“ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า” ชุมนุมกันด้วยความยินดี
“ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า” ชุมนุมกันด้วยความยินดี
วิกฤตการณ์ทางศีลธรรม, เศรษฐกิจ, และการเมืองกำลังก่อความระส่ำระสายในโลก. แต่ท่ามกลางความวุ่นวายทั้งหมดนี้ พยานพระยะโฮวาได้ร่วมชุมนุมกันสามวันอย่างสันติ ณ การประชุมภาค “ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า.” การประชุมนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2002.
การประชุมนี้ปรากฏว่าเป็นวาระที่น่าชื่นชมยินดีอย่างแท้จริง. ให้เรามาทบทวนกันอย่างย่อ ๆ ถึงระเบียบวาระที่เสริมสร้างนี้ซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก.
วันแรกเน้นน้ำใจแรงกล้าของพระเยซู
อรรถบทของการประชุมภาควันแรกคือ “จงเลียนแบบน้ำใจแรงกล้าของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา.” (โยฮัน 2:17, ล.ม.) คำบรรยายเรื่อง “จงชื่นชมยินดีที่มาร่วมประชุมกันในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร” เชิญผู้เข้าร่วมประชุมอย่างอบอุ่นให้มีส่วนร่วมในความยินดีซึ่งเป็นลักษณะเด่นเสมอในการประชุมใหญ่ของไพร่พลพระเจ้า. (พระบัญญัติ 16:15) คำบรรยายนี้ติดตามมาด้วยการสัมภาษณ์ผู้ประกาศข่าวดีที่มีใจแรงกล้าบางคน.
คำบรรยายเรื่อง “จงปลาบปลื้มยินดีในพระยะโฮวา” อธิบายบทเพลงสรรเสริญ 37:1-11 ข้อต่อข้อ. เราได้รับการกระตุ้นเตือนไม่ให้มี “ใจเดือดร้อน” เพราะเหตุที่คนชั่วดูเหมือนว่าประสบความเจริญ. แม้คนชั่วอาจให้ข้อมูลคนอื่นอย่างผิด ๆ เกี่ยวกับพวกเรา แต่ในที่สุด พระยะโฮวาจะทำให้กระจ่างว่าที่จริงแล้ว ใครเป็นประชาชนที่สัตย์ซื่อของพระองค์. คำบรรยายเรื่อง “จงเป็นคนกตัญญูรู้คุณ” พิจารณาวิธีที่เราสามารถแสดงความขอบพระคุณต่อพระเจ้า. คริสเตียนทุกคนต้องถวาย “คำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชา” แด่พระยะโฮวา. (เฮ็บราย 13:15, ล.ม.) แน่นอน จำนวนเวลาที่เราอุทิศสำหรับงานรับใช้พระยะโฮวาขึ้นกับความสำนึกบุญคุณและสภาพการณ์ของเรา.
คำปราศรัยสำคัญมีชื่อว่า “ผู้ประกาศราชอาณาจักรเปี่ยมด้วยใจแรงกล้า.” คำบรรยายนี้มุ่งไปที่พระเยซูคริสต์ในฐานะแบบอย่างอันยอดเยี่ยมที่สุดในเรื่องความมีใจแรงกล้า. หลังจากราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1914 คริสเตียนแท้จำต้องมีใจแรงกล้าเพื่อประกาศข่าวดีนั้น. ผู้บรรยายได้กล่าวถึงการประชุมภาคที่เมืองซีดาร์พอยต์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ในปี 1922 และทำให้เราระลึกถึงเสียงร้องเรียกครั้งประวัติศาสตร์ ที่ว่า “จงโฆษณาพระมหากษัตริย์และราชอาณาจักรของพระองค์”! ขณะที่เวลาผ่านไป ความมีใจแรงกล้าของเหล่าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้ากระตุ้นพวกเขาให้ประกาศความจริงเรื่องราชอาณาจักรอันน่าพิศวงนี้ออกไปทั่วทุกชาติ.
คำบรรยายเรื่อง “อย่ากลัวเลยเพราะรู้ว่าพระยะโฮวาทรงสถิตอยู่กับเรา” ในภาคบ่ายวันแรกนั้น แสดงให้เห็นว่าประชาชนของพระเจ้าตกเป็นเป้าพิเศษของซาตาน. แต่แม้จะเผชิญการต่อต้าน การคิดใคร่ครวญถึงตัวอย่างมากมายของผู้คนที่มีความเชื่อในสมัยพระคัมภีร์และสมัยปัจจุบันจะช่วยเราให้มีความกล้าในการเผชิญการทดลองและการล่อใจโดยปราศจากความกลัว.—ยะซายา 41:10.
