ก่อนและหลังเธอพบพลังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต
“จงเข้าใกล้พระเจ้า แล้วพระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย”
ก่อนและหลังเธอพบพลังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต
แซนดรา สตรีคนหนึ่งในเม็กซิโกได้พรรณนาถึงตัวเองว่าเป็นแกะดำในครอบครัว. การถูกทอดทิ้งและขาดความรักใคร่ได้ก่อผลเสียหายแก่เธอในช่วงวัยรุ่น. เธอกล่าวว่า “ดิฉันได้ผ่านช่วงวัยรุ่นมาพร้อมด้วยความรู้สึกที่ฝังแน่นว่าตัวเองไร้ค่าและมีข้อสงสัยมากมายว่าตัวเองเกิดมาทำไม ทั้งสงสัยในเรื่องชีวิต.”
ช่วงที่อยู่มัธยมปลาย แซนดราเริ่มดื่มไวน์ที่คุณพ่อของเธอมีอยู่ที่บ้าน. ต่อมา เธอเริ่มซื้อมาดื่มเองแล้วกลายเป็นคนติดเหล้า. เธอยอมรับว่า “ดิฉันไม่มีแรงจูงใจที่จะมีชีวิตอยู่.” ด้วยความสิ้นหวัง แซนดราหันไปหายาเสพติด. เธอกล่าวว่า “ที่ช่วยดิฉันลืมปัญหาต่าง ๆ ได้ก็มีแต่สิ่งที่ดิฉันใส่ไว้ในกระเป๋าถือ นั่นคือ เหล้าขวดหนึ่ง, ยาเสพติดบ้าง, หรือกัญชานิดหน่อย.”
หลังจากแซนดราสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์แล้ว เธอจมอยู่กับโรคพิษสุราเรื้อรัง. เธอพยายามจะจบชีวิตของเธอ แต่ก็รอดมาได้.
แซนดราหันไปหาศาสนาต่าง ๆ หลายศาสนาเพื่อได้ความช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณและการเกื้อหนุนด้านอารมณ์แต่ก็ไร้ผล. เนื่องจากสูญสิ้นความหวังและตกอยู่ในสภาพท้อแท้อย่างหนัก เธอร้องตะโกนถึงพระเจ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “พระองค์อยู่ที่ไหน? ทำไมพระองค์ไม่ช่วยข้าพเจ้า?” ตอนที่เธอมีความรู้สึกไร้ค่าที่สุดนั้นก็มีพยานพระยะโฮวาคนหนึ่งพูดคุยกับเธอ. นี่นำไปสู่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. แซนดรารู้สึกซาบซึ้งเมื่อได้เรียนรู้ว่า “พระยะโฮวาทรงสถิตอยู่ใกล้ผู้ที่มีใจชอกช้ำ.”—บทเพลงสรรเสริญ 34:18.
ผู้สอนคัมภีร์ไบเบิลได้ช่วยแซนดราให้เข้าใจว่าพระยะโฮวาพระเจ้าทรงทราบว่าเราเปราะบางเนื่องจากบาปและความไม่สมบูรณ์ที่เราได้สืบทอดมาจากอาดาม. แซนดราได้ตระหนักว่าพระเจ้าทรงเข้าใจว่าเราไม่สามารถทำตามมาตรฐานที่ชอบธรรมได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง. (บทเพลงสรรเสริญ 51:5; โรม 3:23; 5:12, 18) เธอยินดีที่ทราบว่าพระยะโฮวามิได้เพ่งเล็งในข้ออ่อนแอของเรา และพระองค์ไม่คาดหมายจากเราเกินกว่าที่เราทำได้. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญถามว่า “โอ้ยาห์ โอ้ พระยะโฮวา ถ้าพระองค์คอยจับผิด ใครจะทนไหว?”—บทเพลงสรรเสริญ 130:3, ล.ม.
ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งทำให้หัวใจแซนดราอบอุ่นคือเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์. ด้วยความเมตตาพระยะโฮวาทรงให้มนุษย์ที่เชื่อฟังมีฐานะชอบธรรมโดยทางเครื่องบูชานั้นทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์. (1 โยฮัน 2:2; 4:9, 10) ใช่แล้ว เราสามารถได้รับ “การอภัยโทษบาปของเรา” และจึงได้รับการช่วยให้เอาชนะความรู้สึกไร้ค่าใด ๆ.—เอเฟโซ 1:7, ฉบับแปลใหม่.
