีความหมายให้เขา. (เยเนซิศ 1:27, 28, 31; 2:8) อย่างไรก็ดี การที่ทั้งคู่จะมีความสุขเรื่อยไปขึ้นอยู่กับการที่เขายอมรับการปกครองของพระเจ้าและสิทธิของพระองค์ที่จะตัดสินว่าอะไรดีและอะไรชั่ว. สิทธิอำนาจดังกล่าวของพระเจ้ามีสัญลักษณ์แสดงถึงโดยต้นไม้ที่ถูกเรียกว่า “ต้นไม้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความดีและความชั่ว.” (เยเนซิศ 2:17, ล.ม.) อาดามและฮาวาจะแสดงให้เห็นการยอมอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าหากเขาเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์ที่ห้ามรับประทานผลไม้จากต้นนั้น. *
น่าเศร้า อาดามและฮาวาไม่ได้เชื่อฟังพระเจ้า. กายวิญญาณตนหนึ่งที่ขืนอำนาจซึ่งต่อมาได้รับการระบุตัวว่าเป็นซาตานพญามาร ได้ทำให้ฮาวาเชื่อว่าการเชื่อฟังพระเจ้าไม่ก่อผลประโยชน์อันดีที่สุดสำหรับเธอ. ที่จริง มันอ้างว่าพระเจ้าทรงกีดกันสิ่งที่น่าปรารถนาอย่างยิ่งไว้จากเธอ นั่นคือการไม่หมายพึ่งผู้ใด ซึ่งก็คือสิทธิที่เธอจะเยเนซิศ 3:1-6; วิวรณ์ 12:9) เนื่องจากถูกล่อลวงโดยความคาดหวังในการไม่ขึ้นกับผู้ใด ฮาวาจึงรับประทานผลไม้ต้องห้ามนั้น และไม่นานอาดามก็ได้ทำอย่างเดียวกัน.
เลือกเอาเองว่าอะไรดีและอะไรชั่ว. ซาตานอ้างว่าถ้าเธอรับประทานผลจากต้นไม้นั้น ‘ตาของเธอจะสว่างขึ้นแล้วเธอจะเป็นเหมือนพระ, จะรู้จักความดีและชั่ว.’ (ในวันเดียวกันนั้น อาดามและฮาวาเริ่มประสบผลจากการกบฏขัดขืนของเขา. โดยปฏิเสธการปกครองของพระเจ้า เขาทั้งสองสูญเสียผลประโยชน์จากการปกป้องและความสุขที่ได้รับจากการยอมอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า. พระเจ้าทรงขับไล่ทั้งคู่ออกจากอุทยานแล้วตรัสแก่อาดามว่า “แผ่นดินจึงต้องถูกแช่งสาปเพราะตัวเจ้า; เจ้าจะต้องหากินที่แผ่นดินด้วยความลำบากจนสิ้นชีวิต. เจ้าจะหากินด้วยเหงื่อไหลโซมหน้ากว่าเจ้าจะกลับเป็นดิน.” (เยเนซิศ 3:17, 19) อาดามและฮาวาต้องประสบโรคภัยไข้เจ็บ, ความเจ็บปวด, การแก่ลง, และความตาย. ความทุกข์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งประสบการณ์ของมนุษย์.—เยเนซิศ 5:29.
การจัดการกับประเด็น
บางคนอาจถามว่า ‘พระเจ้าจะเพียงแค่มองข้ามบาปของอาดามและฮาวาไม่ได้หรือ?’ ไม่ได้ เพราะการทำเช่นนั้นคงจะบ่อนทำลายความนับถือต่ออำนาจของพระองค์ต่อไปอีกซึ่งอาจสนับสนุนให้เกิดการกบฏในอนาคตและยังผลด้วยความทุกข์มากขึ้นด้วยซ้ำ. (ท่านผู้ประกาศ 8:11) นอกจากนี้ การยอมให้กับการไม่เชื่อฟังเช่นนั้นคงจะทำให้พระเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการกระทำผิด. โมเซผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลเตือนให้เราระลึกว่า “กิจการของพระองค์สมบูรณ์พร้อม เพราะทางทั้งปวงของพระองค์ยุติธรรม. พระเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ซึ่งกับพระองค์นั้นไม่มีความอยุติธรรม; พระองค์ทรงชอบธรรมและซื่อตรง.” (พระบัญญัติ 32:4, ล.ม.) เพื่อจะซื่อสัตย์ต่อพระองค์เอง พระเจ้าจึงต้องปล่อยให้อาดามและฮาวาประสบผลต่าง ๆ จากการไม่เชื่อฟังของเขา.