ระเบียบวาระถัดมาเป็นคำบรรยายชุดสามส่วนที่มีชื่อว่า “คำพยากรณ์ของมีคาเสริมกำลังเราให้ดำเนินในพระนามของพระยะโฮวา.” ผู้บรรยายคนแรกเปรียบการเสื่อมทาง2 เปโตร 3:11, 12.
ศีลธรรม, การออกหากทางศาสนา, และการนิยมวัตถุในสมัยของมีคากับสมัยของเรา. เขากล่าวว่า “ความหวังที่เรามีในอนาคตจะเป็นเรื่องแน่นอน หากเราปลูกฝังหัวใจที่เชื่อฟัง และทำให้แน่ใจว่าความประพฤติของเราบริสุทธิ์ และชีวิตของเราเต็มไปด้วยการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า และถ้าเราไม่ลืมว่าวันของพระยะโฮวาจะมา.”—ในส่วนที่สองของคำบรรยายชุด ผู้บรรยายกล่าวถึงคำกล่าวโทษของมีคาต่อพวกผู้นำยูดาห์. พวกเขาข่มเหงผู้ยากไร้ ประชาชนที่ไม่มีทางสู้. แต่มีคาบอกล่วงหน้าด้วยถึงชัยชนะของการนมัสการแท้. (มีคา 4:1-5) เพราะได้รับกำลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะประกาศข่าวสารแห่งความหวังที่ทำให้สดชื่นนี้. แต่จะว่าอย่างไรถ้าเรารู้สึกว่ามีข้อจำกัดในการรับใช้เนื่องจากปัญหาสุขภาพหรือรู้สึกว่ามีข้อจำกัดอย่างอื่น? ผู้บรรยายคนที่สามกล่าวว่า “ข้อเรียกร้องของพระยะโฮวานั้นสมเหตุสมผล และสามารถบรรลุได้.” จากนั้น เขาพิจารณาต่อไปถึงแง่มุมต่าง ๆ ของมีคา 6:8 (ล.ม.) ซึ่งกล่าวว่า “อะไรคือสิ่งที่พระยะโฮวาทรงเรียกร้องจากเจ้านอกจากให้สำแดงความยุติธรรมและให้รักความกรุณาและให้เจียมตัวในการดำเนินกับพระเจ้าของเจ้า?”
เนื่องจากความเสื่อมศีลธรรมในโลกอาจมีผลกระทบต่อคริสเตียน เราทุกคนจึงได้รับประโยชน์จากคำบรรยายที่มีชื่อว่า “ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์โดยป้องกันหัวใจของคุณ.” เพื่อเป็นตัวอย่าง การรักษาความบริสุทธิ์จะช่วยเราให้มีชีวิตสมรสที่มีความสุข. ในฐานะคริสเตียน เราต้องไม่แม้แต่ที่จะคิดในเรื่องการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำผิดศีลธรรมทางเพศ.—1 โกรินโธ 6:18.
คำบรรยายเรื่อง “จงระวังการหลอกลวง” แสดงให้เห็นว่าเป็นการฉลาดที่จะถือว่าการบิดเบือนความจริง, คำกล่าวที่จริงบ้างไม่จริงบ้าง, และคำกล่าวเท็จล้วน ๆ ซึ่งแพร่โดยพวกออกหากนั้นเป็นเสมือนยาพิษ. (โกโลซาย 2:8) เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ลวงตัวเองด้วยการคิดว่าเราสามารถสนองความปรารถนาที่ผิดบาปได้โดยไม่ต้องรับผลเสียหายตามมา.
“จงนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว” เป็นชื่อคำบรรยายสุดท้ายสำหรับวันแรก. ในขณะที่สภาพการณ์ต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันเลวร้ายมากขึ้น
ทุกขณะ ช่างเป็นเรื่องที่ให้กำลังใจจริง ๆ ที่รู้ว่าในไม่ช้าพระยะโฮวาจะนำโลกใหม่อันชอบธรรมของพระองค์มาแทนที่! ใครจะอาศัยอยู่ที่นั่น? เฉพาะแต่ผู้ที่นมัสการพระยะโฮวา. เพื่อจะช่วยเรา, ลูก ๆ ของเรา, และนักศึกษาพระคัมภีร์ของเราให้บรรลุข้อเรียกร้องดังกล่าว ผู้บรรยายได้ประกาศการออกหนังสือคู่มือศึกษาเล่มใหม่ที่ชื่อว่าจงนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว. เรามีความสุขใจสักเพียงไรที่ได้รับหนังสือนี้!วันที่สองเน้นการมีใจแรงกล้าเพื่อสิ่งที่ดี
วันที่สองของการประชุมภาคมีอรรถบทว่า “จงมีใจแรงกล้าเพื่อสิ่งที่ดี.” (1 เปโตร 3:13, ล.ม.) ผู้บรรยายคนแรกพิจารณาข้อคัมภีร์ประจำวัน. เขาเน้นว่าการพิจารณาข้อคัมภีร์ประจำวันอย่างมีความหมายเป็นประจำจะทำให้เรามีใจแรงกล้ายิ่งขึ้น.
ถัดมาเป็นคำบรรยายชุด “ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่ยกย่องงานรับใช้ของตน.” ส่วนแรกเน้นความจำเป็นที่จะใช้พระคำของพระเจ้าอย่างถูกต้อง. (2 ติโมเธียว 2:15) การใช้พระคัมภีร์ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเปิดทางให้พระคำของพระเจ้า ‘สำแดงพลัง’ ในชีวิตของผู้คน. (เฮ็บราย 4:12) เราควรนำความสนใจไปสู่พระคัมภีร์และหาเหตุผลโดยอาศัยพระคัมภีร์อย่างที่น่าเชื่อถือ. ส่วนที่สองของคำบรรยายชุดสนับสนุนให้เรากลับไปเยี่ยมผู้สนใจครั้งแล้วครั้งเล่า. (1 โกรินโธ 3:6) การเตรียมตัวและความกล้าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะติดตามผู้สนใจทุกรายให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้. ส่วนที่สามแนะนำให้มองว่าแต่ละคนที่เราพบอาจจะเข้ามาเป็นสาวก และแสดงให้เห็นว่าการเสนอการศึกษาพระคัมภีร์ในการประกาศครั้งแรกอาจนำไปสู่ความยินดีในการช่วยคนให้เข้ามาเป็นสาวก.
“เหตุผลที่ ‘อธิษฐานอย่างไม่ละลด’” เป็นชื่อคำบรรยายถัดไป. คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเตือนให้คริสเตียนหมายพึ่งพระเจ้าเพื่อการชี้นำในทุกแง่มุมของชีวิต. ยาโกโบ 4:8.
เราจำเป็นต้องจัดเวลาเพื่อการอธิษฐานเป็นส่วนตัว. ยิ่งกว่านั้น เราต้องหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ เนื่องจากพระยะโฮวาอาจปล่อยให้เราอธิษฐานไปสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเห็นว่าพระองค์ตอบคำอธิษฐาน.—คำบรรยายเรื่อง “การพูดคุยเรื่องทางฝ่ายวิญญาณเป็นการเสริมสร้าง” กระตุ้นเราให้ใช้ความสามารถในการพูดที่พระเจ้าประทานให้อย่างที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเราเองและผู้อื่น. (ฟิลิปปอย 4:8) สามีภรรยาและลูก ๆ จำเป็นต้องมีการสนทนากันในเรื่องฝ่ายวิญญาณบ้างทุก ๆ วัน. เพื่อจะทำอย่างนั้น ควรพยายามจัดให้มีการกินอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งมื้อในแต่ละวัน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกันแบบที่เสริมสร้าง.
ระเบียบวาระภาคเช้าจบลงด้วยคำบรรยายที่อบอุ่นใจเรื่อง “วิธีที่การอุทิศตัวและการรับบัพติสมานำไปสู่ความรอด.” ผู้ที่จะรับบัพติสมาได้รับความรู้, แสดงความเชื่อ, กลับใจ, หันกลับจากการทำผิด, และได้อุทิศตัวแด่พระเจ้า. ผู้บรรยายกล่าวว่า หลังจากรับบัพติสมา พวกเขายังต้องเติบโตฝ่ายวิญญาณ อีกทั้งรักษาความมีใจแรงกล้าและความประพฤติที่ดีต่อ ๆ ไป.—ฟิลิปปอย 2:15, 16.
