เรียนรู้ศิลปะของการผ่อนหนักผ่อนเบา
เรียนรู้ศิลปะของการผ่อนหนักผ่อนเบา
เพกกีสังเกตเห็นลูกชายเกรี้ยวกราดน้องชายของเขา. เธอถามว่า “ลูกคิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วหรือที่จะพูดกับน้อง? ดูสิ น้องอารมณ์เสียแค่ไหน!” ทำไมเธอพูดอย่างนั้น? เธอพยายามสอนลูกชายให้รู้ศิลปะของการผ่อนหนักผ่อนเบาและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น.
อัครสาวกเปาโลได้กระตุ้นเตือนติโมเธียวเพื่อนร่วมเดินทางอายุน้อยกว่าให้ “อ่อนสุภาพ [หรือ “ผ่อนหนักผ่อนเบา”] ต่อคนทั้งปวง.” เมื่อทำเช่นนั้น ติโมเธียวคงจะไม่ทำให้ผู้อื่นเสียความรู้สึก. (2 ติโมเธียว 2:24) การผ่อนหนักผ่อนเบาคืออะไร? คุณจะปรับปรุงตัวในเรื่องนี้ได้อย่างไร? และคุณจะช่วยคนอื่นให้พัฒนาศิลปะด้านนี้ได้อย่างไร?
การผ่อนหนักผ่อนเบาคืออะไร?
พจนานุกรมฉบับหนึ่งนิยามการผ่อนหนักผ่อนเบาว่าเป็น “ความสามารถสังเกตเข้าใจความเปราะบางของสถานการณ์ และทำหรือพูดอย่างกรุณาให้เหมาะกับสภาพการณ์มากที่สุด.” คนที่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาสามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและสามารถสังเกตเข้าใจได้ว่าคำพูดหรือการกระทำของตนกระทบคนอื่นอย่างไร. แต่การทำเช่นนี้หาใช่เป็นเพียงทักษะไม่ ทว่าเป็นความต้องการอย่างแท้จริงที่จะไม่ทำให้คนอื่นเจ็บช้ำน้ำใจ.
บันทึกเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลว่าด้วยเฆฮะซีคนรับใช้ของอะลีซานั้น เราได้พบตัวอย่างของคนหนึ่งซึ่งไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา. หญิงชาวซุเนมซึ่งลูกชายเพิ่งสิ้นใจในวงแขน นางได้เดินทางมาพบอะลีซาโดยหวังจะรับการปลอบโยน. เมื่อได้ไต่ถามทุกข์สุขของนางแล้ว นางตอบว่า “สบายดี.” แต่ขณะที่นางเข้ามาใกล้ผู้พยากรณ์ “เฆฮะซีจึงเข้ามาจะผลักให้นางออกไป.” ในทางกลับกัน อะลีซาบอกว่า “ให้นางอยู่เถิด; เพราะจิตต์ใจของนางมีความเดือดร้อน.”—2 กษัตริย์ 4:17-20, 25-27.
เฆฮะซีทำโดยไม่ไตร่ตรองและขาดการผ่อนหนักผ่อนเบาได้อย่างไรกัน? เป็นความจริงที่หญิงนั้นไม่แสดงความรู้สึกให้เห็นเมื่อถูกถาม. แต่ก็อย่างที่คนส่วนมากมักจะไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเผยความรู้สึกของตนให้ใครต่อใครรู้. กระนั้นก็ดี อารมณ์ความรู้สึกของนางน่าจะปรากฏให้เห็นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง. ดูเหมือนว่าอะลีซาสังเกตเข้าใจความรู้สึกของนาง แต่เฆฮะซีไม่ได้สังเกต หรืออาจจงใจทำเป็นไม่รู้. เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์แสดงถึงสาเหตุทั่วไปของการปฏิบัติตนอย่างขาดการผ่อนหนักผ่อนเบา. เมื่อคนเราพะวงเกินไปกับความสำคัญของงานที่ตัวเองต้องทำ เขาอาจไม่รับรู้หรือขาดการเอาใจใส่ต่อความจำเป็นของคนเหล่านั้นที่ตนเกี่ยวข้องได้ง่าย ๆ. เขาคงเป็นเช่นเดียวกับคนขับรถประจำทางที่กังวลมากในเรื่องการไปให้ถึงที่หมายปลายทางตรงกำหนดเวลา จนไม่ได้จอดรับผู้โดยสาร.
