การเลียนแบบพระเจ้าแห่งความสัตย์จริง
การเลียนแบบพระเจ้าแห่งความสัตย์จริง
“จงเป็นผู้เลียนแบบพระเจ้า ดังบุตรที่รัก.”—เอเฟโซ 5:1, ล.ม.
1. บางคนมีความเชื่อเช่นไรเกี่ยวกับความจริง และทำไมการลงความเห็นของพวกเขาจึงมีข้อผิดพลาด?
“ความจริงคืออะไรเล่า?” (โยฮัน 18:38) เมื่อเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว ปนเตียว ปีลาตถามคำถามนี้อย่างถากถาง เพื่อแสดงว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะหาข้อสรุปเกี่ยวกับความจริง. หลายคนในทุกวันนี้เห็นด้วย. ลักษณะของความจริงกลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน. คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่าทุกคนกำหนดเอาเองว่าอะไรคือความจริง, หรือความจริงมีลักษณะสัมพัทธ์, หรือความจริงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ. การลงความเห็นเช่นนั้นมีข้อผิดพลาด. เป้าหมายจริง ๆ ของการศึกษาค้นคว้าก็คือ การเรียนรู้ข้อเท็จจริงหรือความจริงเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่. ความจริงไม่ใช่เรื่องของความเห็นส่วนตัว. ตัวอย่างเช่น จิตวิญญาณมนุษย์เป็นอมตะหรือว่าไม่เป็นอมตะ. มีซาตานอยู่จริงหรือว่าไม่มี. มีจุดมุ่งหมายในชีวิตหรือว่าไม่มี. ในแต่ละกรณี จะมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว. คำตอบหนึ่งจริง ในขณะที่อีกคำตอบหนึ่งจะไม่จริง จะเป็นจริงทั้งสองคำตอบไม่ได้.
2. ในแง่ใดบ้างที่พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าแห่งความสัตย์จริง และเราจะพิจารณาคำถามอะไรในตอนนี้?
2 ในบทความก่อน เราได้พิจารณาว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าแห่งความสัตย์จริง. พระองค์รู้ความจริงเกี่ยวกับทุกสิ่ง. ต่างกันมากกับซาตานพญามารปรปักษ์จอมหลอกลวงของพระองค์ พระยะโฮวาตรัสความจริงเสมอ. ยิ่งกว่านั้น พระยะโฮวายังเปิดเผยความจริงแก่ผู้อื่นด้วยพระทัยอารี. อัครสาวกเปาโลกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนดังนี้: “จงเป็นผู้เลียนแบบพระเจ้า ดังบุตรที่รัก.” (เอเฟโซ 5:1, ล.ม.) ฐานะพยานพระยะโฮวา เราจะเลียนแบบพระองค์ในการพูดและดำเนินชีวิตอย่างที่สอดคล้องกับความจริงได้อย่างไร? เหตุใดการทำเช่นนั้นจึงสำคัญ? และมีอะไรที่รับรองแก่เราว่าพระยะโฮวาทรงพอพระทัยคนเหล่านั้นที่มุ่งติดตามแนวทางแห่งความสัตย์จริง? ให้เรามาพิจารณากัน.
3, 4. อัครสาวกเปาโลและเปโตรกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่าง “สมัยสุดท้าย”?
3 เรามีชีวิตอยู่ในยุคที่ความเท็จทางศาสนาแพร่หลาย. 2 ติโมเธียว 3:1, 5, 7, 8, 13, ล.ม.