บ่ายวันนั้น มีการเน้นจุดสำคัญสองจุดในคำบรรยายเรื่อง “จงเป็นคนเจียมตัว และรักษาตาของคุณให้ปกติ.” การเป็นคนเจียมตัวหมายถึงมีทัศนะที่ตรงตามความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดและฐานะของเราเองจำเพาะพระเจ้า. การเป็นคนเจียมตัวช่วยเรารักษาตาให้ “ปกติ” กล่าวคือเพ่งมองไปที่ราชอาณาจักรของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งฝ่ายวัตถุ. ถ้าทำอย่างนี้ เราไม่จำเป็นต้องกระวนกระวายใจ เพราะพระยะโฮวาจะจัดหาสิ่งจำเป็นให้แก่เรา.—มัดธาย 6:22-24, 33, 34.
ผู้บรรยายคนถัดไปแสดงถึงเหตุผลที่เราควร “ไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่ในยามทุกข์ยาก.” เราจะรับมือกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอฝ่ายเนื้อหนังส่วนตัว และปัญหาการเงินหรือปัญหาสุขภาพได้อย่างไร? ให้เราทูลขอสติปัญญาที่ใช้ได้จริงจากพระยะโฮวาและขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ. แทนที่จะยอมพ่ายแพ้ต่อความตื่นตระหนกหรือความท้อแท้สิ้นหวัง เราน่าจะเสริมความไว้วางใจในพระเจ้าให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วยการอ่านพระคำของพระองค์.—โรม 8:35-39.
คำบรรยายชุดสุดท้ายของการประชุมภาคมีชื่อว่า “คุณภาพแห่งความเชื่อของเราถูกทดสอบโดยการทดลองรูปแบบต่าง ๆ.” ส่วนแรกเตือนใจเราให้ระลึกว่าคริสเตียนแท้ทุกคนจะประสบการข่มเหง. การข่มเหงทำให้เรามีโอกาสให้คำพยานแก่ผู้อื่น, เสริมสร้างความเชื่อของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น, และทำให้เรามีโอกาสได้แสดงความภักดีต่อพระเจ้า. ถึงแม้ว่าเราไม่ทำให้ชีวิตตกอยู่ในอันตรายโดยไม่จำเป็น แต่เราจะไม่ใช้วิธีการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์เพื่อหลีกเลี่ยงการข่มเหง.—1 เปโตร 3:16.
ผู้บรรยายคนที่สองในคำบรรยายชุดนี้พิจารณาคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกลาง. คริสเตียนในยุคแรกโยฮัน 15:19, ล.ม.) เนื่องจากการทดสอบความเป็นกลางของเราอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ละครอบครัวจึงควรจัดเวลาเพื่อทบทวนหลักการจากพระคัมภีร์ที่ให้การชี้นำในเรื่องนี้. ดังที่ส่วนที่สามของคำบรรยายชุดนี้ชี้ให้เห็น จุดมุ่งหมายของซาตานคือ ไม่จำเป็นต้องฆ่าเรา แต่กดดันให้เรากลายเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า. เมื่อเราอดทนอย่างซื่อสัตย์ขณะเผชิญการเยาะเย้ย, ความกดดันให้ทำผิดศีลธรรม, ความปวดร้าวทางอารมณ์, และความเจ็บป่วย เราจะนำคำสรรเสริญมาสู่พระยะโฮวา.
ไม่ใช่พวกที่ต่อต้านสงครามทุกรูปแบบ ถึงกระนั้น พวกเขามีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเป็นอันดับแรก. เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ พยานพระยะโฮวายึดมั่นต่อหลักการที่ว่า “เจ้ามิได้เป็นส่วนของโลก.” (คำเชิญชวนอันอบอุ่นที่ว่า “จงเข้าใกล้พระยะโฮวา” เป็นชื่อคำบรรยายสุดท้ายของวันนี้. การเข้าใจคุณลักษณะเด่น ๆ ของพระยะโฮวาดึงดูดเราให้อยากเข้าใกล้พระองค์. พระองค์ทรงใช้อำนาจอันไร้ขีดจำกัดของพระองค์เพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝ่ายวิญญาณ. ความยุติธรรมของพระองค์ไม่เป็นแบบเย็นชา แต่ความยุติธรรมนั้นกระตุ้นพระองค์ให้โอกาสแก่ทุกคนที่ประพฤติในทางชอบธรรมที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์. สติปัญญาของพระเจ้าเห็นได้ชัดจากวิธีที่พระองค์ทรงใช้มนุษย์ไม่สมบูรณ์ให้เขียนคัมภีร์ไบเบิล. คุณลักษณะที่ชวนให้รักใคร่มากที่สุดของพระองค์คือความรัก ซึ่งกระตุ้นพระองค์ให้จัดเตรียมเพื่อความรอดสำหรับมนุษยชาติโดยทางพระเยซูคริสต์. (โยฮัน 3:16) ผู้บรรยายสรุปด้วยการออกหนังสือใหม่ที่ทำให้เอิบอิ่มใจ ที่มีชื่อว่าจงเข้าใกล้พระยะโฮวา.