ที่จะหลีกเลี่ยงการไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาอย่างเฆฮะซี เราพึงพยายามแสดงความกรุณาต่อผู้คน เพราะเราไม่รู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรจริง ๆ. เราควรตื่นตัวอยู่เสมอต่ออาการซึ่งเผยให้เห็นความรู้สึกของผู้คนและตอบสนองด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างกรุณา. คุณจะปรับปรุงทักษะด้านนี้ให้ดีขึ้นได้โดยวิธีใด?
เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
พระเยซูทรงโดดเด่นในเรื่องการเข้าใจความรู้สึกของผู้คน ทั้งทรงคำนึงถึงวิธีที่จะปฏิบัติกับพวกเขาอย่างกรุณาและให้ดีที่สุดอย่างไร. คราวหนึ่งขณะที่พระองค์รับประทานอาหารในบ้านของซีโมนชาวฟาริซาย มีหญิงคนหนึ่ง ‘ซึ่งในเมืองนั้นรู้กันว่าเป็นหญิงชั่ว’ ได้เข้ามาหาพระองค์. รายนี้ก็เช่นกัน ไม่มีการกล่าวถ้อยคำใด ๆ แต่ก็มีหลายสิ่งซึ่งพอจะสังเกตเห็นได้. “เขา . . . ถือผอบศิลามีน้ำมันหอมมายืนอยู่ลูกา 7:37-39.
ข้างหลังใกล้พระบาทของ [พระเยซู], ร้องไห้น้ำตาไหลชำระพระบาท, เอาผมเช็ด, จูบพระบาทของพระองค์มาก, และเอาน้ำมันนั้นชโลม.” พระเยซูทรงเข้าใจว่าทั้งหมดนี้หมายความอย่างไร. และถึงแม้ซีโมนเองไม่ได้พูดอะไร พระเยซูสามารถหยั่งรู้สิ่งที่เขาพูดในใจว่า “ถ้าท่านนี้เป็นศาสดาพยากรณ์ก็คงจะรู้ว่าหญิงผู้นี้ที่ถูกต้องกายของท่านเป็นผู้ใดและเป็นคนอย่างไร, เพราะเขาเป็นคนชั่ว.”—คุณสามารถนึกภาพความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ไหมถ้าพระเยซูผลักไสหญิงนั้นออกไป หรือหากพระองค์ตรัสแก่ซีโมนทำนองนี้: “เจ้าคนเซ่อ! เจ้าไม่เห็นหรือว่าเธอได้สำนึกผิดกลับใจแล้ว?” แทนที่จะพูดอย่างนั้น พระเยซูตรัสแก่ซีโมนอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาโดยได้ยกอุทาหรณ์ว่าด้วยชายที่ยกหนี้ก้อนใหญ่ให้คนหนึ่ง และยกหนี้จำนวนน้อยให้อีกคนหนึ่ง. พระเยซูทรงถามว่า “ในสองคนนั้นคนไหนจะรักนายมากกว่า?” ด้วยวิธีนี้ แทนการกล่าวตำหนิ พระเยซูสามารถตรัสชมเมื่อซีโมนให้คำตอบที่ถูกต้อง. ต่อจากนั้นพระองค์ได้ช่วยซีโมนอย่างกรุณาให้มองเห็นสิ่งบ่งชี้ความรู้สึกที่แท้จริงหลายประการของหญิงคนนั้น และอากัปกิริยาของเธอซึ่งบ่งบอกถึงการกลับใจ. พระเยซูหันไปตรัสแก่หญิงนั้นอย่างกรุณาว่าพระองค์เข้าใจความรู้สึกของเธอ. พระองค์บอกว่าเธอได้รับการยกโทษแล้ว และต่อจากนั้นได้ตรัสดังนี้: “ความเชื่อของเจ้าได้ทำให้เจ้ารอด. จงไปเป็นสุขเถิด.” ถ้อยคำที่ผ่อนหนักผ่อนเบาเช่นนั้นคงได้เสริมกำลังใจเธอสักเพียงใดที่จะมุ่งมั่นทำสิ่งที่ถูก! (ลูกา 7:40-50) พระเยซูสามารถปฏิบัติอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาเพราะพระองค์ทรงสังเกตว่าผู้คนรู้สึกอย่างไรและตอบสนองด้วยความเมตตาสงสาร.
