จงเพิ่มความรู้ด้วยการควบคุมตนเอง
จงเพิ่มความรู้ด้วยการควบคุมตนเอง
“จง . . . เพิ่มความรู้ด้วยการควบคุมตนเอง.”—2 เปโตร 1:5-8, ล.ม.
1. ปัญหาหลายอย่างของมนุษย์เกิดจากการที่พวกเขาขาดความสามารถในเรื่องใด?
ระหว่างการรณรงค์ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในสหรัฐ เยาวชนได้รับคำแนะนำดังนี้: “ก็แค่บอกว่า ‘ไม่.’” สภาพการณ์จะดีกว่ามากสักเท่าไรถ้าทุกคนจะบอกปฏิเสธไม่ใช่เฉพาะกับยาเสพติด แต่รวมไปถึงการดื่มจัด, รูปแบบชีวิตที่ไม่ฉลาดหรือผิดศีลธรรม, การดำเนินธุรกิจที่ไม่ซื่อสัตย์, และ “ความปรารถนาของเนื้อหนัง”! (โรม 13:14) แต่ใครล่ะจะอ้างได้ว่าการบอกว่า ‘ไม่’ นั้นง่ายทุกครั้งไป?
2. (ก) ตัวอย่างอะไรบ้างจากคัมภีร์ไบเบิลที่แสดงว่าแม้แต่ผู้รับใช้ของพระเจ้าในอดีตก็ยากที่จะบอกปฏิเสธ? (ข) ตัวอย่างเหล่านี้น่าจะสนับสนุนเราให้ทำอะไร?
2 เนื่องจากไม่ง่ายสำหรับมนุษย์ไม่สมบูรณ์ทุกคนที่จะควบคุมตนเอง เราจึงควรสนใจเรียนรู้วิธีเอาชนะข้อบกพร่องใด ๆ ที่เรามี. คัมภีร์ไบเบิลบอกเราเกี่ยวกับบุคคลในอดีตที่พยายามรับใช้พระเจ้า แต่ก็มีบางครั้งที่การบอกปฏิเสธก็ยากสำหรับพวกเขา. ขอให้ระลึกถึงดาวิดและบาปของท่านที่เล่นชู้กับนางบัธเซบะ. การกระทำครั้งนั้นนำไปสู่การเสียชีวิตของบุตรที่เกิดจากการเล่นชู้และการตายของสามีนางบัธเซบะ ซึ่งทั้งสองต่างเป็นผู้บริสุทธิ์. (2 ซามูเอล 11:1-27; 12:15-18) หรือขอให้คิดถึงอัครสาวกเปาโลซึ่งสารภาพอย่างเปิดเผยว่า “การดีนั้นซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาทำข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ, แต่การชั่วซึ่งข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาทำข้าพเจ้ายังทำอยู่.” (โรม 7:19) คุณรู้สึกคับข้องใจอย่างเดียวกันนั้นในบางครั้งไหม? เปาโลกล่าวต่อไปว่า “เพราะว่าฝ่ายจิตต์ใจของข้าพเจ้าก็มีความเห็นชอบในพระบัญญัติแห่งพระเจ้า. แต่ข้าพเจ้าเห็นมีกฎธรรมดาอีกอย่างหนึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า, ซึ่งสู้รบกันกับกฎธรรมดาซึ่งอยู่ในใจข้าพเจ้า, และชักนำข้าพเจ้าให้อยู่ใต้บังคับกฎธรรมดาความผิดซึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า. โอข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจจริง! ใครหนอจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากกายแห่งความตายนี้?” (โรม 7:22-24) ตัวอย่างเหล่านี้จากคัมภีร์ไบเบิลน่าจะเสริมความตั้งใจมุ่งมั่นของเราที่จะไม่เลิกล้มความบากบั่นเพื่อจะมีการรู้จักควบคุมตนเองมากขึ้น.
การควบคุมตนเอง: คุณลักษณะที่ต้องพัฒนาขึ้นมา
3. จงอธิบายว่าทำไมเราไม่สามารถคาดหมายได้ว่าการควบคุมตนเองเป็นเรื่องง่าย.