วันที่สามมุ่งเน้นใจแรงกล้าเพื่อการกระทำที่ดีงาม
อรรถบทของการประชุมภาควันที่สามคือ “ชนที่มีใจแรงกล้าเพื่อการกระทำที่ดีงาม.” (ติโต 2:14, ล.ม.) ระเบียบวาระภาคเช้าเริ่มด้วยการพิจารณาข้อพระคัมภีร์ประจำวันโดยครอบครัวหนึ่ง. ถัดมาเป็นคำบรรยายที่ชื่อว่า “คุณมั่นใจในพระยะโฮวาไหม?” ชาติต่าง ๆ ได้มอบความไว้ วางใจของตนผิดที่ โดยวางใจในสติปัญญาและกำลังของตนเอง. แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาวางใจในพระองค์ด้วยความกล้าหาญและความยินดี ทั้ง ๆ ที่มีความยากลำบาก.—บทเพลงสรรเสริญ 46:1-3, 7-11.
ส่วนที่ชื่อว่า “หนุ่มสาวทั้งหลาย—จงสร้างอนาคตไว้กับองค์การของพระยะโฮวา” พิจารณาคำถามที่ว่า คนหนุ่มสาวจะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุดได้อย่างไร? เป็นไปไม่ได้เลยที่จะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าด้วยการมุ่งแสวงหาเงิน, สมบัติวัตถุ, และชื่อเสียง. ด้วยความรัก พระผู้สร้างของเราทรงกระตุ้นเยาวชนให้ระลึกถึงพระองค์ขณะเมื่อยังเยาว์วัย. ผู้บรรยายสัมภาษณ์บางคนที่ได้ทุ่มเทตัวเองในงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียนขณะที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว และเรารู้สึกได้ถึงความยินดีของพวกเขา. และเป็นประโยชน์สักเพียงไรที่ได้รับแผ่นพับใหม่ที่ชื่อว่า หนุ่มสาวทั้งหลาย—คุณจะใช้ชีวิตของคุณอย่างไร? ซึ่งออกแบบเพื่อช่วยหนุ่มสาวพยานฯ ให้วางรากฐานสำหรับอนาคตชั่วนิรันดร์ไว้กับองค์การของพระยะโฮวา!
ถัดมาเป็นละครในฉากสมัยพระคัมภีร์ที่ดึงดูดความสนใจที่ชื่อว่า “ยืนหยัดมั่นคงในเวลาที่ยากลำบาก.” ละครเรื่องนี้เล่าเหตุการณ์อย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับงานประจำชีพอันยาวนานของยิระมะยาตั้งแต่เมื่อยังหนุ่มไปจนถึงความพินาศของกรุงเยรูซาเลม ซึ่งท่านได้พยากรณ์ด้วยใจแรงกล้า. ยิระมะยารู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณวุฒิสำหรับงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ท่านก็ทำหน้าที่มอบหมายนั้นได้สำเร็จ ทั้ง ๆ ที่เผชิญการต่อต้าน และพระยะโฮวาได้ช่วยท่านให้รอด.—ยิระมะยา 1:8, 18, 19.
เมื่อจบละคร มีคำบรรยายที่ชื่อว่า “จงเป็นเหมือนยิระมะยา—ประกาศพระคำของพระเจ้าโดยปราศจากความกลัว.” บ่อยครั้ง ผู้ประกาศราชอาณาจักรในปัจจุบันตกเป็นเป้าของการให้ข้อมูลอย่างผิด ๆ และการโฆษณาชวนเชื่อแบบประสงค์ร้าย. (บทเพลงสรรเสริญ 109:1-3) แต่เช่นเดียวกับยิระมะยา เราสามารถรับมือกับความท้อแท้ใจโดยมีความปีติยินดีในพระคำของพระยะโฮวา. ยิ่งกว่านั้น เรามั่นใจว่าผู้ที่ต่อสู้เราจะไม่ชนะ.