ทำไมพระเจ้าไม่ทำลายมนุษย์คู่แรกทันทีพร้อมกับซาตาน ผู้ไม่ประจักษ์แก่ตาที่ปลุกปั่นการขืนอำนาจของมนุษย์? พระองค์ทรงมีอำนาจที่จะทำเช่นนั้น. อาดามและฮาวาคงจะไม่ได้ให้กำเนิดลูกหลานที่ต้องได้รับมรดกแห่งความทุกข์และความตาย. อย่างไรก็ตาม การสำแดงอำนาจ ของพระเจ้าเช่นนั้นคงไม่ได้พิสูจน์ความชอบธรรม ในการใช้อำนาจของพระองค์เหนือสิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญา. นอกจากนี้ หากอาดามและฮาวาตายไปโดยไม่มีบุตร นั่นคงหมายถึงความล้มเหลวแห่งพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะทำให้แผ่นดินโลกเต็มด้วยลูกหลานที่สมบูรณ์ของเขา. (เยเนซิศ 1:28) และ “พระเจ้าไม่เหมือนมนุษย์ . . . สิ่งใดก็ตามที่พระองค์ทรงสัญญา พระองค์ทรงกระทำ; พระองค์ตรัส และก็สำเร็จ.”—อาฤธโม 23:19, ทูเดส์ อิงลิช เวอร์ชัน.
ด้วยพระปัญญาที่สมบูรณ์พร้อม พระยะโฮวาพระเจ้าทรงตัดสินที่จะยอมให้การขืนอำนาจดำเนินต่อไปในระยะเวลาที่จำกัด. เหล่าผู้ขืนอำนาจจะมีโอกาสมากพอที่จะประสบผลต่าง ๆ จากการไม่หมายพึ่งพระเจ้า. ประวัติศาสตร์จะพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามนุษยชาติจำเป็นต้องได้รับการนำทางจากพระเจ้าและการปกครองของพระเจ้าดีเยี่ยมกว่าการปกครองของมนุษย์หรือของซาตาน. ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าทรงดำเนินการเพื่อรับประกันว่าพระประสงค์ดั้งเดิมของพระองค์ที่มีต่อแผ่นดินโลกจะสำเร็จ. พระองค์ทรงสัญญาว่า “พงศ์พันธุ์” ผู้ซึ่งจะ ‘บดขยี้หัวของซาตาน’ จะกำจัดการขืนอำนาจของมันและผลกระทบที่ยังความเสียหายจากการขืนอำนาจนั้นอย่างสิ้นเชิงโดยตลอดทั่วถึง.—เยเนซิศ 3:15, ล.ม.
พระเยซูคริสต์เป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงสัญญาไว้. ที่ 1 โยฮัน 3:8 เราอ่านว่า “พระบุตรของพระเจ้าได้เสด็จมาปรากฏ . . . เพื่อจะได้ทรงทำลายกิจการของมารเสีย.” พระองค์ทรงทำเช่นนั้นโดยการถวายชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เป็นเครื่องบูชาและชำระค่าไถ่เพื่อไถ่ถอนลูกหลานของอาดามจากบาปและความตายที่ได้สืบทอดมานั้น. (โยฮัน 1:29; 1 ติโมเธียว 2:5, 6) มีการสัญญาเรื่องการปลดเปลื้องจากความทุกข์อย่างถาวรกับคนเหล่านั้นที่แสดงความเชื่ออย่างแท้จริงในเครื่องบูชาของพระเยซู. (โยฮัน 3:16; วิวรณ์ 7:17) เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร?
