การเรียนจากครอบครัวของพระเยซูทางแผ่นดินโลก
การเรียนจากครอบครัวของพระเยซูทางแผ่นดินโลก
คุณทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับครอบครัวของพระเยซู ซึ่งก็คือคนเหล่านั้นที่พระองค์อยู่ด้วยจนกระทั่งทรงรับบัพติสมา ตลอดช่วง 30 ปีแรกของชีวิตพระองค์บนแผ่นดินโลก? เรื่องราวในพระธรรมกิตติคุณบอกอะไรแก่เรา? เราจะเรียนอะไรได้จากการพิจารณาดูครอบครัวของพระองค์? คุณจะได้รับประโยชน์จากคำตอบสำหรับคำถามดังกล่าว.
พระเยซูประสูติมาบนกองเงินกองทองไหม? โยเซฟ บิดาเลี้ยงของพระองค์ทำงานเป็นช่างไม้. นั่นเรียกร้องให้ใช้แรงกายทำงานหนัก ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการโค่นต้นไม้ลงเพื่อแปรรูป. เมื่อบิดามารดาของพระเยซูไปกรุงเยรูซาเลมหลังจากพระองค์ประสูติราว ๆ 40 วัน เขาได้ถวายเครื่องบูชาตามที่พระบัญญัติกำหนดไว้. เขาถวายลูกแกะพร้อมกับนกเขาหรือนกพิราบ ตามที่พระบัญญัติระบุไว้ไหม? ไม่. ดูเหมือนว่าเขาไม่สามารถถวายเครื่องบูชาดังกล่าวได้. กระนั้น พระบัญญัติได้เตรียมการไว้สำหรับคนจน. สอดคล้องกับการจัดเตรียมนั้น โยเซฟกับมาเรียได้ถวาย “นกเขาคู่หนึ่งหรือลูกนกพิราบสองตัว.” การเลือกสัตว์ที่มีราคาถูกกว่าเช่นนั้นแสดงว่าครอบครัวของเขายากจน.—ลูกา 2:22-24; เลวีติโก 12:6, 8.
คุณจะเห็นได้ว่าพระเยซูคริสต์ ผู้ปกครองมวลมนุษยชาติในอนาคตเกิดมาท่ามกลางคนต่ำต้อย ท่ามกลางคนเหล่านั้นที่ต้องทำงานหนักเพื่อจะมีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน. พระองค์ทรงเติบโตขึ้นเป็นช่างไม้ เหมือนกับบิดาเลี้ยงของพระองค์. (มัดธาย 13:55; มาระโก 6:3) “แม้ [พระเยซู] มั่งคั่ง” ในฐานะเป็นองค์วิญญาณผู้ทรงอานุภาพในสวรรค์ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า พระองค์ “เป็นคนยากจน” เพราะเห็นแก่เรา. พระองค์ทรงรับเอาฐานะต่ำต้อยในการมาเป็นมนุษย์และเติบโตขึ้นในครอบครัวสามัญชน. (2 โกรินโธ 8:9, ฉบับแปลใหม่; ฟิลิปปอย 2:5-9; เฮ็บราย 2:9) พระเยซูมิได้เกิดมาในครอบครัวของผู้มีอันจะกิน และนี่อาจช่วยบางคนให้รู้สึกสะดวกใจที่จะอยู่ใกล้พระองค์. พวกเขาไม่ได้ถูกทำให้เขวไปเนื่องด้วยฐานะของพระองค์. พวกเขาสามารถเห็นคุณค่าของพระองค์เนื่องด้วยคำสอน, คุณลักษณะต่าง ๆ ที่ดึงดูดใจ, และการอัศจรรย์ของพระองค์. (มัดธาย 7:28, 29; 9:19-33; 11:28, 29) เราสามารถเห็นสติปัญญาของพระยะโฮวาพระเจ้าในการยอมให้พระเยซูประสูติมาในครอบครัวธรรมดา.