คำบรรยายสาธารณะที่ชื่อว่า “ฉากของโลกนี้กำลังเปลี่ยนไป” นั้นเหมาะแก่เวลาจริง ๆ. ยุคสมัยของเราโดดเด่นเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่. คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น รวมถึงการประกาศ “สันติภาพและความปลอดภัย” ซึ่งจะนำไปสู่วันพิพากษาอันน่าสะพรึงกลัวของพระเจ้า. (1 เธซะโลนิเก 5:3, ล.ม.) วันพิพากษาของพระเจ้าจะยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะยุติสงคราม, อาชญากรรม, ความรุนแรง, รวมทั้งโรคภัยต่าง ๆ. ดังนั้น แทนที่จะวางใจระบบนี้ บัดนี้เป็นเวลาที่จะติดตามความเลื่อมใสในพระเจ้าและรักษาความประพฤติอันบริสุทธิ์.
หลังจากการสรุปบทเรียนในหอสังเกตการณ์ ประจำสัปดาห์ ก็เป็นคำบรรยายสุดท้ายของการประชุมภาคคราวนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “เปี่ยมด้วยการกระทำที่ดีงามในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า.” ผู้บรรยายชี้ให้เห็นวิธีที่ระเบียบวาระทั้งสามวันได้กระตุ้นเราทางฝ่ายวิญญาณและสนับสนุนให้เราวางใจพระยะโฮวา. ในตอนท้าย เราได้รับการกระตุ้นให้เป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าที่บริสุทธิ์สะอาด, เปี่ยมด้วยความรัก, และมีใจแรงกล้า.—1 เปโตร 2:12.
ด้วยความรู้สึกอย่างเดียวกับเหล่าผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยของนะเฮมยา เรากลับบ้านด้วยความรู้สึกปีติยินดีอย่างแน่นอนเนื่องด้วยพระพรฝ่ายวิญญาณที่เราได้รับจากการประชุมภาค “ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า.” (นะเฮมยา 8:12) การประชุมภาคที่น่าตื่นเต้นนี้ทำให้คุณเปี่ยมล้นไปด้วยความชื่นชมยินดีและบากบั่นต่อไปที่จะเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้ามิใช่หรือ?
[กรอบ/ภาพหน้า 23]
คู่มือศึกษาเล่มใหม่!
ในตอนท้ายของการประชุมภาควันแรก ผู้เข้าร่วมประชุมมีความยินดีเมื่อมีการออกหนังสือใหม่จงนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว. หนังสือนี้ออกแบบเพื่อใช้ศึกษากับผู้ที่จบการศึกษาหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ และไม่มีข้อสงสัยว่าหนังสือนี้จะช่วยเสริมความเชื่อของคนเหล่านั้น “ที่มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์.”—กิจการ 13:48, ล.ม.
[ที่มาของภาพหน้า 23]
Image on book cover: U.S. Navy photo
[กรอบ/ภาพหน้า 24]
ความช่วยเหลือให้เข้าใกล้พระเจ้ายิ่งขึ้น
ผู้บรรยายคนสุดท้ายของการประชุมภาควันที่สองได้ประกาศการออกหนังสือใหม่จงเข้าใกล้พระยะโฮวา. หนังสือนี้มีสี่ตอน แต่ละตอนพิจารณาคุณลักษณะเด่นแต่ละอย่างของพระยะโฮวา คืออำนาจ, ความยุติธรรม, สติปัญญา, และความรัก. ในแต่ละตอนมีบทหนึ่งที่แสดงถึงวิธีที่พระเยซูคริสต์ได้ให้ตัวอย่างต่าง ๆ ซึ่งเห็นได้ชัดเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้าในภาคปฏิบัติ. วัตถุประสงค์หลักของหนังสือใหม่นี้คือช่วยเราและนักศึกษาพระคัมภีร์ของเราให้สร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับพระยะโฮวาพระเจ้า.
[กรอบ/ภาพหน้า 26]
คำแนะแนวฝ่ายวิญญาณสำหรับคนหนุ่มสาว
การประชุมภาควันที่สามโดดเด่นด้วยการออกแผ่นพับพิเศษที่มีชื่อว่าหนุ่มสาวทั้งหลาย—คุณจะใช้ชีวิตของคุณอย่างไร? แผ่นพับนี้ออกแบบเพื่อช่วยหนุ่มสาวพยานฯ ให้ตัดสินใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา และให้คำแนะนำจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับการสร้างงานประจำชีพถาวรในการรับใช้พระยะโฮวา.