อวสานของความทุกข์
การปฏิเสธอำนาจของพระเจ้าได้ทำให้เกิดความทุกข์สุดพรรณนา. ดังนั้นแล้ว นับว่าเหมาะที่พระเจ้าจะทรงใช้อำนาจของพระองค์ในแนวทางพิเศษเพื่อจะทำให้ความทุกข์ของมนุษย์สิ้นสุดลงและทำให้พระประสงค์ดั้งเดิมของพระองค์ที่มีต่อแผ่นดินโลกนั้นสำเร็จ. พระเยซูตรัสถึงการจัดเตรียมนี้ของพระเจ้าเมื่อทรงสอนเหล่าสาวกให้อธิษฐานว่า “พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์ . . . ขอให้ราชอาณาจักร ของพระองค์มาเถิด. พระทัยประสงค์ของพระองค์สำเร็จแล้วในสวรรค์อย่างไร ก็ขอให้สำเร็จบนแผ่นดินโลกอย่างนั้น.”—มัดธาย 6:9, 10, ล.ม.
เวลาที่พระเจ้ายอมให้มนุษย์ทดลองปกครองตัวเองจวนจะสิ้นสุดลงแล้ว. สำเร็จเป็นจริงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล ราชอาณาจักรของพระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นในสวรรค์เมื่อปี 1914 โดยมีพระเยซูคริสต์เป็นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรนั้น. * ในไม่ช้า ราชอาณาจักรนั้นจะบดขยี้และทำลายรัฐบาลทั้งสิ้นของมนุษย์.—ดานิเอล 2:44.
ระหว่างการรับใช้ของพระเยซูบนแผ่นดินโลกในช่วงสั้น ๆ พระองค์ทรงให้ภาพล่วงหน้าเกี่ยวกับพระพรที่การฟื้นฟูการปกครองของพระเจ้าจะนำมาสู่มนุษยชาติ. พระธรรมกิตติคุณให้หลักฐานที่แสดงว่าพระเยซูมีความเมตตาสงสารต่อผู้คนเป็นรายบุคคลในสังคมมนุษย์ที่ยากจนและได้รับการปฏิบัติอย่างเลือกที่รักมักที่ชัง. พระองค์ทรงรักษาคนป่วย, เลี้ยงอาหารคนที่หิวโหย, และปลุกคนตายให้ฟื้น. แม้แต่พลังของธรรมชาติก็ยังเชื่อฟังคำตรัสของพระองค์. (มัดธาย 11:5; มาระโก 4:37-39; ลูกา 9:11-16) ขอให้นึกภาพสิ่งที่พระเยซูจะทรงทำให้สำเร็จคราวเมื่อพระองค์ทรงใช้เครื่องบูชาไถ่ของพระองค์ซึ่งมีผลในการชำระให้สะอาดเพื่อเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติที่เชื่อฟัง! คัมภีร์ไบเบิลสัญญาว่าโดยทางการปกครองของพระคริสต์ พระเจ้า “จะทรงเช็ดน้ำตาทุก ๆ หยดจากตาของ [มนุษยชาติ] ความตายจะไม่มีต่อไป การคร่ำครวญและร้องไห้และการเจ็บปวดอย่างหนึ่งอย่างใดจะไม่มีอีกเลย.”—วิวรณ์ 21:4.
การปลอบโยนสำหรับคนเหล่านั้นที่ทนทุกข์
ช่างทำให้มีกำลังใจสักเพียงไรที่ทราบว่าพระยะโฮวาพระเจ้าของเราองค์เปี่ยมด้วยความรักและทรงไว้ซึ่งอำนาจบริบูรณ์ ทรงใฝ่พระทัยเราและในไม่ช้าพระองค์จะนำการปลดเปลื้องมาสู่มนุษยชาติ! ตามปกติ คนไข้ที่ป่วยหนักมักเต็มใจยอมรับการรักษาซึ่งจะทำให้เขาหายป่วยแม้จะเจ็บปวดมากเพียงใดก็ตาม. ในทำนองเดียวกัน หากเราทราบว่าวิธีที่พระเจ้าทรงจัดการกับเรื่องต่าง ๆ จะนำมาซึ่งพระพรนิรันดร์ ความรู้เช่นนั้นจะค้ำจุนเราได้ ไม่ว่าเราจะต้องเผชิญความลำบากใด ๆ ชั่วคราว.
ริคาร์ดูที่กล่าวถึงในบทความก่อนเป็นคนหนึ่งซึ่งได้เรียนรู้ที่จะรับการปลอบโยนจากคำสัญญาในคัมภีร์ไบเบิล. เขาเล่าว่า “หลังจากภรรยาผมเสียชีวิต ผมปรารถนาเหลือเกินที่จะแยกตัวจากคนอื่น แต่ไม่ช้าผมก็ตระหนักว่าการทำเช่นนี้ไม่ได้ทำให้ภรรยาผมกลับคืนมาและรังแต่จะทำให้อารมณ์ความรู้สึกของผมแย่ลงเท่านั้น.” แทนที่จะทำเช่นนั้น ริคาร์ดูยึดมั่นกับกิจวัตรในการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนและแบ่งปันข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิลให้แก่คนอื่น. ริคาร์ดูกล่าวว่า “ขณะที่ผมรู้สึกถึงการเกื้อหนุนด้วยความรักจากพระยะโฮวาและสังเกตวิธีที่พระองค์ทรงตอบคำอธิษฐานของผมในเรื่องที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย ผมก็ใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้น. การสำนึกถึงความรักของพระเจ้าเช่นนี้ทำให้ผมสามารถอดทนสิ่งที่เป็นการทดลองอันเลวร้ายที่สุดจริง ๆ เท่าที่ผมเคยประสบ
มา.” เขายอมรับว่า “ผมยังคงอาลัยอาวรณ์ถึงภรรยาอย่างที่สุด แต่ตอนนี้ผมเชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดที่พระยะโฮวาทรงยอมให้เกิดขึ้นจะก่อความเสียหายแก่เราอย่างถาวร.”เช่นเดียวกับริคาร์ดูและอีกหลายล้านคน คุณปรารถนาอย่างยิ่งไหมที่จะให้ถึงเวลาเมื่อความทุกข์ในปัจจุบันของมนุษยชาติเป็นสิ่งที่ “จะไม่ระลึกถึงอีก ทั้งจะไม่คำนึงถึงในหัวใจ”? (ยะซายา 65:17, ล.ม.) ขอมั่นใจว่าพระพรต่าง ๆ แห่งราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นสิ่งที่คุณจะบรรลุได้หากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “จงแสวงหาพระยะโฮวา, ขณะเมื่อจะหาพระองค์พบได้, จงทูลขอต่อพระองค์, ขณะเมื่อพระองค์ทรงอยู่ใกล้.”—ยะซายา 55:6.
เพื่อช่วยคุณปฏิบัติเช่นนี้ จงทำให้การอ่านและการศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างถี่ถ้วนเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในชีวิตคุณ. จงมารู้จักพระเจ้าและผู้ที่พระองค์ทรงใช้มา คือพระเยซูคริสต์. จงพยายามดำเนินชีวิตสอดคล้องกับมาตรฐานของพระเจ้าและโดยวิธีนี้แสดงให้เห็นว่าคุณเต็มใจยอมอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์. แนวทางดังกล่าวจะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นในปัจจุบัน ถึงแม้อาจจะต้องเผชิญการทดลองต่าง ๆ. และในอนาคต การทำเช่นนั้นจะยังผลให้คุณได้รับชีวิตในโลกที่ปราศจากความทุกข์.—โยฮัน 17:3.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 ในเชิงอรรถของเยเนซิศ 2:17 เดอะ เจรูซาเลม ไบเบิล อธิบายว่า “ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความดีและความชั่ว” เป็น “อำนาจในการตัดสิน . . . ว่าอะไรดีและอะไรชั่วแล้วลงมือปฏิบัติตามนั้น เป็นการอ้างถึงความเป็นอิสระด้านศีลธรรมอย่างเต็มที่ ซึ่งโดยการอ้างเช่นนั้นมนุษย์ปฏิเสธที่จะยอมรับฐานะของเขาเองที่เป็นผู้ถูกสร้าง.” มีการกล่าวเสริมอีกว่า “บาปแรกสุดเป็นการโจมตีพระบรมเดชานุภาพของพระเจ้า.”
