คุณมี “เจตคติแบบที่รอคอย” ไหม?
คุณมี “เจตคติแบบที่รอคอย” ไหม?
“ท่านทั้งหลายควรเป็นคนชนิดใดในการประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ!”—2 เปโตร 3:11, 12, ล.ม.
1, 2. เพื่อจะแสดงว่าการมี “เจตคติแบบที่รอคอย” ขณะที่คำนึงถึงวันของพระยะโฮวานั้นหมายถึงอะไร เราอาจยกตัวอย่างเช่นไร?
ขอให้นึกภาพว่าครอบครัวหนึ่งกำลังรอคอยแขกที่จะมาร่วมรับประทานอาหาร. เวลาที่กำหนดไว้ว่าพวกเขาจะมาถึงกระชั้นเข้ามา. ภรรยายุ่งอยู่กับการตกแต่งอาหารขั้นสุดท้าย. สามีและลูก ๆ ช่วยกันดูแลเพื่อจะแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อย. ทุกคนรู้สึกตื่นเต้น. ใช่แล้ว ทั้งครอบครัวรอคอยการมาถึงของแขกด้วยใจจดจ่อ และเฝ้าคอยอาหารมื้ออร่อยพร้อมกับมิตรภาพอันน่าชื่นชม.
2 ในฐานะคริสเตียน เรากำลังรอคอยบางสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นมาก. รอคอยอะไร? เราทุกคนกำลังคอยท่า “วันของพระยะโฮวา”! จนกว่าวันนั้นจะมาถึง เราต้องเป็นเหมือนผู้พยากรณ์มีคา ผู้ซึ่งกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะคอยท่าพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป. ข้าพเจ้าจะสำแดงเจตคติแบบที่รอคอยพระเจ้าแห่งความรอดของข้าพเจ้า.” (มีคา 7:7, ล.ม.) การคอยท่าหมายถึงการอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรไหม? เปล่าเลย. มีงานมากมายที่จะต้องทำ.
3. คริสเตียนควรมีเจตคติเช่นไรตามที่กล่าวไว้ใน 2 เปโตร 3:11, 12?
3 อัครสาวกเปโตรช่วยเราให้มีเจตคติที่เหมาะสมขณะที่รอคอย. ท่านกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายควรเป็นคนชนิดใดในการประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ!” (2 เปโตร 3:11, 12, ล.ม.) ขอสังเกตว่านี่เป็นคำกล่าวที่เน้นหนักโดยใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์. เปโตรไม่ได้ถามคำถาม. ในจดหมายของท่านสองฉบับที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ท่านชี้แจงว่าคริสเตียนควรเป็นคนชนิดใด. นอกจากนี้ ท่านเตือนพวกเขาให้สำแดง “การประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า” อยู่เสมอ. แม้เวลาผ่านไปประมาณ 30 ปีแล้วนับตั้งแต่พระเยซูคริสต์ประทานหมายสำคัญแห่ง “ช่วงอวสานของระบบนี้” แต่คริสเตียนไม่ควรหยุดเฝ้าระวัง. (มัดธาย 24:3, ล.ม.) พวกเขาควร “คอยท่าและคำนึงถึง” วันของพระยะโฮวาเสมอ.
4. มีอะไรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในการ “คำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ”?
4 คำกรีกที่มีการแปลในที่นี้ว่า “คำนึงถึง . . . เสมอ” มีความหมายตามตัวอักษรว่า “เร่ง.” แน่นอน เราไม่สามารถ “เร่ง” วันของพระยะโฮวาได้จริง ๆ ตามตัวอักษร. ที่จริง แม้แต่ “วันหรือโมงนั้น” ที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาเพื่อสำเร็จโทษตามการพิพากษาเหล่าศัตรูของพระบิดาของพระองค์ เราก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ. (มัดธาย 24:36; 25:13) หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งอธิบายว่าคำกริยาที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า “เร่ง” ในที่นี้มีความหมายว่า “‘รีบเร่ง’ ด้วยเหตุนั้น คำนี้จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ ‘ใจแรงกล้า, กระตือรือร้น, จดจ่อ กับบางสิ่ง.’” ดังนั้น เปโตรกำลังกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อให้กระหายที่จะให้วันของพระยะโฮวามาถึง. พวกเขาทำเช่นนี้ได้โดยคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ. (2 เปโตร 3:12) เราควรมีเจตคติอย่างเดียวกันนั้นเนื่องจากปัจจุบัน “วันใหญ่ยิ่งอันน่ากลัวของพระยะโฮวา” ใกล้เข้ามามากแล้ว.—โยเอล 2:31.