ดังที่อัครสาวกเปาโลบอกล่วงหน้าโดยการดลใจจากพระเจ้า หลายคนใน “สมัยสุดท้าย” มีความเลื่อมใสพระเจ้าในรูปแบบหนึ่ง แต่ปฏิเสธพลังแห่งความเลื่อมใสนั้น. บางคนต่อต้านความจริง เป็นคน “ใจทรามที่สุด.” นอกจากนี้ “คนชั่วและเจ้าเล่ห์ . . . กำเริบชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้อื่นหลงผิดและตนเองถูกทำให้หลงผิด.” แม้นว่าคนเหล่านี้เรียนอยู่เสมอ แต่พวกเขาไม่บรรลุ “ความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับความจริง” เลย.—4 อัครสาวกเปโตรได้รับการดลใจให้เขียนเกี่ยวกับสมัยสุดท้ายเช่นกัน. เป็นไปตามที่ท่านกล่าวพยากรณ์ไว้ ผู้คนไม่เพียงแต่ปฏิเสธความจริง แต่ยังเยาะเย้ยพระคำของพระเจ้าและผู้ที่ประกาศความจริงจากพระคำนั้น. “ตามความประสงค์ของเขา” ผู้ที่เยาะเย้ยเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า โลกสมัยโนฮาถูกน้ำท่วม ซึ่งเหตุการณ์นั้นเป็นแบบอย่างแห่งวันพิพากษาในอนาคต. ความปรารถนาอย่างที่ไม่คำนึงถึงความจริงของพวกเขาจะนำความหายนะมาสู่พวกเขาเอง เมื่อเวลาของพระเจ้ามาถึงเพื่อทำลายบรรดาคนที่ดูหมิ่นพระเจ้า.—2 เปโตร 3:3-7, ล.ม.
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวารู้ความจริง
5. ตามที่ผู้พยากรณ์ดานิเอลกล่าว จะเกิดอะไรขึ้นใน “เวลาอวสาน” และคำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
5 เมื่อกล่าวเกี่ยวกับ “เวลาอวสาน” ผู้พยากรณ์ดานิเอลบอกล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงที่ต่างออกไปอย่างมากท่ามกลางประชาชนของพระเจ้า นั่นคือมีการฟื้นฟูความจริงทางศาสนา. ท่านเขียนว่า “หลายคนจะไป ๆ มา ๆ [ในพระคัมภีร์] และความรู้แท้จะมีอุดมบริบูรณ์.” (ดานิเอล 12:4, ล.ม.) ประชาชนของพระยะโฮวาไม่ถูกทำให้สับสนหรือตาบอดจากจอมหลอกลวง. โดยการพลิกไปมาในหน้าต่าง ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล พวกเขาได้บรรลุความรู้ถ่องแท้. ในศตวรรษแรก พระเยซูประทานความสว่างแก่เหล่าสาวกของพระองค์. พระองค์ “ทรงเปิดจิตใจพวกเขาออกเต็มที่เพื่อให้เข้าใจความหมายของพระคัมภีร์.” (ลูกา 24:45, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงทำเช่นเดียวกันนั้นในสมัยของเรา. โดยทางพระคำ, พระวิญญาณ, และองค์การของพระองค์ พระองค์ทำให้หลายล้านคนทั่วโลกเข้าใจความจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์รู้อยู่แล้ว.
6. ประชาชนของพระเจ้าในปัจจุบันเข้าใจความจริงอะไรบ้างในคัมภีร์ไบเบิล?
6 ฐานะประชาชนของพระเจ้า เราเข้าใจหลายสิ่งที่ก่อนหน้านี้เราไม่อาจรู้ได้. เรารู้คำตอบสำหรับคำถามที่บรรดานักปราชญ์ของโลกพยายามอย่างหนักมาเป็นเวลาหลายพันปีเพื่อค้นหาคำตอบ. ตัวอย่างเช่น เรารู้ถึงสาเหตุของความทุกข์, เหตุผลที่คนเราตาย, และเหตุที่มนุษย์ไม่สามารถบรรลุสันติภาพและเอกภาพทั่วโลก. เรายังได้รับภาพของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นั่นคือราชอาณาจักรของพระเจ้า, อุทยานบนแผ่นดินโลก, และชีวิตนิรันดร์ในสภาพที่สมบูรณ์. เราได้มารู้จักพระยะโฮวา ผู้ทรงอำนาจสูงสุด. เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพอันน่าดึงดูดใจของพระองค์ และสิ่งที่เราต้องทำเพื่อจะได้รับพระพรจากพระองค์. การรู้ความจริงช่วยเราให้มองออกว่าสิ่งไหนไม่เป็นความจริง. การนำความจริงที่ได้เรียนรู้ไปใช้ป้องกันเราไว้ไม่ให้มุ่งติดตามกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์, ทำให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดจากชีวิต, และยังให้เรามีความหวังอันน่าพิศวงเกี่ยวกับอนาคต.
7. ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเป็นที่เข้าใจได้สำหรับใคร และไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับใคร?
7 คุณเข้าใจความจริงที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลไหม? ถ้าอย่างนั้น คุณก็ได้พระพรมาก. เมื่อนักเขียนแต่งหนังสือเล่มหนึ่ง เขาย่อมเขียนหนังสือนั้นให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่านกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ. หนังสือบางเล่มเขียนขึ้นสำหรับผู้มีการศึกษา, บางเล่มเขียนขึ้นสำหรับเด็ก, และก็ยังมีบางเล่มที่เขียนขึ้นสำหรับผู้อยู่ในเฉพาะสาขาอาชีพ. ขณะที่คัมภีร์ไบเบิลมีไว้พร้อมสำหรับทุกคน แต่มุ่งหมายให้เป็นที่เข้าใจได้และชื่นชอบสำหรับคนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ. พระยะโฮวาออกแบบคัมภีร์ไบเบิลสำหรับผู้มีใจถ่อมและอ่อนน้อมบนแผ่นดินโลก. คนเช่นนั้นสามารถเข้าใจความหมายของคัมภีร์ไบเบิล ไม่ว่าจะมีการศึกษา, วัฒนธรรม, ฐานะในสังคม, หรือกลุ่มชาติพันธุ์เช่นไร. (1 ติโมเธียว 2:3, 4) ในอีกด้านหนึ่ง ความเข้าใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิลไม่ทรงโปรดให้แก่คนที่ไม่มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้อง ไม่ว่าพวกเขาจะฉลาดหรือมีการศึกษาเพียงไรก็ตาม. คนที่อวดตัวและหยิ่งทะนงไม่อาจจะเข้าใจความจริงอันล้ำค่าในพระคำของพระเจ้าได้. (มัดธาย 13:11-15; ลูกา 10:21; กิจการ 13:48) เฉพาะพระเจ้าเท่านั้นสามารถทำหนังสือที่มีลักษณะเช่นนี้ได้.
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเป็นคนสัตย์จริง
8. เพราะเหตุใดพระเยซูจึงเป็นความจริง?
8 เช่นเดียวกับพระยะโฮวา พยานที่ซื่อสัตย์ของพระองค์เป็นคนสัตย์จริง. พระเยซูคริสต์ พยานองค์เอกของพระยะโฮวา ยืนยันความจริงโดยคำสอนของพระองค์ โดยวิธีที่พระองค์ดำเนินชีวิตและสิ้นพระชนม์. พระองค์สนับสนุนความจริงแห่งคำตรัสและคำสัญญาของพระยะโฮวา. ดังนั้น พระเยซูจึงเป็นความจริง ดังที่พระองค์ได้ตรัส.—โยฮัน 14:6; วิวรณ์ 3:14; 19:10.
9. พระคัมภีร์กล่าวอย่างไรเกี่ยวกับการพูดความจริง?
9 พระเยซู “บริบูรณ์ไปด้วยพระกรุณาอันไม่พึงได้รับและความจริง” และ “ไม่มีการหลอกลวงในปากของ [พระองค์].” (โยฮัน 1:14, ล.ม.; ยะซายา 53:9, ฉบับแปลใหม่) คริสเตียนแท้ติดตามแบบอย่างที่พระเยซูวางไว้ในการพูดความจริงกับผู้อื่น. เปาโลแนะนำเพื่อนคริสเตียนดังนี้: “จงต่างคนต่างพูดตามความจริงกับเพื่อนบ้าน เพราะว่าเราทั้งหลายเป็นอวัยวะซึ่งกันและกัน.” (เอเฟโซ 4:25) ก่อนหน้านั้น ผู้พยากรณ์ซะคาระยาเขียนว่า “จงพูดความจริงแก่กันและกัน.” (ซะคาระยา 8:16, ฉบับแปลใหม่) คริสเตียนพูดความจริงเพราะพวกเขาต้องการจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า. พระยะโฮวาตรัสความจริงและทรงรู้ถึงผลเสียหายของการโกหก. ด้วยเหตุนั้น จึงเหมาะสมที่พระองค์คาดหมายให้ผู้รับใช้ของพระองค์พูดความจริง.