3 การควบคุมตนเอง ซึ่งรวมถึงความสามารถที่จะบอกปฏิเสธ มีกล่าวถึงใน 2 เปโตร 1:5-7 (ล.ม.) รวมกับความเชื่อ, คุณความดี, ความรู้, ความเพียรอดทน, ความเลื่อมใสในพระเจ้า, ความรักใคร่ฉันพี่น้อง, และความรัก. ในบรรดาคุณลักษณะที่น่าปรารถนาเจ็ดประการนี้ ไม่มีคุณลักษณะใดเลยที่เรามีอย่างสมบูรณ์พร้อมมาตั้งแต่เกิด. ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาขึ้น. การจะแสดงคุณลักษณะเหล่านี้ถึงระดับที่มากพอจะเห็นผลได้จำต้องใช้ความมุ่งมั่นพยายาม. ดังนั้น ควรหรือที่เราจะคาดหมายว่าการควบคุมตนเองจะทำได้ง่ายกว่านั้น?
4. ทำไมหลายคนจึงรู้สึกว่าตนเองไม่มีปัญหาเรื่องการควบคุมตนเอง แต่นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงอะไร?
4 จริงอยู่ ผู้คนมากมายอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่มีปัญหาในเรื่องการควบคุมตนเอง. พวกเขาดำเนินชีวิตตามใจชอบ และไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว พวกเขาประพฤติตามอิทธิพลของเนื้อหนังที่ไม่สมบูรณ์ของตนเอง และแทบไม่คำนึงเลยว่าจะมีผลอะไรตามมาต่อตัวเขาเองหรือคนอื่น. (ยูดา 10) ทุกวันนี้ การที่คนเราขาดความสามารถและความเต็มใจที่จะยับยั้งตัวเองปรากฏชัดกว่าที่เคยเป็นมา. นี่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” จริง ๆ ซึ่งเปาโลกล่าวถึงเมื่อท่านบอกล่วงหน้าว่า “จะเกิดวิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้. เพราะว่าคนจะรักตัวเอง, รักเงินทอง, อวดตัว, จองหอง, เป็นคนหมิ่นประมาท, . . . ไม่มีการควบคุมตนเอง.”—2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.
5. เหตุใดพยานพระยะโฮวาจึงสนใจเรื่องการรู้จักควบคุมตนเอง และคำแนะนำอะไรที่ยังคงใช้ได้?
ฟิลิปปอย 4:8 อยู่เสมอ. คำแนะนำที่มาจากพระเจ้าในข้อนั้นยังคงใช้ได้อยู่ แม้ว่าจะประทานให้เกือบ 2,000 ปีมาแล้ว และการทำตามคำแนะนำดังกล่าวในทุกวันนี้อาจยากกว่าในเวลานั้นและในปี 1916 ก็ตาม. กระนั้น คริสเตียนพยายามอย่างหนักที่จะปฏิเสธความปรารถนาแบบโลก โดยรู้ว่าเมื่อทำเช่นนั้น พวกเขากำลังทำให้พระผู้สร้างของตนพอพระทัย.
5 พยานพระยะโฮวาตระหนักดีถึงข้อท้าทายที่มีอยู่ในข้อเรียกร้องที่ให้ควบคุมตนเอง. เช่นเดียวกับเปาโล พวกเขารู้สึกถึงการต่อสู้กันระหว่างความปรารถนาที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัยด้วยการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระองค์กับแรงชักจูงของเนื้อหนังที่ไม่สมบูรณ์ในตัวเขา. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงสนใจมานานแล้วถึงวิธีที่จะได้ชัยในการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่ายนี้. ย้อนไปในปี 1916 ฉบับต้น ๆ ของวารสารที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ได้กล่าวถึง “แนวทางอันเหมาะสมสำหรับเราในการควบคุมตัวเรา, ความคิด, คำพูด, และความประพฤติของเรา.” บทความนั้นแนะให้ระลึกถึง6. ทำไมจึงไม่มีเหตุผลที่เราจะรู้สึกหมดหวังขณะกำลังพัฒนาการควบคุมตนเอง?
