จงคิดอย่างซื่อตรงปฏิบัติอย่างสุขุม
จงคิดอย่างซื่อตรงปฏิบัติอย่างสุขุม
ขอให้นึกภาพเหตุการณ์นี้: พระเยซูคริสต์กำลังชี้แจงว่าพวกศัตรูทางศาสนาในกรุงเยรูซาเลมจะทำให้พระองค์เจ็บปวดแสนสาหัสและแล้วก็ประหารชีวิตพระองค์. อัครสาวกเปโตรสหายสนิทของพระองค์คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น. ที่จริง ท่านพาพระเยซูเลี่ยงไปอีกทางหนึ่งแล้วทักท้วงพระองค์. ความจริงใจและความห่วงใยอย่างแท้จริงของเปโตรไม่เป็นที่สงสัย. แต่พระเยซูทรงประเมินความคิดของเปโตรอย่างไร? พระเยซูตรัสว่า “จงไปอยู่ข้างหลังเรา ซาตาน! เจ้าเป็นหินสะดุดแก่เรา เพราะที่เจ้าคิดนั้น ไม่ใช่ความคิดของพระเจ้า แต่เป็นความคิดของมนุษย์.”—มัดธาย 16:21-23, ล.ม.
เปโตรคงต้องตกตะลึงสักเพียงไร! แทนที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือเกื้อกูล ในกรณีนี้ท่านกลับเป็น “หินสะดุด” สำหรับนายผู้เป็นที่รักของท่าน. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างไร? เปโตรอาจตกเป็นเหยื่อของข้อบกพร่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในความคิดของมนุษย์ นั่นคือเชื่อเฉพาะสิ่งที่ตนอยากเชื่อ.
อย่ามั่นใจเกินไป
ภัยคุกคามอย่างหนึ่งต่อความสามารถในการคิดอย่างถูกต้องของเราคือแนวโน้มที่จะมั่นใจเกินไป. อัครสาวกเปาโลเตือนเพื่อนคริสเตียนในเมืองโครินท์โบราณว่า “คนที่คิดว่าตัวมั่นคงดีอยู่แล้วจงระวังให้ดี, กลัวว่าจะหลงผิดไป.” (1 โกรินโธ 10:12) ทำไมเปาโลกล่าวเช่นนี้? ดูเหมือนเป็นเพราะท่านรู้ว่าง่ายเพียงไรที่ความคิดของมนุษย์จะบิดเบือนไป แม้แต่จิตใจของคริสเตียนก็ “ถูกล่อลวงให้หลงไปจากความสัตย์ซื่อและความบริสุทธิ์ต่อพระคริสต์.”—2 โกรินโธ 11:3, ฉบับแปลใหม่.
เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นกับบรรพบุรุษของเปาโลตลอดทุกชั่วอายุ. ในตอนนั้น พระยะโฮวาตรัสแก่พวกเขาว่า “ความคิดของเราไม่เหมือนความคิดของเจ้า, และทางของเราก็ไม่เหมือนทางของเจ้า!” (ยะซายา 55:8) พวกเขากลับ “เห็นว่าตัวฉลาดในสายตาของตัวเอง” พร้อมด้วยผลอันทำให้เกิดความหายนะ. (ยะซายา 5:21) ดังนั้นแล้ว นับว่ามีเหตุผลอย่างแน่นอนที่จะตรวจสอบดูวิธีที่เราจะรักษาความคิดของเราเองให้ซื่อตรงและด้วยเหตุนี้จึงหลีกเลี่ยงความหายนะคล้ายกันนั้น.
จงระวังการคิดในทางเนื้อหนัง
บางคนในเมืองโครินท์ได้รับผลกระทบที่ไม่ดีจากการคิดในทางเนื้อหนัง. (1 โกรินโธ 3:1-3) พวกเขาเน้นเรื่องปรัชญาของมนุษย์มากกว่าพระคำของพระเจ้า. ไม่มีข้อสงสัยว่านักคิดชาวกรีกสมัยนั้นเป็นคนฉลาดมาก. อย่างไรก็ดี ใน สายพระเนตรของพระเจ้า พวกเขาเป็นคนโง่เขลา. เปาโลได้กล่าวว่า “มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เราจะทำลายสติปัญญาของคนมีปัญญาและจะทำให้ความฉลาดของคนฉลาดสูญสิ้นไป คนมีปัญญาแห่งยุคนี้อยู่ที่ไหน บัณฑิตแห่งยุคนี้อยู่ที่ไหน นักโต้ปัญหาแห่งยุคนี้อยู่ที่ไหน พระเจ้าได้ทรงกระทำปัญญาของโลกให้โฉดเขลาไปแล้ว.” (1 โกรินโธ 1:19, 20, ฉบับแปลใหม่) ปัญญาชนดังกล่าวถูกควบคุมโดย “วิญญาณของโลก” แทนที่จะเป็นพระวิญญาณของพระเจ้า. (1 โกรินโธ 2:12) ปรัชญาและแนวคิดต่าง ๆ ของพวกเขาไม่ประสานกับพระดำริของพระยะโฮวา.