10. ทำไมผู้คนจึงโกหก และมีผลเสียอะไร?
10 สำหรับหลายคน การโกหกอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่สะดวกเพื่อจะได้ผลประโยชน์บางอย่าง. ผู้คนโกหกเพื่อจะไม่ถูกลงโทษ, เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองในทางใดทางหนึ่ง, หรือเพื่อจะได้รับคำยกย่องจากคนอื่น. อย่างไรก็ตาม การโกหกเป็นความผิดมหันต์. ยิ่งกว่านั้น คนที่โกหกไม่ได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า. (วิวรณ์ 21:8, 27; 22:15) เมื่อเราเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนพูดความจริง คนอื่น ๆ ก็จะเชื่อสิ่งที่เราพูด พวกเขาไว้ใจเรา. อย่างไรก็ตาม หากเราถูกจับได้ว่าโกหกแม้เพียงครั้งเดียว คนอื่น ๆ อาจสงสัยสิ่งใดก็ตามที่เรากล่าวในวันข้างหน้าว่าจะจริงหรือไม่. สุภาษิตของชาวแอฟริกากล่าวว่า “คำโป้ปดคำเดียวทำให้คำสัตย์พันคำเสียไป.” สุภาษิตอีกข้อหนึ่งกล่าวว่า “ไม่มีใครเชื่อคนขี้ปด แม้เขาจะพูดความจริง.”
11. ความสัตย์จริงเป็นมากกว่าเพียงการพูดความจริงในทางใด?
11 ความสัตย์จริงมีความหมายมากกว่าเพียงการพูดความจริง. ความสัตย์จริงเป็นวิถีชีวิต บ่งบอกว่าเราเป็นคนชนิดใด. เราทำให้คนอื่นรู้จักความจริงไม่เพียงแต่โดยสิ่งที่เราพูด แต่โดยสิ่งที่เราทำด้วย. อัครสาวกเปาโลถามว่า “ท่านผู้สอนคนอื่นไม่ได้สอนตัวเองหรือ ท่านผู้ประกาศว่าไม่ควรลักทรัพย์, ตัวท่านเองยังลักหรือ ท่านผู้สอนว่าไม่ควรล่วงประเวณี, ตัวท่านเองล่วงประเวณีหรือ.” (โรม 2:21, 22) หากเราจะประกาศความจริงแก่คนอื่น เราก็ต้องซื่อสัตย์ในทุกวิถีทาง. ชื่อเสียงของเราเรื่องความสัตย์จริงและความสัตย์ซื่อจะมีผลกระทบมากต่อวิธีที่ผู้คนตอบสนองคำสอนของเรา.
12, 13. เยาวชนคนหนึ่งเขียนอะไรเกี่ยวกับความสัตย์ซื่อ และอะไรทำให้เธอมีมาตรฐานสูงทางศีลธรรม?
12 เยาวชนท่ามกลางผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเข้าใจความสำคัญของการเป็นคนสัตย์ซื่อเช่นกัน. เจนนี ซึ่งตอนนั้นมีอายุ 13 ปี เขียนเรียงความในชั้นเรียนว่า “ฉันถือว่าความสัตย์ซื่อเป็นสิ่งที่มีค่ามาก. น่าเสียดาย มีคนไม่มากนักในทุกวันนี้ที่เป็นคนสัตย์ซื่อในทุกทาง. ฉันสัญญากับตัวเองว่าฉันจะรักษาความสัตย์ซื่อเสมอตลอดชีวิตของฉัน. ฉันจะยังคงสัตย์ซื่อแม้การพูดความจริงจะไม่เกิดประโยชน์แก่ฉันหรือเพื่อนของฉันในทันทีก็ตาม. ฉันทำให้แน่ใจว่าเพื่อนของฉันเป็นคนที่พูดความจริงและเป็นคนสัตย์ซื่อ.”
13 ครูแสดงความเห็นต่อเรียงความของเจนนีดังนี้: “แม้ว่าเธอยังเป็นเด็ก เธอได้พัฒนาหลักศีลธรรมและจรรยาที่เข้มแข็ง. ครูรู้ว่าเธอจะยึดมั่นในหลักศีลธรรมของเธอ เพราะเธอมีพลังเข้มแข็งทางศีลธรรม.” อะไรทำให้เด็กสาวคนนี้มีพลังเข้มแข็งทางศีลธรรม? เจนนีกล่าวไว้ในส่วนคำนำของเรียงความว่าศาสนาของเธอ “วางมาตรฐานชีวิตให้แก่เธอ.” เจ็ดปีผ่านไปแล้วตั้งแต่เจนนีเขียนเรียงความเรื่องนั้น. เป็นไปตามที่ครูของเธอคาดไว้ เจนนียังคงรักษามาตรฐานสูงทางศีลธรรมในชีวิตฐานะเป็นพยานพระยะโฮวา.
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเปิดเผยความจริง
14. เพราะเหตุใดผู้รับใช้ของพระเจ้าจึงมีหน้าที่รับผิดชอบอันสำคัญยิ่งโดยเฉพาะในการกล่าวสนับสนุนความจริง?
14 แน่นอน คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยานพระยะโฮวาก็อาจพูดความจริงและพยายามเป็นคนสัตย์ซื่อ. อย่างไรก็ตาม ฐานะลูกา 12:48) แน่ทีเดียว มีการ ‘เรียกเอามาก’ จากคนที่ได้รับความรู้อันล้ำค่าเกี่ยวกับพระเจ้า.
ผู้รับใช้ของพระเจ้า เรามีหน้าที่รับผิดชอบอันสำคัญยิ่งโดยเฉพาะในการกล่าวสนับสนุนความจริง. เราได้รับมอบหมายให้สนับสนุนความจริงในคัมภีร์ไบเบิล—ความจริงที่อาจนำผู้คนไปสู่ชีวิตนิรันดร์. ฉะนั้น เรามีพันธะที่จะแบ่งปันความรู้นั้นแก่ผู้อื่น. พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดได้รับมาก จะต้องเรียกเอาจากผู้นั้นมาก.” (15. คุณได้รับความสุขอะไรจากการบอกความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่น ๆ?
15 การบอกความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่นทำให้มีความสุข. เช่นเดียวกับสาวกของพระเยซูในศตวรรษแรก เราประกาศข่าวดี—ข่าวสารแห่งความหวังที่ให้กำลังใจ—แก่ผู้ที่ “ถูกรังควานและไร้ที่พึ่งดุจฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง” และผู้ที่ถูกทำให้ตาบอดและสับสนเพราะ “คำสอนของพวกผีปิศาจ.” (มัดธาย 9:36, ฉบับแปลใหม่; 1 ติโมเธียว 4:1) อัครสาวกโยฮันเขียนดังนี้: “ไม่มีเหตุอันใดที่จะทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณยิ่งไปกว่าสิ่งเหล่านี้ คือที่ข้าพเจ้าได้ยินว่าลูกทั้งหลายของข้าพเจ้าดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป.” (3 โยฮัน 4, ล.ม.) ความซื่อสัตย์ของ “ลูกทั้งหลาย” ของโยฮัน—ซึ่งอาจเป็นคนเหล่านั้นที่ท่านแนะนำให้รู้จักความจริง—เป็นเหตุให้ท่านมีความยินดีอย่างยิ่ง. เรามีความยินดีเมื่อเราเห็นผู้คนตอบรับพระคำของพระเจ้าด้วยความหยั่งรู้ค่า.
16, 17. (ก) เหตุใดจึงไม่ใช่ทุกคนรับเอาความจริง? (ข) คุณได้รับความยินดีอะไรเมื่อประกาศความจริงในคัมภีร์ไบเบิล?