แซนดราได้เรียนรู้บทเรียนอันทรงคุณค่าจากตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล. ท่านหยั่งรู้คุณค่าความกรุณาของพระเจ้าอย่างยิ่งในการให้อภัยความผิดในอดีตของท่านด้วยพระทัยเอื้ออารี และทรงสนับสนุนการที่ท่านต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อเอาชนะความอ่อนแอที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า. (โรม 7:15-25; 1 โกรินโธ 15:9, 10) เปาโลได้แก้ไขแนวทางชีวิตของท่าน ‘ทุบตีร่างกายของท่าน และจูงมันเยี่ยงทาส’ เพื่อจะคงอยู่ในแนวทางที่พระเจ้าพอพระทัย. (1 โกรินโธ 9:27, ล.ม.) ท่านไม่ยอมให้แนวโน้มที่ผิดบาปจูงท่านเยี่ยงทาส.
บทเพลงสรรเสริญ 55:22; ยาโกโบ 4:8) โดยสำนึกว่าพระเจ้าทรงสนพระทัยเธอเป็นส่วนตัว แซนดราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง. เธอกล่าวว่า “ดิฉันมีความยินดีที่ได้สอนคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่นเต็มเวลา.” แซนดรามีสิทธิพิเศษที่ได้ช่วยพี่สาวและน้องสาวของเธอให้มารู้จักพระยะโฮวา. ขณะที่เธอ “ทำการดี” เธอยังอาสาสมัครใช้ทักษะทางการแพทย์ของเธอ ณ การประชุมใหญ่ของพยานพระยะโฮวาด้วย.—ฆะลาเตีย 6:10.
จุดอ่อนแอของแซนดรารบกวนเธอ แต่เธอก็ต่อสู้กับจุดอ่อนแอนั้นเรื่อยมา. เธออธิษฐานอย่างจริงจังเพื่อได้รับความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาที่จะเอาชนะความอ่อนแอนั้นและแสวงหาความเมตตาของพระองค์. (จะว่าอย่างไรเรื่องการใช้สิ่งเสพติดของแซนดรา? เธอพูดด้วยความมั่นใจว่า “ความคิดจิตใจของดิฉันแจ่มชัด. ดิฉันไม่ดื่มเหล้า, สูบบุหรี่, หรือใช้ยาเสพติดอีกต่อไป. ดิฉันไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้. ดิฉันพบสิ่งที่ตัวเองแสวงหาแล้ว.”
[คำโปรยหน้า 9]
“ดิฉันพบสิ่งที่ตัวเองแสวงหาแล้ว”
[กรอบหน้า 9]
หลักการในคัมภีร์ไบเบิลเกิดผล
ต่อไปนี้เป็นหลักการในคัมภีร์ไบเบิลบางข้อที่ได้ช่วยหลายคนให้หลุดพ้นจากสิ่งเสพติดที่ทำให้เป็นมลทิน:
“ให้เราชำระตัวเราจากมลทินทุกอย่างแห่งเนื้อหนังและวิญญาณ ทำความบริสุทธิ์ให้สมบูรณ์ด้วยความเกรงกลัวพระเจ้า.” (2 โกรินโธ 7:1, ล.ม.) พระเจ้าทรงอวยพรคนเหล่านั้นที่ได้ชำระตัวจากมลทิน หลีกเลี่ยงกิจปฏิบัติที่ไม่สะอาด.
“ความยำเกรงพระยะโฮวาคือการชังความชั่ว.” (สุภาษิต 8:13) ความเคารพยำเกรงพระเจ้าช่วยคนเราให้หลุดพ้นจากนิสัยที่ไม่ดี รวมทั้งการใช้ยาเสพติดด้วย. นอกจากทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยแล้ว บุคคลที่เปลี่ยนแปลงได้รับการปกป้องไว้จากโรคที่น่ากลัว.
“ให้ยอมอยู่ใต้อำนาจและเชื่อฟังรัฐบาลและผู้มีอำนาจที่เป็นผู้ปกครอง.” (ติโต 3:1, ล.ม.) ในหลายที่หลายแห่ง การมีหรือการใช้ยาเสพติดบางอย่างเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย. คริสเตียนแท้ไม่มียาเสพติดไว้ในครอบครองหรือใช้ยาเสพติดนั้น.