พระเยซูทรงช่วยซีโมนฉันใด เราก็สามารถเรียนรู้แล้วช่วยคนอื่นให้เข้าใจภาษาแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ได้เอ่ยวาจาฉันนั้น. บางครั้งผู้ทำงานเผยแพร่ที่มีประสบการณ์ก็สามารถสอนศิลปะด้านนี้แก่คนใหม่ ๆ ในงานรับใช้ของคริสเตียนได้. หลังการเยี่ยมแบ่งปันข่าวดี พวกเขาอาจวิเคราะห์ท่าทีที่บ่งบอกความรู้สึกของคนเหล่านั้นที่ได้พบปะ. คนนั้นรู้สึกประหม่า, เคลือบแคลง, รำคาญ, หรือมีธุระยุ่งไหม? จะช่วยเขาวิธีไหนซึ่งเป็นวิธีที่กรุณาที่สุด? นอกจากนั้น พวกผู้ปกครองสามารถช่วยพี่น้องชายหญิงซึ่งอาจไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาจนทำให้กันและกันขัดเคืองใจ. จงช่วยแต่ละคนให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น. เขารู้สึกว่าตัวเองถูกรังเกียจเหยียดหยาม, ถูกละเลย, หรือมีใครเข้าใจเขาผิดไปไหม? ความกรุณาจะช่วยเขาให้รู้สึกสบายใจขึ้นได้อย่างไร?
บิดามารดาควรช่วยบุตรปลูกฝังความเมตตาสงสาร เพราะคุณลักษณะนี้จะเป็นแรงกระตุ้นพวกเขาให้ปฏิบัติอย่างผ่อนหนักผ่อนเบา. ลูกชายเพกกีที่กล่าวถึงในตอนต้น ได้สังเกตเห็นน้องชายหน้าแดง, เม้มปาก, และน้ำตาคลอ เขาจึงรู้ว่าน้องชายกำลังเจ็บปวด. สมดังที่แม่ของเขาหวังไว้ เขารู้สึกเสียใจและตั้งใจเปลี่ยนแปลง. ลูกชายทั้งสองคนของเพกกีจึงได้ประโยชน์จากการใช้ทักษะเหล่านั้นตามที่ได้รับการฝึกสอนในปฐมวัย และหลายปีต่อมากลายเป็นผู้ที่เกิดผลในงานสอนคนให้เป็นสาวกและเป็นผู้บำรุงเลี้ยงในประชาคมคริสเตียน.
จงแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจ
การรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาสำคัญเป็นพิเศษเมื่อคุณมีมูลเหตุจะบ่นว่าใครบางคน. คุณอาจทำให้เขาน้อยเนื้อต่ำใจได้ง่าย ๆ. การกล่าวชมจุดใดจุดหนึ่งเป็นพิเศษเป็นสิ่งเหมาะสมเสมอในอันดับแรก. แทนที่จะติเตียนเขา จงเพ่งเล็งไปที่การแก้ปัญหา. อธิบายว่าการกระทำของเขามีผลกระทบอย่างไรต่อคุณ และจริง ๆ แล้วคุณอยากเห็นการแก้ไขในจุดใด. แล้วเตรียมตัวเตรียมใจฟัง. บางทีคุณอาจเข้าใจเขาผิดไปก็ได้.
ผู้คนอยากจะมีความรู้สึกที่ว่าคุณเข้าใจทัศนะของเขาแม้คุณไม่เห็นด้วยก็ตาม. พระเยซูตรัสอย่างผ่อนหนักผ่อนลูกา 10:41, ล.ม.) ทำนองเดียวกัน เมื่อคนหนึ่งพูดถึงปัญหาบางอย่าง แทนที่จะเสนอทางแก้ก่อนได้ยินได้ฟังการชี้แจงเรื่องนั้นให้จบ การกระทำที่ผ่อนหนักผ่อนเบาวิธีหนึ่งซึ่งแสดงว่าคุณมีความเข้าใจคือ พูดทวนปัญหาหรือข้อข้องใจนั้นด้วยคำพูดของคุณเอง. นี่คือแนวทางที่กรุณาเมื่อคุณแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจ.