6 การควบคุมตนเองถูกกล่าวถึงในฆะลาเตีย 5:22, 23 (ล.ม.) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ผลแห่งพระวิญญาณ.” ถ้าเราแสดงคุณลักษณะนี้ร่วมกันกับ “ความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นไว้นาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน” เราจะได้ประโยชน์มาก. เปโตรอธิบายว่าการทำอย่างนั้นจะป้องกันเราไว้จาก “การอยู่เฉย ๆ หรือไม่เกิดผล” ในการรับใช้พระเจ้า. (2 เปโตร 1:8, ล.ม.) แต่เราไม่ควรหมดหวังหรือตำหนิตัวเอง หากไม่ประสบผลสำเร็จในการแสดงคุณลักษณะเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วนอย่างที่เราคาดหวัง. คุณอาจเคยสังเกตเห็นว่านักเรียนบางคนเรียนรู้ได้เร็วกว่าคนอื่น. หรือพนักงานบางคนก็เรียนรู้งานใหม่ ๆ ได้เร็วกว่าเพื่อนร่วมงานของเขา. ทำนองเดียวกัน บางคนเรียนรู้ที่จะแสดงคุณลักษณะแบบคริสเตียนได้เร็วกว่าคนอื่น. สิ่งที่สำคัญคือการที่จะพัฒนาคุณลักษณะเยี่ยงพระเจ้าต่อ ๆ ไปอย่างสุดความสามารถ. เราทำเช่นนี้ได้โดยใช้ประโยชน์เต็มที่จากความช่วยเหลือที่พระยะโฮวาจัดเตรียมให้ผ่านทางพระคำและประชาคมของพระองค์. ความไวในการบรรลุเป้าหมายของเรามีความสำคัญน้อยกว่าความมุ่งมั่นพยายามที่จะทำความก้าวหน้าอยู่เสมอ.
7. อะไรที่แสดงว่าการควบคุมตนเองมีความสำคัญ?
7 แม้ว่าถูกกล่าวถึงท้ายสุดในรายการผลแห่งพระวิญญาณ แต่การควบคุมตนเองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าคุณลักษณะประการอื่นอย่างแน่นอน. ตรงกันข้ามเลยทีเดียว. เราควรจำไว้ว่า “การของเนื้อหนัง” ทุกอย่างจะหลีกเลี่ยงได้ถ้าเราควบคุมตนเองได้อย่างสมบูรณ์. อย่างไรก็ดี มนุษย์ไม่สมบูรณ์มีแนวโน้มจะยอมจำนนต่อแบบใดแบบหนึ่งของ “การของเนื้อหนัง . . . , การผิดประเวณี, ความไม่สะอาด, การประพฤติหละหลวม, การไหว้รูปเคารพ, กิจปฏิบัติเกี่ยวกับผีปิศาจ, การเป็นศัตรูกัน, การต่อสู้, การริษยา, การบันดาลโทสะ, การทุ่มเถียง, การแตกแยก, การแยกเป็นนิกายต่าง ๆ.” (ฆะลาเตีย 5:19, 20, ล.ม.) เราจึงต้องต่อสู้อย่างไม่หยุดหย่อน มุ่งมั่นที่จะขจัดแนวโน้มไม่ดีออกจากหัวใจและความคิดของเรา.
บางคนต้องต่อสู้เป็นพิเศษ
8. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้บางคนควบคุมตนเองได้ยากเป็นพิเศษ?
8 สำหรับคริสเตียนบางคนการควบคุมตนเองเป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าคนอื่น. เพราะเหตุใด? การอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดาหรือประสบการณ์ในอดีตอาจมีส่วนทำให้เป็นอย่างนั้น. ถ้าหากการพัฒนาและการแสดงออกซึ่งการควบคุมตนเองไม่ค่อยเป็นปัญหาสำหรับเรา นั่นก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี. แต่แน่นอน เราควรแสดงความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจเมื่อติดต่อเกี่ยวข้องกับคนที่แสดงคุณลักษณะนี้ได้ยากกว่า แม้เมื่อการที่เขาขาดการควบคุมตนเองก่อความไม่สบายใจแก่เราบ้าง. เมื่อคำนึงถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเอง ใครในพวกเรามีเหตุที่จะคิดว่าตนชอบธรรมยิ่งกว่าคนอื่น?—โรม 3:23; เอเฟโซ 4:2.