คอยท่าด้วย “การประพฤติอันบริสุทธิ์”
5. เราจะแสดงโดยวิธีใดว่าเรากระหายที่จะได้เห็น “วันของพระยะโฮวา”?
5 ถ้าเรากระหายที่จะรอดผ่านวันของพระยะโฮวาจริง ๆ เราต้องแสดงให้เห็นความปรารถนานั้นของเราโดย “การประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า.” ถ้อยคำที่ว่า “การประพฤติอันบริสุทธิ์” อาจทำให้เรานึกถึงคำเตือนของเปโตรที่ว่า “ฐานะเป็นบุตรที่เชื่อฟัง จงเลิกจากการถูกนวดปั้นตามความปรารถนาที่ท่านทั้งหลายมีแต่ก่อนในตอนที่ท่านรู้เท่าไม่ถึงการณ์. แต่ประสานกับพระองค์ผู้บริสุทธิ์ผู้ซึ่งได้ทรงเรียกท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็เช่นกันจงเป็นคนบริสุทธิ์ในการประพฤติทั้งสิ้นของท่าน เพราะมีคำเขียนไว้แล้วว่า ‘ท่านทั้งหลายต้องเป็นคนบริสุทธิ์เพราะเราเป็นผู้บริสุทธิ์.’”—1 เปโตร 1:14-16, ล.ม.
6. เพื่อจะเป็นคนบริสุทธิ์ เราต้องทำอะไร?
6 เพื่อจะเป็นคนบริสุทธิ์ เราต้องธำรงไว้ซึ่งความสะอาดฝ่ายร่างกาย, จิตใจ, ศีลธรรม, และวิญญาณ. เรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับ “วันของพระยะโฮวา” โดยการรักษาตัวให้บริสุทธิ์ฐานะผู้ที่ถือพระนามพระยะโฮวาไหม? ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในทุกวันนี้ที่จะรักษาความบริสุทธิ์ดังกล่าว เนื่องจากมาตรฐานทางศีลธรรมของโลกเสื่อมลงเรื่อย ๆ. (1 โกรินโธ 7:31; 2 ติโมเธียว 3:13) เรารู้สึกไหมว่าความแตกต่างระหว่างมาตรฐานทางศีลธรรมของเรากับของโลกขยายกว้างขึ้นทุกที ๆ? ถ้าไม่รู้สึกอย่างนั้น เราก็มีเหตุที่จะเป็นห่วง. เป็นได้ไหมว่ามาตรฐานของตัวเราเอง แม้ว่าอยู่ในระดับสูงกว่าของโลก แต่ก็กำลังเสื่อมลง? ถ้าเป็นเช่นนั้น เราต้องลงมือจัดการแก้ไขให้เรียบร้อยเพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า.
7, 8. (ก) เราอาจลืมคำนึงถึงความสำคัญของ “การประพฤติอันบริสุทธิ์” ไปได้อย่างไร? (ข) อาจต้องดำเนินมาตรการเช่นไรเพื่อแก้ไข?