ตอนนี้ขอเราพิจารณาสมาชิกในครอบครัวของพระเยซูและดูว่าเราจะเรียนอะไรได้จากพวกเขา.
โยเซฟ—ชายผู้ชอบธรรม
เมื่อโยเซฟทราบว่าคู่หมั้นของตนตั้งครรภ์ “ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกัน” เขาคงต้องรู้สึกเป็นทุกข์ เพราะยากที่จะเลือกเอาระหว่างความรักที่มีต่อมาเรียกับความรังเกียจต่อสิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็นการผิดศีลธรรม. สภาพการณ์โดยรวมดูเหมือนเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของเขาฐานะเป็นสามีของเธอในอนาคต. ในสมัยนั้น มีการถือว่าหญิงที่หมั้นแล้วเท่ากับเป็นภรรยาของชายผู้นั้น. หลังจากพิจารณาไตร่ตรองมามาก โยเซฟได้ตัดสินใจที่จะหย่ากับมาเรียอย่างลับ ๆ เพื่อเธอจะพ้นจากการถูกหินขว้างตายฐานเล่นชู้.—มัดธาย 1:18; พระบัญญัติ 22:23, 24.
ครั้นแล้วทูตสวรรค์องค์หนึ่งได้ปรากฏแก่โยเซฟในความฝันและกล่าวว่า “อย่าวิตกในการที่จะรับมาเรียมาเป็นภรรยาของเจ้าเลย, เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์. เธอจะประสูติบุตรเป็นชาย, แล้วเจ้าจงเรียกนามท่านว่าเยซู, เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่จะโปรดช่วยพลไพร่ของท่านให้รอดจากความผิดของเขา.” เมื่อได้รับการชี้นำจากพระเจ้า โยเซฟได้ลงมือปฏิบัติตามนั้นแล้วรับมาเรียมาที่บ้าน.—มัดธาย 1:20-24.
โดยการตัดสินใจเช่นนี้ ชายผู้ชอบธรรมและซื่อสัตย์คนนี้ได้มีส่วนในความสำเร็จเป็นจริงของสิ่งที่พระยะโฮวาได้ตรัสโดยทางผู้พยากรณ์ยะซายาที่ว่า “นี่แน่ะ, หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง, และเขาจะเรียกชื่อบุตรนั้นว่า, ‘อีมานูเอล.’” (ยะซายา 7:14) เป็นที่แน่นอนว่าโยเซฟเป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณผู้ซึ่งรู้สึกขอบพระคุณสำหรับเกียรติในการเป็นบิดาเลี้ยงของพระมาซีฮา ถึงแม้ความเป็นจริงคือว่า บุตรหัวปีของมาเรียจะไม่ใช่บุตรของตนเอง.
โยเซฟละเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์กับมาเรียจนกระทั่งเธอให้กำเนิดบุตรชายแล้ว. (มัดธาย 1:25) สำหรับคนที่เพิ่งแต่งงานใหม่ในตอนนั้น การงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นเรื่องยาก แต่ดูเหมือนว่าคนทั้งสองไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดใด ๆ ในเรื่องที่ว่าใครเป็นบิดาของทารกนั้น. ช่างเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมอะไรเช่นนี้ในเรื่องการรู้จักควบคุมตนเอง! โยเซฟเอาค่านิยมฝ่ายวิญญาณขึ้นหน้าความปรารถนาตามธรรมชาติของตน.
สี่ครั้งที่โยเซฟได้รับการชี้นำจากทูตสวรรค์เรื่องการเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมของตน. การชี้นำสามในสี่ครั้งนี้เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าจะเลี้ยงดูบุตรนั้นที่ไหน. การเชื่อฟังทันทีเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับความอยู่รอดของบุตรนั้น. ในทุกกรณี โยเซฟลงมือปฏิบัติทันที พาบุตรน้อยไปอียิปต์ก่อน ครั้นแล้วก็กลับมาที่อิสราเอล. นี่ปกป้องชีวิตพระเยซูผู้เยาว์วัยไว้จากการสังหารหมู่ทารกโดยเฮโรด. นอกจากนี้ การเชื่อฟังของโยเซฟทำให้คำพยากรณ์เกี่ยวกับพระมาซีฮาสำเร็จเป็นจริง.—มัดธาย 2:13-23.