9. บางคนมีข้ออ่อนแออะไร และเมื่อไรที่จะเอาชนะข้ออ่อนแอเหล่านี้ได้อย่างบริบูรณ์?
9 ตัวอย่างเช่น เราอาจรู้จักเพื่อนคริสเตียนบางคนที่ได้เลิกสูบบุหรี่ หรือเลิกใช้ยา “ที่ให้ความเพลิดเพลิน” ไปแล้ว แต่อาจยังรู้สึกอยากสิ่งเสพติดเหล่านั้นอย่างมากเป็นบางยาโกโบ 3:2 (ล.ม.) ยอมรับตามความเป็นจริงว่า “เราทุกคนต่างก็พลาดพลั้งกันหลายครั้ง. ถ้าผู้ใดไม่พลาดพลั้งในวาจา ผู้นั้นก็เป็นคนสมบูรณ์ สามารถเหนี่ยวรั้งทั้งร่างกายของตนได้ด้วย.” ยังมีบางคนที่รู้สึกอยากเล่นการพนัน หรืออาจพบว่ายากที่จะควบคุมอารมณ์. การเรียนรู้ที่จะเอาชนะข้ออ่อนแอเหล่านี้หรือที่คล้าย ๆ กันนั้นได้อย่างประสบผลสำเร็จอาจต้องใช้เวลา. แม้ว่าถึงตอนนี้ เราทำความก้าวหน้ามาได้มากแล้ว แต่ความปรารถนาที่ผิด ๆ จะไม่หมดไปจนกว่าเราจะบรรลุความสมบูรณ์. ในระหว่างนี้ การพยายามที่จะควบคุมตนเองจะช่วยเราไม่ให้กลับไปสู่รูปแบบชีวิตที่ผิดบาปอีก. ขณะที่ยังคงต่อสู้อยู่ต่อ ๆ ไป ขอเราจงช่วยเหลือกันและกันไม่ให้มีใครย่อท้อ.—กิจการ 14:21, 22.
ครั้ง. หรือบางคนพบว่ายากที่จะควบคุมการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์. บางคนมีปัญหาในการระวังคำพูดของตน จึงพลาดพลั้งทางวาจาอยู่บ่อยครั้ง. การจัดการกับข้อบกพร่องเหล่านี้เรียกร้องให้มีความอุตสาหะพยายามที่จะพัฒนาการควบคุมตนเอง. เพราะเหตุใด?10. (ก) ทำไมการควบคุมตนเองในเรื่องเพศจึงยากเป็นพิเศษสำหรับบางคน? (ข) พี่น้องคนหนึ่งทำการเปลี่ยนแปลงอะไรครั้งใหญ่? (ดูกรอบหน้า 16.)
10 อีกขอบเขตหนึ่งซึ่งการควบคุมตนเองเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนคือเรื่องเพศ. ความรู้สึกทางเพศของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงสร้างตัวเรา. กระนั้น บางคนรู้สึกยากเป็นพิเศษที่จะรักษาเรื่องทางเพศให้เป็นไปอย่างที่เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานของพระเจ้า. สิ่งที่อาจทำให้ยากเข้าไปอีกคือบางคนมีแรงขับทางเพศที่รุนแรงกว่าปกติ. เรามีชีวิตอยู่ในโลกที่คลั่งไคล้เรื่องกามารมณ์ซึ่งคอยแต่จะปลุกเร้าราคะให้ทวีขึ้นในหลาย ๆ ทาง. สภาพเช่นนี้อาจสร้างปัญหาใหญ่แก่คริสเตียนที่ต้องการจะรักษาตัวอยู่เป็นโสด—อย่างน้อยช่วงหนึ่ง—เพื่อรับใช้พระเจ้าโดยปราศจากความวอกแวกอันเนื่องจากชีวิตสมรส. (1 โกรินโธ 7:32, 33, 37, 38) แต่สอดคล้องกับคำแนะนำจากพระคัมภีร์ที่ว่า “แต่งงานเสียก็ดีกว่ามีใจเร่าร้อนด้วยกามราคะ” พวกเขาจึงอาจตัดสินใจที่จะสมรส ซึ่งเป็นการกระทำอันมีเกียรติอย่างแน่นอน. ในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็ตั้งใจจะสมรสเฉพาะกับ “ผู้ที่เชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า” ตามที่พระคัมภีร์แนะนำ. (1 โกรินโธ 7:9, 39, ฉบับแปลใหม่) เรามั่นใจได้อย่างแน่นอนว่าพระยะโฮวาทรงปีติยินดีที่คนเหล่านั้นใส่ใจที่จะยึดมั่นหลักการอันชอบธรรมของพระองค์. เพื่อนคริสเตียนของเขายินดีที่ได้ร่วมสมทบกับผู้นมัสการแท้ที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมอันสูงส่งและซื่อสัตย์มั่นคงเช่นนั้น.