16 จริงอยู่ ไม่ใช่ทุกคนจะรับเอาความจริง. พระเยซูตรัสความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าแม้ว่าการทำเช่นนั้นไม่เป็นที่นิยมชมชอบ. พระเยซูตรัสแก่เหล่าชาวยิวที่ต่อต้านพระองค์ว่า “เหตุไฉนท่านจึงไม่เชื่อเรา? ผู้ที่มาจากพระเจ้าก็ย่อมฟังคำของพระเจ้า ท่านทั้งหลายมิได้มาจากพระเจ้า เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ฟัง.”—โยฮัน 8:46, 47.
17 เช่นเดียวกับพระเยซู เราไม่ยับยั้งตัวเองจากการบอกความจริงอันล้ำค่าเกี่ยวกับพระยะโฮวา. เราไม่คาดหมายว่าทุกคนจะตอบรับสิ่งที่เราบอก เพราะก็ไม่ใช่ทุกคนที่ตอบรับสิ่งที่พระเยซูบอก. ถึงกระนั้น เรามีความยินดีเนื่องจากรู้ว่าเรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง. ด้วยความกรุณารักใคร่ พระยะโฮวาประสงค์จะให้มีการเปิดเผยความจริงแก่มนุษยชาติ. ในฐานะผู้มีความจริง คริสเตียนเป็นผู้ถือความสว่างในโลกที่มัดธาย 5:14, 16) เราประกาศอย่างเปิดเผยว่าเราปฏิเสธสิ่งที่ซาตานปลอมแปลงแล้วอ้างว่าเป็นความจริง และเราสนับสนุนพระคำของพระเจ้าที่บริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งใดเจือปน. ความจริงที่เรารู้และแบ่งปันจะให้เสรีภาพแท้แก่ผู้ที่รับเอาความจริงนั้น.—โยฮัน 8:32.
อยู่ในความมืด. โดยการให้ความสว่างแห่งความจริงส่องออกไปผ่านทางคำพูดและการกระทำของเรา เราอาจช่วยคนอื่น ๆ ให้สรรเสริญพระบิดาของเราทางภาคสวรรค์. (มุ่งติดตามแนวทางแห่งความสัตย์จริง
18. เพราะเหตุใดพระเยซูจึงโปรดปรานนะธันเอล และพระองค์แสดงความโปรดปรานอย่างไร?
18 พระเยซูทรงรักความจริงและตรัสความจริง. ระหว่างงานรับใช้ของพระเยซูบนแผ่นดินโลก พระองค์แสดงความโปรดปรานคนที่สัตย์ซื่อ. พระองค์ตรัสถึงนะธันเอลว่า “ดูเถิด นี่เป็นคนอิสราเอลแท้ที่ไม่มีอุบาย.” (โยฮัน 1:47, ล.ม.) ในเวลาต่อมา นะธันเอล ซึ่งดูเหมือนมีอีกชื่อว่าบาร์โธโลมาย ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในอัครสาวก 12 คน. (มัดธาย 10:2-4) นับว่าเป็นเกียรติจริง ๆ!
19-21. ชายที่เคยตาบอดได้รับบำเหน็จอย่างไรจากการพูดความจริงด้วยความกล้าหาญ?
19 ตลอดบทหนึ่งในพระธรรมโยฮันเล่าเรื่องชายที่พูดความจริงอีกคนหนึ่งที่ได้รับความโปรดปรานจากพระเยซู. เราไม่รู้ชื่อของเขา. สิ่งที่เรารู้คือเขาเป็นขอทานที่ตาบอดแต่กำเนิด. ประชาชนประหลาดใจเมื่อพระเยซูทำให้ตาเขาหายบอดได้. ข่าวเกี่ยวกับการรักษาโดยการอัศจรรย์ไปถึงหูฟาริซายบางคน ซึ่งเป็นพวกที่ชังความจริง และได้ตกลงกันว่าใครก็ตามที่แสดงความเชื่อในพระเยซูจะต้องถูกขับออกจากธรรมศาลา. เนื่องจากรู้แผนร้ายของพวกเขา บิดามารดาของชายคนที่แต่ก่อนตาบอดนั้นก็รู้สึกกลัว จึงโกหกพวกฟาริซายไปว่า พวกเขาไม่รู้ว่าบุตรของตนมองเห็นได้อย่างไร หรือใครทำให้เขามองเห็น.—โยฮัน 9:1-23.