7 เนื่องด้วยภาพลามกอนาจารเริ่มปรากฏทางอินเทอร์เน็ต และสามารถหาดูได้ในสถานที่ส่วนตัว บางคนซึ่งครั้งหนึ่งไม่เคยมีทางจะพบเห็นสื่อลามกเช่นนั้นได้ บัดนี้ พบ “โอกาสที่จะรู้เห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศที่มีให้อย่างไม่อั้น” ตามที่นายแพทย์คนหนึ่งกล่าวไว้. ถ้าเราค้นหาเว็บไซต์ที่บรรจุเนื้อหาไม่สะอาดเช่นนั้น แน่นอนว่าเรากำลังเพิกเฉยคำสั่งในคัมภีร์ไบเบิลที่ห้ามไม่ให้ “แตะต้องสิ่งไม่สะอาด.” (ยะซายา 52:11, ฉบับแปลใหม่) ถ้าเป็นอย่างนั้น เรากำลัง “คำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ” อย่างแท้จริงไหม? หรือว่าในใจของเรา เรากำลังเลื่อนวันนั้นออกไป โดยคิดหาเหตุผลว่า แม้เรากำลังทำให้จิตใจสกปรกด้วยภาพอันน่าอุจาด แต่ก็ยังพอมีเวลาที่จะชำระให้สะอาดได้ทัน? หากเรามีปัญหาในทำนองนี้ เป็นเรื่องเร่งด่วนสักเพียงไรที่เราจะขอพระยะโฮวาให้ ‘หันนัยน์ตาของเราไปจากการมองดูสิ่งอนิจจัง และ . . . สงวนชีวิตของเราในพระมรรคาของพระองค์’!—บทเพลงสรรเสริญ 119:37, ฉบับแปลใหม่.
8 พยานพระยะโฮวาแทบทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ กำลังยึดมั่นกับมาตรฐานอันสูงส่งทางศีลธรรมของพระเจ้าและหลีกห่างจากสิ่งล่อใจให้ทำผิดศีลธรรมของโลกนี้. เนื่องจากสำนึกถึงความเร่งด่วนของสมัยของเราและคำเตือนของเปโตรที่ว่า “วันของพระยะโฮวาจะมาเหมือนอย่างขโมย” พวกเขาจึงสำแดง “การประพฤติอันบริสุทธิ์” เรื่อยไป. (2 เปโตร 3:10, ล.ม.) การกระทำของพวกเขาพิสูจน์ว่าพวกเขา “คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ.” *
คอยท่าด้วย “การกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า”
9. ความเลื่อมใสในพระเจ้าควรจะกระตุ้นเราให้ทำอะไร?
9 “การกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า” นับว่าสำคัญเช่นกันหากเราตั้งใจจะคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ. “ความเลื่อมใสในพระเจ้า” หมายรวมถึงความเคารพยำเกรงพระเจ้าซึ่งกระตุ้นเราให้ทำสิ่งที่ชอบต่อสายพระเนตรของพระองค์. ความผูกพันรักใคร่อย่างภักดีต่อพระยะโฮวาเป็นแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า. พระทัยประสงค์ของพระองค์คือให้ “คนทุกชนิดได้ความรอดและบรรลุความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.” (1 ติโมเธียว 2:4, ล.ม.) พระเจ้า “ไม่ทรงประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใดพินาศเลย, แต่ทรงปรารถนาจะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่.” (2 เปโตร 3:9) ดังนั้น ความเลื่อมใสในพระเจ้าควรจะกระตุ้นเราให้พยายามมากขึ้นมิใช่หรือในการช่วยผู้คนให้มาเรียนรู้จักพระยะโฮวาและเลียนแบบพระองค์?—เอเฟโซ 5:1.
10. ทำไมเราควรระวังรักษาตัวให้พ้นจาก “อำนาจล่อลวงของทรัพย์สมบัติ”?