11. เราจะทำอะไรได้เพื่อช่วยพี่น้องที่อยากแต่งงาน แต่ยังไม่สามารถจะทำได้?
บทเพลงสรรเสริญ 39:1) คนเหล่านั้นท่ามกลางพวกเราซึ่งกำลังรักษาความบริสุทธิ์ขณะที่เป็นโสดสมควรได้รับคำชมเชยอันอบอุ่นอย่างยิ่งจากเรา. แทนที่จะพูดอะไรที่ทำให้ท้อใจ เราอาจพยายามให้กำลังใจพวกเขา. ตัวอย่างเช่น เราอาจพยายามให้มีคนโสดร่วมอยู่ด้วยเมื่อรับประทานอาหารกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กับพี่น้องที่อาวุโส หรือในกิจกรรมสังสรรค์อันดีงามของคริสเตียน.
11 แล้วถ้าหาคู่ครองที่เหมาะสมไม่ได้ล่ะ? ขอให้ลองนึกดูว่าใครสักคนหนึ่งจะคับข้องใจขนาดไหนถ้าอยากแต่งงาน แต่ไม่สามารถจะทำได้! เขาอาจเห็นเพื่อนแต่งงานไปแล้วดูมีความสุขดี ขณะที่ตัวเขาเองยังหาคู่ที่เหมาะสมอยู่. สำหรับบางคนที่ตกอยู่ในสภาพการณ์เช่นนี้ นิสัยที่ไม่สะอาดในการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองอาจกลายเป็นปัญหาติดตามมา. ไม่ว่าจะอย่างไร คงไม่มีคริสเตียนคนใดต้องการจะทำให้คนที่กำลังพยายามอย่างหนักที่จะรักษาตัวให้บริสุทธิ์ท้อใจด้วยคำพูดที่ไม่ระวัง. โดยไม่ตั้งใจ เราอาจทำให้คนอื่นท้อใจถ้าเราพูดอย่างที่ไม่รู้จักคิด เช่น “เมื่อไรจะแต่งงานเสียที?” เราอาจไม่ได้พูดด้วยเจตนาร้ายก็จริง แต่จะดีกว่าสักเพียงไรถ้าเรารู้จักควบคุมตนเองในเรื่องการใช้คำพูด! (การควบคุมตนเองในชีวิตสมรส
12. ทำไมแม้แต่คนที่สมรสแล้วก็ยังต้องมีการควบคุมตนเองในระดับหนึ่ง?
12 การที่คุณสมรสแล้วไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นต้องควบคุมตนเองในเรื่องเพศ. ตัวอย่างเช่น ความต้องการทางเพศระหว่างสามีกับภรรยาอาจต่างกันมาก. หรือบางครั้ง สภาพร่างกายของฝ่ายหนึ่งอาจทำให้การมีเพศสัมพันธ์ตามปกติเป็นไปได้ลำบาก หรือถึงกับเป็นไปไม่ได้เลย. บางทีอาจเนื่องจากประสบการณ์ในอดีต ฝ่ายหนึ่งอาจรู้สึกว่ายากที่จะทำตามคำสั่งที่ว่า “สามีควรให้แก่ภรรยาของตนตามที่เธอควรได้รับ แต่ภรรยาควรกระทำเช่นกันต่อสามีของตนด้วย.” ในสภาพการณ์เช่นนี้ อีกฝ่ายอาจจำเป็นต้องควบคุมตนเองให้มากขึ้น. แต่ทั้งคู่สามารถจดจำคำแนะนำด้วย1 โกรินโธ 7:3, 5, ล.ม.