^ วรรค 17 สำหรับการพิจารณาโดยละเอียดเกี่ยวกับคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องปี 1914 โปรดดูบท 10 และ 11 ของหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[กรอบหน้า 6, 7]
เราจะรับมือกับความทุกข์ได้อย่างไร?
“บรรดาความกระวนกระวายของท่านจงฝากไว้กับ [พระเจ้า].” (1 เปโตร 5:7) ความรู้สึกสับสน, โกรธ, และความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งเป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกินเมื่อเราทนทุกข์หรือเห็นคนที่เรารักทนทุกข์. กระนั้น ขอมั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงเข้าใจความรู้สึกของเรา. (เอ็กโซโด 3:7; ยะซายา 63:9) เช่นเดียวกับปฐมบรรพบุรุษผู้ซื่อสัตย์ในโบราณกาล เราสามารถเผยความรู้สึกส่วนลึกสุดของเราต่อพระองค์และแสดงความสงสัยและความกระวนกระวายของเราออกมา. (เอ็กโซโด 5:22; โยบ 10:1-3; ยิระมะยา 14:19; ฮะบาฆูค 1:13) พระองค์อาจจะไม่ขจัดการทดลองไปจากเราอย่างอัศจรรย์ แต่ในการตอบคำอธิษฐานด้วยน้ำใสใจจริงของเรา พระองค์สามารถประทานสติปัญญาและกำลังให้เราเพื่อจะรับมือกับการทดลองนั้นได้.—ยาโกโบ 1:5, 6.
“อย่าประหลาดใจที่ท่านต้องได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสเป็นการลองใจ เหมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์อันประหลาดได้เกิดขึ้นกับท่าน.” (1 เปโตร 4:12, ฉบับแปลใหม่ ) ในที่นี้เปโตรกำลังพูดถึงการข่มเหง แต่คำพูดของท่านนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมพอ ๆ กันกับความทุกข์ใด ๆ ที่ผู้มีความเชื่ออาจต้องทนรับอยู่. มนุษย์ประสบการขาดแคลนสิ่งจำเป็นพื้นฐานในชีวิต, ความเจ็บป่วย, และการสูญเสียผู้เป็นที่รัก. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า” เกิดขึ้นกับทุกคน. (ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.) เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งแห่งสภาพการณ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน. การตระหนักถึงเรื่องนี้จะช่วยเราให้รับมือกับความทุกข์และภัยพิบัติที่เกิดขึ้น. (1 เปโตร 5:9) อันดับแรก การระลึกถึงคำรับรองที่ว่า “พระเนตรพระยะโฮวาเพ่งดูผู้ชอบธรรม, และพระกรรณของพระองค์ทรงสดับฟังคำทูลร้องทุกข์ของเขา” จะเป็นแหล่งแห่งการปลอบโยนเป็นพิเศษ.—บทเพลงสรรเสริญ 34:15; สุภาษิต 15:3; 1 เปโตร 3:12.
“จงยินดีในความหวัง.” (โรม 12:12) แทนที่จะครุ่นคิดถึงแต่ความสุขที่เคยมีในอดีต เราสามารถคิดใคร่ครวญถึงคำสัญญาของพระเจ้าที่จะทำให้ความทุกข์ทั้งสิ้นยุติลง. (ท่านผู้ประกาศ 7:10) ความหวังที่มีรากฐานมั่นคงเช่นนี้จะปกป้องเราเสมือนหมวกเกราะที่ป้องกันศีรษะ. ความหวังเป็นสิ่งบรรเทาความทุกข์ต่าง ๆ ที่เราประสบในชีวิตและช่วยทำให้มั่นใจว่าเหตุการณ์เหล่านั้นไม่มีผลเสียหายถาวรต่อสุขภาพของเราทางด้านจิตใจ, ด้านอารมณ์, หรือด้านวิญญาณ.—1 เธซะโลนิเก 5:8.
[ภาพหน้า 5]
อาดามและฮาวาได้ปฏิเสธการปกครองของพระเจ้า
[ภาพหน้า 7]
พระเจ้าสัญญาว่าจะมีโลกที่ไร้ความทุกข์