โยเซฟได้สอนอาชีพให้พระเยซูเพื่อจะเลี้ยงตัวเองได้. ดังนั้น พระเยซูจึงเป็นที่รู้จักไม่เพียงฐานะ “ลูกช่างไม้” เท่านั้น แต่ฐานะ “ช่างไม้” ด้วย. (มัดธาย 13:55; มาระโก 6:3) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า พระเยซู “ได้ทรงถูกทดลองเหมือนอย่างเราทุกประการ.” ตามธรรมดาแล้ว นี่คงรวมไปถึงการทำงานหนักเพื่อช่วยหาเลี้ยงครอบครัว.—เฮ็บราย 4:15.
ในที่สุด เราเห็นหลักฐานเกี่ยวกับความเลื่อมใสของโยเซฟต่อการนมัสการแท้ในเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับตัวเขาที่ลูกา 2:41-50) ดูเหมือนว่าโยเซฟเสียชีวิตช่วงใดช่วงหนึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้ เนื่องจากไม่มีการกล่าวถึงเขาในเรื่องราวหลังจากนั้นในพระคัมภีร์.
ปรากฏในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก. โยเซฟพาครอบครัวไปกรุงเยรูซาเลมเพื่อฉลองปัศคา. มีการเรียกร้องให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นเข้าร่วม แต่โยเซฟทำเป็นกิจวัตรที่จะพาครอบครัวไปกรุงเยรูซาเลม “ทุกปี ๆ.” เขาต้องเสียสละมากทีเดียว เพราะว่าพวกเขาต้องเดินจากเมืองนาซาเรทถึงเยรูซาเลม เป็นระยะทางราว ๆ 100 กิโลเมตร. แต่ในคราวนั้นที่รายงานไว้ในพระคัมภีร์ พระเยซูทรงแยกตัวจากกลุ่ม. บิดามารดาพบพระองค์ที่พระวิหาร กำลังฟังและซักถามพวกผู้สอนพระบัญญัติ. ถึงแม้พระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระเยซูทรงสำแดงสติปัญญาและความรู้มากมายเกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า. จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เราเห็นว่า บิดามารดาของพระเยซูคงต้องสอนพระองค์อย่างดี อบรมเลี้ยงดูพระองค์ให้เป็นเด็กที่มีจิตใจฝักใฝ่ทางฝ่ายวิญญาณ. (ใช่แล้ว โยเซฟเป็นคนชอบธรรมซึ่งเอาใจใส่ดูแลครอบครัวของตนอย่างดี ทั้งทางฝ่ายวิญญาณและทางฝ่ายร่างกาย. เช่นเดียวกับโยเซฟ คุณจัดให้ผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณมาเป็นอันดับแรกในชีวิตไหม ในเมื่อคุณเข้าใจแล้วว่า อะไรคือพระทัยประสงค์ของพระเจ้าสำหรับเราในทุกวันนี้? (1 ติโมเธียว 2:4, 5) คุณเต็มใจเชื่อฟังสิ่งที่พระเจ้าตรัส ตามที่แสดงไว้ในพระคำของพระเจ้าไหม โดยวิธีนี้จึงแสดงการยินยอมอ่อนน้อมเหมือนโยเซฟ? คุณสอนลูก ๆ ไหมเพื่อพวกเขาจะสามารถสนทนาในเรื่องฝ่ายวิญญาณอย่างมีความหมายกับคนอื่น?