ความรักของเปาโลที่ให้แก่คริสเตียนที่สมรสแล้วที่ว่า “อย่ารอนสิทธิของกันและกัน เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายยินยอมเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อท่านทั้งสองอาจจะอุทิศเวลาสำหรับการอธิษฐานและมาอยู่ร่วมกันอีก เพื่อซาตานมิอาจล่อใจท่านเพราะท่านขาดการควบคุมตน.”—13. เราจะทำอะไรได้เพื่อคนเหล่านั้นที่กำลังพยายามควบคุมตนเอง?
13 คู่สมรสจะได้รับความพึงพอใจมากสักเพียงไรหากทั้งคู่เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองอย่างเหมาะสมในความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่สุดนี้. ในเวลาเดียวกัน พวกเขาควรแสดงความเข้าใจเพื่อนผู้นมัสการที่กำลังพยายามควบคุมตนเองในเรื่องนี้. เราไม่ควรลืมที่จะอธิษฐานขอพระยะโฮวาทรงโปรดประทานให้พี่น้องฝ่ายวิญญาณของเรามีความหยั่งเห็นเข้าใจ, ความกล้าหาญ, และความเด็ดเดี่ยวที่จะพยายามต่อ ๆ ไปเพื่อควบคุมตนเองและลงมือกระทำการใด ๆ เพื่อเอาชนะความปรารถนาที่ไม่เหมาะสม.—ฟิลิปปอย 4:6, 7.
จงช่วยกันและกันต่อไป
14. ทำไมเราควรปฏิบัติต่อเพื่อนคริสเตียนด้วยความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ?
14 บางครั้ง เราอาจรู้สึกว่ายากที่จะเข้าใจเพื่อนคริสเตียนที่กำลังพยายามควบคุมตนเองในเรื่องที่เราเองไม่มีปัญหา. แต่คนเราก็ต่างกันโดยธรรมชาติ. บางคนถูกอารมณ์ครอบงำได้ง่าย แต่บางคนก็ไม่. บางคนรู้สึกว่าควบคุมตนเองได้ไม่ยาก เรื่องนี้จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเขา. ส่วนคนอื่น ๆ ทำได้ยากกว่า. กระนั้น ขอให้จำไว้ว่า คนที่กำลังต่อสู้เช่นนั้นไม่ใช่คนเลว. เพื่อนคริสเตียนต้องการได้รับความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจจากเรา. ความสุขของเราเองก็เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเมื่อเราแสดงความเมตตาต่อ ๆ ไปแก่คนที่พยายามควบคุมตนเองให้มากขึ้น. เราทราบเรื่องนี้ได้จากคำตรัสของพระเยซูซึ่งบันทึกไว้ที่มัดธาย 5:7.
15. เหตุใดถ้อยคำที่บทเพลงสรรเสริญ 130:3 จึงให้การชูใจในเรื่องการควบคุมตนเอง?
15 เราไม่ต้องการจะตัดสินเพื่อนคริสเตียนอย่างผิด ๆ ที่บางครั้งอาจไม่ได้แสดงบุคลิกภาพแบบคริสเตียน. ช่างให้กำลังใจสักเพียงไรที่รู้ว่า พระยะโฮวาทรงเห็นไม่เพียงแต่ตอนที่เราอาจไม่ได้ควบคุมตนเอง แต่ทรงเห็นหลายต่อหลายครั้งที่เราได้ทำเช่นนั้น แม้ว่าเพื่อนคริสเตียนไม่ได้สังเกตเห็นโอกาสเหล่านั้นก็ตาม. การจำถ้อยคำที่บทเพลงสรรเสริญ 130:3 (ล.ม.) ไว้นั้นให้การชูใจอย่างยิ่งที่ว่า “โอ้ยาห์ โอ้ พระยะโฮวา ถ้าพระองค์คอยจับผิด ใครจะทนไหว?”
16, 17. (ก) เราจะนำเอาฆะลาเตีย 6:2, 5 มาใช้อย่างไรในเรื่องการควบคุมตนเอง? (ข) เราจะพิจารณาอะไรต่อไปในเรื่องการควบคุมตนเอง?