10 ชีวิตของเราจะเต็มไปด้วยการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าถ้าเราแสวงหาราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นอันดับแรก. (มัดธาย 6:33) นี่เกี่ยวข้องกับการมีทัศนะที่สมดุลต่อสิ่งฝ่ายวัตถุ. พระเยซูเตือนว่า “จงเฝ้ามองอยู่เสมอและระวังความละโมบทุกชนิด เพราะแม้แต่เมื่อคนเรามีสิ่งของบริบูรณ์ สิ่งที่เขามีก็ไม่ได้ให้ชีวิตแก่เขา.” (ลูกา 12:15, ล.ม.) แม้อาจเป็นการยากที่จะนึกภาพออกว่าเรากลายเป็นคนตาบอดเพราะว่ารักเงิน แต่เราควรสังเกตว่า “ความกังวล ของระบบนี้และอำนาจล่อลวง ของทรัพย์สมบัติ” สามารถ “ทำให้พระคำ [ของพระเจ้า] นั้นงันไป.” (มัดธาย 13:22, ล.ม.) การหาเงินให้พอเพียงต่อการดำรงชีพอาจไม่ใช่เรื่องง่าย. ด้วยเหตุนั้น ในบางส่วนของโลก หลายคนหาเหตุผลว่าเพื่อจะมีชีวิตที่ดีกว่า พวกเขาต้องย้ายไปยังดินแดนที่มั่งคั่งมากกว่า โดยอาจละครอบครัวไปสักสองสามปี. แม้แต่ผู้รับใช้ของพระเจ้าบางคนก็หาเหตุผลในทำนองนี้. โดยการย้ายไปอยู่ในอีกดินแดนหนึ่ง พวกเขาอาจจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยสำหรับครอบครัวได้. แต่อาจเกิดอะไรขึ้นกับสภาพฝ่ายวิญญาณของครอบครัวอันเป็นที่รักของพวกเขาที่ประเทศบ้านเกิด? ถ้าไม่มีการแสดงบทบาทของประมุขอย่างที่พึงจะเป็นในครอบครัว สมาชิกครอบครัวจะมีสภาพฝ่ายวิญญาณในระดับที่เพียงพอจะรอดผ่านวันของพระยะโฮวาไหม?
11. คนงานย้ายถิ่นคนหนึ่งแสดงให้เห็นอย่างไรว่าการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าสำคัญยิ่งกว่าทรัพย์สมบัติ?
11 คนงานย้ายถิ่นคนหนึ่งจากฟิลิปปินส์ได้เรียนรู้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลจากพยานพระยะโฮวาในญี่ปุ่น. เมื่อเรียนรู้ถึงหน้าที่รับผิดชอบตามหลักพระคัมภีร์เรื่องการเป็นประมุข เขาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องช่วยครอบครัวให้มาเป็นผู้นมัสการพระยะโฮวา. (1 โกรินโธ 11:3) ภรรยาที่อยู่ทางบ้านต่อต้านความเชื่อใหม่ที่เขาได้พบนั้นอย่างหนัก และต้องการให้สามีส่งเงินมาต่อ ๆ ไป แทนที่จะกลับมาบ้านเพื่อสอนความเชื่อของเขาที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลแก่ครอบครัว. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากถูกกระตุ้นด้วยความสำนึกถึงความเร่งด่วนของเวลาและความห่วงใยต่อครอบครัวอันเป็นที่รักของเขา เขาตัดสินใจกลับบ้าน. ความอดทนของเขาในการปฏิบัติกับสมาชิกครอบครัวด้วยความรักทำให้เขาได้ผลตอบแทน. ในที่สุด ครอบครัวของเขามีเอกภาพในการนมัสการแท้ และภรรยาของเขาเข้าสู่งานรับใช้เต็มเวลา.
12. ทำไมเราควรให้ผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณอยู่ในอันดับแรก?
12 สถานการณ์ของเราอาจเปรียบได้กับสถานการณ์ของคนที่อยู่ในอาคารที่ไฟไหม้. จะเป็นการฉลาดสุขุมไหมที่จะวิ่งพล่านเพื่อเก็บทรัพย์สิ่งของออกจากตัวอาคารที่มีไฟลุกโชนซึ่งจวนจะพังลงอยู่แล้ว? แทนที่จะทำอย่างนั้น นับว่าสำคัญกว่ามากมิใช่หรือที่จะรักษาชีวิตให้รอด—ชีวิตของเรา, ของคนในครอบครัว, และของคนอื่น ๆ ที่อยู่ในอาคาร? ระบบชั่วนี้กำลังมุ่งหน้าอย่างรวดเร็วไปสู่ความพินาศ และหลายชีวิตตกอยู่ในอันตราย. โดยการสำนึกถึงเรื่องนี้ แน่นอนว่าเราควรให้ผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณอยู่ในอันดับแรก และจดจ่ออย่างกระตือรือร้นอยู่กับงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรซึ่งเป็นงานช่วยชีวิตให้รอด.—เราต้อง “ปราศจากด่างพร้อย”
13. เราต้องการที่จะอยู่ในสภาพเช่นไรเมื่อวันของพระยะโฮวามาถึง?
13 เปโตรเน้นความสำคัญของการรักษาเจตคติแบบที่รอคอย โดยกล่าวว่า “พวกที่รัก เนื่องจากท่านทั้งหลายกำลังคอยท่าสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็จงกระทำด้วยสุดกำลัง เพื่อในที่สุด [พระเจ้า] จะพบท่านปราศจากด่างพร้อยและตำหนิ และมีสันติสุข.” (2 เปโตร 3:14, ล.ม.) นอกจากเตือนให้สำแดงการประพฤติอันบริสุทธิ์และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าแล้ว เปโตรยังเน้นความสำคัญที่ว่าในที่สุด พระยะโฮวาจะพบว่าแต่ละคนได้รับการชำระให้สะอาดแล้วโดยพระโลหิตอันมีค่ายิ่งของพระเยซู. (วิวรณ์ 7:9, 14) สิ่งนี้เรียกร้องให้แต่ละคนแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาของพระเยซู และเข้ามาเป็นผู้รับใช้ที่อุทิศตัวรับบัพติสมาของพระยะโฮวา.
14. การ “ปราศจากด่างพร้อย” เกี่ยวข้องกับอะไร?
14 เปโตรกระตุ้นเราให้ทำสุดกำลังเพื่อพระเจ้าจะพบเรา “ปราศจากด่างพร้อย.” เรากำลังรักษาเสื้อชั้นนอกแห่งความประพฤติและบุคลิกภาพแบบคริสเตียนให้ปราศจากด่างพร้อยไร้รอยเปรอะเปื้อนเนื่องจากโลกไหม? เมื่อเราสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้ามีจุดเปรอะเปื้อน เราจะพยายามขจัดทันที. ยิ่งถ้าเป็นเสื้อผ้าตัวโปรด เราก็ยิ่งทำความสะอาดเป็นพิเศษ. เรารู้สึกอย่างเดียวกันนั้นไหมถ้าเสื้อชั้นนอกโดยนัยแห่งบุคลิกภาพหรือความประพฤติแบบคริสเตียนของเรามีข้อบกพร่องบางอย่าง?
15. (ก) ทำไมชาวอิสราเอลต้องทำพู่ติดรอบชายเสื้อของเขา? (ข) ทำไมผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันจึงแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด?
15 ชาวอิสราเอลต้องทำ “พู่ติดรอบชายเสื้อของเขา” และ “ปักด้ายสีฟ้าเหนือพู่รอบชายเสื้อนั้น.” เพราะเหตุใด? เพื่อให้พวกเขาจดจำและประพฤติตามพระบัญชาของพระยะโฮวาและ “พิสูจน์ตัวว่าบริสุทธิ์” ต่อพระเจ้าของพวกเขา. (อาฤธโม 15:38-40, ล.ม.) ฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบัน เราแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากโลกเนื่องจากเราปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการของพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น เรารักษาความสะอาดด้านศีลธรรม, เรานับถือความศักดิ์สิทธิ์ของเลือด, และเราไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบูชารูปเคารพทุกรูปแบบ. (กิจการ 15:28, 29) หลายคนนับถือเราเนื่องจากความตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาตัวให้ปราศจากมลทิน.—ยาโกโบ 1:27.
เราต้อง “ปราศจาก . . . ตำหนิ”
16. อะไรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในการรักษาตัวให้ “ปราศจาก . . . ตำหนิ”?
16 นอกจากนั้น เปโตรกล่าวว่าเราต้องให้พระเจ้าพบเรา “ปราศจาก . . . ตำหนิ.” นั่นจะเป็นไปได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้ว จุดเปรอะเปื้อนสามารถเช็ดทำความสะอาดออกได้ แต่ไม่อาจทำอย่างนั้นได้กับรอยตำหนิ. ตำหนิบ่งชี้ว่ามีอะไรบางฟิลิปปอย 2:14, 15, ล.ม.) ถ้าเราปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ เราจะหลีกเลี่ยงการบ่นพึมพำและการทุ่มเถียง และจะรับใช้พระเจ้าด้วยแรงกระตุ้นอันบริสุทธิ์. เราจะถูกกระตุ้นด้วยความรักที่มีต่อพระยะโฮวาและเพื่อนบ้านขณะเราประกาศ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.” (มัดธาย 22:35-40; 24:14, ล.ม.) ยิ่งกว่านั้น เราจะประกาศข่าวดีต่อ ๆ ไป แม้คนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจว่า ทำไมเราจึงอาสาสมัครใช้เวลาในการเพียรพยายามช่วยคนอื่น ๆ ให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์.
อย่างลึกลงไปภายในที่ผิด หรือมีความผิด. อัครสาวกเปาโลเตือนเพื่อนคริสเตียนในฟิลิปปีดังนี้: “จงทำทุกสิ่งต่อ ๆ ไปโดยปราศจากการบ่นพึมพำและการทุ่มเถียง เพื่อท่านทั้งหลายจะได้ไร้ข้อตำหนิและไม่มีความผิด เป็นบุตรของพระเจ้าโดยปราศจากด่างพร้อยท่ามกลางคนชั่วอายุที่คดโกงและบิดเบือน ซึ่งท่ามกลางพวกเขา ท่านฉายแสงดุจดวงสว่างต่าง ๆ ในโลก.” (17. อะไรควรเป็นแรงจูงใจเมื่อเรามุ่งมั่นพยายามที่จะได้มาซึ่งหน้าที่รับผิดชอบในประชาคมคริสเตียน?
17 เนื่องจากปรารถนาที่จะให้พระเจ้าพบเรา “ปราศจาก . . . ตำหนิ” เราจึงควรตรวจสอบเจตนาของเราเองในการทำกิจกรรมทั้งสิ้น. เราได้ละทิ้งแนวทางแบบโลกในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลแบบเห็นแก่ตัวมาแล้ว เช่น การพยายามที่จะได้ความมั่งคั่งหรืออิทธิพล. หากเรามุ่งมั่นพยายามที่จะได้หน้าที่รับผิดชอบในประชาคมคริสเตียน ก็ขอให้เจตนาของเราบริสุทธิ์และขอให้เราถูกกระตุ้นจากความรักที่เรามีต่อพระยะโฮวาและต่อคนอื่น ๆ เสมอ. น่าชื่นใจที่เห็นชายที่อาวุโสฝ่ายวิญญาณยินดี “เอื้อมแขนออกไปเพื่อจะได้ตำแหน่งผู้ดูแล” และปรารถนาที่จะทำงานหนักด้วยความถ่อมใจเพื่อพระยะโฮวาและเพื่อนร่วมความเชื่อของตน. (1 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.; 2 โกรินโธ 1:24) ที่จริง ผู้ที่มีคุณวุฒิรับใช้เป็นผู้ปกครอง “บำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้า . . . ด้วยความเต็มใจ; ไม่ใช่เพราะรักผลกำไรโดยมิชอบ แต่ด้วยใจจดจ่อ; ไม่ใช่เหมือนเจ้านายกดขี่คนเหล่านั้นซึ่งเป็นมรดกของพระเจ้า แต่เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น.”—1 เปโตร 5:1-4, ล.ม.
เราต้อง “มีสันติสุข”
18. พยานพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักดีเนื่องด้วยคุณลักษณะอะไรบ้าง?
18 ประการสุดท้าย เปโตรบอกว่าให้พระเจ้าพบเรา “มีสันติสุข.” เพื่อจะทำตามข้อเรียกร้องนี้ เราต้องมีสันติสุขกับพระยะโฮวาและเพื่อนบ้าน. เปโตรเน้นความสำคัญของการมี “ความรักอันแรงกล้าต่อกันและกัน” และความสำคัญของการรักษาสันติสุขกับเพื่อนคริสเตียน. (1 เปโตร 2:17; 3:10, 11; 4:8, ล.ม.; 2 เปโตร 1:5-7) เพื่อจะรักษาสันติสุขท่ามกลางพวกเรา เราต้องมีความรักต่อกันและกัน. (โยฮัน 13:34, 35; เอเฟโซ 4:1, 2) ความรักและสันติสุขของพวกเราเห็นได้ชัดเป็นพิเศษเมื่อมีการจัดการประชุมนานาชาติ. ในการประชุมภาคปี 1999 ในคอสตาริกา พนักงานขายคนหนึ่งที่สนามบินหงุดหงิด เพราะพยานฯ ท้องถิ่นหลายคนที่ มาต้อนรับตัวแทนเข้าร่วมการประชุมยืนบังหน้าร้านของเขาโดยไม่รู้ตัว. อย่างไรก็ตาม ในวันที่สอง เขาสังเกตเห็นการแสดงความรักและสันติสุขจากการต้อนรับตัวแทนเข้าร่วมการประชุมอย่างกระตือรือร้น แม้ว่าพยานฯ ท้องถิ่นไม่รู้จักคนเหล่านั้นเป็นส่วนตัวมาก่อน. ในวันสุดท้าย พนักงานขายคนนี้เข้าร่วมในการต้อนรับด้วย และขอให้มีการศึกษาพระคัมภีร์.