มาเรีย—ผู้รับใช้พระเจ้าที่ไม่เห็นแก่ตัว
มาเรีย มารดาของพระเยซู เป็นผู้รับใช้ที่ดีเลิศของพระเจ้า. เมื่อทูตสวรรค์ฆับรีเอลประกาศว่า เธอจะให้กำเนิดบุตร เธอรู้สึกประหลาดใจ. เนื่องจากเป็นสาวพรหมจารี เธอยังไม่ได้ “ร่วมกับชาย.” ครั้นทราบว่าการกำเนิดนี้เป็นไปโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เธอยอมรับข่าวสารนั้นอย่างถ่อมใจ โดยกล่าวว่า “ดูเถิด, ข้าพเจ้าเป็นทาสีของพระเจ้า [“พระยะโฮวา,” ล.ม.] ขอให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าตามคำของท่านเถิด.” (ลูกา 1:30-38) เธอถือว่าสิทธิพิเศษฝ่ายวิญญาณนั้นมีค่ามากจนถึงกับเต็มใจทนรับความลำบากใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเช่นนั้น.
ที่จริง การยอมรับหน้าที่มอบหมายนี้ได้ทำให้ชีวิตเธอฐานะผู้หญิงคนหนึ่งเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง. เมื่อเธอไปกรุงเยรูซาเลมเพื่อการชำระตัวให้สะอาด ชายสูงอายุผู้เกรงกลัวพระเจ้าชื่อซิมโอนได้บอกเธอว่า “ถึงหัวใจของท่านเองก็ยังจะถูกดาบแทงทะลุ.” (ลูกา 2:25-35) ดูเหมือนเขากล่าวพาดพิงถึงมาเรียว่าจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นพระเยซูถูกหลายคนปฏิเสธและในที่สุดถูกตรึงบนหลักทรมาน.
ลูกา 2:19, 51) เช่นเดียวกับโยเซฟ เธอเป็นบุคคลที่ฝักใฝ่ทางฝ่ายวิญญาณและถือว่าเหตุการณ์และคำกล่าวต่าง ๆ ที่ทำให้คำพยากรณ์สำเร็จเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าล้ำ. สิ่งที่ทูตสวรรค์ฆับรีเอลกล่าวแก่เธอคงต้องตราตรึงอยู่ในจิตใจของเธอที่ว่า “ท่านผู้นี้จะเป็นใหญ่และจะถูกเรียกว่าพระบุตรของพระผู้สูงสุด; และพระยะโฮวาพระเจ้าจะทรงมอบบัลลังก์ของดาวิดราชบิดาของท่านให้แก่ท่าน และท่านจะปกครองเป็นกษัตริย์เหนือเรือนของยาโคบสืบ ๆ ไปเป็นนิตย์ และอาณาจักรของท่านจะไม่สิ้นสุด.” (ลูกา 1:32, 33, ล.ม.) ใช่แล้ว เธอถือว่าสิทธิพิเศษในการเป็นมารดาทางแผ่นดินโลกของพระมาซีฮาเป็นงานมอบหมายที่สำคัญ.
ขณะที่พระเยซูทรงเจริญวัย มาเรียรำลึกถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในชีวิตพระองค์อยู่เสมอ เธอ “รำพึงในใจ.” (การที่มาเรียมีความสนใจสิ่งฝ่ายวิญญาณปรากฏชัดอีกครั้งเมื่อเธอพบนางเอลีซาเบ็ต ญาติของเธอซึ่งได้ตั้งครรภ์อย่างอัศจรรย์ด้วย. เมื่อเห็นนาง มาเรียได้สรรเสริญพระยะโฮวาและเผยให้เห็นความรักที่เธอมีต่อพระคำของพระเจ้า. เธอกล่าวพาดพิงถึงคำอธิษฐานของนางฮันนาที่บันทึกใน 1 ซามูเอลบท 2 รวมทั้งข้อคิดจากพระธรรมอื่น ๆ ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรู. ความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์เช่นนั้นแสดงว่าเธอมีคุณสมบัติที่จะมาเป็นมารดาที่เลื่อมใสและเกรงกลัวพระเจ้า. เธอจะร่วมมือกับโยเซฟในการอบรมเลี้ยงดูทางฝ่ายวิญญาณแก่บุตรชายของเธอ.—เยเนซิศ 30:13; 1 ซามูเอล 2:1-10; มาลาคี 3:12; ลูกา 1:46-55.