แหล่งที่มาพื้นฐานของการคิดในทางเนื้อหนังเช่นนั้นคือซาตานพญามาร ผู้ซึ่งใช้งูล่อลวงฮาวา. (เยเนซิศ 3:1-6; 2 โกรินโธ 11:3) มันยังคงเป็นอันตรายต่อเราอยู่ไหม? แน่นอน! ตามที่พระคำของพระเจ้าบอกไว้ ซาตาน “ได้ทำให้จิตใจของคนที่ไม่เชื่อมืดไป” ถึงขั้นที่ตอนนี้มัน “ชักนำแผ่นดินโลกทั้งสิ้นที่มีคนอาศัยอยู่ให้หลง.” (2 โกรินโธ 4:4, ล.ม.; วิวรณ์ 12:9, ล.ม.) สำคัญสักเพียงไรที่จะตื่นตัวต่ออุบายของมัน!—2 โกรินโธ 2:11.
จงระวัง “เล่ห์กลของมนุษย์”
อัครสาวกเปาโลยังเตือนให้ระวัง “เล่ห์กลของมนุษย์” ด้วย. (เอเฟโซ 4:14) ท่านได้เผชิญกับ ‘คนงานที่ชอบหลอกลวง’ ซึ่งทำทีว่าเสนอความจริงแต่ที่แท้แล้วเป็นผู้บิดเบือนความจริง. (2 โกรินโธ 11:12-15, ล.ม.) เพื่อบรรลุจุดประสงค์ของตน คนเช่นนั้นอาจใช้หลักฐานที่สนับสนุนเพียงแต่แนวคิดของตน, ใช้คำพูดที่โน้มน้าวความรู้สึก, คำพูดที่จริงบ้างไม่จริงบ้างซึ่งทำให้หลงเข้าใจผิด, คำพูดเสียดสีแบบอ้อม ๆ, และกระทั่งคำโกหกล้วน ๆ.
นักโฆษณาชวนเชื่อมักใช้คำอย่างเช่น “sect [ลัทธิอันตราย]” เพื่อใส่ความคนอื่น. ในข้อเสนอแนะที่ให้กับการประชุมรัฐสภาแห่งสภายุโรป มีผู้เสนอแนะว่าพวกผู้มีอำนาจที่ตรวจสอบกลุ่มศาสนาใหม่ “คงจะฉลาดถ้าหากเลิกใช้คำนี้.” เพราะเหตุใด? เพราะรู้สึกว่าคำนั้น มีความหมายในแง่ลบเกินไป. เขากล่าวต่อไปว่า “ในความคิดของคนส่วนใหญ่ คำนั้นฟังดูชั่วร้ายหรือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง.” ในทำนองเดียวกัน ปัญญาชนชาวกรีกได้กล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่าอัครสาวกเปาโลเป็น “คนปากมาก” หรือตามตัวอักษรคือ “คนเก็บเมล็ดพืช.” นี่ก็เพื่อแสดงนัยว่าท่านเป็นเพียงคนพูดจ้อแบบไร้สาระ เป็นคนที่เก็บหรือพูดซ้ำแค่เศษความรู้เท่านั้น. ที่จริง เปาโล “ประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูและการกลับเป็นขึ้นจากตาย.”—กิจการ 17:18, ล.ม.