20 ชายที่แต่ก่อนเคยตาบอดถูกเรียกมาต่อหน้าพวกฟาริซายอีกครั้งหนึ่ง. โดยไม่สนใจผลที่จะตามมา เขาบอกความจริงอย่างกล้าหาญ. เขาอธิบายว่าเขาได้รับการช่วยให้มองเห็นได้โดยวิธีใด และบอกว่าพระเยซูนั่นเองที่ทำให้เขามองเห็น. ด้วยความแปลกใจที่เห็นว่าคนที่มีชื่อเสียงและมีการศึกษาเหล่านั้นไม่เชื่อว่าพระเยซูมาจากพระเจ้า ชายที่เคยตาบอดจึงกระตุ้นพวกเขาอย่างไม่หวั่นเกรงให้ยอมรับหลักฐานที่ปรากฏแจ้งดังนี้: “ถ้าคนนั้นไม่ได้มาจากพระเจ้าแล้ว, ก็คงทำอะไรไม่ได้.” เนื่องจากไม่มีอะไรจะโต้แย้งได้ พวกฟาริซายจึงกล่าวหาว่าชายผู้นี้เป็นคนโอหัง และขับไล่เขาออกไปเสีย.—โยฮัน 9:24-34.
21 พอพระเยซูทราบเรื่องนี้ ด้วยความรัก พระองค์ใช้เวลาตามหาชายคนนี้. เมื่อพบแล้ว พระองค์ทรงเสริมความเชื่อที่ชายผู้เคยตาบอดนี้ได้แสดงออก. พระเยซูเปิดเผยพระองค์ว่าเป็นพระมาซีฮา. ชายผู้นี้ได้รับบำเหน็จสักเพียงไรจากการที่เขาพูดความจริง! ความโปรดปรานจากพระเจ้าย่อมตกแก่คนที่พูดความจริง.—โยฮัน 9:35-37.
22. ทำไมเราควรมุ่งติดตามแนวทางแห่งความสัตย์จริง?
22 เราควรดำเนินตามความจริงต่อ ๆ ไปอย่างจริงจัง. การดำเนินตามความจริงนับว่าสำคัญเพื่อจะพัฒนาและรักษาสัมพันธภาพกับคนอื่น ๆ และกับพระเจ้า. การเป็นคนสัตย์จริงหมายถึงการเป็นคนเปิดเผย, จริงใจ, เข้าหาได้ง่าย, และไว้ใจได้ ซึ่งจะทำให้ได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 15:1, 2) การเป็นคนไม่สัตย์ซื่อหมายถึงการเป็นคนหลอกลวง, ไว้ใจไม่ได้, และเสแสร้ง ซึ่งจะทำให้พระยะโฮวาไม่พอพระทัย. (สุภาษิต 6:16-19) ดังนั้น จงตั้งใจแน่วแน่ที่จะมุ่งติดตามแนวทางแห่งความสัตย์จริง. ใช่แล้ว เพื่อจะเลียนแบบพระเจ้าแห่งความจริง เราต้องรู้ความจริง, พูดความจริง, และดำเนินชีวิตอย่างที่สอดคล้องกับความจริง.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ทำไมเราจึงรู้สึกขอบคุณที่เรารู้ความจริง?
• เราจะเลียนแบบพระยะโฮวาอย่างไรในการเป็นคนสัตย์จริง?
• มีประโยชน์อะไรในการบอกความจริงแก่คนอื่น?
• เหตุใดจึงสำคัญที่จะมุ่งติดตามแนวทางแห่งความสัตย์จริง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
เนื่องจากได้รับความจริงในคัมภีร์ไบเบิล คริสเตียนจึงบอกความจริงนั้นแก่ผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น
[ภาพหน้า 18]
ชายตาบอดที่พระเยซูรักษาให้หายได้รับบำเหน็จมากเนื่องจากเขาพูดความจริง