16 เพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา เราแต่ละคนต้องปลูกฝังการควบคุมตนเอง แต่เราก็มั่นใจได้ในความช่วยเหลือจากพี่น้องคริสเตียนของเรา. แม้ว่าเราแต่ละคนต้องแบกภาระแห่งความรับผิดชอบของตนเอง กระนั้น เราได้รับการกระตุ้นให้ช่วยเหลือกันและกันในการเอาชนะข้ออ่อนแอ. (ฆะลาเตีย 6:2, 5) เราน่าจะถือว่าคำแนะเตือนจากบิดามารดา, คู่สมรส, หรือเพื่อนนั้นมีค่ามาก ที่ห้ามเราไม่ให้ไปในที่ที่ไม่ควรไป, ไม่ให้ดูในสิ่งที่ไม่ควรดู, หรือไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ. เขาเหล่านั้นกำลังคอยช่วยเหลือเราให้รู้จักควบคุมตนเอง กล่าวคือสามารถที่จะบอกปฏิเสธและทำเช่นนั้นจริง ๆ!
17 คริสเตียนหลายคนอาจเห็นด้วยกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้พิจารณามาจนถึงตอนนี้เรื่องการควบคุมตนเอง แต่เขาเองอาจรู้สึกว่ายังต้องปรับปรุงอีกมาก. พวกเขาปรารถนาจะควบคุมตนเองมากขึ้น ถึงขีดที่พวกเขาเชื่อว่าจะคาดหวังอย่างสมเหตุสมผลได้จากมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์. คุณรู้สึกอย่างนั้นไหม? ถ้าอย่างนั้น คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้าในด้านนี้? และการทำเช่นนั้นจะช่วยคุณให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวในการเป็นคริสเตียนได้อย่างไร? ให้เรามาพิจารณากันในบทความถัดไป.
คุณจำได้ไหม?
เหตุใดการควบคุมตนเอง . . .
• เป็นสิ่งสำคัญที่คริสเตียนต้องปลูกฝัง?
• เป็นเรื่องท้าทายเป็นพิเศษสำหรับบางคน?
• จำเป็นในชีวิตสมรส?
• เป็นคุณลักษณะที่เราช่วยกันปลูกฝังได้?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 16]
เขารู้จักปฏิเสธ
พยานพระยะโฮวาคนหนึ่งในเยอรมนีทำงานเป็นช่างเทคนิคระบบสื่อสาร. งานของเขารวมถึงการเฝ้าตรวจสอบรายการโทรทัศน์และวิทยุกว่าสามสิบรายการ. เมื่อมีสัญญาณรบกวน เขาจะต้องเอาใจใส่รายการนั้นเป็นพิเศษเพื่อหาสาเหตุของปัญหา. เขากล่าวว่า “ดูเหมือนสัญญาณรบกวนมักจะเกิดขึ้นในเวลาที่มีภาพไม่เหมาะสมพอดี คือเวลาที่มีฉากเกี่ยวกับความรุนแรงหรือเรื่องเพศ. ภาพเหล่านั้นดูเหมือนติดค้างอยู่ในหัวผมไปหลายวัน หรือไม่ก็หลายสัปดาห์ ราวกับประทับอยู่ในสมองของผม.” เขายอมรับว่าสิ่งนี้ก่อผลเสียต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของเขา: “ผมมีนิสัยค่อนข้างใจร้อน ดังนั้น ฉากที่มีความรุนแรงทำให้ผมควบคุมอารมณ์ได้ยาก. ฉากเรื่องเพศทำให้ผมมีเรื่องตึงเครียดกับภรรยา. ผมต้องต่อสู้กับอิทธิพลเหล่านี้อยู่ทุก ๆ วัน. เพื่อผมจะไม่พ่ายแพ้ในการต่อสู้นี้ ผมจึงตัดสินใจหางานใหม่ แม้ว่าจะมีรายได้ลดลง. เมื่อไม่นานมานี้ ผมก็หางานได้อย่างที่ต้องการ.”
[ภาพหน้า 15]
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลช่วยเราให้รู้จักควบคุมตนเอง