วิธีการของนักโฆษณาชวนเชื่อใช้ได้ผลไหม? ได้สิ. วิธีการเหล่านั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดความเกลียดชังด้านชาติพันธุ์และด้านศาสนาโดยบิดเบือนแนวความคิดของผู้คนที่มีต่อชาติหรือศาสนาอื่น. หลายคนได้ใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อทำให้ชนกลุ่มน้อยซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชอบด้อยค่าลงไป. อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยใช้วิธีการเช่นนั้นอย่างมีประสิทธิภาพตอนที่เขาพรรณนาถึงพวกยิวและกลุ่มอื่น ๆ ว่าเป็นคน “เสื่อมทราม,” “ชั่วร้าย,” และเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อรัฐ. อย่ายอมให้เล่ห์กลแบบนี้ก่อความเสียหายต่อความคิดของคุณ.—กิจการ 28:19-22.
อย่าหลอกตัวเอง
ยังเป็นเรื่องง่ายด้วยที่จะหลอกตัวเอง. ที่จริง อาจยากมากที่จะขจัดความคิดเห็นซึ่งเป็นที่ชื่นชอบเหลือเกินหรือแม้แต่จะสงสัยความคิดเห็นนั้น. เพราะเหตุใด? เพราะเรามีความรู้สึกผูกพันกับทัศนะของตัวเอง. แล้วเราอาจหลอกตัวเองโดยการหาเหตุผลผิด ๆ โดยคิดหาเหตุผลต่าง ๆ นานาเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการเชื่อที่ผิดพลาดและที่ทำให้หลงไปจริง ๆ.
เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นกับคริสเตียนบางคนในศตวรรษแรก. พวกเขารู้พระคำของพระเจ้า แต่พวกเขาไม่ยอมให้พระคำนั้นควบคุมความคิดของตน. ลงท้ายพวกเขา “หลอกตัวเองด้วยการคิดหาเหตุผลผิด ๆ.” (ยาโกโบ 1:22, 26, ล.ม.) ข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งที่แสดงว่าเราอาจตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงตัวเองแบบนี้คือ ถ้าเรารู้สึกโกรธเมื่อคนสงสัยความเชื่อของเรา. แทนที่จะโกรธ นับว่าฉลาดที่จะเปิดจิตใจอยู่เสมอและตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูด แม้แต่เมื่อเรารู้สึกแน่ใจว่าความคิดเห็นของเราถูกต้อง.—สุภาษิต 18:17.
ขุดค้นหา “ความรู้ของพระเจ้า”
เราจะทำประการใดเพื่อให้ความคิดของเราซื่อตรงอยู่เสมอ? มีเครื่องช่วยอยู่มากมาย แต่เราต้องเต็มใจลงมือทำเพื่อจะได้ความช่วยเหลือนั้น. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดได้กล่าวว่า “ศิษย์ของเราเอ๋ย, ถ้าเจ้าจะรับคำของเรา, และจะสุภาษิต 2:1-5) ใช่แล้ว หากเราเองพยายามที่จะบรรจุจิตใจและหัวใจของเราด้วยความจริงในพระคำของพระเจ้า เราก็จะได้รับสติปัญญา, ความหยั่งเห็น, และความสังเกตเข้าใจแท้. ที่จริงแล้ว เราจะขุดค้นหาสิ่งที่มีค่าล้ำเลิศยิ่งกว่าเงินหรือทรัพย์สมบัติฝ่ายวัตถุอื่นใด.—สุภาษิต 3:13-15.
รักษาบัญญัติของเราไว้กับเจ้า; ยอมที่จะตะแคงหูของเจ้าลงฟังพระปัญญา, และน้อมใจของเจ้าลงเพื่อความเข้าใจ; เออ, ถ้าเจ้าจะร้องหาความรู้, และส่งเสียงของเจ้าวอนหาความเข้าใจ; ถ้าเจ้าจะเสาะหาพระปัญญาเหมือนหาเงิน, และขุดค้นหาพระปัญญาเหมือนหนึ่งทรัพย์ที่ซ่อนอยู่นั้น; เมื่อนั้นเจ้าจะเข้าใจความยำเกรงพระยะโฮวา, และจะพบความรู้ของพระเจ้า.” (สติปัญญาและความรู้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างแน่นอนในการคิดอย่างซื่อตรง. พระคำของพระเจ้ากล่าวว่า “พระปัญญาจะเข้ามาสู่ดวงหฤทัยของเจ้า, และความรู้ก็จะเป็นความบันเทิงแก่ดวงวิญญาณของเจ้า, ความสุขุมรอบคอบ [“ความสามารถในการคิด,” ล.ม.] จะพิทักษ์เจ้าไว้; ความเข้าใจ [“ความสังเกตเข้าใจ,” ล.ม.] จะรักษาเจ้า; เพื่อจะช่วยเจ้าให้พ้นจากทางของคนชั่ว, เพื่อให้พ้นจากคนที่พูดดึงดันไปในทางหลงผิด; คนที่ละทิ้งทางของความตรง, เพื่อเดินในทางของความมืดมน.”—สุภาษิต 2:10-13.
นับว่าสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้ความคิดของพระเจ้าชี้นำความคิดของเราในสมัยที่มีความตึงเครียดหรืออันตราย. อารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรง เช่น ความโกรธหรือความกลัว อาจทำให้ยากที่จะคิดอย่างถูกต้อง. ซะโลโมกล่าวว่า “การกดขี่ข่มเหงกระทำผู้มีสติปัญญาให้คลั่งไป.” (ท่านผู้ประกาศ 7:7) ถึงกับเป็นไปได้ด้วยซ้ำที่จะ “บ่นต่อว่าพระยะโฮวา.” (สุภาษิต 19:3) โดยวิธีใด? โดยตำหนิพระเจ้าเนื่องด้วยปัญหาของเราและใช้ปัญหานั้นเป็นข้อแก้ตัวในการทำสิ่งที่ไม่ประสานกับกฎหมายและหลักการของพระองค์. แทนที่จะคิดว่าเรารู้ดีที่สุดเสมอ ขอเราถ่อมใจฟังผู้ให้คำแนะนำที่ฉลาดซึ่งพยายามช่วยเราโดยใช้พระคัมภีร์. และหากจำเป็น ขอเราพร้อมจะทิ้งกระทั่งทัศนะที่เคยยึดถือมาอย่างเหนียวแน่นเมื่อเห็นได้ชัดว่าทัศนะนั้นผิดพลาด.—สุภาษิต 1:1-5; 15:22.
“ทูลขอพระเจ้าต่อ ๆ ไป”
เรามีชีวิตอยู่ในสมัยที่วุ่นวายและอันตราย. การอธิษฐานเป็นประจำเพื่อขอการชี้นำจากพระยะโฮวาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งหากเราจะสำแดงการวินิจฉัยที่ดีและปฏิบัติอย่างสุขุม. เปาโลเขียนว่า “อย่ากระวนกระวายด้วยสิ่งใด แต่ในทุกสิ่งจงทูลขอต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานและการวิงวอนพร้อมด้วยการขอบพระคุณ; แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่านไว้โดยพระคริสต์เยซู.” (ฟิลิปปอย 4:6, 7, ล.ม.) หากเราขาดสติปัญญาที่จะรับมือกับปัญหาหรือการทดลองที่ยุ่งยาก เราต้อง “ทูลขอพระเจ้าต่อ ๆ ไป เพราะพระองค์ทรงประทานแก่ทุกคนด้วยพระทัยเอื้ออารีและโดยมิได้ทรงติว่า.”—ยาโกโบ 1:5-8, ล.ม.
เนื่องจากรู้ว่าเพื่อนคริสเตียนต้องสำแดงสติปัญญา อัครสาวกเปโตรจึงพยายามจะ ‘กระตุ้นความสามารถในการคิดอย่างแจ่มชัดของพวกเขา.’ ท่านต้องการให้พวกเขา “จดจำคำกล่าวที่พวกผู้พยากรณ์บริสุทธิ์ได้กล่าวไว้แต่ก่อน และพระบัญญัติขององค์พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ช่วยให้รอด” พระเยซูคริสต์. (2 เปโตร 3:1, 2, ล.ม.) หากเราทำเช่นนี้และคอยระวังให้ความคิดของเราประสานกับพระคำของพระยะโฮวาแล้ว เราก็จะคิดอย่างซื่อตรงและปฏิบัติอย่างสุขุม.
[ภาพหน้า 21]
คริสเตียนยุคแรกให้สติปัญญาจากพระเจ้าปรับความคิดของพวกเขา ไม่ใช่การหาเหตุผลแบบนักปรัชญา
[ที่มาของภาพ]
Philosophers left to right: Epicurus: Photograph taken by courtesy of the British Museum; Cicero: Reproduced from The Lives of the Twelve Caesars; Plato: Roma, Musei Capitolini
[ภาพหน้า 23]
การอธิษฐานและการศึกษาพระคำของพระเจ้านับว่าสำคัญยิ่ง