19. เหตุใดการแสวงหาสันติสุขกับเพื่อนร่วมความเชื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง?
19 ความจริงใจของเราในการแสวงหาสันติสุขกับพี่น้องฝ่ายวิญญาณนั้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่า เราคอยท่าวันของพระยะโฮวาและโลกใหม่ตามคำสัญญาของพระองค์อย่างจริงจังแค่ไหน. (บทเพลงสรรเสริญ 37:11; 2 เปโตร 3:13) สมมุติเราพบว่ายากที่จะรักษาสันติสุขกับเพื่อนร่วมความเชื่อบางคน. เราจะนึกภาพออกไหมว่าเราอยู่กับพี่น้องคนนั้นอย่างมีสันติสุขในอุทยาน? ถ้าพี่น้องคนใดมีอะไรที่ไม่พอใจเรา เราควร ‘คืนดีกับเขา’ โดยเร็ว. (มัดธาย 5:23, 24) การทำอย่างนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งหากเราต้องการจะมีสันติสุขกับพระยะโฮวา.—บทเพลงสรรเสริญ 35:27; 1 โยฮัน 4:20.
20. “เจตคติแบบที่รอคอย” ควรแสดงให้เห็นในทางใดบ้าง?
20 โดยส่วนตัวแล้ว เรากำลัง “คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ” ไหม? ความกระหายของเราที่จะเห็นอวสานของความชั่วแสดงออกโดยการที่เราธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ในโลกที่ผิดศีลธรรม. นอกจากนั้น การที่เราปรารถนาอย่างแรงกล้าให้วันของพระยะโฮวามาถึงและที่จะมีชีวิตภายใต้การปกครองแห่งราชอาณาจักรเห็นได้จากการกระทำของเราด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า. และความคาดหวังของเราที่จะมีชีวิตในโลกใหม่อันเปี่ยมด้วยสันติสุขสะท้อนให้เห็นได้จากการที่เราแสวงหาสันติสุขกับเพื่อนร่วมนมัสการในขณะนี้. โดยการทำทุกสิ่งที่กล่าวไปนี้ เราแสดงว่าเรามี “เจตคติแบบที่รอคอย” และกำลัง “คอยท่าและคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ.”
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 สำหรับตัวอย่างของบางคน โปรดดูหอสังเกตการณ์ 1 มกราคม 2000 หน้า 16 และหนังสือประจำปีแห่งพยานพระยะโฮวา 1997 (ภาษาอังกฤษ) หน้า 51.
คุณจำได้ไหม?
• การ “คำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอ” หมายความเช่นไร?
• การแสดง “เจตคติแบบที่รอคอย” เกี่ยวข้องกับการประพฤติของเราอย่างไร?
• เหตุใด “การกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า” จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง?
• เราต้องทำอะไรเพื่อพระยะโฮวาจะพบเรา “ปราศจากด่างพร้อยและตำหนิ และมีสันติสุข”?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 11]
“เจตคติแบบที่รอคอย” สะท้อนให้เห็นโดยการประพฤติอันบริสุทธิ์
[ภาพหน้า 12]
งานประกาศเรื่องราชอาณาจักรเป็นงานช่วยชีวิต
[ภาพหน้า 14]
ขณะที่เราคอยท่าวันของพระยะโฮวา ให้เราแสวงหาสันติสุขกับคนอื่น