มาเรียมีความเชื่อที่มั่นคงในบุตรชายของเธอฐานะเป็นพระมาซีฮา และความเชื่อนั้นมิได้ลดน้อยลงแม้แต่ภายหลังการวายพระชนม์ของพระเยซู. หลังจากการคืนพระชนม์ของพระองค์ไม่นาน เธออยู่ในท่ามกลางสาวกที่ซื่อสัตย์ซึ่งประชุมกันเพื่ออธิษฐานพร้อมกับพวกอัครสาวก. (กิจการ 1:13, 14) เธอรักษาความซื่อสัตย์ ถึงแม้ต้องทนรับความเจ็บปวดรวดร้าวที่เห็นบุตรที่รักของเธอสิ้นชีวิตบนหลักทรมาน.
คุณจะรับประโยชน์จากการเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของมาเรียได้อย่างไร? คุณยอมรับเอาสิทธิพิเศษในการรับใช้พระเจ้าไหมแม้ว่าการทำเช่นนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเสียสละหลายสิ่งหลายอย่างก็ตาม? คุณเป็นห่วงความสำคัญของสิทธิพิเศษนั้นในทุกวันนี้ไหม? คุณรำลึกถึงสิ่งที่พระเยซูทรงบอกไว้ล่วงหน้าและเปรียบเทียบกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทุกวันนี้ โดย ‘รำพึงในใจคุณ’ ไหม? (มัดธายบท 24 และ 25; มาระโกบท 13; ลูกาบท 21) คุณเลียนแบบมาเรียในการเป็นคนรอบรู้ในพระคำของพระเจ้า ใช้พระคำนั้นบ่อย ๆ ในการสนทนาของคุณไหม? คุณจะรักษาความเชื่อในพระเยซูไหม ทั้ง ๆ ที่คุณอาจต้องประสบความปวดร้าวจิตใจเนื่องจากเป็นสาวกของพระองค์?
พวกน้องชายของพระเยซู—การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้
ดูเหมือนว่าพวกน้องชายของพระเยซูไม่ได้แสดงความเชื่อในพระองค์จนกระทั่งหลังจากการวายพระชนม์ของมาระโก 3:21) เนื่องจากพระเยซูมีสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นคนไม่มีความเชื่อ คนเหล่านั้นในทุกวันนี้ซึ่งมีคนที่ไม่มีความเชื่ออยู่ในครอบครัว ก็สามารถมั่นใจได้ว่า พระเยซูทรงเข้าใจว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อญาติพี่น้องเยาะเย้ยความเชื่อของเขา.
พระองค์. นี่คงเป็นเหตุผลที่พวกเขาไม่ได้อยู่ด้วยตอนที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนหลักทรมาน และที่พระองค์ต้องมอบให้อัครสาวกโยฮันดูแลมารดาของพระองค์. สมาชิกในครอบครัวของพระเยซูแสดงให้เห็นว่า พวกเขาไม่นับถือพระองค์ ถึงกับพูดในโอกาสหนึ่งว่าพระเยซู “เสียจริตแล้ว.” (อย่างไรก็ดี หลังจากการคืนพระชนม์ของพระเยซู พวกน้องชายของพระองค์ดูเหมือนว่าเริ่มแสดงความเชื่อในพระองค์. พวกเขาอยู่ในกลุ่มซึ่งประชุมกันในกรุงเยรูซาเลมก่อนวันเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33 และได้อธิษฐานด้วยใจแรงกล้าด้วยกันกับพวกอัครสาวก. (กิจการ 1:14) ปรากฏชัดว่า การคืนพระชนม์ของพระเยซู ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมมารดาของเขา ได้กระตุ้นให้เขาเปลี่ยนใจ จนถึงกับเข้ามาเป็นสาวกของพระองค์. เราไม่ควรหมดหวังในตัวญาติพี่น้องที่ไม่ได้มีความเชื่อเหมือนเรา.
ตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ยาโกโบ น้องชายร่วมมารดาของพระเยซูซึ่งพระองค์ได้ปรากฏแก่เขาเป็นส่วนตัวนั้นมีบทบาทที่เด่นในประชาคมคริสเตียน. ท่านเขียนจดหมายโดยการดลใจจากพระเจ้าถึงเพื่อนคริสเตียน แนะเตือนพวกเขาให้รักษาความเชื่อ. (กิจการ 15:6-29; 1 โกรินโธ 15:7; ฆะลาเตีย 1:18, 19; 2:9; ยาโกโบ 1:1) ยูดา น้องชายร่วมมารดาอีกคนหนึ่งของพระเยซู ได้เขียนจดหมายโดยการดลใจเพื่อสนับสนุนเพื่อนร่วมความเชื่อให้ต่อสู้อย่างทรหดเพื่อความเชื่อ. (ยูดา 1) เป็นที่น่าสังเกตว่า ในจดหมายดังกล่าว ทั้งยาโกโบและยูดาต่างก็ไม่ได้ใช้ความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับพระเยซูเพื่อโน้มน้าวจูงใจเพื่อนคริสเตียน. ช่างเป็นบทเรียนอันยอดเยี่ยมอะไรเช่นนี้ในเรื่องความเจียมตัวที่เราเรียนได้จากคนทั้งสอง!
ดังนั้น บทเรียนอะไรบ้างที่เราได้เรียนจากครอบครัวของพระเยซู? แน่นอน เป็นบทเรียนในเรื่องความเลื่อมใสที่สามารถแสดงให้เห็นในวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้: (1) ยินยอมอ่อนน้อมอย่างซื่อสัตย์ต่อพระทัยประสงค์ที่ชัดแจ้งของพระเจ้าและเผชิญการทดลองทุกอย่างที่เป็นผลจากการทำเช่นนั้น. (2) จัดค่านิยมฝ่ายวิญญาณไว้เป็นอันดับแรก แม้ว่าการทำเช่นนั้นจะหมายถึงการเสียสละหลายสิ่งหลายอย่าง. (3) ฝึกอบรมบุตรอย่างที่สอดคล้องกับพระคัมภีร์. (4) ไม่หมดหวังเมื่อสมาชิกในครอบครัวไม่ได้มีความเชื่อเหมือนคุณ. (5) ไม่อวดอ้างเรื่องการที่คุณอาจมีความสัมพันธ์ใด ๆ กับคนที่มีชื่อเสียงในประชาคมคริสเตียน. ใช่แล้ว การเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวของพระเยซูทางแผ่นดินโลกทำให้เราใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้น และทำให้เรารู้สึกขอบคุณยิ่งขึ้นที่พระยะโฮวาทรงเลือกครอบครัวธรรมดา ๆ ครอบครัวหนึ่งให้เลี้ยงดูพระเยซูระหว่างช่วงวัยเด็กของพระองค์.
[ภาพหน้า 4, 5]
โยเซฟรับมาเรียมาเป็นภรรยา และได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระมาซีฮา
[ภาพหน้า 6]
โยเซฟกับมาเรียสอนค่านิยมฝ่ายวิญญาณและบทบาทสำคัญของงานแก่ลูก ๆ
[ภาพหน้า 7]
ถึงแม้ได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่ฝักใฝ่ฝ่ายวิญญาณ พวกน้องชายของพระเยซูก็ไม่ได้แสดงความเชื่อในพระองค์จนกระทั่งหลังจากการวายพระชนม์ของพระองค์
[ภาพหน้า 8]
ยาโกโบและยูดา น้องชายร่วมมารดาของพระเยซูให้กำลังใจเพื่อนคริสเตียน