เบา แสดงว่าพระองค์เข้าใจภาวะทุกข์ร้อนของมาร์ทา. พระองค์ตรัสดังนี้: “มาร์ทา มาร์ทา เจ้ากระวนกระวายและพะวงกับหลายสิ่ง.” (รู้ว่าอะไรที่ไม่ควรพูด
เมื่อราชินีเอศเธระต้องการทูลขอพระสวามีให้ล้มเลิกแผนอุบาทว์ของฮามานที่จะทำลายพวกยิว พระนางเตรียมการอย่างสุขุมมีไหวพริบเพื่อว่าพระสวามีจะมีอารมณ์ชื่นบาน. และตอนนั้นแหละที่พระนางทูลเสนอเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง. แต่เราก็เรียนรู้อะไรบางอย่างเช่นกันจากการสังเกตสิ่งที่พระนางไม่ได้พูด. พระนางแสดงปฏิภาณโดยไม่กล่าวพาดพิงถึงพระสวามีว่ามีส่วนร่วมรับผิดชอบในแผนชั่วร้ายนั้น.—เอศเธระ 5:1-8; 7:1, 2; 8:5.
ทำนองเดียวกัน เมื่อเยี่ยมสามีที่ไม่เชื่อถือของพี่น้องคริสเตียน แทนที่จะชี้จากพระคัมภีร์ทันทีทันใด ควรเริ่มถามอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาสนใจ. เมื่อคนแปลกหน้าแต่งกายลำลองมาที่หอประชุม หรือบางคนกลับมาหลังจากหายหน้าไปนาน ก็จงต้อนรับอย่างอบอุ่นแทนที่จะวิจารณ์การแต่งตัวหรือการที่เขาหายหน้าไป. และเมื่อคุณสังเกตเห็นผู้สนใจใหม่มีแง่คิดไม่ถูก อาจดีกว่าที่จะไม่แก้ไขเขาทันที. (โยฮัน 16:12) การผ่อนหนักผ่อนเบาหมายรวมถึงการแสดงความกรุณาโดยรู้ว่าอะไรที่ไม่ควรพูด.
คำพูดที่เยียวยา
การได้เรียนรู้ศิลปะการพูดอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาจะช่วยคุณให้มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกับคนอื่น แม้ในยามที่ใครคนหนึ่งเข้าใจเจตนารมณ์ของคุณอย่างผิด ๆ และรู้สึกขมขื่นและขัดเคืองใจ. ตัวอย่างเช่น เมื่อฝูงชนในตระกูลเอ็ฟรายิม ‘โมโหพยายามก่อเหตุวิวาท’ กับฆิดโอน คำตอบอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาของท่านประกอบกับคำชี้แจงชัดเจนในเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ รวมทั้งการประเมินค่าด้วยความจริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่ชาวเอ็ฟรายิมได้กระทำ. นี่แหละคือการรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาเพราะท่านได้รับรู้สาเหตุที่ทำให้คนเหล่านั้นไม่พอใจ และความเจียมตัวของท่านทำให้พวกเขาหายโกรธ.—วินิจฉัย 8:1-3; สุภาษิต 16:24.
จงพยายามคำนึงอยู่เสมอว่าคำพูดของคุณจะกระทบกระเทือนคนอื่นอย่างไร. ความตั้งใจพยายามเป็นคนผ่อนหนักผ่อนเบาจะช่วยคุณประสบความยินดีดังพรรณนาไว้ในสุภาษิต 15:23 ที่ว่า “คำตอบที่เหมาะสมย่อมนำความยินดีมาสู่ผู้กล่าว; และถ้อยคำที่กล่าวเหมาะกับกาลเทศะก็ประเสริฐนัก!”
[ภาพหน้า 31]
บิดามารดาสามารถสอนบุตรของตนให้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
[ภาพหน้า 31]
คริสเตียนผู้รับใช้ที่มีประสบการณ์สามารถสอนคนใหม่ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา